แล้วจะซื้อ ThinkPad ทำไม? ในเมื่อสิ่งที่ได้รับมาก็ไม่ได้แตกต่างจากยี่ห้ออื่นๆ

จากข่าว Lenovo แยกแบรนด์ Think เป็นอีกหน่วยธุรกิจ

ทุกคนรอบๆ ตัวได้ทราบข่าว Lenovo แยกแบรนด์ Think เป็นอีก Business Unit ต่างหาก เหมือนๆ จะปรับออกมาไม่ให้เกี่ยวกับ IdeaPad และเหมือนจะลงมาทำตลาดแข่งกันเองภายในกับ IdeaPad ก็มีแต่คนพูดว่า "เอาคีย์บอร์ดเดิมกลับมา" แทบทุกคนเลยแฮะ นั้นแสดงว่าคีย์บอร์ดใหม่สำหรับตลาดที่ตัวเองถือครองอยู่มีปัญหาอย่างเห็นได้ชัดจริงๆ แฟนรุ่นใหม่ๆ อาจจะไม่ค่อยมีปัญหาอะไร เพราะคีย์บอร์ดทั้งตลาดมันห่วยแตกในด้านของการจัดวางอยู่แล้ว แต่สำหรับคนที่ใช้ ThinkPad เพราะคีย์บอร์ดยังดีกว่าทุกตัวในตลาดเดียวกันอยู่มาก

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงคีย์บอร์ดแบบบังคับ ล้างบาง ไร้ทางเลือกในรุ่น 2012 เป็นการผลักแฟนที่ใช้ ThinkPad มาอย่างยาวนานออกจากแบรนด์ตัวเองอย่างรุ่นแรง

แน่นอนว่า Lenovo อาจคิดใหม่ทำใหม่ อยากลองอะไรใหม่ๆ หรือคิดว่าการหักดิบแบบที่ค่ายอื่นๆ ทำ จะได้รับผลตอบรับที่ดี? Lenovo คงลืมไปว่าตลาดในส่วนของ H/W มันทันได้หมด การตัดสิ่งที่ถือว่าเป็นจุดเด่นของตัวเองออกไปทีละอย่างเรื่อยๆ มันทำให้ยี่ห้อตัวเองขาดความเด่นในตลาด กลายเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็มี แล้วสรุปสุดท้าย คำถามที่ Lenovo ต้องตอบคนซื้อ ThinkPad ในอนาคตคือ "แล้วจะซื้อ ThinkPad ทำไม? ในเมื่อสิ่งที่ได้รับมาก็ไม่ได้แตกต่างจากยี่ห้ออื่นๆ"

ในปีที่ผ่านมาเว็บที่ผมดูแลอยู่มี สถิติของ Web Browser ทั้งยี่ห้อและขนาดจอภาพมาให้ดูกัน

Chrome = 49%
Internet Explorer = 21%
Firefox = 14%
Safari = 8%
Android Browser = 5%
Other = 3%

1366×768 = 26%
1024×768 = 14%
1280×800 = 10%
1600×900 = 7%
1280×1024 = 6%
1920×1080 = 6%

IE6 = 3%
IE7 = 5%
IE8 = 55%
IE9 = 33%
IE10 = 5%

โดยจะเห็นว่าแนวโน้มของปีนี้ Chrome มาอันดับหนึ่งเลย ตามด้วย IE และ Firefox

สำหรับขนาดของจอภาพก็คงได้เวลาปรับตัวในการทำเว็บที่รองรับขนาดจอภาพที่ 1,280 pixel เป็นขนาดเริ่มต้นกันเสียที

สำหรับ การสนับสนุนใน IE6 และ IE7 นั้นก็ควรจะหยุดลงได้แล้ว คุณจะสนับสนุนเพียง 3-5% จาก 21% ของคนที่เข้าเว็บคุณเพื่อ? และควรมุ่งไปที่ IE8 เป็นส่วนเริ่มต้นและมุ่งทำให้แสดงผลได้ดีใน IE9 และ IE10 มากขึ้นน่าจะดีกว่า

สถิติอาจไม่ตรงกันสำนักอื่นๆ โปรดเปรียบเทียบกับภาพรวมของเว็บที่ดูแลกันเองและกำหนดทิศทางต่อไปในอนาคตครับ

เครื่องมือบริหาร Project สำหรับโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ขนาดเล็ก-กลาง ฉบับ 2012-2013

จาก เครื่องมือบริหาร Project ที่ใช้งานอยู่ตอนนี้ ที่เขียนไว้ในปี 2011 ก็ผ่านมาได้ปีกว่าๆ แล้ว แน่นอนว่าจากวันนั้นถึงวันนี้ก็มีการปรับเปลี่ยนการทำงานอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้รับกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ได้ สำหรับปี 2012-2013 นั้น ส่วนตัวแล้วมีการปรับเปลี่ยนการใช้เครื่องมือหลายๆ ตัวอยู่พอสมควร

ต้องขอปูพื้นก่อนสำหรับคนที่ไม่ได้อ่านตอนปี 2011 ว่างานหลายๆ ตัวและหลายๆ Project นั้นส่วนตัวแล้วนั้นทำงานร่วมกันหลายคน และมักจะมากกว่า 1 คนแน่นอน เพราะฉะนั้น การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญมากๆ บางครั้งต้องบันทึกช่วยจำต่างๆ มากมายเครื่องมือช่วยต่างๆ จึงจำเป็นอย่างมากในการอำนวยความสะดวก เพื่อไม่ให้ตกหล่น เพราะฉะนั้นลองมาดูว่าส่วนตัวผมนั้นใช้ส่วนไหนบ้าง

1. โทรศัพท์!
เรื่องพื้นฐานมากๆ เพราะความชัดเจนในการสื่อสารสำคัญ ซึ่งการโทรศัพท์นั้นเหมาะกับสถานะการณ์บางอย่างที่ต้องการการตอบสนองที่รวดเร็ว ออกแนวว่าด่วนสุดๆ  เพราะบางครั้งส่งอีเมลไป ไม่เข้าใจหรือไม่ชัดเจน โทรคุยอธิบายอาจจะชัดเจนกว่าใช้เวลาสั้นกว่า และน้ำเสียงทำให้การสื่อสารนั้นดูนุ่มนวลกว่าตัวหนังสือใน E-Mail กว่าในบางครั้ง

2. E-Mail
เป็นการใช้ในด้านการยืนยัน หรือแจ้งรับทราบร่วมกันเป็นกลุมเป็นหลัก ซึ่งปรกติจะใช้เป็นส่วนหนักในการคุยงาน สร้างหลักฐานร่วมของการทำงาน ในบาง Project ใช้อีเมลโต้ตอบกันไป-มาเยอะมากเพื่อสรุปและแจ้งรับทราบให้ทุกกรณีเพื่อไม่ให้ตกหล่น

3. IM

  • GTalks – ด้วยความที่ใช้บนระบบ Webbased ได้ด้วย ประกอบกับตัวอักษรล้วนๆ รวดเร็วไม่ต้องมีอะไรมากมาย จึงเหมาะมากๆ กับการโต้ตอบ ไป-มาระหว่างคนสองคน (แถมมี logging chat ด้วยสะดวกดี)
  • Windows Live Messenger – ตอนนี้รวมและย้ายไปใช้ Skype แทนแล้ว
  • Skype – ใช้คุยทั้ง Skype Account และ Microsoft Account (Windows Live Messenger) รวมไปถึงประชุมสายเพื่อลดต้นทุนการโทรศัพท์
  • Google+ Hangouts – ถ้าใช้ Skype สำหรับประชุมสายผ่านโทรศัพท์ ตัว Hangouts ก็เป็นส่วนของการประชุมสายผ่านทาง Webcam นั้นเอง
  • Line/WhatsApp/IM+ Pro – App สำหรับ Chat บนมือถือ เหมาะสำหรับเวลาติดต่อที่ต้องการความรวดเร็วกว่า Skype และ GTalks แน่นอนว่ามันติดอยู่กับโทรศัพท์มือถือ เพราะฉะนั้นจะค่อนข้างไวกว่าในการโต้ตอบ
  • Facebook Chat – ส่วนตัวแล้วเหมาะกับฝากข้อความเป็นหลัก ใช้แทน SMS ได้ดี และคนในทีมใช้ Facebook กันทุกคน เพราะฉะนั้นจึงเหมาะกับการฝากข้อความหรือเน้นย้ำมากกว่า

4. Project Sharing CodeBitbucket หรือ Github

จากปี 2011 มาปี 2012 นั้นในทีมได้ย้ายจาก Github ที่เป็นระบบ Project Sharing Code ที่มีผู้ใช้งานอยู่ทั่วโลก ได้รับความไว้วางใจาก Developer มากมาย มาใช้ Bitbucket ที่มีค่าใช้จ่ายด้านการบริหารจัดการ Project Sharing Code แบบ private ที่มีต้นทุนแปรผันตามขนาดทีมที่ใช้งาน ซึ่งประหยัดมากกว่าจำนวน Repositories แบบ Github ที่ผมต้องเสียเงินเพื่อเช่าใช้แบบ private เดือนละประมาณ $12/month อยู่ โดยปรกติแล้วทำงานกันจะเป็นทีมขนาดเล็ก เพราะฉะนั้นถ้าจำนวนคนใน Project ไม่เกิน 5 คนก็ไม่มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนแต่อย่างใดสำหรับ Bitbucket ทำให้ประหยัดลงไปได้มาก มีอยู่หลายเดือนที่ต้องเสียเงินให้กับ Github มากกว่า $12/month เพราะมี Private Repositories มากกว่าที่กำหนดไว้ และถ้า Project ไหนจบแล้วก็ต้องลบออกทำเป็น copy source ไว้ด้านนอกเพื่อประหยัดพื้นที่ไว้สำหรับ Repositories ตัวต่อไป ซึ่งในทางการทำงานบางครั้งก็ไม่สะดวกถ้าเรามี Project ที่เราต้องดูแลต่อในอนาคตเราต้องกันพื้นที่ส่วนนี้เป็น Repositories ค้างไว้ ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเราลดต้นทุนในส่วนนี้ได้ ก็ประหยัดลงไปได้พอสมควรเลย

หลายคนไม่ทราบว่า Bitbucket นั้นเป็นระบบที่รองรับ Git Version Control System แบบเดียว Github เช่นเดียวกัน ซึ่งเป็น Source Code Versioning แบบ distributed version control system โดยแต่ละคนไม่เพียงได้ข้อมูลล่าสุดของไฟล์งานต่างๆ เท่านั้น แต่ได้ทั้งมา Repository ไปด้วยเพราะฉะนั้นถ้า Server ตัวหลักมีปัญหา (ในที่นี้หมายถึง Server Bitbucket) ตัวเครื่อง Client ก็สามารถทำงานได้อยู่ พอ Server ตัวหลักกลับมาทำงานได้ปรกติก็จะสามารถส่ง Source กลับไปได้โดยข้อมูลที่แก้ไขไป-มานั้นยังคงอยู่และพร้อมให้ Server สามารถรับข้อมูลล่าสุดต่อไปได้ทันที เหมาะกับ Project ทุกขนาดที่ต้องใช้การแชร์ Source โปรแกรมมากกว่า 1 คนขึ้นไป เพื่อป้องกันการแก้ไขทับไปมาระหว่างคนในทีม ช่วยเรื่อง Backup และ Recovery ได้ดีมากๆ

ซึ่งแน่นอนว่าระบบเป็นแบบ Webbase เพราะฉะนั้นมันจึงมี Issue/Milestone/Version ที่ช่วยติดตามงานต่างๆ ได้ดีมากขึ้น โดยถ้าเป็นใน Github เราสามารถใช้ Label ได้อิสระ แต่ใน Bitbucket เราจะไม่สามารถกำหนด Label ได้ แต่กำหนดเป็น Kind ที่ตั้งค่ามาให้เรามาเลยโดยเพิ่มเติมไม่ได้อยู่ 4 แบบ คือ bug, enhancement, proposal และ task ซึ่งโดยรวมจริงๆ ก็เพียงพอสำหรับใช้งานอยู่แล้วตามรูปแบบทั่วไปที่ใช้ๆ กันอยู่แล้ว

สำหรับบันทึกช่วยจำนั้นใน Bitbucket ก็มี Wiki มาให้แบบเดียวกับ Github ส่วนใหญ่เอาไว้แจ้งข้อมูลทั่วไปพวก FTP, Databases Access หรือเอกสารของลูกค้าต่างๆ ที่เป็น Features หรือข้อตกลง เป็นหลัก ซึ่งรวมไปถึงคู่มือหรือการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น

5. Documents/Spreadsheet (เอกสารแชร์กับลูกค้า)

จากเมื่อปี 2011 ที่ผ่านมาใช้ Google Docs ในปี 2012 ที่ผ่านมาเริ่มปรับเปลี่ยนมาใช้ Microsoft Office Web Apps มากขึ้นเรื่อยๆ เหตุผลง่ายๆ คือลูกค้าเข้าใจส่วนติดต่อ (UI) ของ Microsot Office มากกว่า แถมมีข้อดีคือสามารถเปิดเอกสารผ่าน Microsoft Office ตัวปรกติบนเครื่องได้และบันทึกกลับเข้ามาใน Web Apps ได้โดยสะดวก แต่ก็ยังใช้ผสมกันทั้ง Google Docs และ Office Web Apps ขึ้นอยู่ที่ Project ที่กำลังทำงานอยู่ว่าลูกค้าถนัดตัวไหน ซึ่งเหตุผลในหลายๆ ส่วนเอกสารบางตัวใน Wiki ของ Bitbucket ก็ถูกนำมาใส่ในส่วนนี้เช่นกัน เพราะลูกค้าคงใช้ Bitbucket ไม่เป็น เพราะฉะนั้นงั้นก็ควรใช้อะไรที่ง่ายๆ ที่เข้าถึงได้สะดวกกว่านั้นเอง

6. Cloud Storage Sharing/Sync

เป็นการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่โดยส่วนตัว โดยย้ายมาใช้ SkyDrive แทน Dropbox ด้วยเหตุผลด้านค่าใช้จ่าย ด้วยราคาต่อหน่วยพื้นที่เก็บไฟล์ที่ราคาไม่สูงมากนัก แถมยังมีตัวเลือกในการเช่าพื้นที่เพิ่มเติมที่มีหลายระดับราคามากกว่า ซึ่งตัว App ที่เป็นตัว Sync File เพื่อทำงานรวมกับระบบ Cloud นั้นทำงานได้ดีพอๆ กับ Dropbox แล้ว และยังเข้ากันได้ดีกับ Windows 8 และ Windows Phone 8 ด้วย (บน iOS และ Android ก็ใช้งานได้ดีเช่นกัน)

โดยในส่วนของ Cloud Storage พวกนี้จะถูกใช้สำหรับเก็บเอกสารต่างๆ ทั้งส่วนตัวและลูกค้าที่เป็น Word, Excel หรือ PowerPoint ที่เป็นไฟล์โยนไป-มาในอีเมล โดยปรับเปลี่ยนมาใช้การ Share ผ่าน link เป็นหลักเพื่อความรวดเร็วในการรับ-ส่งและยังแก้ไขได้ง่ายกว่าการแนบไฟล์ตามปรกติที่ทำๆ กันมาที่บางครั้งก็ไม่รู้ว่าไฟล์ไหนเป็นไฟล์ตัวล่าสุด ทำ snapshot และ versioning แบบเปรียบเทียบกับของเก่าได้ยากกว่า อีกทั้งระบบพวก cloud storage พวกนี้ยังมีส่วนของการค้นหาและสำรองข้อมูลไว้บน Cloud อีกชุดเพื่อความปลอดภัยของข้อมูลด้วย

ข้อดีที่สำคัญอีกอย่างของ Cloud Storage (ทั้ง SkyDrive และ Dropbox) ที่เหนือกว่าการเก็บไฟล์แบบเดิมๆ บนเครื่องก็คือยังสามารถเข้าถึงได้จากมือถือผ่าน App ที่มีให้ดาวน์โหลดบน Store ของแต่ละค่ายเอง หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่เข้า Internet ได้ผ่านทาง Web Browser ได้ด้วย แต่ข้อดีของ SkyDrive ที่ปรับเปลี่ยนมาใช้ก็เพราะสามารถทำงานร่วมกับ Office Web Apps ได้ดีกว่า Dropbox อยู่เยอะ แต่ข้อเสียของ SkyDrive คือระบบ versioning ที่รองรับแต่เฉพาะไฟล์ของ Micorosoft Office เป็นหลัก ไม่รอบรับไฟล์รูปแบบอื่นๆ เหมือน Dropbox อาจจะต้องเลือกการใช้งานให้ถูกกับประเภทสักหน่อยเท่านั้นเอง

กล่าวโดยสรุปจากทั้งหมดที่กล่าวมาทั้ง 6 ส่วนนี้ จะเห็นว่าแต่ละส่วนช่วยในเรื่องของการบันทึก ช่วยจำ และการติดต่อสื่อสาร อีกทั้งยังช่วยในการสำรองข้อมูลต่างๆ ให้การทำงานของเรานั้นราบรื่นมากที่สุด เพราะฉะนั้นลองนำไปปรับใช้ในทีมกันดูนะครับ น่าจะช่วยในการประสานงานกันในทีมดีมากขึ้น แถมยังปลอดภัยต่อข้อมูลที่ตกหล่นอีกด้วย

Google ถอด EAS (Exchange ActiveSync) ออกจาก Free Account ของ Gmail ผู้ใช้ทั่วไปเสียประโยชน์มากกว่าได้

จากการที่ Google ตัดสินใจหยุดให้บริการ Exchange ActiveSync ลงสำหรับลูกค้าทั่วไป  นั้นพอเข้าใจได้ในด้านของตัวองค์กรขนาดใหญ่ที่เปิดให้บริการ Free E-mail กับบุคคลทั่วไป เพราะ Google ต้องเสียค่าใช้จ่ายในด้าน License ตัว Protocal ของ EAS ที่จะใช้ให้กับผู้ใช้ทุกรายที่เปิดใช้บริการให้กับ Microsoft และการแบกรับภาระตรงนี้มองว่าเป็นการเพิ่มภาระนอกจากส่วนพื้นที่เก็บอีเมลที่ต้องแบกรับภาระอยู่แล้ว แต่นั้นไม่ได้มีผลใดๆ กับการใช้งานของ EAS ใน Account พวก Google Apps for Business หรือตัวที่ไม่ใช่ Free Account เพราะในส่วนนั้นยังคงยังใช้ได้เหมือนเดิม สรุปง่ายๆ คือ ถ้าจ่ายเงินให้ Google ใน Account ที่ใช้งานสำหรับธุรกิจ (Google Apss for Business ) คุณก็ยังใช้งาน EAS ได้ตามปรกติ

แต่เหตุผลอีกอย่างที่น่าจะเป็นไปได้ก็คือ การใช้ EAS นั้นทำให้การรับ-ส่งอีเมลของผู้ใช้งานเข้าผ่านตัว client App ที่รับ-ส่งอีเมลได้อิสระ แถมได้ระบบ push ที่ทำงานได้ดีและแทบจะไม่ต้องเข้าหน้าเว็บเมลของ Gmail อีกเลย เพราะทุกอย่างสามารถจัดการได้ผ่าน client บนมือถือหรือ App ที่รองรับได้เกือบทั้งหมด ทำให้รายได้ในการแสดงผลโฆษณาบนเว็บนั้นหายไป งานนี้เป็นการบังคับคนใช้งานที่เป็น Free E-mail ว่าอยากใช้ EAS ก็จ่ายเงินมา เพราะต้องมองว่า client App ถ้าเข้าถึงข้อมูลได้ทั้งหมดโดยไม่ผ่านหน้าเว็บใดๆ ที่ตัวเองควบคุมไม่ได้ ทำให้ไม่ต้องเข้าเว็บ แล้วผู้ใช้งานไม่จ่ายเงินก็เหมือนกับ Google ไม่ได้อะไรจากหน้าเว็บที่ตัวเองมีโฆษณาแสดงผลบนเว็บตามข้อมูลที่เกี่ยวกับอีเมลนั้นๆ ได้เลย

แต่ผลพวงอีกด้านนั้นผมมองว่า Google เอา EAS ออกนั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ Google กำลังถอยจากแพลตฟอร์ม Windows Phone  และเป็นการบีบ Microsoft มากขึ้นในตลาด Windows 8 และ Windows Phone 8 ที่มีระบบที่สามารถใช้การเชื่อมต่อกับ Google Service ได้ เพราะบริการหลายๆ ตัวที่เชื่อมต่อได้ใน Windows 8 และ Windows Phone 8 นั้นใช้ผ่าน EAS ได้ เช่น People (Contact), Calendar และ Mail โดยสามารถ Push/Sync ได้ แต่เมื่อ Google ถอด EAS ออกจากบัญชีผู้ใช้ทั่วไปแบบ Free E-mail ทำให้ต้องปรับการเข้าถึงอีเมลผ่านทาง IMAP/POP3 และนั้นหมายถึงมันจะไม่ push มาให้ผู้ใช้งาน รวมถึง Contact และ Calendar ต่างๆ จะไม่สามารถ Sync เข้ามาได้ตามปรกติ เพราะ Google ถอด EAS ไปแล้ว โดยถ้าต้องการ Sync ก็ต้องทำผ่าน Protocal ที่เป็น open standard อย่าง CardDAV (Sync ตัว Contact) และ CalDAV (Sync ตัว Calendar) ซึ่งในตอนนี้ Microsoft ยังไม่รองรับ โดยระหว่างที่ปรับหรือหาทางออกในช่วงนี้ Microsoft คงเสียจังหว่ะในการพัฒนาตัว Windows 8 และ Windows Phone 8 ให้สมบูรณ์ในด้านอื่นๆ อยู่สักพักใหญ่ๆ มาปรับปรุงหรือหาทางออกให้กับผู้ใช้ของตัวเองให้กลับมาใช้งานได้ปรกติเหมือนเดิม เพราะต้องอย่าลืมว่าตัว Service ของ Google เองก็มีคนใช้ทั่วโลกอยู่เยอะ และผู้ใช้งานใน Operating System ของตัวเองก็ต้องทำให้รองรับให้ได้เพื่อให้ยังคงแข่งขันได้ในตลาดที่อุปกรณ์อย่าง Tablet และ Smartphone ที่ต่างแข่งขันกัน Push/Sync ได้แบบทันที เพราะฉะนั้นจึงไม่แปลกที่ Microsoft แปลกใจที่ Google หยุดสนับสนุน Exchange ActiveSync, แนะลูกค้าย้ายมา Outlook.com  และต้องทำให้ Microsoft เผยรายละเอียดเพิ่มเติมและตอบคำถามเกี่ยวกับ Outlook.com และ Micorosft เผย ผู้ใช้ยังคงสามารถใช้งาน Gmail ได้ต่อ ด้วย IMAP เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้งานในระบบ Operating System ที่ตัวเองพัฒนาอยู่ทั้งใน Windows 8 และ Windows Phone 8 ต่อไป

แต่จากเหตุการณ์นี้ ถ้าเรามองจะเห็นว่า Google ทำแล้วเกิดผลกระทบเยอะ เป็นข่าวค่อนข้างวงกว้าง นั้นคงเพราะเป็นลักษณะของการบีบผู้ใช้ให้เลือกข้างนั้นเอง โดยมุ่งไปที่ตลาด Smartphone ที่ Microsoft กำลังปลุกปั้นขึ้นมาใหม่อย่าง Windows Phone 8 อย่างชัดเจน โดยมองว่าผู้ใช้งานรายเก่าที่ใช้ Android หรือ iOS อยู่ก่อนแล้ว และกำลังคิดจะเปลี่ยนไปใช้ Windows Phone 8 คงต้องชะงัก และหันกลับมาใช้ Android ของตัวเองเป็นหลักตามเดิม หรือถ้ายังไม่พร้อมแต่ใช้ iOS อยู่ก็ให้เสพติด App ที่ตัวเองส่ง App เข้าไปเพื่อตีแนวๆ trojan อยู่ใน iOS อยู่เนืองๆ ซึ่งเห็นได้ชัดใน Google Maps ที่เพิ่งเปิดตัวไปไม่นานหลังจาก Maps บน iOS 6 นั้นไม่ได้ดีดังที่คาด และ Gmail App ที่ทำให้โหลดมาเพื่อเตรียมการประหาร Microsoft เมื่อไม่กี่เดือนก่อน ซึ่งถ้าดูๆ จากตลาดโลกในตอนนี้ Android มีส่วนแบ่งตลาดเยอะ และ Gmail ก็ติดลมบนและได้แรงส่งจาก Android ด้วย มันเลยสมประโยชน์กันพอดี เพราะทุกคนที่ใช้ Android ก็ต้องมี Google Account เพื่อใช้งานอยู่ด้วยเสมอ

หันมาดูทางฝั่ง iOS เองนั้น ถ้าโดนกินส่วนแบ่งไปเรื่อยๆ ส่วนตัวผมมองว่าผู้ใช้ iOS เองก็เตรียมตัวได้เลย เพราะตัวอย่างเห็นอยู่ตรงหน้าแล้ว ถ้า Google หยุด support ตัว Gmail App ที่ push Mail ได้ แล้วบอกกับผู้ใช้ iOS ว่า ย้ายมา Android ซะเพื่อใช้ App ที่พวกคุณเสพติดกันได้ดีมากขึ้น หรือมี support จริงๆ ในอนาคต งานนี้ออกแนวตีหัวเข้าบ้านกันจังๆ เลย เพราะต้องอย่าลืมว่า EAS เลิก Support ระบบ push ที่ทำงานได้ใน iOS ผ่านการตั้งค่าใน Exchange ทั้ง Contact, Calendar และ Mail นั้นต้องถูกยกเลิกไปด้วย และต้องใช้ผ่าน Gmail App สำหรับ Push ตัว E-mail ของ Google บน iOS เท่านั้น และต้องลำบากชีวิตมากขึ้นเพื่อค่า CalDAV สำหรับ Calendar และ CardDAV สำหรับ Contact อีกที ส่วนใครไม่อยากใช้อีเมลรับ-ส่งผ่าน Gmail App ก็ต้องใช้ผ่าน IMAP/POP3 เอาเอง ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็น interval sync (polling) ไม่ใช่ push แบบที่เคยใช้งานบน EAS ตามปรกติที่รวดเร็วทันใจ งานนี้ก็ทำใจกันล่วงหน้าได้เลย

ส่วนตัวตอนนี้อีเมลที่ใช้ทำงานจริงจังจะใช้อีเมลที่อยู่ภายใต้ domain (@thaicyberpoint.com) ตัวเองเป็นหลัก ส่วนอีเมลที่เป็น domain พวก Free E-mail จะใช้เฉพาะเข้าถึงบริการของแต่ละบริษัทพวกนี้มากกว่า (@gmail.com, @yahoo.com หรือ @hotmail.com) แล้วตั้ง Forward ตัว E-mail เข้าตัว domain หลักของผมอีกทีทีนี้ก็ง่ายในการย้ายและรับ-ส่งอีเมลได้สบายๆ (ผมใช้วิธีนี้กับ @gmail.com @outloook.com และ @hotmail.com) แต่ถ้าบริการของบริษัทไหนสามารถตั้ง account บริการพวกนี้ด้วย domain ของตัวผมเองได้ จะใช้ domain ตัวเอง เพราะมันย้ายง่ายมากๆ เช่น .NET Passport หรือตอนนี้ชื่อว่า Microsoft account ที่ผมใช้อีเมลภายใต้ domain ผมเองอยู่เป็นต้น ซึ่งส่วนตัวจากข่าวข้างต้นทั้งหมดนั้นดูไม่มีปัญหาอยู่แล้ว เพราะปรกติใช้ Google Mail แบบเสียเงิน เป็น Google Apps for Business ที่ต้องจ่ายเงินปีละ 1,500 บาทต่อ 1 account อยู่แล้ว ซึ่งเหตุผลหลักๆ ที่ย้ายจริงๆ ก็คือไม่อยากเสียเงิน Google Apps for Business ที่ได้ความสามารถเพิ่มเติมมาเยอะ แต่ใช้ส่วนตัวจริงๆ ผมใช้แค่ให้มัน Sync กับ Microsoft Outlook ได้ (เหมือนเป็นค่า License ตัว API ของ Google ที่จ่ายให้ Microsoft ในการเข้าถึง API ของ Microsoft Outlook) แต่ตัวที่ทำให้การย้ายมา Hotmail มันเร็วขึ้นจากแผนที่วางไว้ 2-3 เดือนก็เพราะเรื่องภาษาไทยใน Google Mail ที่มี bug กับ Windows Phone 8 เลยทำให้ต้องย้ายเร็วกว่ากำหนด

ผมขอยกตัวอย่างง่ายๆ คือ Gmail ย้ายมาใช้ Hotmail เนี่ยแหละ อ่านได้จาก ย้ายจาก Google Apps มา Windows Live Admin Center (Custom addresses)

ซึ่งในการทำงานนั้น อีเมลผมจะใช้ domain ตัวเอง ถ้าเกิดปัญหาแบบนี้ ส่วนตัวผมก็แค่ย้าย MX Record จาก Gmail มาใช้ Hotmail แล้วก็ทุกอย่างก็จบ ผมรับ-ส่งเมล หรือคนส่งมาก็ยังใช้อีเมลเดิม แต่ระบบด้านหลังเปลี่ยนไปแล้ว เค้าไม่รู้สึกเลยว่ามีการเปลี่ยนอีเมลไปใช้ Hotmail แต่ถ้าใช้อีเมล Free E-mail ที่เป็น domain คนผู้ให้บริการ Free E-mail  ต่างๆ ชื่อ domain มันจะผูกติดกับบริษัทนั้นๆ ไปเรื่อยๆ เค้าบังคับให้ใช้อะไรก็ต้องใช้ไป จะย้ายจะเปลี่ยนก็ต้องอีเมลบอกกันเป็นร้อยเป็นพันคน เหมือนกรณี Gmail ในตอนนี้เนี่ยแหละ ที่ถ้าเกิดเหตุการณ์คล้ายๆ แบบนี้ก็ตัวใครตัวมันหล่ะ ซึ่งหลายคนใช้ @gmail.com กันเยอะขึ้น การย้ายทีก็บอกใหม่ทีซึ่งในอนาคตผมเชื่อว่ามันจะลำบากมากจริงๆ เพราะวันดีคืนดีบอกหยุดให้บริการหล่ะงานเข้ากันใหญ่ เพราะต้องมาย้ายหาที่อยู่ใหม่ เหมือนโดนไล่ที่

จากทั้งหมดทั้งมวลเอาเข้าจริงๆ ผู้ใช้ก็เหมือนโดนโยนกันไปโยนกันมา ในฐานะที่เป็นผู้ใช้งานต้องเตรียมตัวรับกับสิ่งเหล่านี้ให้ดี อย่างน้อยๆ ก็ต้องพร้อมที่จะย้ายบ้านได้ถ้าเจอบริษัททำวิธีการแบบนี้อยู่เนืองๆ กรณีนี้ Google น่าจะเห็นชัดสุดๆ ในปัจจุบัน เพราะผลกระทบเยอะและวงกว้างเห็นได้ชัดเจน คืออย่างน้อยๆ ก็คนใช้ iOS เนี่ยแหละต้องปรับตัว แต่ไม่ใช่ว่า Apple หรือ Microsoft ไม่ทำ สองบริษัทหลังนี่ก็ทำเหมือนกัน แต่ยังไม่เห็นผลชัดเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น เราผู้ใช้ต้องรู้เท่าทัน และสามารถที่ย้ายการใช้งานไป-มาได้ด้วยตัวเองด้วย เพื่อไม่ให้บริษัทพวกนี้มีอำนาจเหนือเรามากเกินไป (หรือง่ายๆ คือใช้ความเคยชินและข้อมูลของเราเป็นตัวประกัน) ส่วนตัวแล้วนั้นเชื่อว่าเราในฐานะคนใช้บริการมีทางเลือกเสมอ อย่าไปจมกับบริษัทพวกนี้มาก ถ้ามันรวมระบบกันแล้วไม่สนิทและทำงานแล้วลำบากก็ย้ายเสียแต่เนิ้นๆ เถอะครับ สรุปใช้ของฟรีมันก็แบบนี้แหละ ทำใจยอมรับกันไป คือทางเลือกมันมีนะ แต่อยู่ที่จะเลือกแบบไหน ><"

ลองเล่น Go Live S1 จาก Truemove H 3G+

ได้ลองเอามาเล่นอยู่เดือนกว่าๆ ครับสำหรับตัวนี้ แน่นอนว่าเป็นโทรศัพท์ที่ทำตลาดราคาไม่แพงมาก ในระดับราคา 2,990 บาท โดยเป็นการทำราคาและเจาะตลาดสำหรับตลาด smart phone ราคาประหยัดที่พ่วงความเร็วระดับ 3G เข้ามา ทำให้การตัดสินใจซื้อนั้นไม่ยากจนเกินไปนัก

 WP_20121213_021 WP_20121213_018 

ในกล่องมีตัวโทรศัพท์และแบตเตอรี่มาให้อย่าง 1 รายการ ที่น่าสนใจคือให้ฝาหลังสีขาวมาเพิ่มให้อีก 1  ชิ้น (ที่ติดมากับเครื่องจะเป็นสีดำ) วันไหนเบื่อๆ ก็เปลี่ยนสลับไป-มาแก้เบื่อได้พอดีเช่นกัน

สำหรับสายชาร์จแบตเตอรี่มีให้ตามมาตรฐานทั่วไป ซึ่งเป็นแบบถอดสาย USB-microUSB เป็นสาย data ได้ด้วย (แยกชิ้นได้) แล้วยังมาพร้อมชุดหูฟังแบบ Small Talk ขนาด 3.5 มิลลิเมตร สำหรับไว้ฟังเพลงหรือคุยโทรศัพท์ 1 ชุด

โดยในด้านอุปกรณ์แล้วนั้น ซื้อชุดนี้ 1 ชุดก็เกือบจะไม่ต้องซื้อะไรเพิ่มเติมอีก

แน่นอนว่าราคาเริ่มต้นไม่แพง ทำออกมาเจาะกลุ่มคนที่มีงบไม่มากแต่มาพร้อมกับคู่มือ 2 แบบ (การใช้งานแบบละเอียดและแบบใช้งานด่วน) และใบรับประกัน (รวมเป็น 3 เล่ม) ที่ถือว่าละเอียดพอสมควรเลย เหมาะกับคนที่ยังใช้มือถือ smart phone แบบ Android  ไม่เป็นมาก่อน (แต่ยังไงก็ต้องอาศัยคู่มือเพิ่มเติมจากภายนอกอยู่ดีถ้าในระดับลึกๆ)

WP_20121213_002 WP_20121213_004

มาดูในด้านตัวเครื่องกันบ้าง ตัวเครื่องเป็นมาพร้อมกับ Android Gingerbread 2.3.6 ที่เป็น Android ระดับที่แม้จะดูเก่าแล้วในตลาด แต่ถ้าในมุมการใช้งานโดยทั่วไปแล้วนั้น ยังคงสามารถทำงานได้ดีในระดับที่ยอมรับได้อยู่ โดยถ้าใช้งานในเชิงการโทรศัพท์, บันทึกทั้งหมายเลขโทรศัพท์-นัดหมาย-ข้อความ รวมถึงจดบันทึกและรองรับ App ลงเพิ่มเติมได้ตามมาตรฐานของ smart phone ที่เป็น Android โดยทั่วไป

แต่ข้อสังเกตส่วนของการเพิ่มเติม App ลงไปนั้น อาจจะลำบากกับ App หนักๆ บางตัวที่เครื่องนี้ เพราะถึงแม้ว่าจะให้ CPU จาก Qualcomm (MSM7225A) Single Core ความเร็ว 1 GHz  ที่ดูแล้วก็แรงดีเกินราคา แต่อาจจะไม่รองรับเครื่องที่มี RAM น้อยเพียง 512MB และพื้นที่ Internal Storage เพียง 512MB อย่างเจ้าตัวนี้เท่าไหร่นัก

แต่แน่นอนว่าถึงแม้จะมี RAM และ Internet Storage เพียง 512MB แต่ก็มีช่องใส่การ์ดความจำ microSD อยู่ตรงมุมล่างซ้ายหลังฝาเครื่องมาให้ใส่เพิ่มเติมลงไปได้สำหรับรองรับการเก็บรูปภาพจากกล้อง หรือข้อมูลอื่นๆ ด้วย

WP_20121212_008 WP_20121212_010

สำหรับระบบเซ็นเซอร์นั้นมี ส่วนของตรวจจับความเคลื่อนไหวของตัวเครื่อง หรือ Accelerometer สำหรับพลิกจอภาพไป-มา และระบบเปิด/ปิดหน้าจออัตโนมัติขณะสนทนามาให้พร้อมในตัว

สำหรับระบบที่รองรับ App แผนที่อย่าง Google Maps ก็มี A-GPS มาให้ พร้อม Digital Compass ในตัว โดยส่วนตัวแล้วนั้น A-GPS อาจจะดูไม่เพียงพอสำหรับความต้องการในปัจจุบันของผู้ใช้งาน แต่ด้วยราคาระดับนี้อาจจะดูคาดหวังมากเกินไปที่จะได้ GPS แท้ๆ ใส่มาให้ ซึ่งถ้ามองในอีกมุมหนึ่ง A-GPS ก็พอใช้งานได้ในสภาพการใช้งานที่เครือข่าย Truemove H นั้นมีข้อมูล cell site ส่ง A-GPS มาให้อยู่ได้แม่นยำพอสมควร

เครือข่ายที่รองรับนั้นก็มี GSM 850/900/1800/1900 MHz และ WCDMA 850 MHz แน่นอนว่ารองรับ Truemove H แน่นอนอยู่แล้ว

ในส่วนของการเชื่อมต่อไร้สายอื่นๆ นั้นก็มี

  • WiFi 802.11 ที่รองรับทั้ง b, g และ n มาให้เลยในตัว แถมยังทำเป็นตัวระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตแบบพกพา หรือ Portable Wi-Fi Hotspot ได้ด้วย
  • Bluetooth 2.1 ที่รองรับชุดหูฟังสเตอริโอ แบบ A2DP Bluetooth Stereo

สำหรับในส่วนของกล้องถ่ายรูปให้ความละเอียดมาที่ 5MP โดยมีขนาดภาพที่ 2592×1944, 1600×1200 และ 640×480 pixel รองรับการปรับแต่งภาพการรับแสดง –2 ถึง +2 EV มีโหมดสำเร็จรูปมาให้ 3 แบบ พร้อมทั้งซูมแบบ digital zoom ได้ 3 เท่า และยังสามารภเปิด-ปิดเสียงชัตเตอร์ได้  โดยการโฟกัสแบบ Fixed Focus

ในด้านของการถ่ายวิดีโอนั้นรองรับไฟล์ขนาด VGA ขนาด 352×288 และ 176×144 pixel รูปแบบไฟล์ .3gp

WP_20121213_013 WP_20121213_014

จอภาพนั้นให้มาที่ความละเอียด 320 x 480 pixel ที่มีความกว้าง 3.5” แบบ LCD TFT Capacitive Multi Touchscreen แน่นอนว่าถ้าใครเคยใช้จอละเอียดกว่านี้มาก่อนอาจจะหงุดหงิดไปเสียหน่อย แต่ถ้าไม่เคยใช้มาก่อน ส่วนตัวก็ถือว่าไม่ได้ดูแย่เกินไปนัก อาจจะไม่ใช่ IPS ที่สุดมีสีสันสวยงามเหมือนรุ่นสูงๆ เท่าไหร่นัก สำหรับการสัมผัสในการทัชตัวจอภาพและการตอบสนองนั้นยังไม่ไวเท่ารุ่นสูงๆ ราคาแพง ตรงนี้อาจต้องทำใจเสียหน่อย

ในด้านของแบตเตอรี่นั้นให้มามีความจุที่ 1,420 mAh ที่ค่อนข้างจะเยอะ สำหรับมือถือหน้าจอขนาดไม่ใหญ่แบบนี้ ทำให้การใช้งานข้ามวันต่อวันนั้นเป็นไปได้ง่ายมากๆ แต่อีกเหตุผลที่ส่วนตัวคิดว่าที่ให้มาเยอะก็เพราะเครือข่าย 3G นั้นกินแบตเตอรี่มากกว่าปรกติอยู่แล้วด้วยนั้นเอง

ทดสอบการตอบสนองการแสดงผล, การทัชตัวหน้าจอ และทดสอบ A-GPS บน Google Maps

สำหรับตัวเครื่องนั้นมาพร้อมกับ App ของ Truemove H อยู่มากมายหลายตัวนอกเหนือจากตัว App พื้นฐานของ Android ที่มีมาให้อยู่แล้ว และสามารถดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้จากใน Play Store จาก Google เอง

โดยตัว App ของ Truemove H นั้นจะขึ้นต้นด้วยตัว H ทั้งหมด เพื่อง่ายต่อการเรียกใช้และแยกแยะ

  • H News เป็น App ติดตามข่าวสารทั่วไป
  • H Skywatch เป็น App สำหรับติดตามข้อมูลพยากรณ์อากาศและแจ้งเตือนภัยพิบัติต่างๆ
  • H Kaset เป็น App ที่รวมข้อมูลและข่าวสารทางการเกษตรฯ ต่างๆ
  • H Sport เป็น App รวบรวมข่าวสารและข้อมูลเกี่ยวกับกีฬา
  • H TV  เป็น App สำหรับดูทีวีแบบออนไลน์ทั้งช่อง Free TV และช่องอื่นๆจาก True บางส่วน
  • H Radio เป็น App สำหรับฟังวิทยุออนไลน์
  • H Music เป็น App สำหรับฟังเพลงออนไลน์ที่อัพเดตใหม่ทุกวัน
  • H Movie เป็น App สำหรับดูหนังฟรีแบบออนไลน์ผ่านมือถือ
  • H Play เป็น App รวบรวมข่าวสารกิจกรรมจาก TrueMove H
  • H Shopping เป็น App รวบรวมข้อมูลการช็อปปิ้งออนไลน์
  • H Mart เป็น App สำหรับใช้ซื้อ-ขายออนไลน์จากสมาชิกผู้ใช้งานของ Truemove H

จากตัวเครื่องที่ได้มาทดสอบกว่าเดือนที่ผ่านมานั้น ต้องบอกว่าเป็นเครื่องที่ถือว่าราคาไม่แพงและความคุ้มค่าอยู่ในระดับปานกลาง ไม่ถือว่าแพงหรือถูกไป สำหรับคนที่ชอบและติดตามข้อมูลข่าวสารและใช้บริการของ True อยู่ก่อนแล้ว  App ที่ทาง Truemove H เตรียมไว้ให้ก็ทำให้การใช้บริการต่างๆ นั้นง่ายขึ้นและสะดวกขึ้น เป็นการเพิ่มความสะดวกมากขึ้นทีเดียว