สรุป Timeline ย้ายค่าย LINE Mobile และความคิดเห็นหลังจากย้ายมาใช้ 20 วัน

จาก blog ก่อนหน้านี้ที่ ลองสมัครย้ายค่าย LINE Mobile

ก็สรุปลำดับการย้ายค่ายคือ

  • Oct 30, 2017 – แจ้งย้ายค่าย Truemove H ไป LINE Mobile ผ่าน *151*
  • Oct 30, 2017 – Truemove H โทรมาตรวจสอบและยืนยันการย้ายค่าย
  • Nov 1, 2017 – ได้รับ SIM จาก LINE Mobile ผ่าน Kerry Express
  • Nov 2, 2017 – ได้รับใบเสร็จรับเงินค่าบริการเดือนแรกของ LINE Mobile ผ่านทางจดหมาย
  • Nov 7, 2017 – ใช้งานได้
  • Nov 7-28, 2017 – ใช้งานมาแล้วประมาณ 20 วัน

ความคิดเห็นหลังจากย้ายมาใช้ LINE Mobile โดยวัดจากมือถือที่ใช้งานเป็นระบบ dual SIM โดยเครือข่ายที่เอามาเปรียบเทียบคือ AIS ใช้ data plan ที่ 20GB พื้นที่ทดสอบก็บริเวณ สยาม ถ.พระราม 3 และแถวๆ ถนนเจริญกรุง และลองไปใช้ในงานที่มีคนเยอะๆ มารวมตัวอยู่ด้วยกันมาก อย่าง CAT Expo 4 วันที่ 25 และงานรับปริญญาธรรมศาสตร์วันที่ 26 ที่ผ่านมา

พบว่าเครือข่าย DTN ที่ LINE Mobile ใช้นั้น มีปัญหามาก คุณภาพไม่คงที่ แม้ว่าในหลายพื้นที่ AIS จะช้ากว่า DTN แต่ความเสถียรในการรับ-ส่งข้อมูลกลับนิ่ง-ราบรื่นกว่า ผิดกับ DTN ที่แม้จะได้ความเร็วที่ดีกว่า แต่ความเสถียรกลับน้อยกว่า “มาก” สัญญาณแกว่งมาก ดูวิดีโอ หรือโหลดข้อมูลที่ต้องการความต่อเนื่องจะเห็นชัดเจนมาก (speed test ค่าย AIS ได้ 8-12Mpbs ส่วน DTN วิ่งไป 5-20Mbps)

จากปัญหาสัญญาณแกว่งของ DTN ทำให้ data ของ AIS ที่มีจำนวนเท่ากันที่ 20GB หมดก่อน ส่วนของ DTN ยังเหลือออยู่ 13GB ทั้งๆ ที่ปรับเอา DTN มาใช้เป็นเครือข่ายหลักแล้ว แต่หลายๆ จุดหลายๆ ที่ไม่สามารถตอบสนองการใช้งานได้ ต้องย้ายมาใช้ AIS อยู่เยอะมาก จนน่ารำคาญ

สรุปสั้นๆ ถ้าไม่ลดราคา 50% ลงมาที่ 300 บาท ได้ data 20GB แนะนำให้ย้ายออก หากยังไม่ปรับปรุงคุณภาพให้ดีกว่านี้ (ผมคิดว่าจะใช้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดโปร 50%)

ลอง OneDrive Files On-Demand บน Windows 10 Fall Creators Update แล้วพบว่า จ่ายเงินกับ Dropbox Professional ดีกว่า

หลังจาก Dropbox ออก Smart Sync ที่เป็น Files On-Demand แต่เสียเงินเพิ่ม $100 สำหรับ feature ดังกล่าว

(upgrade plan จาก Dropbox Plus ราคา $99.99/Year ไปใช้ Dropbox Professional ราคาเต็ม $199.99/Year)

เมื่อคืนที่ผ่านมา ผมก็ย้ายข้อมูลไปไว้บน OneDrive แทน เพราะจะใช้งาน Files On-Demand ของ OneDrive ที่เป็นความสามารถใหม่ที่มาพร้อมกับ Windows 10 Fall Creators Update แทนจ่ายเงินให้กับ Dropbox Professional เพิ่มอีก $100

การทดสอบนี้ใช้ทั้ง OneDrive (Consumer) และ OneDrive for Business เพราะผมมีทั้ง 2 แบบเลย โดย OneDrive (Consumer) มีพื้นที่ 38GB และ OneDrive for Business มีพื้นที่ 1TB ซึ่งใช้ client ของ OneDrive ตัวล่าสุดบน Windows 10 Fall Creators Update

แล้วพบว่า …..

ผมกดจ่ายเงินอัพ Plan ไปใช้ Dropbox Professional ต่อไปดีกว่า …..

อ้าวววววว!!!

สิ่งที่เจอบน OneDrive (Consumer) และ OneDrive for Business ทั้ง 2 ตัว แล้วพบว่ามันทำงานได้แย่ และยังสู้กับ Dropbox ไม่ได้ก็คือ

  1. หากจำนวนไฟล์เยอะมากๆ พบว่ามันทำงานได้ช้ามาก (เยอะแน่นอน ให้พื้นที่มา 1TB ไฟล์มันต้องเยอะอยู่แล้ว) ช้าในระดับที่เปิดเพลง Spotify ฟังยังกระตุก และพัดลม CPU ทำงานเต็มรอบมันตลอดเวลา
  2. จากข้อข้างบน การอัพเดทไฟล์ใดๆ จะทำให้ OneDrive มันต้อง Looking for changes แล้วเวลาเกิดการทำงานนี้ มันจะกิน CPU สูงมากตลอด (เป็นเหตุผลของการกระตุกของการทำงานร่วมกับแอปอื่นๆ)
  3. OneDrive for Business ไม่รองรับอักขระพิเศษหลายตัวที่ File System ปรกติมันรองรับ ต้องมา rename ไฟล์โน้นนี่เยอะไปหมด

    สำหรับในส่วนของชื่อไฟล์ภาษาญี่ปุ่นนั้น ทดสอบซ้ำอีกรอบ น่าจะเป็นเพราะ folder มีอักขระพิเศษ (มี # อยู่ที่ชื่อ folder) และชื่อไฟล์มีอักขระพิเศษเลยโดน OneDrive for Business มัน Block ซึ่งปัญหานี้ไม่พบบน OneDrive (Consumer)
  4. การโหลดข้อมูลเข้า Cloud ของ Microsoft ทำงานช้ามาก การอัพโหลดไฟล์เยอะๆ ตัวโปรแกรมมันก็ทำงานช้าแล้วนะ แต่ตัว Cloud ก็ยังทำงานาช้าอีก แถมบางครั้ง Web และ App บนมือถือก็เหมือนจะอัพเดทไฟล์ไม่ทันที ต้องรอสัก 10 นาทีถึงจะเห็นไฟล์ที่อัพโหลดไปเสร็จแล้วเมื่อ 10 นาทีก่อน อาจจะเป็นผลจากข้อแรกคือ ไฟล์เยอะ การ refresh ข้อมูลใหม่เลยทำงานช้าตามไปด้วย

สรุป OneDrive Files On-Demand อาจจะเหมาะกับไฟล์น้อยๆ มั้ง ไฟล์เยอะๆ แบบเรานี่คงจะไม่ไหว (แต่ OneDrive for Business พี่ให้พื้นที่มา 1TB เลยนะ)

หมายเหตุ สิ่งที่เพิ่มมาใน Dropbox Professional คือ

  • Smart Sync (Files On-Demand)
  • Full text search (เอาไว้ค้นหาข้อมูลในไฟล์)
  • File version history 120-day history (Plus ให้ 30-day)
  • Shared link controls (Plan เก่ามันเคยมี มันถอดออกมาให้ Pro ใช้แทน)

ซึ่งเป็นความสามารถที่ดีมากๆ ทุกตัว แต่ก็ช่างใจนิดนึงกับราคาที่แพงขึ้นมากจนน่าตกใจ

เปรียบเทียบการคิดเงินของ uber แบบเดิมและ upfront มาดูว่าแบบไหนราคาแพงกว่ากัน

การคิดเงินของ uber แบบใหม่ที่เรียกว่า upfront นั้นเรากดเลือกต้นทางปลายทาง ระบบจะแจ้งราคาที่จะคิดเงินทั้งหมดให้เรา ซึ่งพอกดเรียกรถแล้วได้รถ ระบบจะ “ตัดเงินออกจากบัตรเครดิตทันที” ถ้าเรา “กดยกเลิกภายในเวลาที่กำหนดก็จะคืนเงินให้” แต่ถ้าไม่ แล้วรถมารับ ถึงปลายทางยังไง เงินที่หักไปคือจบ แต่ถ้าระบบมันมองว่าต้องคิดเงินเพิ่ม เนื่องจากใช้ระยะทาง เวลา หรือค่าบริการทางด่วนเพิ่มเติม มันจะตัดเงินเพิ่มอีกรอบนึงออกจากบัตรเครดิต

(ใครใช้บัตรเดบิตนี่จะซวยมาก เพราะเงินสดโดนหักไปเลย ถ้าในกรณียกเลิก ยังไม่มีคำตอบว่าจะโอนเงินสดนั้นกลับเข้าบัญชียังไง)

ผมเลยทำการทดสอบว่า “ทีระยะทางและแผนที่เดินทางเดิมทั้งหมดจะคิดราคาต่างกันไหม”

จึงสรุปได้ตามผลทดสอบตามนี้

uberX ราคาเดิม

– ที่ระยะทาง 7.93 กิโลเมตร ระยะเวลาในการเดินทาง 00:15:30 จะเรียกเก็บเงิน 146.22 บาท

รายละเอียดในบิลที่ส่งมา
– ค่าเดินทางเริ่มต้น = 10.00 บาท
– ระยะทาง = 31.74 บาท
– เวลา = 54.48 บาท
– ค่าผ่านทาง การเก็บเงินเพิ่ม และค่าธรรมเนียม = 50.00 บาท

พอถึงที่หมายแล้วก็ค่อยหักเงินออกจากบัตรเครดิต

uberX แบบ upfront

– ระยะทาง 7.87 กิโลเมตร ระยะเวลาในการเดินทาง 00:12:30 เรียกเก็บเงินแล้ว 164.19 บาท

รายละเอียดในบิลที่ส่งมา
– ค่าโดยสารการเดินทาง = 114.19 บาท
– ค่าผ่านทาง การเก็บเงินเพิ่ม และค่าธรรมเนียม= 50.00 บาท

โดย upfront ไม่มีการแจกแจงว่า ค่าเดินทางเริ่มต้น, ระยะทาง และเวลา มีอัตราราคาเท่าไหร่ และเมื่อกดเรียกรถได้ ระบบจะตัดเงินจากบัตรเครดิตด้วยจำนวนเงินที่คำนวณไว้ล่วงหน้าทันที พอถึงที่หมายก็คือจบไม่มีการคืนเงินอะไรทั้งสิ้น

ซึ่งในการคิดราคาแบบ upfront ครั้งนี้นั้น ระยะทางและเวลาในการเดินทางก็น้อยกว่า แต่กลับคิดเงินแพงกว่าเกือบ 20 บาท

คนใช้บริการก็ตัดสินใจเอาว่าจะใช้งานกันต่อไปหรือไม่กับการคิดเงินแบบนี้

 

Joshua: Teenager vs. Superpower (2017)

เล่าเรื่องของ โจชัว หว่อง ภายใต้กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง Scholarism นับตั้งแต่อายุ 14 ปี ปี 2011 จนสิ้นสุด Umbrella Revolution ในปี 2014

จุดเริ่มต้นของเรื่องคือ การต่อสู้กับนโยบายของรัฐบาลจีนปักกิ่ง ต่อการเข้าครอบงำระบบการศึกษาผ่านแบบเรียนที่จะนำไปสู่ความเป็นชาตินิยม ตามแนวทางคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งกลุ่มนักศึกษาไม่ต้องการ ผลสุดท้าย รัฐบาลฮ่องกงทนแรงกดดันไม่ไหว ต้องล้มเลิกความคิดไป เป็นชัยชนะที่สำคัญต่อการต่อกรของแนวคิดประชาธิปไตยในฮ่องกงต่อคอมมิวนิสต์จีน

ช่วงท้ายเล่าจนมาถึง Umbrella Revolution ที่เป็นความพ่ายแพ้ของ Scholarism และกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง ต่อการเรียกร้องการเลือกตั้งผู้นำของคนฮ่องกงที่ต้องการเลือกผู้นำของตัวเอง ที่ไม่ได้มาจากบุคคลที่รัฐบาลจีนปักกิ่งเป็นผู้เลือกมาให้คนฮ่องกงเลือกอีกต่อหนึ่ง

ลองกด Netflix ดูได้ เป็น Netflix exclusive มีซับไทย เล่าเรื่องได้ค่อนข้างดีทีเดียว

ref: Joshua: Teenager vs. Superpower (2017)

แนะนำ CHOETECH Resistance USB-A Male To Type C Male Cable USB 2.0

รอบนี้มาแนะนำสาย USB Type-C ที่ชื่อ CHOETECH Resistance USB-A Male To Type C Male Cable USB 2.0 อีกสักตัว

โดยเป็นแบบ USB 2.0 ในราคาไม่แพงมาก (แต่สำหรับคนที่สนใจ USB 3.0 แนะนำ แนะนำสาย AUKEY CB-C10 USB Type-C to USB Type-A USB 3.0)

สายเส้นนี้ ซื้อจาก Aliexpress ราคาประมาณ 1.97 USD สำหรับความยาว 50cm และ  2.57 USD สำหรับความยาว 100cm โดยฟรีค่าส่ง (ราคาอาจจะแตกต่างกันไปนิดหน่อย แล้วแต่ว่าจะเจอช่วงลดราคามากน้อยแค่ไหน)

แพคเกจก็มาใส่ถุง และมียางรัดสายไว้ ขนาดสายใหญ่พอๆ กับตัว USB 3.0 ก่อนหน้านี้ การเข้าหัวเรียบร้อยดีมาก

ตัวนี้เกือบตกสำรวจ ดีว่าพี่ลิ่วแนะนำมา แล้วอ้างอิงผลทดสอบของ Benson Leung (Google Engineer) พอดี ซึ่งผมก็เอาเป็นจุดสำคัญในการซื้อสายนี้มาใช้ เพราะเค้าได้ทดสอบแล้วว่าเป็นสายที่ผ่านการทดสอบ และคุณภาพดี (Customer Review)

ใครอยากหาสายราคาไม่แพง ผ่านการทดสอบว่าทำงานได้ดี ไม่ทำให้อุปกรณ์เสียกายก็ลองหามาดูครับ

 

2017-02-18 14.16.10