Core Duo แตกต่างกับ Core 2 Duo อย่างไร

เรื่องนี้คงเอาคราว ๆ พอ ไม่ได้ลึกมากมาย แต่ถ้าใครอยากได้ลึกถึงรายละเอียดกว่าที่ผมเขียน ก็เข้าไปอ่านตามลิงส์ที่ผมทำไว้เพื่อเพิ่มรายละเอียดได้ครับ

ใครที่ไม่ทราบเรื่อง Hardware ใน Computer มากนักแนะนำให้หาข้อมูลเพิ่มตาม ลิงส์ที่มีอยู่นะครับ 

ข้อแตกต่างของคำว่า Solo กับ Duo ก็คือ Solo เป็น CPU แบบ Single Core และ Duo เป็น CPU แบบ Dual Core โดยถ้าใน Intel Core 2 Solo จะไม่มีคุณสมบัติ Intel Advanced Smart Cache (การแชร์ L2 cache เพื่อใช้งานร่วมกันของ Core CPU ใน Multi-core CPU) ส่วนนอกนั้นมันก็เหมือน ๆ กัน [Core Solo and Core Duo]

Core 2 Duo เป็น Hybrid CPU ระหว่าง 32bit และ 64bit CPU มันคงไม่เพียว ๆ แบบ Itanium เพราะ Core 2 Duo มันเป็นทั้ง x86 (32bit เดิม) และ x86-64 (EM64T) โดย Core 2 Duo ที่ใส่ใน Notebook มี codename ว่า Merom เป็นใช้สถาปัตยกรรมแบบ Intel Core microarchitecture โดยผลิตแบบ Dual Core และเทคโนโลยีแบบ 65 nm, เพิ่ม Supplemental Streaming SIMD Extension 3 (SSSE3) เข้ามาในชุดคำสั่งบน CPU ด้วย โดยเพิ่มขึ้นมาอีก 16 ชุดคำสั่ง และยังได้เพิ่ม Intel Advanced Smart Cache เพื่อเข้ามาช่วยจัดการข้อมูลใน L2 Cache ที่แชร์การใช้งานกันอยู่ และมีอย่างอื่นอีกเช่น Intel Wide Dynamic Execution, Intel Intelligent Power Capability, Intel Smart Memory Access และ Intel Advanced Digital Media Boost เป็นต้น ส่วนอื่น ๆ อ่านที่ Intel : Inside Intel Core™ Microarchitecture Setting New Standards for Energy-Efficient Performance ครับ

ส่วน Core Duo ที่มี codename ว่า Yonah ใช้ Pentium M microarchitecture แต่ดันใช้ชื่อ Intel Core ให้สับสนกันเล่น ๆ ซะงั้นอ่ะ ซึ่งเป็นการ Rebranding ตัว Pentuim M ใหม่ และให้มีความเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยนั้นก็คือเปลี่ยนการผลิตจาก 90nm ใน codename Dothan มาเป็น 65nm และเพิ่ม SSE3 ลงไปใน CPU codename ดังกล่าว แถมด้วยเพิ่ม L2 Cache บ้างในบางรุ่น (ส่วนใหญ่จะรุ่นสูง ๆ ) ซึ่ง L2 Cache ที่อยู่ในรุ่น Core Duo นั้นไม่ได้ใช้ Intel Advanced Smart Cache ซึ่งทำให้ L2 Cache นั้นถูกแยกออกมาใช้ในแต่ละ Core Processor ทำให้เกิดการดึงข้อมูลซ้ำซ้อนกันได้ ซึ่งก็ต้องถูกแก้ปัญหานี้โดยใช้ Intel Advanced Smart Cache ในสถาปัตยกรรมแบบ Intel Core microarchitecture นั้นเอง ซึ่งเจ้า Core Duo นั้นก็ยังคงมีความเป็น Pentium M microarchitecture มากกว่า Intel Core microarchitecture อยู่ดี

โดยสรุปได้ย่อ ๆ ว่าสิ่งที่แยกระหว่าง Pentium M microarchitecture และ Intel Core microarchitecture คือ EM64TSSSE3 , Intel Advanced Smart Cache, Intel Wide Dynamic Execution, Intel Intelligent Power Capability, Intel Smart Memory Access และ Intel Advanced Digital Media Boost เป็นต้น

รายละเอียดความแตกต่างของทั้ง Intel Core Solo/Duo และ Intel Core 2 Solo/Duo มีดังนี้

Core Solo/Duo

  • Support CPU Speeds: 1.06 GHz – 2.33 GHz
  • Support FSB Speeds: QDR FSB 133Mhz – 166MHz  ~ FSB 533Mhz – 667Mhz
  • Implementation Mobile
    478pins µFCPGA – Socket M (Socket479)
    479balls µFCBGA – Soldered on mainboard
  • Instruction set Yonah: RISC – IA32 – XD – MMX – SSE – SSE2 – SSE3
  • Cache : L1 64KB, L2 2MB (Independent L2 Cache)

Core 2 Solo/Duo

  • Support CPU Speeds: 1.60 GHz – 2.93 GHz
  • Implementation Desktop
    775lands FC-LGA4 – Socket775
  • Implementation Server (Xeon Brand)
    775lands FC-LGA4 – Socket775 (Uniprocessor Socket775)
    – 771lands FC-LGA4 – SocketJ (LGA771, Dualprocessor Socket J และ Multiprocessor Socket J)
  • Implementation Mobile
    478pins µFCPGA – Socket M (Socket479)
    479balls µFCBGA – Soldered on mainboard
  • Support FSB Speeds: QDR FSB 133Mhz – 166MHz  ~ FSB 533Mhz – 800Mhz
  • Instruction set Merom: RISC – IA32 – EM64T – XD – MMX – SSE – SSE2 – SSE3 – SSSE3
  • Cache : L1 64KB, L2 2MB – 4MB (Intel Advanced Smart Cache, Maximum 8MB in Xeon Brand)
  • New Technology, Intel Advanced Smart Cache, Intel Wide Dynamic Execution, Intel Intelligent Power Capability, Intel Smart Memory Access และ Intel Advanced Digital Media Boost เป็นต้น

อ้างอิงจาก

Yonah มีอะไรน่าสนใจบ้าง ? ….. (รายละเอียดเบื้องต้น)

Intel แสดง roadmap และราคาของ Yonah ทั้งรุ่นทั่วไป และแบบ low/ultra low voltage

เรามาทำความเข้าศัพท์เล็กน้อยกันก่อน สำหรับ Single core นั้น Intel จะเรียกว่า Core Solo ส่วน ถ้าเป็น Dual Core จะเรียนกว่า Core Duo ครับ

ใน Intel road map ได้แสดงให้เห็นว่าในมกราคมปี 2006 Yonah จะออกสู่สายการผลิต ซึ่งเป็น core แบบ 65nm, แต่ยังคงทำงานบน 32bit architecture และมีทุกๆ รุ่นมี L2 Cache ที่ 2MB และมี FSB (Front Side Bus) ที่ 667Mhz สำหรับรุ่นทั่วไปและ low voltage ส่วน ultra low voltage จะมี FSB ที่ 553Mhz ซึ่ง Yonah ที่จะออกทั้งปีนี้มีดังนี้ครับ

ที่ 667MHz FSB รุ่นทั่วไป จะมี
* T1700 (x60) คือความเร็ว 2.33GHz (dual core) ออกไตรมาศที่ 2 ของปี 06
* T1600 (x50) คือความเร็ว 2.16GHz (dual core) ออกมกราคมปี 06
* T1500 (x40) คือความเร็ว 2.00GHz (dual core) ออกมกราคมปี 06
* T1400 (x30) คือความเร็ว 1.83GHz (dual core) ออกมกราคมปี 06
* T1300 (x20) คือความเร็ว 1.66GHz (dual core) ออกมกราคมปี 06
* 766 คือความเร็ว 1.83GHz (single core) ออกไตรมาศที่ 2 ของปี 06
* 756 คือความเร็ว 1.66GHz (single core) ออกมกราคมปี 06

ที่ 667MHz FSB รุ่น low voltage จะมี
* L1500 (x58) คือความเร็ว 1.83GHz (dual core) ออกไตรมาศที่ 2 ของปี 06
* L1400 (x48) คือความเร็ว 1.66GHz (dual core) ออกมกราคมปี 06
* L1300 (x38) คือความเร็ว 1.50GHz (dual core) ออกมกราคมปี 06

ที่ 533MHz FSB รุ่น ultra low voltage จะมี
* U1500 คือความเร็ว 1.06GHz (dual core) ออกไตรมาศที่ 2 ของปี 06
* 1200 คือความเร็ว 1.2GHz (single core) ออกปลายปี 06
* 1100 คือความเร็ว 1.06GHz (single core) ออกปลายปี 06

โดยจะมาใน Platform ที่เป็น code name ว่า Napa ซึ่งเป็น code name ของ centrino ใหม่ของ Intel ที่จะมาแทน Sonoma

ซึ่งจากแหล่งข่าว และคำกล่าวของ Intel ให้บอกไว้ว่า Yonah นั้นจะมี Performance per Watt ที่สูงกว่า P4 รุ่น D พอสมควร ในสัญญาณนาฬิกาเดียวกัน

ส่วนปลายปี เราจะได้เจอกับ mobile dual core ที่ทำงานบน 64bit architecture ที่ชื่อว่า Merom Processor โดยข้อมูลคราวๆ มีดังนี้
– core แบบ 65nm
– dual core (มันแน่นอนอยู่แล้ว)
– EM64T (ชื่อเรียก CPU 64bit ของ Intel)
– FSB 667Mhz
– L2 Cache ขนาด 4Mb ( ^O^ โอ้วว เยอะจริงๆ )

โดยจะมาใน Platform ที่เป็น code name ว่า Conroe ซึ่งเป็น code name ของ centrino ใหม่ของ Intel ที่จะมาแทน Napa

ซึ่งตอนนี้ notebook ตัวแรกที่ประกาศใช้ Yonah และเดินสายการผลิต เป็นยี่ห้อ NEC ไปแล้วครับ และจะเปิดจำหน่ายในเดือนนี้เช่นกัน ไม่รู้ว่า Apple จะทำยังไงต่อไป

อ้างอิงจาก
http://www.neoseeker.com/news/story/5275/Intel%20prices%20up%2065nm%20dual,%20single-core%20′Yonah’
http://www.intel.com
http://www.blognone.com