Podcasting หรือ Podcast คืออะไร ?

Podcasting หรือ Podcast คือขั้นตอนของสื่อชนิดหนึ่งบนระบบอินเตอร์เน็ตที่ยินยอมให้ผู้ใช้ทั่วไปทำการสมัครเพื่อรับ feed news

มันเริ่มได้รับความนิยมประมาณปลายปี 2004 ที่ผ่านมา ตัว feed news นี้จะทำงานอัตโนมัติ เพื่อทำการดาวด์โหลดไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ เข้าสู่ computer หรือ portable music player (เรียกติดปาก ว่า mp3 player)

คำว่า Podcasting หลายๆ คนคิดว่าอาจจะเป็นคำคว]มาจากคำว่า Broadcasting กับ iPod แต่ตามข้อกำหนดแล้ว มันเป็นการเข้าใจผิด แต่เป็นความบังเอิญ อันสอดคล่องพอดี หรือประจวบเหมาะ กับ iPod ของ Apple นั้นเอง ซึ่ง Steve Jobs ก็ใช้โอกาสนี้ โฆษณา feature ใหม่เป็น Broadcasting + iPod  = Podcasting นั้นเอง  

ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั้น ตั้งแต่ที่ได้ยินมานับตั้งแต่ Podcasting เกิดขึ้นมาบนโลกมา ระบบนี้สามารถใช้ได้กับ iPod หรือพวก portable music player อื่นๆ และรวมไปถึงเครื่อง computer ได้อยู่แล้ว ซึ่งในความเป็นจริง แล้วนั้น ตั้งแต่ กันยายน ปี 2004 นั้น ได้มีการบัญญัติคำว่า POD ซึ่งเป็นคำย่อมาจาก “Personal On-Demand” หรือ “อุปสงค์ส่วนบุคคล” นั้นเอง เมื่อรวมกับ Broadcasting ก็กลายเป็น PODcasting นั้นเอง ซึ่ง Broadcasting เป็นการนำสื่อต่างๆ มาอยู่ในรูปของภาพ และเสียง ต่างๆ มากมาย ไม่ขึ้นกับ formatของไฟล์ หรือ type ของไฟล์แต่อย่างใด นำมาเผยแพร่ให้บุคคลภายนอก (The public in general) ฟังโดยที่ไม่จำเป็นเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ และเป็นเทคโนโลยีในการถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียง ผ่านสื่อต่างๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นเทคโนโลยีที่สามารถโยกย้ายข้อมูลขนาดมหึมาของภาพและเสียงจากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่งระหว่างเครือข่ายชนิดต่างๆ

Podcasting นั้นทำงานโดนการที่ใช้ RSS 2.0 XML หรือ RDF XMLที่เป็นไฟล์ format มาตรฐานของ XMLที่เป็นไฟล์แบบเปิด โดย Podcasting จะเปิดทำงานแบบอิสระต่อการจัดการ และทำสื่อส่วนตัวต่างๆ โดยตัว Podcasting นั้นเป็นสื่อกลางระหว่างไฟล์เสียง, วีดีโอ หรือมัลติมีเดียอื่นๆ อีกมากมาย กับผู้ใช้งานอีกทีหนึ่ง

การทำงานของ Podcasting มีขั้นตอนคือ ผู้ใช้ได้รับ URL ของ Podcasting แล้วใส่ในซอฟต์แวร์ Podcasting Reader หรือ RSS Reader ยี่ห้อต่างๆ ในที่นี้ของใช้คำสั้นๆ ว่า Podcasting  Reader ในทีเดียวเลย  ผู้ใช้ทำการร้องขอต่อ URL นั้นๆเพื่อทำการปรับปรุง index หรือสารบัญ ของ Podcasting เจ้าตัว Podcasting Reader จะวิ่งไปที่ URL ที่กำหนดดังกล่าว เพื่ออ่าน ไฟล์ XML ซึ่งจะอ่านว่ามีรายละเอียดต่างๆ ภายในนั้นอาจจะมีพวก ชื่อรายการ, ชื่อผู้จัดทำ, วันที่จัดทำ , ฯลฯ ซึ่งจะทำการส่งรายละเอียดต่างๆ นั้นมาไว้ที่ซอฟต์แวร์ของเรา เพื่อบอกรายละเอียด และรอให้เราทำการร้องขอไฟล์มีเดียนั้นอีกที และเมื่อร้องขอไฟล์ที่เราต้องการแล้ว เจ้าตัว Podcasting Reader จะเข้าไปอ่านที่ไฟล์ XML เดิมอีกที หรืออ่านไฟล์ XML ดังกล่าว (ขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์นั้นๆ ว่าจะเก็บไฟล์ทื่อ่านเพื่อทำ cache หรือ่านทุกๆ ครั้งผ่าย Internet) เมื่อทำการอ่านไฟล์ XML ในนั้นจะบอกซอฟต์แวร์ของเราว่าไฟล์มีเดียนั้นๆ เก็บอยู่ที่ใด เพื่อทำการไปโหลดที่ต้นทางจริงๆ อีกทอดหนึ่ง ซึ่งตัวซอฟต์แวร์ Podcasting Reader จะทำการดาวด์โหลดไฟล์มีเดียมาใส่ในที่อยู่ใดๆ ใน Hard drive ของเราเอง จะเห็นได้ว่าเจ้า ตัวระบบ Podcasting เนี่ยเป็นเพียงสื่อสารระหว่างไฟล์มีเดียต่างๆ กับผู้ใช้เพื่อง่ายแก้การจัดการเป็นศูนย์กลางเพื่อทำการจัดเก็บไฟล์ และค้นหาไฟล์นั้นเอง

แต่ที่นิยมในตอนนี้เป็น Podcasting แบบ Radio Shows มากกว่าเพราะทำง่าย เผยแพร่ง่ายด้วย

โดยไฟล์มีเดียที่นิยมในการจัดเก็บและเผยแพร่คือ MP3 นั้นเอง โดยมี bit rate ที่ 32 k bps ขึ้นไป ส่วที่ตามมาติดๆ ก็ ACC นั้นเอง

โดยจะใช้โปรแกรมใดๆ ก็ได้ที่ทำการอัดเสียง และบันทึงเสียงเป็นไฟล์ MP3 ก็ได้เช่นกัน โดยโปรแกรมที่อยากแนะนำคือ Audacity ซึ่งเป็นโปรแกรมแบบ ฟรีซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็น open source software สำหรับบันทึกเสียง และปรับแต่งเสียงซึ่งทำงานได้บน  Mac OS X, Microsoft Windows และ GNU/Linux ซึ่งทำงานได้ดีมากเช่นกัน

เอกสารอ้างอิง

มันมาแล้ว The Windows Genuine Advantage !!! และของใหม่ Microsoft Update

วันนี้ตอนตี 5 ได้ลองเข้า Windows Update มีการให้ Download ตัวซอฟต์แวร์ Windows Genuine Advantage Validation Tool (KB892130)และมีระบบ Update ตัวใหม่ Microsoft Update ด้วย

โดยเจ้า Windows Genuine Advantage Validation Tools เป็นระบบตรวจสอบลิขสิทธิ์การใช้งาน Windows ของ Microsoft ซึ่งเคยเขียนไว้ใน blog แล้วใน ท่าทางจะต้องซื้อ Windows ซะแล้ว …… ใครที่จำได้ก็จะเข้าใจ แต่ใครยัง งงๆ ลองไปอ่านดูก่อน

Windows Genuine Advantage Validation Tool (KB892130)
The Windows Genuine Advantage Validation Tool enables you to verify that your copy of Microsoft Windows is genuine. The tool validates your Windows installation by checking Windows Product Identification and Product Activation status. After you install this item, you may have to restart your computer. Once you have installed this item, it cannot be removed.

Get help and support
http://support.microsoft.com

ซึ่งหลังจากที่ได้ทำการ Update มันก็ตรวจสอบเครื่องเราทันที หุๆๆๆ สรุป

Validation Failure: Invalid Product Key

Why did it not validate?
The product key associated with your copy of Windows was never issued by Microsoft.

ซวยแล้วตรู Update ไม่ได้ !!!

ไม่เป็นไร อิๆๆ เรามีแผนสองอยู่แล้ว เพราะผมได้เตรียมมันเอาไว้ !?

นั้นคือ …. ??????!@#

CD-Key ลิขสิทธิ์แท้ ราคาไม่แพง (หรือเปล่า) แต่ด้วยว่าไม่อยากเปลี่ยน (ด้วยอารมณ์ขี้เกียจ) ตอนนี้ได้เปลี่ยน บอกไว้ก่อนนะครับ ผมไม่ให้นะ CD-Key ลิขสิทธิ์อ่ะ เดี่ยวโดน Block ผมจะแย่ ….

ตอนนี้ใครจะ Update Windows ก็คิด ดีๆ ก่อนเน้อ …… ;)

ต่อมา Microsoft Update เป็นระบบ Webservice ตัวใหม่ที่ผมว่าเอามาแทน Windows Update แน่นอนเลย เพราะว่าตัวนี้ฉลาดกว่ามาก เพราะว่ามัน Detect ระบบว่ามีซอฟต์แวร์ของ Microsoft ตัวใดบ้างที่ยังไม่ Update ….. น่าใช้ดี

พื้นที่ในฮาร์ดดิสค์หายไปไหน ?? มันคือพื้นที่ผีอยู่ หรือว่ามันหายไปจริงๆ !!!

พื้นที่ในฮาร์ดดิสค์หายไปไหน

สวัสดีค่ะ เพิ่งไปซื้อคอมมา เป็นฮาร์ดดิสค์ 80 กิ๊ก พอเอากลับบ้านมาดู มันแจ้งว่ามีสองไดรฟ์ คือ ซีกับดี แต่รวมกันแล้วได้แค่ 75 กิ๊ก งงจังว่ามันหายไปไหนอีก 5 กิ๊กเหรอคะ ผู้รู้ช่วยอธิบายให้ด้วยค่ะ

ในโรงงานมันคือเป็น

80,000,000,000 Bytes ~ 80GB
80,000,000 KBytes ~ 80GB
80,000 MBytes ~ 80GB
80 GBytes ~ 80GB

จริงๆ โรงงานต้องการให้มันง่ายเลยใช้ 1,000 Bytes = 1Kbytes ครับ แต่จริงๆ มันคือ 1,024Bytes นะครับ

ตามหลักในคอมฯ มันคือคือ

1,024 Bytes = 1 KBytes
1,048,576 Bytes = 1 MBytes
1,073,741,824 Bytes = 1 GBytes
1,099,511,627,776 Bytes = 1TBytes

เพราะฉะนั้น มันก็คือ

(((80,000,000,000 Bytes / 1,024) / 1,024 ) / 1,024) = 74.50580596923828125 GBytes

มันเป็นไปตามฉะนี้แล …………


เพิ่มเติม 10/06/2005 : 13.30 น.

ทำไมมันต้อง 1,024 Bytes ทำไม ไม่ 1,000 เพราะคอมพิวเตอร์ใช้หลักการเปิดปิด ของกระแสไฟฟ้า หรือ 0 และ 1 ซึ่งเป็นเลขฐาน 2 ในทางคณิตศาสตร์ ครับ

ดูจากตารางด้านล่างนี้ ถ้าเป็นหน่วยนับ SI นั้น ยกตัวอย่างจาก kB จะเป็น 10^3 ครับ แต่ ถ้าเราแปลงเลขฐานเป็น Binary หรือ 0 และ 1 ทางคอมพิวเตอร์แล้วเนี่ย จะเป็น 2^10 แทน ครับ

SI prefix Binary prefixes
NameSymbolMultiple NameSymbolMultiple
kilobytekB103 (or 210) kibibyteKiB210
megabyteMB106 (or 220) mebibyteMiB220
gigabyteGB109 (or 230) gibibyteGiB230
terabyteTB1012 (or 240) tebibyteTiB240
petabytePB1015 (or 250) pebibytePiB250
exabyteEB1018 (or 260) exbibyteEiB260
zettabyteZB1021 (or 270)    
yottabyteYB1024 (or 280) 

ตารางจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Byte

ดังนั้น
210 = 1,024
220 = 1,048,576
230 = 1,073,741,824
240 = 1,099,511,627,776

หรือ

Log2 1,024 = 10
Log2 1,048,576 = 20
Log2 1,073,741,824 = 30
Log2 1,099,511,627,776 = 40

คงเข้าใจกันมากขึ้นแล้วนะครับ หุๆๆ หรือว่าไม่เข้าใจตรงไหน เดี่ยวจัดให้อีกครับ ;)

แสบๆ คันๆ !!! Bill Gates เยาะเย้ย Software เถื่อนเมืองไทย กระทบคนไทย โปรแกรมเมอร์ไทยและบริษัทไทยมากกว่า MS

แสบๆ คันๆ !!! Bill Gates เยาะเย้ย Software เถื่อนเมืองไทย กระทบคนไทย โปรแกรมเมอร์ไทยและบริษัทไทยมากกว่า MS

Ref : http://www.pantip.com/tech/developer/topic/DM1851552/DM1851552.html

ข่าวบางส่วนจากไทยรัฐ

ผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟต์ยังกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในไทยว่า ในส่วนของไมโครซอฟต์เห็นว่าซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ได้ลิดรอนรายได้ของบริษัทเท่าใดนัก หากเทียบกับยอดขายในภาพรวม อย่างในสหรัฐอเมริกานั้น บริษัทตั้งแต่ขนาดกลางถึงใหญ่ ส่วนใหญ่ใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์เท่านั้น นอกจากนี้ไมโครซอฟต์ยังเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจทั่วโลก มีรายได้จากการขายสินค้าให้ประเทศต่างๆ ที่จะได้รับผลกระทบจริงๆ น่าจะเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ในประเทศมากกว่า เพราะบริษัทเหล่านี้มีรายได้จากค่าลิขสิทธิ์เป็นหลัก และส่วนใหญ่ขายในประเทศ


ขออนุญาตสรุป ที่ บิลเกตส์ บอกให้นะครับ

  1. ประเทศไทย ใช้ software microsoft เถื่อนทั้งประเทศ เขาก็ยังรวยอันดัน 1 ของโลก
  2. มันเป็นการฝึกวินัยผู้ใช้ และ ช่วยเหลือ นักพัฒนา software ของประเทศไทยเอง ว่าควรละอายใจและต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อ software บ้าง มิฉะนั้น อุตสาหกรรม software ในประเทศไม่เติบโตแน่นอน ไม่ต้องคิดไปแข่งในตลาดโลก

สรุป มองเหรียญให้มอง 2 ด้านนะครับ

  1. ราคาขายเพื่อสถานศึกษา หรือเพื่อการศึกษา องค์การเพื่อการกุศล หน่วยงารรัฐบาล รัฐบาลน่าจะเจรจา ซื้อ เหมาในราคาถูก ต่ำกว่า 50% จำนวนมากๆ เช่น 1 แสนชุด หรือ 1 ล้านชุด เป็นต้น
  2. รณรงค์ให้บริษัท หรือ องค์การที่มุ่งหวังผลกำไร ซื้อ software ของคนไทยให้มากขึ้น
  3. สร้างองค์กรอิสระ ที่ยินดีให้ความรู้ ด้านอุตสาหกรรม software ด้านเงินทุนสนับสนุน

เป็นความคิดเห็นที่อยากให้ อุตสาหกรรมนี้พัฒนา


ผมลืมตอบประเด็นกระทู้ ตอบสั้น ๆ ว่า..บิล เกตต์พูดถูกทุกอย่างครับ ผมตอบตามประสบการณ์ครับ มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ ในประเทศไทย เชื่อไหมครับคุณ Haa ว่าโปรแกรมดี ๆ บ้านเรา อย่างแปลไทย อ่านไทย Nod32 ราคาประมาณ 200-250 บาทเท่านั้นเองครับ คนยังไม่ซื้อใช้กันเลย ไปซื้อแผ่นรวมโปรแกรมมาใช้ ถ้าผมเป็นโปรแกรมเมอร์ ผมไม่เอาละ แบบนี้

แต่ส่วนที่ผมพูดถึงเรื่องซอฟต์แวร์แห่งชาติ ผมไม่ได้พูดไปถึงการเขียนโปรแกรมนะครับ ผมแค่พูดถึง user ธรรมดา ๆ นี่แหละ อยากเห็นเราสร้างทางเลือก เพื่อลดต้นทุนในเรื่องลิขสิทธิ์ของประเทศเราเท่านั้นเอง ของฟรี มันก็ธรรมดาครับที่ประสิทธิภาพมันย่อมด้อยกว่า แต่ในลักษณะงานหลาย ๆ อย่าง ผมเห็นว่าเราไม่จำเป็นต้อง MS เสมอไป ถ้ารัฐบาลให้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์แห่งชาติได้ บังคับให้นักเรียนใช้ได้ การละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทยจะลดลงทันทีเลยไม่น้อยกว่า 50% อันไหนฟรีก็ฟรี อันไหนที่คนใช้เยอะ ก็ควรพัฒนาขึ้นมา ขายในราคาไม่แพงมาก

นี่เห็นด้วยกับตา Bill นะ จริงๆ ผมเป็นคนที่ชื่นชอบคนไอทีหลายๆ คนหนึ่งในนั้นก็ตา Bill เนี่ยหล่ะ หนังสือของเค้าก็ซื้อแทบทุกเล่ม ตา Dell หรือตา Jobs ก็หาๆ อยู่ ได้มุมมองในการทำธุรกิจด้านซอฟต์แวร์เยอะดี

จริงๆ คนไทย ส่วนมากเลย ไม่ได้มองซอฟต์แวร์เป็นสินค้าที่มีไว้ขายครับ แต่เป็นของแถมที่มันมากลับเครื่องมากกว่า คือตอนซื้อคอมฯ ก็ถามเลย มีอะไรให้มั้ง ทั้งๆ ที่มันเป็นเรื่องที่คนซื้อเครื่องต้องเสียเงินอยู่แล้ว เพราะว่ามันเป็นแรงสมอง และสองมือในการทำ มันก็เหมือนผลงานของพนังงานขายของนั้นหล่ะ

แล้วร้านขายคอมฯ มันให้กันจนชินแล้วไง มันเลยกลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ ไป T_T

แล้วคนทำงานด้านซอฟต์แวร์เลยซวยครับ ซวยอย่างแรง เพราะว่าไม่มีใครอยากเสี่ยงทำซอฟต์แวร์กล่อง หรือขายเป็นชิ้นเป็นอันเพื่อเอาชีิวิตรวยจากส่วนนี้ไง เพราะมันขายไม่ได้หรอก มันยากมากเลยหล่ะ แบบว่าเจอ 10 ซอฟต์แวร์ ใน 1 แผ่น ราคา 100 บาท เข้าไปคนทำซอฟต์ไทยก็อ้วกแล้ว เพราะว่าในนั้นมันคือซอฟต์แวร์ที่มีคุณสมบัติที่มันดีกว่า แต่มันละเมิดไง แถมราคาจริงๆ รวมกันทั้งหมดแล้วก็แพงมากด้วยเมื่อเทียบกับคนไทยทำเอง อีกอย่างเพราะว่าทำกันมานาน มันเลยดีกว่า แล้วอย่างงี้เมื่อไหร่ ซอฟต์แวร์ไทยๆ มันจะเกิดหล่ะ ถ้าไม่มีการสร้างคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ที่ดีๆ หรือมีก้าวแรกให้กับคนทำซอฟต์แวร์ไทย

หลายคนก็ดีนะ อุดหนุ่น แต่ ……. คือซื้อแท้มา 1 กล่อง แจกซะ 20 คน จบครับ จบ T_T แล้วมันจะได้อะไรขึ้นมาหล่ะ ไม่ชักชวนไปซื้อหล่ะครับ นี่เวลาแนะนำ Software AntiVirus ถ้าคนขอคำแนะนำมีตังหน่อยก็แนะนำ NOD32 ที่มีสิขสิทธิ์ไป ราคาก็ไม่แพง 249 บาทเอง หรือไม่ค่อยมีตังก็ Avast ไป ไม่ ใครจะมาขอ S/N Key ที่ผมซื้อแท้มา นี่ไม่ให้เลยครับ ให้ซื้อเอง นี่กำลังรอเก็บเงินซื้อ S/N Key ของ EditPlus อยู่เพราะว่าใ้ช้งานมันเยอะเหมือนกัน เลยว่าจะซื้อเสียหน่อย -_-”

Bill Gates มาอะไรๆ ก็คงเหมือนเดิม

เนคเทคตอกรัฐบาล จับมือไมโครซอฟท์ “คิดสั้น”

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9480000087782

ปัญหา OSs ในไทยมันไม่ใช่ว่า Micro$oft (เล็กนิ่ม) จะมา หรือจะไป ถึงตา Bill จะมาไทยทุกอาทิตย์ ยังไง .Net มันก็ต้องได้เกิด จริงๆ มันเกิดมานานแล้ว แต่ไม่มีคนรู้ ไม่เป็นข่าวมากกว่า การมาครั้งนี้เหมือนเป็นการโปรโมตรและตอกย้ำว่า ICT จะใช้ระบบ จาก เล็กนิ่ม แน่นอน อ้าวว ถ้าไม่เชื่อไปดูทุกโครงการ ICT มี เล็กนิ่ม ตลอด

มันแค่ปรากฎการเล็กๆ ในเรื่อง นำซอฟต์แวร์ของเล็กนิ่มมาใช้ในวงการราชการอยู่แล้ว หลาย ๆ ประเทศก็ใช้ ไม่แปลก

แต่ปัญหามันอยู่ที่ “เงิน” ในสภาพเศษฐกิจไทยในตอนนี้ เราต้องการเงินลงทุนครับ ไม่รู้เพื่อเพิ่มการลงทุนของ เล็กนิ่ม ในไทย หรือเพิ่มรายจ่าย ให้กับเล็กนิ่มกันแน่ ผมก็ยังไม่แน่ใจ ต้องดูกันยาวๆ ในตัวหุ้นของเล็กนิ่ม ที่ลงทุนในไทย

เข้าเรื่องปัญหาของ OSs กันก่อนดีกว่า จริงๆ เคยเขียนใน webblog ไว้แล้ว แต่ไม่รู้ว่ามีใครไปอ่านหรือเปล่า T_T

ในเรื่อง OSs ในไทยไม่โต มันเกิดจาก การ support ครับ อย่าลืมว่าซื้อซอฟต์แวร์มา ไม่มีการ support คำตอบคือ จบ ไม่ซื้อ จริงๆ ถ้า GUI สวย แต่คนใช้งานมันไม่ได้เหมือนกันทุกคน ยังไงก็ต้องมีความไม่เข้าใจใน GUI ครับ เปิด Help คู่มือต่างๆ หรือใน Web Support แล้วคำตอบไม่เคลียร์ก็จบครับ

เหมือนซื้อของครับไม่มีประกัน หรือตอบปัญหาการใช้งาน ก็แทบจะไม่มีคนซื้อครับ ซึ่ง OSs ในไทยยังห่างชั้นกับ OSs ในต่างประเทศเยอะในเรื่องนี้ครับ ส่วนมากตอบคำถามกันในแบบ techical term ครับ คือศัพท์ต่างๆ แบบผู้ใช้ฟังแล้ว ต้องเปิด dictionary แปล แล้วต่อด้วย dictionary computer อีกรอบ ยังไม่เข้าใจเลย คือถ้าตอบแบบผู้ใช้เข้าใจง่าย มีคู่มือที่ทันสมัย ผมว่ารุ่งครับ แล้วก็อีกเรื่องคือ หนังสือ หรือคู่มือใช้งาน OSs ในไทย ไม่มีสำนักพิมพ์ไหนกล้าพิมพ์มากนักครับ ที่พิมพ์ๆ มาก็มีน้อยครับ ไม่เป็นตัวเลือกที่ดี หรือเขียนแบบแปลจาก help มาอันนี้ก็ไม่ไหวครับ

เรื่องต่อมา OSs นั้นใช้งานยาก และการติดตั้งนั้นซับซ้อน (ในบางตัว) การใช้งานยากนี่เป็นประเด็นหลักครับ คือมีน้อยมากที่ OSs นั้นจะทำงานได้ดี และไม่มีปัญหา ยกตัวอย่างเช่น

Xara X, illus, corelDraw มาใช้ Inkscape นี่ก็แฮงบ้าง หรือไม่ก็มีปัญหาในการ optimize ภาพ

Microsoft Visio มาใช้ Dia ก็มีปัญหาในการเปิดโปรแกรมต่างๆ การ support แล้วก็คู่มือห่วยแตกอย่างแรง T_T

Sony Sound Forge มาใช้ Audacity อันนี้ดีมาก ถึงคู่มือจะไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ถือว่าใช้งานได้ดี แฮงบางนิดหน่อย คือ GUI มันใช้งานง่ายอยู่แล้ว มันเลย ok

Adobe Acrobat 7.0 มาใช้ PDFCreator ผมถือว่าดีในระดับหนึ่ง ถ้าทำงาน Draf ทั่วๆ ไป แต่ถ้าทำงานเกี่ยวกับการพิมพ์จริงๆ ไม่แนะนำ เพราะสีเพี้ยน และระบบจัดการ profile color ยังไม่ดี เทียบกับ Adobe จ้าวตลาดไม่ได้เลย

InterVideo WinDVD, PowerDVD มาใช้ VLC media player ใช้งานยากและ GUI ไม่สวย คู่มือยังห่วยอยู่

Macromedia Dreamweaver มาใช้ Nvu ถ้าทำเว็บแนวๆ HTML และการจัดการ CSS ก็ ok แต่ถ้าเป็น CGI แล้วนี่จบ ถึงแม้สนับสนุนภาษาไทย แต่ยังไม่เต็มที่ใน CGI

Macromedia Flash -> ?????? หาไม่เจอจริงๆ T_Y

Microsoft Office 2003 มาใช้ OpenOffice.org 1.9.104 (2.0 Beta) อันนี้ยาวหน่อย คือถ้าใช้งานกันในบริษัท เดินงานกันเป็นกลุ่มๆ ก็ ok เพราะว่า OpenDocument ของทางฝั่ง OO.org ของเมืองนอกนั้นทำมาดี และหวังจะมาแทน format ไฟล์ของเล็กนิ่ม ถ้างานด้าน Word Processing กับ Spreadsheets ถือว่าทำได้ดีมาก แต่ถ้าเป็น Presentation แล้วจบครับ ยังไม่ได้เรื่องเท่าไหร่ ส่วนงานด้าน Database นั้นความง่ายก็พอๆ กันครับ ส่วนการใส่สูตรคณิตศาสตร์นั้น OpenOffice.org ทำได้ดีกว่าครับ จริงๆ แล้ว format ไฟล์ของ OpenOffice.org ขนาดไฟล์เล็กกว่า Microsoft Office เยอะครับ อย่างเอกสารของผมถ้า save ใน word มีขนาด 876,377 แต่ถ้าไปใช้ format ไฟล์ของ OpenOffice.org เหลือแค่ 27,133 ไบต์ มันเกิดอะไรขึ้น ?

ในไทย OpenSourse Software ยังพ่ายต่อ Commerce Software อยู่วันยังค่ำครับ ถ้าคนไทยบางกลุ่มยังใช้ Software โดยไม่คำนึงถึงมูลค่าของมันว่ามันมีค่าตัวของมันเอง

ผมไม่ได้ต่อต้าน Commerce Software ครับ ตอนนี้ในเครื่องก็มีหลายๆ ตัวที่เถื่อนเหมือนกัน แต่บางตัวก็ต้องซื้อครับ ตอนนี้รวมๆ ก็หลายหมื่นแล้ว ไม่ได้รวยครับ แต่ซื้อในราคานักศึกษา อย่าง Adobe เนี่ยเค้ามีโครงการซื้อราคานักศึกษาครับ อย่าง Adobe CS2 ราคาทั้งชุด 45,000 – 60,000 /Computer ผมไม่แน่ใจเท่าไหร่ แต่ราคานักศึกษาอยู่ที่ 15,000 บาท / Computer ครับ และหลายตัวที่ราคานักศึกษาถูกกว่าหลายเท่าครับ

อย่าปฎิเสธเรื่องการใช้ Commerce Software ถ้าใช้มันหาความรู้ และรายได้ ผมถือว่ามันคือต้นทุนของการผลิตความรู้ และเงินในกระเป๋าครับ

แต่ OSs ที่ Boom มากๆ อย่าง Firefox นี่เป็นตัวอย่างที่ดีครับ Community และการ Promote ต่างๆ ผมว่าเป็นแบบอย่างที่ดีมาก จริงๆ Firefox ที่คนไทยกำลังทำกันอยู่ก็ทำงานมาถูกทางแล้วครับ OSs ในไทยน่าจะเอาอย่างเยอะๆ ครับ จริงๆ หลายๆ ดีๆ แต่ไม่ได้พูดถึงอย่างเคืองกันเน้อ ….. ;)

* วิเคราะฟ์วิจารณ์ตรงไปตรงมาครับ ถ้าไม่ถูกใจก็ขออภัย อันนี้มองในมุมผู้ใช้ครับ