สงครามเริ่มแล้ว (Mozilla Firefox 2.0 VS Microsoft Internet Explorer 7.0)

ขอพักเรื่อง SCJP จากตอนที่แล้วไว้ก่อน วันนี้เรื่องด่วนกว่าคือสงครามแห่ง major upgrade ของทั้งสองค่ายจากทั้งสองฝั่งนั้นคือฝั่ง Microsoft ผู้มีสายป่านที่มากและอิทธิพลต่อคนทั่วโลกแห่ง IT มากที่สุด ที่ถอยเอา Internet Explorer 7.0 ที่ปล่อย Release ออกมาตัดหน้าก่อน กับ Mozilla ผู้พัฒนา Mozilla Suite และอดีตอันรุ่งเรืองจาก Netscape ที่ถอยเอา Mozilla Firefox น้องของ Mozilla Suite ออกมาสู้ในตลาด Web Browser ที่ใหญ่โต นี่อาจเป็นการสู้กันด้วยมาตรฐานกลางและมาตรฐานตัวเองอีกครั้ง

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2006 ที่ผ่านมานี้ Microsoft ได้ปล่อย Internet Explorer 7.0 (IE) ออกมาก่อนที่ Mozilla Corporation จะปล่อย Firefox 2.0 (FF) ออกมาเพียง 5 วันเท่านั้น

แต่สิ่งที่ระวังอย่างนึงคือสำหรับผู้ใช้ Windows XP ที่จะลงต้องเป็น CD-Key แท้เท่านั้นถึงจะทำการติดตั้งได้

โดยที่หลังจากที่ทดสอบ IE 7.0 มา 5 วันก่อนที่ FF 2.0 จะออกนั้นในด้านความเร็วต่าง ๆ ในการโหลดตัว Application นั้นทำได้อย่างรวดเร็วและมี Feature ใหม่ ๆ ที่ built-in เข้ามาเยอะมาก แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือตัว User Interface (UI) ที่เปลี่ยนแปลงใหม่หมดจาก IE 6.0 มาก (ไม่นับ RC Version หรือ Beta Version เพราะไม่ใช่ Version เต็มเอามาเทียบไม่ได้) สิ่งที่น่าจะเป็นตัวทำให้ IE กลับมาทำได้ดีน่าจะเรื่องของความปลอดภัยที่มีการตั้งค่าต่าง ๆ ด้านความปลอดภัยมากมาย แต่ไม่แน่ใจว่าตัว IE 7.0 จะยังคงเป็น Built-in Web Browser ทั้งหมดหรือเปล่า แต่จากการทดสอบนั้นเมื่อลง IE 7.0 แล้ว เมื่อเราพิมพ์ URL ที่ Address Bar ที่ Windows Explorer (ตัวจัดการไฟล์ใน Windows) มันจะทำการ pop-up หรือ send URL ไปยัง Web Browser ตัวมาตรฐานของ Windows ทันที อย่างเช่นในเครื่องผมใช้ Firefox เป็น Web Browser มาตรฐาน มันก็จะเรียก Firefox มาเรียกเว็บนั้นแทน จากที่เมื่อก่อนถ้าพิมพ์แล้วมันก็จะ switch ตัว Windows Explorer เป็น IE ทันทีแล้วเข้า Internet ได้เลยในหน้าต่างเดียวกันนั้นเอง ซึ่งจากที่ผมวิเคราะห์แล้วเนี่ย IE 7.0 น่าจะเป็น Standalone Application เต็มตัวแบบเดียวกับ FF ไปแล้ว (หรือถ้าไม่เป็นทั้งหมด แต่ก็น่าจะเกือบ 80%) ซึ่งมันทำให้ดีขึ้นในด้านความปลอดภัยในเรื่องของ Spyware ที่จะมาโจมตี Windows ผ่าน Web Browser อย่าง IE รุ่นก่อน ๆ นั้นเอง (แค่หวังว่ามันจะดีขึ้นนะ) ส่วนในด้านของ Feed นั้น ในเรื่องความสะดวกก็คงเหมือน ๆ กับ FF หรือ Safari ไม่ได้แตกต่างกันเท่าไหร่ ส่วนอื่น ๆ ก็มีพวกระบบ Tab ที่น่าจะได้เล่นกันมาบ้างแล้วจะ MSN Toolbars หรือ Windows Live Toolbars ซึ่งก็คล้ายๆ กัน ส่วนอื่น ๆ ที่มีการเพิ่มเติม ก็มีดังนี้

  • Built-in RSS Feeds
  • Microsoft Phishing Filter
  • Vista Protected Mode
  • Microsoft ActiveX Opt-In
  • Cascading Style Sheets (CSS) Updates รองรับ CSS Level 2 (CSS2)
  • Portable Network Graphics (PNG) support (Alpha Channel Transparency)
  • XML HTTP Native support
  • Internationalized Domain Name (IDN) support
  • Tabbed Browsing
  • HTML 4.0.1 Support

สิ่งที่น่าดีใจที่สุดใน IE 7.0 คือมันสนับสนุน Alpha Channel Transparency ใน PNG (RGBA) ที่ทำให้สามารถใช้รูป format PNG พื้นหลังโปร่งแสงได้แล้ว (หลังจากที่ชาวบ้านเค้าสนับสนุนกันมาหลายปีแล้ว)

ต่อมาขอพูดถึง FF 2.0 บ้าง ในด้านของ UI นั้นมีการเปลี่ยนแปลง Theme หลักที่เปลี่ยนใหม่ให้ดูเข้ากับยุดสมัย ที่การออกแบบจะออกมาโทนแบบนี้ทั้งนั้น ส่วนที่เปลี่ยนแปลง นี่มีเยอะกว่า IE 7.0 เสียอีก ลองไล่ดูกันเลยครับ

  • A new theme that updates Firefox’s familiar interface อันนี้เปลี่ยนแปลง Theme ใหม่อย่างที่บอกไว้ข้างต้น
  • Built in Phishing Protection มีระบบป้องกันการปลอมแปลง URL เพื่อหวังผลทางด้านข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ
  • Enhanced search engine management and search suggestions for Google, Yahoo! and Answers.com ระบบจัดการ การใช้งาน search (ด้านบนขวา) แบบใหม่ และมีการตรวจสอบคำผิดสำหรับ Google, Yahoo และ Answers.com
  • Improvements to tabbed browsing, including the ability to re-open recently closed tabs ปรับปรุงระบบ Tab และเพิ่มความสามารถด้านการเปิด Tab ที่เปิดค้างอยู่จากการปิดใช้ครั้งล่าสุด
  • Firefox will resume from where you left off after a system crash or browser restart มีระบบกู้คืนการใช้งานครั้งล่าสุดจากการที่ OS crash หรือ browser restart
  • Better support for previewing and subscribing to Web feeds ระบบ preview และสมัครการรับข้อมูลจาก Feed แบบใหม่
  • Inline spell checking in Web forms มีระบบตรวจสอบคำผิดจาก web form โดยตรวจสอบเฉพาะภาษาอังกฤษเสียส่วนใหญ่ ซึ่งไม่มีภาษาไทยแน่นอน
  • The ability to create bookmarks with Live Titles for Web sites that offer microsummaries
  • New Add-ons manager that simplifies management of extensions and themes. ระบบจัดการ Extension และ Theme ใหม่ โดยนำทั้งสองตัวมารวมกันในชื่อ Add-on
  • Support for JavaScript 1.7
  • Extended search plugin format รองรับระบบ search plugin แบบใหม่
  • Updates to the extension system to provide enhanced security and to allow for easier localization of extensions
  • Support for client-side session and persistent storage
  • Support for SVG text using svg:textPath
  • New Windows installer based on Nullsoft Scriptable Install System ระบบการติดตั้งแบบใหม่

โดยรวมแล้วทั้ง IE 7.0 และ FF 2.0 นั้นมีการสนับสนุนในมาตรฐานใหม่ ๆ มากขึ้น และใน Feature ต่าง ๆ นั้นมีให้ใช้ไม่แตกต่างกัน แต่ดู ๆ แล้ว FF 2.0 น่าจะดีกว่าในแง่ของ Add-on เสริมที่มีเยอะมาก และในตอนนี้ Add-on ส่วนใหญ่กว่า 80% ก็ใช้กับ FF 2.0 ได้แล้วด้วย แล้วอีกอย่างคือการใช้งานหน่วยความจำน้อยลงบ้างเล็กน้อย

อ้างอิงจาก

Downloads

การตั้งค่าการใช้ภาษาไทย ใช้แบบเดียวกับ version 1.5 ครับ ซึ่งไม่แตกต่างกันในตำแหน่ง แต่แตกต่างกันที่คำที่ใช้ในปุ่มนิดหน่อยครับ อ่านได้ที่ ปรับแต่งให้ Mozilla Firefox 1.5 ใช้ภาษาไทยอย่างสมบูรณ์

ปรับแต่งให้ Mozilla Firefox 1.5 ใช้ภาษาไทยอย่างสมบูรณ์

Mozilla Firefox 1.5 เปิดตัวในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2005 (ตามเวลาประเทศไทย) อยากทราบว่าใน Version ใหม่นี้มีอะไรบ้าง เข้าไปอ่านได้ที่ ความสามารถใหม่ใน Mozilla Firefox 1.5

สำหรับการปรับแต่งภาษาไทยสำหรับ Mozilla Firefox 1.0.x เข้าที่หน้า ทำให้ Mozilla Firefox ใช้ภาษาไทยอย่างสมบูรณ์ ครับ

"สามารถก็ดาวน์โหลด Mozilla Firefox ได้จาก Firefox – Rediscover the web ขนาดประมาณ 5MB เท่านั้นเองครับ"

  1. ไปที่ Tools ที่ menu bar ด้านบน และไปที่ Options
    1.jpg
  2. เมื่อ Dialog Box ชื่อว่า Option ให้ไปที่ Tab ชื่อว่า Content

  3. ที่ Group Box ชื่อว่า Fonts & Colors  ให้ตั้ง Default Font เป็น Tahoma และปรับ Size (ขนาด) เป็น 16 และเลือกที่ Advanced
  4. จะปรากฤ Dialog Box ที่ชื่อว่า Fonts ที่ Fonts for ให้ปรับเป็น Thai
    • Properional ปรับเป็น Serif
    • Serif ให้ปรับเป็น Tahoma
    • Sans-Serif ให้ปรับเป็น Tahoma
    • Monospace ให้ปรับเป็น Tahoma

    ที่ Group Box ชื่อ Character Encoding ให้ปรับ Default Character Encoding เป็น Thai (TIS-620) แล้วกดปุ่ม OK เมื่อเสร็จสิ้น

  5. ไปที่ Tab ชื่อว่า Advanced
    ที่ Group Box ชื่อว่า Language ให้เลือกที่ Edit Languages
  6. จะปรากฎ Dialog Box ชื่อว่า Languages ที่ Drop-DownList ให้เลือก Thai [th] แล้วกดปุ่ม Add แล้วปรับ Move Up ให้ Thai [th] ให้ย้ายขึ้นไปบนสุด แล้วกด OK เมื่อเสร็จสิ้น
  7. กด OK อีกครั้งเพื่อออกจาก Dialog Box ชื่อว่า Options
  8. ที่ Menu bar ให้เลือกที่ menu ชื่อว่า View แล้วเลือกที่ Charater Encoding ตามด้วย Customize List

  9. จะปรากฎ Dialog Box ชื่อว่า Customize Character Encoding ที่ List Box ชื่อว่า Available Character Encoding ให้เลือก Thai (ISO-8859-11), Thai (TIS-620) และ Thai (Windows-874) และกดปุ่ม Add

    จะปรากฎ Character Encoding ที่เราเลือกที่ ด้าน List Box ชื่อว่า Active Character Encoding แล้วทำการย้ายให้เรียงตามภาพ โดยใช้ปุ่ม Move Up หรือ Move Down แล้วกดปุ่ม OK เมื่อเสร็จสิ้น

  10. ตอนนี้เราก็สามารถใช้ Firefox 1.5 เพื่อแสดงผลภาษาไทยได้อย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ;-)

ความสามารถใหม่ใน Mozilla Firefox 1.5

         เปิดตัวไปแล้วในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2548 เป็นการ Upgrade Miner Version ที่ได้ใส่ความสามารถต่าง ๆ ทีเพิ่มความสะดวกสบาย , ความเร็วทั้งในด้านการใช้ซอฟต์แวร์, ความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ และมีเสถียรภาพมากขึ้น อย่างมาก

ท่านสามารถดาวน์โหลด Mozilla Firefox ได้ที่นี่ Firefox – Rediscover the web

  • Firefox 1.5 ใช้ Gecko 1.8 engine ในการพัฒนา Web Browser ซึ่งมีความปลอดภัยสูง และมีเสถียรภาพสูง
  • ในความสามารถใหม่ที่เด่นที่สุดคือ Automated update ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่คนใช้ Mozilla Firefox รอคอยมากนาน เพราะว่าเมื่อมีการ Update Security Patch* ใน version เก่า ๆ (ตั้งแต่ 1.0.7 ลงมา) จะต้องทำการ Download ตัว Firefox ใหม่และทำการติดตั้งทับตัวเท่าเพื่อทำการ Update ซึ่งในส่วนนี้สร้างความยุ่งยากต่อตัวผู้ใช้งาน และไฟล์ Setup มีขนาดใหญ่ ซึ่งไม่เหมาะสมกับความเร็วของ Internet ในบางที่ ที่มี bit rate ที่ต่ำ (อย่างบ้านเราก็ 56K bps ซึ่งไม่เหมาะอย่างมากกับการที่จะต้องมาดาวน์โหลดไฟล์ขนาดนั้น) รวมไปถึงบางคน ที่มีพฤติกรรมไม่ได้ใส่ใจในการออก Update ใหม่ ๆ ทำให้พลาดการ Update ไป โดยเฉพาะ Security ที่ต้องได้รับการ Update อย่างเร่งด่วนเพื่อความปลอดภัยสูงสุด ซึ่งถึงแม้ว่าจะมี Security Alert ด้านมุมขวาบน ใน Version 1.0.x แต่ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมาก ด้วยเหตุผลด้านความสะดวก และยังคงความยุ่งยาก และอีกเรื่องคือ เรื่องความเร็วในการ Update นั้นถ้ามีระบบ Automated update จะทำให้การ Update Patch เล็ก ๆ สามารถทำได้ง่าย และรวดเร็วกว่าแต่ก่อนมาก เพราะแต่ก่อนต้องรอให้มีการ Pack รวมเยอะ ๆ แล้วจึงปล่อย Sub minor version** เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด แต่ในระบบนี้สามารถแก้ไขได้เลย เป็นรายตัว และส่งให้กับผู้ใช้ได้ทันที ที่ได้รับการแก้ไขโดยเป็นไฟล์ย่อย ๆ ซึ่งมีขนาดเล็ก และไม่ยุ่งยากมากนัก (คล้าย ๆ Windows Update ครับ) ซึ่งทำให้การ Update มีความง่ายกว่า เร็วกว่า และขนาดไฟล์ที่เล็กกว่า โดยไม่ต้องลง Firefox ใหม่ทั้งระบบ

    *เป็นโปรแกรมขนาดเล็กที่โหลดเข้าสู่ตัวซอฟต์แวร์เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดของซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะด้านความปลอดภัยและเสถียรภาพต่าง ๆ
    ** Sub minor version เป็นหมายเล็กในการแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ

  • ต่อมาในส่วนของการปรับแต่งปุ่มการทำงาน Back และ Forward ที่มีการปรับเปลี่ยนโดยการใช้การ Cache เว็บที่อยู่ก่อนหน้านี้ลงใน Hard Drive แทนการโหลดใหม่ทุก ๆ ครั้งที่ทำการ Back และ Forward ซึ่งเมื่อผู้ใช้ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลค่อยทำการ Reload ด้วยตัวเองแทนการใช้ระบบ Auto อย่างที่ได้ทำมาแต่แรก
  • การจัดอันดับ Tab ของที่สามารถทำการลากจัดอันดับ Tab โดยการลากหัวข้อ Tab ที่วางไว้อันดับที่เราต้องการ
  • ปรับแต่งระบบ Block Pop-up ให้มีความสามารถ และเสถียรภาพมากขึ้น
  • ระบบลบข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ อัตโนมัติ (Private Data ) ได้แ่ก่ Browsing History, Saved Form Information, Saved Passwords, Download History, Cookies, Cache, Authenticated Session
  • เพิ่มหน้า error pages ต่าง ๆ เช่นหน้าเว็บเพื่อบ่งบอกว่าไม่มีเว็บนี้อยู่ใน Internet แทนการใช้ Message Box ใน Version เก่า ๆ 
  • ทำการปรับแต่งลักษณะ Menu ต่าง ๆ ในส่วนของ Option ใหม่ให้ใช้งานง่ายขึ้น
  • ปรับแต่งความเร็วในการทำงานของ RSS discovery ที่ Live Bookmark
  • สนับสนุนการใช้งานสำหรับผู้พิการด้วย DHTML Accessibility และ Assistive Technologies ของ Window-Eyes ซึ่งเป็น Screen Reader สำหรับ Microsoft Windows ซึ่งการทำงานคือตัวซอฟต์แวร์จะทำการอ่านข้อความที่อยู่บนหน้าเว็บให้เราฟังแทนการอ่านด้วยสายตา ซึ่งเหมาะสำหรับผู้พิการทางสายตา และการพิมพ์ข้อมูลลง Firefox ผ่าน Braille Display
  • มีระบบรายงานเว็บไซต์ที่ไม่สามารถใช้งานร่วมกับ Firefox
  • สนับสนุน Mac OS X (10.2 และสูงกว่า) โดยได้ใส่ความสามารถโยกย้าย profile หรือข้อมูลที่จำเป็นต่าง ๆ จาก Safari และ Internet Explorer for Mac เข้ามาใช้ใน Firefox ได้โดยตรง (ใน Windows มีความสามารถนี้อยู่แล้ว)
  • สนับสนุน Web Standards ต่าง ๆ มากมาย เช่น 
  • HTML 4.01 และ XHTML 1.0/1.1
  • JavaScript 1.6, based on ECMA-262, revision 3: ECMA-262
  • CSS 2/3 
  • สนับสนุนส่วนเพิ่มเติมของ DHTML และ DOM Inspector Level 1-3
  • มาตรฐาน XML ต่าง ๆ เช่น 
  • APIs สำหรับการพัฒนาระบบ 2D graphics ผ่าน SVG 1.1 เป็นต้น
  • XML 1.0, Mathematical Markup Language (MathML Version 2.0)
  • Namespaces in XML
  • Associating Style Sheets with XML Documents 1.0
  • Fragment Identifier for XML
  • XSL Transformations 1.0 (XSLT)
  • XML Path Language 1.0 (XPath)
  • Simple Object Access Protocol (SOAP): SOAP 1.1
  • XForms and XML events

อ้างอิงจาก : Mozilla Firefox 1.5 Release Notes

ลิงส์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทความนี้

Bill Gates มาอะไรๆ ก็คงเหมือนเดิม

เนคเทคตอกรัฐบาล จับมือไมโครซอฟท์ “คิดสั้น”

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9480000087782

ปัญหา OSs ในไทยมันไม่ใช่ว่า Micro$oft (เล็กนิ่ม) จะมา หรือจะไป ถึงตา Bill จะมาไทยทุกอาทิตย์ ยังไง .Net มันก็ต้องได้เกิด จริงๆ มันเกิดมานานแล้ว แต่ไม่มีคนรู้ ไม่เป็นข่าวมากกว่า การมาครั้งนี้เหมือนเป็นการโปรโมตรและตอกย้ำว่า ICT จะใช้ระบบ จาก เล็กนิ่ม แน่นอน อ้าวว ถ้าไม่เชื่อไปดูทุกโครงการ ICT มี เล็กนิ่ม ตลอด

มันแค่ปรากฎการเล็กๆ ในเรื่อง นำซอฟต์แวร์ของเล็กนิ่มมาใช้ในวงการราชการอยู่แล้ว หลาย ๆ ประเทศก็ใช้ ไม่แปลก

แต่ปัญหามันอยู่ที่ “เงิน” ในสภาพเศษฐกิจไทยในตอนนี้ เราต้องการเงินลงทุนครับ ไม่รู้เพื่อเพิ่มการลงทุนของ เล็กนิ่ม ในไทย หรือเพิ่มรายจ่าย ให้กับเล็กนิ่มกันแน่ ผมก็ยังไม่แน่ใจ ต้องดูกันยาวๆ ในตัวหุ้นของเล็กนิ่ม ที่ลงทุนในไทย

เข้าเรื่องปัญหาของ OSs กันก่อนดีกว่า จริงๆ เคยเขียนใน webblog ไว้แล้ว แต่ไม่รู้ว่ามีใครไปอ่านหรือเปล่า T_T

ในเรื่อง OSs ในไทยไม่โต มันเกิดจาก การ support ครับ อย่าลืมว่าซื้อซอฟต์แวร์มา ไม่มีการ support คำตอบคือ จบ ไม่ซื้อ จริงๆ ถ้า GUI สวย แต่คนใช้งานมันไม่ได้เหมือนกันทุกคน ยังไงก็ต้องมีความไม่เข้าใจใน GUI ครับ เปิด Help คู่มือต่างๆ หรือใน Web Support แล้วคำตอบไม่เคลียร์ก็จบครับ

เหมือนซื้อของครับไม่มีประกัน หรือตอบปัญหาการใช้งาน ก็แทบจะไม่มีคนซื้อครับ ซึ่ง OSs ในไทยยังห่างชั้นกับ OSs ในต่างประเทศเยอะในเรื่องนี้ครับ ส่วนมากตอบคำถามกันในแบบ techical term ครับ คือศัพท์ต่างๆ แบบผู้ใช้ฟังแล้ว ต้องเปิด dictionary แปล แล้วต่อด้วย dictionary computer อีกรอบ ยังไม่เข้าใจเลย คือถ้าตอบแบบผู้ใช้เข้าใจง่าย มีคู่มือที่ทันสมัย ผมว่ารุ่งครับ แล้วก็อีกเรื่องคือ หนังสือ หรือคู่มือใช้งาน OSs ในไทย ไม่มีสำนักพิมพ์ไหนกล้าพิมพ์มากนักครับ ที่พิมพ์ๆ มาก็มีน้อยครับ ไม่เป็นตัวเลือกที่ดี หรือเขียนแบบแปลจาก help มาอันนี้ก็ไม่ไหวครับ

เรื่องต่อมา OSs นั้นใช้งานยาก และการติดตั้งนั้นซับซ้อน (ในบางตัว) การใช้งานยากนี่เป็นประเด็นหลักครับ คือมีน้อยมากที่ OSs นั้นจะทำงานได้ดี และไม่มีปัญหา ยกตัวอย่างเช่น

Xara X, illus, corelDraw มาใช้ Inkscape นี่ก็แฮงบ้าง หรือไม่ก็มีปัญหาในการ optimize ภาพ

Microsoft Visio มาใช้ Dia ก็มีปัญหาในการเปิดโปรแกรมต่างๆ การ support แล้วก็คู่มือห่วยแตกอย่างแรง T_T

Sony Sound Forge มาใช้ Audacity อันนี้ดีมาก ถึงคู่มือจะไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ถือว่าใช้งานได้ดี แฮงบางนิดหน่อย คือ GUI มันใช้งานง่ายอยู่แล้ว มันเลย ok

Adobe Acrobat 7.0 มาใช้ PDFCreator ผมถือว่าดีในระดับหนึ่ง ถ้าทำงาน Draf ทั่วๆ ไป แต่ถ้าทำงานเกี่ยวกับการพิมพ์จริงๆ ไม่แนะนำ เพราะสีเพี้ยน และระบบจัดการ profile color ยังไม่ดี เทียบกับ Adobe จ้าวตลาดไม่ได้เลย

InterVideo WinDVD, PowerDVD มาใช้ VLC media player ใช้งานยากและ GUI ไม่สวย คู่มือยังห่วยอยู่

Macromedia Dreamweaver มาใช้ Nvu ถ้าทำเว็บแนวๆ HTML และการจัดการ CSS ก็ ok แต่ถ้าเป็น CGI แล้วนี่จบ ถึงแม้สนับสนุนภาษาไทย แต่ยังไม่เต็มที่ใน CGI

Macromedia Flash -> ?????? หาไม่เจอจริงๆ T_Y

Microsoft Office 2003 มาใช้ OpenOffice.org 1.9.104 (2.0 Beta) อันนี้ยาวหน่อย คือถ้าใช้งานกันในบริษัท เดินงานกันเป็นกลุ่มๆ ก็ ok เพราะว่า OpenDocument ของทางฝั่ง OO.org ของเมืองนอกนั้นทำมาดี และหวังจะมาแทน format ไฟล์ของเล็กนิ่ม ถ้างานด้าน Word Processing กับ Spreadsheets ถือว่าทำได้ดีมาก แต่ถ้าเป็น Presentation แล้วจบครับ ยังไม่ได้เรื่องเท่าไหร่ ส่วนงานด้าน Database นั้นความง่ายก็พอๆ กันครับ ส่วนการใส่สูตรคณิตศาสตร์นั้น OpenOffice.org ทำได้ดีกว่าครับ จริงๆ แล้ว format ไฟล์ของ OpenOffice.org ขนาดไฟล์เล็กกว่า Microsoft Office เยอะครับ อย่างเอกสารของผมถ้า save ใน word มีขนาด 876,377 แต่ถ้าไปใช้ format ไฟล์ของ OpenOffice.org เหลือแค่ 27,133 ไบต์ มันเกิดอะไรขึ้น ?

ในไทย OpenSourse Software ยังพ่ายต่อ Commerce Software อยู่วันยังค่ำครับ ถ้าคนไทยบางกลุ่มยังใช้ Software โดยไม่คำนึงถึงมูลค่าของมันว่ามันมีค่าตัวของมันเอง

ผมไม่ได้ต่อต้าน Commerce Software ครับ ตอนนี้ในเครื่องก็มีหลายๆ ตัวที่เถื่อนเหมือนกัน แต่บางตัวก็ต้องซื้อครับ ตอนนี้รวมๆ ก็หลายหมื่นแล้ว ไม่ได้รวยครับ แต่ซื้อในราคานักศึกษา อย่าง Adobe เนี่ยเค้ามีโครงการซื้อราคานักศึกษาครับ อย่าง Adobe CS2 ราคาทั้งชุด 45,000 – 60,000 /Computer ผมไม่แน่ใจเท่าไหร่ แต่ราคานักศึกษาอยู่ที่ 15,000 บาท / Computer ครับ และหลายตัวที่ราคานักศึกษาถูกกว่าหลายเท่าครับ

อย่าปฎิเสธเรื่องการใช้ Commerce Software ถ้าใช้มันหาความรู้ และรายได้ ผมถือว่ามันคือต้นทุนของการผลิตความรู้ และเงินในกระเป๋าครับ

แต่ OSs ที่ Boom มากๆ อย่าง Firefox นี่เป็นตัวอย่างที่ดีครับ Community และการ Promote ต่างๆ ผมว่าเป็นแบบอย่างที่ดีมาก จริงๆ Firefox ที่คนไทยกำลังทำกันอยู่ก็ทำงานมาถูกทางแล้วครับ OSs ในไทยน่าจะเอาอย่างเยอะๆ ครับ จริงๆ หลายๆ ดีๆ แต่ไม่ได้พูดถึงอย่างเคืองกันเน้อ ….. ;)

* วิเคราะฟ์วิจารณ์ตรงไปตรงมาครับ ถ้าไม่ถูกใจก็ขออภัย อันนี้มองในมุมผู้ใช้ครับ

ใหม่!!! Firefox 1.0.3 ปิดช่องโหว่อันตราย

เมื่อวานเพิ่งอัพเกรดไปหยกๆๆ

ใหม่!!! Firefox 1.0.3 ปิดช่องโหว่อันตราย
โดย กองบรรณาธิการเว็บไซต์ ARiP.co.th อัพเดต 17 เมษายน 2005 เวลา 9:26 น.

รายงานข่าแจ้งว่า Mozilla Foundation ออกบราวเซอร์ Firefox และชุดซอฟต์แวร์ Mozilla เวอร์ชันใหม่แล้ว โดยเป็นเวอร์ชันที่ได้รับการแก้ไขช่องโหว่ต่างๆ ที่ได้เคยรายงานข่าวไปแล้ว ก่อนหน้านี้ ได้มีการรายงานข่าวถึงช่องโหว่ของความปลอดภัยในกลไกการทำงานของ JavaScript ล่าสุดช่องโหว่ดังกล่าวได้มีการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว โดยในเวอร์ชั่นใหม่ได้มีการแก้ไขช่องโหว่วิกฤติที่พบ 3 แห่งใน Firefox แต่ก็จะพบช่องโหว่ดังกล่าวด้วยใน Mozilla ถึง 2 แห่ง ช่องโหว่ทั้งหมดยังจะได้มีการแก้ไขเข้าไปในชุดซอฟต์แวร์อัพเกรด Firefox ด้วย ส่วนเมล์ไคลเอ็นต์อย่าง Thunderbird ยังไม่มีรายงานการปรับปรุงใดๆ ทั้งสิ้น
สำหรับ 3 ช่องโหว่วิกฤติที่แก้ไขไปแล้วนั้น มี 2 ช่องโหว่ที่เกิดจากการรันโค้ดที่ไม่ปกติ เพื่อนำไปสู่การได้รับสิทธิ์ในการเข้าถึงระบบ
ช่องโหว่แรกเป็นข้อผิดพลาดของการสนับสนุนการทำงานกับ favicons (ไอคอนเล็กๆ ที่อยู่หน้า URL ในช่อง Address ของบราวเซอร์) ที่ผู้บุกรุกสามารถรันสคริปท์ เพื่อยกระดับสิทธิ์ในการเข้าถึง และติดตั้ง หรือสั่งรันซอฟต์แวร์ได้ตามอำเภอใจ
ช่องโหว่ที่ 2 จะเกิดกับ Firefox โดยเฉพาะ โดยจะยอมให้สคริปท์อันตรายเปิดหน้า privilege ที่อยู่ด้านข้าง (sidebar) เพื่อส่งสคริปท์ที่สามารถใช้ในการติดตั้งโค้ดอันตราย หรือขโมยข้อมูลก็ได้
ช่องโหว่ที่ 3 จะมีลักษณะแตกต่างออกไป โดยพบจะอยู่ในส่วนของโค้ด UI ที่ใช้ในการรันสคริปท์ของผู้ใช้ ซึ่งทาง Mozilla ยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับบั๊กตัวนี้จนกว่าจะถึงวันที่ 25 เมษายน

ดาวน์โหลด Firefox 1.0.3 คลิกที่นี่