ถ้า Windows RT และ Windows Phone สามารถทำงานได้บน H/W ที่ Android ทำงานได้?

จาก [ลือ] ไมโครซอฟท์ให้ซัมซุงกับหัวเหว่ยใช้ Windows Phone กับ Windows RT ฟรี, ซัมซุงทำ Galaxy Tab ดูอัลบู๊ตอยู่ 

ส่วนตัวมองว่ามันเป็นการบุกเข้าฐานที่มั่นของศัตรูได้เร็วและง่ายที่สุด บนมือถือและเครื่องที่ทุกคนมีและคุ้นเคย ผมว่าไม่ได้สิ้นหวัง แต่มันคือการใช้กลยุทธเดียวกับ Windows เมื่อก่อนที่เป็น IBM Compatible เราอาจจะได้เห็นมือถือ Android ที่ติดสัญลักษณ์ Windows RT หรือ Windows phone compatible ก็ได้ ซึ่งเป็นงานถนัดของ Microsoft อยู่แล้วซึ่งเป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมาจาก Windows Desktop ในอดีตที่สามารถติดตั้ง driver บน H/W แปลกๆ ได้ร้อยพ่อพันแม่ งานนี้รอดูว่าจะเป็นจริงได้แค่ไหนกัน

ความคิดเห็นส่วนตัวจากข่าว "ผู้ร่วมก่อตั้ง Android บอก อย่าตื่นตระหนกกับปัญหา fragmentation มากเกินไป"

จากข่าว “ผู้ร่วมก่อตั้ง Android บอก อย่าตื่นตระหนกกับปัญหา fragmentation มากเกินไป

ส่วนตัวผมมองว่า คนพูดไม่ได้รับผลกรรมที่ตัวเองก่อขึ้น เลยได้แต่พูดครับ เพราะจากที่ได้เคยพัฒนาและนั่งฟังคนพัฒนาบ่น ผมและคนเหล่านั้นอยากจะบอกทุกคนว่ามันชวนปวดหัวมากกับการทำให้รองรับมือถือร้อยพ่อพันแม่ แถมเครื่องมือพัฒนาก็แย่มากไม่ช่วยอะไรต้องลงมือเองเยอะ (Android studio อาจเป็นความหวังของการพัฒนา App ในอนาคต)

ส่วนฝั่ง User เป็นเรื่องที่ทำให้ประสบการณ์ในการใช้งานของเค้า “แย่” มากเมื่อเทียบกับ iOS หรือ OS ตัวอื่นๆ ที่มีการควบคุมเรื่องขนาดจอภาพ การจัดวางปุ่ม ฯลฯ อย่างชัดเจน ซึ่งเมื่อไม่มีการควบคุมอย่างดี มันทำให้ความหลากหลายนั้นมากเกิน นักพัฒนาไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในการพัฒนาและทดสอบได้ ซึ่งผมมองว่ามันจะกลายเป็นความซวยแบบไม่รู้ตัว แทนที่จะได้ App คุณภาพดี กลับได้ App คุณภาพแย่เพราะนักพัฒนาเอาเวลามานั่งทำในเรื่องบ้าๆ บอๆ ที่บางครั้งไม่เกี่ยวกับสิ่งหลักๆ ใน App เลย อย่างทำให้ขนาดหน้าจอรองรับได้หลากหลาย ทำงานกับ HW แปลกๆ ไม่ได้ รวมไปถึง App เดียวกัน แต่ทำงานต่างยี่ห้อมือถือ ประสบการณ์ในการใช้งานต่างกัน บาง App ใช้งานกับ CPU ช้าๆ ไม่ได้ แต่บางคนก็ไปดันทุรังทำลงไปได้แต่ก็ใช้งานกระตุกและประสบการณ์ในการใช้งานย่ำแย่ เพราะ User บอกว่า ก็มัน Android เหมือนกันนิ

อันนี้ผมพูดรวมๆ ในเชิง Technical ทั้งหมด เพราะผมหมายถึง Technical ส่วนผู้ใช้เค้าเข้าใจไหมนั้นอีกเรื่อง

ผมจะเล่าเรื่องแม่ผมใช้ Android ให้ฟังสักหน่อย ว่าเรื่องของ fragmentation มันสร้างความชวนปวดหัวให้มากแค่ไหน

ท่านไม่เคยใช้มือถือ Smartphone มาก่อน พอได้ LG Optimus 4x HD มา ก็เลยให้ท่านใช้ คู่มือมีสอนไม่คลอบคลุม แถมหนังสือต่างๆ ที่วางขายก็ไม่มีรุ่นนี้รองรับ แน่นอนว่าผมใช้ไม่ยากหรอก เพราะมีประสบการณ์ ดำน้ำไปสักพักก็ใช้เป็น แต่กับแม่ผม ผมสอนท่านเรื่องอ่านคู่มือการใช้งานให้เป็นหลัก ไม่ว่าอุปกรณ์อะไรผมเน้นแบบนี้เสมอ แต่กับมือถือ android โดยทั่วไป หาคู่มือและหนังสือที่สอนหรือแนะนำ App แบบไม่อ้างอิงยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งได้น้อยมากๆ มันไม่เหมือน iOS, Blackberry หรือ Windows phone ที่ UI นั่นไม่หลากหลายเท่า สองเบื้องต้น ต่อยอดได้ในอนาคต แต่คนใช้ Android เปลี่ยนยี่ห้อหรือรุ่นก็ต้องเปลี่ยนและศึกษาใหม่แล้ว ซึ่งผมว่ามันแย่กับคนใช้งานมากๆ ครับ เพราะเวลามีปัญหาแม่ผมโทรเข้ามาถาม ผมอ้างอิง UI ในหัวผมไม่ได้เลย เพราะ Android ที่ผมมีใช้ก็มี UI และปุ่มกดที่ไม่เหมือนเครื่องที่แม่ผมใช้งาน (ผมใช้ oppo find 3 แถมแพ) บอกกดปุ่มเมนู ปุ่มนั้นนี่ มันอยู่คนละที่ สลับข้างกันบ้าง คือมันไม่มีมาตรฐานตายตัว แต่ส่วนตัวกว่าจะสอนให้แม่ใช้งานได้คล่องก็เป็นอาทิตย์เลยทีเดียว ซึ่งก็ลำบากพอสมควรสำหรับคนไม่ใช่คนที่มีประสบการณ์ด้านไอทีอย่างแม่ผม แน่นอนว่าแม่ผมก็โอเคนะ เพราะ UI ใหญ่ เห็นชัดเจนดี แต่กว่าจะสอนให้ใช้ได้ก็พอสมควร T_T

หวังว่าจะเข้าใจการสื่อที่ผมสื่อนะครับ คนใช้ไม่สนใจ แต่คน Support คนใช้งานรับกรรมครับ คือบางครั้ง fragmentation ของ Android มันอาจจะไม่ใช่แค่ Technical เฉยๆ เท่านั้น แต่มันเป็น fragmentation ที่อยู่บน User Experience ของคนใช้งานระหว่างกันที่ไม่เข้าใจกันและกันด้วย เรือธงแต่ละค่ายคงไม่เท่าไหร่หรอก เพราะแพกว่าจะได้ล่องก็ผ่านไปเกือบปี แต่พวกล่างๆ รุ่นลองเรือธง โดนล่องแพเป็นว่าเล่นเลยทีเดียว เพราะข้อจำกัดของ HW รุ่นเก่าที่ไม่รองรับความสามารถใหม่ๆ รวมไปถึง App รุ่นใหม่ๆ ที่รองรับและทำงานได้ดีแต่เฉพาะเรือธงที่ขายเท่านั้น ทำให้รุ่นเก่าๆ รุ่นความเร็วต่ำทำงานไม่ได้ไปอย่างน่าเสียดาย T_T

ความคิดเห็นส่วนตัวกับ Android Camera

จากข่าว ผู้บริหารกูเกิลสัญญา รอพบกับ Nexus พร้อมกล้องคุณภาพเยี่ยม  ส่วนตัวจากที่ได้ลองจับ Android Camera มาแล้วนั้น Android Camera มีปัญหากับการจัดการพลังงานสูงมาก กล้อง DSLR ถ่ายรูป 1,000 shot ด้วยการชาร์จเพียงครั้งเดียวเป็นเรื่องปรกติไปแล้ว แต่ Android Camera ที่มีขายในตอนนี้แค่ 200-300 รูปก็หืดจับแล้ว คือด้วยความที่ Android Camera มันไม่ได้ถูกปรับแต่งให้ใช้งานกล้องอย่างเดียว ตอนที่ใช้ถ่ายรูปจริงๆ แต่ดัานหลังของระบบภายในของมันมีอะไรอีกเพียบที่ทำงานอยู่ และทำให้กินแบตตลอดเวลา ถ้า Android ไม่ปิดระบบพวกที่ว่าได้สมบูรณ์และมุ่งไปที่กล้องและเปิดระบบพวกนี้เฉพาะเวลาที่ใช้จริงๆ มันก็จะมีปัญหาเรื่องนี้อยู่ตลอด และส่วนตัวผมคิดว่า Google คงไม่ได้คิดจะทำแบบนั้น เอาง่ายๆ แค่ต้องมาเปิดจอหลังกล้องตอนถ่ายตลอดเวลาก็กินแบตเป็นว่าเล่นแล้ว บนจอ 4” ขึ้นไป

ซึ่งจากดูก็น่าจะมองออกว่า แค่จำนวนภาพแค่นี้กับการที่เราต้องพกแบตสำรองไปเพื่อถ่ายให้ได้จำนวนเท่ากัน บางครั้ง Android Camera อาจจหนักกว่าเสียด้วยซ้ำ

ประเด็นต่อมาคือ ถ้ากล้องแฮงตอนถ่ายงานสำคัญคงร้องไม่ออก แน่ๆ (ณ ตอนนี้) DSLR ทำขึ้นมาบนพื้นฐานความเสถียรและตรงไปตรงมาของระบบ เพราะปุ่มไม่ต้อง minimalize เน้นตรงไปตรงมา ไม่มีช่างภาพที่ถ่าย DSLR จริงจังมากๆ มากดๆ หลังกล้อง LCD ขนาดใหญ่เพื่อเลือก ISO, F Stop หรือ Speed shutter กับงานที่จริงจังและต้องการการปรับแต่งที่สูงทันทีหรอก เอากล้องนาบดู View finder แล้วต้องปรับพวกนี้ได้จากใน View finder แล้วใช้มือจับๆ ที่กล้องเพื่อปรับแทน มันเร็วและทันต่อเหตุการณ์มากกว่า

จากที่บอกแบบคราวๆ ด้านบน ประเด็นที่ผมกำลังบอกคือ ในปัจจุบันมันยังแทนกันไม่ได้ ถึงจะบอกว่าทำ sensor ขนาดใหญ่ แต่ Electronic Shutter ยังมีข้อที่ต้องระวัง เช่นปัญหา Rolling Effect ที่ยังมีปัญหาอยู่ (ผมว่าคิดในอนาคตคงแก้ไขได้) ต่อมาก็เรื่อง Physic ของแสงระหว่างเลนส์และเซ็นเซอร์ยังเป็นประเด็นอยู่ เพราะมันยังไงก็ได้ไม่เท่ากัน (ภาพเบลอโบเก้สวย หรือภาพคมในระยะอนันก็ยังสู้ไม่ได้ เพราะข้อจำกัดที่ Sensor ขนาด/คุณภาพ Optic) มันมีเรื่องที่ต้องคิดซึ่งเป็นข้อจำกัดที่บางครั้งมันไม่เกี่ยวกับ OS หรือชนิดของกล้องถ่ายรูปเพียงอย่างเดียว แต่คนที่คิดถึง Android Camera คือคนที่คิดถึงภาพของกล้องที่ใช้ OS จากมือถือที่ก็รู้ๆ กันอยู่ว่า OS ตัวนี้มันก็มีแฮงๆ ค้างๆ กันอยู่เป็นเรืองปรกติและกล้องและเลนส์ที่ให้มาบนมือถือส่วนใหญ่ก็ Sensor เล็กกว่า Compact และเลนส์ก็ไม่ได้ดีมากด้วย

นี่ยังไม่รวมไปถึง RAW File ที่ถ้าเทียบกับคนที่จะเอา Android Camera มาแทน DSLR แล้วนั้น ถือว่าสำคัญมาก เพราะบางครั้งภาพที่ถ่ายอาจสวยที่หลังกล้อง แต่สุดท้ายภาพนั้นอาจต้องถูกเอาไปใช้งานต่อและมีการปรับแต่งภายหลัง การที่ Android Camera ให้ภาพที่เป็น JPEG เพียงอย่างเดียวนั้น สำหรับช่างภาพที่จะเอามาทดแทน DSLR นั้นไม่เพียงพอแน่ๆ

ประเด็นของเรื่องที่เล่ามาอยู่บนพื้นฐานส่วนตัวที่ถ่ายรูปด้วย DSLR อยู่และตอนหลังก็พกแต่กล้องมือถือไปถ่ายรูปตอนเที่ยวเสียมากกว่า แต่ผมยังมองว่า คำตอบมันอยู่ที่ว่าคุณต้องการภาพที่ดีที่สุดเท่าที่คุณจะมีอุปกรณ์หาได้หรือ ต้องการความสะดวกสบายในการเที่ยวและมีภาพที่พอใช้ได้กับการท่องเที่ยวนั้นๆ มากกว่ากัน

เรื่องเล่าของ Bluetooth Keyboard ที่ใช้งานร่วมกับ Android ได้อย่าง RAPOO E6500 และ Microsoft Wedge Mobile

อยู่ๆ ก็อยากได้ Keyboard มาใช้งานร่วมกับ Android Tablet ที่ผมมีอยู่อย่าง ASUS Nexus 7

วันนี้เลยไปเดินดู ตอนแรกผมได้ Rapoo E6500 Ultra-thin Blade Wireless Bluetooth 3.0 for Android มาก่อน เลยเอามานั่งเล่น โดยรวมมันเล็กดีครับ แต่พอพิมพ์และเล่นไป รู้สึกว่ามันเล็กไป (อ้าววว ไอ้บ้า ตอนซื้อไม่คิด) ก็เลยไปเดินเล่นใน IT City ไปสะดุดกับ Microsoft Wedge Mobile Keyboard เข้า พลิกกล่องไปๆ มาๆ มันไม่ได้บอกว่าใช้กับ Android ได้แฮะที่กล่อง ผมเลยเปิดมือถือค้นหาดูว่ามีใครเขียนรีวิวเรื่องนี้ไว้แล้วเค้าใช้ Android ได้ไหม สรุปว่าได้ แต่ด้วยความไม่มั่นใจ เลยขอทางร้าน IT City เค้าทดสอบอีกที เค้าก็เลยแกะกล่องใหม่มาให้ลอง Pair กับมือถือผมเลย แล้วผมก็ลองพิมพ์ดู สรุปว่าได้แฮะ แถมการ Pair ก็ไม่ได้ยุ่งยาก สรุปเหมือนมัดมือชก ถ้าได้ก็ต้องซื้อ (ร้านแผนสูงนะเนี่ย) สรุปเลยจัดมาเลยอีกตัว ><” (แกลบครับเดือนนี้)

DSC_1771

ด้านล่างเป็น Rapoo E6500 Ultra-thin Blade Wireless Bluetooth 3.0 Android ส่วนด้านบนเป็น Microsoft Wedge Mobile Keyboard จะเห็นว่ากล่องใหญ่แตกต่างกันอย่างมาก ><”

ด้านราคาแล้วนั้น RAPOO E6500 ค่าตัวอยู่ที่ 1,490 บาท ในความรู้สึกส่วนตัวแล้วไม่แพงมากสำหรับ Bluetooth Keyboard ที่ใช้งานร่วมกับ Smartphone และ Tablet ค่าย Android ครับ

ด้านราคาของฝั่ง Microsoft Wedge Mobile Keyboard นั้นอยู่ที่ 2,590 บาท ถือว่าราคาแรงพอสมควรสำหรับหลายๆ คน แต่ถ้าพูดถึงความสามารถในการเชื่อมต่อกับหลายๆ OS แล้ว ผมถือว่าชนะขาดหลายๆ ค่ายเลย ซึ่งตัว Wedge Mobile Keyboard นั้นสามารถเชื่อมต่อผ่าน Bluetooth เข้ากับ Windows 7/RT/8 ได้สบายๆ และยังสามารถใช้กับ Mac OS X สำหรับ Desktop/Notebook โดยทั่วไป และยังสามารถเชื่อมต่อกับ iOS และ Android ได้โดยไม่แยกรุ่นแบบของ RAPOO ที่มีรุ่นสำหรับ iPad และ Android แยกขายคนละรุ่น ซึ่งถ้าซื้อมาใช้พกพาแล้ว Wedge Mobile Keyboard จบในตัวเองเลยด้านการเชื่อมต่อหลายๆ OS

DSC_1776 DSC_1778

ในด้านการใช้งานแล้วนั้น Rapoo E6500 Ultra-thin Blade Wireless Bluetooth 3.0 Android มี Layout ของการจัดวางปุ่มที่แปลกสักหน่อย ถ้าใครซื้อมาเป็นแบบ Screen ปุ่ม US แนะนำให้หาสติกเกอร์มาแปะสักหน่อย ไม่งั้นพิมพ์ไทยหลงปุ่มแน่ๆ ในด้านการพิมพ์ภาษาอังกฤษอันนี้สบายๆ ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าพิมพ์ภาษาไทยเนี่ยลำบากพอสมควรเลย เพราะบางปุ่มที่ภาษาอังกฤษใช้เป็นสัญลักษณ์ในภาษาอังฤษจะโดนลดบทบาทลงด้วยการย้ายปุ่มไปตำแหน่งอื่น แต่ในภาษาไทยไอ้ปุ่มที่โดนย้ายไปเนี่ยมันเป็นปุ่มที่โดนควบด้วยปุ่มภาษาไทยที่ใช้บ่อยๆ อยู่หลายตัว เพราะฉะนั้นอาจลำบากสำหรับคนที่ซื้อมาพิมพ์ภาษาไทย (แนะนำให้หาสติกเกอร์ภาษาไทยมาใช้ควบคู่ด้วย)

ส่วนเรื่องการพิมพ์และการตอบสนองนั้นไม่มีอาการยวบของตัวคีย์บอร์ดให้เห็น เพราะฐานเป็นตัวแสตนเลสอย่างหนาเลย กดไม่ยวบ ทำให้พิมพ์แล้วไม่รู้ว่าต้องเกร็งนิ้วมือเพราะกลัวว่ากดลงไปแรงๆ แล้วคีย์บอร์ดจะหักกลาง

ส่วนเรื่องของ Battery นั้นตัว Rapoo E6500 นั้นเป็น Battery แบบ Li-ion แบบใส่มาในตัวเลย การชาร์จก็ใช้ผ่าน microUSB ง่ายๆ สำหรับการ Pair ตัวคีย์บอร์ดตัวนี้ไม่ยากอะไร และ Pair ได้เร็ว แต่ใช้ได้กับ Android OS และ HID Profile บน Desktop/Notebook เท่านั้น ไม่สามารถใช้บน iOS ได้

DSC_1793 DSC_1794

ตัวต่อมาเป็นตัวที่ผมรู้สักประทับใจมากเมื่อได้สัมผัส ก็คือ Microsoft Wedge Mobile Keyboard จากที่บอกไปแล้วว่าตัวคีย์บอร์ดตัวนี้สนับสนุน OS หลากหลายกว่า Rapoo และแน่นอนว่าขนาดของตัวคีย์บอร์ดตัวนี้มีขนาดใหญ่กว่า Rapoo E6500 ที่วางเทียบๆ โดย Rapoo มีขนาด 21cm x 8cm ส่วน Wedge Mobile Keyboard มีขนาด 25.5cm x 10cm จะเห็นว่าระยะความกว้างของ Wedge Mobile Keyboard นั้นกว้างกว่าพอสมควร ทำให้การจัดเรียงตัวปุ่มนั้นทำได้ใกล้เคียงกับคีย์บอร์ด Notebook ขนาดเล็กเลย และสำหรับ Layout ภาษาอังกฤษนั้นไม่มีการโยกย้ายปุ่มแบบ Rapoo ทำให้เวลาเปลี่ยนมาพิมพ์ภาษาไทยนั้นทำได้ง่ายกว่ามาก รวมถึงระยะปุ่มก็ห่างก็พอกัน ทำให้ไม่พิมพ์ผิดได้ง่ายเท่า Rapoo ที่ตัวเล็กกว่า (แถมโยกย้ายปุ่มอย่างที่บอกไป)

สำหรับในด้านการตอบสนองการพิมพ์นั้น Wedge Mobile Keyboard นั้นปุ่มนิ่มกว่า เลยไม่ต้องใช้แรงกดเยอะ แต่การตอบสนองทำได้ดี และฐานตัวคีย์บอร์ดทำได้แข็งแรงกว่า Rapoo อีก ทำให้พิมพ์แล้วไม่ยวบลงไป ซึ่งกดพิมพ์แล้วมั่นใจมากๆ อันนี้ ถ้าเทียบกันทั้ง Rapoo และ Wedge Mobile Keyboard ทำได้ดีทั้งสองตัวเลย

DSC_1803 DSC_1801

แน่นอนว่า Wedge Mobile Keyboard เป็นแบบ Wireless การใช้พลังงานนั้นแตกต่างจาก Rapoo E6500 เพราะใช้ Battery Alkaline ขนาด AAA ทั้งหมด 2 ก้อนมาใส่ที่ฐานแล้วเปิดใช้งาน ตัวคีย์บอร์ดมีปุ่มสำหรับเชื่อมต่อ Bluetooth เท่านั้น ไม่มีปุ่มปิดเฉพาะแบบ Rapoo แต่อย่างใด แต่ใช้ Multi-purpose Cover มาเปิดตัวคีย์บอร์ดแทน ก็คือการปิดการใช้งาน แต่เจ้าตัว Multi-purpose Cover ที่ให้มานอกจากจะเป็น Cover ของตัวคีย์บอร์ดแล้ว ยังเป็น Stand ให้กับตัว Tablet ให้เราได้อีกด้วย ซึ่งซื้อคีย์บอร์ดตัวนี้คิดซะว่าได้แถม Stand มาอีกตัวในชุด (ผมว่าคุ้มนะ Stand ตัวนึงก็ราคาหลายร้อยอยู่)

ส่วนตัวแล้วจากที่ใช้ๆ ก็แนะนำสำหรับคนที่อยากพิมพ์สบายๆ และหลายๆ คนที่ไม่ถนัดพิมพ์บนจอสัมผัส ซึ่งผมก็รู้ว่ามันลำบากชีวิตในการพิมพ์อะไรยาวๆ อยู่เหมือนกันนะ ถ้าคิดว่าคุ้มก็จัดเลยครับ

6 เดือนกับ Oppo Find 3 สับแหลก!

มารอบนี้เป็นเรื่องราวการใช้งาน Oppo Find 3 ในช่วงเกือบๆ 6 เดือนที่ผ่านมา

ต้องบอกก่อนว่า ผมซื้อเจ้า Oppo Find 3 ตั้งแต่วันแรกที่เปิดตัว (ไปซื้อเครื่องที่งานเปิดตัวเลย) แล้วจริงๆ ผมได้จับและเล่นเครื่องก่อนงานเปิดตัว (เพราะได้ลองเครื่อง demo/review) ส่วนตัวตอนนั้นกำลังเล็ง Sony Xperia S แต่กว่าของจะเข้า ของจะมา กว่าจะได้ซื้อนานมาก แล้วพอได้ลองเครื่องเจ้า Oppo Find 3 ผมก็ว่าโอเคนะ จอภาพสวยงาม ความเร็วของเครื่องก็เร็วดีมาก กล้องก็ถ่ายออกมาชัดดีด้วย หน่วยความจำที่ให้มาก็ถือว่าสมราคา แม้วัสดุฝาหลังจะดูแปลกๆ แต่โดยรวมแล้วตัวเครื่องนั้นงานประกอบดีมาก

DSC_8675 DSC_8676

DSC_8687 DSC_8693

ถ้าถามว่าจะให้ติส่วนไหน จริงๆ ต้องบอกว่าคงเป็นฝาหลัง แล้วก็ที่ปิด ช่อง microUSB ที่ดูจะลำบากมากเวลาจะใช้งานสักหน่อย (ผมใช้ไปสักพักรำคาญ เลยดึงออกมันซะเลย)

ซึ่งตอนซื้อผมได้แถมเคส ฟิล์มกันรอยหน้าจอ และแบตก้อนที่สอง มาด้วย คือใช้งานไปสักพักเลยเข้าใจเลยว่าแถมแบตก้อนที่สองนั้นสำคัญมาก เพราะแบตหมดเร็วพอสมควรเลย

สำหรับคุณภาพเสียงจากลำโพงที่ตัวเครื่องนั้นผมว่าทำได้ดีนะ เสียงที่ได้มีแบสออกมาเป็นลูกๆ เลย ดูใส่ใจ และให้ความสำคัญกับลำโพงที่เครื่องโทรศัพท์ดีครับ เปิดฟังเพลงแทนลำโพงตั้งโต๊ะก็พอไหวนะ

สำหรับเรื่องกล้องนั้นการถ่ายรูปทำได้ดีครับ หน่วงๆ บ้าง ก็พอเข้าใจได้ คงเอาไปสู้กับ Samsung Galaxy Nexus ที่ผมเคยได้ลองใช้ไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้ห่างกันมาก การถ่าย HDR ทำได้ดีเลยแหละ

(ไฟล์รูป Original คลิ้กจากรูปได้เลย)

IMG20120727141114

IMG20120604180622 IMG20120418131556

IMG_20120907_204725 IMG_20120907_204840 (2)

IMG20120907132329 IMG20120805224049

IMG20120517190609 IMG20120826211311

IMG20120824063019

สำหรับสเปคคงหากันไม่ยากนะครับ

SCR_20120517_011853
คะแนน benchmark เครื่องที่ผมมีอยู่

ซึ่งจากที่ใช้มา ตัวเครื่องมันมี Storage อยู่ 3 ส่วน คือ Phone (2GB), Internal storage (16GB) และ microSD Card (ผมใส่ไป 16GB Class 10) จากที่ใช้มาก็ไม่ค่อยได้ใส่อะไรหนักๆ เท่าไหร่ (นอกจาก MV/VDO) แล้วเพลงก็ไม่ได้ใส่ เพราะมี iPod nano กับ iPod Touch ใช้งานแยกต่างหากอยู่แล้ว (ผมมักแยกในเรื่องนี้ เพราะจะได้ทำงานสะดวก และไม่ต้องพะวงเรื่องแต)

SCR_20120625_180825 SCR_20120625_180658

ตัว OS ตอนแรกที่ผมได้มานั้นเป็น Android 2.3.6 (Gingerbread) โดยเป็น version 3.05 (version ของ Oppo ที่เรียกลำดับของ ROM ตัวเอง) ช่วง 1-3 เดือนแรกของการใช้ Oppo Find 3 เป็นไปด้วยความยากลำบากในการใช้งานอยู่พอสมควร ด้วยความที่ ROM ของ Oppo Find 3 นั้นมีปัญหาในเรื่องของการจับสัญญาณ AIS และการติดต่อ Internet จน Connection overflow และทำให้เกิดปัญหาเครื่อง restart อยู่บ่อยครั้ง คือใช้ๆ อยู่ ถ้าเริ่มต่อ Internet ไม่ได้ แล้วดันทุรังใช้งานไป เครื่องจะ restart ทันที!!! ซึ่งเป็นบ่อยมาก วันนึงไม่ต่ำกว่า 10 รอบ (ผมเป็นคนใช้งาน Internet บ่อยมาก) หรือบางครั้งโทรศัพท์อยู่ ก็ดัน Restart ไปซะอย่างนั้น ทำให้การติดต่อสื่อสารเริ่มมีปัญหา ผมบ่นๆ ใน twitter ไปหลายรอบ จนทางทีมงาน Oppo Thai ติดต่อกลับมาเพื่อรับทราบปัญหาและแก้ไข ซึ่งส่วนตัวในตอนนั้นก็ประทับใจในการใส่ใจ จนเริ่มเสถียรตอน Android 2.3.6 version 3.15 ได้ ปัญหาเรื่องนี้ก็ไม่เกิดขึ้นอีก ซึ่งส่วนตัวก็ประทับใจ

จนทาง Oppo Thai ออก ROM ตัวใหม่ Android 4.0 (Ice Cream Sandwich) โดยเป็น version 4.03 (version ของ Oppo ที่เรียกลำดับของ ROM ตัวเอง) พออัพ ก็งานเข้าเลย เกิดอาการแฮงกระจาย และมีออก version 4.06 ออกมา ก็คิดว่าจะแก้ไขปัญหา ดันมีปัญหาเพิ่มขึ้นมาอีก งั้นผมลิสรายการปัญหาทั้งหมดเลยแล้วกัน ><”

  1. เครื่องแบตหมดเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ 4-5 ชั่วโมงแบตเหลือ 20% (หรือต่ำกว่า) ทั้งๆ ที่ปิด 3G แล้วนะ
    (GPS และ AutoSync ก็ปิด แต่เหมือนตัว Bar ที่ใช้ในการปิดมันจะใช้งานได้บ้างไม่ได้บ้าง เพราะเห็นขึ้น AutoSync ขึ้นมาทั้งที่ปิดไปแล้ว)
  2. เครื่องร้อนกว่าปรกติ ทั้งๆ ที่ไม่ได้เปิด Apps อะไรด้านหลังเยอะแยะ เกมก็ไม่มีสักเกม
  3. การใช้งานร่วมกับ Apps ที่เชื่อมต่อ Internet ตลอดเวลา หรือพวก Push ต่างๆ โดยเฉพาะ Apps ที่เกี่ยวกับ Chat ทั้งหมดถ้าลง ROM ใหม่ๆ จะโดน Apps ที่จัดการเรื่อง Security (บ้าบอสักตัว) มาคอยปิด Apps หรือ block การเชื่อมต่อไว้ ทำให้ไม่แจ้งเตือน ต้องไปตั้งค่าใน Security ให้ allow เป็นราย Apps ไป (ส่วนตัวผมปิดมันไปเลย) แล้วแบบนี้คนใช้งานทั่วไป ใครมันจะไปรู้ครับ
  4. การกดวางสายตอนโทรศัพท์ชอบค้างไปดื้อๆ ทำให้วางสายไม่ได้ หรือวางสายช้ากว่าที่ควรจะเป็น (กดวางแล้วไม่ยอมวาง บางครั้งต้องถอดแบตออกก็มีมาแล้ว)
  5. ระบบการแจ้งเตือน Data plan ที่ใช้เกิน (data exceed) ไม่มีที่ปิด หรือกำหนด!!! เหมือนมันหายไปตอน Android 4.0 และไม่มีที่ให้ปรับ หรือยกเลิกแจ้งเตือน
  6. เมื่อ restart เครื่อง ในส่วน Notification Bar บอกปิด 3G แต่สัญลักษณ์เชื่อมต่อคือ H หรือเชื่อมต่อ 3G อยู่ ต้องมาไล่ปิด-เปิดใหม่อีกรอบ
  7. Apps “Photos” ที่ให้มากับเครื่องนั้นโดยรวมดี แต่มีปัญหาในการที่มันไปวิ่ง scan หารูปใน directory ของระบบทุกๆ path/mount ของระบบเลย พวกลากเอาทั้ง cache image ของ Apps ต่างๆ มาด้วย ทำให้ใช้งานจริง ไม่ได้ เพราะรกและหาไฟล์รูปจริงๆ ที่มียากมากจนต้องใช้ ES File Explorer และ JustPictures มาใช้แทน
  8. Home Screen/Luncher ถ้าใช้ของตัวอื่นที่ไม่ใช่ของ Oppo จะมีปัญหาชอบ reset ตัวเอง และบางครั้งตอน restart เครื่อง กลับมา ก็จะ reset ไปใช้ของ Oppo (เครื่องมันความจำเสื่อมหรือไง)
  9. Icon ของ App ไร้รสนิยมมาก เป็นมาตั้งแต่ Android 2.3.6 ควรเปลี่ยนหรือทำให้มันเปลี่ยนได้ด้วย ผมรับไม่ได้ ซึ่งเป็นต้นเหตุให้ผมเปลี่ยน Home Screen และต้องมาโหลด Icon pack เสียเงินเพิ่มอีก
  10. ปัญหาเครื่อง restart/reset ตัวเองกลับมาอีกแล้ว รอบนี้ผมไม่ได้ใช้ AIS แต่เป็น dtac ซึ่งสัญญาณ Internet ดีกว่ามาก เพราะงั้นปัญหาเดิมไม่น่าใช่ วางๆ อยู่เฉยๆ มัน restart ไปดื้อๆ เลย หรือโทรศัพท์อยู่ดัน restart ตัวเอง (คุยงานอยู่ด้วยนะ) นี่ถ้าไอ้คนใช้คนนั้นมันกำลังทะเลาะกับสาว มันไม่โดนงอนตายเหรอว่าวางหูใส่ ><”
  11. อยู่ๆ ก็ เกิดอาการเล่นเพลงกระตุก (ไม่เคยเกิดขึ้นตอน Android 2.3.6)
  12. OTA มีเหมือนไม่มี ตอน Android 2.3.6 นั้นผมอัพผ่าน OTA และผ่านเว็บ มีให้โหลดแบบรู้สึกได้ถึงความใส่ใจ แต่ใน Android 4.0 ต้องเข้า ศ. ไปอัพเท่านั้น OTA ไร้การตอบรับ การดาวน์โหลดผ่านเว็บโดนถอดออก
  13. ใน Android 4.0 ในส่วนของ ROM นั้น Oppo Find 3 ไร้การสนันสนุนอย่างเห็นได้ชัด มีการออก ROM มาให้โหลด 2 ตัว ระยะห่างกันประมาณ 1 เดือน และรอบล่าสุดก็เงียบหายไปนานแล้ว (คิดว่าประมาณ 1 เดือนเกือบๆ 2 เดือน) ตอน Android 2.3.6 ออก ROM และแก้ไขปัญหาเกือบทุกอาทิตย์ มีการสนับสนุนที่ดีกว่าในตอนนี้มาก (ตอนนั้นประทับใจมาก) สรุปคือทิ้งคนใช้ Oppo Find 3 ที่เปิดตลาดคุณไปแล้วเหรอ เห็นออก ROM ตัว Oppo Finder รวดเร็วทันใจมาก ส่วนคนใช้ Oppo Find 3 นั่งมองแบบงงๆ นี่เราลูกเมียน้อยหรือไง
  14. การ root หรือ custom ROM ของ Oppo Find 3 มีคนเล่นน้อย เอกสารหายาก คนเริ่มขาย Find 3 ทิ้งกันเยอะ ส่วนตัวผมก็กำลังนั่งคิดว่าจะไปใช้ Pure Google อย่าง Samsung Galaxy Nexus หรือตัวอื่นๆ ที่เป็น Pure Google ที่รองรับ Android 4.1 (หรือ 4.2 ในอนาคต) เพราะรอไม่ไหวกับการสนับสนุนแบบตามมีตามเกิดแบบนี้ (เข้าไปดู Webboard ของ Officialได้คนใช้แนะนำและช่วยเหลือกันเองซะเยอะ)
  15. การอัพ ROM แต่ละครั้งต้อง wipe แบบ all และ erase cache/userdata ทิ้งทั้งหมด แล้วต้องมานั่งลง Apps ใหม่ นั่ง config ใหม่ตลอด (เสียเวลาไป 1 วัน) ตอน Android 2.3.6 ยังดีหน่อย มี patch ให้ แต่ตอน Android 4.0 ต้อง wipe แถมต้องมา erase cache/userdata เองก่อนลง ไม่งั้นจะเจอข้ออ้างว่าที่มันแฮงเพราะคุณไม่ erase cache/userdata ก่อนติดตั้งให่ แล้ว User ที่ไหนมันจะมานั่งทำ ผมเป็น Power User ยังเบื่อเลย ><”

เล่าไม่หมด เอาแค่นี้ก่อนแล้วกัน เยอะมาก ผมเฝ้ารอ ROM ตัวใหม่ของ Oppo Find 3 ที่แก้ไขปัญหา ผ่านเว็บ (ผมไม่มีเวลาไป ศ. หรอกนะ) ผมก็หวังว่าจะไม่หมดความอดทนไปใช้ยี่ห้ออื่นก่อนก็แล้วกันนะ