Bill Gates มาอะไรๆ ก็คงเหมือนเดิม

เนคเทคตอกรัฐบาล จับมือไมโครซอฟท์ “คิดสั้น”

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9480000087782

ปัญหา OSs ในไทยมันไม่ใช่ว่า Micro$oft (เล็กนิ่ม) จะมา หรือจะไป ถึงตา Bill จะมาไทยทุกอาทิตย์ ยังไง .Net มันก็ต้องได้เกิด จริงๆ มันเกิดมานานแล้ว แต่ไม่มีคนรู้ ไม่เป็นข่าวมากกว่า การมาครั้งนี้เหมือนเป็นการโปรโมตรและตอกย้ำว่า ICT จะใช้ระบบ จาก เล็กนิ่ม แน่นอน อ้าวว ถ้าไม่เชื่อไปดูทุกโครงการ ICT มี เล็กนิ่ม ตลอด

มันแค่ปรากฎการเล็กๆ ในเรื่อง นำซอฟต์แวร์ของเล็กนิ่มมาใช้ในวงการราชการอยู่แล้ว หลาย ๆ ประเทศก็ใช้ ไม่แปลก

แต่ปัญหามันอยู่ที่ “เงิน” ในสภาพเศษฐกิจไทยในตอนนี้ เราต้องการเงินลงทุนครับ ไม่รู้เพื่อเพิ่มการลงทุนของ เล็กนิ่ม ในไทย หรือเพิ่มรายจ่าย ให้กับเล็กนิ่มกันแน่ ผมก็ยังไม่แน่ใจ ต้องดูกันยาวๆ ในตัวหุ้นของเล็กนิ่ม ที่ลงทุนในไทย

เข้าเรื่องปัญหาของ OSs กันก่อนดีกว่า จริงๆ เคยเขียนใน webblog ไว้แล้ว แต่ไม่รู้ว่ามีใครไปอ่านหรือเปล่า T_T

ในเรื่อง OSs ในไทยไม่โต มันเกิดจาก การ support ครับ อย่าลืมว่าซื้อซอฟต์แวร์มา ไม่มีการ support คำตอบคือ จบ ไม่ซื้อ จริงๆ ถ้า GUI สวย แต่คนใช้งานมันไม่ได้เหมือนกันทุกคน ยังไงก็ต้องมีความไม่เข้าใจใน GUI ครับ เปิด Help คู่มือต่างๆ หรือใน Web Support แล้วคำตอบไม่เคลียร์ก็จบครับ

เหมือนซื้อของครับไม่มีประกัน หรือตอบปัญหาการใช้งาน ก็แทบจะไม่มีคนซื้อครับ ซึ่ง OSs ในไทยยังห่างชั้นกับ OSs ในต่างประเทศเยอะในเรื่องนี้ครับ ส่วนมากตอบคำถามกันในแบบ techical term ครับ คือศัพท์ต่างๆ แบบผู้ใช้ฟังแล้ว ต้องเปิด dictionary แปล แล้วต่อด้วย dictionary computer อีกรอบ ยังไม่เข้าใจเลย คือถ้าตอบแบบผู้ใช้เข้าใจง่าย มีคู่มือที่ทันสมัย ผมว่ารุ่งครับ แล้วก็อีกเรื่องคือ หนังสือ หรือคู่มือใช้งาน OSs ในไทย ไม่มีสำนักพิมพ์ไหนกล้าพิมพ์มากนักครับ ที่พิมพ์ๆ มาก็มีน้อยครับ ไม่เป็นตัวเลือกที่ดี หรือเขียนแบบแปลจาก help มาอันนี้ก็ไม่ไหวครับ

เรื่องต่อมา OSs นั้นใช้งานยาก และการติดตั้งนั้นซับซ้อน (ในบางตัว) การใช้งานยากนี่เป็นประเด็นหลักครับ คือมีน้อยมากที่ OSs นั้นจะทำงานได้ดี และไม่มีปัญหา ยกตัวอย่างเช่น

Xara X, illus, corelDraw มาใช้ Inkscape นี่ก็แฮงบ้าง หรือไม่ก็มีปัญหาในการ optimize ภาพ

Microsoft Visio มาใช้ Dia ก็มีปัญหาในการเปิดโปรแกรมต่างๆ การ support แล้วก็คู่มือห่วยแตกอย่างแรง T_T

Sony Sound Forge มาใช้ Audacity อันนี้ดีมาก ถึงคู่มือจะไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ถือว่าใช้งานได้ดี แฮงบางนิดหน่อย คือ GUI มันใช้งานง่ายอยู่แล้ว มันเลย ok

Adobe Acrobat 7.0 มาใช้ PDFCreator ผมถือว่าดีในระดับหนึ่ง ถ้าทำงาน Draf ทั่วๆ ไป แต่ถ้าทำงานเกี่ยวกับการพิมพ์จริงๆ ไม่แนะนำ เพราะสีเพี้ยน และระบบจัดการ profile color ยังไม่ดี เทียบกับ Adobe จ้าวตลาดไม่ได้เลย

InterVideo WinDVD, PowerDVD มาใช้ VLC media player ใช้งานยากและ GUI ไม่สวย คู่มือยังห่วยอยู่

Macromedia Dreamweaver มาใช้ Nvu ถ้าทำเว็บแนวๆ HTML และการจัดการ CSS ก็ ok แต่ถ้าเป็น CGI แล้วนี่จบ ถึงแม้สนับสนุนภาษาไทย แต่ยังไม่เต็มที่ใน CGI

Macromedia Flash -> ?????? หาไม่เจอจริงๆ T_Y

Microsoft Office 2003 มาใช้ OpenOffice.org 1.9.104 (2.0 Beta) อันนี้ยาวหน่อย คือถ้าใช้งานกันในบริษัท เดินงานกันเป็นกลุ่มๆ ก็ ok เพราะว่า OpenDocument ของทางฝั่ง OO.org ของเมืองนอกนั้นทำมาดี และหวังจะมาแทน format ไฟล์ของเล็กนิ่ม ถ้างานด้าน Word Processing กับ Spreadsheets ถือว่าทำได้ดีมาก แต่ถ้าเป็น Presentation แล้วจบครับ ยังไม่ได้เรื่องเท่าไหร่ ส่วนงานด้าน Database นั้นความง่ายก็พอๆ กันครับ ส่วนการใส่สูตรคณิตศาสตร์นั้น OpenOffice.org ทำได้ดีกว่าครับ จริงๆ แล้ว format ไฟล์ของ OpenOffice.org ขนาดไฟล์เล็กกว่า Microsoft Office เยอะครับ อย่างเอกสารของผมถ้า save ใน word มีขนาด 876,377 แต่ถ้าไปใช้ format ไฟล์ของ OpenOffice.org เหลือแค่ 27,133 ไบต์ มันเกิดอะไรขึ้น ?

ในไทย OpenSourse Software ยังพ่ายต่อ Commerce Software อยู่วันยังค่ำครับ ถ้าคนไทยบางกลุ่มยังใช้ Software โดยไม่คำนึงถึงมูลค่าของมันว่ามันมีค่าตัวของมันเอง

ผมไม่ได้ต่อต้าน Commerce Software ครับ ตอนนี้ในเครื่องก็มีหลายๆ ตัวที่เถื่อนเหมือนกัน แต่บางตัวก็ต้องซื้อครับ ตอนนี้รวมๆ ก็หลายหมื่นแล้ว ไม่ได้รวยครับ แต่ซื้อในราคานักศึกษา อย่าง Adobe เนี่ยเค้ามีโครงการซื้อราคานักศึกษาครับ อย่าง Adobe CS2 ราคาทั้งชุด 45,000 – 60,000 /Computer ผมไม่แน่ใจเท่าไหร่ แต่ราคานักศึกษาอยู่ที่ 15,000 บาท / Computer ครับ และหลายตัวที่ราคานักศึกษาถูกกว่าหลายเท่าครับ

อย่าปฎิเสธเรื่องการใช้ Commerce Software ถ้าใช้มันหาความรู้ และรายได้ ผมถือว่ามันคือต้นทุนของการผลิตความรู้ และเงินในกระเป๋าครับ

แต่ OSs ที่ Boom มากๆ อย่าง Firefox นี่เป็นตัวอย่างที่ดีครับ Community และการ Promote ต่างๆ ผมว่าเป็นแบบอย่างที่ดีมาก จริงๆ Firefox ที่คนไทยกำลังทำกันอยู่ก็ทำงานมาถูกทางแล้วครับ OSs ในไทยน่าจะเอาอย่างเยอะๆ ครับ จริงๆ หลายๆ ดีๆ แต่ไม่ได้พูดถึงอย่างเคืองกันเน้อ ….. ;)

* วิเคราะฟ์วิจารณ์ตรงไปตรงมาครับ ถ้าไม่ถูกใจก็ขออภัย อันนี้มองในมุมผู้ใช้ครับ

ทำไมต้อง update patch ซอฟต์แวร์ด้วยนะ ?

จริง ๆ ผมก็คิดจะเขียนมาตั้งนานแล้วหล่ะ แต่ติดที่เวลาในการรวบรวมความคิดมันสั้นเกินกว่าที่ผมจะเอามาเขียนได้อย่างมีเนื้อหาที่ไม่ซับซ้อน เพราะเขียนมาแล้วเต็มไปด้วยคำพูดที่ยากแก่การเข้าใจ แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่อาจหลีกหนีมันได้ อีกอย่างคือเนื้อหาส่วนนี้มากจากประสบการณ์ตรง และสรุปออกมาเองให้เข้าใจง่าย มันเลยไม่ตรงตามหลักวิชาการ เลยเอาไปอ้างอิงไม่ได้ แต่ก็เอาหล่ะเขียนไปทั้ง ๆ แบบนี้ดีกว่า

การ update patch หรือ upgrade ซอฟต์แวร์ (ต่อไปผมจะขอพูดสั้น ๆ ว่า update นะครับ) ให้มีความสามารถสูงขึ้น หรือลบข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดจากกระบวนการผลิต และจัดทำซอฟต์แวร์ขึ้นมา โดยหลุดรอดจากขั้นตอนการทดสอบของฝ่าย Tester (ฝ่ายทดสอบ หรือตรวจสอบซอฟต์แวร์) ของบริษัทจัดจำหน่าย นั้น ๆ จริงอยู่หลายคนคงไม่ชอบที่จะมานั่ง update ตัวซอฟต์แวร์ บ่อย ๆ แต่เราต้องเข้าใจความเป็นจริงที่ว่า “ไม่มีใดที่สมบูรณ์แบบในการผลิต” โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่มีความละเอียดอ่อนอย่างซอฟต์แวร์ ที่ทุก ๆ การจัดทำนั้น ต้องมีการวางแผนและจัดโครงสร้างของซอฟต์แวร์ ตามระบบให้ดีที่สุด และการที่มีการ update ซอฟต์แวร์โดยตัว update/patch ที่ถูกส่งมาเพื่อ update ซอฟต์แวร์นั้นถือเป็นความรับผิดชอบต่อความผิดพลาด (ในความเป็นจริงเราจะเรียกมันว่า ‘bug’) ของตนเองในการผลิตซอฟต์แวร์ออกมาแล้วมีข้อผิดพลาด ต่าง ๆ จริงอยู่ผู้ใช้ก็ไม่ชอบ และบางครั้งยุ่งยากและกินเวลานานในการทำตามขั้นตอน update แต่นั้นหมายความถึงซอฟต์แวร์ ที่เราใช้มีความผิดพลาดน้อยลงในการใช้งานด้วย และเป็นความจริงอีกเช่นกันที่เราใช้ซอฟต์แวร์ แล้วมักจะมองว่าซอฟต์แวร์ที่จัดจำหน่ายนั้นต้องไร้ที่ติ และไม่มีข้อผิดพลาด ซึ่งความผิดพลาดนี้อาจจะมีทั้งการใช้งานตามปกติแล้วเกิดปัญหา และความปลอดภัยในการใช้งานต่อซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอง ซึ่งในที่นี้ผมขอแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

  1. ปัญหาจากความผิดพลาดของซอฟต์แวร์ จากการใช้งานปกติ
  2. ปัญหาจากความปลอดถัยของระบบซอฟต์แวร์ทั้งหมด (รวมถึง “ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ” )

ปัญหาจากความผิดพลาดของซอฟต์แวร์ จากการใช้งานปกติ นั้นถือเป็นความรับผิดชอบในส่วนของข้อผิดพลาดจากความไม่สมบูรณ์ต่าง ๆ เช่น ใช้งานในบางฟังค์ชันแล้วค้าง, ใช้งานแล้วตัวซอฟต์แวร์ให้ผลออกมาไม่ตรงถามผู้ใช้ต้องการรวมถึงบางส่วนทำงานผิดพลาดจากที่ควรจะเป็น, ใช้งานไปสักพักแล้วแคช หรือเปิดตัวซอฟต์แวร์ไม่ได้หลังจากการติดตั้งซอฟต์แวรตามแบบแผนของ Requestment ของคู่มือที่ให้มา เป็นต้น ซึ่งด้วยเหตุผลปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข ซึ่งมักจะได้รับการ update ของตัวซอฟต์แวร์ได้ภายหลักจากการผลิตหรือออกสู่ตลาดไปสัก 2 – 3 เดือนขึ้นอยู่กับข้อผิดพลาดนั้น ๆ ว่ามีปัญหาต่อการใช้งานโดยรวมมากน้อยเพียงใดด้วย ซึ่งในส่วนนี้ถ้าท่านไม่ได้ใช้ฟังค์ชัน หรือไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดอาการแคชใด ๆ เลย ก็แทบจะไม่รู้สึกว่าท่านจะต้องไปทำอะไรกับมัน เพราะในเมื่อท่านสามารถใช้งานได้ดี ก็แทบจะสบายใจว่าได้ มันตอบสนองต่อการใช้งานได้ดี ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามนี้อยู่แล้วด้วย ซึ่งในส่วนนี้แนะนำว่าถ้าไม่มีเหตุการณ์ที่ทำให้งานของผู้ใช้งานต้องชะงัก ก็ไม่มีเหตุจำเป็นต้องไป update แต่ประการใดเลย

ปัญหาจากความผิดพลาดด้านความปลอดถัยของระบบซอฟต์แวร์ (รวมถึง “ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ” ) ทั้งหมด ในส่วนนี้ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการ update ซึ่งในปัจจุบันความปลอดภัยถือเป็นความรับผิดชอบสูงสุดของผู้ผลิตซอฟต์แวร์เลยทีเดียว ดังจะเห็นได้จากการ update นั้นทำด้วยความรวดเร็วมากทีเดียว เพราะไม่ว่าซอฟต์แวร์จะทำงานได้ดีเพียงใด และไม่มีข้อผิดพลาดใด ๆ เลย ในการทำงาน และไม่ก่อให้เกิดการชะงักต่อการทำงาน  แต่ความปลอดภัยของการใช้งานหมายถึงข้อมูลของผู้ใช้ที่ได้นำมาใช้งานต่าง ๆ อยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกโจรกรรม ,ดัดแปลง ,แก้ไข และเสียหาย จากการที่ถูกเจาะระบบผ่านทางข้อผิดพลาดต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ว่าจะด้วยกลยุทธในการเจาะ และโจรกรรมแบบใดก็ตาม ย่อมก่อให้เกิดความสูญเสียในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นความลับทางการค้า หรือข้อมูลอันมีค่าต่าง ๆ ที่เก็บไว้ด้วย ซึ่งไม่ว่าจะด้วยเหตุผลกลใดก็ตามที ปัญหานี้ถ้าผู้ใช้ไม่แก้ไข ก็ทำให้การทำงานต่าง ๆ ชะงัก หรือต้องแก้ไขกับอย่างขนานใหญ่เลยทีเดียว และมักจะรุนแรงกว่าความผิดพลาดของการใช้งานปกติหลายเท่าตัวทีเดียว ดังจะเห็นได้จากการถูกโจมตีจากความผิดพลาดของโปรแกรมอย่าง Worm ที่ชื่อว่า Blaster และ Sasser ที่ใช้ช่องโหวด้านความปลอดภัยของ Service ในตัวระบบปฎิบัติการ Windows เอง ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากต่อผู้ใช้ทั้ง ผู้ใช้ตามบ้าน และบริษัทต่าง ๆ มากมาย

ซึ่งส่วนมากแล้วคนส่วนใหญ่จะไม่ใส่ใจต่อการ update ซอฟต์แวร์ ไม่ว่าความผิดพลาดต่าง ๆ จะอยู่ในตัวปัญหาในข้อใดข้อหนึ่งหรือไม่ก็ตาม เพราะผู้ใช้จะให้เหตุผลว่า “มันใช้งานได้ดีอยู่” ซึ่งคำกล่าวนี้จะออกจากปากผู้ใช้ซอฟต์แวร์ที่มีปัญหาจากความผิดพลาดด้านความปลอดภัยในการใช้งานมากกว่า เพราะว่าไม่เห็นผลกระทบต่อสิ่งเหล่านี้ได้ชัดเจนเท่ากับซอฟต์แวร์ทำงานผิดพลาดปกติ

บิลเกต ได้เคยกล่าวไว้ว่า “การเปิดตัวสินค้าออกสู่ตลาดก่อนผู้อื่นด้วยสินค้าที่ดี และใช้งานได้ มักจะดีกว่าการเปิดตัวทีหลัง ด้วยสินค้าที่สมบูรณ์” ถ้ามองในเชิงธุรกิจถือว่าเป็นการกล่าวที่ปัดความรับผิดชอบลงไปยังผู้ใช้ แต่ในอีกนัยสำคัญคือ สินค้าที่ดี และใช้งานได้ นั้นหมายถึงการเปิดตัวสินค้าที่ตรงความต้องการและสนองงานที่ผู้ใช้ต้องการก่อน ความสมบูรณ์ของตัวซอฟต์แวร์เอง ดังจะเห็นได้จากเมื่อสินค้าของไมโครซอฟต์ออกมามักจะมีตัว update/patch ออกตามมาในเวลาไม่นานนักอย่างช่วย Windows XP ออกมาใหม่ ๆ นั้นยังไม่พร้อมต่อการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ชนิด USB 2.0 เพราะยังไม่ลงตัวเรื่องมาตรฐานต่างๆ ทางไมโครซอฟต์เลยตัดสินใจเปิดตัว Windows XP ก่อนความพร้อมของ USB 2.0 แต่ต่อมาก็ได้รับการ update ในการใช้งานใน Service Pack 1 นั้นเอง นั้นคงจะบอกได้ถึงความกล่าวข้างต้นของบิลเกตได้เป็นอย่างดี

อยากจะทิ้งท้ายไว้นิดว่า “ไม่มีซอฟต์แวรไหนในโลกนี้จะสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะมาจากฝั่ง OpenSource หรือ CloseSource ก็ตามที ถ้าสิ่งไหนจำเป็นต้อง update เพื่อให้งานที่เราทำ และระบบซอฟต์แวร์ทั้งหมดทำงานได้อย่างไม่มีความผิดพลาด และปลอดภัย เราก็ควรจะ update มันซะ …..”

สาเหตุที่เกิด Physical bad sector หรือ Bad sector

ในเมื่อไปตอบคำถามใครหลายๆ คนใน pantip แล้วบางครั้งคำถามและคำตอบมันจะหายไปตามกาลเวลา เลยมีความคิดว่า ถามตอบแล้วเอาคำตอบของเรามาใส่ไว้ใน Blog หรือถ้ามันเป็นคำตอบเชิงวิชาการ และทำเป็นบทความเล็กๆ ได้ก็เอาลง Web ซะเลยดีกว่า อืมมมม เป็นการใช้เวลาในการตอบกระทู้ให้เป็นประโยชน์ด้วย อุๆๆๆ …… คิดได้เรา ….

ปัญหาการเกิด Physical bad sector หรือ Bad sector จริงๆ ไม่ใช่เทียมๆ แบบใช้โปรแกรมแก้ได้นั้น

"ไม่มีทางเกิดจาก Software ได้เด็ดขาด"

สาเหตุเกิดจากระบบไฟฟ้าในการจ่ายไฟ 80 % – 90 % ของสาเหตุทั้งหมดที่ส่งแคลม

        ในนิตยสารในเมืองนอกอย่าง PC World ได้มีการทดสอบมาแล้วว่าการกดปุ่ม Restart หรือ Power-up/down ทันทีก่อนปิดระบบ os นั้น "ไม่มีผลต่อ H/D หรือ H/W อื่นๆ แต่ประการใด" แต่จะมีผลกับระบบ "OS นั้นๆ เท่านั้นเอง" ดังที่เมื่อ 5 – 6 ปีที่แล้วใช้ dos นั้นหล่ะครับ ที่เปิดปิด ก็ไม่ได้ปิดโดย os แต่ใช้ปุ่ม power-up/down แทน หรือ restart แทนการ restart แทนก็ใช้กันได้จนถึงทุกวันนี้ครับ ก็ไม่มีปัญหาอะไรสำหรับเครื่องผม p 166 ก็ยังดีอยู่ h/d ก็ไม่ได้ bad อะไร ซึ่งสามารถยืนยันได้จากเครื่องรุ่นเก่าๆ และเทคโนโลยีการผลิต h/d ที่เก่ากว่าครับ

        การทำให้เกิด physical bad sector นั้นสาเหตุหลักที่มาจากไฟ เกิดจาก power supply นั้นจ่ายไฟ ไม่พอ หรือจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ไม่นิ่ง หรือมีการจ่ายไฟไม่คงที่ของไฟฟ้าในการจ่ายไฟจาก power supply นั้นเอง

        อีกส่วนคือเกิดจากไฟฟ้าในกระแสไฟที่จ่ายให้กับ power supply นั้นจ่ายไฟ ไม่นิ่งซึ่งเป็นปัญหาเช่นเดียวกับข้างต้นที่บอกไป ซึ่งถ้าจะให้ดี แนะนำว่าให้ใช้ UPS ให้การกรองไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้า ตก, เกิน หรือกระชาก เข้า power supply อีกทีครับ เป็นการถนอมอุปกรณ์คอมฯ ไปในตัวครับ

        อีกส่วนคือการประกอบเครื่องไม่ได้คุณภาพ เช่นการเสียบสายไฟพวกลำโพง หรือพวก usb port ที่ต่อผิดขั้ว ทำให้เกิดการลัดวงจรภายใน ซึ่งถ้า m/b มีวงจรในการดักจำพวกนี้ก็ไม่มีปัญหาอันใด แต่มันจะไม่มีทุกตัวหล่ะซิ ซึ่งผมเคยเสียบสายลำโพง แล้วมันช็อต เครื่องค้างไปเลย ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุนี้ได้เช่นกันที่ทำให้ h/d มี physical bad sector ได้ครับ

        อีกเรื่องคือพวกลูกปืนจานหมุนเริ่มเสื่อม หรืออุปกรณ์บางตัวใน h/d มีการเสื่อมเองไปตามการใช้งานครับ

        อีกเรื่องก็คือเวลาใช้งานมีการเกิด Shock หรือการทำให้ตัว h/d สั่นไหว, กระแทก, สะเทือน และ ตกหล่นจากที่สูงเป็นสาเหตุในการเกิดเช่นกัน บางครั้งตั้งเครื่องไว้ แล้วมีคนมีทุบโต๊ะทำงานของเรา ก็เป็นสาเหตุได้เช่นกัน ซึ่งถ้าไม่รุนแรงมา h/d ก็ไม่มีปัญหา เพราะว่าเดี่ยวนี้สามารถรับแรงการสั่นไหวได้พอสมควรครับ แต่ก็ไม่สมควรทำครับ

       จำเอาไว้ครับว่าอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์มีความไว ต่อสิ่งต่างๆ มากครับ ความชื่น ความร้อน และการสภาพไฟฟ้าที่ผิดปกติครับ ถนอมๆ มันหน่อนเน้อ …….

จบคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์จะไปทำอะไร

คำถาม : อยากรู้ครับ ว่าจบคณะวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ แล้วไปสมัครงานอะไรได้ครับ จะหาสมัครงานได้จากที่ไหน แล้วก็ ทำไมคนถึงไม่นิยมเรียนคณะวิทยาศาสตร์กันครับ

ถ้าจบไปจะไปต่อยอดหรือทำงานอะไร นั้น ในสาย Science นั้น มีทางเลือกได้มาก เพราะว่า Science คือศาสตร์ที่ว่าด้วยการทำงานที่เป็นระบบ ขั้นตอน ซึ่งคือการจัดการนั้นเอง หรือ Managment ครับ คุณต้องมีคุณลักษณะใน Sci’ method ที่มาก (ขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์) จริงๆ คุณต้องได้รับมาก การทำงานเป็นขั้นเป็นตอน ทำงานด้านวิจัยจะไปได้ดีกว่าครับ คนจบวิทย์มา จะได้เปรียบมากๆ เพราะว่าเรียนมาขั้นตอนมันสอนครับ แล้วไปเรียนต่อยอดด้าน SA หรือ NS ก็ได้

ต่อมาครับ การทำงานในระดับ Com Sci นั้นเป็นการนำขั้นตอน ทั้งปรัญญาศาสตร์, จิตศาสตร์ และคณิตศาสตร์ มารวมกันให้เกิดการตอบโจทย์ของคำถามที่ส่งมา

คุณต้องใช้ ปรัญญาศาสตร์และจิตศาสตร์เพื่อทำให้เกิดการทำงานร่วมกัน ระหว่างโปรแกรม รวมถึงระหว่างคน และทีมงานด้วย (วิทย์ต้องทำงานเป็นทีม และทำงานเป็นระบบครับ ซึ่งใช้ใน การเชื่อมโยงให้คุยกันได้ระหว่างระบบ หรือขั้นตอนนั้นๆ) และใช้คณิตศาสตร์ในการทำขั้นตอนในการ ตอบคำถามในแต่ละส่วนทั้งแนว condition หรือinteration ต่างๆ เป็นต้น

ผม intro มานาน ต่อในเรื่องทำงานต่อนะครับ

นั้นหมายความว่าคนที่จบวิทย์มานั้นทำงานในสายจัดการระบบ หรือทำงานในสายคิดค้นก็ได้ เพราะได้พื้นฐานจากความรู้และขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ มาครับ ซึ่ง ส่วนมากที่ได้เรียนกันก็มีในส่วนของ Computation, Algorithm, Data Stucture, Software Engineering (อันนี้สาย CS เรียนนะครับ ชื่อบอกวิศวะ แต่จริงๆ คอร์สมันเป็นของ CS ครับ), Software Analye ฯลฯ จริงๆ มีอีกหลายตัวครับ

ผมมองว่าการทำอาชีพมันจะไล่อันดับไปเรื่อยๆ ครับ จากคน Coding -> Team Leader -> Team Director -> Brand Manament -> Software Leader -> Corp Mangament ครับ จริงๆ มีมากกว่านี้แต่ไล่คร่าวๆ ครับ

การทำงานต้องรู้งานในส่วนนั้น ๆ แล้วค่อยๆ ไล่ตัวเองขึ้นไปครับ ไม่งั้นเราจะไม่รู้งานด้านล่าง แล้วเราจะจัดการ การทำงานพลาดครับ เหมือนกับคนที่ไม่รู้การตกปลาว่ายากแค่ไหน แต่ไปบอกให้ลูกจ้างตกปลาได้เยอะๆ โดยไม่รู้ว่ามันจับได้ยาก นั้นหล่ะคัรบ ……..

แล้วทำไมคนไม่ชอบเรียนผมบอกไว้เลยว่า เป็นเฉพาะที่ไทยมากกว่ามั้งครับ

ตอบตรงๆ นะ

“คณะนิยม”

ต่อการทำงานนิดนึงครับ จริงๆ แล้วทำงานได้เยอะนะครับสาบวิทย์

สายบริหาร, สายจัดการระบบ, สายค้นคว้าวิจัย, สาย Coding ครับ เอาแค่นี้ก่อนดีกว่าครับ

จริงๆ CS ไม่ได้จบออกมาแค่เขียนโปรแกรมนะครับ แต่ทำด้านอื่นได้อีก แต่ใช้สิ่งต่างๆ ที่เรียนมา นำมาประยุกต์ใช้ครับผม

ส่วนเรื่องการหางานนั้น แนะนำว่าให้ทำงานแนว Freelances ตอนเรียนไปก่อน (ถ้ายังเรียนอยู่นะครับ) แต่ถ้าจบมาแล้ว แนะนำให้ทำงานใน SWH ครับ ผมว่าได้ประสบการณ์ในการทำงานมากครับ ถึงจะโดนใช้เยี่ยงทาส เครียด แต่คุ้มในเรื่องประสบการณ์การทำงานครับ

ผมว่าทำงาน SWH กับตอนทำ project จบผมว่า SWH น่าจะลำบากน้อยกว่านิดๆ นะครับ เพราะว่าทำงานตอน project ทำเพื่อจบ เงินก็เสียเอง ทุกอย่าง แถมไม่ได้เงินเดืิอนเบี้ยเลี้ยง อีก แต่ทำงาน SWH ได้เงินเดือน สวิสดิการก็ได้ขึ้นกับบริษัท เครื่องมือต่างๆ หรือการทำเอกสารต่างๆ ก็ของ SWH ครับไม่ใช่เงินเราย่อมไม่ต้องออกเอง เพียงแต่ใช้งานให้ตรงกับ SWH ครับไม่ใช่ไปยักยอกเค้าเป็นของตนครับ

ผมว่าสบายกว่ากันตั้งเยอะครับ แถมได้เจอปัญหาใหม่ๆ ทั้งคน ทั้งงานเยอะมากครับ มีประโยชน์ในอนาคตแน่นอนครับ

ลำบากตอนแรกครับ ได้อะไรเยอะครับ แล้วเจออะไรสบายๆ ผมว่ามองอะไรได้กว้างขึ้นเยอะครับ เพราะเราลำบากมาแล้ว จะเข้าใจคนทำงานด้านล่าง ถ้าเรามาทำงานบริหารครับ …..

ปล. คิดในทางที่ดีไว้ครับ ชีวิตจะได้ไม่ทุกข์มากครับ

Software Bundle สิ่งที่ถูกมองข้าม และคนไทยจำนวนมากยังคงใช้ของไม่มีลิขสิทธิ์

ผมว่าคนไทยไม่ได้มองกันที่ Software ที่ bundle มาให้มากนักเพราะว่าเราหาโปรแกรมที่งานคล้ายกันที่มี function ใช้งานมากกว่า ได้ง่ายกว่าในเมืองนอกหลายเท่านัก ทำให้เราไม่ได้เห็นคุณค่า ที่ราคา notebook แพง กว่าในหลายๆ ยี่ห้อ เกิดจากตัว software OS ที่ราคาก็ 4,000 บาทกว่าๆ แล้วในรุ่น windows xp home หรือ ราคาเกือบ 10,000 ในรุ่นที่ใช้ windows xp pro และยังไม่รวมถึงโปรแกรม utility ที่แถมมาในด้านการใช้งานทั้งโปรแกรมด้านความบันเทิงต่างๆ โปรแกรมจัดการระบบขอตัว notebook แต่ละรุ่นเอง หรือแม้แต่โปรแกรมแก้ไขปัญหาในระดับ OS ล้วนแล้วแต่มีมูลค่าทางเงินทั้งสิ้น

คนไทยที่ใช้คอมพิวเตอร์นั้นมีความคิดหัวศิลป์น้อย ทำไมเหรอ เพราะว่าการสร้าง software เหมือนสร้างงานศิลปะ งานศิลปะ คืองานที่ใช้ความรู้สึกของมนุษย์ ก็เหมือนกับ software ที่คนไทยให้ความรู้สึกที่ว่ามันต้องสั่งให้ h/w ทำงาน ไม่ได้คิดว่ากว่าที่ software จะสั่งงานระบบ h/w ได้นั้นต้องทำออกมาได้อย่างไรบ้าง ใช้เวลานานเพียงใดในการพัฒนา การวางแผน การเขียนโปรแกรม ที่ผมพูดไม่ใช่หมายความว่าคนไทยใช้ของเถื่อนจนเคย แต่คนไทยความรู้ค่าของ ทรัพย์สินทางปัญญาหรือความคิดในด้านการสร้างสรรค์ทางด้านซอฟต์แวร์ที่มองมันเป็นมูลค่าทางการเงินมากกว่าแค่ด้านการสั่งการเท่านั้น คนไทยใช้ของฟรีหรือเกือบฟรีจนชิน แต่ไม่แสวงหารากที่แท้จริงของมูลค่าในตัว software นั้นๆ ว่ามันควรจะราคาเท่าไหร่

ผมเคยเสนอราคา Software ต่อคนที่ผมจ้างไป 10,000 คุณรู้ไหมเค้าตอบกลับมาว่าอย่างไร เค้าว่า “ทำไมแพงจัง คุณแค่ พิมพ์ๆๆๆ ตามที่ผมร่างหน้าตาไว้ คิดนิดหน่อยเอง ผมว่าให้คุณหมดแล้วเนี่ย หน้าตาของโปรแกรมน่ะ สูตรก็มีให้ ด้วย” ซึ่งผมตอบกลับไปว่า ” งั้นหน้าตาตอน output ผมทำให้คุณได้ภายใน 1 ชม เหมือนเปี้ยบเลย แต่โปรแกรมทำงานให้คุณไม่ได้นะ ผมขอค่าทำ 100บาท ” เค้าเงียบครับ งานเขียนโปรแกรมไม่ใช่ว่าจะทำให้เหมือนๆ ที่ร่างแล้วเสร็จมันต้องมีการวางโครงสร้าง วางระบบ มีการทดสอบหาข้อบกพร่อง ซึ่งในตอนนี้ผมกลับคิดว่า windows เป็นโปรแกรม os ที่ดี มาก ถึงแม้คุณๆ จะว่ามันมี bug ให้เห็นตลอดเวลาผมว่านั้นไม่ใช้ข้อผิดพลาด แต่ผมกลับคิดว่ามันคือข้อบกพร่องของการทำงานที่ไม่เกิดขึ้นตอนทำการทดสอบโปรแกรมก่อนออกสู่ตลาดมากกว่าซึ่งถ้าไม่มีผู้ประสงค์ชั่วๆ (หรือหวังดีประสงค์ร้าย ถ้ารู้ว่ามันผิดพลาดก็บอกผู้ผลิตโดยตรงเพื่อปิดข้อบกพร่องก็จบแล้ว แค่นี่มันทำเป็น worm และทำให้ชาวบ้านเค้าเดือดร้อนไปทั่ว) หรือทำให้โปรแกรมทำงานไม่ได้ ข้อบกพร่องเหล่านั้นก็ไม่ทำงาน (อย่าง w32blater ) และไม่เกิดผลเสียต่อผุ้ใช้มากมายเท่าวันนี้ อย่าลืมว่า windows มีส่วนแบ่งทางการตลาดในตลาด os ถึง 95 % นั้นหมายความว่า os นี้ต้องเป็นที่โจมตีของเหล่าผู้ไม่หวังดีอยู่แล้วเพราะว่าด้วยมูลค่าในตลาดที่มากทำให้ผู้ไม่หวังดีสร้างความเสียหายได้มากทีเดียว และถ้าไปเทียบกับ linux ใช่ว่าจะไม่มีความบกพร่อง มีครับแต่ไม่เป็นข่าวหรือเป็นข่าวแค่ในวงของเค้าเท่านั้น unix ซึ่งด้วยตัวมันแล้วเป็นระบบที่เก่าแก่มาก และเป็นระบบที่ผู้ใช้ต้องชำนาญในการใช้งานคอมพิวเตอร์เท่านั้น หรือมีความรู้พอตัวถึงจะทำงานกับ unix ได้ดี นั้นทำให้ระบบไม่ถูกโจมตี หรือพบข้อบกร่องได้ง่ายเท่า windows และ unix นั้น ในบางวันต้องส่ง patch ออกมาแก้ไขหลายครั้งหลาย version เหมือนกันครับ เพราะว่าบางครั้งคนที่เขียนโปรแกรมเสริมเหล่านั้นพบข้อผิดพลาดที่เพิ่งเขียนลงไปไม่นานก็รีบออก patch ออกมาทันทีเพราะกลัวระบบอื่นๆ ที่ใช้โปรแกรมของตัวเองจะเสียหายครับ

ที่ผมกล่าวมาไม่ใช่ว่าเชียร์ windows หรือว่ากล่าวร้ายว่าคนไทยนิสัยไม่ดี แต่ว่าเราควรจะเข้าใจในความเป็นคนทำงานด้านการเขียนโปรแกรมทางด้านนี้ให้มากครับ

เครื่องผมแม้จะมีเถื่อนบ้างแท้บ้างแต่พยายามใช้้อันที่ฟรี หรืออันที่พอจะจ่ายเงินได้ ผมใช้ windows xp pro oem ของแท้ ผมใช้ nod32 ของแท้ ผมใช้ ms office acadamic licence หรือแม้แต่ ใช้ firegraphic ทำงานเหมือนกับ acdsee แต่เป็น opensource แท้ ฯลฯ เพื่อจะได้ชินกับสิ่งเหล่านี้ ผมเป็นโปรแกรมเมอร์ที่เพิ่งเกิด แต่ความรู้สึกไม่ต่างจากโปรแกรมเมอร์ที่โดนก็อปๆ ไปหลายๆ คน