เปิดตัว PodCastsGen WebBase Version 0.0.1 Alpha

Link@PodCastsGen WebBase Version 0.0.1 Alpha

เป็นโปรแกรมประยุกต์ ที่ทำงานบนได้บน Web Browser โดยใช้ความสามารถของภาษา PHP และ JavaScript แล้วทำการ Export หรือ Generate Code เป็น XML ซึ่งอยู่ใน specification ของ RSS Feed และตรงตาม specification ของ Podcasts ในระดับสากลด้วย

ขั้นตอนการทำงาน และการใช้งานไม่ยุ่งยากเนื่องจากในหลักการเอาข้อมูลที่ได้จาก form ในระบบ Input data dynamic หรือการใส่ข้อมูลเชิงยืดหยุ่นนั้นเอง กล่าวคือ ระบบจะมีข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นก่อน นั้นคือ รายละเอียดของ Podcasts ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • ชื่อ
  • ใจความสำคัญ
  • ที่อยู่ของ Podcasts ที่จะเอาไปใส่
  • ชื่อผู้จัดทำ
  • อีเมล ของคนจัดทำ นั้นๆ
  • โดยที่จะเริ่มด้วย Episodes แรกเป็นขั้นเริ่มต้น ซึ่งคำว่า Episodes เป็นคำที่เรียกจำนวนตอน หรือจำนวนไฟล์ของมีเดีย นั้นๆ ครับ

การใส่ Episodes ในโปรแกรมประยุกต์นี้ จะเป็นไปในลักษณะของการใส่ที่อยู่ของไฟล์มีเดีย ซึ่งไฟล์มีเดียที่จะเอามาใส่นั้นควรมีลักษณ์สำคัญคือ

  • มีขนาดที่ไม่ใหญ่มาก (แนะนำไม่ควรเกิน 10MB ต่อความยาวในการออกอาหาศ 1ชม.)
  • ใช้นามสกุลไฟล์เป็น mp3, m4a, m4b, acc, aiff
  • ต้องมีที่อยู่จริงอยู่แล้วใน internet ซึ่งต้องทำการ upload จากเว็บใดเว็บหนึ่งก่อน ไม่ว่าจะใช้ที่ geocities หรือ thai.net ก็ได้

ซึ่งการใส่มีเดียในแต่ละส่วนนั้น จะใช้หลักการคล้ายๆ กับการใส่ Condition ใน SmartPlaylist ของ iTunes นั้นเอง ซึ่งจะสามารถใส่มีเดียได้ไม่เกิน 10 ไฟล์ และอนาคตจะพัฒนาให้สามารถใส่ได้ไม่จำกัด

เมื่อทำการ submit ตัว form ของโปรแกรมประยุกต์แล้ว ตัวระบบจะทำการสร้างโค็ด XML ออกมาโดยแสดงใน Web Browser ของท่าน โดยที่ทางผู้ใช้ต้องทำการ save โค็ดเหล่านั้นเอง ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ตัวอย่างเช่น

Internet Explorer

  • ใช้เมนู File ตามด้วยเมนู Save As
  • ที่ Dialog Save As ให้เลือก Save as type เป็น XML Files (*.xml)
  • ที่ File name ให้ใส่ของไฟล์ลงไป
  • เอาไฟล์ดังกล่าวไป upload ขึ้นที่เว็บที่เราต้องการ
  • ตัวอย่าง http://www.yourweb.com/podcasts/yournamepodcasts.xml

Firefox

  • ใช้เมนู File ตามด้วยเมนู Save Page As
  • ที่ Dialog Save As ให้เลือก Save as type เป็น XML Document
  • ที่ File name ให้ใส่ของไฟล์ลงไป
  • เอาไฟล์ดังกล่าวไป upload ขึ้นที่เว็บที่เราต้องการ
  • ตัวอย่าง http://www.yourweb.com/podcasts/yournamepodcasts.xml

ก็เป็นอันเสร็จสิ้นวิธีการทำงาน โดยในอนาคตในขั้นตอนการจัดการไฟล์ ที่ Export ออกมาจะปรับเปลี่ยนเป็นการทำ Archive เป็น ZIP Files แทน เพื่อให้ขึ้น Dialog ให้ Download ได้เลย

และโครงการต่อไปเป็น PodCasts->Hub ที่กำลังร่างระบบอยู่ ซึ่งไม่รู้จะทำได้หรือเปล่า -_-" แต่ระบบน่ะไม่ยาก

วิธีการทำ podcast เผยแพร่

ผมได้ทำ podcast ของผมเองอยู่ที่ http://www.thaicyberpoint.com/podcasts ตอนนี้ผมทำ podcast ตัวแรกให้ลองฟังแล้วนะครับ ถ้ามีอะไรติชมก็บอกกันได้ครับ

ส่วนใครต้องการเอา podcast ตัวนี้ไปลองทำเองก็ง่ายมากครับ

สิ่งที่ต้องการก็มีพื้นที่เว็บใน internet ที่สนับสนุนการใช้ script PHP และพื้นที่สัก 10 – 20 MB ในการเก็บไฟล์เสียงครับ

แล้วก็หา script podcast จำพวก PHP มาลงครับ อย่างของผมก็ ลองโหลดไปแกะได้ที่นี่ครับ http://www.thaicyberpoint.com/podcasts/dircaster_v_04_podcastPHPScript.zip ทำการแตกไฟล์ zip แล้วก็ทำการปรับแก้เพียงเล็กน้อยครับ

—————————————–

// ขนาดมาที่สุดของการแสดง podcast ใน 1 ครั้ง

$maxFeed = 5;

// Title ของ Podcast ครับ

$titleTAG=”ThaiCyberPoint.com – PodCasts beta”;

// ที่อยู่ของ Podcast ครับ

$linkTAG=”http://www.thaicyberpoint.com/podcasts”;
// รายละเอียดของ Podcast ครับ ใส่เป็นภาษาไทยได้ ตอนนี้ผมปรับแต่งให้ลองรับภาษาไทยแล้วครับ
$descriptionTAG=”Public PodCast from ThaiCyberPoint.com”;
// ภาษาของ Podcast ครับ แนะนำให้ใช้ en-US ครับ
$languageTAG=”en-us”;
// คำแจ้งลิขสิทธิ์ของ Podcast ครับ
$copyrightTAG=”Creative Commons License”;
// อีเมลของ podcast ครับ
$webMasterTAG=”[email protected]”;
// ชื่อโปรแกรมที่เอามาทำ Podcast ไม่แนะนำให้ปรับเปลี่ยนครับ ถือเป็นมารยาท
$generatorTAG=”dirCast 0.4″;
// เวลาในการเข้าถึง หรือ timeout ครับ
$ttlTAG=60;

————————————-

แล้วก็ทำการ upload เข้าสู่ server ครับ ซึ่งมันเป็นไฟล์ index.php ครับ ก็เวลาเราให้ URL ก็ http://www.mysite.com/podcast/index.php หรือ http://www.mysite.com/podcast/ ก็ได้ครับ

แล้วจะเอาไฟล์เสียงขึ้นก็ทำการแก้ไข ID3 Tag ครับ แนะนำ Version 2.3 ครับ แล้วทำการ Upload ขึ้นไปที่เดียวกับไฟล์ index.php เมื่อกี้นี้ครับ ตัว script มันจะ detect เองจากไฟล์ว่า title, artist, album, year, comment, genre ว่ามีอะไรบ้างก็แนะนำให้ edit เอานะครับในไฟล์ สะดวกดีครับ

อนาคตเดี่ยวผมว่าจะ Podcast Portal ครับ ยังไงจะมาบอกอีกทีนะครับ สำหรับคนที่ไม่อยากทำ script เองครับ เพียงแต่หาพื้นที่เก็บไฟล์ก็พอน่ะครับ กำลังคิดโปรแกรมอยู่ครับ

ตัว script PHP ไม่สนับสนุนภาษาไทยในส่วนของ title, artist, album, year, comment, genre ใน ID3 Tag 2.3 นะครับ กำลังแก้ไขอยู่ครับ ตอนนี้ใช้แบบนี้ไปก่อนนะครับ

MSN Mail คิดช้าไปหรือเปล่าเนี่ย

จริงๆ มันก็น่าจะมาตั้งนานแล้ว ต้องรอให้ Gmail ใช้มาร่วมปีกว่า คิดช้าไป หรือว่า CPU ของคนทำงาน MSN มันประมวลผลช้าหว่า …… -_-”

แต่เรื่องที่ Gmail ทำงานได้เร็วเพราะ AJAX หรือ Asynchronous JavaScript and XML นั้นเอง ซึ่งมันทำงานโดยใช้

# HTML/XHTML/CSS เพื่อแสดงผล
# Document Object Model ทำการส่งค่า html และทำงานโดยผ่าน JavaScript เพื่อทำการแสดงผลแบบ dynamic ให้กับ HTML/XHTML/CSS มากขึ้น
# XMLHttpRequest เพื่อทำการส่งข้อมูลเข้า และออก web server เพื่อประมวลผล

Web browser ที่สนับสนุนคือ

– Apple Safari 1.2 ขึ้นไป
– Konqueror ทุกรุ่น
– Microsoft Internet Explorer (and derived browsers) 4.0 ขึ้นไป
– Mozilla Firefox (and derived browsers) 1.0 ขึ้นไป
– Netscape 7.1 ขึ้นไป
– Opera 7.6 ขึ้นไป
– ฯลฯ ในอนาคต

ซึ่งจริงๆ แล้วเป็น Technology ที่ใช้ใน Outlook Web Access อยู่แล้ว ซึ่งทำงานผ่าน Microsoft Exchange Server โดยทำงานบน Microsoft Internet Explorer 4.0 ต่อมาในปี 2005 นั้น Google ก็เอามาใช้ใน Google Groups, Google Maps, Google Suggest และ Gmail

ดูเพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/AJAX

ซึ่งการมาครั้งนี้น่าสนใจดี แต่คงไม่ต่างกับ Gmail เท่าไหร่นัก แต่น่าสนใจคือ .Net รุ่นใหม่ และงานด้าน Web Application น่าจะมีการปรับโฉมการทำงานใหม่ไปในทางนี้มากขึ้นแน่นอนทีเดียวเลย

ไม่ใช่อะไรหรอก เพราะว่ามันทำงานได้เร็วมากเลยหล่ะ ถ้าใครได้ลองใช้งาน Gmail จะรู้ว่าเร็วแค่ไหนในการทำงาน

Podcasting หรือ Podcast คืออะไร ?

Podcasting หรือ Podcast คือขั้นตอนของสื่อชนิดหนึ่งบนระบบอินเตอร์เน็ตที่ยินยอมให้ผู้ใช้ทั่วไปทำการสมัครเพื่อรับ feed news

มันเริ่มได้รับความนิยมประมาณปลายปี 2004 ที่ผ่านมา ตัว feed news นี้จะทำงานอัตโนมัติ เพื่อทำการดาวด์โหลดไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ เข้าสู่ computer หรือ portable music player (เรียกติดปาก ว่า mp3 player)

คำว่า Podcasting หลายๆ คนคิดว่าอาจจะเป็นคำคว]มาจากคำว่า Broadcasting กับ iPod แต่ตามข้อกำหนดแล้ว มันเป็นการเข้าใจผิด แต่เป็นความบังเอิญ อันสอดคล่องพอดี หรือประจวบเหมาะ กับ iPod ของ Apple นั้นเอง ซึ่ง Steve Jobs ก็ใช้โอกาสนี้ โฆษณา feature ใหม่เป็น Broadcasting + iPod  = Podcasting นั้นเอง  

ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั้น ตั้งแต่ที่ได้ยินมานับตั้งแต่ Podcasting เกิดขึ้นมาบนโลกมา ระบบนี้สามารถใช้ได้กับ iPod หรือพวก portable music player อื่นๆ และรวมไปถึงเครื่อง computer ได้อยู่แล้ว ซึ่งในความเป็นจริง แล้วนั้น ตั้งแต่ กันยายน ปี 2004 นั้น ได้มีการบัญญัติคำว่า POD ซึ่งเป็นคำย่อมาจาก “Personal On-Demand” หรือ “อุปสงค์ส่วนบุคคล” นั้นเอง เมื่อรวมกับ Broadcasting ก็กลายเป็น PODcasting นั้นเอง ซึ่ง Broadcasting เป็นการนำสื่อต่างๆ มาอยู่ในรูปของภาพ และเสียง ต่างๆ มากมาย ไม่ขึ้นกับ formatของไฟล์ หรือ type ของไฟล์แต่อย่างใด นำมาเผยแพร่ให้บุคคลภายนอก (The public in general) ฟังโดยที่ไม่จำเป็นเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ และเป็นเทคโนโลยีในการถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียง ผ่านสื่อต่างๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นเทคโนโลยีที่สามารถโยกย้ายข้อมูลขนาดมหึมาของภาพและเสียงจากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่งระหว่างเครือข่ายชนิดต่างๆ

Podcasting นั้นทำงานโดนการที่ใช้ RSS 2.0 XML หรือ RDF XMLที่เป็นไฟล์ format มาตรฐานของ XMLที่เป็นไฟล์แบบเปิด โดย Podcasting จะเปิดทำงานแบบอิสระต่อการจัดการ และทำสื่อส่วนตัวต่างๆ โดยตัว Podcasting นั้นเป็นสื่อกลางระหว่างไฟล์เสียง, วีดีโอ หรือมัลติมีเดียอื่นๆ อีกมากมาย กับผู้ใช้งานอีกทีหนึ่ง

การทำงานของ Podcasting มีขั้นตอนคือ ผู้ใช้ได้รับ URL ของ Podcasting แล้วใส่ในซอฟต์แวร์ Podcasting Reader หรือ RSS Reader ยี่ห้อต่างๆ ในที่นี้ของใช้คำสั้นๆ ว่า Podcasting  Reader ในทีเดียวเลย  ผู้ใช้ทำการร้องขอต่อ URL นั้นๆเพื่อทำการปรับปรุง index หรือสารบัญ ของ Podcasting เจ้าตัว Podcasting Reader จะวิ่งไปที่ URL ที่กำหนดดังกล่าว เพื่ออ่าน ไฟล์ XML ซึ่งจะอ่านว่ามีรายละเอียดต่างๆ ภายในนั้นอาจจะมีพวก ชื่อรายการ, ชื่อผู้จัดทำ, วันที่จัดทำ , ฯลฯ ซึ่งจะทำการส่งรายละเอียดต่างๆ นั้นมาไว้ที่ซอฟต์แวร์ของเรา เพื่อบอกรายละเอียด และรอให้เราทำการร้องขอไฟล์มีเดียนั้นอีกที และเมื่อร้องขอไฟล์ที่เราต้องการแล้ว เจ้าตัว Podcasting Reader จะเข้าไปอ่านที่ไฟล์ XML เดิมอีกที หรืออ่านไฟล์ XML ดังกล่าว (ขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์นั้นๆ ว่าจะเก็บไฟล์ทื่อ่านเพื่อทำ cache หรือ่านทุกๆ ครั้งผ่าย Internet) เมื่อทำการอ่านไฟล์ XML ในนั้นจะบอกซอฟต์แวร์ของเราว่าไฟล์มีเดียนั้นๆ เก็บอยู่ที่ใด เพื่อทำการไปโหลดที่ต้นทางจริงๆ อีกทอดหนึ่ง ซึ่งตัวซอฟต์แวร์ Podcasting Reader จะทำการดาวด์โหลดไฟล์มีเดียมาใส่ในที่อยู่ใดๆ ใน Hard drive ของเราเอง จะเห็นได้ว่าเจ้า ตัวระบบ Podcasting เนี่ยเป็นเพียงสื่อสารระหว่างไฟล์มีเดียต่างๆ กับผู้ใช้เพื่อง่ายแก้การจัดการเป็นศูนย์กลางเพื่อทำการจัดเก็บไฟล์ และค้นหาไฟล์นั้นเอง

แต่ที่นิยมในตอนนี้เป็น Podcasting แบบ Radio Shows มากกว่าเพราะทำง่าย เผยแพร่ง่ายด้วย

โดยไฟล์มีเดียที่นิยมในการจัดเก็บและเผยแพร่คือ MP3 นั้นเอง โดยมี bit rate ที่ 32 k bps ขึ้นไป ส่วที่ตามมาติดๆ ก็ ACC นั้นเอง

โดยจะใช้โปรแกรมใดๆ ก็ได้ที่ทำการอัดเสียง และบันทึงเสียงเป็นไฟล์ MP3 ก็ได้เช่นกัน โดยโปรแกรมที่อยากแนะนำคือ Audacity ซึ่งเป็นโปรแกรมแบบ ฟรีซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็น open source software สำหรับบันทึกเสียง และปรับแต่งเสียงซึ่งทำงานได้บน  Mac OS X, Microsoft Windows และ GNU/Linux ซึ่งทำงานได้ดีมากเช่นกัน

เอกสารอ้างอิง