บันทึกการอัพเกรด จาก Windows 8.1 มา Windows 10

เป็นบันทึกที่ผมจะพยายามอัพเดทใส่ไปเรื่อยๆ ในช่วงนี้ครับ เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงหากคนอื่นๆ เจอปัญหา จะได้มีแนวทางแก้ไขต่อไป (ผมจะบันทึกเท่าที่ผมเจอนะ)

วิธีการอัพเกรดไป Windows 10 โดยไม่ต้องรอคิว หรือจองคิวไว้แล้วมันไม่เด้งให้อัพเกรดสักที (ซึ่งผมใช้วิธีนี้) อการเข้าไปที่ https://www.microsoft.com/en-us/software-download/windows10 แล้วโหลดมาติดตั้งได้เลย โดยเลือกรุ่นที่อัพให้ตรงกับที่กำลังอัพเกรด x86 vs x64 ซึ่งตัวติดตั้งเป็นตัวโปรแกรมเลือกอีกชั้นว่าจะใช้ภาษาอะไร รุ่น edition ไหน และสถาปัตยกรรมระบบอะไร สุดท้ายเลือกว่าจะโหลดมาใส่ใน media แบบไหน มีทั้ง Flash Drive และ ISO สำหรับ burn DVD แล้วค่อยรันไฟล์ติดตั้งจาก media นั้นๆ อีกที (ผมใช้ผ่าน Flash Drive) เมื่อจะติดตั้ง ให้ตัวเลือกติดตั้งมีแบบอัพเกรดโดยไม่ลบโปรแกรมและไฟล์ใดๆ เพียงแต่อาจต้องลง driver บางตัวใหม่ โดยระยะเวลาในการอัพเกรดประมาณ 1-3 ชั่วโมง พื้นที่ของ Drive C ควรเหลือไว้อย่างน้อยสัก 40 GB กำลังดี ซึ่งวิธีนี้คุณจะได้ทั้งการอัพเกรดในครั้งนี้ และไฟล์ติดตั้งไว้ใช้ติดตั้งใหม่ในครั้งหน้าได้อีกด้วย

สำหรับคำแนะนำอื่นๆ สามารถอ่านได้จาก วิธีอัพเกรดเป็น Windows 10.pdf ซึ่งเนื้อหาเป็นภาษาไทย อ่านง่ายครับ

11707760_10153425068310275_5934410800801799577_o

หลังจากติดตั้งก็ต้องปรับแต่งนิดหน่อย คือ

  1. ต้องปรับแต่งส่วนของ quick access ให้ไม่โชว์ recently used และ frequently used ไม่งั้นรกมาก

    2015-07-30_175648

  2. ปรับแต่งส่วนของ start panel ใหม่ เพราะมันไม่เอาที่จัดเรียงไว้จาก start screen เดิมมาให้ด้วย
  3. สำหรับคนที่ upgrade มา Windows 10 จาก Windows 7 หรือ Windows 8.1 แบบผม จะพบว่ามี folder ชื่อ Windows.old อยู่ ซึ่งกินเนื้อที่ค่อนข้างเยอะ (หลัก 10GB++) แนะนำให้ใช้ Disk Cleanup ในการลบได้ครับ โดยมันคือ folder ที่เก็บตัว Windows ตัวเก่าที่เราเพิ่งอัพเกรดมา เผื่อในอนาคตเราอยาก downgrade กลับไป มันก็จะใช้ folder นี้แหละในการ downgrade ให้ ซึ่งหากใครแน่ใจว่าไม่กลับไปแน่นอน
  4. หากลง Windows 10 แล้วเจอปัญหาว่า Windows update มัน update driver ตัวที่ไม่สมบูรณ์มาให้ ทั้งๆ ที่ลงตัวล่าสุดจากเว็บผู้ผลิตแล้ว ให้ใช้โปรแกรมย่อยที่ชื่อ Show or hide updates ที่ดาวน์โหลดได้จาก link ด้านล่างนี้มาปิดการอัพเดทนั้นๆ แล้วค่อยอัพเดท driver ตัวล่าสุดกลับมาอีกครั้ง โดยส่วนตัวเจอปัญหากับ NVIDIA driver จนทำให้การเรนเดอร์หน้าจอ และการใช้งานส่วนอื่นๆ ช้าไปหมดจนทำงานไม่ได้ครับ (How to temporarily prevent a Windows or driver update from reinstalling in Windows 10 https://support.microsoft.com/en-us/kb/3073930)ดาวน์โหลดไฟล์ wushowhide.diagcab มาครับ แล้วสั่งรัน จะได้หน้าตาแบบนี้แล้วกด Next

    2015-07-30_173052
    รอให้มันเช็คค่าต่างๆ สักหน่อย

    2015-07-30_173113
    ถ้าต้องการยกเลิกการอัพเดทอะไร ให้กด hidden updates ครับ

    2015-07-30_173205
    มันจะแสดงรายการ update/driver ต่างๆ ตรงนี้ก็เลือกตัวที่อาจจะมีปัญหาครับ (ติ๊กเครื่องหมายถูก) แล้วกด Next แล้วนั่งรอจากมันขึ้น Fixed ครับ

    2015-07-30_173225
    หลังจากนั้นก็ติดตั้ง driver ตัวที่มีปัญหาโดน Windows มัน update ทับไปใหม่อีกครั้งหากต้องการกลับมาปลด Hidden updates ออก สามารถทำผ่าน Show hidden updates โดยจะมีรายการที่เราทำไว้ก่อนหน้านี้แสดงและติ๊กเลือกเพื่อปลดออกไปครับ

    2015-07-30_173337

  5. ใครใช้ OpenVPN บน Windows 10 แนะนำให้อัพเกรดมารุ่นล่าสุด โดย ณ ตอนนี้คือ 2.3.7 เพื่อให้ใช้งานได้ต่อไปครับ

หลังจากทำสิ่งต่างๆ ทั้ง 5 ข้อแล้ว ทั้งหมดก็ทำงานลื่นดี ไม่มีปัญหา อัพจาก Windows 8.1 มา โปรแกรมที่ใช้ๆ อยู่ ทำงานได้ปรกติดี

2015-07-30_164647

สั้นๆ กับ Windows 10 Technical Preview

Untitled

ลงใช้ประมาณชั่วโมงกว่าๆ ได้ประมาณนี้

  • เครื่องที่ติดตั้งเป็น Sony VAIO 11E ซึ่งเป็น APU AMD, RAM 4G และ SSD 128GB โดย ไม่ได้ติดตั้งผ่าน VM ลงแบบ clean install ทับไปแทนตัว Windows 8.1 และเลือกไม่เก็บไฟล์ระบบเก่าไว้
  • การติดตั้งเหมือน Windows 8 ทุกอย่าง โดยระยะเวลาติดตั้งก็พอๆ กับ Windows 8
  • เจอจอฟ้า 1 ครั้งหลังจาก boot เข้าระบบครั้งแรก เป็นเพราะ driver การ์ดจอของ ATI (error code มันแจ้งมาแบบนั้น)
  • ส่วนของ start menu นั้นโดยรวมแม้จะเป็น UI Metro แต่ความรู้สึกเหมือน start menu บน Windows 7 อย่างมาก ส่วนที่แตกต่างคือการเอา Tile ของ Start Screen มาใส่บริเวณ icon เรียกใช้งานพวก Computer-Network แทน แล้วขยายออกด้านขวามือยาวๆ ไปแทนการเรียก Tile จากหน้า Start screen แบบ fullscreen ซึ่งส่วนตัวมองว่าเป็นการพัฒนาที่เหมาะสมกับ desktop computer ดีมาก เพราะทำให้ผู้ใช้ไม่รู้สึกแปลกแยกเวลาเข้าหน้า start screen ผ่าน desktop mode
  • ปุ่ม shutdown หาง่ายกว่าเดิม และรู้สึกดีกว่า Windows 7 ด้วยซ้ำไป
  • Charm bar ไม่โผล่มาแม้จะลากเมาส์ไปสุดจอด้านขวาแล้ว แต่ใช้ Win + C ยังเรียกได้อยู่ คาดว่าเพราะบน desktop mode มันไม่มีประโยชน์ใดๆ เพราะที่ start menu ก็มีความสามาถพวกนี้ครบอยู่แล้ว
  • Task View ดูดีนะ แต่ยังไม่สุด คงต้องปรับอีกพอสมควร เพราะยังงงๆ อยู่ ไม่มี indicator ช่วยคนใช้งานเพียงพอว่าอยู่ตรงไหน ย้ายไป-มาไม่ได้
  • เรื่อง driver ไม่น่าเป็นปัญหา คิดว่าใช้ของ Windows 8 ได้ทันที
  • การ sync profile จาก account เดิม โดยเป็นการย้ายแบบอัพเกรดมาจากเครื่องเดิม สามารถทำได้เลย wallpaper หรือพวก app profile มาครบเกือบทั้งหมดในเวลาไม่นานนัก แต่มีปัญหาว่าถ้าใช้ account ที่ sync ร่วมกับเครื่องอื่น จบพบว่าเครื่องเก่า start screen ที่ตั้งไว้ถูกปรับตาม Windows 10 ที่เพิ่งลงไป เลยต้องกลับมาไล่ปรับใหม่อีกรอบ
  • ความเร็วในการตอบสนอง และใช้การใช้ส่วนใหญ่ไม่ได้แตกต่างจาก Windows 8.1 เลย

สรุป ง่ายๆ มีแค่ start menu และ Task View ใหม่ที่น่าสนใจ อย่างอื่นนี่เล็กๆ น้อยไม่มีอะไรที่ดู wow เท่าไหร่ ถ้าไม่รีบอยากลองใช้ของพวกนี้ หรือต้องปรับแก้โปรแกรมให้รองรับ Windows 10 แนะนำให้รอ version beta หรือ RC น่าจะดีที่สุด

ลองจับ Surface Pro 3

โดยส่วนตัวแล้วนั้น ผมมี Surface RT ซึ่งทำงานด้วยระบบปฏิบัติการ Windows RT 8.1 อยู่ ซึ่งแน่นอนว่า Surface Pro 3 นี้ จะแตกต่างจากทั้ง Surface RT และ Surface 2 ที่กำลังทำตลาดไปก่อนหน้านี้ โดยมันจะทำงานด้วยระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 ที่สามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ที่เป็น Desktop Application ที่เคยทำงานใน Windows XP, Vista, 7 และแม้แต่ 8 ได้แบบเดียวกับในโน๊ตบุ๊ค ซึ่งหากใครจำได้ มันจะเป็นลักษณะเดียวกันกับ Surface Pro ตัวแรก ซึ่งทำตลาดไปเมื่อ 1 ปีก่อนหน้านี้ และเป็นไปตามคาดที่ Surface Pro 2 ไม่ทำตลาดในไทย

ในวันนี้ 28 สิงหาคม 2014 จะมีการเปิดตัว Surface Pro 3 ในประเทศไทย และขายอย่างเป็นทางการ ส่วนตัวได้มีโอกาสได้ลองเล่นเจ้าตัว Surface Pro 3 จาก Microsoft Thailand ก่อนวันเปิดตัวจริงถึง 2 วัน ฉะนั้น ในตอนนี้จะมาเล่าว่า Surface Pro 3 นั้นน่าสนใจยังไง

ตัวเครื่องที่ได้ลองใช้งานนั้นเป็น Intel Core i5, RAM 4GB, SSD 128GB ซึ่งราคาขายอยู่ที่ 35,500 บาท (ราคารวมปากกา ไม่รวมคีย์บอร์ด)

20140826_183747_Android

ถึงแม้จะเป็นแท็บเล็ต แต่ด้วยความที่ส่วนประกอบภายในแบบเดียวกับโน๊ตบุ๊คบางเบา ทำให้ต้องมีช่องระบายความร้อน พร้อมพัดลมเพื่อนำความร้อนออกสู่ภายนอก ซึ่งหากใครเคยได้ลองใช้ หรือมี Surface Pro จะทราบว่า ส่วนระบายความร้อนนี้จะทำให้เครื่องหนากว่ารุ่น Surface RT อยู่พอสมควร แต่ใน Surface Pro 3 นั้นกลับทำได้บางมาก และนั้นทำให้การพกพานั้นสะดวกมากขึ้น

พอร์ตต่างๆ ไม่ว่าจะหูฟัง USB 3.0 และ Display port นั้น นั้นไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก ซึ่งมีหลายเสียงอยากให้เพิ่มพอร์ต USB 3.0 ให้มากขึ้นมากกว่าเดิมสัก 2 พอร์ต น่าจะดี แต่ก็มีทางเลือกคือ Docking Station (ที่มีให้มา 5 พอร์ต) หรือ USB 3.0 Hub มาต่อแทน ซึ่งก็อาจไม่สะดวกนักสำหรับคนที่ทำนอกสถานที่

ส่วนที่เปลี่ยนแปลงคือพอร์ตสำหรับต่อสายชาร์จไฟ ที่มีการเปลี่ยนแปลงจาก Surface รุ่นก่อนหน้านี้ ไม่สามารถนำรุ่นเก่ามาใช้งานร่วมได้เลย โดยดดูๆ แล้ว น่าจะแก้ไขปัญหาตัวเก่าที่พอร์ตสายชาร์จนั้นใช้งานได้ค่อนข้างยากได้ดีมากขึ้น เพราะรุ่นเก่านั้น ด้วยความที่มันลาดเอียง ทำให้การต่อสายชาร์จแบบแม่เหล็กนั้นทำได้ค่อนข้างยาก

20140826_184059_Android 20140826_184121_Android

ตัวเครื่องนั้นบางลงกว่าเดิมพอสมควร แน่นอนว่าความบางที่ได้มานั้น มาจากพื้นที่ที่ขยายมากขึ้นด้วยขนาดจอภาพที่ใหญ่ขึ้นจาก 10 นิ้ว มาเป็น 12 นิ้ว

มีน้ำหนักที่เบาลง หนักกว่า Surface RT แรกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้เวลาจับถือ ผมรู้สึกว่าไม่ได้แตกต่างจากเดิมเท่าไหร่นัก

20140826_195413_Android 20140826_195448_Android

ในด้านของปากกานั้น ผมไม่ได้ลองใช้วาดภาพ แต่ลองฟิลลิ่งขีดๆ เขียนๆ ได้ความรู้สึกไม่แตกต่างจาก Surface Pro ตัวแรกที่ใช้ Wacom เท่าไหร่นัก แต่ด้วยความที่ผมไม่ได้เป็นคนชอบวาดการ์ตูน เลยไม่ขอชี้นำว่ามันจะดีกว่าเดิม อาจจะต้องให้คนวาดการ์ตูนจริงจังลอง N-trig Stylus ว่าแตกต่างจากตัวเดิมแค่ไหน แต่ใช้ลอง Spot Healing Brush บน Photoshop CC เพื่อลองรีทัชภาพขนาดใหญ่จากกล้อง Nikon D800 ขนาดไฟล์ใหญ่ระดับ RAW ไฟล์ ความละเอียด 36MP แล้วบันทึกทำงานผ่านไฟล์ TIFF อีกครั้ง ตัว Surface Pro 3 ก็ยังคงทำงานได้ราบรื่นดี ความแม่นยำในการวาด Brush ทำได้ดีมากๆ ด้วยความที่ส่วนตัวใช้ Wacom Bamboo บนโน๊ตบุ๊ตในการตกแต่งภาพมาก่อน พอมาใช้แล้วรู้สึกสะดวกกว่ามาก คล้ายๆ กับ Wacom Cintiq เลยทีเดียว โดยระหว่างที่ลองทดสอบนั้น ผมไม่ได้เปิดตัวโปรแกรมอื่นๆ ร่วมด้วย โดยใช้งาน RAM ไปเกือบๆ 3.5GB โดยประมาณ

ตัวปากกามีความสามารถในการทำงานร่วมกับ OneNote ได้ดีมากๆ เพราะตัวปุ่มที่ปากกาสามารถทำตัวเป็นปุ่มเมาส์คลิ๊กขวา ยางลบ หรือเรียกเปิดแอพ OneNote ได้ทันที แต่กับแอพตัวอืนๆ นั้นอาจจะมีความแตกต่างกันไปบ้าง อาจจะต้องส่วนสอบดูอีกครั้ง เพราะยังไม่เห็นการตั้งค่าเฉพาะของแต่ละแอพ ซึ่งแตกต่างจาก Wacom ที่ตั้งค่าได้ว่าแต่ละแอพปุ่มเหล่านี้จะทำหน้าที่อะไร สร้างความหลากหลาย และแตกต่างในการใช้งานได้เฉพาะตัวมากขึ้น

จุดสังเกตคือ เจ้า N-trig Stylus นั้นต้องใช้แบตเตอรี่ขนาด AAAA (ถ่านสี่เอ) ในการทำงานด้วย ซึ่งอาจจะหายากสักหน่อย ส่วนหัวของ N-trig Stylus นั้น สอบถามทาง Microsoft Thailand แล้ว ได้ความว่ากำลังประสานงานเรื่องนี้อยู่

20140826_185736_Android

สำหรับในด้านจอภาพนั้นให้ความละเอียดระดับ 2160 x 1440 pixel แบบ Multi-touch นั้นเป็นสัดส่วนแบบ 3:2 ซึ่งแตกต่างจากแท็ตเล็ต ตัวอื่นๆ ในตลาดที่มักจะมาพร้อมสัดส่วนจอภาพแบบ 16:9 หรือ 4:3 ซึ่งในส่วนนี้แล้วแต่คนชอบ แต่ผมคิดว่าคนที่ซื้อมาใช้งานภาพถ่ายน่าจะชอบกัน เพราะสัดส่วนจะพอดีกับการถ่ายภาพไม่ว่าจะ 3:2 หรือ 4:3 ในกล้องถ่ายรูป

ความสว่าง และความเปรียบต่างของการแสดงผลนั้นทำได้ยอดเยี่ยม เสียดายว่าผมไม่ได้เอา Spyder ไปลองวัด Gamut ว่าเป็นอย่างไรบ้าง แต่จากมุมมองในการแสดงผลนั้น ทำได้ดี สีสันสวยงาม สีดำที่ดำได้สนิทจริงๆ ทำให้การใช้งานด้านภาพถ่ายนั้นทำงานได้สะดวกมากขึ้นด้วย เพาะจอภาพที่ให้สีดำไม่สนิทมักจะมีปํญหากับการตกแต่งภาพที่ไล่เฉดเทา-ดำ

20140826_191557_Android

มาดูด้านคีย์บอร์ดที่ตัว Surface Pro 3 นั้นไม่มี Touch Cover สำหรับตัวมันเองครับ มีแต่ Type Cover เท่านั้น แน่นอนว่า Microsoft บอกว่า สามารถเอา Touch Cover รุ่นเก่ามาใช้ได้ แต่มันดูแปลกๆ ไปนะ เพราะมันปิดจอได้ไม่ครอบคลุมสักเท่าไหร่นัก สำหรับตัว Type Cover ที่ใช้งานร่วมกับ Surface pro 3 จะมีส่วนของสอดเก็บปากกามาให้ด้วย

ปุ่ม Windows สำหรับกลับเข้าหนัา Start screen บน Surface Pro 3 ได้ถูกย้ายจากด้านล่างของตัวเครื่องมาไว้ที่ด้านข้างแทน คงเพราะ Type Cover สำหรับ Surface Pro 3 มันมีช่วงที่พับเข้าหาตัวเครื่องอยู่ส่วนหนึ่งตอนกางออกมาใช้งาน ด้วยเหตุผลด้านการสร้างความลาดเอียง และสร้างความถนัดต่อการพิมพ์มากขึ้น

สำหรับ Kick stand ที่ใน Surface RT กางได้ระดับเดียว และใน Surface 2 กางได้สองระดับแบบคงที่ พอมา Surface Pro 3 นั้นกางได้ไม่มีระดับคงที่ โดยกางได้สูงสุดถึง 150 องศา โดยไม่ได้ล็อคแบบรุ่นก่อนๆ ทำให้เราใช้งานได้หลากหลายมากขึ้นมาก

20140826_195316_Android

20140826_195633_Android 20140826_195643_Android

20140826_193218_Android 1

สำหรับลองจับ Surface Pro 3 นั้น คงเป็นการพรีวิวแบบคราวๆ ที่ยังไม่ลงลึกถึงรายละเอียดมากนักเพราะได้ลองใช้เพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่าไหร่ คงขอเวลาลองตัวจริง แบบใช้งานในชีวิตประจำวันอีกครั้งหนึ่ง แบบนานๆ หน่อย อาจจะเห็นจุดที่เป็นข้อสังเกต และควรรับทราบก่อนการตัดสินใจซื้อ

โดย Surface Pro 3 มีในไทยนั้นวางจำหน่ายทั้งหมด 5 รุ่น ในราคาเริ่มต้นที่ 29,500 บาท โดยทุกรุ่นมาพร้อมปากกา Surface Pen

ราคาขาย ณ. วันเปิดตัวจะมีราคาดังต่อไปนี้
– Intel Core i3 / RAM 4GB / 64GB ราคา 29,500 บาท
– Intel Core i5 / RAM 4GB / 128GB ราคา 35,500 บาท
– Intel Core i5 / RAM 8GB / 256GB ราคา 44,500 บาท
– Intel Core i7 / RAM 8GB / 256GB ราคา 53,900 บาท
– Intel Core i7 / RAM 8GB / 512GB ราคา 69,900 บาท

ส่วนคีย์บอร์ด Surface Pro Type Cover ที่มาพร้อมกับห่วงคล้องปากกา จะวางจำหน่ายที่ราคา 4,490 บาท

ส่วน Surface Pro 3 Docking Station นั้นทาง Microsoft Thailand คาดว่าจะนำเข้ามาขายด้วย แต่ยังไม่ให้คำตอบว่าเมื่อใด

สำหรับการประกันสินค้ามีรายละเอียดที่สอบถามทางฝั่ง Microsoft Thailand ดังนี้

1. การจำหน่ายผ่านช่องทางกลุ่มลูกค้าปลีก (Consumer Channel) ผ่าน IT City หรือ Banana IT จะได้ประกันสินค้า 1 ปี ทุกรุ่น ทุกตัว โดยขอเคลมสินค้าผ่านระบบเว็บ หรือโทรศัพท์ โดยมีพนักงานรับเคลมสินค้าจะเข้ามารับ และส่งเครื่องใหม่ให้ถึงบ้านโดยไม่ต้องนำเข้าร้านที่ซื้อมา (เป็นการเคลมสินค้าผ่าน UPS)

2. การจำหน่ายผ่านช่องทางกลุ่มลูกค้าบริษัท-ธุรกิจ (Business Channel) จะทำผ่านบริษัทตัวแทนของ Microsoft ซึ่งลองสอบถามทาง Microsoft Thailand ดูอีกที โดยจะได้ประกันสินค้า 1 ปี หรือสามารถซื้อเพิ่มเป็นแบบรับประกันแบบ 3 ปี หรือรับประกันสินค้าพร้อมรับประกันอุบัติเหตุแบบ 3 ปี ซึ่งเหมาะกับบริษัทที่ต้องการซื้อเป็นจำนวนมากๆ

โดยทาง Microsoft Thailand ยังไม่ตอบว่ากลุ่มลูกค้าปลีกจะสามารถซื้อแบบรับประกันแบบ 3 ปีเพิ่มเติมได้แบบกลุ่มลูกค้ากลุ่มบริษัท-ธุรกิจ หรือไม่ในอนาคต กำลังอยู่ในขั้นตอนการดูความเหมาะสม แต่ส่วนตัวแล้วนั้น อยากให้มี เพราะตัว Surface Pro 3 นั้น เชื่อได้ว่ากลุ่มลูกค้ามักจะซื้อไปทดแทนโน๊ตบุ๊คส่วนตัวซึ่งมักมีอายุการใช้งานประมาณ 3 ปีเป็นอย่างน้อยอยู่แล้ว

20140826_202840_Android

สงสัย Microsoft จะ BUILD ไม่ขึ้น ตลาดแท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนดูท่าแย่

เพราะถ้ากล่าวจากการสังเกตุ และติดตาม หลังจบครบทั้ง BUILD, WWDC และ Google I/O และตามมาถึง WPC 2014 ของ Microsoft อีกรอบ (ซึ่งกระแสงานเงียบมากเท่าที่ผมรู้สึก) จะเห็นได้ชัดว่า งานทั้ง WWDC และ Google I/O นั้นจัดหนักๆ และเยอะสุดๆ สำหรับ consumer ซึ่งดูแล้วรู้สึกได้ประโยชน์สำหรับกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้มาก ส่วน Microsoft ดูจะเหมือนเยอะ แต่ consumer  ดูจับต้องได้ยาก แม้ Cortana จะดูเป็นกระแสดีในหลายๆ เรื่อง แต่ก็ดูจะจับต้องยากอยู่ดี แถม Internet of Things ที่ได้นำเสนอมาก็ดูห่างไกลกว่าความเป็นจริงเหลือเกินกับตัวอย่างภายในงาน BUILD เพราะยังงงๆ ว่ามันจะช่วยอะไรในชีวิตเราได้บ้าง ซึ่งแตกต่างจากฝั่ง Apple และ Google ที่นำเสนอได้เห็นภาพชัดเจนกว่า แม้ไม่ได้สื่อถึงคำว่า Internet of Things แบบที่ Microsoft กำลังสื่อสารออกไป คือผมดูงาน BUILD แล้วไม่รู้ว่าตัวเองจะได้ประโยชน์อะไรกับความสามารถใหม่ๆ เมื่อเทียบกับงาน Google I/O ที่ดูหลากหลาย และเยอะสุดๆ อาจจะใช้ได้จริงบ้างไม่ได้จริงบ้าง แต่เห็นภาพชัดว่ามันจะผสมผสานกันยังไง และแน่นอนว่ามันต้องโดนสักตัวแหละ ส่วน WWDC ก็เป็นการคุมเชิง และพัฒนาที่ค่อนข้างน่าสนใจ คือความสามารถใหม่ใน Mac OS X ดูน่าใช้มากๆ และดูจับต้องได้ มันมีการผสมผสานกันระหว่างระบบหลายๆ ตัวเข้าด้วยกันให้ทำงานร่วมกันได้เนียนขึ้น แต่พอกลับมาดูฝั่ง BUILD และกระแสความสามารถที่จะสู้กับคู่แข่งของ platform กลุ่ม modern ของ Microsoft ในช่วงหลังๆ แล้ว ต้องบอกว่า  Windows phone อาการขั้นโคม่ามาก (จะบอกว่าตายแล้วก็แรงไป) แค่ไล่ตามนี่แทบเป็นไปไม่ได้เลย คือค่ายอื่นเค้าวิ่งแซงทดรอบไปหลายรอบแล้ว ส่วน Windows RT คงสภาพพอๆ กัน คือในงาน BUILD นั้น Windows RT แทบไม่มีการพัฒนาในแง่ความสามารถในส่วนของ comsumer มากนัก พอเทียบกันแล้วก็ได้แต่ถอนหายใจแรงๆ เพราะดูไร้อนาคตมากทั้ง 2 ตัวนี้ เพราะหากดูจากประสบการณ์ส่วนตัวแล้วนั้น ฝั่งแท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน จากฝั่ง Microsoft ทั้ง Lumia 920 ซึ่งผมใช้ Windows phone 8 (และ 8.1) ที่ใช้งานจริงจังเป็นเครื่องหลักมากว่า 1 ปี กับอีก 10 เดือน (ผมซื้อวันแรกๆ ที่ขายในไทย) และ Surface RT ซึ่งใช้ Windows RT (และ RT 8.1) ต้องบอกว่า ทั้ง 2 ส่วนนี้ Microsoft ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าช้ามากๆ บริการต่างๆ ที่พ่วงมากับ ecosystem ที่อยู่บน platform ของตัวเองนั้น สำหรับประเทศกลุ่มที่ 2 อย่างไทยเรานั้น กลับมีความสามารถที่ห่างชั้นมากกับประเทศกลุ่มที่ 1 ซึ่งผิดกับคู่แข่งที่มีพัฒนาการที่ดี หลากหลาย พัฒนาต่อเนื่อง และรองรับภาษาท้องถิ่นมากขึ้นเรื่อยๆ

ประเด็นหลักที่ทำให้การแข่งขันในตลาดแท็บเล็ต และสมาร์ทโฟนของ Microsoft ดูทำท่าจะแย่นั้นเกิดจาก แอพต่างๆ และ ecosystem ที่ไม่สร้างแรงจูงใจในการที่ให้กลุ่มลูกค้าจากค่ายอื่นๆ ให้หันมาใช้ ถึงแม้จะบอกว่าตัวเองมีแอพคล้ายๆ กับคู่แข่งอยู่เกือบทั้งหมด แต่ความสามารถที่น้อยกว่า นั้นทำให้ยากมากที่กลุ่มลูกค้าเดิมจากค่ายอื่นจะจ่ายเงินในราคาเกือบเท่า หรือแพงกว่าเพื่อหันมาซื้อ (จ่ายแพงกว่าได้ของที่ทำอะไรได้น้อยกว่า ใครจะซื้อ) ตัวอย่างเช่น Evernote บน Windows phone นั้นต้องบอกว่าเข้าขั้นห่วยแตก หรือแม้แต่แอพ Twitter, Facebook, Instagram ที่มีความสามารถที่แค่ไล่ตาม และไม่ได้รับการดูแลเจ้าของบริการเท่าที่ควร แม้ Microsoft จะบอกว่าเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้เพราะเจ้าของบริการไม่สนับสนุน แต่นั้นก็ไม่ได้หมายความถึงการปัดความรับผิดชอบต่อกลุ่มผู้ใช้ตัวเอง ต้องมีการพูดคุยและผลักดันให้หนักกว่านี้ เพื่อให้กลุ่มผู้ใช้ของตนได้รับความรู้สึกถึงการใช้งานที่ไม่ได้เป็นกลุ่มคนเล็กๆ ในตลาด แต่โดยส่วนตัวเองที่เป็นนักพัฒนาแอพคนหนึ่งที่ได้พัฒนาแอพอยู่เนืองๆ ก็อยากบอกว่าเป็นความผิดของ Microsoft เองด้วยที่ออก API สำหรับให้นักพัฒนาใช้ได้อย่างจำกัดมากๆ ซึ่งแน่นอนในมุมนักพัฒนาต้องบอกเลยว่าสิ่งอำนวยความสะดวก และแนวคิดการ “เขียนแอพให้ดี” บน Windows phone และ Windows RT (คิดว่าพูดรวมๆ กันได้เพราะเกิดใกล้ๆ กัน) นั้นมันน้อย ทั้ง API ยังง่อยๆ ทำอะไรง่ายๆ ให้มันยากๆ ยิ่งแล้วใหญ่เลย ส่วนตัวได้สัมผัสกับ API ลึกๆ แล้วส่ายหน้าหนีเลย ผิดกับ API บนฝั่ง Desktop อย่างมาก แม้แต่บน Windows RT ก็แย่พอกัน ก็ไม่รู้ว่าจะพัฒนาให้ทัดเทียมได้เมื่อไหร่ แต่ไหนๆ ก็บ่นแล้ว ก็อยากบอก Microsoft ว่า ถ้าคิดอะไรไม่ออก ก็ไปดู Developer API ของ Android กับ iOS แล้วทำตามเลยหมดเรื่อง คือแฟนบอย Microsoft อย่างผมคงต้องทำใจ และยอมรับว่า Microsoft ช้าเอง ช้ามากๆ แถมไม่มีทีท่าว่าจะอยากทำอะไรให้มันเร็วๆ คือคงได้แต่ทำใจ ให้ตลาดสมาร์ทโฟนกับ Google ไปจริงๆ ส่วนตลาดแท็บเล็ตถ้ายังทำ Windows RT และ Windows 8.1 ที่แอพใน Windows Store app น้อยๆ ความสามารถของ OS ที่ไปสนับสนุนแอพนั้นยังน้อยๆ อยู่แบบนี้ สงสัยคงกลับไปซับน้ำตาที่ Desktop mode ที่ตัวเองถนัดเหมือนเดิม แต่ก็นะ ตลาด Desktop/Notebook PC ที่หดตัว คงทำให้ Microsoft ต้องปรับตัวหันไปทำงานที่ตัวเองถนัดอย่าง enterprise , cloud และ services มากกว่าจะลงมายุ่งกับ consumer ที่เทรนสินค้าตอนนี้มันพ่วงทั้ง H/W S/W และ ecosystem ที่มันมายกชุด ถ้าสินค้ามีไม่ครบ แถมแอพไม่เยอะพอ ก็คงรอดยาก แล้วรักษาฐานที่มั่นบน enterprise ให้ดีๆ ไว้ คือตอนนี้ผมหล่ะกลัวเทรน Bring Your Own Device (BYOD) ที่ Google และ Apple จะเอามาใช้ล้อม Microsoft ในตลาด enterprise จนทำให้ Microsoft มีความเสี่ยงในตลาด enterprise ในอนาคตด้วย เพราะล่าสุด Apple จับมือกับ IBM เพื่อบุกตลาด enterprise แล้วแน่ๆ

ปัญหาในตอนนี้ของ Microsoft ที่ต้องรีบแก้ไข ถ้ายังจะสู้ต่อในตลาด H/W S/W และ ecosystem ในตลาด consumer ก็คือ

1. แก้ไขเรื่อง supply chain ที่ส่งสินค้าลงสู่ลูกค้าให้ทัน คือจากที่เจอ กว่าจะถึงประเทศกลุ่มที่ 2 (เค้าว่าไทยเราเป็นกลุ่มนี้) ก็ออกรุ่นใหม่ในกลุ่มที่ 1 แล้ว ซึ่งผิดกับคู่แข่งที่ออกมาเร็วกว่ามาก

2. services ที่พ่วงมากับ ecosystem ที่อยู่บน platform ตัวเองนั้นกลับมีความสามารถที่ห่างชั้นมากกับประเทศกลุ่มที่ 1 ซึ่งผิดกับคู่แข่งที่มีพัฒนาการที่ดีกว่าและความสามารถนั้นหลากหลาย มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แถมรองรับภาษาท้องถิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

3. S/W และ ecosystem ที่ไม่สร้างแรงจูงใจในการที่ให้ลูกค้าหันมาใช้

4. UI มันปรับวิธีคิดของคนส่วนใหญ่ที่คุ้นชินกับความคุ้นเคยมากเกินไป มันทำให้คนใช้ดูโดดเดี่ยวกับสังคมอย่างมาก เป็นที่มาของการใช้งานแล้ว ไม่รู้จะถามใคร หรือแก้ไขปัญหาเวลาเจอปัญหายังไง เพราะคนที่อาจจะใช้งาน 2 ค่ายหลักคล่องๆ อาจจะมางงเป็นไก่ตาแตกได้ใน UI ของ Windows phone และ Windows RT คือถ้าใช้คล่องๆ มันโอเค แต่ใหม่ๆ มาใช้นี่งงมาก แถมแก้ไขปัญหาทีเปิดเว็บต่างประเทศทีนึง

ทั้งหมดนี้เป็นบทวิเคราะห์ที่ใช้มุมในแง่มุมหนึ่ง ของคนที่ใช้ทั้ง Windows 8.1, Windows RT และ Windows phone 8/8.1 ซื้อทั้ง Lumia 920 (ลอตเปิดตัวในไทยของ dtac) และ Surface RT ซึ่งเห็นการพัฒนาของ Windows RT และ Windows phone 8/8.1 มาอย่างต่อเนื่อง แล้วก็ได้ถอนหายใจ เพราะมันทำให้ Lumia 920 และ Surface RT ดูง่อยๆ อย่างบอกไม่ถูก คือพยายามปรับตัว และค่อยๆ ใช้งานไป โดยทั้ง Lumia 920 ทีใช้ Windows phone 8/8.1 มาเกือบๆ 18 เดือน (ใช้เป็นเครื่องหลัก) และ Surface RT ที่ใช้งานมาประมาณ 6-7 เดือนได้  แถมข่าวล่าสุดยกเลิกสายการผลิต Nokia X ลอยแพคนซื้อ Nokia X platform ไปดื้อๆ แบบเดียวกับตอน Windows phone 7 ผมในฐานะผู้ใช้งานที่ตาม Microsoft มาอย่างต่อเนื่อง ต้องพูดแบบไม่เกรงใจว่า “สงครามตลาดสมาร์ทโฟนสำหรับบริษัทที่ชื่อ Microsoft แทบจะหมดสิ้นซึ่งศรัทธาจากคนสนับสนุนหลายๆ คนไปแล้ว ก็ไม่รู้จะว่ายังไง ก็ทำตัวเองทั้งนั้น”

ลองของใหม่ Windows 8.1 update เพื่อคนใช้เมาส์!!!

ใน Keynote เปิดงาน BUILD 2014 ได้ประกาศเรื่อง Windows 8.1 update ซึ่งเป็น update ตัวแรกของ Windows 8.1 โดยประกาศว่าจะพร้อมให้โหลดเป็นการทั่วไป (GA) ในวันที่ 8 เมษายน 2014 นี้ ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันที่ Windows XP จะหมดระยะเวลาสนับสนุนเพิ่มเติม (Extended support) ในวันดังกล่าวด้วย

โดยผมนั้นได้โหลดไฟล์จากมิตรสหายท่านหนึ่งที่มีบัญชีผู้ใช้งานใน MSDN ซึ่งใน MSDN นั้นได้ปล่อยให้สมาชิกโหลดได้หลังจากงาน Keynote เปิดงาน BUILD 2014 จบลง ซึ่งส่วนตัวผมเพิ่งโหลด Windows 8.1 update มาติดตั้งในช่วงเที่ยงๆ ของวันที่ 3 เมษายน 2014 นี้เอง

โดยในไฟล์ติดตั้ง Windows 8.1 update ด้านล่างนี้ เป็นไฟล์ติดตั้งที่คาดว่าจะเป็นตัวเดียวกับที่จะปล่อยออกมาทาง Windows update ตามปรกติในสัปดาห์หน้า (8 เมษายน 2014) ซึ่งหลายคนคงสับสนกับตอนอัพเกรดมาใช้ Windows 8.1 เพราะใน Windows 8.1 นั้นต้องอัพเกรดผ่านทาง Windows Store โดยตัวนี้เหมือนเป็นไฟล์ update ระบบทั่วๆ ไป ไม่มีอะไรพิเศษมากหรือปรับปรุงโครงสร้างระบบเยอะแยะแบบ Windows 8 มา Windows 8.1

การติดตั้งนั้นมีไฟล์ KB อยู่ทั้งหมด 6 ไฟล์ ใช้พื้นที่รวมกันเกือบๆ 789MB ซึ่งได้แก่

  1. KB2919442 – Windows8.1-KB2919442-x64.msu
  2. KB2919355 – Windows8.1-KB2919355-x64.msu
  3. KB2932046 – Windows8.1-KB2932046-x64.msu
  4. KB2937592 – Windows8.1-KB2937592-x64.msu
  5. KB2938439 – Windows8.1-KB2938439-x64.msu
  6. KB2949621 – Windows8.1-KB2949621-v2-x64.msu

การติดตั้งก็ไล่ลำดับจากบนลงล่างอย่าได้สลับลำดับกัน ค่อยๆ ติดตั้งไปเรื่อยๆ การติดตั้งอาจจะต้องมีการ restart อยู่บ้าง 3-4 รอบ ก็ทำตามขั้นตอนไป

หลังจากติดตั้งครบทั้งหมด โดยใช้เวลาไม่นานมาก ประมาณ 15-20 นาที สิ่งแรกคือ “Start menu ตัวใหม่ที่กำลังกลับมา ไม่ได้มาพร้อมกับ Windows 8.1 update ที่กำลังจะปล่อยในเร็ววันนี้” (รูปตัวอย่างด้านล่าง)

BkPEJAhIgAA7Ts2.png large

ใน PC Info ไม่มีอะไรเพิ่มเติมที่บอกว่าเราใช้ Windows 8.1 update

2014-04-03_134911

เริ่มต้นจากในหน้า Start screen นั้นมีการปรับปรุงในการแสดงผลปุ่ม power และปุ่ม search เพิ่มเติมเข้ามา เพื่อให้หาง่ายขึ้น เมื่อมีแอพใหม่ๆ ไม่ว่าจะติดตั้งผ่าน Windows Store หรือ Desktop app ก็จะมีจำนวนบอกอยู่ที่ All app ด้านล่างซ้าย

2014-04-03_134633

เมื่อคลิ้กดู App app เพื่อตรวจสอบว่ามีแอพใหม่อะไรบ้าง ก็จะมีแถบสี และตัวอักษร NEW กำกับไว้ด้านท้าย

2014-04-03_134751

ส่วนตัวรู้สึกเหมือน Microsoft ทำมาประชดเรื่องหาปุ่ม power ไม่เจอใน Windows 8 และ 8.1 จริงๆ นะ เพราะใน Windows 8.1 update พวกเอามาวางไว้ที่ Start screen ให้เห็นชัดๆ แบบเต็มๆ ตา

image

เมื่อคลิ้กขวาได้ เวลาค้นหาที่เมนู Search Charm หรือ Networks Charm ก็จะมีคำสั่งลัดขึ้นมาให้เราใช้งานได้รวดเร็วมากขึ้น

image image

สิ่งแรกคือ Tiles ต่างๆ นั้น สามารถนำเมาส์ไปคลิ้กขวาแล้วจัดการ Tile ต่างๆ ได้เลย เหมือนทัชตามปรกติ ไม่ต้องลากเมาส์ขึ้นไป แล้วมาสั่งงานที่ App bar แบบเดิม

เราสามารถ Pin ตัว Windows Store app บน Taskbar ได้แล้วใน Windows 8.1 update ตัวนี้

2014-04-03_141454

การเปลี่ยนชื่อ groups ของ Tile ก็แค่คลิ้กขวาที่พื้นหลัง Start screen ก็จะมีเมนูขึ้นมาให้จัดการให้

2014-04-03_141517

เลื่อนเมาส์ลงไปด้านล่างให้สุด ขอบจอจะมี Taskbar โผล่ขึ้นมาทันที ซึ่งเราสามารถใช้มันสลับการทำงานระหว่าง Desktop app กับ Windows Store apps ที่เปิดอยู่ได้ โดยแอพที่เปิดอยู่นั้น จะเปิดใน Desktop mode หรือ Start Screen ตัวแอพทุกๆ ตัวจะมีรายการแอพที่เปิดอยู่ไปโผล่ที่ Taskbar ใน Desktop mode ด้วย ทำให้เราสลับแอพด้วยเมาส์ได้ง่ายมากขึ้นจากเดิมมาก

2014-04-03_135146

เมื่อมีความสามารถ Pin to Taskbar ของ Windows Store apps ก็ทำให้การเรียกใช้งานง่ายขึ้นจากหน้า Desktop mode โดยไม่ต้องเข้าหน้า Start screen ให้เสียเวลา

2014-04-03_135023

เมื่อ Pin to taskbar  ได้ เราก็สามารถเปิด-ปิด รวมไปถึงสั่ง Pin หรือ Unpin ที่ Taskbar โดยไม่ต้องไปหน้า Start screen ตามแนวคิดเดิมๆ

2014-04-03_144620

Taskbar Thumbnail Previews สามารถใช้งานกับ Windows Store apps ได้ด้วย

image

เมื่อเลือก Windows Store apps ที่เปิดอยู่ ตัว Taskbar และ Titlebar จะแสดงผลค้างอยู่สักพัก และเมื่อเราเริ่มใช้งาน Windows Store apps ตัว Taskbar และ Titlebar ก็จะเลื่อนหายลงไป-ขึ้นไป และแสดงผลแบบเต็มจอตามแบบเดิม

2014-04-03_145956

ถ้าเลื่อนเมาส์ขึ้นไปด้านบน Titlebar ของ Windows Store apps ก็จะเลื่อนลงมา

2014-04-03_150133

ในส่วนที่สำคัญคือของ Windows control box ด้านซ้ายที่สามารถบังคับตัว Windows Store apps ให้ Split Left/Right ได้ รวมไปถึงยังทำงานโดยใช้คำสั่ง Minimize/Close แบบเดียวกับ Windows decoration ที่มีมาควบคู่กับ Titlebar แต่อยู่ด้านขวามือได้ด้วย ทำให้การย่อ-ปิด Windows Store apps ทำได้สะดวกมากขึ้นสำหรับการใช้เมาส์

2014-04-03_135108 image

และแน่นอนว่าเมื่อ Start screen สามารถแสดงผล Taskbar ได้เมื่อซ่อนไปแล้ว ใน Windows Store apps ก็ทำแบบเดียวกันได้แน่ๆ โดยเลื่อนเมาส์ลงมาด้านล่าง Taskbar ของ Store app จะเลื่อนขึ้นมา

2014-04-03_145340

สำหรับปุ่ม Start นั้นยังคงทำหน้าที่เดิมใน Windows 8.1 ก่อนหน้านี้ คลิ้กขวา ที่ปุ่ม Start ก็มีเมนูอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมแบบเดิมๆ

2014-04-03_134844

ตัวเลือก Taskbar and Navigation properties นั้นส่วนเพิ่มเติมคือ Show Windows Store apps on the taskbar ซึ่งเลือกให้มาเป็นค่าเริ่มต้น ถ้าไม่อยากได้ความสามารถด้านบนในส่วนของ Taskbar ที่ทำงานร่วมกับ Windows Store apps ที่กล่าวมาก็ติ้กเอาออกไปได้

2014-04-03_134652

ตัวเลือก “When I sign in or close all applications on a screen, go to the desktop instead of Start” ถูกตั้งมาเป็นค่าเริ่มต้นทันทีเมื่อ Windows 8.1 update ติดตั้ง และตรวจสอบแล้วว่าไม่ใช่เครื่องที่มีหน้าจอ touch screen

2014-04-03_134744

และแล้วก็มาสักทีกับ PC Settings ที่สามารถ Pin ได้ ทำให้เราสามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ ซึ่งเลือกที่จะ Pin ลง Start screen หรือ Taskbar ก็ได้

image

ในส่วนของ PC Settings นั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ้าง มีเมนู Control Panel เพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อเปิด Control Panel ได้ง่ายมากขึ้น (เอามาปะๆ ไว้เพราะ PC Settings มันไว้ตั้งค่าแบบง่ายๆ เร็วๆ)

2014-04-03_135720

ในส่วนของ PC and devices นั้นเพิ่มเติม Disk space เข้ามาเพื่อตรวจสอบการใช้งานพื้นที่ของตัวแอพและไฟล์ต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น ไม่ต้องเข้า File Explorer แบบเดิมๆ

2014-04-03_135303

เปลี่ยนชื่อ SkyDrive มาเป็น OneDrive แล้ว

(สำหรับใครที่ Pin ตัว SkyDrive บน Desktop mode ไว้ก่อนหน้านี้ แนะนำให้ Unpin และ Pin ใหม่ ผมเจอว่ามันไม่ยอมเปลี่ยนชื่อให้)

2014-04-03_135348

ในส่วนของ Network นั้น Manage khown networks หรือตัวจัดการ Wireless network profiles ของ WiFi นั้นกลับมาแล้ว!!! สามารถ Forgot ตัว Wireless network profiles ที่มีอยู่ได้แล้วโดยไม่ต้องมีใช้ command line เหมือนใน Windows 8.1

2014-04-03_135507

image

สรุปโดยรวมของ Windows 8.1 update นั้น คงเป็นการปรับเปลี่ยนที่ดูดีขึ้นพอสมควร ซึ่งส่วนตัวนั้น ค่อยรู้สึกว่า Desktop apps และ Windows Store apps นั้นสามารถเชื่อมโยงเข้าหากันได้เนียนมากขึ้น ใช้งานได้ง่าย และทำให้ Windows Store apps นั้นมีประสบการณ์ในการใช้งานคีย์บอร์ดและเมาส์ได้ดีจนรู้สึกว่า Windows Store apps ใช้งานได้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวกับ Desktop apps จนเกินไป