เมื่อแอพบน Windows 8.1 และ Windows Phone 8.1 กำลังรวมกันด้วย Universal WinRT อาจตัดสินอนาคตของ Microsoft

อนาคตของ Windows ในตลาด tablet และ mobile นั้นดูจะยังลุ่มๆ ดอนๆ อยู่พอสมควร อาจจะเพราะชะล่าใจ จนเข้ามาช้าไป อีกทั้งเข้ามาช้าก็เร่งเครื่องไม่ทันกระแส พัฒนาไล่ตามคู่แข่งแบบหวานเย็น จนเหล่านักพัฒนา และผู้ใช้ที่ติดตามฝั่ง Windows ได้แต่มอง platform อื่นๆ เค้าก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว

แม้ว่าช่วงปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า Microsoft ได้วางแผนว่า Windows ในอนาคตจะต้องให้ประสบการณ์ในการใช้งานตั้งแต่หน้าจอประมาณ 3” จนถึง 30” แล้วมีประสบการณ์เดียวกัน ซึ่ง codename ชื่อ Windows Blue เป็นแผนงานที่วางไว้ในช่วงปีที่แล้วจนถึงปีนี้ แต่ดูเหมือนแผนงานฝั่ง Windows desktop และ tablet ก็ดูจะได้รับการตอบรับที่ดีในระดับหนึ่ง ซึ่งถูกมองว่าเป็นแผนงานอุดข้อเสียและปรับปรุงให้ดีขึ้นมากกว่า ส่วนในด้านของ Windows Phone ก็ช้ากว่าฝั่ง Windows เข้าไปอีก ด้วยการออก Windows Phone 8 GDR 1, GDR 2 และ GDR 3 ที่ดูเหมือนจะเป็นเพียงการไล่ตามในสิ่งที่ผู้เล่นในตลาดมีอยู่ก่อนแล้วมาก่อน 1-2 ปี

แต่จากข่าวในช่วงเดือนที่ผ่านมาของ Windows Phone 8.1 (codename: Blue) นั้น ได้สร้างความตื่นเต้นพอสมควรในด้านความสามารถที่มากมายกว่า Windows Phone 8 GDR 1 จนถึง GDR 3 รวมกันเสียอีก อีกทั้ง ส่วนที่น่าสนใจมากกว่านั้นคือ ได้มีข้อมูลที่รวมการพัฒนาแอพบน Windows 8.1 และ Windows Phone 8.1 เข้าด้วยกัน สร้างความน่าสนใจมากกว่าข่าวลือเรื่อง Microsoft มีความคิดจะนำแอพ Android มาทำงานบน Windows เสียอีก

จากเอกสาร Windows Phone 8.1 SDK ที่หลุดออกมานั้น เปิดเผยว่า Windows Phone 8.1 ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอพโดยใช้ Universal Windows Runtime (หรือเรียกอีกชื่อว่า Universal WinRT) ได้ โดยเป็นผลดีต่อต้นทุนในการพัฒนาแอพเป็นอย่างมาก ซึ่งชื่อ “WinRT” นั้น คงคุ้นหูกันมาก่อน เพราะมันคือชื่อ runtime ของแอพ Windows Store apps บน Windows RT และ Windows 8 อยู่ก่อนแล้ว นั้นหมายความว่า เราสามารถสร้างแอพที่ทำงานได้ทั้งบน Windows Phone 8.1 และ Windows 8.1 ได้ในการพัฒนาเพียงครั้งเดียว ในชื่อ “Universal Store apps” เพื่อใช้เรียกว่า runtime ใหม่ ให้แยกต่างหากจากของเดิมที่ชื่อ “WinRT”  เป็น “Universal WinRT” แน่นอนว่าสำหรับแอพเดิมที่เคยพัฒนาอยู่ก่อนแล้วบน Windows Phone 8 นั้นสามารถอัพเกรดแอพด้วยการคอมไพล์ไปใช้ Windows Phone Silverlight 8.1 (หรือเรียกอีกชื่อว่า WP Silverlight 8.1) แทนได้เช่นเดิม หรือจะพัฒนาโดยใช้ Universal WinRT ก็ได้โดยเริ่มต้นสร้าง Solution ใน Visual Studio ใหม่อีก Solution หนึ่งจาก Template ที่มีอยู่ใหม่

แต่ทั้งนี้ ด้วยข้อจำกัดของทั้ง Universal WinRT และ WP Silverlight 8.1 นั้นมีหลายส่วนในเบื้องต้น ซึ่งข้อจำกัดใน Universal WinRT นั้นยังมีอยู่มากตามเอกสารที่หลุดออกมา และคิดว่าน่าจะเข้าใกล้การพัฒนาจนไร้ข้อจำกัดในการผสานกันระหว่าง Windows 8และ Windows Phone ในอนาคต

ส่วนต่อมาที่น่าสนใจในเอกสารคือ Share โดยถ้าว่ากันตามจริง ใช้หลักการเดียวกับบน Windows 8 ที่ใช้การส่ง command ไปยังแอพปลายทาง (target app) และเมื่อแชร์จบแล้วจึงย้อนกลับมาที่แอพเดิม (source app) ทำให้ต่อการ การแชร์ระหว่างแอพจะทำได้สะดวกขึ้น และไล่ตามความสามารถของคู่แข่งได้สูสีมากขึ้น

สำหรับข้อมูลส่วนอื่นๆ ที่น่าสนใจตามเอกสาร SDK ที่หลุดมา จะเป็นส่วนของการเตรียมตัวและพัฒนาแอพให้สามารถทำงานบน Windows Phone 8.1 ได้อย่างราบรื่นและสมบูรณ์ รวมไปถึงทำความเข้าใจแนวคิดใหม่ของ Universal WinRT ที่กำลังจะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาแอพในอนาคตด้วย

จากการวิเคราะห์นั้น คิดว่าการพัฒนาแอพที่สามารถทำงานได้กับอุปกรณ์ทั้ง desktop, tablet และ phone ในตัวเดียว อาจจะสร้างความยุ่งยากอยู่พอสมควร ในการแสดงผลให้แตกต่างกันในแต่ละอุปกรณ์ แต่ถ้ามองในมุมบริหารจัดการ และการจูงใจนักพัฒนาแอพบน desktop และ tablet มาพัฒนาบน phone และในทางกลับกัน นักพัฒนาบน phone ก็ขยับมาลงใน desktop และ tablet นั้นดูน่าสนใจมากขึ้น เพราะในขณะนี้ รูปแบบการพัฒนานั้นดูจะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด และการพัฒนาแอพบน Windows Store apps นั้นก็ง่ายกว่าบน Windows Phone apps อย่างมาก ซึ่งจุดนี้เองที่น่าสนใจว่าผู้เล่นจากฝั่งไหนจะลงมาเล่นมากกว่ากัน ต้องลองติดตามต่อไป ถ้าเอกสารที่หลุดมานั้นเป็นเอกสารจริง

หมายเหตุ เอกสารต่างๆ ที่หลุดออกมานี้ แนะนำให้ลองหาดูกัน ผมคงไม่สามารถโพสเอกสาร หรือแจกจ่ายเอกสารเหล่านี้ได้ด้วยข้อจำกัดทางกฎหมายในตัวเอกสารเอง (ถ้าเป็นเอกสารของ Microsoft จริง)

Nokia Lumia 1520 – 20MP PureView กับ Nokia Camera และ RAW File (DNG)

โนเกียได้เปิดตัว Nokia Lumia 1520 เมื่อ 2 เดือนก่อน ซึ่งเป็นมือถือรูปลักษณ์แบบ Phablet ที่มาพร้อมกับจอภาพขนาด 6 นิ้ว ความละเอียด Full HD อีกทั้งผนวกกับ กล้อง และเลนส์ Carl Zeiss ทำงานผ่านเซ็นเซอร์ขนาด 1/2.5” ความละเอียด 20 MP เทคโนโลยี PureView และ optical image stabilization (OIS) โดยเป็นการจับคู่กันอย่างลงตัวของมือถือจอภาพขนาดใหญ่ และกล้องถ่ายรูปพร้อมเลนส์ประสิทธิภาพสูง

WP_20131226_12_00_01_Pro wp_ss_20131226_0013c

โดยกล้อง และเลนส์ที่มีประสิทธิภาพสูงนั้น ต้องคู่กับแอพที่ชื่อ Nokia Camera ซึ่งเป็นแอพที่ได้รวมเอา Nokia Smart Cam และ Nokia Pro Cam เข้ามารวมกันในแอพเดียว เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการเลือกใช้งาน คุณสมบัติเดิมจากทั้งสองแอพนั้น ได้ถูกถ่ายทอดมาครบครันใน Nokia Camera โดยเป็นทั้งแอพที่ช่วยในการ แต่งรูปที่ทำให้เราถ่ายภาพ ปรับแต่งภาพที่มีวัตถุเคลื่อนไหว ภาพแอ็คชั่นเคลื่อนไหว และเอฟเฟคสวยๆ ผ่านเลนส์แอพได้

WP_20131218_10_23_48_Pro

WP_20131226_12_16_24_Pro
(ภาพถ่ายโดย Nokia Lumia 920)

รูปลักษณะตัวเครื่องนั้นออกแบบที่หมดจด เต็มไปด้วยแนวการออกแบบที่ชื่อว่า minimalist โดยจะมุ่งเน้นใส่รายละเอียดตามความจำเป็น และประโยชน์เพื่อใช้งานตามความเหมาะสมเป็นหลัก

ภายในนั้นใช้ชิปประมวลผลกลาง Qualcomm MSM8974 Snapdragon 800 และชิปประมวลผลกราฟฟิก Adreno 330 ให้หน่วยความจำหลักมาถึง 2GB และพื้นที่เก็บข้อมูลหลักของเครื่องอีก 32GB และยังใส่ microSD Card เพิ่มได้อีกด้วย

Nokia Camera

Nokia Camera ซึ่งเป็นแอพที่ได้รวมเอา Nokia Smart Cam และ Nokia Pro Cam จากแอพที่พัฒนาแะใช้งานแยกกันมาแต่เดิม มารวมกัน โดยหน้าตาและการเรียกใช้ ทำงานทดแทนแอพ Camera หลักของ Windows Phone 8 (Lumia Blank) ได้ทันที

wp_ss_20131226_0008

การเข้าใช้งาน Nokia Camera ที่มาพร้อมกับ Windows Phone 8 (Lumia Black) นั้นเข้าผ่านปุ่ม shutter หลักของเครื่องได้ทันที เพราะ Nokia ตั้งค่าเข้า Nokia Camera ให้เป็นค่าเริ่มต้นจากโรงงานมาให้เลย ซึ่งหน้าแรกที่เจอคือส่วนติดต่อการถ่ายรูป 2 ส่วนหลักๆ คือส่วนปรับแต่ง (ด้านบน) และส่วนของการเลือกโหมดการถ่ายภาพ-สั่งการถ่ายภาพ (ด้านขวา) โดยเลือกได้ระหว่างโหมดการถ่ายภาพแบบ Picture, Video และ Smart

wp_ss_20131226_0009

ส่วนปรับแต่ง (ด้านบน) นั้นสามารถขยายออกมาเป็นตัวเลือก เพิ่มเติมได้มากมาย โดยปรับได้ดังนี้

  1. brightness ปรับแต่งแบบชัดเชยแสง แบบ 3 Stop (1/3, 1/6 และ 1)
  2. shutter speed ปรับแต่งค่าความเร็มชัตเตอร์ (1 ส่วนวินาที ถึงหลักวินาที)
  3. sensitivity ปรับแต่ค่าไวแสง แบบ ISO
  4. focus ปรับการโพกัสแบบอัตโนมัติกับแบบปรับเอง (automatic หรือ manual)
  5. white balance ปรับตั้งค่าสมดุลสีขาว
  6. flash on/off ปรับการใช้แฟลชในการถ่ายรูป

wp_ss_20131226_0002 wp_ss_20131226_0015

wp_ss_20131226_0016 wp_ss_20131226_0019

wp_ss_20131226_0020 wp_ss_20131226_0021

แน่นอนว่าบางคนไม่สะดวกในการปรับแต่งที่ส่วนปรับแต่ง (ด้านบน) ก็สามารถลากปุ่มสั่งการเข้ามาที่กลางจอภาพ จะมีส่วนปรับแต่งทั้งหมดแสดงออกมาให้ปรับแต่งได้ทัน โดยไม่ต้องไปยุ่งกับส่วนปรับแต่ง (ด้านบน) ให้ยุ่งยากแต่อย่างใด ซึ่งตรงนี้คงแล้วแต่ใครถนัด

wp_ss_20131226_0001

ในส่วนของ App Bar นั้น มีส่วนของ Expander (Ellipsis) ที่สามารถเลือกใช้งานเมนูอื่นๆ ที่ซ้อนอยู่เพิ่มเติมได้

wp_ss_20131226_0022 wp_ss_20131226_0023

  1. lenses – เป็นส่วนที่เรียกแอพเพื่อเรียกใช้ฟิตเตอร์ต่างๆ ในการตกแต่งรูปภาพที่ถ่ายเสร็จแล้ว
  2. front facing – เป็นส่วนสลับการใช้งานกล้องหน้า-หลัง
  3. timer – ตั้งเวลาถ่ายรูป
  4. bracketing – ตั้งค่าเพื่อถ่ายรูป “คร่อมแสง” โดยใช้เพื่อให้ความสว่างหลายระดับ แยกเป็นหลายภาพ (ถ่ายที่ละภาพ) โดยกดปุ่มชัตเตอร์ไล่ไปเรื่อยๆ ตัวแอพกล้องจะไล่ปรับความสว่างจากมืดสุดไปสว่างสุด ตามการตั้งค่า
  5. settings – การตั้งค่ารวมทั้งหมดของ picture, video และ smart
  6. tutorial
  7. feedback
  8. about

wp_ss_20131226_0029 wp_ss_20131226_0030

wp_ss_20131226_0031

ในส่วนที่น่าสนใจคือ settings เป็นส่วนที่ปรับแต่งค่าต่างๆ ใดมากมายกว่าแอพ Camera หลักของ Windows phone 8 ค่อนข้างเยอะ

ในส่วนของ pictures นั้นจะปรับแต่งได้ดังนี้

  1. ตั้งให้มีไฟส่องโดยใช้ไฟจากแฟลชที่มือถือ เพื่อส่องช่วยหาโฟกัสให้
  2. ตั้งค่าประเภทของเส้นกริดเพื่อช่วยจัดองค์ประกอบภาพ
  3. สัดส่วนของภาพ (16:9 หรือ 4:3)
  4. การเลือกประเภทของรูปภาพที่จะได้หลังจากถ่ายรูปเสร็จสิ้น (จะกล่าวต่อไปในตอน RAW File)
  5. การตรวจจับใบหน้า
  6. แสดงรูปภาพหลังจากถ่ายรูปเสร็จสิ้น

wp_ss_20131226_0024 wp_ss_20131226_0026

ในส่วนของ video นั้นจะปรับแต่งได้ดังนี้

  1. ตั้งค่าประเภทของเส้นกริดเพื่อช่วยจัดองค์ประกอบภาพ
  2. ความละเอียด ความเร็ว และสัดส่วนของวิดีโอที่จะบันทึก
  3. ตั้งค่าคุณภาพของเสียง
  4. ตั้งค่าการบันทึกเสียงจากไมล์ที่อยู่คู่กับกล้องหน้า

ในส่วนของ smart นั้นจะปรับแต่งได้เพียงแสดงรูปภาพหลังจากถ่ายรูปเสร็จสิ้นเท่านั้น เพาะการปรับแต่งจะเป็นแบบสำเร็จรูปไว้แล้ว

wp_ss_20131226_0027 wp_ss_20131226_0028

RAW File (DNG)

การตั้งค่าเพื่อบันทึกการถ่ายรูปของมือถือ Nokia Lumia 1520 (และ Nokia Lumia 1020) เพื่อให้บันทึกไฟล์ DNG (RAW) นั้น สามารถเข้าไปตั้งค่าได้ที่ pictures ในแอพ Nokia Camera ที่หัวข้อ Capture mode

จะมีตัวเลือกให้ทั้งหมด 3 ตัวเลือก

  1. บันทึกรูปภาพเป็นไฟล์ JPG เฉพาะขนาด 5 MP เท่านั้น โดยรูปที่ได้จะมีขนาด 5 MP โดยใช้การย่อภาพแบบ pixel oversampling จากเซ็นเซอร์ขนาด 20 MP ลง ภาพที่ได้จะมีขนาดไฟล์ที่เล็ก ทำให้ถ่ายภาพได้จำนวนมากๆ ได้ โดยไฟล์จะมีมีขนาดประมาณ 1.5MB – 3MB
  2. บันทึกรูปภาพเป็นไฟล์ JPG ทั้งขนาด 5 MP และ 16 MP ไปพร้อมๆ กัน โดยรูปที่ได้จะมีขนาด 5 MP และ 16 MP โดยใช้การย่อภาพแบบ pixel oversampling จากเซ็นเซอร์ขนาด 20 MP เช่นเดียวกับข้อแรก ภาพที่ได้จะมีขนาดไฟล์ที่เล็ก ทำให้ถ่ายภาพได้จำนวนมากๆ ได้ โดยไฟล์จะมีมีขนาดประมาณ 1.5MB – 3MB สำหรับ 5 MP และ 8 -11MB สำหรับ 16 MP
  3. บันทึกรูปภาพเป็นไฟล์ JPG ขนาด 5 MP และ DNG ขนาด 16 MP ไปพร้อมๆ กัน โดยรูปภาพ JPG ที่ได้จะมีขนาด 5 MP โดยใช้การย่อภาพแบบ pixel oversampling จากเซ็นเซอร์ขนาด 20 MP และไฟล์แบบ DNG ที่ปรับแต่งได้หลากหลายกว่า โดยภาพแบบ JPG ขนาด 5MP จะมีขนาดไฟล์ที่เล็ก ส่วน DNG นั้นจะมีขนาดของไฟล์ที่เท่ากันทุกภาพ ที่ 20.1 MB หรือเรียกว่า uncompressed RAW

เมื่อเลือกรูปแบบการบันทึก และถ่ายภาพไปแล้ว เราสามารถเข้าไปนำไฟล์ DNG ได้จาก folder ที่ชื่อ Camera Roll ใน Pictures ภายในหน่วยความจำของตัวเครื่อง Nokia Lumia 1520 (และ Nokia Lumia 1020)

wp_ss_20131226_0025

รูปแบบไฟล์ DNG หรือชื่อเต็มคือ Digital Negative เป็นรูปแบบไฟล์มาตรฐานเปิดจาก Adobe โดยเจ้าไฟล์ DNG นี้ถือเป็นไฟล์ RAW ในลักษณะมาตรฐานเปิด ซึ่งสามารถนำเอาไฟล์ DNG นี้ไปเปิดกับซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนการเปิดไฟล์ DNG ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ผู้ผลิตกล่องนั้นๆ ทำซอฟต์แวร์เฉพาะออกมาพร้อมๆ กันไป (ซอฟต์แวร์เหล่านี้เรียก RAW Converter) โดยซอฟต์แวร์ที่ได้รับความนิยมในการเปิด DNG ได้แก่ Adobe Photoshop Lightroom หรือ Adobe Camera RAW เป็นต้น

จากตัวอย่างผู้เขียนได้เปิด Metadata (Exif) ของไฟล์ JPG และ DNG ผ่าน Adobe Bridge CC

2013-12-26_145153

2013-12-26_145215

โดยจาก metadata ถูกแปลงจากซอฟต์แวร์ที่ชื่อ Nokia RAW-to-DNG converter v01.00.06 จากภายในตัวแอพ Nokia Camera อีกทีเพื่อให้ได้ไฟล์ DNG ออกมา เพื่อเพิ่มความสะดวกในการนำไฟล์ DNG ไปใช้งานได้กว้างขว้างมากขึ้น

ข้อดีประการต่อมาในการใช้ไฟล์ DNG คือ การปรับแต่งแก้ไขไฟล์ DNG จะไม่ทำลายข้อมูลต้นฉบับ โดยผู้ปรับแก้สามารถปรับค่าคืนกลับตามเดิมได้โดยไม่ทำให้ข้อมูลเดิมเสียหาย (non-destructive) นั้นหมายรวมไปถึงการตั้งค่าที่กล้องจะไม่มีผลกับไฟล์ DNG แต่อย่างใด โดยเมื่อเราเปิดไฟล์ DNG ขึ้นมา จะต้องเป็นผู้ใช้งานเองที่เป็นผู้ปรับแต่งอีกครั้งเหมือนเราเป็นแอพที่เปิดไฟล์เหล่านั้นมาปรับแต่ง ฉะนั้น ถ้าเรานำไฟล์ DNG ไปเปิดในโปรแกรมต่างยี่ห้อ หรือแม้แต่ต่างเวอร์ชั่นกัน ก็จะอ่านค่าไม่เหมือนกัน แม้จะมีการบันทึก และปรับแก้ โทน สี ความคมชัดจะไม่เท่ากันเลย แต่สามารถปรับแต่งให้ทุกอย่างเหมือนกันได้ผ่านการปรับแต่งอย่างละเอียดโดยผู้ใช้งานเองอีกครั้ง

ซึ่งเจ้าไฟล์ DNG ของ Nokia Lumia 1520 นั้นมีขนาด 20.1 MB ทุกรูป ไฟล์มี resolution ที่ 5,376 x 3,024 pixel หรือ 16.3MP โดยให้จำนวนข้อมูลบิต (bit depth) ที่ 10 bit และ ICC profile (colour space) แบบ RGB

สำหรับด้าน JPG ให้จำนวนข้อมูลบิต (bit depth) ที่ 8 bit และ ICC profile (colour space) เป็น sRGB

การปรับแต่งไฟล์ DNG ผ่าน Camera RAW

โดยปรกติถ่ายใครได้เล่นไฟล์ RAW และใช้ DSLR อยู่แล้วคงไม่รู้สึกแปลกใหม่อะไรเท่าไหร่ แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ใช้ และเคยได้สัมผัสอาจจะไม่รู้ถึงความสามารถ และการปรับแต่ง แน่นอนข้อเด่นแรกที่ได้บอกไปแล้วว่า

  1. เราสามารถการปรับแต่งแก้ไขไฟล์แล้วจะไม่ทำลายข้อมูลต้นฉบับ และสามารถปรับคืนค่าเดิมได้ (non-destructive)
  2. การทำปรับแต่งให้คมชัดขึ้น (sharpen) และการลดสัญญาณรบกวน (noise reduction) จากตัวประมวลผลภาพ (image processor) ไม่มีผลต่อไฟล์แบบนี้ นั้นหมายถึง ภาพอาจจะไม่คมชัด หรือมีสัญญาณรบกวนมากกว่าไฟล์ JPG ที่ได้มาคู่กัน ต้องใช้ซอฟต์แวร์อื่นๆ ปรับแต่งเพิ่มเติม
  3. จำนวนข้อมูลบิต (bit depth) ที่บันทึกลงในไฟล์นั้นมีข้อมูลที่มากกว่า เพราะ JPG มี 8 bit/channel ส่วน DNG มี 10 bit/channel ทำให้ JPG ไล่แฉดสีได้เพียง 256 แฉดสี ส่วน DNG สามารถไล่แฉดสีได้ถึง 1024 แฉดสีเลยทีเดียว ทำให้เวลาเราปรับแต่งแฉดสีใหม่หลังจากถ่ายภาพ ปรับโทน ดึง-เรียกกลับข้อมูลช่วงมืด-สว่างทำได้มากกว่าไฟล์ JPG
  4. ปรับแก้ไขสมดุลสีขาว (white balance) ได้ยืดหยุ่น และหลากหลายกว่าในระดับเคลวิน
  5. ปรับแต่งการใช้งาน ICC profile (colour space) ได้หลากหลาย ทั้ง ProPhoto RGB, Adobe RGB หรือ sRGB ได้
  6. ภายในไฟล์ DNG และไฟล์แบบ RAW โดยทั่วไปจะมีรูปภาพขนาดเล็ก (thumbnail) อยู่ภายในด้วย ทำให้เราดึงภาพเหล่านี้ออกมาโดยไม่ต้องแปลงภาพก่อน มักถูกนำไปใช้ตอนพรีวิวรูปภาพเป็นหลัก

แต่มีข้อที่เข้าใจผิดว่าการถ่ายรูปมาเพื่อให้ได้ไฟล์ DNG นี้จะได้ภาพที่คมชัดกว่า JPG นั้น เป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะการปรับแต่บนข้อมูลที่มากกว่า ไม่ได้เกี่ยวกับความคมชัด แต่เป็นเรื่องของความหลากหลาย จากจำนวนข้อมูลที่มากกว่าเพื่อปรับแต่งได้หลากลายกว่า

จากภาพตัวอย่างด้านล่าง ภาพจะออกโทนฟ้ามากไป (4550K) มีบางส่วหลุดช่วงสีสว่างออกไป (Highlight)

2013-12-27_001444

ผู้เขียนทำการปรับค่าเคลวินให้ออกไปโทนอุ่นเล็กน้อย (5250K) ทำการปรับแต่งค่าอื่นๆ เร่งความสว่าง ปรับค่าความเปรียบต่างของสี ฯลฯ

2013-12-27_001453

ภาพดูสว่างไปนิด และหลุดช่วงช่วงสว่างไปมากกว่าเดิม ทำการดึงกลับมาด้วย Tone Curve

2013-12-27_001506

สุดท้ายก็จะได้ภาพที่มีโทนสีอุ่นอื่น และมีช่วงสีโดยส่วนใหญ่ไม่หลุดไปทางช่วงสว่างและมีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น

2013-12-27_001528

จากด้านบนจะเป็นการปรับแต่งแบบง่ายๆ เร็วๆ เรามาดูตัวอย่างการปรับแต่งอีก 1-2 ตัวอย่าง โดยจะใช้งานร่วมกับ Adobe Photoshop CC ด้วย

จากตัวอย่างทั้งหมดต่อไปนี้จะใช้ Adobe Photoshop CC เพียงแต่ย่อรูปภาพลงมา และใช้การ Resapmle แบบ Bicubic Sharper (reduction) เพื่อเพิ่มความคมชัดของภาพ การทำการย่อรูปลง และทำ Resapmle ผ่านโปรแกรมภายนอกนั้น จะได้ภาพที่ดี และปรับแต่งได้หลากหลายกว่าในตัวมือถือมาก

โดยเราสามารถปรับแต่งในด้านการลดสัญญาณรบกวน (noise) ของภาพที่เราถ่ายได้อย่างหลากหลายมากด้วยเช่นกัน ซึ่งตรงนี้เราไม่จำเป็นต้องรอการแก้ไขตัวแอพจากผู้ผลิต เพื่อใช้ปรับแต่งหลังจากที่เราซื้อมา ซึ่งอาจจะไม่ถูกใจเราในอนาคต

image

ภาพด้านล่างนี้หลุดโทนสว่างมากไปเช่นเดียวกับด้านบน

2013-12-27_025720

เปิดมาแล้วไปปรับแต่งที่ Tone Curve เพิ่มดึงค่าด้านสว่างกลับเข้ามา

2013-12-27_030001

เปิดไฟล์ที่แก้ไขเสร็จแล้วใน Adobe Photoshop CC แล้วก็ปรับแต่งภาพในเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติม (แล้วแต่ความชอบ)

WP_20131218_21_27_01_Raw__highres-wall

ตัวอย่างอื่นๆ ที่ใช้งานไฟล์ DNG ของ Nokia Lumia 1520 กับ Adobe Camera RAW และ Adobe Photoshop CC

2013-12-27_024129

WP_20131210_17_48_09_Raw__highres-wall

2013-12-27_022848

WP_20131207_17_58_31_Raw__highres-wall

2013-12-27_025223

WP_20131214_18_54_53_Raw__highres-wall

จากตัวอย่าง และการใช้งานจะเห็นได้ว่า การใช้ไฟล์ DNG ที่ได้จากกล้องถ่ายรูประดับบน ซึ่งถูกนำมาใส่ไว้ใน Nokia Lumia 1520 นั้น ทำให้เราสามารถสนุกกับการปรับแต่งรูปภาพได้อย่างมืออาชีพมากขึ้น บางครั้งโทนสี การปรับแต่งอัตโนมัติของแอพจนได้รูปภาพออกมา อาจจะไม่ถูกใจเรา การนำภาพ JPG มาปรับแต่งภายหลังอาจจะไม่ยืดหยุ่นเท่ากับไฟล์ DNG และการได้ไฟล์ DNG ยังสามารถช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดหลายๆ อย่างหลังจากถ่ายรูปไปแล้วแม่นยำกว่า JPG อีกด้วย

มาส่อง DNG ไฟล์ของ Nokia Lumia 1020 และลองเล่นว่าทำไม DNG ถึงน่าสนใจกว่า JPG

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า DNG เป็นรูปแบบไฟล์มาตรฐานเปิดของ Adobe ที่ใช้ในการทำงานร่วมกันของไฟล์ RAW จากกล้อง ซึ่งเหมาะกับการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ในค่าย Adobe เอง โดยถ้าเราอยากอ่านไฟล์นี้ต้องไปโหลด codec จาก Adobe มาติดตั้ง หรือใช้ซอฟต์แวร์ของ Adobe ที่ติดตั้ง Camera RAW อยู่ภายในจึงเปิดไฟล์ DNG ได้

จากตัวอย่างในการอ่าน metadata ผมใช้ Adobe Brige CC ในการเปิด metadata ไฟล์ DNG และ JPG

2013-10-30_154638 2013-10-30_153433

ถามว่าไฟล์ DNG ใช่ไฟล์ RAW หรือไม่ ตอบว่าเกือบใช่ เพราะเป็นการแปลงไฟล์ RAW จากกล้องมาเป็นไฟล์มาตรฐานเปิดที่ซอฟต์แวร์ในตลาดช่างภาพสามารถอ่านได้โดยทั่วไป ซึ่งคือ DNG โดยไฟล์ DNG ที่ Nokia ปล่อยออกมานั้นเป็นไฟล์จากกล้องของมือถือ Nokia Lumia 1020 โดยจาก metadata ถูกแปลงจากโปรแกรม Nokia RAW-to-DNG converter v01.00.06 อีกทีเพื่อให้ได้ไฟล์ DNG ออกมา ซึ่งคาดว่าตัวโปรแกรมดังกล่าวเป็นโปรแกรมพื้นฐานหรือเป็นขั้นตอนเฉพาะของแอพที่ Nokia เขียนขึ้นเฉพาะและติดตั้งลงใน Windows Phone ของ Nokia เองเพื่อเพิ่มความสะดวก แต่ทั้งนี้การแปลงมาเป็นไฟล์ DNG นั้น คุณภาพและข้อมูลยังคงสมบูรณ์ใช้งานได้ครบถ้วน (เป็นการแปลงแบบ lossless) แต่แน่นอนว่าการตั้งค่าที่กล้องจะไม่มีผลกับไฟล์ DNG โดยเมื่อเราเปิดไฟล์นั้นต้องเป็นคนปรับแต่งอีกครั้งเหมือนเราเป็นแอพที่เปิดไฟล์เหล่านั้นมาปรับแต่ง ฉะนั้น ถ้าเรานำไฟล์ DNG ไปเปิดในโปรแกรมต่างยี่ห้อกัน ก็จะอ่านค่าไม่เหมือนกัน แม้จะมีการบันทึกและปรับแก้ โทน สี และความคมชัดจะไม่เท่ากันเลย แต่สามารถปรับแต่งให้ทุกอย่างเหมือนกันได้ผ่านการปรับแต่งอย่างละเอียดโดยผู้ใช้งานเองอีกครั้ง

ซึ่งเจ้าไฟล์ DNG ของ Nokia Lumia 1020 นั้นมีขนาด 41.66MB ทุกรูป ไฟล์มี resolution ที่ 7,728 x 4,352 pixel หรือ 33.6MP โดยให้ bit depth ที่ 10 bit และ color mode แบบ RGB และสำหรับไฟล์ JPG ที่ให้ดาวน์โหลดคู่กันนั้น มี bit depth ที่ 8 bit  แปลงมาจาก Adobe Photoshop Lightroom 5.0 (Windows) อีกที ไม่ใช่ไฟล์จากแอพในตัว Nokia Lumia 1020 โดยตรงแต่อย่างใด

2013-10-30_154057 2013-10-30_154259

เรามาดูกันสักหน่อยว่าได้ไฟล์ DNG มาแล้วมันดีกว่า JPG ในแง่การปรับแต่งยังไง โดยผมจะเปิด DNG ด้วย Camera RAW บน Photoshop CC แล้วแปลงกลับมาเป็น JPG ไม่ปรับแต่งใดๆ เพื่อเทียบกันในเรื่องของการปรับตั้งค่า exposure ว่าเมื่อปรับสว่างในระดับ 0.5EV, 1.0EV, 1.5EV และ 2.0EV ไฟล์แบบ DNG นั้นจะดีกว่า JPG แค่ไหน (วัดการเก็บข้อมูลส่วนมืด)

ไฟล์ JPG และ DNG เพิ่ม exposure ด้วยการปรับที่ Camera Raw 8.2 และบันทึกเป็น JPG ผ่าน Photoshop CC

2013-10-30_160837

* ไฟล์ทุกไฟล์ด้านล่างสามารถดาวน์โหลดไฟล์ต้นฉบับได้จากการกดที่รูปภาพจะเป็นการเข้าไปโหลดไฟล์ใหญ่สุด

JPG (Nokia) 0 EV (Photoshop CC)

WP_20131021_14_55_29_Pro-LR

DNG (Nokia) 0 EV (Photoshop CC)

WP_20131021_14_55_29_ProRAW

JPG (Nokia) +0.5 EV (Photoshop CC)

WP_20131021_14_55_29_Pro-LRnew-0.5

DNG (Nokia) +0.5 EV (Photoshop CC)

WP_20131021_14_55_29_ProRAW .5

JPG (Nokia) +1.0 EV (Photoshop CC)

WP_20131021_14_55_29_Pro-LRnew-1.0

DNG (Nokia) 1.0 EV (Photoshop CC)

WP_20131021_14_55_29_ProRAW 1

JPG (Nokia) +1.5 EV (Photoshop CC)

WP_20131021_14_55_29_Pro-LRnew-1.5

DNG (Nokia) 1.5 EV (Photoshop CC)

WP_20131021_14_55_29_ProRAW 1.5

JPG (Nokia) +2.0 EV (Photoshop CC)

WP_20131021_14_55_29_Pro-LRnew-2.0

DNG (Nokia) 2.0 EV (Photoshop CC)

WP_20131021_14_55_29_ProRAW 2

จากการไล่ exposure จะเห็นรายละเอียดชัดเจนว่าการใช้ไฟล์ DNG ในจาก Nokia Lumia 1020 มาปรับแต่งในค่าสูงๆ (หรือต่ำ) จะยังคงคุณภาพของตัวรูปไว้ได้เยอะกว่า จะเห็นว่าเมื่อเราดึง exposure ขึ้นมาให้สว่าง จะเห็นชัดเจนว่าข้อมูลของ DNG มีการแสดงผลรายละเอียดมากกว่า JPG (รวมไปถึงกด exposure ให้ต่ำลงเพื่อให้ภาพมืดลง) เพราะฉะนั้น เราสามารถนำภาพที่ได้จาก exposure ที่แตกต่างกันไปทำภาพแบบ HDR ที่มีคุณภาพของภาพที่มากกว่า JPG ได้อย่างสวยงาม

หมายเหตุ จอภาพที่ดูภาพไล่ด้านบนที่แสดงการไล่ exposure ต้องได้รับการ calibrate จอภาพมาอย่างถูกต้อง เพื่อให้แสดงสี ความสว่างและการไล่โทน อย่างถูกต้อง จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนมากขึ้น

ของแถมในเรื่องของการปรับสมดุลแสงสีขาว (white balance) ซึ่งการปรับแต่งตัวสมดุลแสงสีขาวนั้นไฟล์ JPG จะปรับแต่งและเปลี่ยนแปลงได้ยากกว่าและในบางครั้งจะไม่สามารถคงสีบางสีได้จนทำให้สีกลืนไปทั้งภาพ ผิดกับ DNG ที่สามารถปรับแต่งได้หลากหลาย และควบคุมได้มากกว่า โดยเราสามารถควบคุมอุณหภูมิของสีได้เป็นระดับเคลวิน

การปรับแต่งสมดุลแสงสีขาว (white balance) ทำในโปรแกรม Adobe Photoshop Lightroom 4 (Windows)

ไฟล์ JPG

2013-10-30_161829

ไฟล์ DNG

2013-10-30_161752

จะเห็นว่าไฟล์ DNG ที่ได้จาก Lumia 1020 สามารถนำมาใช้งานและปรับแต่งได้มากกว่าในภายหลัง แน่นอนว่าทั้งหมดเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของข้อดีของ DNG ไฟล์ที่ได้จากกล้องถ่ายรูปที่ปรกติแล้วมักจะมีอยู่ในกล้องระดับกลาง-สูง ในตลาดกล้องถ่ายรูป แต่ในตอนนี้สิ่งเหล่านี้มีมาใน Nokia Lumia 1020 แล้ว ซึ่งเหมาะสมกับคนที่ต้องการปรับแต่งรูปแบบสุดๆ ในภายหลังอีกครั้งหลังจากถ่ายมาแล้ว

รวมสิ่งที่เปลี่ยนแปลง ปัญหาและทางแก้ไข (บางส่วน) ที่เจอหลังจากติดตั้ง Windows Phone 8 Update 3 (preview) ในรอบ 12 ชั่วโมง

  1. แยกเสียงเตือนระหว่าง Text/IM, voicemail, email และ remiders ออกจากกันแล้ว
  2. มีระบบ driving mode สำหรับ pair อุปกรณ์แล้วปรับให้ยกเลิกการรับสาย หรือ auto reply text ได้
  3. เพิ่มระบบ screen rotation lock มาใน Settings แล้ว
  4. ปุ่มปิด app ผ่าน app switcher
  5. การกด shift ในคีย์บอร์ดภาษาไทยได้รับการแก้ไขให้ unshift เองอัตโนมัติโดยไม่ต้องกด shift อีกครั้งแล้ว
  6. หลังอัพเดทตัวคีย์บอร์ดทับช่องสนธนาใน Line
    Q: เกิดจากการกะระยะในตัวคีย์บอร์ดกับตัว app ของ Line ผิดพลาดเอง แม้จะปิด Suggest text แล้วก็ตาม
    A: รอ Line แก้ไข เพราะ Skype, Whatsapp, Facebook chat หรือ IM+ Pro ไม่พบปัญหานี้
  7. เพิ่ม Facebook Account ใน Setting ของ Windows phone 8 update 8 แล้วขึ้น error code 0x85fbe196
    Q: เกิดจากตัว Facebook connect ใน Windos Phone 8 update 3 ตัวล่าสุดไม่รองรับ Login Approvals (2-Factor Authentication)
    A: การแก้ไขคือ ไปที่ Security ที่ facebook.com แล้วยกเลิก Login Approvals เสียก่อน แล้วจึงเปิดอีกครั้งหลังจากเพิ่ม Facebook Account และ sync เสร็จสิ้น
    อ้างอิงจาก http://support.microsoft.com/kb/2762064
  8. Connect facebook chat จาก People Hub ไม่ได้!
    Q: ปัญหานี้เกิดจากเปิด battery saver อยู่
    A: ทางแก้ไขคือ ให้ทำการ turn off ตัว battery saver ตามวิธีด้านล่าง
    – ไปที่ settings แล้วเลือก battery saver อยู่ ให้เข้าไปที่ advanced
    – ให้คลิ้กเลือกตัวเลือกอื่นๆ สักตัวแล้ว back กลับมาเพื่อบันทึกค่าใหม่ แล้วกลับไปเลือกเดิมอีกครั้ง
    – แล้วเลือก turn off ตัวเลือก battery saver
    – ทำการ reset เครื่อง 1 รอบ
    – ไปที่ People hub เลือก set chat status เป็น offline แล้ว back บันทึกออกมา แล้วกลับเข้าไปเลือก available อีกรอบ จะ online ได้

ส่วนอื่นๆ ที่ไม่ได้ลองเพราะไม่รองรับเช่น

  1. Tiles แบบ 6 columns (เหมือนยังไม่มีในอัพเดทนี้ หรือไม่ก็เพราะใช้ได้เฉพาะจอ 1080p ซึ่งยังไม่มีตัวไหนในตลาดมี)
  2. Screen reader บน Mobile Accessibility for Windows Phone 8
  3. Internet Sharing ที่ pair ผ่าน Bluetooth

Windows phone 8 GDR2 มีอะไรใหม่, Nokia ได้ Nokia Amber เพิ่ม และคาดว่า GDR3 จะมีอะไรเพิ่ม

เกริ่นก่อนว่า Windows phone 8 GDR2 ออก OEM ในวันที่ 12 กรกฎาคม 56 และเราๆ ท่านๆ ก็ได้อัพเดทกันทั่วหน้าสำหรับ Nokia ประมาณวันที่ 16 สิงหาคม 56 หรือประมาณ 1 เดือนกว่าๆ หลังจากปล่อย OEM และจนถึง OTA

wp_ss_20130816_0003 wp_ss_20130816_0006c

สำหรับ Windows phone 8 GDR2 มีความสามารถเพิ่มเติมได้แก่

  • รองรับความสามารถใหม่ๆ ใน Xbox Music (แล้วแต่ประเทศที่เปิดบริการ)
  • เพิ่มความสามารถ FM ใน Music+Videos hub (มือถือบางรุ่นไม่มี H/W จะใช้ไม่ได้)
  • เพื่อความสามารถ Data sense เพื่อบีบอัดข้อมูลและรายงานการใช้งาน data แต่ละ App และตั้ง limit ในการใช้งานได้
  • ปรับปรุง Skype ให้รองรับทั้ง Lync และ Skype
  • ปรับปรุง Internet Explorer 10 ให้รองรับ HTML 5 ได้ดีมากขึ้น
  • เพิ่มให้สามารถตั้งเรียก Camera app ให้กับ camera button ได้ (บางรุ่นอาจจะใช้ไม่ได้)
  • แก้ไข other space ที่กินพื้นที่มากเกินไปให้ลดลง
  • แก้ไขและปรับแต่งเสถียรภาพอื่นๆ
  • การปรับแต่งอื่นๆ จาก vendor อย่าง Nokia จะมี Nokia Amber มาให้พร้อม
    (ผมใช้ Nokia ขออ้างอิง Nokia เท่านั้น)

wp_ss_20130817_0005 wp_ss_20130817_0006

wp_ss_20130817_0004 wp_ss_20130817_0007

Nokia Amber จะมีคุณสมบัติเพิ่มเติมดังนี้

  • สำหรับ Nokia Lumia 920 จะปรับแต่เรื่อง noise reduction ในกล้องถ่ายรูป และรองรับ ISO สูงมากขึ้น ตั้งแต่ 800 ถึง 3200
  • ติดตั้ง Lumia storage check มาให้พร้อมเพื่อล้างพื้นที่ other ได้สะดวกมากขึ้น
  • Nokia Glance Screen ที่เป็นความสามารถในการแสดงนาฬิกาและสถานะของแบตเตอรี่ตอนพักหน้าจอ เหมือนกับมือถือบางรุ่นในอดีต
  • Double-tap to unlock เพื่อความสามารถในการ double-tap (แตะหน้าจอ 2 ครั้งติดต่อกัน) ที่จอเพื่อปลดล็อคเครื่องแทนการใช้ปุ่มปลดล็อค ช่วยถน่อมปุ่มปลดล็อคไปในตัว และเพิ่มความสะดวกในการใช้นิ้วโป้งในการปลดล็อค
  • ความสามารถ Flip to silence เพื่อใช้ตัดเสียงหรือตัดการสั่นด้วยการพลิกตัวเครื่องคว่ำหน้าจอลงกับพื้นโต๊ะเพื่อตัดการเตือน
  • ปรับแต่งระบบ Here maps ให้ติดตั้งและอัพเดทได้ง่าย
  • call+SMS Filter เป็น app ที่อยู่ใน settings เพื่อใช้ในการกรองหรือปิดกั้นการรับสายหรือดักจับข้อความที่ไม่พึงประสงค์
  • เมื่ออัพเดทไป GDR2 จะติดตั้ง Nokia Pro Camera, Nokia Smart Camera, Nokia Video Trimmer และ Nokia Video Upload ได้ซึ่งเป็น app ที่มาพร้อมกับ Lumia 925 และ 1020 ก่อนหน้านี้

wp_ss_20130816_0005 wp_ss_20130817_0001

wp_ss_20130817_0002 wp_ss_20130817_0003

ทิ้งท้าย Windows phone 8 GDR3 ที่เป็นส่วนที่อัพเดทต่อไปนั้นคาดว่าออก OEM ในช่วงต้นเดือนกันยายน (อย่างเร็ว) แน่นอนว่าถ้าเป็นแบบนั้น พวกเราคนใช้ Windows phone 8 จะได้อัพเดทกันทั่วหน้าประมาณในช่วงตุลาคมหรือพฤศจิกายน สุดท้ายในส่วน Windows phone 8.1 น่าจะมาช่วงต้นปีหน้า 2557

โดยความสามารถเบื้องต้นที่หลุดมาของ Windows phone 8 GDR3 นั้นจะพร้อมดังต่อไปนี้

  • Orientation Lock
  • Driver Mode
  • รองรับจอภาพ 1080p แน่นอนว่าจอภาพขนาดใหญ่ระดับ 5” (หรือมากกว่า) จะรองรับเช่นกัน
  • จัดเรียง Tiles ได้ 3 column (มีขนาด medium size เพิ่มมา) แน่ไม่แน่ใจว่าใช้ได้แต่ในขนาดหน้าจอ 1080p อย่างเดียวหรือเปล่า
  • รองรับ SoC รุ่นใหม่ๆ
  • รองรับการปิด App ผ่าน multi-tasking switcher
  • Silent NFC
  • Network status icon
  • รองรับการ sync text message เข้า Micrsoft Account แล้วแสดงบน Outlook.com

Timeline การปล่อย GDR จะประมาณด้านล่างครับ

  1. GDR – Microsoft Image (ตัวที่ส่งให้ Vendor) ซึ่งเป็น Image ที่มี Driver ที่เป็น Generic ใส่มาให้หมดแล้ว (นอกจาก OEM ไปใส่อะไรประหลาดๆ แบบ HTC ตอน WP7)
  2. GDR – Vendor Image (Microsoft Image + Vendor App/Setting)
  3. GDR – OTA (Vendor Image ที่กระจายปล่อยแต่ละประเทศ)

เข้าใจว่าที่ส่งไปให้ Vendor เช็คนั้นเพื่อให้สามารถติดตั้งผ่าน OTA และใส่ความสามารถเพิ่มเติม หรือแก้ไขให้เข้ากับระบบเฉพาะตัวเองบางตัว (เช่น Nokia มี setting ส่วนของ Dobby อะไรพวกนี้) ได้ ซึ่งจริงๆ GDR2 นี่มี Vendor Image ที่สามารถติดตั้งแยกแบบผ่านโปรแกรม factory recovery ของ Vendor ได้ครับ แต่ App หรือความสามารถบางอย่างที่ Vendor จะใส่เพิ่มเติมมาให้ตอน OTA อาจจะไม่มี (ต้องไปหาโหลดเพิ่มเติมทีหลัง)

แน่นอนว่าเมื่อได้ Vendor Image แล้วจะปล่อย OTA เลยไม่ได้ แต่คงไม่นานนัก เพราะต้องเช็คเรื่องคุณสมบัติของ Vendor Image ที่ส่งออกไปทาง OTA ให้ตรงตามข้อกฎหมายบางอย่าง เพราะหลายๆ ประเทศมีความสามารถที่เปิดไม่เท่ากัน เช่นบางประเทศต้องปิด 4G, ปรับ FM ให้เข้ากับย่านความกี่ประเทศนั้นๆ หรือต้องเปิดเสียงชัดเตอร์ตลอด ซึ่งทำให้ปิดไม่ได้ เป็นต้น