Lenovo เปิดตัว ThinkPad T440s อัลตร้าบุ๊กสำหรับธุรกิจที่มาพร้อม Intel Haswell และหน้าจอระดับ Full HD

หลังจากปล่อย ThinkPad T431s ออกมาหลายเดือนก่อนหน้านี้และเสียวิจารณ์ในแง่ไม่ดีอย่างมากมาย ในวันนี้ Lenovo ก็ปล่อย series ที่ 4 ในสาย T Series ออกมาแก้ข้อผิดพลาดในหลายๆ ซึ่งเป็นสายของ 4th generation Intel Core (Haswell) เสียที โดยรุ่นที่ประเดิมก่อนคือรุ่น ThinkPad T440s ผ่านหน้าเว็บของ lenovo.com (โดยที่ 4 ในหลักสิบคือGeneration ของ Intel Core)

lenovo-laptop-thinkpad-t440s-front-1

คุณสมบัติคราวๆ คือ

  • ความหนาน้อยสุดที่ 21mm และมีน้ำหนัก 1.62kg
  • คีย์บอร์ดแบบ AccuType keyboard แบบใหม่ที่ปรับปรุงดีขึ้นในเรื่องการแบ่งกลุ่มปุ่ม function key
  • เปลี่ยนจากสีดำสนิทตามแบบฉบับที่มีมายาวนานกว่า 20 ปีเป็นสีดำกราไฟต์
  • ใช้ Carbon fiber ร่วมกับ magnesium ในการทำฝาหลัง
  • บานพับแบบปรกติเป็น Drop Down Hinge ตามสมัยนิยม
  • TrackPad ตัวใหม่ที่ใหญ่มากขึ้นตามแบบ ThinkPad X1 และเป็น Buttonless แบบเดียวกับ Macbook Pro
  • Trackpoint แบบ Buttonless และปุ่มกดถูกซ้อนอยู่ที่บริเวณด้านบนของ TrackPad
  • ตะขอที่ขอบจอด้านบนถูกนำออกไปและใช้แม่เหล็กแทนแบบเดียวกับ ThinkPad X1
  • จอภาพ 14 นิ้วแบบ IPS Panel ความละเอียดขนาด HD+ (1,600×900) หรือ Full HD (1920 x 1080)
  • ไม่มี ThinkLight
  • ไม่มี Optical drive
  • ออกแบบแบตเตอรี่เป็นแบบ Power Bridge Battery คือมีแบตภายในตัวเครื่องขนาด 3 cell และแบตภายนอกทำงานร่วมกันสามารถถอดเปลี่ยนได้ทำให้สามารถถอดแบตเปลี่ยนต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องปิดเครื่อง
  • ให้ NFC, SD Card reader และ Smart card reader
  • มี VGA Port และ mini DisplayPort
  • มี Dual noise-canceling microphones และ Dolby Speakers with Home Theater v4 มาให้ในตัว
  • ให้ USB 3.0 มา 3 ports
  • มี 720p HD Webcam

สำหรับรุ่น CPU ของ Intel ที่จะนำมาใส่ ใช้ RAM เท่าไหร่ มี HDD/SDD ขนาดไหน หรือราคาขายอยู่ที่เท่าไหร่บ้างนั้น ยังไม่มีข้อมูลในขณะนี้

lenovo-laptop-thinkpad-t440s-overhead-keyboard-2

lenovo-laptop-thinkpad-t440s-keyboard-zoom-6

รีวิว Lenovo IdeaPad Yoga 11

วันนี้ได้ทดสอบ Convertible Laptop ยี่ห้อ Lenovo รุ่น IdeaPad Yoga 11 ที่มาพร้อมกับ AccuType keyboard ที่มีสัมผัสในการพิมพ์และการใช้งานพลังงานแบตเตอรี่ที่ดีเยี่ยมรุ่นหนึ่งในตลาดในขณะนี้

โดยมีรูปร่างแบบ Convertible Laptop นั้นจอภาพจะเป็นแบบ touch screen และจอภาพหมุนพับกลับด้านโดยใช้งานผ่านจอภาพอย่างเดียวได้ หรือพับกลับมาแล้วใช้งานผ่านคีย์บอร์ดและทัชแพดสั่งงานได้ตามปรกติด้วยเหมือน Laptop ทั่วไปได้ด้วย

ซึ่ง Convertible Laptop เป็นกลยุทธ PC+ ของ Lenovo ในการบุกตลาดโลกไอทีในช่วงปีนี้ โดย Convertible Laptop เป็นกลยุทธ์ที่เป็นกลยุทธหนึ่งในนั้น โดยกลยุทธต่างๆ ในปีนี้ได้แก่ All-in-One PC, Tablet PC, Smart phone และ Smart TV ซึ่ง Lenovo ideaPad Yoga 11 เป็นรุ่นที่ 2 ในตระกูล Yoga ก่อนหน้านี้ที่เป็น Lenovo ideaPad Yoga 13 ได้นำเข้ามาบุกตลาด

สำหรับโหมดในการใช้งานของ Lenovo IdeaPad Yoga 11 ที่เป็น Convertible Laptop นั้น มีทั้งรูปแบบเดิมๆ ที่มีโหมด Laptop และ Tablet และรูปแบบใหม่เพิ่มเติมคือ Tent และ Stand เรามาดูกันดีกว่าว่าทั้งหมดที่กล่าวมานี้มีอะไรบ้าง

DSC_5923 DSC_5944DSC_5941

รูปลักษณ์โดยทั่วไปจะเป็นในรูปแบบของ Laptop แบบทั่วๆ ไป โดยการเปิดและปิดนั้นจะไม่แตกต่างจาก Laptop แต่อย่างใด

UntitledUntitled2yoga 11-2

ตัวระบบปฏิบัติการนั้นจะเป็น Windows RT แบบ 32-bit ที่ทำงานบนหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรมที่ชื่อว่า ARM ซึ่งทาง Lenovo ได้เลือกใช้ NVIDIA Tegra 3 (ARM Cortex-A9) ซึ่งเป็น Quad-Core โดยมีหน่วยความจำความจุขนาด 2GB DDR3L ซึ่งไม่สามารถอัพเกรดได้แบบ Laptop รูปแบบเดิมๆ

สำหรับข้อมูลในส่วนของระบบปฎิบัติการ Windows RT นั้น จะเป็นรุ่นย่อส่วนจาก Windows 8 โดยใช้งานได้เพียงส่วนของ Windows 8 App ใน Modern UI และ Software ที่ออกแบบสำหรับสถาปัตยกรรมระบบประมวลผลแบบ ARM เท่านั้น ไม่สามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ที่เราคุ้นเคยโดยทั่วไปได้ โดยโครงสร้างการออกแบบตัวเครื่องโดยทั่วไปนั้น จะเป็นแบบเดียวกับ Android หรือ iPad ที่อยู่ในตลาด นั้นคือเหตุผลว่าทำไมมันถึงไม่สามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ที่เป็น Desktop Application ที่เคยทำงานใน Windows XP, Vista, 7 และแม้แต่ 8 ได้ โดยการติดตั้ง App ต้องทำผ่าน Windows Store เท่านั้น

สำหรับใน Windows RT นั้น Microsoft ได้ให้ชุดซอฟต์แวร์สำนักงานที่ชื่อ Office Home & Student 2013 RT มาพร้อมกับ Windows RT โดยเป็นชุดซอฟต์แวร์ที่ประกอบด้วย Word 2013 RT, Excel 2013 RT, PowerPoint 2013 RT และ OneNote 2013 RT ซึ่งตัวชุดซอฟต์แวร์นี้บันทึกไฟล์เข้า SkyDrive เป็นค่ามาตรฐาน

ความสามารถในรายการด้านล่างนี้ไม่สนับสนุนใน Office Home & Student 2013 RT ณ ตอนนี้ (6 มิถุนายน 2556)

  • Macros, Add-Ins, Forms, and Custom Programs (Word, Excel, PowerPoint)
  • Send Email Features (Word, Excel, PowerPoint, OneNote)
  • SkyDrive Sync Integration (Word, Excel, PowerPoint)
  • Equation Editor 3.0 (Word, Excel, PowerPoint)
  • Lync File Download
  • Grammar checking (Word)
  • Data Models (Excel)
  • Slide Library ActiveX Control (PowerPoint)
  • Legacy Media Formats in PowerPoint (PowerPoint)
  • PowerPoint Flash Video Playback (PowerPoint)
  • Recording Narrations (PowerPoint)
  • Audio and video recording (OneNote)
  • Import through scanner (OneNote)
  • Audio & video search (OneNote)

ที่มา Office Home & Student 2013 RT ต่างจากรุ่นปรกติอย่างไร (Office ที่ให้มาพร้อม Windows RT)

แน่นอนว่าด้วยโครงสร้างสถาปัตยกรรมด้านการประมวลของตัวเครื่องนั้นได้รับข้อเด่นจากสถาปัตยกรรมระบบประมวลผลแบบ ARM ที่ประหยัดพลังงาน และยังมีความร้อนที่ได้จากตัวเครื่องที่น้อยกว่าสถาปัตยกรรมแบบเดิมๆ ที่เราคุ้นเคยกัน โดยจากที่ได้ทดสอบใช้งานนั้นสามารถเปิด และใช้งานได้ตลอดทั้งวันกว่า 9 ชั่วโมงโดยไม่ต้องปิดพักแต่อย่างได้ แต่ถ้าเปิด-ปิดใช้งานไม่ได้ใช้งานต่อเนื่อง ก็สามารถทำงานได้ตลอดวันได้ไม่ยากเลยทีเดียว โดยผลการทดสอบแบบใช้งานและปิดเครื่องด้วยการ standby สลับไป-มาในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ก็สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องได้ทั้ง 2 วันโดยไม่ต้องชาร์จไฟแต่อย่างใด

DSC_5929

ในด้านของการคีย์บอร์ดนั้นจะเป็นแบบ QWERTY ตัวเต็มที่นำมาจากคีย์บอร์ดลักษณะเดียวกับ Laptop ของ Lenovo ideaPad ที่ขายอยู่ในท้องตลาดอยู่ก่อนแล้วนั้นเอง โดยเป็นแบบ Accutype Keyboard ซึ่งจากการพิมพ์นั้นให้สัมผัสในการตอบสนองที่ดีมากและการพิมพ์ก็ไม่ต้องบีบนิ้วมือเพื่อใช้งานคีย์บอร์ดแต่อย่างใด

สำหรับในด้านการจัดวางปุ่มนั้น ใครที่ใช้ปุ่มตัว Grave Accent ( ` ) ในการสลับภาษาอาจจะหงุดหงิดเล็กๆ เพราะปุ่มนี้โดนบีบให้มีขนาดผอมลงเหลือขนาดเพียง 2 ใน 3 จากปุ่มอื่นๆ อาจทำให้พิมพ์ไม่ถนัดสักเท่าไหร่นัก

สำหรับตัวทัชแพดนั้นเป็นแบบซ่อนปุ่ม (buttonless) ซึ่งในด้านของการสัมผัสและลากใช้งานนั้นทำได้อย่างดีมาก แต่ปุ่มที่ซ่อนไว้นั้นอาจจะกดยากสักหน่อย คงต้องใช้ให้ชินสักพักถึงจะพอถนัดมือ

DSC_5928
DSC_5933 DSC_5930

ในด้านปุ่มจัดการตัวเครื่องต่างๆ นั้น ปุ่มสำหรับเปิด-ปิดเครื่องจะอยู่ที่ด้านล่างส่วนหน้าของเครื่อง เป็นทั้งปุ่มเปิด-ปิดและ standby ได้ในตัวเดียวกัน สำหรับส่วนอื่นๆ ก็มีช่องเชื่อมต่อมาให้อย่างครอบคลุมทั้ง HDMI, USB 2.0 จำนวน 2 ช่อง, ช่องเสียบหูฟัง 3.5 ม.ม., ช่องเสียบการ์ดหน่วยความจำ, ปุ่มเพิ่ม-ลดเสียง, ปุ่มล็อคการหมุนจอ (rotation lock) และช่องเสียบสายชาร์จแบบใหม่ของ Lenovo ที่จะเป็นแบบแบน

การเชื่อมต่อ USB 2.0 นั้น สามารถต่อกับ printer เพื่อพิมพ์งาน หรือ external HDD ก็สามารถดูหนัง Full HD และเข้าถึงไฟล์ต่างๆ ได้สบายๆ สำหรับช่องต่อการ์ดหน่วยความจำก็สามารถเข้าถึงไฟล์ได้ตามมาตราฐาน ซึ่งการใช้งานทั้ง external HDD และการ์ดหน่วยความจำนั้นสามารถทำผ่าน File Explorer ของ Windows RT ได้อย่างสะดวกสบาย

จอภาพนั้นมีขนาด LCD 11.6” ความละเอียดที่ WXGA (1366×768 pixel) สัดส่วน 16:9 ซึ่งได้ให้ panel มาเป็น IPS ตามสมัยนิยมรวมไปถึง LED backlit อีกด้วย แต่นอนว่าเป็น Tablet ได้ต้องมาพร้อมกับหน้าจอ touch screen โดยรองรับการ multi-touch เพียง 5 จุดเท่านั้น สำหรับกล้องนั้นเป็น Webcam 720p HD โดยทั่วไปไม่มีอะไรแปลกใหม่นัก

DSC_5936
DSC_5934 DSC_5935

Tablet Mode

DSC_5949 DSC_5950

Tent Mode

DSC_5946 DSC_5947

Stand Mode

DSC_5953 DSC_5957

ส่วนสำคัญของ Yoga 11 ตัวนี้ก็คือบานพับที่ออกแบบมาเป็นพิเศษที่สามารถพับจอได้ 360 องศา เพื่อพับตัวจอภาพให้ไปประกบกับด้านหลังเพื่อแปลงร่างเป็นโหมด Tablet, Tent หรือ Stand ได้ ซึ่งตัวบานพับนั้นเป็นสแตนเลส หรือเหล็กกล้าไร้สนิมแบบเดียวกับ notebook สำหรับธุรกิจอย่างตระกูล Lenovo ThinkPad ที่เป็นกลุ่ม notebook ระดับพรีเมียมแบรนด์ของกลุ่ม Lenovo เอง

DSC_5958 DSC_5959

สุดท้ายในส่วนของอแดปเตอร์ชาร์จไฟนั้นมีขนาดไม่ใหญ่มากและมีน้ำหนักเบาเสียด้วย เมื่อรวมน้ำหนักตัวเครื่องแล้วก็มีน้ำหนักไม่เกิน 1.5kg แต่อย่างใด

ส่วนที่ประทับใจ

  • ความแปลกใหม่ในการนำเสนอบานพับแบบใหม่ทำให้ใช้งานได้หลากหลาย
  • ตัวบานพับแข็งแรง ไม่แน่นจนพับจอลำบาก และไม่หล่วมจนรู้สึกว่าจะตั้งไม่อยู่แต่อย่างใด
  • ตัวถังภายนอกทำจากอลูมิเนียมทำให้ดูแข็งแรงดีมาก
  • การระบายความร้อนและการนำพาความร้อนออกมานั้นทำได้ดี และขณะใช้งานรู้สึกเพียงอุ่นๆ เท่านั้น
  • คีย์บอร์ดคุณภาพดี การตอบสนองดีเยี่ยม
  • ช่องการเชื่อมต่อให้มาครบ และอยู่ในตำแหน่งที่ต่อการใช้งานดี
  • อแดปเตอร์ชาร์จไฟมีน้ำหนักเบาไม่เป็นภาระต่อการพกพา
  • การประหยัดไฟของสถาปัตยกรรม ARM ที่ Lenovo นำมาใช้คู่กับ Windows RT นั้นทำงานได้ดีเยี่ยม

ส่วนที่ไม่ประทับใจ

  • ด้วยสถาปัตยกรรมแบบ ARM ทำให้ใช้คู่กับ Windows RT แล้ว App บน Windows 8 Style มีน้อย อาจหงุดหงิดได้ง่าย แต่ในอีกไม่นานนี้ Windows RT รุ่นใหม่รหัสพัฒนา Windows Blue กำลังออก คาดว่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ
  • ตัวเครื่องนั้นดูหนักกว่าคู่แข่งอื่นๆ อยู่พอสมควร ถ้าน้ำหนักลงมาไม่เกิน 1 kg คงกำลังดี
  • ปุ่มทัชแพดที่เป็นแบบซ่อนปุ่มกดยาก อาจต้องใช้เวลาปรับตัวสักหน่อย
  • ปุ่ม Grave Accent ( ` ) ถ้าใช้สำหรับสลับภาษาอาจจะใช้ไม่สะดวก เพราะปุ่มนี้โดนบีบให้มีขนาดผอมลงเหลือขนาดเพียง 2 ใน 3 จากปุ่มอื่นๆ
  • หน่วยความจำหลักให้มาน้อยไปเสียหน่อย น่าจะให้มามากกว่านี้ เพราะไม่สามารถซื้อแรมมาเพิ่มเติมได้ในภายหลัง

Tech Spec
CPU: NVIDIA Tegra 3 (Quad-Core ARM Cortex-A9)
GPU: NVIDIA GeForce Integrated GFX
RAM: 2GB DDR3L
Display: 11.6” WXGA (1366×768) 16:9 LED IPS, 5 points multi-touch screen
Storage: 64 GB eMMC
Camera: 1.0M 720p HD Integrated Webcam
Connectivity:

  • Wireless Lan (802.11 b/g/n)
  • Bluetooth 4.0
  • 2 x USB 2.0 ports
  • 1 x SD card reader
  • 1 x 3.5mm headphone jack
  • 1 x full-size HDMI

Camera: 1.0M 720p HD Integrated Webcam
Weight: 1.27 kg
Preload Software:

  • Amazon Kindle
  • eBay
  • Evernote
  • Intelligent Touchpad
  • Lenovo Cloud Storage
  • Lenovo Companion
  • Lenovo Energy Management
  • Lenovo Motion Control
  • Lenovo Support
  • Lenovo Transition
  • Office Home & Student 2013 RT
  • Microsoft Connected Standby
  • OneKey Rescue
  • RaRa
  • Skype

ขอบคุณ Lenovo Thailand สำหรับ Lenovo IdeaPad Yoga 11 ที่ให้นำมาให้เราทดสอบกันในครั้งนี้ครับ

บทความ รูปและเนื้อหานี้เป็นลิขสิทธิ์ของผู้จัดทำหากต้องการนำไปใช้งานกรุณาติดต่อผู้จัดทำเนื้อหาก่อนนำไปใช้หรือเผยแพร่

Lenovo ThinkPad, My way and yours dream. (Lenovo ThinkPad, ทางของฉันและฝันของเธอ ฉบับภาษาอังกฤษโดย @tomazzu)

จาก Lenovo ThinkPad, ทางของฉันและฝันของเธอ ทางคุณ @tomazzu ขออาสาแปลเป็นภาษาอังกฤษให้ ซึ่งผมขอไม่โพสเนื้อหาในนี้ เพราะผมคิดว่าน่าจะให้ทางผู้เขียนปรับแต่งได้ง่ายที่สุดถ้ามีข้อผิดพลาดในการแปลเกิดขึ้น

สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ Lenovo ThinkPad, My way and yours dream.

10 เหตุผลที่ผมจะไม่ซื้อ ThinkPad เครื่องต่อไป

คาดว่าจะเป็นโพสสุดท้ายเกี่ยวกับของเรื่อง ThinkPad ตัวล่าสุดที่เพิ่งออกมาแล้ว (คงไปเขียนเรื่องอื่นต่อ) เพราะด้วยเหตุผลว่า T Series นั้นเป็นรหัสรุ่นที่ถือเป็น Flagship ของ ThinkPad มาอย่างยาวนาน และการออกแบบรุ่น ThinkPad T431s นั้นเป็นการประกาศอย่างชัดเจนว่าต่อไป ThinkPad จะเป็นอย่างไรต่อไป แถมใน New T431s Illustrates How ThinkPad Loyalists, Techies and the People Will Define Future Design  ที่อยู่ใน Official Blog ก็โดนสับเละจากความคิดเห็นกว่าร้อยความคิดเห็น (ณ วันที่โพส)

ด้านล่างคือมุมมองของ “สาวก” ใจสลายแบบผม แน่นอนว่าทุกอย่างบนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการเฝ้ามองของคนที่เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลาที่ได้ใช้ ThinkPad มาเกือบ 10 ปี รวมถึงคนรอบข้างอีกหลายคนที่ใช้งานมาก่อนผมอีกหลาย generation ซึ่งหลายๆ คนก็ได้ทิ้ง ThinkPad ไปใช้ยี่ห้ออื่นก่อนหน้านี้แล้ว (ช่วงปี 2012 ที่ผ่านมา)

  1. ThinkPad กำลังเป็น Macbook Pro สีดำ
    คนซื้อ ThinkPad เพราะความเป็น ThinkPad มีความเป็น Engineering นำหน้า Design มีแนวคิดที่แตกต่างจากการออกแบบของ Apple และนั้นคือสิ่งที่ ThinkPad แตกต่าง และคนส่วนใหญ่ซื้อ ThinkPad เพราะความแตกต่าง แต่ในตอนนี้ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา วิธีคิดแบบนี้ใช้ไม่ได้อีกต่อ และนั้นก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องซื้อ ThinkPad มาใช้เพราะไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างจากยี่ห้ออื่นๆ ทั้งๆ ที่ Lenovo ประกาศชัดว่าตัวเองจะเป็นคู่แข่งกับ Apple ในตลาดบน แต่ในความเป็นจริง คือพยายามตามงานและลอกแบบ Apple มาขายลูกค้าด้วยเหตุผลในด้านการแบบ ซึ่งนั้นเองคือสิ่งที่ “ผิด” และผลักกลุ่มคนที่ต้องการความแตกต่าง หาทางเลือกที่ดีกว่าจากยี่ห้ออื่นๆ แทน เช่น Dell Latitude, Sony Vaio หรือ Toshiba Portégé มาใช้งานแทน
  2. คีย์บอร์ดแบบ 6 แถว (6 rows Keyboard)
    มันเป็นความเลวร้ายที่สุดของการออกแบบในช่วง 2 ปีหลังของ ThinkPad (2012 – 2013) แม้ว่าสัมผัสในการพิมพ์จะยังอยู่ดี แต่การนำไปใช้งานสำหรับ System Admin และ Programmer นั้นกลับแย่ลงอย่างมาก เพราะการจัดวางปุ่มบางปุ่มนั้นอยู่ชิดกันเกินไป หรือปุ่มที่ถูกใช้งานบ่อยๆ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ Fn Key ร่วมด้วย แต่ในคีย์บอร์ดรุ่นใหม่กลับต้องใช้ และนั้นทำให้เกิดการสะดุดในการใช้งานอย่างมาก แถมมันทำงานร่วมกับ OS อื่นๆ ได้ลำบาก เพราะคนเหล่านี้ไม่ได้ซื้อไปใช้กับ Windows เท่านั้น แต่ใช้งานร่วมกับ Linux หรือ Unix ด้วย อีกทั้งมันทำให้การใช้งานร่วมกับ Desktop Computer เป็นเรื่องยาก เพราะการจัดวางตัวปุ่มต่างๆ นั้นทำให้สลับไป-มาระหว่าง Desktop และ Notebook นั้นมีประสบการณ์ในการใช้งานที่ไม่สมานกัน และนั้นเป็นเหตุผลเดียวกับที่ keyboard ของ Apple ทั้ง Desktop keyboard ใน iMac และ Notebook keyboard ใน Macbook Pro นั้นมีขนาดและการจัดวางที่เหมือนกัน เมื่อ Lenovo เลือกทางนี้แล้ว ก็ไม่มีเหตุผลที่จะซื้อ ThinkPad มาใช้งาน
  3. นำปุ่ม Physical ของ TrackPoint ออกไป
    มันเป็นการออกแบบที่ไร้สาระและทำให้ตอนใช้งานจริงนั้นผู้ใช้ต้องทำงานโดยย้ายย้ายมือออกจาก keyboard อย่างแน่นอน เพราะโซนด้านบนของ TouchPad นั้นเป็นส่วนที่ถูกนำมาเป็น gesture command ของ Windows 8 และนั้นทำให้การใช้ top zone มาแทนที่ Physical Button ทำงานผิดพลาดได้ง่ายมากขึ้น
  4. รูปแบบ Bento Box ที่หายไป
    การออกแบบเครื่องแบบ Bento Box ทำให้จอภาพยังคงความแข็งแรง และทนต่อแรงกดทับจากการใส่กระเป๋าได้ดีมาก แต่ตอนนี้มันได้หายไปแล้ว
  5. แบตเตอรี่ถอดเปลี่ยนไม่ได้
    การถอดแบตเตอรี่ไม่ได้ใน Business Notebook เป็นสิ่งที่ผมรับไม่ได้อย่างรุนแรง เพราะแบตเตอรี่เป็นส่วนที่แตกต่างและเป็นเหตุผลที่ผมไม่ซื้อ Macbook Air มาใช้ รวมไปถึงไม่แนะนำใครให้ซื้อ ThinkPad X1 มาใช้งาน เพราะสุดท้ายผู้ใช้งานก็ต้องการเปลี่ยนมันได้ง่ายๆ ถ้ามันมีปัญหา เสื่อม หรือต้องการซื้อแบตเตอรี่ก้อนที่ 2 เพื่อทำงานได้ยาวนานมากขึ้นโดยไม่ต้องชาร์จไปด้วย และนั้นเป็นเหตุผลที่ทำให้ Notebook แบบถอดเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ยังขายได้สำหรับคนทำงานด้านธุรกิจ เพราะทำให้เค้าทำงานอย่างยาวนานระหว่างการเดินทางได้
  6. จอภาพที่ไม่มีการพัฒนาและไม่ใช่จอแบบสัมผัส
    นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจอภาพของ ThinkPad ไม่มีการเปลี่ยนแปลง Resolution มาอย่างยาวนาน ซึ่งในอดีต ThinkPad เคยเป็นผู้นำในด้านจอภาพที่มีความละเอียดสูง ตัวอย่างเช่น ThinkPad T43p ที่จอภาพขนาด 14.1″ ที่ความละเอียด 1400×1050 pixels หรือ 15.0″ FlexView LCD (IPS panel) ความละเอียด 1600×1200 pixels แต่นั้นคือ IBM ThinkPad รุ่นปี 2005 และนี่ปี 2013 ผ่านมา 8 ปี ThinkPad T431s กลับไม่มีพัฒนาการในด้านนี้ที่แต่กลับเป็นผู้ตามในตลาดแทน ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับจอภาพมือถือสมัยใหม่ก็มีความละเอียดมากกว่าจอภาพ ThinkPad T431s ไปแล้ว และจอภาพขั้นต่ำที่ ThinkPad ที่ขายในปัจจุบันต้องเป็นผู้นำคือ 1080p หรือ Full HD เป็นอย่างน้อยด้วยซ้ำไป ซึ่งแน่นอนว่า ThinkPad ถูกขายพร้อมกับ Windows 8 ที่เป็นระบบปฎิบัติการตัวล่าสุดของ Micrsoft ที่ชูจุดเด่นด้านการใช้งานร่วมกับจอภาพแบบสัมผัส จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะไม่ขายมาพร้อมกับจอภาพแบบสัมผัสถ้าอยากให้ ThinkPad เป็นผู้นำด้านเทคโนโลียีจอภาพและทำงานร่วมกับ Windows 8 ได้ดี
  7. ไฟสัญลักษณ์ที่ไร้รสนิยมและไฟแสดงผลการทำงานอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องที่หายไป (Indicator LED Panel)
    มันเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราทราบว่ตอนนี้เครื่องยังทำงานได้ดีอยู่หรือไม่โดยไม่จำเป็นต้องกดปุ่มใดๆ เพื่อให้ระบบปฎิบัติการแสดงผล Onscreen indicator ซึ่งการเอาออกไปทำให้ผู้ใช้งานไม่ทราบว่าอะไรทำงานไม่ทำงาน และแทนที่ด้วยไฟสีแดงที่จุดตัว i บนตัวสัญลักษณ์ ThinkPad ที่ไร้ประโยชน์และดูแลรักษายาก และดูไร้รสนิยม (นึกถึงจุดสีแดงกระพริบตอน Standby ดูซิว่ามันจะเหมือนผีกระสือแค่ไหน ><“)
  8. การนำ ThinkLight ออกจากการออกแบบตัวเครื่อง
    ใน ThinkPad Edge และ ThinkPad X1 นั้นไร้เงาจากไฟส่องคีย์บอร์ดจากขอบจอภาพด้านบน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สำหรับ Business Notebook ที่ต้องใช้ทำงานได้ตลอดการเดินทางแล้วนั้น มันไม่ได้ถูกใช้งานเพียงแค่ส่องลงมาที่คีย์บอร์ดเท่านั้น แต่ยังใช้งานในการส่องเอกสารต่างๆ ได้ด้วย และการนำมันออกไปทำให้การเลือกใช้ในการเดินทางยาวนานนั้นต้องมีภาระในการซื้อไฟฉายส่องเอกสารเพิ่มเข้ามา เพราะ Keyboard Backlit ทดแทนในเรื่องการนำมาส่องเอกสารไม่ได้นั้นเอง
  9. งานประกอบ ความทนทานของเครื่อง และ ศ. บริการที่แย่ลง
    ThinkPad ในปัจจุบันนั้นผ่าน Military Grade มากกว่ารุ่นเก่าๆ ในอดีต สำนักรีวิวให้คำชมมากมาย แต่นั้นเหมือนเป็นการติดภาพในอดีตเสียมาก เพราะงานประกอบและสัมผัสในการใช้งานที่ผู้ซื้อได้รับกลับไม่ได้เป็นไปตามคำโฆษณาที่พูดไว้เช่นเดียวกับ ThinkPad ในอดีต เพราะเครื่องที่ขายในช่วง 2-3 ปีให้หลังเหมือนกำลังกินบุญเก่าที่เคยทำไว้อยู่มาก มันออกแบบมาทนทานน้อยลง มีเหตุให้ต้องเข้า ศ. บริการมากขึ้น อีกทั้ง ศ. บริการที่เคยให้บริการอย่างดีและทำงานอย่างมืออาชีพในอดีตนั้น ในปัจจุบันกลับก็ได้รับการร้องเรียนในด้านการบริการที่ไม่ดี หรือมีมาตรฐานการเคลมประกันที่หลากหลาย รวมไปถึงการเบิกอะไหล่ที่ยากขึ้นในอาการเสียที่เกิดจากความไม่ทนทานของตัวชิ้นส่วนที่นำมาประกอบเช่น บานพับ หรือจอภาพที่เกิดอาการช้ำจนกลายเป็น Bright dot เนื่องจากการที่ฝาหลังจอทนแรงกดทับได้น้อยลง เป็นต้น และนั้นเป็นเหตุผลที่ต้องถามกลับไปผู้ออกแบบ ThinkPad ว่า “roll cage” ในรุ่นใหม่ๆ ที่เคยคุยว่าทำให้เครื่องทนทานขึ้นนั้นแต่ยังคงทำให้บางลงได้ เป็นแค่ราคาคุยเท่านั้น? (เรื่องคำบ่นเหล่านี้สามารถหาได้ตาม official forum ของ Lenovo หรือ forum ของ ThinkPad Fan ได้ทั่วไป)
  10. การกลับด้านของสัญลักษณ์ของ ThinkPad ที่ฝาหลังเครื่อง
    มันไม่ใช่เรื่องรูปแบบการใช้งาน แต่มันเป็นสัญลักษณ์และเป็นการบอกกับผู้ใช้งาน ThinkPad ว่า Lenovo ออกแบบโดยไม่ให้ความสำคัญกับผู้ใช้อีกต่อไป แต่เป็นการออกแบบเพื่อส่งเสริมแบรนด์มากกว่า ซึ่งนั้นคือ “การปิดฉาก 20 ปีของ ThinkPad ที่ใส่ใจการออกแบบเพื่อคนใช้งาน ” เพราะผู้ออกแบบ ThinkPad ในยุคแรกนั้นให้เหตุผลตั้งแต่เริ่มต้นว่า “การทำสัญลักษณ์กลับด้านโดยที่หันตัวสัญลักษณ์ไปทางผู้ใช้งาน เพื่อให้อ่านง่ายมากกว่าป่าวประกาศต่อคนที่พบเห็น เพราะต้องการใส่ใจต่อผู้ใช้งานมากกว่าส่งเสริมแบรนด์ของตน”

ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นเหตุผลที่รวบรวมจากหลายๆ แหล่ง รวมไปถึงส่วนตัวผมด้วยว่า “ทำไม ThinkPad ถึงไม่น่าซื้ออีกต่อไปสำหรับผมในตอนนี้” เพราะเหตุผลเหล่านี้เป็นเหตุผลหลักๆ เท่านั้น และแน่นอนว่าเครื่องในอนาคตนั้น ThinkPad ไม่ใช่ตัวเลือกเดียวอีกต่อไป (กว่า 10 ปี) แต่มีทั้ง Dell Latitude, Sony Vaio หรือ Toshiba Portégé เข้ามาเป็นตัวเลือกร่วมด้วยแล้วในตอนนี้ คงต้องดูกันต่อไปว่าจะเปลี่ยนใจหรือไม่ เพราะเครื่องที่ผมใช้อยู่อย่าง ThinkPad T420 ยังเหลือประกันอยู่ 450 กว่าวัน ซึ่งอาจหมายถึงผมยังอยู่กับ ThinkPad ไปอย่างน้อยๆ 2 ปี เพราะปรกติผมใช้ Notebook จนหมดประกัน 3 ปีและใช้ต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือนก่อนหาซื้อเครื่องใหม่อีกครั้ง

แบรนด์ไม่ใช่ของเราครับ เพราะงั้น ทำได้แค่บอกและเลือกที่จะ “ใช้” หรือ “ไม่ใช้” บนเหตุผลของแต่ละคน แต่ละช่วงเวลา ซึ่งผมก็ทำได้แค่นั้น

ลาก่อน “ThinkPad แบบดั้งเดิม” ตอนนี้เจ้าตายแล้ว!!!

ไล่อ่าน The inside story of Lenovo’s ThinkPad redesign แล้วค่อนข้างรู้ทิศทางข้างหน้าแล้วว่า “กลุ่มผู้ใช้ ThinkPad ระดับ Loyalists คุณถูกทิ้งแล้ว”

Just north of 100 people were intimately involved in refashioning the ThinkPad line for the modern era, with varying research studies taking place in the United States, China, Germany, France, India, Mexico, Russia, Brazil and Japan. Instead of just plopping a few paid participants down and asking them to fill out a form detailing their ideal laptop, the company “shadowed” individuals to see how they actually used a machine. Only a small segment of each group were genuine ThinkPad loyalists — the rest were early adopters of consumer technology, as well as those ardently opposed to selecting a ThinkPad as their primary machine. After all, one’s biggest opponent often provides the most truthful revelations.

กล่าวโดย Jason Parrish, manager of Lenovo’s ThinkPad strategy and planning

ผมคงไม่มีเหตุผลใดต้องอินกับ ThinkPad อีกต่อไปครับ แค่จะมาบอกว่า

เลือกในสิ่งที่ถูกต้องและใช้มันเป็นเครื่องมือ อย่าอินกันมัน