ความหมาย uptime guarantee ของ 99%, 99.9% หรือ 99.99%

ใน 100% ของ uptime guarantee ของทางด้าน computer system/network นั้นหมายถึง 1 ปี (คิดที่ 518,400 นาที หรือ 43,200 นาทีต่อเดือน)

ในทุกๆ 0.1% ของ downtime ทางด้าน computer system/network มีค่าเท่ากับ 8-9 ชั่วโมงต่อปี

เพราะฉะนั้นใน 1 ปีนั้น
– 99% หมายถึง ยอมให้ downtime ได้ 86.4 ชั่วโมง (หรือ 3 วัน 6 ชั่วโมง)
– 99.9% หมายถึง ยอมให้ downtime ได้ 9 ชั่วโมง
– 99.99% หมายถึง ยอมให้ downtime ได้ 52 นาที (หรือประมาณ 1 ชั่วโมง)

ในองค์กรทั่วไปมักใช้ 99% เป็นหลัก เพราะมักมีช่วงเวลาที่แน่นอนที่สามารถปิดระบบเพื่อทำ System Maintenance ได้ชัดเจนและยาวนาน ซึ่งไม่กระทบต่อการให้บริการอื่นๆ โดยมักทำในช่วงวันหยุดนอกเวลาทำงานปรกติ

ส่วนที่มักใช้ 99.9% นั้นจะเป็น Web hosting หรือบริการ Online โดยทั่วไป เพราะมักใช้ตอน System Maintenance ที่อาจจะทำตอนช่วงคนใช้งานน้อยเพื่อนำไปปรับปรุงระบบ หรือเปลี่ยนแปลงตัว hardware บางส่วนที่เสียหาย

สำหรับ 99.99% มักใช้ในงานด้าน Cloud/CDN services ที่มีการเข้าถึงได้จากทั่วโลกและมักจะไม่มีช่วงที่มีการใช้งานน้อยให้สามารถหยุดการ System Maintenance ได้บ่อยครั้งและนานมากนัก เพราะฉะนั้นจึงมีการใช้ตัวเลขตรงนี้ แต่นั้นหมายถึงราคาที่แพงมากขึ้น เพราะต้องคัดตัว hardware ที่สามารถรองรับการแก้ไขปัญหาโดยที่ไม่ต้องปิดระบบทั้งหมดรวมไปถึงระบบที่รองรับการล่มแล้วสลับไปใช้งานระบบอื่นๆ ได้เกือบจะในทันที

ตัวอย่างเช่น SLA ของ Google Apps for Business นั้นระบุ uptime ที่ 99.9% (อ้างอิง http://www.google.com/apps/intl/th/terms/sla.html ข้อมูล ณ วันที่ 24 ม.ค. 2013)

โดยจากรายงานของ blog ของ google แจ้งว่าในปี 2010 Gmail มี uptime ที่ 99.984% ใกล้เคียง 99.99% uptime มากๆ (อ้างอิง Official Google Enterprise Blog: Destination: Dial Tone — Getting Google Apps to 99.99%)

โดยใน SLA ของ Google Apps for Business นั้นยังมีการระบุระยะเวลาที่ชดเชยถ้า uptime น้อยกว่าที่กำหนดไว้ตามสัดส่วนดังนี้

น้อยกว่า 99.9% ถึง 99.0% ชดเชย 3 วัน
น้อยกว่า 99.0% ถึง 95.0% ชดเชย 7 วัน
น้อยกว่า 95.0% ชดเชย 15 วัน

บ่นๆๆ กับการเขียน blog รีวิวสินค้าของตัวเอง และถ้าออกข่าวว่าจะขายของ ก็ควรมีของขายให้เร็วที่สุด!

ในรอบ 1-2 ปีที่ผ่านมา ไปงาน blogger หลายๆ ยี่ห้อ ได้ของมารีวิวก็เยอะ เขียนขึ้นบ้าง ไม่ได้เขียนบ้าง ซึ่งบางตัวไม่เขียนนี่ก็เยอะนะ

คือบางครั้งเราก็ไม่รู้จะเขียนอะไร ด้วยเหตุผลว่า มันไม่มีอะไรใหม่จากตัวเก่าเท่าไหร่ หรือไม่รู้จะเล่าอะไรให้ต่างจากคนอื่นๆ ที่เค้าได้ไปก่อนหน้านี้แล้วก็เขียนไปหมดแล้ว คือจะบอกว่าลงๆๆ แล้วบอกไปอ่านต่อที่โน้นที่นี่ ผมเห็นตรงกับคนนั้น แม่มก็ดูจะยืมมือคนอื่นมากไป สรุปก็ไม่ได้เขียน ><”

เอะ! เดี่ยวนะ เขียนแบบนี้เค้าก็ไม่เชิญไปหรอก เออ นั้นดิ ก็ไม่รู้ดิคือจะให้เรามานั่งปั้นเรื่องให้ดูสวยงามมันก็ใช่ที่ เค้าอ่านรีวิวเราเพราะเราเขียนในแนวของเรา บางอันดองกับข้ามเดือนเยอะแยะไป คือบางครั้งเราก็เขียนมันออกไปผิดเยอะ แล้วก็ต้องกลับมาแก้ก็มี บางครั้งเขียนแล้วจาก draft แล้วก็มาโละทิ้งใหม่ก็มี เพราะมันลำดับความห่วยแตกก็มาก คือรีวิวบางอันเขียน 3-4 รอบแล้วไม่เอา ติสแตก ลบๆๆ เขียนใหม่ก็หลายตัว บางตัวที่ไม่ได้ลงเพราะหมดแรง เขียนใหม่รอบที่ 3-4-5 ก็เยอะนะ ฮาๆ

แต่สิ่งหนึ่งที่ผมรู้สึกได้เวลาเขียนรีวิวจบแล้วคือ “สินค้าที่รีวิวขายเมื่อไหร่ ราคาเท่าไหร่” อืมมมม นี่แหละที่ผมเจอ เจอประจำ เจอตลอด บางคนอ่านแล้ว “อยากได้ ซื้อที่ไหน ราคาแพงไหม อยากลองเล่นมีที่ไหนให้เลน” ก็เยอะ บางตัวผมเขียนรีวิวช้ามากๆ กว่าจะขึ้นเป็นหลักเดือน แต่ของเพิ่งได้ขายก็มี (บาวตัวขายจนหมดช่วงชีวิตสินค้านั้นๆ ยังหาซื้อยากหรือไม่ได้เลยก็มี) ลองคิดดูว่าถ้าเขียนเร็ว แล้วลูกค้าเห็นแล้วกิเลสมาอยากได้ แต่มันไม่มีของ แต่อีกยี่ห้อก็มาไล่ๆ กัน อ่านรีวิวแล้วของมีเลย อันไหนมันเพิ่มโอกาสการขายมากกว่ากัน

ส่วนตัวเชื่อว่า ความอยากของคนในปัจจุบันมันฉายฉวยขึ้นเยอะ เพราะฉะนั้นใช้โอกาสตรงนี้ทำให้ยอดขายมันเพิ่มขึ้นจากความไวของการขายสินค้าจะทำให้ได้เปรียบมากกว่ามานั่งทำให้คนซื้ออยากจนเบื่อแบบบรอกันไร้จุดหมาย จนความอยากหมด มันเหมือนคนหิวจนเลิกหิวอะไรแบบนั้น

สิ่งที่คนทำตลาดและขายสินค้าในปีนี้ต้องทำการบ้านคือ ข่าวสินค้าเปิดตัวออกมาแล้ว ก็ควรจะมีของขายในเกือบจะทันที หรืออย่างเลวร้ายที่สุดก็ควรจะบอกไปเลยว่าขายวันไหนเมื่อไหร่ ช่องทางขายมีที่ไหนบ้างอย่างชัดเจน ปักมันเลย แล้วทำให้ได้ตามนั้น ส่วนราคาอาจจะคาดการณ์ช่วงแทนบอกราคาแบบตรงตัว ถ้าคิดว่ามันทำให้คู่แข่งปรับตัวเลขราคาสู้ ไม่งั้นเงินในกระเป๋าคนซื้อมันจะไปซื้อยี่ห้ออื่นที่แน่นอนในด้านเวลาและการโฆษณาที่มากกว่าแทน และถ้าเลื่อนขายก็บอกไปเลยว่าเลื่อนขายไปเมื่อไหร่ แต่ไม่ควรเลื่อนบ่อยๆ ไม่งั้นจะโดดด่าแทน คือต้องพูดกันตรงๆ ไปว่าคุณไม่ใช่ยี่ห้อผลไม้ที่ใครจะมานั่งรอ (ถึงแม้หลายๆ คนเลิกเป็นสาวกค่ายนี้ไปแล้ว) คือคุณไม่ได้เป็นยี่ห้อที่คนมานั่งรอกันครึ่งปีหรือเป็นปีเพื่อสินค้าตัวใหม่ที่จะออก เพราะฉะนั้นก็ควรทำให้มันได้เปรียบในด้านอื่นๆ แทนมากกว่านะ

การเปลี่ยนจาก Dell Multimedia Desktop Keyboard มาเป็น Microsoft Wedge Mobile Keyboard

จากที่ลองใช้งานอยู่สักพัก สิ่งทีเจอคือ ความต่อเนื่องของการใช้งานระหว่าง Keyboard ของ Notebook กับ Keyboard ของ Desktop นั้นไม่ต่อเนื่องอย่างมาก

ความหมายคำว่า “การใช้ที่ต่อเนื่อง” ก็คือเราสามารถสลับไป-มาระหว่าง Desktop Keyboard และ Notebook Keyboard ได้โดยที่เรายังคงจะสามารถใช้ความเคยชินเดิมๆ ในการใช้งานโดยไม่สะดุดได้

แน่นอนว่าในส่วนของโซนตัวอักษรต่างๆ ที่ใช้พิมพ์ประจำไม่น่าใช่ปัญหา ทั้ง 3 ส่วนนั้นทำงานได้ดี แต่ส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาในการใช้งานและลดความต่อเนื่องของการใช้ คือส่วนของ Esc, F1-F12 และ โซน Delete/Home/End ต่างหาก ซึ่งในส่วนตรงนี้ ในปัจจุบัน ถ้าเป็น Home User คงจะมีความรู้สึกว่ามันไม่ได้ใช้ประโยชน์และลดบทบาทลงไปเรื่อยๆ แน่นอนว่า Microsoft Wedge Mobile Keyboard  ถูกออกแบบมาให้ใช้กับ Tablet มากกว่า Desktop/Notebook เพราะฉะนั้น ส่วนของ F1-F12 จะถูก swap แทนที่ด้วย shortcut function ของ Windows 8 ทั้งหมด (เพิ่ม-ลด เสียง, เรียก charm bar เรียก pane ต่างๆ ใน charm bar ออกมา) ทำให้ถ้าต้องการใช้ F1-F12 บ่อยๆ ต้องกด Fn เพื่อเรียกใช้งานแทน (ผมหา function swap กลับไม่เจอ) แต่แน่นอนว่า ถึงแม้จะ swap ได้ แต่ Esc ก็จะถูกแทนที่ด้วย function shutdown/sleep แทน Ese อีกยังไม่รวม Home, End, Pgup,Pgdn อะไรพวกนี้ที่จะโดนแทนที่ด้วย F9-F12 แทน ><”

สรุป ถ้าเอา Microsoft Wedge Keyboard มาใช้ทำงานด้าน programming นี่ท่าทางจะสอบตกอย่างรุนแรงมาก และตอนนี้ก็เอา Dell Multimedia Desktop Keyboard  มาใช้แทนตามเดิมแล้ว ไม่งั้นชีวิตการทำงานดับสูญแน่ ><”

ถ้าเอา Microsoft Wedge Keyboard มาพิมพ์งานทั่วไปและบทความมันตอบโจทย์มาก แต่ถ้าเอามาใช้งานเพื่อทำงานด้าน programming และ config พวก network นี่สอบตกอย่างรุนแรงแบบแทบจะปาทิ้งเลย ><”

WP_20130110_003

DSC_1793

DSC_1920cc

DSC_7984

วิธีคิดส่วนตัวเวลาแนะนำสินค้าให้เพื่อนๆ

อันนี้เป็นความคิดเห็นที่ได้ตอบใน Facebook ส่วนตัว แต่คิดว่าเอามา Note ไว้สักหน่อยก็ดี อาจเอาไปปรับใช้กับคนอื่นๆ ได้ดีนะ

บางครั้งจะแนะนำสินค้าอะไรให้ใครใช้ บางครั้งก็ต้องรู้จักนิสัย ความรู้เชิงเทคนิคหรือวิธีใช้สินค้าตัวเก่าๆ ของเค้าก่อนว่าเค้ามีประสบการณ์อะไรมาบ้างก่อนแนะนำ ไม่งั้นมันทำตัวเหมือน Sale ขายของ แนะนำดะ ไร้การแนะนำที่ดีเหมาะสมกับชีวิตคนของที่เรากำลังแนะนำสินค้าไปให้นะ

บางคนผมก็แนะนำ iPhone, Macbook, Galaxy S3 หรืออย่าง Galaxy Note 2 คือบางครั้งบางคนเค้ามีวิธีคิดไม่เหมือนเรา ก็แนะนำไปตามความเหมาะ แม้หลายๆ ตัวที่แนะนำไปแล้ว ส่วนตัวจะด่าๆ อยู่บ่อยๆ ว่ามันห่วย มันไม่ดียังไง แต่นั้นมันอาจจะเป็นเครื่องที่เหมาะกับเค้าก็ได้ เพราะเรื่องที่เราบอกว่าห่วย มันไม่ดี มันอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เอามาตัดสินใจในการเลือกซื้อก็ได้ เช่นเค้าอาจจะไม่ได้ใช้คุณสมบัตินั้นๆ หรือเค้ายอมรับได้ในเรื่องนั้นๆ

พอ ได้ตัวเลือกให้เค้าแล้ว ผมก็ไล่ให้ไปจับที่ร้านต่อไป เพราะตัวหนังสือในกระดาษมันแค่ภาพที่วาดไว้ให้ดูดี มันต้องไปจับที่ร้าน ไปลองเล่นว่ายอมรับได้ไหมอีกรอบ เหมือนเป็นการเช็คความพร้อมก่อนลงมือซื้อใช้อย่างจริงจัง การซื้อสินค้าใดๆ อย่าซื้อเพราะความฉาบฉวย ลองให้ มาก เล่นให้เยอะ ดูรีวิวต่างๆ สักหน่อย ยิ่งเป็นวิดีโอได้ยิ่งดี เพราะเราจะเห็นส่วนที่มันเคลื่อนไหวในการใช้งานได้สะดวกมากขึ้น ดูว่ามันใช้งานอย่างไร แล้วไปลองใช้ที่ร้านค้าใกล้ๆ บ้านลองเล่นดู ส่วนว่าจะซื้อที่ไหนมันอีกเรื่อง

บอกเล่าเรื่องราวจาก KBank Meet & Talk with Blogger เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา

อาจจะดูนานไปเสียหน่อย เพราะงานนี้จัดกันเล็กๆ 6 ธันวาคม 2555 แต่ก็เขียนสรุปไว้แล้ว แต่ว่าไม่ได้เอามาขัดเกลาให้ดี ตอนนี้ก็ได้เวลาเสียทีแล้ว

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า ทางธนาคารกสิกรไทยใช้คำว่า digital banking แทน internet banking ด้วยเหตุผลว่า บางอย่างนั้นไม่ได้ทำธุรกรรมผ่าน internet โดยตรง เช่น K-ATM, K-CDM หรือ K-Mobile Banking จึงเป็นเหมือนคำที่ใช้พูดรวมๆ ให้เข้าใจในภาพรวมเดียวกัน

ในงานวันนั้นทางผู้บริหารก็ได้กล่าวให้ข้อมูลโดยอ้างอิงจากทางธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รายงานว่ามีผู้ลงทะเบียนใช้ digital banking ทั้งหมดกว่า 8 ล้านบัญชี โดยธนาคากสิกรไทยมีฐานลูกค้าคิดเป็น 4.6 ล้านบัญชีหรือ 60% ของทั้งหมด

โดยทางผู้บริหารได้กล่าวเสริมต่ออีกว่า ตอนนี้ธนาคารกสิกรไทยมีช่องทางการทำธุรกรรมทางการเงินแบบออนไลน์คิดเป็น 50% จากทั้งหมด โดยได้พัฒนาระบบการรับชำระเงิน หรือ payment platform ที่ในขณะนี้มีส่วนแบ่งการตลาดกว่า 70% และยังมีช่องทางสำหรับเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้าผ่านทางเว็บบอร์ดอันดับ 1 ของประเทศไทยอย่าง Pantip.com และ Social Network อย่าง Facebook และ Twitter โดยช่องทาง KBank_Live นั้นมีคนกด like ใน Facebook กว่า 340,000 ราย

ในวันนั้นก็ได้มีการพูดคุยเรื่องของแคมเปญอย่าง New Possibility Happens KBank Digital Banking โดยมุ่งไปที่เรื่องราวของการทำธุรกรรมทางการเงินครบวงจรได้ตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งยังได้พูดถึงแนวโน้มของการทำธุรกรรมในโลก digital หลังจากนี้ในอีก 3 ปีว่ามี 4 เรื่องด้วยกัน นั้นคือ

  • Social Media – การเข้าถึงกลุ่มคนใน internet ที่อยู่กับในชุมชนออนไลน์ต่างๆ
  • Localized Marketing – การเข้าถึงกลุ่มคนที่เจาะจงลงไปในด้านความชอบ ความต้องการเฉพาะที่ลึกมากขึ้น รวมไปถึงความแตกต่างทางพื้นที่
  • Mobile – การเข้าถึงกลุ่มคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ตที่กำลังจะมาแทนการใช้งานคอมพิวเตอร์แบบเดิมๆ
  • Commerce – เมื่อองค์ประกอบต่างๆ ทั้ง 3 ตัวข้างต้นมาได้ครบ การซื้อขายสินค้าต่างๆ จะเข้าถึงได้ง่ายแบบทุกที่อย่างจริงจัง

สุดท้ายก็พูดถึงเรื่องของ Lifestyle Banking ที่จะเจาะกลุ่มเป้าหมายที่อยากใช้บริการของธนาคารนั้นได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่าน digital banking ที่มีอยู่ โดยคาดการณ์ว่าจะเติมโตในปี 2556 อีก 30% หรือคิดเป็นจำนวนบัญชีผู้ใช้กว่า 6.5 ล้านบัญชีให้ได้

ในตอนท้ายของงานก็ได้มีการพูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ของ digital banking อยู่พอสมควรด้วยกัน เป็นคำถามนอกรอบที่เกี่ยวกับแนวทางของการทำธุรกรรมใหม่ๆ ในอนาคตของธนาคารโดยทั่วไป

ทาง KBank ตอนนี้มีช่องทางใหม่ๆ ในการใช้งาน Digital Banking หลากหลายมาก โดยเมื่อต้นก่อนได้เปิดตัวกับ NFC กับทาง Nokia และ AIS ไปก่อนหน้านี้แล้ว แน่นอนว่าเป็นการเปิดตัวที่เน้นการเป็นผู้นำทางการตลาดเป็นหลัก แน่นอนว่าทาง KBank ต้องการทำตลาดจริงจังแม้จะยังไม่เกิดก็ตาม แต่คิดว่าในอนาคตกลุ่มคนที่ใช้ NFC จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถ้าจะให้รอให้คนใช้ในด้านอื่นๆ เยอะๆ ก่อนแล้วลงมาเล่นในตลาดนี้อาจจะไม่ทันต่อการแข่งขันได้ การทดลองตลาดไปในช่วงเริ่มต้น ทำให้เห็นมุมมอง และช่องทางใหม่ๆ ในการนำไปใช้ได้ดีและมากขึ้นด้วย

สำหรับส่วนของ Credit Card หรือ SmartCard Reader ที่ใช้ทำงานร่วมกับระบบ Smartphone นั้นตอนนี้ทาง KBank ก็มีแนวคิคที่จะพัฒนาและเปิดให้บริการกับผู้ที่สนใจเร็วๆ นี้เช่นกัน

สำหรับคำถามในด้านของช่องทางเกี่ยวกับ Digital Banking อื่นๆ ก็ได้แก่

ข้อกำหนดของรหัสผ่านนั้นทาง KBank พยายามที่จะแนะนำผู้ใช้ให้ตั้งรหัสผ่านอย่างรัดกุมและเข้าถึงได้ยาก แต่อยู่บนฐานที่สามารถจดจำได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้การเขียนรหัสผ่านบนกระดาษหรือเครื่องมืออื่นๆ ในการช่วยจดจำ โดยทาง KBank ให้ความเห็นว่า การพยายามให้มีข้อกำหนดมากมาย นั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่สุดท้ายการมีข้อกำหนดของรหัสผ่านมากมาย ทำให้รหัสผ่านนั้นๆ ไม่ได้เป็นรหัสผ่านที่เป็นความลับมากนัก กลับกลายเป็นการเขียนรหัสผ่านบนกระดาษแล้วเก็บหรือแปะไว้ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ รอเพียงผู้ไม่ประสงค์ดีนำไปใช้งานได้สะดวกมากขึ้น เพราะฉะนั้น การให้ความรู้และทำให้ผู้ใช้งานผ่าน Digital Banking ตระหนักถึงความจำเป็นในการตั้งรหัสผ่านที่รัดกุมนั้นเป็นสิ่งที่ต้องทำโดยความสมัครใจเป็นที่ตั้ง

ในด้านความปลอดภัยด้วย OTP นั้นทาง  KBank ได้เพิ่มเติมระบบในส่วนของรับชำระสินค้าและบริการลงไปแล้วหลังจากที่มีในส่วนของการโอนเงินระหว่างบัญชีและการเพิ่มบัญชีใหม่ๆ ลงในระบบ เพื่อเพิ่มความปลอดกัยมากขึ้นไปอีก

ทาง KBank ได้ตระหนักว่าในตอนนี้การโจมตีใหม่ๆ นั้นเพิ่มมากขึ้น การใช้ Phishing นั้นเริ่มเป็นที่แพร่หลาย การส่งอีเมลแจ้งลูกค้าและออกข่าวทำให้คนระมัดระวังตัวกันมากขึ้นและได้ผลดี และอาศัยการป้องกันด้วยการสังเกตจาก SSL/CA ที่มีในการตรวจสอบได้ง่าย แต่ตอนนี้การโจมตีด้วย MItB (Man In the Browser) กลับเป็นภัยใหม่ที่ป้องกันยากขึ้นกว่าเดิมมาก โดยเป็นการโจมตีแบบลักษณะคล้ายๆ Trojan horse แต่เป็นแบบฝั่งตัวคล้ายๆ Proxy คอยดักจับ ปลอมแปลง และบันทึกข้อมูลไว้อยู่บนเครื่องของเรา แล้วค่อยส่งข้อมูลไปยังเครื่องรับข้อมูลปลายทางเพื่อเก็บข้อมูลที่ดักจับได้อีกชั้นหนึ่ง โดยการโดน MItB แบบนี้แม้แต่ SSL/CA ก็อาจจะไม่มีประโยชน์ เพราะ SSL/CA จะ Valid ตลอดเวลา เพราะโดยปลอมแปลงตั้งแต่ชั้นการดึงข้อมูลเริ่มแรกแล้วนั้นเอง วิธีการป้องกันคือการติดตั้ง Software ที่มีการตรวจจับการติดต่อระหว่างเครื่องและ Web Browser ต่างๆ ปรกติจะอยู่ในชุด Software Internet Security และ AntiVirus สมัยใหม่ที่ทำงามร่วมกันระหว่าง Web Browser จะช่วยป้องกันได้ดีขึ้น

จากทั้งหมดในงาน Meeting นี้ส่วนใหญ่เป็นการพูดคุยในเชิงของการใช้งาน Digital Banking เป็นหลัก ทั้งในด้านการใช้งานทั่วไปและด้านความปลอดภัยในการใช้งานเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในอนาคตคงมีแนวทางในการเข้าถึงบริการและความปอดภัยในการใช้งานด้าน Digital Banking ที่ปลอดภัย รัดกุมมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้ผู้ใช้งานตกเป็นเหยื่อผู้ไม่ประสงค์ดี

แน่นอนว่าต่อให้พัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยมากมายแค่ไหนในฝั่งผู้ให้บริการ แต่ถ้าผู้ใช้งานยังคงไม่ตระหนักในเรื่องนี้ก็ยากที่จะทำให้ตัวเองปลอดภัยต่อการถูกฉ้อโกง รวมไปถึงการขโมยเงินผ่านระบบ Digital Banking ออกไปจากบัญชีของเราแน่นอน

สุดท้ายในด้านการสนับสนุนและบริการลูกค้าผ่านทางช่องทาง @KBank_Live และ facebook.com/KBankLive นั้นจะเป็นทีม Social Network เฉพาะของทางฝั่ง Marketing เอง สำหรับงานด้านการสนับสนุนและบริการลูกค้าผ่านช่องทางใน Pantip.com นั้นจะเป็นทีมอีกทีมหนึ่งที่เป็นส่วนของ Call Center ซึ่งอยู่กันคนละทีมกัน

WP_20121206_005

WP_20121206_013 WP_20121206_011