มาดูกันว่า CPU execution time ของ Colocation Server, Virtual Private Server และ Cloud Virtual Machines มา benchmark กันจะเป็นอย่างไร

เอา Server ที่ใช้งานเอามาเทียบกันทั้งหมด 5 ตัวคือ

  • Dell PowerEdge 1425 – Intel Xeon 3.0 GHz Processor (64 Bit)
    ตัวนี้อายุเกือบๆ 6 ปีแล้ว แต่ยังทำงานได้ดีอยู่
  • Windows Azure Virtual Machines (VM) Extra Small (XS/S) – Virtual CPU 1Ghz Processor x 1 cores
    ตัวที่ให้บริการ blog นี้อยู่
  • VPS – Intel Virtual CPU 2.4Ghz x 2 cores
    เช่ามาใช้งานเฉพาะด้าน
  • Dell PowerEdge R410 – Intel Xeon E5620 2.40GHz Processor x 4 cores
    อายุใช้งานยังไม่ถึง 1 ปีดี
  • Dell PowerEdge R210 Server – Intel Xeon X3450 2.66Ghz Processor x 4 cores
    อายุใช้งานยังไม่ถึง 1 ปีดี

ตัวซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการ benchmark คือ sysbench

คำสั่งที่ใช้คือ

sysbench --test=cpu --cpu-max-prime=20000 run

การรัน benchmark ใช้การทำงานเพียง 1 Thread เท่านั้น เพื่อทดสอบ process เพียงหน่วยประมวลผลเดียว เพื่อลดความได้เปรียบเสียเปรียบจาก CPU Core แต่เมื่อมี Core ของ CPU ที่มากก็สามารถรับโหลดได้เยอะขึ้นสำหรับซอฟต์แวร์ที่ทำงานแบบขนานได้

ผลการรันชุดคำสั่งทดสอบเป็นดังนี้

Server Info/CPU execution time
Dell PowerEdge 1425
– Intel Xeon 3.0 GHz Processor (64 Bit)
78.9891s
Windows Azure
Virtual Machines (VM) Extra Small (XS/S)
AMD Opteron Processor 4171 HE 2.1GHz
– Virtual CPU 1Ghz Processor x 1 cores
–  Shared Core
Virtual Machines (VM) Small (S)
– Virtual CPU 1Ghz Processor x 1 cores
– Reserved Core
45.9640s
(Shared Core – XS)

45.7989s
(Reserved Core – S)

VPS
– Intel Virtual CPU 2.4Ghz x 2 cores
36.1133s
Dell PowerEdge R410
– Intel Xeon E5620 2.40GHz Processor x 4 cores
27.3706s
Dell PowerEdge R210 Server
– Intel Xeon X3450 2.66Ghz Processor x 4 cores
24.5454s

* ตัวเลข execution time ยิ่งน้อยยิ่งเร็ว

จะเห็นได้ว่าความเร็วของการประมวลผลบน Windows Azure นั้นทำออกมาได้ดีกว่า Server เดี่ยวๆ เมื่อหลายปีก่อนพอสมควรเลย ลองตัดสินเอาเองว่าเราต้องการความเร็วในการประมวลผลเยอะเพียงใด และซอฟต์แวร์ที่ใช้เน้นการประมวลผลแบบขนานหรือไม่ ถ้าใช้การประมวลผลแบบขนาน เราสามารถเพิ่ม CPU Core บน VM ได้เรื่อยๆ ตามความต้องการเลยทีเดียว

ผลการทดสอบแบบละเอียด

Dell PowerEdge 1425
Intel Xeon Processor 3.0 GHz (64 Bit) x 1 cores

Maximum prime number checked in CPU test: 20000
Test execution summary:
total time:                          78.9891s
total number of events:              10000
total time taken by event execution: 78.9686
per-request statistics:
min:                                  5.72ms
avg:                                  7.90ms
max:                                 50.48ms
approx.  95 percentile:              14.34ms
Threads fairness:
events (avg/stddev):           10000.0000/0.00
execution time (avg/stddev):   78.9686/0.00

Windows Azure Virtual Machines (VM) Extra Small (XS/S)
AMD Opteron(tm) Processor 4171 HE 2.1GHz
Virtual CPU 1Ghz x 1 cores

Shared Core – XS
Maximum prime number checked in CPU test: 20000
Test execution summary:
total time:                          45.9640s
total number of events:              10000
total time taken by event execution: 45.9519
per-request statistics:
min:                                  4.42ms
avg:                                  4.60ms
max:                                 24.06ms
approx.  95 percentile:               4.68ms
Threads fairness:
events (avg/stddev):           10000.0000/0.00
execution time (avg/stddev):   45.9519/0.00

Reserved Core – S
Maximum prime number checked in CPU test: 20000
Test execution summary:
total time:                          45.7989s
total number of events:              10000
total time taken by event execution: 45.7871
per-request statistics:
min:                                  4.23ms
avg:                                  4.58ms
max:                                 21.47ms
approx.  95 percentile:               4.72ms
Threads fairness:
events (avg/stddev):           10000.0000/0.00
execution time (avg/stddev):   45.7871/0.00

 

My Private Client VPS
CPU Intel Virtual CPU 2.4Ghz x 2 cores

Maximum prime number checked in CPU test: 20000
Test execution summary:
total time:                          36.1133s
total number of events:              10000
total time taken by event execution: 36.1074
per-request statistics:
min:                                  3.00ms
avg:                                  3.61ms
max:                                 16.57ms
approx.  95 percentile:               4.22ms
Threads fairness:
events (avg/stddev):           10000.0000/0.00
execution time (avg/stddev):   36.1074/0.00

Dell PowerEdge R410
Intel(R) Xeon(R) E5620 2.40GHz

Maximum prime number checked in CPU test: 20000
Test execution summary:
total time:                          27.3706s
total number of events:              10000
total time taken by event execution: 27.3697
per-request statistics:
min:                                  2.69ms
avg:                                  2.74ms
max:                                  5.32ms
approx.  95 percentile:               2.77ms
Threads fairness:
events (avg/stddev):           10000.0000/0.00
execution time (avg/stddev):   27.3697/0.00

Dell PowerEdge R210 Server
Intel Xeon X3450 Processor

Maximum prime number checked in CPU test: 20000
Test execution summary:
total time:                          24.5454s
total number of events:              10000
total time taken by event execution: 24.5444
per-request statistics:
min:                                  2.45ms
avg:                                  2.45ms
max:                                  3.64ms
approx.  95 percentile:               2.45ms
Threads fairness:
events (avg/stddev):           10000.0000/0.00
execution time (avg/stddev):   24.5444/0.00

Core Duo แตกต่างกับ Core 2 Duo อย่างไร

เรื่องนี้คงเอาคราว ๆ พอ ไม่ได้ลึกมากมาย แต่ถ้าใครอยากได้ลึกถึงรายละเอียดกว่าที่ผมเขียน ก็เข้าไปอ่านตามลิงส์ที่ผมทำไว้เพื่อเพิ่มรายละเอียดได้ครับ

ใครที่ไม่ทราบเรื่อง Hardware ใน Computer มากนักแนะนำให้หาข้อมูลเพิ่มตาม ลิงส์ที่มีอยู่นะครับ 

ข้อแตกต่างของคำว่า Solo กับ Duo ก็คือ Solo เป็น CPU แบบ Single Core และ Duo เป็น CPU แบบ Dual Core โดยถ้าใน Intel Core 2 Solo จะไม่มีคุณสมบัติ Intel Advanced Smart Cache (การแชร์ L2 cache เพื่อใช้งานร่วมกันของ Core CPU ใน Multi-core CPU) ส่วนนอกนั้นมันก็เหมือน ๆ กัน [Core Solo and Core Duo]

Core 2 Duo เป็น Hybrid CPU ระหว่าง 32bit และ 64bit CPU มันคงไม่เพียว ๆ แบบ Itanium เพราะ Core 2 Duo มันเป็นทั้ง x86 (32bit เดิม) และ x86-64 (EM64T) โดย Core 2 Duo ที่ใส่ใน Notebook มี codename ว่า Merom เป็นใช้สถาปัตยกรรมแบบ Intel Core microarchitecture โดยผลิตแบบ Dual Core และเทคโนโลยีแบบ 65 nm, เพิ่ม Supplemental Streaming SIMD Extension 3 (SSSE3) เข้ามาในชุดคำสั่งบน CPU ด้วย โดยเพิ่มขึ้นมาอีก 16 ชุดคำสั่ง และยังได้เพิ่ม Intel Advanced Smart Cache เพื่อเข้ามาช่วยจัดการข้อมูลใน L2 Cache ที่แชร์การใช้งานกันอยู่ และมีอย่างอื่นอีกเช่น Intel Wide Dynamic Execution, Intel Intelligent Power Capability, Intel Smart Memory Access และ Intel Advanced Digital Media Boost เป็นต้น ส่วนอื่น ๆ อ่านที่ Intel : Inside Intel Core™ Microarchitecture Setting New Standards for Energy-Efficient Performance ครับ

ส่วน Core Duo ที่มี codename ว่า Yonah ใช้ Pentium M microarchitecture แต่ดันใช้ชื่อ Intel Core ให้สับสนกันเล่น ๆ ซะงั้นอ่ะ ซึ่งเป็นการ Rebranding ตัว Pentuim M ใหม่ และให้มีความเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยนั้นก็คือเปลี่ยนการผลิตจาก 90nm ใน codename Dothan มาเป็น 65nm และเพิ่ม SSE3 ลงไปใน CPU codename ดังกล่าว แถมด้วยเพิ่ม L2 Cache บ้างในบางรุ่น (ส่วนใหญ่จะรุ่นสูง ๆ ) ซึ่ง L2 Cache ที่อยู่ในรุ่น Core Duo นั้นไม่ได้ใช้ Intel Advanced Smart Cache ซึ่งทำให้ L2 Cache นั้นถูกแยกออกมาใช้ในแต่ละ Core Processor ทำให้เกิดการดึงข้อมูลซ้ำซ้อนกันได้ ซึ่งก็ต้องถูกแก้ปัญหานี้โดยใช้ Intel Advanced Smart Cache ในสถาปัตยกรรมแบบ Intel Core microarchitecture นั้นเอง ซึ่งเจ้า Core Duo นั้นก็ยังคงมีความเป็น Pentium M microarchitecture มากกว่า Intel Core microarchitecture อยู่ดี

โดยสรุปได้ย่อ ๆ ว่าสิ่งที่แยกระหว่าง Pentium M microarchitecture และ Intel Core microarchitecture คือ EM64TSSSE3 , Intel Advanced Smart Cache, Intel Wide Dynamic Execution, Intel Intelligent Power Capability, Intel Smart Memory Access และ Intel Advanced Digital Media Boost เป็นต้น

รายละเอียดความแตกต่างของทั้ง Intel Core Solo/Duo และ Intel Core 2 Solo/Duo มีดังนี้

Core Solo/Duo

  • Support CPU Speeds: 1.06 GHz – 2.33 GHz
  • Support FSB Speeds: QDR FSB 133Mhz – 166MHz  ~ FSB 533Mhz – 667Mhz
  • Implementation Mobile
    478pins µFCPGA – Socket M (Socket479)
    479balls µFCBGA – Soldered on mainboard
  • Instruction set Yonah: RISC – IA32 – XD – MMX – SSE – SSE2 – SSE3
  • Cache : L1 64KB, L2 2MB (Independent L2 Cache)

Core 2 Solo/Duo

  • Support CPU Speeds: 1.60 GHz – 2.93 GHz
  • Implementation Desktop
    775lands FC-LGA4 – Socket775
  • Implementation Server (Xeon Brand)
    775lands FC-LGA4 – Socket775 (Uniprocessor Socket775)
    – 771lands FC-LGA4 – SocketJ (LGA771, Dualprocessor Socket J และ Multiprocessor Socket J)
  • Implementation Mobile
    478pins µFCPGA – Socket M (Socket479)
    479balls µFCBGA – Soldered on mainboard
  • Support FSB Speeds: QDR FSB 133Mhz – 166MHz  ~ FSB 533Mhz – 800Mhz
  • Instruction set Merom: RISC – IA32 – EM64T – XD – MMX – SSE – SSE2 – SSE3 – SSSE3
  • Cache : L1 64KB, L2 2MB – 4MB (Intel Advanced Smart Cache, Maximum 8MB in Xeon Brand)
  • New Technology, Intel Advanced Smart Cache, Intel Wide Dynamic Execution, Intel Intelligent Power Capability, Intel Smart Memory Access และ Intel Advanced Digital Media Boost เป็นต้น

อ้างอิงจาก

ทำไมนะ Apple ถึงไม่ใช้ AMD ?

จากที่ได้อ่านเรื่อง Intel isn’t the only game in town “Why Not AMD ?” ในหนังสือ Mac World ฉบับมกราคม 2005 เมื่อกี้นี้ ได้อ่านบทวิเคราะห์ในเรื่องของการที่ Apple ไม่ใช้ Chip CPU Intel ว่า

“Jobs has a clear goal in mind: innovative design. And such designs require ultralow-voltage chips, which IBM and Freescale weren’t going to make with the PwerPC ship core and which AMD has not yet perfected”

แปลประมาณว่า jobs เนี้ยต้องการ Chip ที่ Design ในลักษณะ ultralow-voltage ซึ่ง IBM เองนั้นไม่สามารถทำให้ได้ และ AMD ก็ยังไม่สมบูรณ์แบบพอ

และยังต่ออีกว่า “นี่เป็นความเหมาะสมในทางปฎิบัติ ซึ่งต้องทำอย่างจิงจัง โดยการตัดสินใจของ Jobs เอง”

โดยในงาน IDC (Intel Developer Con.) นั้นทาง Intel ได้บ่งบอกถึงสายการผลิตที่สมบูรณ์ของ chip ที่ใช้พลังงานต่ำ (low-power) ที่ใช้ในตลาด mobile และ computer ขนาดเล็ก

Jobs นั้น ก็ชอบ AMD ในเรื่องของการใส่คุณสมบัติต่างๆ มากมาย ใน road map แต่ว่า นั้นก็ทำให้เกิดปัญหาที่มองข้ามไม่ได้คือ “ทุกๆ อย่างที่อยู่ใน road map ต้องเป็นไปได้ทั้งหมด” และในอนาคตอันใกล้นี้ AMD ก็ยังไม่สามารถออก low-voltage และ ultralow-voltage processors ได้แน่นอน ซึ่ง AMD ยังต้องพัฒนา chip ที่ทำงานได้ในสถาพการใช้พลังงานที่ต่ำแบบเดียวกับ Pentium M และรวมไปถึงการที่สามารถขายในราคาที่ยอมรับได้ด้วย และต้องมีทรัพยากรที่เพียงพอต่อการรับ load การผลิตที่สูงๆ ได้ตามที่ตลาดของ Apple ต้องการ

โดยตัวเลือกจาก Intel ที่ Apple ได้เลือกในตอนนี้คือ Yonah ที่เป้น low-power/dual core ship ที่เอามาใช้สำหรับ Notebook โดย Yonah นั้นจะจำหน่ายในปี 2006

“Yonah นั้นมีสิ่งที่เหมาะสมกับ Apple โดยที่ Yonah นั้นจะเป็นตัวจักรสำคัญให้กับกับ Apple notebook ได้ ซึ่ง AMD นั้นยังคงกำลังพัฒนา low-power, dual core chip ที่บาง และเล็ก เพื่อใช้ใน notebook อยู่ แถมก็ยังไม่ได้บอกว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ถึงจะสำเร็จ แต่ว่า Yonah นั้นเป็น x86 Architecture ซึ่ง Apple ต้องทำให้ softwae ที่ทำงานบน x86 Architecture ได้อย่างสมบูรณ์เสียก่อนด้วย” Kevin Krewell, editor in chief of Microprocessor Report กล่าว

ในด้าน Performance นั้น Intel และ AMD นั้น ในการต่อสู้กับในตลาดมายาวนาน ดูเหมือนจะพลัดกันแพ้ชนะมาเรื่อย และบริษัททั้งสองก็มี dual core chip ที่มีความร้อนสูงอยู่ และแถมยังไม่สามารถทำความเร็ว clock speed ได้สูงไปกว่าที่เป็นอยู่ได้มาเป็นเวลานานแล้ว

ซึ่ง Intel จะจัดการกับปัญหานี้ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2006 นี้ โดยจะเป็น low-power, dual-core chips โดยที่ Brookwook จาก Intel ยืนยันหนักแน่นว่าจะใช้พลังงานที่ต่ำกว่าเดิม และมี performance มากขึ้น แต่จะไม่ปรับ Mhz ให้สูงขึ้น

โดยที่ “Intel ได้เลิกความคิดในเรื่องของสงครามตัวเลข Mhz ไปแล้ว และมันคงเป็นสิ่งที่ Jobs ต้องการได้ยิน ซึ่ง Jobs คงไม่ต้องการได้ยินการลดความเร็ว clock speed ของ Intel มากกว่าที่ PowerPC ได้ทำไว้” Brookwook จาก Intel ได้กล่าวไว้ และทิ้งท้ายไว้ว่า “Application performance ของ Mac นั้น คงไม่ต้องการ chip ที่มีความเร็วต่ำกว่าที่ควรจะเป็น”

มันเป็นไปได้ไหมว่าว่า Apple อาจจะใช้ AMD Processor ในอนาคต หลังจากที่ Transition ไป x86 Architecture แล้ว ? นาย Brookwood ได้กล่าวว่า “สำหรับ Apple แล้วนั้น การที่จะย้ายไป AMD นั้น ทาง AMD ต้องมี low-power chip เสียก่อน ซึ่ง Intel ของเรานั้นมี สินค้าในส่วนที่ ที่มีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ อยู่แล้ว และคงเป็นการยากที่จะทำในหลายๆ เรื่อง”

แถลงไข CPU 64-bit

อะไรคือ CPU 64-bit

         ใน Computer Architecture นั้น 64-bit เป็นการขยายของการใช้ integer, floating point, memory address หรือ ชนิดข้อมูลอื่นๆ ที่ต้องการใส่ข้อมูลที่มีขนาดความกว้างของข้อมูลมากถึง 64 bit (8 octets) โดยที่รายละเอียดของ CPU และ สถาปัตยกรรม ALU บน register, address buses, หรือ data buses ต้องมีขนาดเท่านั้นด้วย

         โดยในปี 2004 ได้มี CPU 64-bit CPU เป็นพื้นฐานสำหรับตลาดระดับ Server และเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าสู่สายการผลิตหลักของตลาด Personal Desktop โดยการเข้ามาของ AMD64 (AMD), EM64T (Intel) และ PowerPC 970 (G5 จาก IBM)


ความเหมือนที่แตกต่างของ CPU 32-bit และ 64-bit

         นับแต่อดีตถึงปัจจุบันปริมาณข้อมูล ที่ใช้ในการประมวลผลต่อ 1 รอบสัญญาณนาฬิกามีจำนวนมากขึ้น อย่างไม่มีที่สิ้นสุด การเปลี่ยนแปลงจาก 16-bit ในอดีตเมื่อ 10 ปีก่อน มา 32-bit ในปัจจุบัน และกำลังก้าวเข้าสู่โลก 64-bit ได้สร้างปรากฎการณ์ใหม่ให้กับโลกคอมพิวเตอร์ได้อย่างมากมาย ทั้งในด้านจำนวนข้อมูลที่ส่งต่อในระบบภายในที่มีจำนวนมากขึ้น และความเหมือนจริงในการทำงานด้านมัลติมีเดียต่าง ๆ มากมาย ยังผลให้ ข้อมูลที่เข้าสู่กระบวนการประมวลผลนั้นมากตามไปด้วย ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องในส่วนของความเร็วในการประมวลผลแต่ประการใด เป็นเพียงเพิ่มความหนาแน่นของข้อมูลต่อชุด ในการประมวลต่อครั้งเท่านั้น

         จากที่ได้กล่าวไปแล้วนั้นว่าความแตกต่างในทั้งสอง ไม่ได้แตกต่างกันที่ความเร็ว ขยายความให้เข้าใจได้ง่ายคือ สัญญาณนาฬิกายังคงมีความเร็วเท่าเดิม แต่ความหนาแน่นของข้อมูลต่อชุดคำสั่งมีมากขึ้นนั้น เราอาศัยการเปรียบเทียบที่ memory addrees ระหว่าง 32-bit และ 64-bit โดยที่ 32-bit นั้นมี memory address ได้ 4Gbytes เท่านั้น แต่ใน 64-bit นั้น มี memory address ถึง 16 Ebytes (~17,179,869,184 Gbytes) ทำให้เกิดความได้เปรียบในด้านความเร็วในการทำงานใน software ที่ต้องการ การไหลของข้อมูลในปริมาณที่มาก ๆ เช่นการเล่นเกม, ระบบฐานข้อมูลใหญ่ ๆ , ระบบที่ต้องการความละเอียดต่อการประมวลผลมาก ๆ เช่นการ Simulate, Render, Retouch, Lenear Editing ฯลฯ แต่หากเป็น software โดยทั่วไปแล้ว แทบจะไม่เห็นความแตกต่าง แต่อย่างใด “ปัญหาของระบบ 32-bit ที่ทำให้เกิด 64-bit ขึ้นมาในปัจจุบันคือ ขนาดของหน่วยความจำหลัก (RAM Memory) มีจำกัดเกินกว่าจะยอมรับได้แล้ว”

         CPU 32-bit นั้นมีความต้องหน่วยความจำหลักได้มากสุดที่ 4Gbytes เท่านั้น แล้ว 4Gbytes มาจากไหนหล่ะ ?
คำตอบคือ 32-bit register นั้นมาจาก 2 ยกกำลัง 32 หรือมีขนาดที่ 4Gbytes ของหน่วยความจำหลัก (RAM memory) นั้นเอง

         นั้นหมายความว่า CPU 64-bit นั้นมีความต้องหน่วยความจำหลักได้มากสุดที่ …..  16 Ebytes * (~17,179,869,184 Gbytes) นั้นเอง ซึ่งมาจาก 2 ยกกำลัง 64 หรือมีขนาดที่ 16 Ebytes ของหน่วยความจำหลัก (RAM memory)
* Ebytes อ่านว่า เอ๊กซาไบต์ (Exabyte)

232    = 4,294,967,296 bytes
        =~ 4 Gbytes
264    = 18,446,744,073,709,551,616 bytes
        = ~ 16 Ebytes หรือ 17,179,869,184 Gbytes

การแปลง byte เป็นหน่วยต่าง ๆ อ่านที่นี่ครับ พื้นที่ในฮาร์ดดิสค์หายไปไหน ?? มันคือพื้นที่ผีอยู่ หรือว่ามันหายไปจริงๆ !!!


แล้วมันแตกต่างกันตรงไหนในด้านการประมวลผล ?

         การประมวลผลจริง ๆ แล้วไม่แตกต่างกันในเชิงความเร็วมากนัก ดังที่ได้กล่าวไแล้ว แต่จะแตกต่างนั้นอยู่ที่ ความหน่าแน่นของข้อมูลที่ประมวลผลต่อสัญญาณมาฬิกามีมากขึ้น ตัวอย่างเช่น

  • คุณชมภาพยนต์ในจอคอมพิวเตอร์จากแผ่น VCD (เทียบได้กับ 32-bit) และ DVD (เทียบได้กับ 64-bit) ถ้าคุณได้รับชมผ่าน VCD ในจอคอมพิวเตอร์คุณได้ภาพที่เล็ก และไม่ละเอียด เท่ากับ DVD ที่มีภาพที่ละเอียดกว่า และยังขยายขนาดของภาพให้ Full Srceen ได้โดยภาพไม่แตกเหมือน VCD
  • คุณเล่นเกม ภาพที่ได้จะมีมิติมากขึ้นกว่าเดิม แสงเงาต่าง ๆ จะสมจริงมากขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้การประมวลเร็วขึ้นแต่อย่างใด
  • ฯลฯ

         แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องขึ้นอยู่กับ Software ที่นำมาทำงานร่วมกับ CPU 64-bit ด้วยว่าสนับสนุนการทำงานนี้หรือไม่ มิเช่นนั้นก็ไม่สามารถใช้งาน CPU 64-bit ได้อย่างมีประสิทธิภาพดังที่ตั้งใจไว้          สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า 64-bit เป็นการทำให้การประมวลผลต่อครั้งมีความละเอียดมากขึ้น ไม่ใช่เร็วมากขึ้น อย่างที่ หลาย ๆ คนเข้าใจ แต่การเร่งความเร็วในการประมวลผล น่าจะเป็นในส่วนของ Dual Core CPU มากกว่า แต่การทำให้ Dual Core CPU สามารถใช้งานได้ดีและเต็มประสิทธิภาพนั้น จำเป็นอย่างมากที่ software ที่เราใช้ต้องสนับสนุนระบบ Multiprocessor ด้วยเช่นกัน