เรื่องเล่าของ Bluetooth Keyboard ที่ใช้งานร่วมกับ Android ได้อย่าง RAPOO E6500 และ Microsoft Wedge Mobile

อยู่ๆ ก็อยากได้ Keyboard มาใช้งานร่วมกับ Android Tablet ที่ผมมีอยู่อย่าง ASUS Nexus 7

วันนี้เลยไปเดินดู ตอนแรกผมได้ Rapoo E6500 Ultra-thin Blade Wireless Bluetooth 3.0 for Android มาก่อน เลยเอามานั่งเล่น โดยรวมมันเล็กดีครับ แต่พอพิมพ์และเล่นไป รู้สึกว่ามันเล็กไป (อ้าววว ไอ้บ้า ตอนซื้อไม่คิด) ก็เลยไปเดินเล่นใน IT City ไปสะดุดกับ Microsoft Wedge Mobile Keyboard เข้า พลิกกล่องไปๆ มาๆ มันไม่ได้บอกว่าใช้กับ Android ได้แฮะที่กล่อง ผมเลยเปิดมือถือค้นหาดูว่ามีใครเขียนรีวิวเรื่องนี้ไว้แล้วเค้าใช้ Android ได้ไหม สรุปว่าได้ แต่ด้วยความไม่มั่นใจ เลยขอทางร้าน IT City เค้าทดสอบอีกที เค้าก็เลยแกะกล่องใหม่มาให้ลอง Pair กับมือถือผมเลย แล้วผมก็ลองพิมพ์ดู สรุปว่าได้แฮะ แถมการ Pair ก็ไม่ได้ยุ่งยาก สรุปเหมือนมัดมือชก ถ้าได้ก็ต้องซื้อ (ร้านแผนสูงนะเนี่ย) สรุปเลยจัดมาเลยอีกตัว ><” (แกลบครับเดือนนี้)

DSC_1771

ด้านล่างเป็น Rapoo E6500 Ultra-thin Blade Wireless Bluetooth 3.0 Android ส่วนด้านบนเป็น Microsoft Wedge Mobile Keyboard จะเห็นว่ากล่องใหญ่แตกต่างกันอย่างมาก ><”

ด้านราคาแล้วนั้น RAPOO E6500 ค่าตัวอยู่ที่ 1,490 บาท ในความรู้สึกส่วนตัวแล้วไม่แพงมากสำหรับ Bluetooth Keyboard ที่ใช้งานร่วมกับ Smartphone และ Tablet ค่าย Android ครับ

ด้านราคาของฝั่ง Microsoft Wedge Mobile Keyboard นั้นอยู่ที่ 2,590 บาท ถือว่าราคาแรงพอสมควรสำหรับหลายๆ คน แต่ถ้าพูดถึงความสามารถในการเชื่อมต่อกับหลายๆ OS แล้ว ผมถือว่าชนะขาดหลายๆ ค่ายเลย ซึ่งตัว Wedge Mobile Keyboard นั้นสามารถเชื่อมต่อผ่าน Bluetooth เข้ากับ Windows 7/RT/8 ได้สบายๆ และยังสามารถใช้กับ Mac OS X สำหรับ Desktop/Notebook โดยทั่วไป และยังสามารถเชื่อมต่อกับ iOS และ Android ได้โดยไม่แยกรุ่นแบบของ RAPOO ที่มีรุ่นสำหรับ iPad และ Android แยกขายคนละรุ่น ซึ่งถ้าซื้อมาใช้พกพาแล้ว Wedge Mobile Keyboard จบในตัวเองเลยด้านการเชื่อมต่อหลายๆ OS

DSC_1776 DSC_1778

ในด้านการใช้งานแล้วนั้น Rapoo E6500 Ultra-thin Blade Wireless Bluetooth 3.0 Android มี Layout ของการจัดวางปุ่มที่แปลกสักหน่อย ถ้าใครซื้อมาเป็นแบบ Screen ปุ่ม US แนะนำให้หาสติกเกอร์มาแปะสักหน่อย ไม่งั้นพิมพ์ไทยหลงปุ่มแน่ๆ ในด้านการพิมพ์ภาษาอังกฤษอันนี้สบายๆ ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าพิมพ์ภาษาไทยเนี่ยลำบากพอสมควรเลย เพราะบางปุ่มที่ภาษาอังกฤษใช้เป็นสัญลักษณ์ในภาษาอังฤษจะโดนลดบทบาทลงด้วยการย้ายปุ่มไปตำแหน่งอื่น แต่ในภาษาไทยไอ้ปุ่มที่โดนย้ายไปเนี่ยมันเป็นปุ่มที่โดนควบด้วยปุ่มภาษาไทยที่ใช้บ่อยๆ อยู่หลายตัว เพราะฉะนั้นอาจลำบากสำหรับคนที่ซื้อมาพิมพ์ภาษาไทย (แนะนำให้หาสติกเกอร์ภาษาไทยมาใช้ควบคู่ด้วย)

ส่วนเรื่องการพิมพ์และการตอบสนองนั้นไม่มีอาการยวบของตัวคีย์บอร์ดให้เห็น เพราะฐานเป็นตัวแสตนเลสอย่างหนาเลย กดไม่ยวบ ทำให้พิมพ์แล้วไม่รู้ว่าต้องเกร็งนิ้วมือเพราะกลัวว่ากดลงไปแรงๆ แล้วคีย์บอร์ดจะหักกลาง

ส่วนเรื่องของ Battery นั้นตัว Rapoo E6500 นั้นเป็น Battery แบบ Li-ion แบบใส่มาในตัวเลย การชาร์จก็ใช้ผ่าน microUSB ง่ายๆ สำหรับการ Pair ตัวคีย์บอร์ดตัวนี้ไม่ยากอะไร และ Pair ได้เร็ว แต่ใช้ได้กับ Android OS และ HID Profile บน Desktop/Notebook เท่านั้น ไม่สามารถใช้บน iOS ได้

DSC_1793 DSC_1794

ตัวต่อมาเป็นตัวที่ผมรู้สักประทับใจมากเมื่อได้สัมผัส ก็คือ Microsoft Wedge Mobile Keyboard จากที่บอกไปแล้วว่าตัวคีย์บอร์ดตัวนี้สนับสนุน OS หลากหลายกว่า Rapoo และแน่นอนว่าขนาดของตัวคีย์บอร์ดตัวนี้มีขนาดใหญ่กว่า Rapoo E6500 ที่วางเทียบๆ โดย Rapoo มีขนาด 21cm x 8cm ส่วน Wedge Mobile Keyboard มีขนาด 25.5cm x 10cm จะเห็นว่าระยะความกว้างของ Wedge Mobile Keyboard นั้นกว้างกว่าพอสมควร ทำให้การจัดเรียงตัวปุ่มนั้นทำได้ใกล้เคียงกับคีย์บอร์ด Notebook ขนาดเล็กเลย และสำหรับ Layout ภาษาอังกฤษนั้นไม่มีการโยกย้ายปุ่มแบบ Rapoo ทำให้เวลาเปลี่ยนมาพิมพ์ภาษาไทยนั้นทำได้ง่ายกว่ามาก รวมถึงระยะปุ่มก็ห่างก็พอกัน ทำให้ไม่พิมพ์ผิดได้ง่ายเท่า Rapoo ที่ตัวเล็กกว่า (แถมโยกย้ายปุ่มอย่างที่บอกไป)

สำหรับในด้านการตอบสนองการพิมพ์นั้น Wedge Mobile Keyboard นั้นปุ่มนิ่มกว่า เลยไม่ต้องใช้แรงกดเยอะ แต่การตอบสนองทำได้ดี และฐานตัวคีย์บอร์ดทำได้แข็งแรงกว่า Rapoo อีก ทำให้พิมพ์แล้วไม่ยวบลงไป ซึ่งกดพิมพ์แล้วมั่นใจมากๆ อันนี้ ถ้าเทียบกันทั้ง Rapoo และ Wedge Mobile Keyboard ทำได้ดีทั้งสองตัวเลย

DSC_1803 DSC_1801

แน่นอนว่า Wedge Mobile Keyboard เป็นแบบ Wireless การใช้พลังงานนั้นแตกต่างจาก Rapoo E6500 เพราะใช้ Battery Alkaline ขนาด AAA ทั้งหมด 2 ก้อนมาใส่ที่ฐานแล้วเปิดใช้งาน ตัวคีย์บอร์ดมีปุ่มสำหรับเชื่อมต่อ Bluetooth เท่านั้น ไม่มีปุ่มปิดเฉพาะแบบ Rapoo แต่อย่างใด แต่ใช้ Multi-purpose Cover มาเปิดตัวคีย์บอร์ดแทน ก็คือการปิดการใช้งาน แต่เจ้าตัว Multi-purpose Cover ที่ให้มานอกจากจะเป็น Cover ของตัวคีย์บอร์ดแล้ว ยังเป็น Stand ให้กับตัว Tablet ให้เราได้อีกด้วย ซึ่งซื้อคีย์บอร์ดตัวนี้คิดซะว่าได้แถม Stand มาอีกตัวในชุด (ผมว่าคุ้มนะ Stand ตัวนึงก็ราคาหลายร้อยอยู่)

ส่วนตัวแล้วจากที่ใช้ๆ ก็แนะนำสำหรับคนที่อยากพิมพ์สบายๆ และหลายๆ คนที่ไม่ถนัดพิมพ์บนจอสัมผัส ซึ่งผมก็รู้ว่ามันลำบากชีวิตในการพิมพ์อะไรยาวๆ อยู่เหมือนกันนะ ถ้าคิดว่าคุ้มก็จัดเลยครับ

13 thoughts on “เรื่องเล่าของ Bluetooth Keyboard ที่ใช้งานร่วมกับ Android ได้อย่าง RAPOO E6500 และ Microsoft Wedge Mobile”

  1. ใช้กับ Linux ได้ไหมครับ มีใครลองแล้วบ้างไหม

  2. Android ต้องลงอะไรเพิ่มเพื่อใช้ภาษาไทยหรือเปล่าครับ และกดอะไรเปลี่ยนภาษาครับ

  3. Zatang :
    Android ต้องลงอะไรเพิ่มเพื่อใช้ภาษาไทยหรือเปล่าครับ และกดอะไรเปลี่ยนภาษาครับ

    อยากรู้เหมือนกันครับ ผมใช้ได้แต่ภาษาอังกฤษอย่างเดียว

    • @maxakato
      ลอง TSwipe-Pro hardware keyboards ครับ แล้วปรับ key ให้สลับคีย์บอร์ด ไทย-อังกฤษได้เลย ผมใช้ left ctrl + shift เปลี่ยนภาษาเอา (ผมใช้บน Windows ก็คีย์นี้) เลยสะดวกในการย้ายเครื่องไป-มา

  4. ใครที่ใช้ Android อยู่ใกล้ PC ใช้ MyPhoneExplorer ก็สะดวกดีและฟรี นอกจากใช้ Sync ข้อมูล Contacts Calendar Notes Messages ได้แล้ว (ไม่ใช้ก็ได้) ยังมี Tasks เพิ่มมาให้ด้วยและ sync ได้ นอกจากนี้ยังมี Control Phone ที่เห็นจอ Android บนจอ PC ใช้เม้าส์ได้ และ TextInput เพื่อพิมพ์ข้อความด้วยคีย์บอร์ด PC
    ใช้ Rapoo E6500 อยู่ เห็นด้วยกับค. @FordAntiTrust ที่ว่าคีย์เล็กไปหน่อย คีย์มีขนาดไม่เท่ากัน โดยเฉพาะภาษาไทยใช้คีย์นิ้วก้อยเพื่อพิมพ์ตัวสะกด วงบล มาก ซึ่งคีย์พวกนี้จะมีขนาดเล็ก และย้ายตำแหน่งอย่างที่ว่า ไม่สะดวกจริงๆ ด้วย
    ใช้ Gadgetdoor Thai Keyboard (หรือ Gadgetdoor Thai Hardware Keyboard นี่แหละ) ซึ่งสามารถสลับภาษาด้วยปุ่ม Tilde เหมือน Windows ทั่วไป แต่รู้สึกเหมือนเป็นบั๊กต้องเชื่อมต่อขณะที่ softkey แสดงขึ้นมาจึงจะพิมพ์ภาษาไทยได้ นอกจากนั้นโปรแกรมนี้ก็ใช้งานได้ดีครับ

  5. คืออยากทราบนิดนึงว่า ตอนนี้แพร์กับPCได้แล้วแต่มันพิมไม่ได้เลยครับ ทำไงดี ช่วยสอนขั้นตอนโดยละเอียดหน่อยครับกำลังจะเขวี้ยงทิ้งแล้ว เหมือนโดนร้านหลอกเลย ร้านบอกว่าใช้กับPCปรกติได้

  6. พี่งซื้อ Rapoo E9080 จากร้านที่แฟชั่น ราคา 1600 จะมาเล่นกับ Android TV กลับมาบ้านเสียบดู Mouse ก็เคลื่่อนได้ดีแต่กดตาม icon application ต่างๆ ไม่ค่อยได้ ต้องเคาะกัน 5-6 ครั้ง หรือบางที่ ครั้งเดียวก็ติด แถมกระโดดไปโน่นไปนี่ ใช้ไม่ได้เลย ปกติใช้ Logitec wireless อยู่ก็ไม่เคยมีปัญหาอะไร เอากลับไปที่ร้านขอเปลี่ยน ทางร้านทำท่าจะไม่เปลี่ยนให้ เราก็บอกว่าซื้อไปจะไปใช้กับ TV Android แต่มันไม่ได้เรื่อง เขาก้ลองเสียบกับมือถือไม่มีปัญหาอะไร บอกพี่รับกลับไปเหอะ เราก็ไม่ยอมบอกให้ไปลองเสียบ TV Android ดู ก็เลยไป test กันเลยที่ร้าน TV ชั้นล่าง ปรากฏอาการเดียวกันครับ ตอนแรกกดได้สักสองสามครั้ง ตอนหลังเคาะกัน 5-6 ครั้งยังไม่เช้า application คนขายเดินงุดงิดบ่นว่า สัญญาน TV ไม่แรงพอ เราก็บอกว่าใช้ยี่ห้ออื่นอยู่ไม่มีปัญหานี่ ก็บ่นโน่นนี่ไปอีกนานาประการ จะหักเงินเพราะไม่ได้เอาถุงพลาสคิกที่ใส่ doggle มา เราก็บอกว่าหักไปเลยค่าถุงเท่าไร ก็ยังไม่ยอมครับบ่นอีกยาว กว่าจะยอมคืนเงินเต็มจำนวนมาให้… รับรองไม่ซื้อของร้านนี้อีกต่อไป ส่วน product ของ Rapoo ใช้กับ Android TV ไม่ได้จริงๆครับ

  7. ของ iPad ถ้าต้องการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตอนที่เปิดใช้ keyboard ต้องเปิด keyboard language ของ iPad เป็นภาษาไทยก่อนครับ แล้วเปิดสวิทต์คีบอร์ด เวลาเปลี่ยนภาษาไปมากดที่ปุ่ม caps lock ก็สามารถเปลี่ยนได้ครับ

  8. บน iPad เปลี่ยนภาษาโดยกดปุ่ม [Windows] +Space bar ค่ะ

Comments are closed.