เมื่อ Linux OS Virtual Machinces บน Windows Azure ไม่มี SWAP Partition แก้ไขยังไง?

โดยปรกติแล้ว ถ้าเราลง Linux โดยทั่วไปจะมีการตั้ง SWAP Partition ไว้เป็นปรกติอยู่แล้ว อย่างเช่นตัวอย่างที่ผมเอามาโพสก็คือ Ubuntu Server 12.04.2 LTS มีการติดตั้ง SWAP ไว้อยู่

การตรวจสอบทำได้ด้วยการใช้คำสั่ง shell ด้านล่าง ซึ่งจะได้รายการ SWAP ออกมาว่ามีอยู่หรือไม่ 

ford@ns1:~$ swapon –s

2013-03-02_190758

แต่ถ้าเป็นบน Cloud นั้น ตัว Image ของ Linux OS จะถูกปรับแต่งบางส่วนเพื่อไม่ให้สร้าง SWAP พวกนี้ ด้วยเหตุผลด้านพื้นที่ที่ต้องจองไว้และความไม่จำเป็นโดยทั่วไปของ Cloud อยู่แล้ว (ปรกติใช้ Cloud สำหรับ Compute ข้อมูลที่อาจจะไม่ได้ใช้หน่วยความจำเยอะ) เพราะไม่ใช่ทุกคนที่ลง OS ต้องได้ใช้ SWAP เสมอไป แต่ถ้าอยากลงก็มีทางให้อยู่

แน่นอนว่า Cloud ที่ผมใช้อยู่นั้น อยู่บน Windows Azure สำหรับใครที่ใช้ Amazon EC2 ก็คงต้องหาวิธี ซึ่งก็มีวิธีเช่นกัน (How to add swap to Amazon EC2 instance Ununtu 12.04 LTS?)

ตอนนี้ผมลองทำบน Virtual Machines ผมปัจจุบัน 1 ตัว ซึ่งเป็น Ubuntu Server 12.04.2 LTS โดยใช้คำสั่งข้างต้น ก็จะไม่เจอ SWAP แต่อย่างใด

2013-03-02_190129

อยากสร้างเรามีวิธี โดยจากคู่มือ Creating and Uploading a Virtual Hard Disk that Contains the Linux Operating System นั้นได้อ้างอิงตัว Windows Azure Linux Agent User Guide อีกทีครับ

สรุปง่ายๆ คือ เข้าไปแก้ไข Windows Azure Linux Agent Configuration ซึ่งอยู่ที่ /etc/waagent.conf (sudo ตัวเองเป็น root ก่อนแก้ไข)

เมื่อเปิดไฟล์ขึ้นมาจะตัวตั้งค่าอยู่พอสมควร ให้หาส่วนที่ขึ้นต้นด้วย ResourceDisk ซึ่งจะมีอยู่ทั้งหมด 5 ตัวครับ

ResourceDisk.Format=y
ResourceDisk.Filesystem=ext4
ResourceDisk.MountPoint=/mnt/resource
ResourceDisk.EnableSwap=n
ResourceDisk.SwapSizeMB=0

ผมจะปรับให้ใช้ SWAP ขนาด 2GB โดยปรับค่า 2 ตัวดังนี้

#เปิดการใช้ SWAP
ResourceDisk.EnableSwap=y

# 2GB หน่วยเป็น MB
ResourceDisk.SwapSizeMB=2048

เมื่อปรับแต่งตัวตั้งค่าทั้ง 2 ตัวแล้ว ก็ Save ตัวไฟล์แล้วออกจากตัว editor เสร็จแล้วสั่ง Deprovision ด้วยคำสั่งด้านล่าง

azureuser@fordantitrust:~$ waagent –force –deprovision
azureuser
@fordantitrust:~$ export HISTSIZE=0

เมื่อสั่งรันคำสั่งจบก็ exit ออกมา

แล้วไปที่ Windows Azure Portal สั่ง Restart ตัว Virtual Machines รอสัก 3-4 นาทีโดยประมาณ ระบบจะบูทกลับมาใหม่ แล้วพิมพ์คำสั่ง swapon –s อีกรอบ จะเจอไฟล์ SWAP ของระบบอยู่ที่ /mnt/resource/swapfile

2013-03-02_192724

เพียงเท่านี้ก็จบกระบวนการ การสร้าง SWAP บน Cloud แล้วครับ

ทำความรู้ัจักกับ Revision Control System และ SVN

ทำความรู้จักกับ Revision Control System กันก่อน !

โดย Revision Control System ( หรือเรียกว่า Version control, Source control หรือ (source) code management (SCM) ก็ได้) คือ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีความสามารถในการติดตาม และบันทึกประวัติการเปลี่ยนแปลงที่เกิด ขึ้นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบใดระบบหนึ่ง ซึ่งมักจะเกี่ยวกับด้านซอฟต์แวร์ โดยจะบันทึกไว้ตลอดระยะเวลาของการพัฒนาซอฟต์แวร์ พร้อมทั้งระบุเวลาและรวบรวมรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งหมดที่เกิดขึ้นตลอดเวลาของการพัฒนาด้วย

โดยหลักการของ Revision Control System ส่วนใหญ่มักใช้ Optimistic Technique ก็คือการให้ผู้ใช้หลาย ๆ คนสามารถเข้าถึง (Check out) (ซึ่งในที่นี้เราจะพูดถึง source code) อันเดียวกัน แต่ละผู้ใช้สามารถแก้ไขไฟล์ต่าง ๆ ที่ดาวน์โหลดมา และสามารถอัพโหลดไฟล์ (Check in/Commit) กลับเข้าสู่ Revision Control System โดยมันจะรับผิดชอบเรื่องการตรวจความขัดแย้งกันของข้อมูล (Conflict) ว่ามีใครแก้ไขไฟล์เดียวกันหรือไม่ ถ้ามีมันก็สามารถแสดงความแตกต่าง (Diff) ระหว่างไฟล์ และ/หรือทำการรวมไฟล์ (Merge) เข้าด้วยกันได้ แต่บางครั้งบาง Revision Control System ก็ใช้หลักการ Pessimistic Technique กล่าวคือเมื่อมีคนใดในทีมพัฒนาได้ทำการเข้าถึงและกำลังนำข้อมูลนั้นไปแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงคนอื่น ๆ ในทีมจะไม่มีสามารถเข้าถึงและทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลชุดนั้นได้จนกว่าคนที่นำไปแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงจะทำการอัพโหลดไฟล์กลับเข้าระบบดังเดิม แต่ระหว่างนั้นสามารถเข้าไปอ่านไฟล์นั้น ๆ ได้อย่างเดียว (แต่บางครั้ง Revision Control System บางยี่ห้อก็ไม่ยินยอมให้อ่านไฟล์ด้วย ขึ้นอยู่กับว่ายี่ห้อไหนจะนิยามการทำงานแบบ Pessimistic Technique เป็นแบบใด)

โดยการเก็บข้อมูลนั้นเราต้องมีการสร้างคลังข้อมูล (Repository) ซึ่งบางครั้งคลังข้อมูลนี้จะรองรับไฟล์แบบ ASCII และ Binary Files หรือไม่ขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์ Revision Control System จะรองรับหรือไม่ด้วย

ตัวอย่างเช่น เราพัฒนาซอฟต์แวร์ 1 ตัว โดยในทีมีคนร่วมพัฒนา 10 คน โดยทุกคนมีสิทธิ์ในการเข้ามาใช้ Revision System Control ได้หมด และในการพัฒนาซอฟต์แวร์ครั้งนี้มีไฟล์การพัฒนาอยู่หลายร้อนไฟล์ เมื่อมี 1 ในทีมพัฒนาชื่อ A ได้นำไฟล์ kernel.c ออกไป (Check out) ทำการแก้ไขเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด (Bug) เมื่อทำการแก้ไขเสร็จแล้วจึงนำกลับเข้าระบบ (Check in/Commit) ซึ่งทำกันเป็นปกติ โดยก่อนทำการนำกลับเข้าระบบมักจะมีการเขียนคำอธิบายไว้เสมอว่ามีการแปลงอะไรไปบ้าง (Log) แต่พอมีการแก้ไข interface.c โดยมีในทีมมีการทำการแก้ไขพร้อม ๆ กัน 2 คน ซึ่งได้แก่คนชื่อ B และชื่อ C โดยทำการนำไฟล์ interface.c มาแก้ไข  เมื่อ C นำไฟล์กลับเข้าระบบ จะทำได้ตามปกติ แต่พอ B จะนำกลับเข้าระบบจะมีการฟ้องว่าไฟล์ที่จะนำเข้าระบบเกิดความขัดแย้งของข้อมูล (Confilt) โดยทั่วไปแล้วจะทำการแสดงความแตกต่างก่อน (Diff) เพื่อดูว่าส่วนที่ตนเองแก้ไขไปนั้นมีส่วนใดที่ตรงกันหรือไม่ ถ้าไม่ตรงกันเลย และไม่มีผลกระทบกับระบบโดยรวม (เช่นแก้ไข function คนละตัวกัน) จะทำการ merge เข้าด้วยกันแล้วทำการนำเข้าระบบตามปกติ แต่ถ้ามีการแก้ไขแล้วเกิดความซ้ำซ้อนกัน มักจะทำการเปลี่ยนแปลงโค้ดโปรแกรมของตัวเองใหม่อีกครั้ง แล้วทำการนำเข้าระบบอีกครั้งนึง แต่บางครั้ง ส่วนใหญ่ถ้าไฟล์ที่เราแก้ไขนั้นเป็นไฟล์ระบบที่มีความหวั่นไหวต่อการเปลี่ยนแปลงก็มันจะ ปิดการนำไฟล์ออกมามากกว่า 1 คน (Lock) ก่อนเสมอ

โดยในบทความนี้เราจะพูดถึง SubVersioN (SVN) ซึ่งเป็น Open Source Application ที่ทำหน้าที่ Revision control ซึ่งได้รับความนิยมสูงมากตัวหนึ่ง โดยถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดแทนการทำงาน Concurrent Versions System (CVS) ที่เก่า, มีความสามารถจำกัด และใช้งานยาก (ผมจะไม่พูดถึง CVS มากนัก เพราะไม่ได้ใช้งานจริง)

ความสามารถคราว ๆ ที่มีมาใน SubVersioN (SVN) มีดังต่อไปนี้

  1. เป็น Revision Control System แบบ Optimistic Technique
  2. การ Check in/Commit จะเป็นแบบ Atomicity แบบเดียวกับ Database Management System (DBMS) ทั่ว ๆ ไป 
    * Atomicity เป็นหนึ่งในกฎ ACID (Atomicity, Consistency, Isolation and Durableness) ของ DBMS ที่รองรับการทำ Concurrency ซึ่งมีคำจำกัดความว่า "กลุ่มคำสั่งงานใดๆ ต้องได้รับการประมวลผลทุกคำสั่งงานทั้งหมดถ้าไม่มีข้อผิดพลาด  หรือไม่ได้รับการประมวลผลเลยถ้ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น" กล่าวคือผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลผลของการดำเนินงานที่ไม่สำเร็จ เนื่องจากส่วนจัดการการดำเนินงานจะทำการยกเลิกหรือทำซ้ำให้ผลลัพธ์ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น รายการเบิกเงินจากตู้เบิกเงินอัตโนมัติที่ยังทำไม่สำเร็จเนื่องจากระบบเกิดขัดข้อง ส่วนจัดการการดำเนินงานจะยกเลิกรายงานเบิกเงินครั้งนั้น โดยปรับค่ายอดเงินคงเหลือกลับไปค่าเดิม เสมือนหนึ่งไม่มีการทำรายการเบิกเงินครั้งนั้นเลย เป็นต้น
  3. หมายเลขการเปลี่ยนแปลง (Revision number) เป็นแบบส่วนรวม กล่าวคือใช้หมายเลขการเปลี่ยนแปลงร่วมกันทั้งระบบ เพื่อง่ายต่อการจัดการและกันการสับสนของการเปลี่ยนแปลง
  4. สามารถเปลี่ยนชื่อ, คัดลอก, ตัด และลบไฟล์ โดยมีผลกับหมายเลขการเปลี่ยนแปลงหลักทั้งหมด
  5. รองรับไฟล์แบบ Binary files 
  6. รองรับ Apache HTTP server บนโปรโตคอล WebDAV/DeltaV โดยสามารถนำมาใช้ผ่านโปรโตคอลแบบ TCP/IP ได้ทำให้ลดปัญหาโดน Firewall ในเครือข่ายไม่ยินยอมให้ผ่านได้อีกด้วย โดยใช้ Apache HTTP server โดยผ่าน port 80 ซึ่งมักจะได้รับการยินยอมให้กระทำผ่าน Firewall ได้อยู่แล้ว
  7. รองรับการทำ Branching (Branches) และ Tagging (Tags)
  8. สามารถ Locking ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลระดับเข้มงวด (เช่นไฟล์ที่มีผลกับระบบมาก ๆ มักทำการ lock ไว้ก่อน เพื่อป้องกันการ merge ไฟล์แล้วมีข้อผิดพลาดใหม่ ๆ หรือข้อมูลนั้นไม่เหมาะให้มีการแก้ไขหลาย ๆ คนในเวลาเดียวกัน)
  9. รองรับ MIME เต็มรูปแบบ
  10. เป็น Open Source licensed ในชื่อ "CollabNet/Tigris.org Apache-style license"

ครั้งต่อไปเราจะมาทำการติดตั้ง SVN Server บน Windows ภายใน 10 นาทีกันนะครับ ;)

อ้างอิง

Beginner’s Essential Guide: How to be a PROs in 90 Days (คู่มือการเป็นเทพใน 90 วัน)

จาก : http://www.pantip.com/cafe/camera/topic/O4373460/O4373460.html

– ไปฝังตัวใน webboard ที่มีคนนิยมมากๆ (ถ้าในโต๊ะกล้องนี่เลือกห้องที่สมาชิกเยอะๆ หน่อย อย่าง นิคอน แคนนอน โอลิมปัส พานา โซนี่)

– เริ่มต้น ตอบกระทู้ไปเรื่อยๆ

– ระยะแรก ให้ไปตอบในคำถามของคนอื่นก่อน เพราะเขายังไม่รู้จักเรา

– เน้นการตอบฟันธง ของคำถามที่ว่า "ซื้อกล้องอะไรดี"

– ตอบให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้

– ตอบ ถูก หรือ ผิด อย่าไปสน คนถาม และคนตอบส่วนใหญ่ ก็ไม่เคยใช้หรอก คุณบอกยังไงเขาก็เชื่อ

– ใครไม่เชื่อก็ช่างหัวมัน คุณเดินหน้าสร้างภาพไปเรื่อยๆ อย่าไปสนอะไร

– ไม่ต้องไปกังวลว่า คุณจะเคยใช้ เคยรู้จัก ไอ้กล้องตัวนั้นมาก่อนหรือไม่ มั่วตอบไปเลย ไม่ต้องสนใจ ไม่มีใครรู้หรอกว่าคุณมั่วตอบ

– สำนวนก็ไปจำมาจากพวกรุ่นเดอะที่อยู่วงการมานาน ลอกข้อมูลบางส่วนจากเขามา สำนวนนั้นอย่าลอก 100% ต้องหาเอกลักษณ์ของตนเองไว้ก่อน
แผนการทำมาหากิน ยังอีกยาวไกล อย่าคิดสั้นเป็น โคลนนิ่งของใคร

– จงพยายาม แสดงอิทธฤทธิ์ ปาฎิหารย์ เมื่อโอกาสอำนวย อะไรก็ได้ ที่คุณเห็นว่า จะแสดงถึงความสามารถอันพิเศษเหนือคนธรรมดาของคุณ แสดงไปเลย
ใครมาค้าน ให้ด่ากลับว่า "ตาไม่ถึง", "ไม่รู้จริง", "เกรียน", "ป่วน" แสดงไปสักพัก จะมีสาวกมาขึ้น ก้มกราบกรานประหลกๆ

– ระยะแรก การยอมรับยังไม่ดีนัก แต่ให้รอประมาณ 3 เดือน ชื่อของคุณจะติดอันดับยอดนิยม และพุ่งขึ้นไปเรื่อยๆอย่างรวดเร็ว

– ปฎิกิริยาลูกโซ่ ก็จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ คุณยิ่งตอบฟันธงมาก คนก็ยิ่งถามโดยเจาะจงชื่อคุณ
หน้าใหม่ๆเข้ามา เห็นคนอื่นถามคุณมากๆ ก็จะเชื่อไปโดยอัตโนมัติว่าคุณเป็น "เทพ" จุติมาจากสวรรค์ แน่นอน

– หากโดนค้าน โดนแย้ง ให้หาทางด่ากลับทันที ป่วนได้ป่วน ด่าได้ด่า ปลอมตัวเป็นหน้าม้ามาด่า ด่าให้ไอ้คนที่มาคัดค้านคุณ ล่าถอยไปเอง เพราะความเหนื่อยหน่าย

– จำไว้ สถานะของคุณคือเทพ คุณคือความถูกต้อง คุณคือสิ่งที่แตะต้องไม่ได้ คุณว่าอะไรทุกคนต้องเชื่อ ต้องฟัง ต้องทำตาม
ใครไม่เห็นด้วยกับคุณ คนนั้นคือคนเลว คนนั้นคือเล่นไม่เป็น สะเออะมาเถียงเทพอย่างคุณ

– ใน 90 วัน ถ้าคุณทำได้เช่นนี้อย่างเคร่งครัด คุณจะสามารถแจ้งเกิดในวงการได้ทันที

– รอให้เกิดการบ่มตัวที่เหมาะสม สัก 6-12 เดือน คุณค่อยๆวางแผนในการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้

– ผลประโยชน์คือ การเจรจา ขอค่าหัวคิว ขอเปอร์เซ็นต์ ทุกอย่างที่ได้เงิน ทำไปเลย

– หากเป็นไปได้ หาทางไปเป็นนักเขียนในนิตยสาร

– หาทางสร้างชื่อเสียงต่อไป ทีนี้คุณมี "ช่องทางการจัดจำหน่าย" ที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิมแล้ว อย่าลืม เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้มากขึ้นไปอีก

– เปิดตัวต่อคนในวงการให้มากที่สุด คบทุกคนที่ขวางหน้า อย่าขัดแย้งกับใครเด็ดขาด ยกเว้นในกรณีที่มีคนมาโจมตีสถานะความเป็นเทพของคุณ

– หากคุณทำสำเร็จไปอีกระดับหนึ่ง หาทางออกมาตั้งนิตยสารเป็นของตัวเอง เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น
อย่าไปสนใจการขัดแย้งกับทีมงานเดิม มันด่ามา เราด่ากลับ ด่าเสร็จแล้ว ก็ตีสองหน้าว่า "ผมไม่คิดอะไร ผมไม่ถือ ผมไม่ได้ขัดแย้ง ผมให้อภัย ไม่ได้ด่าเขาสักหน่อย"
อ้อนได้อ้อน "ผมโดนโจมตี ผมโดนใส่ร้าย"

– ขอแสดงความยินดีด้วยครับ คุณจบหลักสูตรการเป็นเทพโดยสมบูรณ์แล้ว

นำมาจากบทความของสมาชิกผู้ใหญ่ใน ThaiAVClub.com (รู้สึกว่าจะเป็นคุณ nattapong มั้ง ขออภัยถ้าจำผิด) ดัดแปลงบางส่วน เพื่อให้เข้ากับโต๊ะกล้อง

ใครอยากเป็นเทพมั่งเนี่ย
ถ้าใครอยากเป็นละก็ "เกรียน" ตัวจริงเลยแหละ
ขอมอบประกาศนียบัตรให้ อิ อิ


คลิ้กที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่

ปรับแต่งให้ Mozilla Firefox 1.5 ใช้ภาษาไทยอย่างสมบูรณ์

Mozilla Firefox 1.5 เปิดตัวในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2005 (ตามเวลาประเทศไทย) อยากทราบว่าใน Version ใหม่นี้มีอะไรบ้าง เข้าไปอ่านได้ที่ ความสามารถใหม่ใน Mozilla Firefox 1.5

สำหรับการปรับแต่งภาษาไทยสำหรับ Mozilla Firefox 1.0.x เข้าที่หน้า ทำให้ Mozilla Firefox ใช้ภาษาไทยอย่างสมบูรณ์ ครับ

"สามารถก็ดาวน์โหลด Mozilla Firefox ได้จาก Firefox – Rediscover the web ขนาดประมาณ 5MB เท่านั้นเองครับ"

  1. ไปที่ Tools ที่ menu bar ด้านบน และไปที่ Options
    1.jpg
  2. เมื่อ Dialog Box ชื่อว่า Option ให้ไปที่ Tab ชื่อว่า Content

  3. ที่ Group Box ชื่อว่า Fonts & Colors  ให้ตั้ง Default Font เป็น Tahoma และปรับ Size (ขนาด) เป็น 16 และเลือกที่ Advanced
  4. จะปรากฤ Dialog Box ที่ชื่อว่า Fonts ที่ Fonts for ให้ปรับเป็น Thai
    • Properional ปรับเป็น Serif
    • Serif ให้ปรับเป็น Tahoma
    • Sans-Serif ให้ปรับเป็น Tahoma
    • Monospace ให้ปรับเป็น Tahoma

    ที่ Group Box ชื่อ Character Encoding ให้ปรับ Default Character Encoding เป็น Thai (TIS-620) แล้วกดปุ่ม OK เมื่อเสร็จสิ้น

  5. ไปที่ Tab ชื่อว่า Advanced
    ที่ Group Box ชื่อว่า Language ให้เลือกที่ Edit Languages
  6. จะปรากฎ Dialog Box ชื่อว่า Languages ที่ Drop-DownList ให้เลือก Thai [th] แล้วกดปุ่ม Add แล้วปรับ Move Up ให้ Thai [th] ให้ย้ายขึ้นไปบนสุด แล้วกด OK เมื่อเสร็จสิ้น
  7. กด OK อีกครั้งเพื่อออกจาก Dialog Box ชื่อว่า Options
  8. ที่ Menu bar ให้เลือกที่ menu ชื่อว่า View แล้วเลือกที่ Charater Encoding ตามด้วย Customize List

  9. จะปรากฎ Dialog Box ชื่อว่า Customize Character Encoding ที่ List Box ชื่อว่า Available Character Encoding ให้เลือก Thai (ISO-8859-11), Thai (TIS-620) และ Thai (Windows-874) และกดปุ่ม Add

    จะปรากฎ Character Encoding ที่เราเลือกที่ ด้าน List Box ชื่อว่า Active Character Encoding แล้วทำการย้ายให้เรียงตามภาพ โดยใช้ปุ่ม Move Up หรือ Move Down แล้วกดปุ่ม OK เมื่อเสร็จสิ้น

  10. ตอนนี้เราก็สามารถใช้ Firefox 1.5 เพื่อแสดงผลภาษาไทยได้อย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ;-)

จะซื้อคอมฯ ทั้งทีตอบคำถามนี้ก่อนซื้อครับ

หลักส่วนใหญ่ที่ถามก็มี 3 ข้อ คือ

1. ซื้อไปใช้งาน หรือทำอะไร บ้าง ?
    นี่เป็นสิ่งที่ผมถามคนที่มาถาม spec คอมฯ ผมทุกคน ก่อนเสมอครับ แล้วส่วนใหญ่จะตอบกันไม่ได้ เพราะว่าไม่ได้ศึกษามาก่อน หรือประมาณว่าอยากซื้อมาใช้เลย เหมือนกับไปซื้อข้าวแกง เห็นๆ ว่าอร่อยก็ซื้อมาเลย ไม่สนใจว่ามันจะสะอาด หรืออร่อยหรือเปล่า ดูแค่มันสีสัน กลินที่ ok ก็ซื้อเหมือนกับ เรื่องนี้ที่โฆษณามาก่อน ดูดี ลงหนังสือดัง แล้วก็ตัดสินใจเลย ไม่ได้ศึกษาว่ามีข้อดีข้อเสียในด้านใดบ้าง แล้วคำตอบส่วนใหญ่ก็คือ "ก็เอาที่มันใช้งานได้ดีๆ แล้วอยู่นานๆ ไม่ตกรุ่น" ซึ่งผมก็ปวดหัวและ ตอบกลับไปว่า ไอ้ไม่ตกรุ่นไม่มีครับ บอกไปเลยว่า ยกจากร้านก็ตกรุ่นและ ราคาตกไปเกือบครึ่งแล้ว ซึ่งก็เป็นไม่ว่าจะ Desktop, Laptop หรือ Server ผมอยากจะบอกแบบนี้ว่า งานแต่ละอย่างนั้น spec ในแต่ละแบบนั้นไม่ได้ตอบสนองงาน หรือสิ่งที่ทำได้ทุกๆ อย่างเสมอไปครับ ผมว่าควรดูงานที่คุณเอาไปใช้งานก่อนเสมอครับ แต่พวกดูหนัง/ฟังเพลงนี่ ในปัจจุบันมันทำได้อยู่แล้วครับไม่ต้องมาถามครับ spec ICT เครื่องละหมื่นก็ดูหนัง/ฟังเพลง ได้ครับ

2. ซื้อเผื่ออนาคตมากไหม ?
    นี่เป็นสิ่งที่ผมจะถามและ บอกเพื่อนๆ พี่ๆ หรือคนที่มาถามผมตลอด ซื้อเผื่อแล้วไม่ได้ใช้เสียดายเงินครับ บางคนแย้งว่าก็อาจจะได้ใช้ นี่ผมแนะนำไปส่วนใหญ่ไอ้เผื่อๆ ได้ใช้กัน 10 % ของคนที่มาถามทั้งนั้น ส่วนใหญ่ ไม่ได้ใช้กันหรอก เสียดายเงินครับ แล้วเรื่องจะ upgrade ไม่ต้องคิดครับ เดี่ยวนี้เปลี่ยนรุ่น CPU ทีเปลี่ยน m/b ทีครับ เลิกหวังจะ upgrade ได้สูงๆ ได้เลย หรือบางครั้ง upgrade กับซื้อใหม่ยกชุดราคาๆ พอๆ กันครับ ในปัจจุบันอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไอทีนั้นส่วนใหญ่อยู่ที่ 3 ปีเสียส่วนมากครับ ใช้เต็มที่ก็ 5 – 6 ปีครับ (ถ้าทนใช้ได้นะ)

3. spec ที่ใส่ลงไปในการซื้อ
    ผมอยากให้ระบุชัดๆ ก่อนว่าไปใช้ทำงานอะไรในข้อที่ 1 ครับ แล้วจะเผื่ออะไรบางในบางส่วน ดังข้อที่ 2 ครับ เช่นพวก RAM หรือ Hard Drive ก็พอครับ ส่วนพวก VGA Card หรือ CPU อะไรพวกนี้ก็ตามกำลังที่จะซื้อดีกว่าครับ บางคนซื้อมาพิมพ์งาน ดูหนัง ฟังเพลง ซึ่งไม่ต้องใช้ความสามารถมากก็เอาแค่ Intel Celeron หรือ AMD Sempron ก็พอครับ ผมว่าเร็วพอแล้ว บางครั้งขนาดเล่นเกมส์ก็ยังพอเลย แต่ส่วนใหญ่ยัด Intel Pentium 4 หรือ  AMD Athlon XP ให้แพงเข้าไปเหอะ แต่ไม่ได้ใช้ความสามารถของมันมากเท่าไหร่นัก เสียดายเงินครับ แถมเสียดุลการค้าเข้าไปอีก นี่ยกตัวอย่างแค่ CPU ครับ ส่วนอื่นก็คงตัดสินใจหาข้อมูลดูนะครับ (ส่วนถ้ามีเงินซื้อก็ตามใจครับไม่ว่ากัน)

    ทิ้งท้ายไว้ครับ เรื่องที่ซื้อกันมาแต่ง หรือทำให้เครื่องแรงด้วยการ OverClock ผมไม่ได้ต่อต้าน หรือสนับสนุน นะครับ แต่นี่เป็นสิ่งที่อยากให้พินิจพิเคราะห์ว่า คนบางคน หรือบางกลุ่มนั้นมาแต่งครับ หวังแรง หวังแข่งประชันกัน เหมือนคนซื้อรถครับ แล้วเอามาแต่งความแรงแข่งกัน เดี่ยวนี้พวกอุปกรณ์ไอที ก็เป็นแบบนั้นแทบไม่ต่างกันแล้วครับ ซื้อหวังแข่งความไฮเทค แล้วมาทดสอบความแรง ความเร็วจากโปรแกรม Benchmark กันครับ ผมเสียดายประสิทธิภาพที่ซื้อมาแต่เอาทำคุณประโยชน์เพียงน้อยนิดครับ แต่บางคนแต่งให้สวยงามแล้ว ยังเอามาทำงาน ทำมาหากินด้วยนี่ น่ายกย่องครับ แต่ถ้าซื้อมาประชัดขันต่อกันเพียงเพื่อความซะใจอย่างเดียวนี่ผมก็ไม่สนับสนุนครับ อยากให้ซื้อ spec ที่คุณคิดว่าเหมาะสม และทำงานได้กับคุณในราคาที่เหมาะสมดีกว่าครับ เงินทองยิ่งหายากๆ อยู่ครับผม

ซื้อให้เหมาะสมกับตัวเอง และงานที่ทำครับ มองที่ประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่า ภาพลักษณ์ของตัวเองครับ ค่าของเครื่องมือจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับคนใช้ครับว่าจะใช้มันสร้างผลงานได้ดีเพียงใดครับ เหมือนกับจอมยุทธมีกระบี่ดี แต่เพลงกระบี่ และฝีมือปลายแถว ก็ไม่ต่างจากคนมีอุปกรณ์ไอที ดีๆ รุ่นใหม่ๆ แต่ใช้ไม่เป็นครับ

แต่ผมก็คงวิภาควิจารณ์มากไม่ได้ครับ เพราะบางคนซื้อเพราะความสุขทางใจ จริงแมะ ;-)

ด้านล่างนี่ผมเจอในเว็บบอร์ดดังแห่งหนึ่งครับ กล่าวไว้ได้น่าสนใจดีมากครับว่า

"เทคโนโลยีก็เหมือนศาสนาถ้าใครไม่เชื่อก็จะถูกหาว่านอกรีต intel กับ AMD ก็เหมือน 2 นิกายใหญ่ที่ ผู้นับถือแต่ละสำนักก็ออกมาเชียร์ว่าอาจารย์/สำนักตนดีกว่า (ค่ายอื่นก็เหมือนนับถือผีมั้ง^^) การซื้อ Computer ทุกวันนี้จึงใกล้เคียงกับการซื้อวัตถุมงคลเข้าไปทุกที CPU ต้องทนร้อน ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ อีกหน่อยคงต้องไปหาเหล็กไหลมาทำ RAM ต้องดูรุ่นดูค่าย เช่นเดียวกันต้องทนร้อน ดูใครเป็นคนนำบูชาบริษัทอะไรทำ เนื้ออะไร รหัสอะไร เดี๋ยวนี้ต้องบูชาพร้อมกันเป็นคู่ เดี๋ยวจะไม่ขลังหากบูชาไม่พร้อมกันจะทำให้พลานุภาพลดลงได้ การ์ดจอต้องเร็ว ดูว่าเปิดท่อได้เท่าไหร่ เหมือนกับจะนำไปแสดงอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหารย์ ยิงฟันไม่เข้า การที่จะนำวัตถุมงคลทั้งหลายนั้นมารวมกันเป็นชุดต้องระวังว่าจะขัดกันหรือไม่เพราะเดี๋ยวจะเป็นขึด จะนำมารวมกันเฉยๆนั้นไม่ได้ต้อง อาศัยหลวงพี่ enermax ในการเสริมความขลัง อีกหน่อยคอมพิวเตอร์ต้องเอาไปเลี่ยมทอง เพราะราคาพอๆกับเคส การที่จะนำไปบูชาควรวางไว้ในที่ที่เป็นมงคล หันหน้าไปทางทิศที่เหมาะสมเข้ากับราศีเกิดของผู้บูชา เพื่อให้รับลมได้ดี เดี๋ยวจะไม่เข้าหลัก Air flow อาจเกิดอาการร้อนในได้ คงไม่แปลกอะไรถ้าจะมีคนบูชาคอมเครื่องละเป็นแสน และ ไม่แปลกที่จะมี Spec เทพเบญจภาคี เช่น A_D 64 x000+ ,Cosair,Raptor,ASUS,6800 Ultra

ดังนั้นศาสนิกชนแต่ละท่านจึงควรพึงที่จะรับฟังอย่างมีวิจารณญาณ"