เรื่องเล่าของ Bluetooth Keyboard ที่ใช้งานร่วมกับ Android ได้อย่าง RAPOO E6500 และ Microsoft Wedge Mobile

อยู่ๆ ก็อยากได้ Keyboard มาใช้งานร่วมกับ Android Tablet ที่ผมมีอยู่อย่าง ASUS Nexus 7

วันนี้เลยไปเดินดู ตอนแรกผมได้ Rapoo E6500 Ultra-thin Blade Wireless Bluetooth 3.0 for Android มาก่อน เลยเอามานั่งเล่น โดยรวมมันเล็กดีครับ แต่พอพิมพ์และเล่นไป รู้สึกว่ามันเล็กไป (อ้าววว ไอ้บ้า ตอนซื้อไม่คิด) ก็เลยไปเดินเล่นใน IT City ไปสะดุดกับ Microsoft Wedge Mobile Keyboard เข้า พลิกกล่องไปๆ มาๆ มันไม่ได้บอกว่าใช้กับ Android ได้แฮะที่กล่อง ผมเลยเปิดมือถือค้นหาดูว่ามีใครเขียนรีวิวเรื่องนี้ไว้แล้วเค้าใช้ Android ได้ไหม สรุปว่าได้ แต่ด้วยความไม่มั่นใจ เลยขอทางร้าน IT City เค้าทดสอบอีกที เค้าก็เลยแกะกล่องใหม่มาให้ลอง Pair กับมือถือผมเลย แล้วผมก็ลองพิมพ์ดู สรุปว่าได้แฮะ แถมการ Pair ก็ไม่ได้ยุ่งยาก สรุปเหมือนมัดมือชก ถ้าได้ก็ต้องซื้อ (ร้านแผนสูงนะเนี่ย) สรุปเลยจัดมาเลยอีกตัว ><” (แกลบครับเดือนนี้)

DSC_1771

ด้านล่างเป็น Rapoo E6500 Ultra-thin Blade Wireless Bluetooth 3.0 Android ส่วนด้านบนเป็น Microsoft Wedge Mobile Keyboard จะเห็นว่ากล่องใหญ่แตกต่างกันอย่างมาก ><”

ด้านราคาแล้วนั้น RAPOO E6500 ค่าตัวอยู่ที่ 1,490 บาท ในความรู้สึกส่วนตัวแล้วไม่แพงมากสำหรับ Bluetooth Keyboard ที่ใช้งานร่วมกับ Smartphone และ Tablet ค่าย Android ครับ

ด้านราคาของฝั่ง Microsoft Wedge Mobile Keyboard นั้นอยู่ที่ 2,590 บาท ถือว่าราคาแรงพอสมควรสำหรับหลายๆ คน แต่ถ้าพูดถึงความสามารถในการเชื่อมต่อกับหลายๆ OS แล้ว ผมถือว่าชนะขาดหลายๆ ค่ายเลย ซึ่งตัว Wedge Mobile Keyboard นั้นสามารถเชื่อมต่อผ่าน Bluetooth เข้ากับ Windows 7/RT/8 ได้สบายๆ และยังสามารถใช้กับ Mac OS X สำหรับ Desktop/Notebook โดยทั่วไป และยังสามารถเชื่อมต่อกับ iOS และ Android ได้โดยไม่แยกรุ่นแบบของ RAPOO ที่มีรุ่นสำหรับ iPad และ Android แยกขายคนละรุ่น ซึ่งถ้าซื้อมาใช้พกพาแล้ว Wedge Mobile Keyboard จบในตัวเองเลยด้านการเชื่อมต่อหลายๆ OS

DSC_1776 DSC_1778

ในด้านการใช้งานแล้วนั้น Rapoo E6500 Ultra-thin Blade Wireless Bluetooth 3.0 Android มี Layout ของการจัดวางปุ่มที่แปลกสักหน่อย ถ้าใครซื้อมาเป็นแบบ Screen ปุ่ม US แนะนำให้หาสติกเกอร์มาแปะสักหน่อย ไม่งั้นพิมพ์ไทยหลงปุ่มแน่ๆ ในด้านการพิมพ์ภาษาอังกฤษอันนี้สบายๆ ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าพิมพ์ภาษาไทยเนี่ยลำบากพอสมควรเลย เพราะบางปุ่มที่ภาษาอังกฤษใช้เป็นสัญลักษณ์ในภาษาอังฤษจะโดนลดบทบาทลงด้วยการย้ายปุ่มไปตำแหน่งอื่น แต่ในภาษาไทยไอ้ปุ่มที่โดนย้ายไปเนี่ยมันเป็นปุ่มที่โดนควบด้วยปุ่มภาษาไทยที่ใช้บ่อยๆ อยู่หลายตัว เพราะฉะนั้นอาจลำบากสำหรับคนที่ซื้อมาพิมพ์ภาษาไทย (แนะนำให้หาสติกเกอร์ภาษาไทยมาใช้ควบคู่ด้วย)

ส่วนเรื่องการพิมพ์และการตอบสนองนั้นไม่มีอาการยวบของตัวคีย์บอร์ดให้เห็น เพราะฐานเป็นตัวแสตนเลสอย่างหนาเลย กดไม่ยวบ ทำให้พิมพ์แล้วไม่รู้ว่าต้องเกร็งนิ้วมือเพราะกลัวว่ากดลงไปแรงๆ แล้วคีย์บอร์ดจะหักกลาง

ส่วนเรื่องของ Battery นั้นตัว Rapoo E6500 นั้นเป็น Battery แบบ Li-ion แบบใส่มาในตัวเลย การชาร์จก็ใช้ผ่าน microUSB ง่ายๆ สำหรับการ Pair ตัวคีย์บอร์ดตัวนี้ไม่ยากอะไร และ Pair ได้เร็ว แต่ใช้ได้กับ Android OS และ HID Profile บน Desktop/Notebook เท่านั้น ไม่สามารถใช้บน iOS ได้

DSC_1793 DSC_1794

ตัวต่อมาเป็นตัวที่ผมรู้สักประทับใจมากเมื่อได้สัมผัส ก็คือ Microsoft Wedge Mobile Keyboard จากที่บอกไปแล้วว่าตัวคีย์บอร์ดตัวนี้สนับสนุน OS หลากหลายกว่า Rapoo และแน่นอนว่าขนาดของตัวคีย์บอร์ดตัวนี้มีขนาดใหญ่กว่า Rapoo E6500 ที่วางเทียบๆ โดย Rapoo มีขนาด 21cm x 8cm ส่วน Wedge Mobile Keyboard มีขนาด 25.5cm x 10cm จะเห็นว่าระยะความกว้างของ Wedge Mobile Keyboard นั้นกว้างกว่าพอสมควร ทำให้การจัดเรียงตัวปุ่มนั้นทำได้ใกล้เคียงกับคีย์บอร์ด Notebook ขนาดเล็กเลย และสำหรับ Layout ภาษาอังกฤษนั้นไม่มีการโยกย้ายปุ่มแบบ Rapoo ทำให้เวลาเปลี่ยนมาพิมพ์ภาษาไทยนั้นทำได้ง่ายกว่ามาก รวมถึงระยะปุ่มก็ห่างก็พอกัน ทำให้ไม่พิมพ์ผิดได้ง่ายเท่า Rapoo ที่ตัวเล็กกว่า (แถมโยกย้ายปุ่มอย่างที่บอกไป)

สำหรับในด้านการตอบสนองการพิมพ์นั้น Wedge Mobile Keyboard นั้นปุ่มนิ่มกว่า เลยไม่ต้องใช้แรงกดเยอะ แต่การตอบสนองทำได้ดี และฐานตัวคีย์บอร์ดทำได้แข็งแรงกว่า Rapoo อีก ทำให้พิมพ์แล้วไม่ยวบลงไป ซึ่งกดพิมพ์แล้วมั่นใจมากๆ อันนี้ ถ้าเทียบกันทั้ง Rapoo และ Wedge Mobile Keyboard ทำได้ดีทั้งสองตัวเลย

DSC_1803 DSC_1801

แน่นอนว่า Wedge Mobile Keyboard เป็นแบบ Wireless การใช้พลังงานนั้นแตกต่างจาก Rapoo E6500 เพราะใช้ Battery Alkaline ขนาด AAA ทั้งหมด 2 ก้อนมาใส่ที่ฐานแล้วเปิดใช้งาน ตัวคีย์บอร์ดมีปุ่มสำหรับเชื่อมต่อ Bluetooth เท่านั้น ไม่มีปุ่มปิดเฉพาะแบบ Rapoo แต่อย่างใด แต่ใช้ Multi-purpose Cover มาเปิดตัวคีย์บอร์ดแทน ก็คือการปิดการใช้งาน แต่เจ้าตัว Multi-purpose Cover ที่ให้มานอกจากจะเป็น Cover ของตัวคีย์บอร์ดแล้ว ยังเป็น Stand ให้กับตัว Tablet ให้เราได้อีกด้วย ซึ่งซื้อคีย์บอร์ดตัวนี้คิดซะว่าได้แถม Stand มาอีกตัวในชุด (ผมว่าคุ้มนะ Stand ตัวนึงก็ราคาหลายร้อยอยู่)

ส่วนตัวแล้วจากที่ใช้ๆ ก็แนะนำสำหรับคนที่อยากพิมพ์สบายๆ และหลายๆ คนที่ไม่ถนัดพิมพ์บนจอสัมผัส ซึ่งผมก็รู้ว่ามันลำบากชีวิตในการพิมพ์อะไรยาวๆ อยู่เหมือนกันนะ ถ้าคิดว่าคุ้มก็จัดเลยครับ

ทำไมไม่เคยมีใครฟ้อง Apple เรื่องการผูกขาด เหมือน Microsoft โดน

ข้อความจาก แอปเปิลปฏิเสธโปรแกรมบน App Store ด้วยข้อหา "แข่ง iTunes"

ทำไมไม่เคยมีใครฟ้อง apple เรื่องการผูกขาด เหมือน Microsoft โดน

แล้วมานั่งคิด ๆ ดูแล้วก็ เออ จริงหว่ะ -_-‘

ตัวเองผูก Safari ลงไปกับ Mac OS X แต่ไม่โดยฟ้องแบบ Windows ที่ผูกกับ Internet Explorer หรืออย่างมี Quicktime/DVD Player ใส่มาพร้อมแบบเดียวกับ Windows Media Player ยังไม่รวม iTunes, iPhoto, iMovie, iDVD, iWeb และ GarageBand ที่มากับ iLife ที่มากับเครื่องที่ซื้อในรุ่นใหม่  ๆ อีกนะ (ตัวอย่างนี้ยกมาจาก Macbook ) แต่ทำไม Apple ดันไม่โดนอะไรเลยในเรื่องของการผูกขาดหล่ะเนี่ย -_-‘ อืมมม น่าคิด ๆ

ว่าด้วย Basic Cocoa Training@Fortune จัดโดย ThaiMacDev.com

อบรมไปก็เกือบเดือน กว่าจะกลับมาเขียนต่อได้ -_- งานเยอะครับตอนนี้ T_T


ออกจากพิษณุโลกประมาณเที่ยงคืนกว่า ๆ จริง ๆ แล้วว่าจะไปตั้งแต่เช้าวันศุกร์แต่ว่าติดเรียน เลยต้องไปดึก ๆ กว่าจะถึงก็เกือบเช้า ไปนอนที่ห้องเพื่อนพี่กั่งก่อนสัก 3 – 4 ชั่วโมง แต่ว่าดันเหนื่อยเกิน เลยตื่นมา 9.30 น. พอดี ตอนนั้นเซงเลย เลยรีบ move ด้วยความรวดเร็วถึงที่อบรมก็ 10 โมงกว่า ๆ พอดีเข้าไป ยังไม่เริ่มอบรม ก็ค่อยยังชั่ว เฮ้อ …….. ซึ่งบรรยากาศโดยรวมทั้งหมดถึงว่าดีถึงดีมาก เพราะส่วนใหญ่เป็นคนที่มีความสนใจจริง ๆ และอยู่ในสายงานด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์กันทุกคน ซึ่งทุกคนก็ผ่านประสบการณ์การออกแบบ, พัฒนา และดูแลซอฟต์แวร์น่าจะทุกคน ซึ่งก็มีหลาย ๆ คนรวมถึงผมด้วยที่ไม่ได้จับแม็คในการเขียนซอฟต์แวร์รวมไปถึงบางคนก็ไม่เคยใช้มาก่อน (แบบผม) ซึ่งท่านวิทยากร คือ อ.เดฟ ก็สอนได้เข้าใจกันแทบจะทุกคน ในรูปแบบการทำงานที่เข้าใจง่าย โดยในวันแรกก็เข้าส่วนของพื้นฐานกันก่อน เช่น ความรู้เบื้อต้นของ Cocoa Framework, แนวการพัฒนาแบบ OOP ใน Cocoa, การออกแบบซอฟต์แวร์แบบ MVC และการแนะนำเรื่องของระบบ NextStep (ซึ่งเป็นเหมือนรุ่นพ่อของ Mac OS X หรือ Darwin) ซึ่งเป็นเหมือนการทวบทวน และได้ความรู้ใหม่ ๆ ไปในตัว โดยเรื่องของการ coding นั้นในวันแรกไม่ค่อยได้ coding เท่าไหร่ อย่าง hand-on ตัวแรกที่ให้ทำก็ไม่มีให้ coding สักบรรทัด ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นการอบรมที่ดีมาก ๆ ที่เป็นการนำจุดเด่นของการพัฒนาบน Cocoa Framework มาบอกในอันดับต้นซึ่งทำให้เราเห็นภาพว่า OOP นั้นมัน send/receive message ของแต่ละ object กันอย่างไร ซึ่งทำให้การออกแบบ OOP แบบเดิม ๆ นี่เด็ก ๆ ไปเลย

โดยในวันแรกนั้นมีการพูดถึงการเขียน code บนพื้นฐานของภาษา Objective-C ซึ่งมีผู้เข้าอบรมหลาย ๆ ท่านก็ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันกับ อ.เดฟ และท่านอื่น ๆ ว่ามันแตกต่าง และใช้งานดีหรือไม่ดีอย่างไรเมื่อเทียบกับภาษาและ Framework อื่น ๆ ซึ่งทำให้ได้มุมมองที่กว้างและสนุกไปอีกแบบ ซึ่งในวันแรกไม่ได้เขียน code อะไรมากนัก เพราะส่วนใหญ่จะ preview Framework อย่าง Cocoa, ภาษา Objective-C และทำความเข้าใจหลักของ MVC เสียมากกว่า

มาวันที่สอง นี่ coding เพียบและมันกว่าเดิม โดยรวมคือเป็นลักษณะ workshop มากกว่าวันแรกอย่างมากเลยหล่ะ แต่ก็ยังคงเขียน code ในจำนวนบรรทัดที่น้อยกว่าที่เคยเขียนมาในงานที่ทำเหมือน ๆ กัน โดยเฉพาะงานอย่าง Binding เนี่ยเห็นชัดมาก ;)

งานนี้เรียนมันมาก แค่เรื่องไปเอา concept อย่าง OOP ในระดับมองทุกอย่างใน software เป็น World (แบบ Sim City หรือ The Sim) และ MVC ที่ในมหาวิทยาลัยสอนไม่ครบก็คุ้มแล้วคร้าบบบบบบบบ ส่วน Objective-C และการเขียนใน Cocoa Framework น่าจะเป็น Case Study ในการทำ Application ในอนาคตได้มากเลย

MySQL 5.0 (build 15) Full Release !!!

อาจจะเก่าไปนิดแต่ว่าไม่น่าจะนานมาก เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2548 ที่ผ่านมา MySQL AB ได้เปิดตัว MySQL 5.0 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในรอบหลายๆ ปีของ MySQL AB เลยทีเดียว เพราะว่าตัว MySQL 5.0 นั้นมีคุณสมบัติในระดับองค์กร (Enterprise) ซึ่งต้องการความน่าเชื่อถือสูงมาก ตามมาตรฐาน SQL 2003 เลยทีเดียว โดยคุณสมบัติที่เพิ่มเติม มาก็ได้แก่ Stored Procedures, SQL Functions, Triggers, Views, Cursors, XA Distributed Transactions, ตัวเลือกระบบบีบอัดข้อมูล (federated and archive storage options), SQL Mode, ฯลฯ อ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ http://dev.mysql.com/doc/refman/5.0/en/mysql-5-0-nutshell.html

ซึ่งทำงานได้บน Linux, Windows, Solaris, Mac OS X, FreeBSD, HP-UX, IBM AIX 5L, ฯลฯ

MySQL 5.0 นี่อยู่บนข้อตกลง Open Source (GPL) หรือ Commercial MySQL Licenses ซึ่งทำงานตาม concept ของเค้าว่า high-performance, reliability และ ease-of-use ครับ

เพราะว่าตอนนี้ MySQL ไม่เหมือนเมื่อก่อนแล้วครับ ในด้านการจัดการระบบต่างๆ นั้นแทบจะไม่ต้อง set ผ่าน text files แบบเดิมๆ ครับ ทำงานผ่าน wizard ได้เลย ส่วนถ้าต้องการละเอียดมากขึ้นก็ไปโหลด MySQL Administrator จากเว็บ MySQL มาเพื่มเพื่อทำงาน และปรับแต่งต่างๆ ได้ทั้งหมดครับ รวมไปถึงเครื่องมือในการทดสอบ Query ข้อมูล MySQL Query Browser เพื่อทดสอบ SQL ที่เราจะทำงานได้จากซอต์แวร์นี้ครับ ทำงานได้ง่ายมากๆ เลยครับ และส่วนใครจะทำการย้ายฐานข้อมูล MySQL ก็ใช้เครื่องมือ MySQL Migration Toolkit ได้อีกเช่นกันครับ อันนี้ยังไม่ได้ลองทดสอบแต่อย่างใด ถ้าใครใช้แล้วเป็นยังไง ก็ Comment ไว้ครับ

จากที่ได้ลองใช้ดูนั้น การทำงานถือว่าเสถียรดีมาก แต่ว่าผมยังไม่ได้ลองให้มันทำงาน load สุดๆ เลยยังไม่รู้ว่าจะเสถียรกว่าตัวเก่าหรือเปล่า แต่ด้วยระบบที่ใหม่กว่า ไม่น่าจะมีอะไรผิดพลาดแต่อย่างใด

ในการใช้งานตอนนี้ของผมนั้นทำงานบน Storage Engine แบบ InnoDB เพราะว่าผมต้องใช้งาน Transaction ของ DBMS ด้วย ซึ่งจากตัว MySQL 4.1.13 ที่ได้ใช้มาก่อนหน้านี้ก็ทำงานได้ไม่มีที่ติ


อันนี้แนะนำเพิ่มเติมครับ เป็นเครื่องมือในการออกแบบ Database ที่มีประสิทธิภาพมากๆ ตัวหนึ่งเลยทีเดียวครับ มันชื่อว่า fabFORCE DBDesigner 4 (http://www.fabforce.net/) ครับ เจ้า DBDesigner 4 มันเป็นระบบออกแบบฐานข้อมูลแบบเสมื่อนจริง (Visual Database Design System) ที่ดีมากๆ เลย ซึ่งเหมาะสำหรับการออกแบบและการสร้างฐานข้อมูลในรูปแบบ ER-Diagram ซึ่งสามารถทำการจัดการได้โดยตรงจาก Model ได้เลย แถมเชื่อโยงความสัมพันธ์ได้ง่ายมากๆ เลยครับ รวมไปถึง Export ให้ทำงานร่วมกับฐานข้อมูล MySQL, Oracle, MSSQL, SQLite และ ODBC

ซึ่งซอฟค์แวร์ตัวนี้อยู่บนข้อตกลงของ Open Source Project (GPL) สนับสนุนการทำงานบน Microsoft Windows 2k/XP และ Linux KDE/Gnome

โดยที่ความต้องการของระบบในการทำงานนั้นน้อยมาก ไม่ต้องใช้ระบบที่สูงมากนัก แถมทำงานได้เร็วอีกต่างหาก ไม่แฮงง่ายด้วยครับ


แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถึงแม้จะมี Toosl มาช่วยให้เราบริหารระบบ DBMS มากมายแค่ไหน ถ้าเราไม่เข้าใจว่าเราจะเอามันมาใช้งานยังไงให้เกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว ผมว่าก็น่าเสียดายความสามารถเหล่านั้น แถมความสามารถเหล่านี้ก็ไม่ต้องซื้อหาจากที่ไหน เพราะว่าทั้งหลายทั้งบวงที่ได้กล่าวมานั้นอยู่บนข้อกำหนด GPL แทบทั้งสิ้นครับ

Podcasting หรือ Podcast คืออะไร ?

Podcasting หรือ Podcast คือขั้นตอนของสื่อชนิดหนึ่งบนระบบอินเตอร์เน็ตที่ยินยอมให้ผู้ใช้ทั่วไปทำการสมัครเพื่อรับ feed news

มันเริ่มได้รับความนิยมประมาณปลายปี 2004 ที่ผ่านมา ตัว feed news นี้จะทำงานอัตโนมัติ เพื่อทำการดาวด์โหลดไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ เข้าสู่ computer หรือ portable music player (เรียกติดปาก ว่า mp3 player)

คำว่า Podcasting หลายๆ คนคิดว่าอาจจะเป็นคำคว]มาจากคำว่า Broadcasting กับ iPod แต่ตามข้อกำหนดแล้ว มันเป็นการเข้าใจผิด แต่เป็นความบังเอิญ อันสอดคล่องพอดี หรือประจวบเหมาะ กับ iPod ของ Apple นั้นเอง ซึ่ง Steve Jobs ก็ใช้โอกาสนี้ โฆษณา feature ใหม่เป็น Broadcasting + iPod  = Podcasting นั้นเอง  

ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั้น ตั้งแต่ที่ได้ยินมานับตั้งแต่ Podcasting เกิดขึ้นมาบนโลกมา ระบบนี้สามารถใช้ได้กับ iPod หรือพวก portable music player อื่นๆ และรวมไปถึงเครื่อง computer ได้อยู่แล้ว ซึ่งในความเป็นจริง แล้วนั้น ตั้งแต่ กันยายน ปี 2004 นั้น ได้มีการบัญญัติคำว่า POD ซึ่งเป็นคำย่อมาจาก “Personal On-Demand” หรือ “อุปสงค์ส่วนบุคคล” นั้นเอง เมื่อรวมกับ Broadcasting ก็กลายเป็น PODcasting นั้นเอง ซึ่ง Broadcasting เป็นการนำสื่อต่างๆ มาอยู่ในรูปของภาพ และเสียง ต่างๆ มากมาย ไม่ขึ้นกับ formatของไฟล์ หรือ type ของไฟล์แต่อย่างใด นำมาเผยแพร่ให้บุคคลภายนอก (The public in general) ฟังโดยที่ไม่จำเป็นเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ และเป็นเทคโนโลยีในการถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียง ผ่านสื่อต่างๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นเทคโนโลยีที่สามารถโยกย้ายข้อมูลขนาดมหึมาของภาพและเสียงจากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่งระหว่างเครือข่ายชนิดต่างๆ

Podcasting นั้นทำงานโดนการที่ใช้ RSS 2.0 XML หรือ RDF XMLที่เป็นไฟล์ format มาตรฐานของ XMLที่เป็นไฟล์แบบเปิด โดย Podcasting จะเปิดทำงานแบบอิสระต่อการจัดการ และทำสื่อส่วนตัวต่างๆ โดยตัว Podcasting นั้นเป็นสื่อกลางระหว่างไฟล์เสียง, วีดีโอ หรือมัลติมีเดียอื่นๆ อีกมากมาย กับผู้ใช้งานอีกทีหนึ่ง

การทำงานของ Podcasting มีขั้นตอนคือ ผู้ใช้ได้รับ URL ของ Podcasting แล้วใส่ในซอฟต์แวร์ Podcasting Reader หรือ RSS Reader ยี่ห้อต่างๆ ในที่นี้ของใช้คำสั้นๆ ว่า Podcasting  Reader ในทีเดียวเลย  ผู้ใช้ทำการร้องขอต่อ URL นั้นๆเพื่อทำการปรับปรุง index หรือสารบัญ ของ Podcasting เจ้าตัว Podcasting Reader จะวิ่งไปที่ URL ที่กำหนดดังกล่าว เพื่ออ่าน ไฟล์ XML ซึ่งจะอ่านว่ามีรายละเอียดต่างๆ ภายในนั้นอาจจะมีพวก ชื่อรายการ, ชื่อผู้จัดทำ, วันที่จัดทำ , ฯลฯ ซึ่งจะทำการส่งรายละเอียดต่างๆ นั้นมาไว้ที่ซอฟต์แวร์ของเรา เพื่อบอกรายละเอียด และรอให้เราทำการร้องขอไฟล์มีเดียนั้นอีกที และเมื่อร้องขอไฟล์ที่เราต้องการแล้ว เจ้าตัว Podcasting Reader จะเข้าไปอ่านที่ไฟล์ XML เดิมอีกที หรืออ่านไฟล์ XML ดังกล่าว (ขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์นั้นๆ ว่าจะเก็บไฟล์ทื่อ่านเพื่อทำ cache หรือ่านทุกๆ ครั้งผ่าย Internet) เมื่อทำการอ่านไฟล์ XML ในนั้นจะบอกซอฟต์แวร์ของเราว่าไฟล์มีเดียนั้นๆ เก็บอยู่ที่ใด เพื่อทำการไปโหลดที่ต้นทางจริงๆ อีกทอดหนึ่ง ซึ่งตัวซอฟต์แวร์ Podcasting Reader จะทำการดาวด์โหลดไฟล์มีเดียมาใส่ในที่อยู่ใดๆ ใน Hard drive ของเราเอง จะเห็นได้ว่าเจ้า ตัวระบบ Podcasting เนี่ยเป็นเพียงสื่อสารระหว่างไฟล์มีเดียต่างๆ กับผู้ใช้เพื่อง่ายแก้การจัดการเป็นศูนย์กลางเพื่อทำการจัดเก็บไฟล์ และค้นหาไฟล์นั้นเอง

แต่ที่นิยมในตอนนี้เป็น Podcasting แบบ Radio Shows มากกว่าเพราะทำง่าย เผยแพร่ง่ายด้วย

โดยไฟล์มีเดียที่นิยมในการจัดเก็บและเผยแพร่คือ MP3 นั้นเอง โดยมี bit rate ที่ 32 k bps ขึ้นไป ส่วที่ตามมาติดๆ ก็ ACC นั้นเอง

โดยจะใช้โปรแกรมใดๆ ก็ได้ที่ทำการอัดเสียง และบันทึงเสียงเป็นไฟล์ MP3 ก็ได้เช่นกัน โดยโปรแกรมที่อยากแนะนำคือ Audacity ซึ่งเป็นโปรแกรมแบบ ฟรีซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็น open source software สำหรับบันทึกเสียง และปรับแต่งเสียงซึ่งทำงานได้บน  Mac OS X, Microsoft Windows และ GNU/Linux ซึ่งทำงานได้ดีมากเช่นกัน

เอกสารอ้างอิง