แนะนำ AUKEY PA-T16 2xUSB Charger Travel Fast Charging With Quick Charge 3.0 ราคาไม่แพง

ราคา Quick Charge 3.0 อะแดปเตอร์ในไทยขายกันโหดร้ายมาก เลยนั่งไล่ดูใน Certified Accessories ของ Qualcomm Quick Charge 3.0 (ที่นี่) ก็เจอกับ AUKEY PA-T16 ว่าผ่าน Certified เพราะเห็นเร็วๆ ก่อนหน้านี้ใน aliexpress (ที่นี่) แล้วราคาไม่แพง เลยจัดมาเน้นๆ  2 ตัว

ขนาดปานกลางไม่ใหญ่เกินไป พอพกพาได้ แต่รองรับการชาร์จแบบ Quick Charge 3.0 พร้อมกันได้ 2 ช่อง โดยจ่ายไฟได้ทั้ง 3.6-6.5V/3A, 6.5V-9V/2A และ 9V-12V/1.5A

ราคาตัวละ 13.39 USD ฟรีค่าส่ง (ณ วันนี้ ราคา 17.36 USD)

ลองหามาใช้กันดูครับ

2017-02-16 13.16.10

2017-02-16 14.23.51 2017-02-16 13.28.02

แนะนำสาย AUKEY CB-C10 USB Type-C to USB Type-A (USB 3.0)

สาย AUKEY CB-C10 USB Type-C to USB Type-A (USB 3.0) เป็นสายที่ได้มาจาก aliexpress (ที่นี่

ขนาดความยาวประมาณ 0.9 เมตร ราคาเส้นละ 4.69 USD รวมค่าส่งอีกนิดหน่อย รวมๆ ตัว 5-6USD ต่อเส้น (รอบนี้รอของนานหน่อย เพราะติดตรุษจีน)

เหตุผลที่ซื้อเพราะอยากได้สาย USB Type-C แบบ USB 3.0 แต่ที่ขายในไทยแพงๆ ทั้งนั้น

เลยไปนั่งอ่านรีวิว Benson Leung (Google Engineer) ว่ามีสายตัวไหนในกลุ่มนี้ราคาถูก และคุณภาพดี ซึ่งนั่งไล่ๆ อ่านรีวิว Benson Leung  แล้วเค้ายืนยันว่าโอเค (https://www.amazon.com/dp/B00RGNJXD4/) ก็เลยได้เส้นนี้มา

โดยรวมเนื้องานเข้าหัวดี สายหนาใช้ได้เลย เข้าหัวเรียบร้อยดี ราคาไม่แพง แนะนำครับ

2017-02-15 11.42.26 2017-02-15 11.42.52

พรีวิว Netflix แบบเร็วๆ

  • UI อะไรต่างๆ บน Apple TV และ iOS โดยรวมหากเคยใช้บน primetime, Hollywood HDTV หรือ iflix มาก่อน คงย้ายสลับมาใช้คงไม่ยากนัก (จริงๆ Netflix เป็นต้นฉบับด้วยซ้ำ แต่เพิ่งเปิดตัวให้สามารถใช้งานได้ในไทย เลยต้องเทียบแบบนี้)
  • Content โดยรวมน้อยกว่า US บางส่วนคาดว่าติด exclusive หรือติดพวกสัญญาลิขสิทธิ์ กับเจ้าที่ทำตลาดมาก่อน ส่วน exclusive ของ Netflix เองนั้น บางส่วนก็ยังไม่มีมา คิดว่าอยู่ในขั้นตอนการเจรจาลิขสิทธิ์
  • Sub title จากที่สำรวจมา ยังไม่มีภาษาไทย
    แต่คุณ Pop Thanapon แจ้งว่า SDI Media ผู้ให้บริการ Media Localization ทั้งการพากย์และทำซับไตเติล ที่มีสาขาในไทย ทำสัญญาเป็นพาร์ทเนอร์กับ Netflix คิดว่าในอนาคตคงมีให้เลือก (อ้างอิง SDI Media Named Netflix Vendor of the Year)
  • Register ต้องผูกบัตรเครดิต หรือบัญชี Paypal เสียก่อน ไม่งั้นสมัครใช้บริการไม่ได้ ซึ่งอาจเป็นจุดอ่อนสำคัญสำหรับตลาดไทยที่มักไม่ชอบให้ผูกบัตรเครดิต แต่ใช้บัตรเติมเงินเข้าไปแทน คงต้องรอ Netflix Gift card ในอนาคตหากไม่ต้องการผูกบัตร
  • App ในส่วนของ iOS, Android, Apple TV และ PS4 โผล่มาแล้ว
  • Web ตอนนี้เปิดให้บริการและดูบนเว็บได้ทันที แต่ interface เป็นภาษาอังกฤษ
  • ราคา ไม่ถือว่าแพงหากเป็นคนชอบดูหนัง ส่วนคนที่ติดซีรีย์ที่ exclusive Netflix หลายๆ เรื่อง แนะนำให้สำรวจก่อนตัดสินใจจ่ายเงิน มีช่วงเวลาให้ลอง 30 วันเช็คก่อนต่ออายุได้

ส่วนตัวคงใช้ Netflix คู่กับ primetime ต่อไป เพราะสำหรับหนังใหม่ที่เพิ่งออกจากโรง บน Netflix ไม่มี แต่มีให้เช่าบน primetime

ส่วนการเช่าหนังราคาบน primetime ถูกกว่า iTunes ที่ primetime มีให้เช่าในราคาประมาณ 50 บาทต่อเรื่อง (iTunes ราคา 4.99USD)

ว่าจะซื้อ Bluray ราคาไม่เกินสามพัน ดูไปดูมา ไปถอย PS4 เฉยเลย

ช่วงสิ้นเดือนที่แล้ว ว่าจะซื้อ Bluray ราคาไม่เกินสามพันหน่อยๆ เอามาไว้ดูหนังหรือคอนต่างๆ ที่มีแผ่นอยู่ แต่ดูไปดูมากลับไปถอย PS4 (พร้อมจอยอีกตัว และเกม FIFA 15) ราคารวมๆ แล้วเกือบสองหมื่นแทน ><”

คือเหตุการณ์เนี่ยจะประมาณว่า เครื่อง Blu-ray Player ราคา 3,990 บาท แล้วมีเสียงกระซิบบอก “เพิ่มอีกหน่อยได้ PS3 แล้วนะ” ก็เลยลองเดินไปที่ร้าน Nadz ที่ ชั้น 5 ของ Digital Gateway พอเดินไปถึงร้าน ลองถามราคา PS3 ได้ความว่าราคา 8,990 บาท แต่ก็เผื่อถามๆ PS4 เลยถามเพิ่มก็ได้ราคา 14,990 บาท แต่แล้วก็มีเสียงกระซิบบอก “เพิ่มอีกหน่อยได้ PS4 แล้วนะ”

สุดท้ายถอย PS4 แทน แบบงงๆ ตามเสียงกระซิบ แต่มานั่งดูบันไดราคา นี่มันเพิ่มที่ละเท่าตัวตลอดเลยนี่หว่า ><”

ปล. ราคา PS4 เครื่อง ศ. Sony shop ราคา 16,900 บาท ส่วนเครื่องที่ผมซื้อเป็นเครื่องสิงค์โปร์ แต่เข้า ศ. ไทยได้ และลงทะเบียนอัพเดทวันที่ซื้อแบบออนไลน์จะได้ประกันเพิ่มเติมอีก 2 เดือน รวมเป็น 14 เดือน ก็มีประกันยาวๆ อุ่นใจกันไป

IMG_20150131_200618 IMG_20150131_200711

ซึ่ง PS4 มันคือ game console ตัวแรกในชีวิตผมเลยครับ เลยค่อนข้างตื่นเต้นสักหน่อย

แน่นอน ซื้อของพวกนี้ และราคาค่อนข้างแพง มันก็มีเหตุผลที่ซื้อ PS4 อยู่หลายข้อ (แต่ยังถูกกว่า smart phone หลายๆ รุ่น)

  1. มันใช้เป็น Blu-ray Player ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดอยู่ตอนนี้พอดี และแน่นอนว่ามันเป็น Media Center ที่ค่อนข้างโอเค แต่ยังไม่รองรับ DLNA แต่พอเอามาใช้กับ Sony Bravia ที่ซื้อไปเมื่อปีก่อนแล้ว ซึ่งเชื่อมต่อ PS4 ด้วยความสามารถ HDMI Device Link มันก็ทำงานได้เนียนดีมาก
  2. คิดว่าจะเล่นเกมบน console แทน PC น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า อย่างน้อยๆ ก็ไม่ต้องอัพเครื่องไปอีก 2-3 ปีเป็นอย่างน้อยๆ แน่ๆ กลายเป็นว่า การซื้อ notebook ราคาแพงเพื่อเอามาใช้งานและเล่นเกมดูมีตัวเลือกเพิ่มมากขึ้น
  3. แน่นอนว่าผมเปรียบเทียบกับคู่แข่งอย่าง XboxOne ก่อนซื้อ ซึ่งส่วนตัวอย่างได้มากกว่า แต่ในไทย Microsoft ไม่คิดจะขาย ราคาเครื่องหิ้วแพง เสียส่งซ่อมต่างประเทศ ซึ่งมันรอนาน ซึ่งทั้งหมดนี้ยังไม่เท่ากับตัวเกมและเนื้อหาต่างๆ ไม่สามารถใช้บริการในไทยได้สะดวกนัก ว่าง่ายๆ คือ ลูกเมียน้อย (อีกแล้ว) ซึ่งผมไม่ชอบความรู้สึกลูกเมียน้อย เลยตัดทิ้งไปเลย

IMG_20150215_114037

ซึ้ง ณ ตอนนี้มีเกมที่เป็นแผ่นอยู่ 2 เกม และซื้อแบบออนไลน์ 1 เกม ส่วนเกมอีก 5-6 เกมในเครื่อง เป็นเกมที่โหลดฟรีตามสิทธิ์ของ Playstation Plus

  1. The Last of Us บน PS4 นี่อย่างกับหนัง เมื่อวานคุณแฟนนั่งเล่น แล้ว อืมมมม อารมณ์แม่มหนังมาก ภาพสวยเทพจริง คะแนนรีวิวค่อนข้างดี มีแต่คนแนะนำว่าควรมีไว้ติดเครื่อง
  2. FIFA 15 อันนี้ก็สนุกดีมาก แน่นอนว่าตอนแรกๆ จะงงๆ เพราะการควบคุมไม่เหมือน Winning ที่คุ้นเคย (หรือเพราะผมไม่ได้เล่นเกมพวกนี้นานก็ไม่รู้) แต่งานภาพ ความสมจริง นี่อย่างกับนั่งดูบอลจริงๆ เลย ค่อนข้างประทับใจ (เหมือนเป็นเกมภาคบังคับมากๆ สำหรับผู้ชายที่ซื้อ game console มาเล่น เท่าที่เจอซื้อมาเล่นเกือบทุกคน)
  3. Destiny เกมนี้อ่านรีวิวมีทั้งคนด่า คนชม คือชอบก็ชอบเลย ไม่ชอบก็เกลียดเลย ค่อนข้างเยอะ แต่ส่วนตัวชอบเกมแนว Halo เป็นทุนเดิมตอนที่ได้เคยสัมผัสจากเพื่อนๆ เมื่อหลายปีก่อนแล้วค่อนข้างประทับใจ ประกอบกับมีคนเชียร์หลายคน ก็เลยจัดมาเล่น ซึ่งก็ไม่ผิดหวังแต่อย่างใด ถือว่าเป็นอีกแผ่นที่ซื้อมาแล้วไม่เสียดายเงิน

หลังจากที่ซื้อมา ก็ผ่านมา 2 อาทิตย์หน่อยๆ ผมมองว่า มันโอเคดีนะ โดยวันแรกที่เริ่มต้นใช้งานก็สมัคร Playstation Plus แบบจ่ายรายเดือนดูก่อน ซึ่งผมจ่ายแบบเดือนต่อเดือน ซึ่งจะตกที่เดือนละ 170 บาท ถ้าจ่ายรายปีถูกกว่าเยอะมาก (ราคาประมาณเกือบๆ 1,200 บาท) คิดว่าต่อไปคงจะจ่ายรายปี แต่รอให้หมดอายุก่อนแล้วค่อยซื้อ ดูซึ่งตัวสิทธิประโยชน์ในการเลือกเกมฟรี อย่างเดือนที่ผ่านมาได้เกม inFamous: First Light ฟรีมาเล่น และมีเกมอื่นๆ อีก ซึ่งดีงามมาก เพราะมีเกมให้เล่นแบบไม่ต้องซื้ออะไรเพิ่มอีก และยังมี เกม exclusive และส่วนลดก็มีให้เลือกพอสมควร แต่แน่นอนว่าน้อยกว่า US และ JP

สำหรับการซื้อเกมพวกนี้แบบออนไลน์บน Playstation Store แนะนำว่าให้ไล่ดูว่าราคาบนออนไลน์ หรือแบบซื้อแผ่นตามร้าน ซื้อที่ไหนถูกกว่ากัน (อันนี้ต้องเช็คสักหน่อย) เพราะบางเกมราคาถูกกว่าตามร้าน หรือบางเกมแพงกว่าตามร้านแต่ แต่ที่แน่ๆ คือเสียเวลาโหลดหน่อย ซึ่งอย่างผมลองซื้อ The Last of US ซื้อถูกกว่าซื้อแผ่นตามร้าน แต่เจอว่าเกมขนาดประมาณ 40GB แล้วน้ำตาจะไหล ทิ้งรอโหลดไว้ทั้งคืน แล้วตื่นเช้ามาค่อยเล่น ซึ่งความเร็วในการโหลดจาก CDN ช่วงวันนั้นค่อนข้างเร็ว แต่ก็มีบางวันที่ช้า ซึ่งก็ไม่ได้แย่เท่าไหร่ก็วัดดวงกันไปเป็นรายวัน

ส่วนราคาแผ่นเกม หรือตัวเกมนั้น ผมว่าราคามันถูกลงกว่าเมื่อก่อนพอสมควร ตอนนี้เกมกระแสหลักอยู่ประมาณ 1,300 – 2,000 (โดยประมาณ) ถือว่าไม่ได้แย่ อาจจะมีเกม remastered บ้าง ที่ราคาถูกกว่า ก็เอาไว้เล่นแก้คิดถึงได้อยู่บ้าง

สรุปความเสียหายทั้งหมดคือ 21,380 บาท (ไม่รวม Playstation Plus)

  • Sony PS4 500GB – Jet Black (Asia) ราคา 14,990 บาท
  • Dual Shock 4 – Black (Asia) ราคา 1,990 บาท – อันนี้ซื้อเพิ่มเติมมา เผื่อสำหรับเกมที่เล่นได้สองคนพร้อมๆ กัน และมันสามารถทำเป็นตัว auto sign-in ของแต่ละ account ของ PSN ได้ทันทีอีกด้วย
  • Sony PS4 Vertical Stand ราคา 990 บาท – ด้วยความที่ต้องการพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น วางตั้งน่าจะเป็นคำตอบที่ดีกว่า
  • Gametech Dust Proof Cap Set – Black for PS4 ราคา 590 บาท – อันนี้เป็นส่วนที่ตามรอยต่อ และพอตต่างๆ ของ PS4 ป้องกันฝุ่งเกาะ
  • Analog Cap x 2 ราคา 190 บาท – เอาไว้สวมทับอีกชั้น ป้องกันตัวยางคันโยกบริเวณจอยมันหลุดออกมา ถนอมมันไว้สักหน่อย เพราะถ้าหลุดออกมา อาจจะลำบากกว่าในอนาคต (ถือเป็นภาคบังคับที่คนส่วนใหญ่ต้องมีไว้)
  • Destiny /W PSN Plus 1 Month [Z3] ราคา 1,390 บาท
  • FIFA 15 [Z3] ราคา 1,890 บาท
  • The Last of Us Remastered full game [PSN] ราคา 1,340 บาท

สำหรับ Sony PLAYSTATION Network นั้น ตัวระบบ Authentication ยังไม่รองรับ 2-factor authen และมีข่าวร้ายว่า ตัว Sony นั้นเก็บรหัสผ่านเป็นแบบ plaintext อีกด้วย คำแนะนำคือ ให้ใช้รหัสผ่านแยกจากบริการอื่น และควรใช้รหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดาอีกด้วย เพราะหากมีการจัดเก็บข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิตในชื่อบัญชีของเราแล้วนั้น อาจเสี่ยงต่อการนำไปใช้งานที่ไม่พึงประสงค์ได้

อ้างอิง: Sony Online Entertainment – Authenticator FAQ และ Shocking: Sony Learned No Password Lessons After The 2011 PSN Hack

ทั้งหมดที่เขียนๆ มา ถือว่าค่อนข้างประทับใจกับ PS4 แม้ส่วนตัวจะเชียร์ XboxOne และอยากได้ แต่ถ้ามองในความคุ้มค่าและเนื้อหาแบบออนไลน์ที่ game console ยุคใหม่ต้องสามารถทำได้แล้วนั้น ผมถือว่า PS4 ทำออกมาได้ดีกว่า XboxOne อยู่สักหน่อย

ลองจับ Surface Pro 3

โดยส่วนตัวแล้วนั้น ผมมี Surface RT ซึ่งทำงานด้วยระบบปฏิบัติการ Windows RT 8.1 อยู่ ซึ่งแน่นอนว่า Surface Pro 3 นี้ จะแตกต่างจากทั้ง Surface RT และ Surface 2 ที่กำลังทำตลาดไปก่อนหน้านี้ โดยมันจะทำงานด้วยระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 ที่สามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ที่เป็น Desktop Application ที่เคยทำงานใน Windows XP, Vista, 7 และแม้แต่ 8 ได้แบบเดียวกับในโน๊ตบุ๊ค ซึ่งหากใครจำได้ มันจะเป็นลักษณะเดียวกันกับ Surface Pro ตัวแรก ซึ่งทำตลาดไปเมื่อ 1 ปีก่อนหน้านี้ และเป็นไปตามคาดที่ Surface Pro 2 ไม่ทำตลาดในไทย

ในวันนี้ 28 สิงหาคม 2014 จะมีการเปิดตัว Surface Pro 3 ในประเทศไทย และขายอย่างเป็นทางการ ส่วนตัวได้มีโอกาสได้ลองเล่นเจ้าตัว Surface Pro 3 จาก Microsoft Thailand ก่อนวันเปิดตัวจริงถึง 2 วัน ฉะนั้น ในตอนนี้จะมาเล่าว่า Surface Pro 3 นั้นน่าสนใจยังไง

ตัวเครื่องที่ได้ลองใช้งานนั้นเป็น Intel Core i5, RAM 4GB, SSD 128GB ซึ่งราคาขายอยู่ที่ 35,500 บาท (ราคารวมปากกา ไม่รวมคีย์บอร์ด)

20140826_183747_Android

ถึงแม้จะเป็นแท็บเล็ต แต่ด้วยความที่ส่วนประกอบภายในแบบเดียวกับโน๊ตบุ๊คบางเบา ทำให้ต้องมีช่องระบายความร้อน พร้อมพัดลมเพื่อนำความร้อนออกสู่ภายนอก ซึ่งหากใครเคยได้ลองใช้ หรือมี Surface Pro จะทราบว่า ส่วนระบายความร้อนนี้จะทำให้เครื่องหนากว่ารุ่น Surface RT อยู่พอสมควร แต่ใน Surface Pro 3 นั้นกลับทำได้บางมาก และนั้นทำให้การพกพานั้นสะดวกมากขึ้น

พอร์ตต่างๆ ไม่ว่าจะหูฟัง USB 3.0 และ Display port นั้น นั้นไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก ซึ่งมีหลายเสียงอยากให้เพิ่มพอร์ต USB 3.0 ให้มากขึ้นมากกว่าเดิมสัก 2 พอร์ต น่าจะดี แต่ก็มีทางเลือกคือ Docking Station (ที่มีให้มา 5 พอร์ต) หรือ USB 3.0 Hub มาต่อแทน ซึ่งก็อาจไม่สะดวกนักสำหรับคนที่ทำนอกสถานที่

ส่วนที่เปลี่ยนแปลงคือพอร์ตสำหรับต่อสายชาร์จไฟ ที่มีการเปลี่ยนแปลงจาก Surface รุ่นก่อนหน้านี้ ไม่สามารถนำรุ่นเก่ามาใช้งานร่วมได้เลย โดยดดูๆ แล้ว น่าจะแก้ไขปัญหาตัวเก่าที่พอร์ตสายชาร์จนั้นใช้งานได้ค่อนข้างยากได้ดีมากขึ้น เพราะรุ่นเก่านั้น ด้วยความที่มันลาดเอียง ทำให้การต่อสายชาร์จแบบแม่เหล็กนั้นทำได้ค่อนข้างยาก

20140826_184059_Android 20140826_184121_Android

ตัวเครื่องนั้นบางลงกว่าเดิมพอสมควร แน่นอนว่าความบางที่ได้มานั้น มาจากพื้นที่ที่ขยายมากขึ้นด้วยขนาดจอภาพที่ใหญ่ขึ้นจาก 10 นิ้ว มาเป็น 12 นิ้ว

มีน้ำหนักที่เบาลง หนักกว่า Surface RT แรกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้เวลาจับถือ ผมรู้สึกว่าไม่ได้แตกต่างจากเดิมเท่าไหร่นัก

20140826_195413_Android 20140826_195448_Android

ในด้านของปากกานั้น ผมไม่ได้ลองใช้วาดภาพ แต่ลองฟิลลิ่งขีดๆ เขียนๆ ได้ความรู้สึกไม่แตกต่างจาก Surface Pro ตัวแรกที่ใช้ Wacom เท่าไหร่นัก แต่ด้วยความที่ผมไม่ได้เป็นคนชอบวาดการ์ตูน เลยไม่ขอชี้นำว่ามันจะดีกว่าเดิม อาจจะต้องให้คนวาดการ์ตูนจริงจังลอง N-trig Stylus ว่าแตกต่างจากตัวเดิมแค่ไหน แต่ใช้ลอง Spot Healing Brush บน Photoshop CC เพื่อลองรีทัชภาพขนาดใหญ่จากกล้อง Nikon D800 ขนาดไฟล์ใหญ่ระดับ RAW ไฟล์ ความละเอียด 36MP แล้วบันทึกทำงานผ่านไฟล์ TIFF อีกครั้ง ตัว Surface Pro 3 ก็ยังคงทำงานได้ราบรื่นดี ความแม่นยำในการวาด Brush ทำได้ดีมากๆ ด้วยความที่ส่วนตัวใช้ Wacom Bamboo บนโน๊ตบุ๊ตในการตกแต่งภาพมาก่อน พอมาใช้แล้วรู้สึกสะดวกกว่ามาก คล้ายๆ กับ Wacom Cintiq เลยทีเดียว โดยระหว่างที่ลองทดสอบนั้น ผมไม่ได้เปิดตัวโปรแกรมอื่นๆ ร่วมด้วย โดยใช้งาน RAM ไปเกือบๆ 3.5GB โดยประมาณ

ตัวปากกามีความสามารถในการทำงานร่วมกับ OneNote ได้ดีมากๆ เพราะตัวปุ่มที่ปากกาสามารถทำตัวเป็นปุ่มเมาส์คลิ๊กขวา ยางลบ หรือเรียกเปิดแอพ OneNote ได้ทันที แต่กับแอพตัวอืนๆ นั้นอาจจะมีความแตกต่างกันไปบ้าง อาจจะต้องส่วนสอบดูอีกครั้ง เพราะยังไม่เห็นการตั้งค่าเฉพาะของแต่ละแอพ ซึ่งแตกต่างจาก Wacom ที่ตั้งค่าได้ว่าแต่ละแอพปุ่มเหล่านี้จะทำหน้าที่อะไร สร้างความหลากหลาย และแตกต่างในการใช้งานได้เฉพาะตัวมากขึ้น

จุดสังเกตคือ เจ้า N-trig Stylus นั้นต้องใช้แบตเตอรี่ขนาด AAAA (ถ่านสี่เอ) ในการทำงานด้วย ซึ่งอาจจะหายากสักหน่อย ส่วนหัวของ N-trig Stylus นั้น สอบถามทาง Microsoft Thailand แล้ว ได้ความว่ากำลังประสานงานเรื่องนี้อยู่

20140826_185736_Android

สำหรับในด้านจอภาพนั้นให้ความละเอียดระดับ 2160 x 1440 pixel แบบ Multi-touch นั้นเป็นสัดส่วนแบบ 3:2 ซึ่งแตกต่างจากแท็ตเล็ต ตัวอื่นๆ ในตลาดที่มักจะมาพร้อมสัดส่วนจอภาพแบบ 16:9 หรือ 4:3 ซึ่งในส่วนนี้แล้วแต่คนชอบ แต่ผมคิดว่าคนที่ซื้อมาใช้งานภาพถ่ายน่าจะชอบกัน เพราะสัดส่วนจะพอดีกับการถ่ายภาพไม่ว่าจะ 3:2 หรือ 4:3 ในกล้องถ่ายรูป

ความสว่าง และความเปรียบต่างของการแสดงผลนั้นทำได้ยอดเยี่ยม เสียดายว่าผมไม่ได้เอา Spyder ไปลองวัด Gamut ว่าเป็นอย่างไรบ้าง แต่จากมุมมองในการแสดงผลนั้น ทำได้ดี สีสันสวยงาม สีดำที่ดำได้สนิทจริงๆ ทำให้การใช้งานด้านภาพถ่ายนั้นทำงานได้สะดวกมากขึ้นด้วย เพาะจอภาพที่ให้สีดำไม่สนิทมักจะมีปํญหากับการตกแต่งภาพที่ไล่เฉดเทา-ดำ

20140826_191557_Android

มาดูด้านคีย์บอร์ดที่ตัว Surface Pro 3 นั้นไม่มี Touch Cover สำหรับตัวมันเองครับ มีแต่ Type Cover เท่านั้น แน่นอนว่า Microsoft บอกว่า สามารถเอา Touch Cover รุ่นเก่ามาใช้ได้ แต่มันดูแปลกๆ ไปนะ เพราะมันปิดจอได้ไม่ครอบคลุมสักเท่าไหร่นัก สำหรับตัว Type Cover ที่ใช้งานร่วมกับ Surface pro 3 จะมีส่วนของสอดเก็บปากกามาให้ด้วย

ปุ่ม Windows สำหรับกลับเข้าหนัา Start screen บน Surface Pro 3 ได้ถูกย้ายจากด้านล่างของตัวเครื่องมาไว้ที่ด้านข้างแทน คงเพราะ Type Cover สำหรับ Surface Pro 3 มันมีช่วงที่พับเข้าหาตัวเครื่องอยู่ส่วนหนึ่งตอนกางออกมาใช้งาน ด้วยเหตุผลด้านการสร้างความลาดเอียง และสร้างความถนัดต่อการพิมพ์มากขึ้น

สำหรับ Kick stand ที่ใน Surface RT กางได้ระดับเดียว และใน Surface 2 กางได้สองระดับแบบคงที่ พอมา Surface Pro 3 นั้นกางได้ไม่มีระดับคงที่ โดยกางได้สูงสุดถึง 150 องศา โดยไม่ได้ล็อคแบบรุ่นก่อนๆ ทำให้เราใช้งานได้หลากหลายมากขึ้นมาก

20140826_195316_Android

20140826_195633_Android 20140826_195643_Android

20140826_193218_Android 1

สำหรับลองจับ Surface Pro 3 นั้น คงเป็นการพรีวิวแบบคราวๆ ที่ยังไม่ลงลึกถึงรายละเอียดมากนักเพราะได้ลองใช้เพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่าไหร่ คงขอเวลาลองตัวจริง แบบใช้งานในชีวิตประจำวันอีกครั้งหนึ่ง แบบนานๆ หน่อย อาจจะเห็นจุดที่เป็นข้อสังเกต และควรรับทราบก่อนการตัดสินใจซื้อ

โดย Surface Pro 3 มีในไทยนั้นวางจำหน่ายทั้งหมด 5 รุ่น ในราคาเริ่มต้นที่ 29,500 บาท โดยทุกรุ่นมาพร้อมปากกา Surface Pen

ราคาขาย ณ. วันเปิดตัวจะมีราคาดังต่อไปนี้
– Intel Core i3 / RAM 4GB / 64GB ราคา 29,500 บาท
– Intel Core i5 / RAM 4GB / 128GB ราคา 35,500 บาท
– Intel Core i5 / RAM 8GB / 256GB ราคา 44,500 บาท
– Intel Core i7 / RAM 8GB / 256GB ราคา 53,900 บาท
– Intel Core i7 / RAM 8GB / 512GB ราคา 69,900 บาท

ส่วนคีย์บอร์ด Surface Pro Type Cover ที่มาพร้อมกับห่วงคล้องปากกา จะวางจำหน่ายที่ราคา 4,490 บาท

ส่วน Surface Pro 3 Docking Station นั้นทาง Microsoft Thailand คาดว่าจะนำเข้ามาขายด้วย แต่ยังไม่ให้คำตอบว่าเมื่อใด

สำหรับการประกันสินค้ามีรายละเอียดที่สอบถามทางฝั่ง Microsoft Thailand ดังนี้

1. การจำหน่ายผ่านช่องทางกลุ่มลูกค้าปลีก (Consumer Channel) ผ่าน IT City หรือ Banana IT จะได้ประกันสินค้า 1 ปี ทุกรุ่น ทุกตัว โดยขอเคลมสินค้าผ่านระบบเว็บ หรือโทรศัพท์ โดยมีพนักงานรับเคลมสินค้าจะเข้ามารับ และส่งเครื่องใหม่ให้ถึงบ้านโดยไม่ต้องนำเข้าร้านที่ซื้อมา (เป็นการเคลมสินค้าผ่าน UPS)

2. การจำหน่ายผ่านช่องทางกลุ่มลูกค้าบริษัท-ธุรกิจ (Business Channel) จะทำผ่านบริษัทตัวแทนของ Microsoft ซึ่งลองสอบถามทาง Microsoft Thailand ดูอีกที โดยจะได้ประกันสินค้า 1 ปี หรือสามารถซื้อเพิ่มเป็นแบบรับประกันแบบ 3 ปี หรือรับประกันสินค้าพร้อมรับประกันอุบัติเหตุแบบ 3 ปี ซึ่งเหมาะกับบริษัทที่ต้องการซื้อเป็นจำนวนมากๆ

โดยทาง Microsoft Thailand ยังไม่ตอบว่ากลุ่มลูกค้าปลีกจะสามารถซื้อแบบรับประกันแบบ 3 ปีเพิ่มเติมได้แบบกลุ่มลูกค้ากลุ่มบริษัท-ธุรกิจ หรือไม่ในอนาคต กำลังอยู่ในขั้นตอนการดูความเหมาะสม แต่ส่วนตัวแล้วนั้น อยากให้มี เพราะตัว Surface Pro 3 นั้น เชื่อได้ว่ากลุ่มลูกค้ามักจะซื้อไปทดแทนโน๊ตบุ๊คส่วนตัวซึ่งมักมีอายุการใช้งานประมาณ 3 ปีเป็นอย่างน้อยอยู่แล้ว

20140826_202840_Android