คัดลอกบทความไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม ส่ง notice ไม่พอ ต้องส่ง invoice ไปด้วย

หลังๆ ผมมีหลักคิดเรื่องการละเมิดเนื้้อหาบนอินเตอร์เน็ตที่รักษาผลประโยชน์ตัวเองเพิ่มขึ้น คือการละเมิดเนื้อหาที่ถูกนำไปทำซ้ำโดยไม่ถูกต้องตาม CC บน blog ตัวเอง หรือ Copyright บนเว็บที่จ้างเขียนบทความ โดยมีแนวคิดเพิ่มเติมไม่ใช่แค่แจ้ง notice ให้ลบออก หรือแก้ไขเท่านั้น แต่มีการเพิ่มเติมข้อเรียกร้องที่นำไปสู่การเสียประโยชน์จากการนำไปใช้แบบผิดวิธีตาม CC หรือละเมิด Copyright ที่ทำให้เสียประโยชน์ทางธุรกิจ ด้วยการส่ง invoice คิดเงินแนบไปพร้อม notice ด้วย

เหตุผลหลักๆ ที่มีการส่ง invoice เรียกเก็บเงิน เพราะเนื้อหาที่ระบุ CC นั้นต้องการ back link อย่างชัดเจน ซึ่งมีผลต่อ SEO ซึ่งน่าจะเป็นค่าตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อในการนำบทความไปใช้ในขั้นต่ำสุด (ห้าม unfollow tag ด้วย) ส่วนของเนื้อหา Copyright นี่ก็ตรงๆ ตัวอยู่แล้ว โดยทั้ง 2 ส่วนนี้ โดยส่วนใหญ่คนนำไปใช้มักนำไปใช้งานเพื่อสร้างผลตอบแทนต่อตัวเองอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการแบ่งส่วนผลตอบแทนที่คาดว่าจะเกิดจากนำเนื้อหาของเราไปใช้ จึงเป็นเรื่องที่ควรทำ และน่าจะ win-win กับทุกฝ่าย

การแค่ทำลายบทความทิ้งไปเฉยๆ บนเว็บที่นำไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาแบบ CC หรือ Copyright นั้นส่วนตัวมองว่าดูมักง่ายเกินไป เพราะการคิดแค่ว่าลบๆ แล้วก็จบๆ กันไป โดยไม่ได้มองบริบทในอดีตว่า ก่อนที่บทความที่ถูกนำไปใช้งานอย่างไม่ถูกต้องนั้น ได้สร้างผลตอบแทนแกผู้นำไปใช้มากมายเท่าใดๆ แล้วนั้น ดูจะไม่ยุติธรรมต่อผู้ผลิตผลงานเท่าใดนัก

ซื้อหนังหรือเพลงแบบถูกลิขสิทธิ์ต้องลองทำดูอาจติดใจ

จากกระทู้ ญี่ปุ่นเนี้ย มีแผ่นผี ซีดีเถื่อนมากน้อยแค่ไหน ? แล้วมีมาตรการจัดการยังไง ? ทำให้คันไม้คันมือเล็กๆ คือหลังๆ เรื่องเพลง หรือหนัง ถ้าไม่ดูในโรงหนังผมก็รอแผ่นแท้เอามากกว่า ระงับความอยากในการโหลดมาดูรอแผ่นอย่างเดียว หลังๆ ก็ทำได้นะ มันไม่ตายหรอก

ซึ่งแต่ก่อนหนังผมจะตามเก็บ DVD ไว้ดู แต่ตอนนี้มาเก็บพวกแผ่น Bluray แทน (มีเครื่องดู) แต่ว่าผมจะบ้าๆ แปลกๆ ทำเทาๆ หน่อยๆ คือจะโหลด Bit ตัว 720p/1080p มาดูใน Computer แทน เพราะไม่มีเครื่อง Rip Bluray ใส่ลง Computer ส่วนแผ่นเพลงจะซื้อแผ่นแท้มา Rip ฟัง ครั้งแรกและเก็บเข้ากล่องเลย กลัวแผ่นเป็นรอย (ผมสะสม) แต่พอ iTunes Store เปิดก็ซื้อทั้งเพลงและหนัง (อาจจะเช่าบ้าง) ใน iTunes Store เยอะขึ้น อย่างเพลงไทย เพลงเกาหลี ญีปุ่น ฝรั่ง นี่ถ้าชอบผมซื้อหมด เดือนนึงหมดไปเกือบพัน หรือพันกว่า แล้วแต่ว่าเดือนไหนถูกใจมากน้อย แต่ที่บ้าสุดคงเป็น SNSD เพราะมีแผ่นแท้แล้ว แต่แผ่นแท้ไม่เคยแกะออกมา (หลายแผนแหละ) แต่ที่ใช้ฟังๆ นี่ผมไปโหลดจาก iTunes Store อีกรอบ เพราะรอแผ่นแท้ที่สั่งจาก YesAsia ไม่ไหว (มันบ้าไปแล้ว) ><”

พวก App หรือ Software หลังๆ เน้นแท้หมด เวลาซื้อ จะซื้อแบบ Download Version เพราะราคาถูกกว่าและสะดวกในการ upgrade แถมัว upgrade version บางค่ายจะเป็นส่วนลดในการ upgrade ใน version ล่าสุดด้วย มันประหยัดกว่า และเริ่มรู้แหล่งในการซื้อ Software ถูกต้องและเทคนิคการซื้อของพวกนี้ในราคาถูก เช่นการลองค้นหา coupon หรือ redeem code มาลดราคา บางครั้งได้ราคาถูกกว่ากล่อง 50-80% เลยก็มี พยายามเช็คจากเว็บ dealer ขายพวกนี้บ่อยๆ จะมีหลุดมาเรื่อยๆ ซื้อแล้วคุ้มกว่า เคยเจอ Photoshop CS5 ราคาเหลือหมื่นหน่อยๆ แต่ไม่ได้ซื้อ เพราะตอนนั้นเงินหมด T_T

ส่วนตัวหลังๆ ไม่ได้คิดว่าการซื้อของพวกนี้เป็นภาระนะ ผมมองว่ามันไม่ใช่การอวดรวย แต่มันคือการทำที่ถูกต้องและควรทำอยู่แล้ว แต่พอดีว่าคนส่วนใหญ่ไม่ทำ เลยดูแปลกๆ แค่นั้นเอง

WP_20130109_014

การลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยต้องเริ่มที่ตัวเรา

การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยมีสูงมาก เกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ ราคาที่สูง, องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการเข้าจับกุมการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่ไม่ทำหน้าที่อย่างต่อเนื่อง ทำให้การซื้อขายซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์สามารถทำได้ง่ายกว่าการซื้อหาของถูกต้องตามลิขสิทธิ์, การไม่เคารพสิทธิ์ด้านทรัพท์สินทางปัญญา, แหล่งซื้อขายซอฟต์แวร์ถูกต้องตามลิขสิทธิ์หาได้ยาก, ข้อมูลซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่ซับซ้อน ไม่เพียงพอต่อการทำความเข้าใจเรื่องชนิดของลิขสิทธิ์หลากหลายรูปแบบ ฯลฯ

ปัญหาดังกล่าวทำลายวงการซอฟต์แวร์ในประเทศไทย บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไทยนั้นผลิตซอฟต์แวร์ที่มีคุณสมบัติและราคา เหมาะสมกับคนไทย แต่เมื่อนำไปเทียบกับคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในราคาที่ถูกกว่า (ผู้เขียน: ถึงจะเป็นของต่างชาติหรือของคนไทยด้วยกันเองก็แล้วแต่ก็จะเจอข้อเปรียบ เทียบนี้ด้วยเช่นกัน) ทำให้ส่วนต่างราคามีผลต่อการตัดสินใจของผู้ซื้ออยู่มาก

ซอฟต์แวร์ถูกลิขสิทธิ์ และซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์นั้นมีต้นทุนการผลิตที่แตกต่างกันอยู่มาก ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์นั้นต้องมีค่าใช้จ่ายในการงานวิจัยและพัฒนา, การสนับสนุนหลังการขาย โดยเฉพาะการติดตามแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการขั้นตอนพัฒนา และการดำเนินการด้านการตลาด เป็นต้น ต่างจากซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ที่มีเพียงต้นทุนการคัดลอกเท่านั้น ด้วยเหตุนี้วงการพัฒนาซอฟต์แวร์ในประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้

ทางแก้ไขที่ดีกว่าน่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดว่าซอฟต์แวร์นั้นมีมูลค่าในตัวของมันเอง ไม่ว่าจะได้มาด้วยรูปแบบของซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ ซอฟต์แวร์เสรี ฟรีแวร์ แชร์แวร์ และรวมไปถึงซอฟต์แวร์ทดแทนอื่น ๆ ตรงนี้เกิดจากคนไทยส่วนหนึ่งไม่ได้มองว่าซอฟต์แวร์นั้นมีมูลค่าเช่นเดียวกับอุปกรณ์ไอทีที่จับต้องได้ เราควรมองว่ากำลังนำซอฟต์แวร์มาใช้งานเพื่อนำไปสร้างผลผลิตเช่นเดียวกับอุปกรณ์ที่จับต้องได้ และเงินที่จ่ายให้บริษัทซอฟต์แวร์ไปนั้นถือเป็นการอุดหนุนวัฏจักรการพัฒนาตัวซอฟต์แวร์ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

อีกทางเลือกหนึ่งการปรับเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ทดแทนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโอเพนซอร์สหรือฟรีแวร์ แต่เราก็ควรจะผสมผสานการใช้งานทั้งซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ในจุดที่จำเป็น และซอฟต์แวร์ทดแทนให้จุดที่ใช้งานแทนได้อย่างไม่มีปัญหา เพราะซอฟต์แวร์ทดแทนมีข้อจำกัดในบางด้าน เช่น การอ่าน-เขียนไฟล์ของซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ที่ติดสิทธิบัตร ถ้าเราจำเป็นต้องใช้งานส่วนนี้ และซอฟต์แวร์ทดแทนไม่สามารถตอบสนองให้กับเราได้ ก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน หรือต้องยอมลงทุนลงไปเพื่อให้งานสามารถดำเนินต่อไปได้

ซอฟต์แวร์ทดแทนโดยทั่วไปมีรูปแบบการทำงานบางส่วนที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปจากซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์แบบเดิมๆ แต่เงื่อนไขของซอฟต์แวร์เสรีทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนตัวซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับที่ตัวเองต้องการได้เสมอ แต่นั่นหมายถึงเงินทุนและเวลาในการจ้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้แก้ไขตามที่เราต้องการ

การแก้ไขปัญหาการละเมิดซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์จะต้องเริ่มต้นจากทุกคนช่วยกันสร้างเสริมแนวคิดที่ไม่ละเมิดลิขลิทธิ์ซอฟต์แวร์ โดยต้องเริ่มต้นในทุกระดับอายุ จึงต้องมีบุคคลต้นแบบ เพื่อให้เกิดการเอาเป็นแบบอย่างในการอ้างอิงแนวคิด และการเริ่มต้นส่งเสริมการใช้งานซอฟต์แวร์ทดแทน โดยทั้งหมดนี้ไม่ใช่ต้องการลดการพึ่งพาซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์จากต่างชาติทั้งหมด แต่เป็นการเริ่มต้นเคารพความคิดด้านทรัพท์สินทางปัญญา  ซึ่งทำให้ภาคธุรกิจซอฟต์แวร์ภายในประเทศเติบโตต่อไปได้ ในอนาคตเราก็คงต้องต้องผลักดันกันอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้ทุกอย่างเดินทางในเส้นทางที่ถูกต้องเสียที

ผู้เขียน Ford AntiTrust

จาก Blognone Year Book 2008

การแอบอ้างหรือนำรูปไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาติ

เกรินนำก่อนเลยว่าตาม พ.ร.บ ลิขสิทธ์ ให้บอกไว้ว่า ”ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้สร้างสรรค์ ก็คือ ผู้แต่ง ผู้วาด ผู้เขียน ผู้ถ่าย ใครสร้างสรรค์ขึ้นมา ลิขสิทธิ์ก็จะเป็นของผู้นั้นโดยทันที โดยไม่ต้องจดลิขสิทธ์ แต่ประการใด” แตกต่างจากสิทธิบัตรอย่างชัดเจน (แต่ปรกติแล้วจดสิทธิบัตรมักจะจดมีลิขสิทธิ์พ่วงมาด้วยบ้างในบางงาน) เนื้อหาในข้อกฎหมายอ่านเพิ่มเติมที่ http://www.moc.go.th/opscenter/cr/lic1.htm

งานสร้างสรรค์ต่างๆ ซึ่งในที่นี้ผมจะมุ่งไปที่การสร้างสรรค์ในการถ่ายภาพนิ่งเป็นหลักเพื่อให้เหมาะกับสิ่งที่ผมจะพูด การถ่ายภาพนั้นถ้าเป็นการถ่ายรูปธรรมชาติ ทั่วๆ ไปหรือภาพเหตุการณ์ต่างๆ ที่ไม่มีคนมาเกี่ยวข้องอันนี้ไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไหร่นัก

แต่เมื่อใดก็ตามที่ถ่ายรูปมาติดหน้าคนเมื่อไหร่ อันนี้งานเข้าครับ เพราะมันมีเรื่องของกฎหมายสิทธิ์ส่วนบุคคลมาเกี่ยวข้อง ซึ่งในบางประเทศติดคนในภาพได้ถ้าไม่ชัดเจน หรือเห็นหน้าไม่ชัด แต่บ้างที่ก็ไม่ได้เลย ต้องให้เซ็น Model Release (ใบยินยอมให้เป็นแบบ) ที่ต้องเซ็นเพราะเป็นการบ่งบอกว่าการถ่ายรูปในครั้งนี้อาจนำมาซึ่งความไม่เป็นส่วนตัวได้ นั้นเอง

ที่นี้เมื่อใดก็ตามที่เป็นลักษณะของภาพบุคคลก็มักจะมีข้อกฎหมายที่เดี่ยวข้องแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ

  1. ลิขสิทธิ์ในตัวภาพถ่าย
  2. สิทธิส่วนบุคคลของผู้เป็นแบบ

ซึ่งต้องแยกกันให้ออก ปรกติแล้วในบ้านเราเวลาถ่ายรูป ออกทริปต่างๆ ไม่ว่าจะทริปใหญ่ ทริปเล็ก ไม่ค่อยมีใครเซ็น Model Release กันสักเท่าไหร่ เพราะทุกคนก็คิดว่ามันดูจริงจังเกินไป ถ่ายเป็นงานอดิเรกจะอะไรกันนักหนา อันนี้พอเข้าใจได้ เว้นนะครับ เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี อันนี้แนะนำให้เซ็นทุกกรณี (พร้อมรายเซ็นผู้ปกครองด้วย) ยิ่งโพสลงเว็บแล้วถ้าไม่ใช่พ่อ-แม่นี่อาจโดนลบทิ้งหรือยกเลิก account ของเว็บโพสรูปต่างๆ ได้ครับ เพราะในเมืองนอกนี่รูปเด็กๆ นี่เค้าถือเรื่องนี้กันมากครับ เพื่อนผมโดนยกเลิก account ของ SkyDrive ของ Microsoft มาแล้วเพราะมีรูปของน้องตัวเองอายุไม่ถึง 18 อยู่ กว่าจะเคลียร์กันได้ ไม่รู้ไปวัดอายุด้วยอะไรเหมือนกัน –_-‘

แต่เมื่อใดก็ตามที่เป็นการเป็นงาน ถ่ายในสตู เอาภาพไปใช้งานจริงๆ จังๆ ลงในเว็บ ลงหนังสือ สิ่งพิมพ์เป็นเรื่องเป็นราว บริษัทเอาไปใช้งานต่างๆ แล้วนั้นผมแนะนำให้เซ็นซะ จะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง โหลดได้ที่ http://www.arcurs.com/what-is-a-model-release อันนี้จัดเต็มหาให้เลย (ภาษาอังกฤษไปเลย จะได้ใช้ได้หลายงานดี) ประเด็นมันอยู่ตรงนี้แหละ เมื่อเราถ่ายรูปบุคคลมา เอามาโพสลงเว็บรูปก็ของเรา คนในรูปก็คนที่เราก็รู้จัก (หรือเรารู้จัก แต่เค้าไม่รู้จักเรา แต่เค้าโพสให้เราถ่ายรูปก็ตาม) ยังไงก็ควรเคารพสิทธิส่วนบุคคลผู้อยู่ภาพเสมอ ว่าภาพที่ลงนั้นจะไปสร้างความเสื่อมเสียต่อบุคคลนั้นหรือเปล่า ตรงนี้นางแบบหลายๆ คนจะได้ค่าจ้างเพิ่มจากการเซ็นตรงนี้ด้วยซ้ำ เพราะรูปภาพพวกนี้อาจจะถูกนำไปขายต่อได้ในอนาคต เพราะใน Model Release (ส่วนใหญ่) จะระบุเรื่องการโอนย้ายลิขสิทธิ์ของภาพนั้นๆ ด้วยตรงนี้ต้องอ่านดีๆ ครับ เพราะมันเกี่ยวกับความไม่เป็นส่วนตัวของคุณมากๆ

ต่อมาก็คืองานที่เป็นลักษณะจ้างวานอีกต่อหนึ่งในงานต่างๆ นั้น อาจจะมีการเซ็นหรือตกลงกันว่าภาพนี้จะเป็นลิขสิทธิ์ของผู้จ้างวานทั้งหมดหรือลิขสิทธิ์ร่วมก็แล้วแต่จะตกลงกันในเนื้องานไป ไม่เช่นนั้นจะเข้าข่ายตาม พ.ร.บ ลิขสิทธ์ ที่ผลงานเป็นของผู้สร้างสรรค์คนแรกทันที

ทำไมผมถึงมาพูดเรื่องพวกนี้ ต้องบอกว่าเมื่อเดือนก่อนผมได้รับ FWD Mail แล้วมีคนเอารูปที่ผมถ่ายเนี่ยแหละ ไปลง FWD Mail -_-‘ ได้รับเมลแล้วก็นะ คนแรกที่ส่งเท่าที่สาวได้ก็คนในองค์ใหญ่ใช้ได้เลย จริงๆ ผมก็ไม่ได้อะไรหรอก อยากเอาไป FWD Mail ก็น่าจะแจ้งกันสักหน่อย เพราะบางครั้งผมได้รับ FWD Mail หลายๆ ฉบับมักมีข้อความล่อแหลมพ่วงตามมาในเมลฉบับที่ FWD ต่อตอนท้ายๆ อันนี้เห็นแล้วได้แต่เซงๆ ทำอะไรไม่ได้ ได้แต่บ่นในใจ อยากจะด่ากลับเหมือนกัน แต่ด่าไปก็ได้แต่ท้ายๆ พวกได้รับแบบไม่รู้เรื่องรู้ราว แล้วไอ้คนแรกที่ส่งตามที่เราเห็น ก็ไม่แน่ใจว่าจะใช่คนแรกจริงๆ หรือเปล่าอีก เฮ้อ ….

แล้วต่อมาเร็วๆ นี้ก็มีเว็บหลายๆ เว็บ พวกโมเดลลิ่ง เว็บจัดทริปบางเว็บ เอารูปของพี่ๆ ที่รู้จักกันในมัลติพลายไปลง โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ แถม hot link อีกต่างหาก logo มัลติพลายและลายน้ำชัดเจนมาก ซึ่งผมคิดว่าถ้าทำเว็บเป็นการเป็นงาน ทำธุรกิจเป็นเรื่องเป็นราวน่าจะติดต่อนางแบบมาเคส หรือติดต่อขอซื้อภาพไปเลยน่าจะดีกว่าไหม จะได้ดูน่าเชื่อถือ และดูเป็นมืออาชีพมากกว่านี้มากๆ ซึ่งคงไม่ต้องต่อว่าอะไรอีก เพราะผลงานเด่นชัดขนาดนั้นสังคมลงโทษกันเอาเองหล่ะครับ

ซึ่งแน่นอนว่าอีกประเด็นที่ร้อนไม่แพ้กันคือการนำรูปไปแอบอ้างเพื่อหวังประโยชน์ทางใดทางหนึ่ง เช่น ประกาศทริป/เคสงานแล้วนางแบบยังไม่รู้เรื่องเลย อยู่ๆ ก็ประกาศ แถมนำรูปไปใช้ก่อนด้วยนะ คนรู้จักนางแบบคนนั้นก็ไปถาม นางแบบก็งงๆ ว่าอ้าว ไปจัดอะไรกันตอนไหน คนจะเป็นนางแบบยังงงๆ อยู่เลย ออกแนวมัดมือชกหรือเปล่า ประกาศไปแล้ว นางแบบไม่มา กลายเป็นนางแบบเบี้ยวงาน ไปแทน เสียชื่อเสียงอีกต่างหาก อันนี้น่าคิดครับ ซึ่งในความคิดของผมเนี่ย ผมมองว่าถ้าจะทำธุรกิจอะไร ผมก็แนะนำให้ตรงไปตรงมาครับ ไม่ใช่ทำเป็นพวก มัดมือชก บอกความจริงไม่หมด บอกครึ่งเดียว หรือแอบอ้าง อันนี้ผมว่าไม่เหมาะสมเท่าใดนัก

สุดท้ายต้องมีคนมาแสดงคามคิดเห็นเรื่องการใช้ซอฟท์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในการตกแต่งภาพแล้วนำมาใช้แล้วถูกละเมิดเช่นกัน แล้วที่นี้เราจะไปฟ้องคนที่ละเมิดแล้ว ซึ่งภาพนั้นเราเองก็ละเมิดลิขสิทธิ์ซอพแวร์คนอื่นมาเหมือนกัน ซึ่งถ้าโดนฟ้องกลับตรงนี้ เป็นความผิดในเรื่องของ "ต่างกรรม ต่างวาระ" และไม่ใช่คนที่เค้าละเมิดลูกภาพเราจะมาฟ้องกลับได้ เพราะผู้ที่จะฟ้องเราได้ ต้องเป็นเจ้าของซอฟท์แวร์หรือผู้ได้รับอำนาจอย่างถูกต้องเท่านั้น แต่ฟ้องได้แต่ในเรื่องของการใช้ซอฟท์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในการตกแต่งภาพเท่านั้น แต่ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ของภาพที่เราใช้โปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์นั้นก็ไม่ได้หมดไปเช่นกัน ยังไงลิขสิทธิ์ของภาพก็ยังเป็นของเราอยู่ครับ

ซึ่งผมมองว่าการเรียกร้องการถูกละเมิดในขณะที่ตัวเราเองก็ละเมิดนั้น ผมว่ามันก็แล้วแต่บุคคล แต่ที่แน่ๆ "มันก็ไม่ใช่ข้ออ้างในการทำให้บุคคลอีกฝ่ายจะมาละเมิดลิขสิทธิ์ได้เช่นกัน"

ผมหวังว่าเรื่องพวกนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านไม่มากก็น้อย และอยากให้คนที่ถ่ายรูปทุกท่านระลึกไว้เสมอๆ ครับในเรื่องพวกนี้

ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่ซื้อเพิ่มเติมจากรอบที่แล้ว และสมัครสมาชิก php|architect ด้วยอีก 1 ปี

จาก ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ที่ซื้อไปแล้ว ในรอบที่แล้ว มารอบนี้ก็มารายงานผลอีกรอบว่าซื้ออะไรเพิ่มไปอีกบางส่วน ก็ได้แก่

My Laptop

  • Acronis True Image Home 2009 upgrade (1,047.81THB.) อัพเกรดจาก Acronis True Image Home 11.0 มารอบนี้ประสิทธิภาพดีกว่าเดิมเยอะเลย แถมได้ใช้ตัว clone disk ตอนเปลี่ยน Hard Drive จาก entry เก่าด้วย [ ปีใหม่เปลี่ยน HD ใน Notebook เป็น 7,200rpm กับเปลี่ยนสายไฟต่อพ่วงจาก UPS ใหม่ยกชุด ]
  • Xara X¹ (660.81 THB.) อันนี้ซื้อเพราะมีลดราคาเนื่องจากเอามาเปิดไฟล์ตัว .xar ที่เคยเอาไว้ทำงานเมื่อก่อนด้วย แถมใช้งานง่ายอีกต่างหาก ไม่เสียดายตังครับงานนี้

My Phone

  • Inesoft Cash Organizer 2008 Premium (1,063.10THB.) อันนี้ซื้อเพราะเอามาจัดการรายรับรายจ่ายบางส่วน
  • CN HalfScreen Keyboard (500THB.)  เอามาใช้เป็นคีย์บอร์ดแบบ touch key
  • Sprite Backup HTC upgrade (340THB.) เอามาทำ backup ข้อมูลในเครื่อง แบบ daily backup ซะเลย

แล้วยังมีหนังสือ php|architect ที่ซื้อแบบ PDF copy ผ่านเว็บตั้งแต่เดือนกันยายน 51– มกราคม 52 ที่ผ่านมา แต่จริง ๆ ซื้อ php|architect แบบ Print + PDF (ตัว print ส่งมาในประเทศไทยได้ด้วย) ตอนปลายเดือนธันวาคม 51 ไปแล้ว แต่ order มันล่าช้ามากเลยไม่ทันของเดือนมกราคม 52 เลยต้องซื้อของเดือนนี้เพิ่มไปอีก –_-‘ เซง … แต่โดยรวมเป็นนิตยสารแบบ online เล่มแรกที่ผมเสียเงินซื้อ และมีคุณภาพดีมาก ๆ เล่มนึงเลยแหละ

แต่ที่แน่ ๆ เล่นซะเดือนมกราคมนี้ติดลบเลย –_-‘ เฮ้อ …