Core Duo แตกต่างกับ Core 2 Duo อย่างไร

เรื่องนี้คงเอาคราว ๆ พอ ไม่ได้ลึกมากมาย แต่ถ้าใครอยากได้ลึกถึงรายละเอียดกว่าที่ผมเขียน ก็เข้าไปอ่านตามลิงส์ที่ผมทำไว้เพื่อเพิ่มรายละเอียดได้ครับ

ใครที่ไม่ทราบเรื่อง Hardware ใน Computer มากนักแนะนำให้หาข้อมูลเพิ่มตาม ลิงส์ที่มีอยู่นะครับ 

ข้อแตกต่างของคำว่า Solo กับ Duo ก็คือ Solo เป็น CPU แบบ Single Core และ Duo เป็น CPU แบบ Dual Core โดยถ้าใน Intel Core 2 Solo จะไม่มีคุณสมบัติ Intel Advanced Smart Cache (การแชร์ L2 cache เพื่อใช้งานร่วมกันของ Core CPU ใน Multi-core CPU) ส่วนนอกนั้นมันก็เหมือน ๆ กัน [Core Solo and Core Duo]

Core 2 Duo เป็น Hybrid CPU ระหว่าง 32bit และ 64bit CPU มันคงไม่เพียว ๆ แบบ Itanium เพราะ Core 2 Duo มันเป็นทั้ง x86 (32bit เดิม) และ x86-64 (EM64T) โดย Core 2 Duo ที่ใส่ใน Notebook มี codename ว่า Merom เป็นใช้สถาปัตยกรรมแบบ Intel Core microarchitecture โดยผลิตแบบ Dual Core และเทคโนโลยีแบบ 65 nm, เพิ่ม Supplemental Streaming SIMD Extension 3 (SSSE3) เข้ามาในชุดคำสั่งบน CPU ด้วย โดยเพิ่มขึ้นมาอีก 16 ชุดคำสั่ง และยังได้เพิ่ม Intel Advanced Smart Cache เพื่อเข้ามาช่วยจัดการข้อมูลใน L2 Cache ที่แชร์การใช้งานกันอยู่ และมีอย่างอื่นอีกเช่น Intel Wide Dynamic Execution, Intel Intelligent Power Capability, Intel Smart Memory Access และ Intel Advanced Digital Media Boost เป็นต้น ส่วนอื่น ๆ อ่านที่ Intel : Inside Intel Core™ Microarchitecture Setting New Standards for Energy-Efficient Performance ครับ

ส่วน Core Duo ที่มี codename ว่า Yonah ใช้ Pentium M microarchitecture แต่ดันใช้ชื่อ Intel Core ให้สับสนกันเล่น ๆ ซะงั้นอ่ะ ซึ่งเป็นการ Rebranding ตัว Pentuim M ใหม่ และให้มีความเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยนั้นก็คือเปลี่ยนการผลิตจาก 90nm ใน codename Dothan มาเป็น 65nm และเพิ่ม SSE3 ลงไปใน CPU codename ดังกล่าว แถมด้วยเพิ่ม L2 Cache บ้างในบางรุ่น (ส่วนใหญ่จะรุ่นสูง ๆ ) ซึ่ง L2 Cache ที่อยู่ในรุ่น Core Duo นั้นไม่ได้ใช้ Intel Advanced Smart Cache ซึ่งทำให้ L2 Cache นั้นถูกแยกออกมาใช้ในแต่ละ Core Processor ทำให้เกิดการดึงข้อมูลซ้ำซ้อนกันได้ ซึ่งก็ต้องถูกแก้ปัญหานี้โดยใช้ Intel Advanced Smart Cache ในสถาปัตยกรรมแบบ Intel Core microarchitecture นั้นเอง ซึ่งเจ้า Core Duo นั้นก็ยังคงมีความเป็น Pentium M microarchitecture มากกว่า Intel Core microarchitecture อยู่ดี

โดยสรุปได้ย่อ ๆ ว่าสิ่งที่แยกระหว่าง Pentium M microarchitecture และ Intel Core microarchitecture คือ EM64TSSSE3 , Intel Advanced Smart Cache, Intel Wide Dynamic Execution, Intel Intelligent Power Capability, Intel Smart Memory Access และ Intel Advanced Digital Media Boost เป็นต้น

รายละเอียดความแตกต่างของทั้ง Intel Core Solo/Duo และ Intel Core 2 Solo/Duo มีดังนี้

Core Solo/Duo

  • Support CPU Speeds: 1.06 GHz – 2.33 GHz
  • Support FSB Speeds: QDR FSB 133Mhz – 166MHz  ~ FSB 533Mhz – 667Mhz
  • Implementation Mobile
    478pins µFCPGA – Socket M (Socket479)
    479balls µFCBGA – Soldered on mainboard
  • Instruction set Yonah: RISC – IA32 – XD – MMX – SSE – SSE2 – SSE3
  • Cache : L1 64KB, L2 2MB (Independent L2 Cache)

Core 2 Solo/Duo

  • Support CPU Speeds: 1.60 GHz – 2.93 GHz
  • Implementation Desktop
    775lands FC-LGA4 – Socket775
  • Implementation Server (Xeon Brand)
    775lands FC-LGA4 – Socket775 (Uniprocessor Socket775)
    – 771lands FC-LGA4 – SocketJ (LGA771, Dualprocessor Socket J และ Multiprocessor Socket J)
  • Implementation Mobile
    478pins µFCPGA – Socket M (Socket479)
    479balls µFCBGA – Soldered on mainboard
  • Support FSB Speeds: QDR FSB 133Mhz – 166MHz  ~ FSB 533Mhz – 800Mhz
  • Instruction set Merom: RISC – IA32 – EM64T – XD – MMX – SSE – SSE2 – SSE3 – SSSE3
  • Cache : L1 64KB, L2 2MB – 4MB (Intel Advanced Smart Cache, Maximum 8MB in Xeon Brand)
  • New Technology, Intel Advanced Smart Cache, Intel Wide Dynamic Execution, Intel Intelligent Power Capability, Intel Smart Memory Access และ Intel Advanced Digital Media Boost เป็นต้น

อ้างอิงจาก

กลุ่มผู้ดูแลระบบแห่งประเทศไทย เชิญชวนร่วมงาน Training และ Meeting ครับ

พอดีว่าได้รับอีเมลงานนี้มานานมากแล้ว แต่พอดีว่าไม่แน่ใจว่าวันดังกล่าวจะมีเวลาว่างไปหรือไม่ แต่ทุกอย่างลงตัว เลยได้ไปแล้วปีนี้

วันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2549 นี้ ขอเชิญชาวไทยแอดมินและเพื่อนบ้านร่วมงาน อบรมและพบปะสังสรรค์ประจำปี Thaiadmin Training Network Troubleshooting #1 และ Thaiadmin Meeting End Season Party #5 (งาน Thaiadmin Meeting ครั้งที่ 5) รายละเอียดต่าง ๆ ของ งาน Training ในภาคกลางวัน และ งาน Meeting ในภาคกลางคืน รบกวนช่วย ลงทะเบียน ก่อนก็ดีครับ รายนามแขกคร่าว ๆ และฝาก ประชาสัมพันธ์งาน ด้วยครับ

โดยหลังจากที่ผมเป็น Staff ใน Thaiadmin มานานมาก แต่ไม่ได้มีส่วนร่วมใน Meeting เลย ในปีนี้เลยได้มีเวลาไปเสียที ไว้เจอกันในวันนั้นครับ ;)

งามหน้าไหมเนี่ย

จาก รมว. ICT คนใหม่กับวิสัยทัศน์ต่อโอเพ่นซอร์ส ทำให้เกิดกระแสต่าง ๆ ด้านลบอย่างมากในตัว รมว. ในรัฐบาลชุดเฉพาะกิจชุดนี้ แม้จะเป็นรัฐบาลที่มาทำงานเพียงแค่ 1 ปี (หวังไว้อย่างนั้น) แต่การที่ท่านออกมาแสดงวิสัยทัศน์ที่หักดิบ และรุนแรงมากต่อกระแสการพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ออกแนวพูดไม่คิด (และคาดว่าคงไม่ได้คิดอีกหลายอย่างแน่ ๆ ) ข่าวนั้นเร็วมากจนถึงขนาดเข้าเว็บ Digg และ Slashdot ตามไปอ่านได้

ข่าวต้นเรื่อง – U-TURN AT ICT MINISTRY
Digg – Open-Source condemned by Thai Minister
Slashdot –  Thai IT Minister Slams Open Source

คราวนี้หล่ะ ซวยหล่ะท่าน เตรียมตัวแก้ตัวกันไป -_-‘

แต่ที่แน่ ๆ เว็บ Digg กับ Slashdot จะโดน favicon.ico หรือเปล่าหว่า T_T ถ้าพรุ่งนี้เข้าไม่ได้ก็ทำใจได้เลยนะท่าน ๆ ทั้งหลาย

Update[1] จดหมายเปิดผนึก ถึง รมว. กระทรวง ICT


Update[2]

ด้วยเหตุนี้ทำให้มีการแสดงความคิดเห็นในที่ต่าง ๆ มากมาย โดยในแต่ละเว็บที่ได้กล่าวมานั้นมีนำหนักของเนื้อหาขนาดไหน จะอธิบายเพิ่มเติมดังนี้

เว็บ Digg เป็นเว็บ social bookmarking และ blog bookmarking ที่ใหญ่มาก และมีข่าวที่เร็วกว่า Google News มาก (จากผลการวิจัยของสำนักข่าวแห่งหนึ่ง)

เว็บ Slashdot ( หรือสั้นว่า /. )เว็บรวมข่าวสารต่าง ๆ ที่มี Technology Geek ต่าง ๆ มากมาย มาร่วมกันแชร์ความรู้และแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดกว้าง ซึ่งน่าจะใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว

ส่วน Blognone เว็บรวม Technology Geek ที่ใหญ่ที่สุดในไทย (ณ.ตอนนี้คงถือว่าใหญ่มาก) โดยผู้ ร่าง "จดหมายเปิดผนึก ถึง รมว. กระทรวง ICT" คือคุณ thep ก็เป็นหนึ่งในผู้ผลักดัน OpenSource ในไทย และอยู่ในทีมพัฒนาระบบภาษาไทยใน linux ด้วย

ส่วนตอนนี้เว็บ Exteen เว็บ Blog Provider ที่ใหญ่ที่สุดในไทย ก็มีการแสดงความคิดเห็นใน Blog อย่างกว้างขวางมาก

นี่ยังไม่รวม IT Geek อื่น ๆ ในไทยอีกหลายเว็บ ที่เริ่มเอาข่าวนี้ไปเผยแพร่กันแล้ว ซึ่งรวมไปถึงเว็บบอร์ดที่ใหญ่ที่สุดในไทยอย่าง Pantip.com ที่มีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างมากมายในหลาย ๆ ห้อง

โดยวิสัยทัศน์นี้ทำให้มีผลกระทบต่อสังคม OpenSource ในไทยอย่างมาก

คงต้องรอดูกันต่อไป ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น

กำลังบ้า Ruby on Rails ภาค MVC

เพิ่งแก้ Blog จากการใช้ Category มาเป็น Tag แทนด้วยเหตุผลที่ว่ามันทำให้การค้นหาและจัดหมู่นั้นทำได้ง่ายกว่ามาก ซึ่งช่วงนี้กำลังหาสิ่งใหม่ ๆ เข้าตัว เริ่มด้วยการศึกษาหลักการ Design Pattern ต่าง ๆ ของ GoF และ Model-view-controller (MVC) ที่เป็น Design Pattern อีกแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก โดยตัวที่เอาประกอบการศึกษาก็คือ Ruby on Rails (RoR) ซึ่งเป็นการใช้ภาษา Ruby มาเป็นภาษาในการพัฒนาและทำเป็น Framework ที่ชื่อว่า Rails นั้นเอง โดยรวมยังไปไม่ถึงไหน แต่ที่แน่ ๆ การพัฒนาทำได้รวดเร็วและง่ายมาก ๆ แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องเข้าใจคือ MVC เสียก่อน เพราะไม่งั้นพัฒนาไปแล้ว งง แน่ ๆ

Model-view-controller (MVC) เป็นการแยกการพัฒนา Software ออกมาเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ  (หรือบางคนเรียกกว่า 3 Layer) ซึ่งได้แก่ Model, View และ Controller

  • Model เป็นการตัดสินใจ (Domain logic) ในการเข้าถึงและใช้งานข้อมูล (Raw data) ซึ่งเป็นไปตามกฎที่ตั้งไว้ (Business Rule) 
  • View เป็นส่วนของการนำข้อมูลที่ได้จาก Model มาแสดงผลให้ผู้ใช้ได้ทราบข้อมูลผ่านทางส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน (User Interface,UI)
  • Controller เป็นส่วนที่ตอบรับและโต้ตอบการทำงานของผู้ใช้ (Event และ Responds) โดยจะเป็นตัวกระตุ้นให้ Model และ View ทำงานไปในทิศทางเดียวกัน

ขั้นตอนการทำงานของ MVC แบบคราว ๆ

เหตุการณ์สมมติ "นักเรียนต้องการส่งคำตอบในการทำข้อสอบให้กับครูผู้สอน" การทำงานแบบ MVC จะมีลักษณะดังนี้

  1. เมื่อนักเรียนกดปุ่ม Submit เพื่อส่งข้อสอบ ซึ่งอยู่ที่ View จะส่งคำร้องนี้ไปยัง Controller (1) จะทำการรับการโต้ตอบจากปุ่ม Submit และสร้าง handler หรือ callback ขึ้นมา เพื่อใช้ติดต่อระหว่าง Layer
  2. Controller ทำการเลือก Model ที่ตรงกับข้อมูลของผู้ใช้ที่ส่งข้อมูลเข้ามา (2) แล้ว Model ทำการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลตามกฎที่ตั้งไว้ (Business Rules) ถ้ามีข้อผิดพลาดจะส่งคำร้องไปยัง View (5) ให้ทำการสร้างหน้าแจ้งข้อผิดพลาดออกมาและจบการทำงานทันที แต่ถ้าไม่มีข้อผิดพลาดจะใส่ข้อมูลนั้นลงฐานข้อมูล โดยที่ Model จะเป็นคนจัดการข้อมูลในฐานข้อมูลเองทั้งหมด (3) แล้ว Controller จะบอกให้ View (4) จะทำการสร้างส่วนติดต่อกับผู้ใช้ใหม่ขึ้นมาโดยไปดึงผลคะแนนที่ได้มาจาก Model (5) ออกมาแสดงที่ส่วนติดต่อผู้ใช้งาน (User Interface,UI)
  3. และการทำงานจะเป็นแบบไหนไปเรื่อย ๆ จนกว่าโปรแกรมจะจบการทำงาน

จากตัวอย่างด้านบนคงจะพอเห็นภาพแล้วว่าการติดต่อระหว่าง Model, View และ Controller แล้ว เมื่อเราสามารถแยกการทำงานของโปรแกรมของเราได้ในรูปแบบนี้ จะทำให้การดูแลและแก้ไขระบบเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และลดความซับซ้อนในการสร้างลงไปมาเลยทีเดียว

ซึ่งในการเขียน RoR นั้นก็ใช้หลักการแบบนี้เช่นกัน และตัว Framework เองนั้นออกแบบมาให้มีความสามาถในการสร้างงานที่สูงมาก (High Productivity) กล่าวคือเราไม่จำเป็นต้องออกแบบฟอร์มเองทั้งหมด แต่ตัว Framework จะออกแบบมาให้แล้ว และเรามาปรับแต่งฟอร์มทีหลัง โดยตัวฟอร์มจะมีความสอดคล้องกับข้อมูลที่ออกแบบใน Database มากที่สุด แถมด้วยระบบตรวจสอบข้อมูลในฟอร์มแบบซึ่งสามารถปรับแต่งแก้ไขได้ง่ายมาก ๆ

สำหรับตอนนี้ก็คงต้องกลับไปนั่งเล่นกับมันก่อน เดี่ยวมาเล่าต่อครับ ;)