Nokia ปล่อยตัว update “Portico” ของ Windows Phone 8 สำหรับ Nokia Lumia 920 ในประเทศไทยแล้ว!

ผมนั่งกดๆ Phone update ทุกวันว่าเมื่อไหร่ Windows Phone 8 ตัวที่แก้ไขปัญหาหลายๆ ด้านและเพิ่มความสามารถที่มากขึ้นในรหัส "Portico" (8.0.10211.204) ของ Nokia Lumia 920 จะปล่อยมาให้ update ในประเทศไทยสักที

มาวันนี้ก็ได้อัพกับเค้าสักที กดๆ เล่นๆ มีให้ update เฉยเลย

แน่นอนว่ารายการอัพเดทก็ตามนี้ครับ Nokia และ Microsoft เริ่มปล่อยอัพเดต Lumia 820/920 ให้กับผู้ใช้ในสหรัฐและแคนาดาแล้ว

กด update มันก็บอกให้ต่อ Wi-Fi ก่อน เพื่อ download ตัว update มาลง

wp_ss_20130214_0002 

ระหวางรอก็ลุ้นๆ กันไป

0sFbXB

โหลดเสร็จแล้วก็ยืนยันการติดตั้งว่าจะติดตั้งแล้วนะ ….

wp_ss_20130214_0003

ระหว่างติดตั้งก็นั่งดูอะไรพวกนี้ไปก่อน ใจไม่ค่อยดีเห็นหน้าตาแบบนี้แล้ว เพราะเคย bricked มาก่อน ฮาๆๆๆ

77eSZz

เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยก็ให้ตัว update มัน migrate ตัวข้อมูลกันสักพัก แล้วก็ restart สักรอบนึง

wp_ss_20130214_0004 wp_ss_20130214_0005

 

แล้วทุกอย่างก็จบ!!!

wp_ss_20130214_0006

รวมระยะเวลาทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 30 – 40 นาทีเห็นจะได้ (เน็ตมันช้าก็ทำใจนิดนึง) และแบตก็แนะนำให้ชาร์จเต็มๆ 100% ไว้ก่อนแล้วกันครับ

Update ตัวแก้ปัญหาการใช้พลังงานจาก Battery สำหรับ Laptop ที่ใช้ Windows XP SP2

จาก Knowledge Base Article : KB918005 : Battery power may drain more quickly than you expect on a Windows XP SP2-based portable computer

Download the Update for Windows XP (KB918005) package now.

เป็นปัญหาที่ Windows XP SP2 ควบคุมการใช้พลังงานจาก Battery ผิดพลาดนั้นเอง

  • The portable computer cannot enter the deeper Advanced Configuration and Power Interface (ACPI) processor idle sleep states.

    This occurs when the USB 2.0 driver leaves the asynchronous scheduler component running continuously. This prevents the processor from entering the deeper ACPI processor idle sleep states, or C-states. C-states save power when the processor is not busy. These states range from C0 to C3 or C4. Typically, an idle portable computer uses the C3 and C4 states to preserve battery power. If an idle portable computer cannot enter or maintain the C3 or C4 states, the battery power drains more quickly. This problem is fixed by installing the download that is available in this article.

  • The USB host controller is unable to turn off.

    This typically occurs when devices are removed from a nested USB hub that is attached to the host controller. The host controller does not recognize the device removal. Therefore, the controller is never turned off. This prevents the processor from entering the ACPI processor idle sleep states. This problem is not fixed by installing the download that is available in this article.

  • The USB host controller uses the periodic scheduler for USB 2.0 devices.

    This typically occurs when devices that rely on the periodic scheduler are attached to the host controller. These may be isochronous (Isoch) devices such as audio devices. Alternatively, they may be interrupt devices such as mouse or keyboard. This problem is not fixed by installing the download that is available in this article.

มันมาแล้ว The Windows Genuine Advantage !!! และของใหม่ Microsoft Update

วันนี้ตอนตี 5 ได้ลองเข้า Windows Update มีการให้ Download ตัวซอฟต์แวร์ Windows Genuine Advantage Validation Tool (KB892130)และมีระบบ Update ตัวใหม่ Microsoft Update ด้วย

โดยเจ้า Windows Genuine Advantage Validation Tools เป็นระบบตรวจสอบลิขสิทธิ์การใช้งาน Windows ของ Microsoft ซึ่งเคยเขียนไว้ใน blog แล้วใน ท่าทางจะต้องซื้อ Windows ซะแล้ว …… ใครที่จำได้ก็จะเข้าใจ แต่ใครยัง งงๆ ลองไปอ่านดูก่อน

Windows Genuine Advantage Validation Tool (KB892130)
The Windows Genuine Advantage Validation Tool enables you to verify that your copy of Microsoft Windows is genuine. The tool validates your Windows installation by checking Windows Product Identification and Product Activation status. After you install this item, you may have to restart your computer. Once you have installed this item, it cannot be removed.

Get help and support
http://support.microsoft.com

ซึ่งหลังจากที่ได้ทำการ Update มันก็ตรวจสอบเครื่องเราทันที หุๆๆๆ สรุป

Validation Failure: Invalid Product Key

Why did it not validate?
The product key associated with your copy of Windows was never issued by Microsoft.

ซวยแล้วตรู Update ไม่ได้ !!!

ไม่เป็นไร อิๆๆ เรามีแผนสองอยู่แล้ว เพราะผมได้เตรียมมันเอาไว้ !?

นั้นคือ …. ??????!@#

CD-Key ลิขสิทธิ์แท้ ราคาไม่แพง (หรือเปล่า) แต่ด้วยว่าไม่อยากเปลี่ยน (ด้วยอารมณ์ขี้เกียจ) ตอนนี้ได้เปลี่ยน บอกไว้ก่อนนะครับ ผมไม่ให้นะ CD-Key ลิขสิทธิ์อ่ะ เดี่ยวโดน Block ผมจะแย่ ….

ตอนนี้ใครจะ Update Windows ก็คิด ดีๆ ก่อนเน้อ …… ;)

ต่อมา Microsoft Update เป็นระบบ Webservice ตัวใหม่ที่ผมว่าเอามาแทน Windows Update แน่นอนเลย เพราะว่าตัวนี้ฉลาดกว่ามาก เพราะว่ามัน Detect ระบบว่ามีซอฟต์แวร์ของ Microsoft ตัวใดบ้างที่ยังไม่ Update ….. น่าใช้ดี

ใหม่!!! Firefox 1.0.3 ปิดช่องโหว่อันตราย

เมื่อวานเพิ่งอัพเกรดไปหยกๆๆ

ใหม่!!! Firefox 1.0.3 ปิดช่องโหว่อันตราย
โดย กองบรรณาธิการเว็บไซต์ ARiP.co.th อัพเดต 17 เมษายน 2005 เวลา 9:26 น.

รายงานข่าแจ้งว่า Mozilla Foundation ออกบราวเซอร์ Firefox และชุดซอฟต์แวร์ Mozilla เวอร์ชันใหม่แล้ว โดยเป็นเวอร์ชันที่ได้รับการแก้ไขช่องโหว่ต่างๆ ที่ได้เคยรายงานข่าวไปแล้ว ก่อนหน้านี้ ได้มีการรายงานข่าวถึงช่องโหว่ของความปลอดภัยในกลไกการทำงานของ JavaScript ล่าสุดช่องโหว่ดังกล่าวได้มีการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว โดยในเวอร์ชั่นใหม่ได้มีการแก้ไขช่องโหว่วิกฤติที่พบ 3 แห่งใน Firefox แต่ก็จะพบช่องโหว่ดังกล่าวด้วยใน Mozilla ถึง 2 แห่ง ช่องโหว่ทั้งหมดยังจะได้มีการแก้ไขเข้าไปในชุดซอฟต์แวร์อัพเกรด Firefox ด้วย ส่วนเมล์ไคลเอ็นต์อย่าง Thunderbird ยังไม่มีรายงานการปรับปรุงใดๆ ทั้งสิ้น
สำหรับ 3 ช่องโหว่วิกฤติที่แก้ไขไปแล้วนั้น มี 2 ช่องโหว่ที่เกิดจากการรันโค้ดที่ไม่ปกติ เพื่อนำไปสู่การได้รับสิทธิ์ในการเข้าถึงระบบ
ช่องโหว่แรกเป็นข้อผิดพลาดของการสนับสนุนการทำงานกับ favicons (ไอคอนเล็กๆ ที่อยู่หน้า URL ในช่อง Address ของบราวเซอร์) ที่ผู้บุกรุกสามารถรันสคริปท์ เพื่อยกระดับสิทธิ์ในการเข้าถึง และติดตั้ง หรือสั่งรันซอฟต์แวร์ได้ตามอำเภอใจ
ช่องโหว่ที่ 2 จะเกิดกับ Firefox โดยเฉพาะ โดยจะยอมให้สคริปท์อันตรายเปิดหน้า privilege ที่อยู่ด้านข้าง (sidebar) เพื่อส่งสคริปท์ที่สามารถใช้ในการติดตั้งโค้ดอันตราย หรือขโมยข้อมูลก็ได้
ช่องโหว่ที่ 3 จะมีลักษณะแตกต่างออกไป โดยพบจะอยู่ในส่วนของโค้ด UI ที่ใช้ในการรันสคริปท์ของผู้ใช้ ซึ่งทาง Mozilla ยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับบั๊กตัวนี้จนกว่าจะถึงวันที่ 25 เมษายน

ดาวน์โหลด Firefox 1.0.3 คลิกที่นี่

ทำไมต้อง update patch ซอฟต์แวร์ด้วยนะ ?

จริง ๆ ผมก็คิดจะเขียนมาตั้งนานแล้วหล่ะ แต่ติดที่เวลาในการรวบรวมความคิดมันสั้นเกินกว่าที่ผมจะเอามาเขียนได้อย่างมีเนื้อหาที่ไม่ซับซ้อน เพราะเขียนมาแล้วเต็มไปด้วยคำพูดที่ยากแก่การเข้าใจ แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่อาจหลีกหนีมันได้ อีกอย่างคือเนื้อหาส่วนนี้มากจากประสบการณ์ตรง และสรุปออกมาเองให้เข้าใจง่าย มันเลยไม่ตรงตามหลักวิชาการ เลยเอาไปอ้างอิงไม่ได้ แต่ก็เอาหล่ะเขียนไปทั้ง ๆ แบบนี้ดีกว่า

การ update patch หรือ upgrade ซอฟต์แวร์ (ต่อไปผมจะขอพูดสั้น ๆ ว่า update นะครับ) ให้มีความสามารถสูงขึ้น หรือลบข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดจากกระบวนการผลิต และจัดทำซอฟต์แวร์ขึ้นมา โดยหลุดรอดจากขั้นตอนการทดสอบของฝ่าย Tester (ฝ่ายทดสอบ หรือตรวจสอบซอฟต์แวร์) ของบริษัทจัดจำหน่าย นั้น ๆ จริงอยู่หลายคนคงไม่ชอบที่จะมานั่ง update ตัวซอฟต์แวร์ บ่อย ๆ แต่เราต้องเข้าใจความเป็นจริงที่ว่า “ไม่มีใดที่สมบูรณ์แบบในการผลิต” โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่มีความละเอียดอ่อนอย่างซอฟต์แวร์ ที่ทุก ๆ การจัดทำนั้น ต้องมีการวางแผนและจัดโครงสร้างของซอฟต์แวร์ ตามระบบให้ดีที่สุด และการที่มีการ update ซอฟต์แวร์โดยตัว update/patch ที่ถูกส่งมาเพื่อ update ซอฟต์แวร์นั้นถือเป็นความรับผิดชอบต่อความผิดพลาด (ในความเป็นจริงเราจะเรียกมันว่า ‘bug’) ของตนเองในการผลิตซอฟต์แวร์ออกมาแล้วมีข้อผิดพลาด ต่าง ๆ จริงอยู่ผู้ใช้ก็ไม่ชอบ และบางครั้งยุ่งยากและกินเวลานานในการทำตามขั้นตอน update แต่นั้นหมายความถึงซอฟต์แวร์ ที่เราใช้มีความผิดพลาดน้อยลงในการใช้งานด้วย และเป็นความจริงอีกเช่นกันที่เราใช้ซอฟต์แวร์ แล้วมักจะมองว่าซอฟต์แวร์ที่จัดจำหน่ายนั้นต้องไร้ที่ติ และไม่มีข้อผิดพลาด ซึ่งความผิดพลาดนี้อาจจะมีทั้งการใช้งานตามปกติแล้วเกิดปัญหา และความปลอดภัยในการใช้งานต่อซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอง ซึ่งในที่นี้ผมขอแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

  1. ปัญหาจากความผิดพลาดของซอฟต์แวร์ จากการใช้งานปกติ
  2. ปัญหาจากความปลอดถัยของระบบซอฟต์แวร์ทั้งหมด (รวมถึง “ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ” )

ปัญหาจากความผิดพลาดของซอฟต์แวร์ จากการใช้งานปกติ นั้นถือเป็นความรับผิดชอบในส่วนของข้อผิดพลาดจากความไม่สมบูรณ์ต่าง ๆ เช่น ใช้งานในบางฟังค์ชันแล้วค้าง, ใช้งานแล้วตัวซอฟต์แวร์ให้ผลออกมาไม่ตรงถามผู้ใช้ต้องการรวมถึงบางส่วนทำงานผิดพลาดจากที่ควรจะเป็น, ใช้งานไปสักพักแล้วแคช หรือเปิดตัวซอฟต์แวร์ไม่ได้หลังจากการติดตั้งซอฟต์แวรตามแบบแผนของ Requestment ของคู่มือที่ให้มา เป็นต้น ซึ่งด้วยเหตุผลปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข ซึ่งมักจะได้รับการ update ของตัวซอฟต์แวร์ได้ภายหลักจากการผลิตหรือออกสู่ตลาดไปสัก 2 – 3 เดือนขึ้นอยู่กับข้อผิดพลาดนั้น ๆ ว่ามีปัญหาต่อการใช้งานโดยรวมมากน้อยเพียงใดด้วย ซึ่งในส่วนนี้ถ้าท่านไม่ได้ใช้ฟังค์ชัน หรือไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดอาการแคชใด ๆ เลย ก็แทบจะไม่รู้สึกว่าท่านจะต้องไปทำอะไรกับมัน เพราะในเมื่อท่านสามารถใช้งานได้ดี ก็แทบจะสบายใจว่าได้ มันตอบสนองต่อการใช้งานได้ดี ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามนี้อยู่แล้วด้วย ซึ่งในส่วนนี้แนะนำว่าถ้าไม่มีเหตุการณ์ที่ทำให้งานของผู้ใช้งานต้องชะงัก ก็ไม่มีเหตุจำเป็นต้องไป update แต่ประการใดเลย

ปัญหาจากความผิดพลาดด้านความปลอดถัยของระบบซอฟต์แวร์ (รวมถึง “ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ” ) ทั้งหมด ในส่วนนี้ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการ update ซึ่งในปัจจุบันความปลอดภัยถือเป็นความรับผิดชอบสูงสุดของผู้ผลิตซอฟต์แวร์เลยทีเดียว ดังจะเห็นได้จากการ update นั้นทำด้วยความรวดเร็วมากทีเดียว เพราะไม่ว่าซอฟต์แวร์จะทำงานได้ดีเพียงใด และไม่มีข้อผิดพลาดใด ๆ เลย ในการทำงาน และไม่ก่อให้เกิดการชะงักต่อการทำงาน  แต่ความปลอดภัยของการใช้งานหมายถึงข้อมูลของผู้ใช้ที่ได้นำมาใช้งานต่าง ๆ อยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกโจรกรรม ,ดัดแปลง ,แก้ไข และเสียหาย จากการที่ถูกเจาะระบบผ่านทางข้อผิดพลาดต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ว่าจะด้วยกลยุทธในการเจาะ และโจรกรรมแบบใดก็ตาม ย่อมก่อให้เกิดความสูญเสียในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นความลับทางการค้า หรือข้อมูลอันมีค่าต่าง ๆ ที่เก็บไว้ด้วย ซึ่งไม่ว่าจะด้วยเหตุผลกลใดก็ตามที ปัญหานี้ถ้าผู้ใช้ไม่แก้ไข ก็ทำให้การทำงานต่าง ๆ ชะงัก หรือต้องแก้ไขกับอย่างขนานใหญ่เลยทีเดียว และมักจะรุนแรงกว่าความผิดพลาดของการใช้งานปกติหลายเท่าตัวทีเดียว ดังจะเห็นได้จากการถูกโจมตีจากความผิดพลาดของโปรแกรมอย่าง Worm ที่ชื่อว่า Blaster และ Sasser ที่ใช้ช่องโหวด้านความปลอดภัยของ Service ในตัวระบบปฎิบัติการ Windows เอง ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากต่อผู้ใช้ทั้ง ผู้ใช้ตามบ้าน และบริษัทต่าง ๆ มากมาย

ซึ่งส่วนมากแล้วคนส่วนใหญ่จะไม่ใส่ใจต่อการ update ซอฟต์แวร์ ไม่ว่าความผิดพลาดต่าง ๆ จะอยู่ในตัวปัญหาในข้อใดข้อหนึ่งหรือไม่ก็ตาม เพราะผู้ใช้จะให้เหตุผลว่า “มันใช้งานได้ดีอยู่” ซึ่งคำกล่าวนี้จะออกจากปากผู้ใช้ซอฟต์แวร์ที่มีปัญหาจากความผิดพลาดด้านความปลอดภัยในการใช้งานมากกว่า เพราะว่าไม่เห็นผลกระทบต่อสิ่งเหล่านี้ได้ชัดเจนเท่ากับซอฟต์แวร์ทำงานผิดพลาดปกติ

บิลเกต ได้เคยกล่าวไว้ว่า “การเปิดตัวสินค้าออกสู่ตลาดก่อนผู้อื่นด้วยสินค้าที่ดี และใช้งานได้ มักจะดีกว่าการเปิดตัวทีหลัง ด้วยสินค้าที่สมบูรณ์” ถ้ามองในเชิงธุรกิจถือว่าเป็นการกล่าวที่ปัดความรับผิดชอบลงไปยังผู้ใช้ แต่ในอีกนัยสำคัญคือ สินค้าที่ดี และใช้งานได้ นั้นหมายถึงการเปิดตัวสินค้าที่ตรงความต้องการและสนองงานที่ผู้ใช้ต้องการก่อน ความสมบูรณ์ของตัวซอฟต์แวร์เอง ดังจะเห็นได้จากเมื่อสินค้าของไมโครซอฟต์ออกมามักจะมีตัว update/patch ออกตามมาในเวลาไม่นานนักอย่างช่วย Windows XP ออกมาใหม่ ๆ นั้นยังไม่พร้อมต่อการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ชนิด USB 2.0 เพราะยังไม่ลงตัวเรื่องมาตรฐานต่างๆ ทางไมโครซอฟต์เลยตัดสินใจเปิดตัว Windows XP ก่อนความพร้อมของ USB 2.0 แต่ต่อมาก็ได้รับการ update ในการใช้งานใน Service Pack 1 นั้นเอง นั้นคงจะบอกได้ถึงความกล่าวข้างต้นของบิลเกตได้เป็นอย่างดี

อยากจะทิ้งท้ายไว้นิดว่า “ไม่มีซอฟต์แวรไหนในโลกนี้จะสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะมาจากฝั่ง OpenSource หรือ CloseSource ก็ตามที ถ้าสิ่งไหนจำเป็นต้อง update เพื่อให้งานที่เราทำ และระบบซอฟต์แวร์ทั้งหมดทำงานได้อย่างไม่มีความผิดพลาด และปลอดภัย เราก็ควรจะ update มันซะ …..”