รีวิว Lenovo ThinkPad Tablet 2

มารอบนี้ได้รีวิว Tablet ที่อยากรีวิวมานาน ได้โอกาสนำมารีวิวให้ได้รู้กันว่าน่าสนใจเพียงใดกับ Lenovo ThinkPad Tablet 2 กัน โดยเป็น Tablet ที่เบา และใช้งานได้คลอบคลุมกับซอฟต์แวร์ในภาคธุรกิจในขนาดและน้ำหนักที่ไม่เป็นภาระมากนัก โดยน้ำหนักจะอยู่ที่ประมาณ 565 – 600g (WiFi only เบาสุด และ Wi-Fi + Pen/Digitizer + 3G/4G หนักสุด)

การทำ Tablet PC รุ่นที่มีความสามารถทดแทน Notebook ได้ ถือเป็นกลยุทธ PC+ ของ Lenovo ในการบุกตลาดโลกไอทีในช่วงปีนี้ โดย Tablet PC เป็นกลยุทธ์หนึ่งในนั้น โดยกลยุทธต่างๆ ซึ่งได้แก่ All-in-One PC, Tablet PC, Smart phone และ Smart TV ซึ่ง Lenovo ThinkPad Tablet 2 เป็นรุ่นที่ 2 ในตระกูล ThinkPad Tablet  ที่ได้นำเข้ามาบุกตลาดไปเมื่อปีที่แล้ว

ผมเคยพรีวิวเร็วไปเมื่อนานมาแล้วในหัวข้อ ลองจับ Lenovo ThinkPad Tablet 2 ก่อนเปิดตัวสักพัก

DSC_6032

Lenovo ThinkPad Tablet 2 มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 8 x86 (32bit) ตัวเต็ม ซึ่งแตกต่างจาก Lenovo IdeaPad Yoga 11 ที่เคยรีวิวไปก่อนหน้านี้ที่เป็น Microsoft Windows RT อยู่พอสมควรเลยทีเดียว ซึ่ง Microsoft Windows 8 x86 นั้นจะสามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ที่เป็น Desktop Application ที่เคยทำงานใน Windows XP, Vista และ 7 ได้สบายๆ โดยในส่วนของ App ที่เป็น Windows 8 App (Modern UI) ยังต้องติดตั้งผ่าน Windows Store แบบเดียวกับ Windows RT เหมือนเดิม (Windows 8 เป็น OS ที่มีส่วนประกอบมากกว่า Windows RT ทำให้รองรับ Desktop Application แบบดั่งเดิมได้ด้วย)

หน่วยประมวลผลเป็น Intel Atom รุ่น Z2760 ซึ่งเป็น Dual-core (four-thread) ความเร็วระดับ 1.80 GHz ที่มาพร้อมกับ VGA ภายในรุ่น HD SGX545 GFx ที่รองรับ Direct X 9 และวิดีโอความละเอียดสูงระดับ 1080p ที่ 30fps โดยใส่หน่วยความจำหนักมาที่ 2GB แบบ LPDD2 SDRAM อยู่ภายใน

Screenshot (3)

Wireless Card เป็นของ Broadcom รุ่น 802.11abgn SDIO BCM4330 รองรับทั้ง Single-band 2.4 GHz 802.11 b/g/n หรือ dual-band 2.4 GHz และ 5Ghz 802.11 a/b/g/n มี FM receiver พร้อมกับ Bluetooth  4.0 HS compliant ด้วย

สำหรับ WWAN เป็น Ericsson รุ่น C5621 gw รองรับทั้ง – GPRS/EDGE/3G (HSPA/HSPA+) โดยที่ 3G จะรองรับความถี่ 850, 900, 1900 และ 2100MHz ที่ความเร็วสูงสุดดาวน์โหลด 21Mbps และอัพโหลด 5.76Mbps

Screenshot (4)

ด้วยความที่ภายในเป็น eMMC ขนาด 64GB ทำให้เมื่อติดตั้ง Windows 8 ตัวเต็มไปแล้ว จะเหลือพื้นที่ประมาณ 31-40GB โดยพื้นที่ที่หายไป จะมี 2 ส่วนคือ OS และ Recovery Image สำหรับทำ factory reset ในอนาคต (พื้นที่ factory reset กินพื้นที่จนเหลือเพียง 50GB และเมื่อลง OS ลงไปทำให้เหลือประมาณ 31GB)

Screenshot (10)

สำหรับคะแนนในส่วนของ Windows Experience Index ถือว่ากลางๆ เหมะากับนำไปใช้งานทั่วไป ที่ไม่เน้นหนักไปในด้านประมลผลหนักๆ เท่าไหร่นัก

โดยความเร็วเหมาะสมกับงานด้านเอกสาร ธุรกิจและงานทั่วไปในสำนักงาน

Screenshot (17)

เมื่อทดสอบกับ PC Benchmark แล้วคะแนนอยู่ในระดับกลางๆ หรือพอๆ กับ Notebook ระดับเริ่มต้นที่เหมาะกับการใช้งานทั่วไปและธุรกิจมากกว่านำไปใช้ในงานที่เน้นประสิทธิภาพสูงครับ

Screenshot (21)

ขนาดของจอภาพเป็นระดับมาตรฐานของ Windows 8 คือ 1,366 x 768 pixel หรือระดับ HD 720p แต่ด้วยความที่จอภาพนั้นเล็ก เหมือน Windows 8 จะปรับให้แสดง Tile ขึ้นมาเพียง 3 rows ไม่เหมือนกับในเครื่องที่จอภาพ 13″-14″ ที่ความละเอียดเท่ากัน ซึ่งจะแสดง 4 rows

Screenshot (2)

แน่นอนว่าเมื่อปรับพลิกจอมาเป็นแนวตั้งจะได้ 6 rows เหมาะกับเอาเไว้อ่านกระทู้ หรือเอกสารยาวๆ ได้ดีมาก

Screenshot (7) Screenshot (6)

ตัวคีย์บอร์ดแบบ on screen เปิดมาก็เกือบครึ่งจอภาพ การใช้งานและพิมพ์ก็ทำได้ค่อนข้างดีใครใช้คีย์บอร์ดที่มีระยะห่างๆ หน่อยคงพอจะปรับตัวได้ง่าย แต่ถ้าใครใช้คีย์บอร์ดที่มีระยะห่างน้อยๆ อาจจะต้องปรับตัวสำหรับระยะก้าวนิ้วอีกมักสนิดนึง เพราะว่าห่างกันพอสมควรครับ

สำหรับตัวคีย์บอร์ด on screen แบบภาษาไทยนั้นก็มีการจัดวางไม่แตกต่างกับบน desktop/notebook เท่าไหร่นัก ซึ่งเป็นคุณสมบัติโดยรวมของ Windows 8

Screenshot (19)

สำหรับ Preload Application ต่างๆ ที่ใส่มาให้ ก็คล้ายๆ กับ Lenovo Yoga ครับ
– Lenovo Mobile Access
– Lenovo Companion
– Lenovo QuickSnip
– Lenovo Support
– Lenovo Quick Launch
– Lenovo Cloud Storage
– Lenovo Settings
– Microsoft Office 2010 Trial
– Intel AppUp
– AT&T Connection Manager (US only)
– Skype
– AccuWeather
– Amazon Kindle
– Skitch
– Evernote
– Rara Music

ในด้านของตัวซอฟต์แวร์นั้นตัวที่ให้มานั้น ที่น่าสนใจก็มี Lenovo Settings ที่มีความสามารถ Mobile Hotspot เพื่อใช้ในการแชร์ internet หรือ Lenovo Cloud Storage ที่เป็นบริการร่วมของ Lenovo กับ SugarSync ซึ่งให้พื้นที่มาต่างหากแยกจาก SkyDrive ของ Windows

Screenshot (8) Screenshot (9)

ต่อมา เราก็มาพูดถึงตัวเครื่องกันบ้าง โดยพื้นผิวต่างๆ ไม่แตกต่างจาก ThinkPad notebook สักเท่าไหร่นัก โดยจะถูกพ่นด้วยวัสดุคล้ายยางที่ใช้ชื่อว่า Soft-touch Matte Finish Coating เป็น Lenovo’s signature โดยเฉพาะ เหตุผลเพราะต้องการให้การจับถือเครื่องนั้นไม่ลื่นหลุดมือได้ง่าย ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วชอบที่มันไม่ลื่นหลุดมือง่ายๆ แต่ใช้ไปนานๆ ก็ข้อเสียที่ทุกรุ่นที่ใช้แบบนี้จะได้เจอก็คือ สุดท้ายแล้วมันจะมีรอยนิ้วมือหรือหลุดล่อนได้ถ้าใช้ไปนานๆ ซึ่งที่หลุดลอกออกมามันจะเป็นมันๆ แทน (ยางมันจะค่อยๆ สึกและลึกลงไปถึงวัสดุด้านในแทน) ซึ่งถ้าคิดถึงคุณสมบัติที่ได้ก็ต้องดูกันว่าชอบหรือเปล่าอีกทีนึงครับ

ข้อมูลของและชื่อ Soft-touch อย่างเป็นทางการคือ Polyurethane Soft-touch Coatings อ่านข้อมูลเพิ่มเติมจากด้านล่าง
High-quality touch to plastic surfaces: polyurethane soft-touch coatings
Properties of polyurethane coatings

DSC_6032

DSC_6050

สำหรับช่องเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ นั้นอยู่รอบตัว ด้านขวาจะมีช่องเสียบชุดหูฟัง-ไมค์ ปุ่มปรับระดับเสียง และปุ่มล็อคการหมุนหน้าจอ

DSC_6044

ด้านซ้ายจะเป็นช่องเสียบสายชาร์จ โดยตัวหัวชาร์จไฟเป็น micro USB ซึ่งค่อนข้างสะดวกมากๆ เพราะใช้ร่วมกับมือถือบางรุ่นหรือแท็บเล็ตตัวอื่นๆ ได้เลย ส่วนตัวมาคือช่องสำหรับเชื่อมต่อ USB 2.0 แบบ full size ต่อ สุดท้ายเป็นส่วนล็อคของปากกาที่ให้มาคู่กับ ThinkPad Tablet 2

DSC_6046

สำหรับด้านบนจะมีปุ่ม เปิด-ปิด อยู่ด้านขวา และมีช่องสำหรับใส่ซิมการ์ด และหน่วยความจำเป็น micro SD อยู่ตรงกลาง ส่วนด้านซ้ายจะเป็นช่องใส่ปากกาที่ให้มากับตัวเครื่อง

DSC_6047

สำหรับด้านล่างเครื่องมีช่องต่อ HDMI, Docking Station และไมค์เล็กๆ สำหรับใช้คุยงานผ่าน Webcam ที่มาพร้อมกับตัวเครื่อง

DSC_6048

โดยช่องเสียบปากกาที่ตัวเครื่องนั้นออกแบบมาเป็นอย่างดี ทำให้การพกพาสะดวกมากขึ้นและไม่หลุดง่ายแบบหลายๆ ยี่ห้อ

DSC_6051

สำหรับการเชื่อมต่อเพื่อชาร์จไฟนั้นใช้ผ่าน micro USB ซึ่งหาซื้อได้ง่ายอยู่แล้วในท้องตลาด

DSC_6059

แน่นอนว่ามีเคสขายพร้อมตามสมัยนิยม แต่จากที่ได้ทดลองใช้นั้นน้ำหนักของเคสนั้นก็มาอยู่พอสมควร พอเอามาใช้รวมๆ กันแล้วดูหนักไปเลย อาจจะต้องดูว่ารับไหวหรือเปล่า แต่ส่วนตัวแล้วคงไม่ใส่เพราะหนักและเทอะทะไป

DSC_6061

DSC_6063

สำหรับความหนาของตัวเครื่องนั้น ก็หนาน้อยกว่า Nokia Lumia 920 ที่ผมใช้งานอยู่ 1-2mm เห็นจะได้ ซึ่งถ้าไม่ใส่เคสก็บางใช้ได้ครับ แต่เมื่อใส่เคสแล้ว จะหนากว่า Nokia Lumia 920 ขึ้มา 1-2mm

DSC_6065

DSC_6064

ถ้าต้องการตัวเลือกที่ให้อะไรที่มากกว่า Windows RT ใน Lenovo IdeaPad Yoga หรือไม่ได้ต้องการความแรงในระดับ ThinkPad Helix หรือแม้แต่ Microsoft Surface Pro ตัว Lenovo ThinkPad Tablet 2 ก็เป็นตัวเลือกที่ครบสำหรับงานสำนักงานทั่วไปที่เหมาะสำหรับใช้งานนอกสำนักงาน และตอบสนองต่อการใช้งานซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจทั้งเก่า-ใหม่ได้อย่างสบายๆ

 

ส่วนที่ถูกใจ

  1. ความเบาและบางเมื่อยังไม่ใส่เคส ชอบวัสดุในการนำมาใช้ ทำให้จับถือได้สะดวก
  2. งานประกอบแน่นและไม่มีอาการยวบให้เป็นเลย ทำให้จับแล้วมั่นใจว่าไม่หัก
  3. หน้าจอสว่างและเหมาะกับการใช้งาน ถึงจะเป็นหน้าจอที่สะท้อนแสงอยู่บ้าง แต่การฉาบด้วยวัสดุลดแสงสะท้อนก็ทำให้ใช้สบายตามากขึ้น
  4. ความลื่นไหลทำได้ค่อนข้างดี แต่จะใช้ atom ในงานทั่วๆ ไป
  5. USB 2.0 ที่ใช้งานได้จริง ต่อ printer, external hard drive หรือ flash drive ก็ทำได้สบายๆ
  6. ชาร์จไฟผ่าน micro USB ได้ ทำให้สะดวกต่อการหาสายชาร์จไฟได้ง่ายมากขึ้น
  7. ปากกาที่ให้มานั้นตอบสนองได้ดีมาก ใช้คู่กับ OneNote หรือ Evernote แล้วทำให้การจดบันทึกสะดวกได้อย่างไม่น่าเชื่อ
  8. การ factory reset ทำได้ราบรื่นดีเหมือนโทรศัพท์มือถือเลย ทำให้หมดปัญหาการติดตั้งตัว Windows 8 ใหม่ ซึ่งไม่ต้องหาแผ่นมานั่งติดตั้ง และจดจำ cd-key แต่อย่างใด
  9. มี WWAN มาให้พร้อมใช้งาน 3G ได้ทันที แน่นอนว่าใครไม่เคยใช้ Windows ผ่าน Mobile Network อาจจะไม่คุ้นชินเท่าใดนัก แต่ถ้าได้ลองแล้วจะติดใจ
  10. ถึงแม้พื้นที่จะมีมาให้เพียง 64GB และเหลือใช้งานจริงๆ ไม่ถึง 45GB แต่ก็มี micro SD ที่หา Class 10 มาใช้ได้สัก 32GB – 64GB ก็พอจะลดจุด้อยตรงนี้ไปได้บ้าง (รวมถึงต่อ external hard drive ได้ตามข้อที่ 5.)

ส่วนที่ไม่ถูกใจ

  1. เคสที่มาพร้อมเครื่องหนัก และหนาไปสักหน่อย
  2. น่าจะให้ RAM มาสัก 4GB เพราะ 2GB อาจจะไม่เพียงพอเมื่อใช้งานหลายๆ โปรแกรมสลับไปมา เพราะอย่าลืมว่านี่คือ Windows 8 ไม่ใช่ Windows RT แต่อย่างใด
  3. อาการค้างๆ อืดๆ มีให้เห็นบ้าง อาจเพราะใช้ CPU รุ่น Atom แต่ถ้าเป็น ThinkPad Helix รุ่นเรือธงของรุ่นน่าจะไม่มีอาการนี้แน่ๆ
  4. หน้าจอรับสัมผัสได้เพียง 5 จุด อาจทำให้พออยากเล่นเกมที่ใช้คุณสมบัติหน้าจอสัมผัส 10 จุดอาจหงุดหงิดได้
  5. กล้องแม้จะให้มา 8MP แต่ใช้งานแล้วคุณภาพของภาพเฉยๆ ไม่ได้โดดเด่นอะไร
สุดท้ายขอขอบคุณ Lenovo Thailand สำหรับ Lenovo ThinkPad Tablet 2 ที่นำมาให้เราทดสอบกันในครั้งนี้ครับ

Lenovo ThinkPad Tablet 2 Tech Spec

CPU: Intel Atom Processor Z2760 Dual-core, four-thread, up to 1.80 GHz processor

VGA: Intel Integrated HD SGX545 GFx (12 bit, 1080P Video @30fs, DX9)

Memory: 2GB LPDD2 SDRAM

HDD: e-MMC 64GB

Display:
– 10.1 inch (16:9) IPS LED Backlight with anti-glare
– 5-finger multi-touch
– HD WXGA (1366×768) (720p)

Wireless:

Broadcom 802.11abgn SDIO BCM4330
– Single-band 2.4 GHz 802.11 b/g/n or dual-band 2.4 GHz and 5Ghz 802.11 a/b/g/n
– FM receiver and transmitter
– Bluetooth  4.0 HS compliant

WWAN Ericsson C5621 gw
– GPRS/EDGE/HSPA/HSPA+
– GSM Bands (850/900/1800/1900MHz)
– UMTS Bands (850/900/1900/2100MHz)
– Up to HSPA+ data speed: D/L 21Mbps U/L 5.76Mbps

Sensors: GPS, Compass, Ambient Light Sensor, Proximity Sensor, Sensor Hub

Camera:
– Front: 2MP, 720P HD Webcam with LED (inside LCD)
– Rear: 8MP, Auto Focus with LED Flash (outside LCD), Motion JPG

Ports and Slot:
– 1 x USB 2.0
– 1 x Mini HDMI
– 1 x MicroSD Slot (SDHC Maximum 32GB)
– 1 x Docking Connector
– 1 x 3.5mm Mic/Headphone Combo
– 1 x SIM Card Reader

Speaker: 2 x Stereo 1W, 8ohm

Microphones: Dual-array Digital Microphone with Noise Cancellation, VoIP and Noise Suppression

Operating System:
– Windows 8 x86 (32-bit)
– Windows 8 Pro x86 (32-bit)
– Windows 8 Single Language x86 (32-bit)

Dimensions: 262.6mm x 164mm x 9.8mm (10.3″ x 6.5″ x 0.39″)

Weight:
– 565g Wi-Fi only
– 585g Wi-Fi + Pen/Digitizer
– 600g Wi-Fi + Pen/Digitizer + 3G/4G

Batter Performance:
– 30 days: Connected Standby
– 150 hrs: MP3 playback (LCD off, HW off loading)
– 10hrs: Video streaming (720p, HW offloading)

Preload Application:
– Lenovo Mobile Access
– Lenovo Companion
– Lenovo QuickSnip
– Lenovo Support
– Lenovo Quick Launch
– Lenovo Cloud Storage
– Lenovo Settings
– Microsoft® Office 2010 Trial
– Intel® AppUp
– AT&T Connection Manager (US only)
– Skype
– AccuWeather
– Amazon Kindle
– Skitch
– Evernote
– Rara – Music

Accessories:
– ThinkPad Tablet 2 Enterprise Dock
– ThinkPad Tablet 2 Digitizer Pen
– ThinkPad Tablet 2 VGA Adapter (5V 10W AC/DC)
– ThinkPad Tablet DC Charger
– ThinkPad Tablet 2 Bluetooth Keyboard with stand
– ThinkPad Tablet 2 Fitted sleeve
– ThinkPad Tablet 2 slimcase (Black or Red)
– ThinkPad In-Ear Headphones with Microphone

Warranty: Up to 3 Years Onsite and Next Business Day

รีวิว Lenovo IdeaPad Yoga 11

วันนี้ได้ทดสอบ Convertible Laptop ยี่ห้อ Lenovo รุ่น IdeaPad Yoga 11 ที่มาพร้อมกับ AccuType keyboard ที่มีสัมผัสในการพิมพ์และการใช้งานพลังงานแบตเตอรี่ที่ดีเยี่ยมรุ่นหนึ่งในตลาดในขณะนี้

โดยมีรูปร่างแบบ Convertible Laptop นั้นจอภาพจะเป็นแบบ touch screen และจอภาพหมุนพับกลับด้านโดยใช้งานผ่านจอภาพอย่างเดียวได้ หรือพับกลับมาแล้วใช้งานผ่านคีย์บอร์ดและทัชแพดสั่งงานได้ตามปรกติด้วยเหมือน Laptop ทั่วไปได้ด้วย

ซึ่ง Convertible Laptop เป็นกลยุทธ PC+ ของ Lenovo ในการบุกตลาดโลกไอทีในช่วงปีนี้ โดย Convertible Laptop เป็นกลยุทธ์ที่เป็นกลยุทธหนึ่งในนั้น โดยกลยุทธต่างๆ ในปีนี้ได้แก่ All-in-One PC, Tablet PC, Smart phone และ Smart TV ซึ่ง Lenovo ideaPad Yoga 11 เป็นรุ่นที่ 2 ในตระกูล Yoga ก่อนหน้านี้ที่เป็น Lenovo ideaPad Yoga 13 ได้นำเข้ามาบุกตลาด

สำหรับโหมดในการใช้งานของ Lenovo IdeaPad Yoga 11 ที่เป็น Convertible Laptop นั้น มีทั้งรูปแบบเดิมๆ ที่มีโหมด Laptop และ Tablet และรูปแบบใหม่เพิ่มเติมคือ Tent และ Stand เรามาดูกันดีกว่าว่าทั้งหมดที่กล่าวมานี้มีอะไรบ้าง

DSC_5923 DSC_5944DSC_5941

รูปลักษณ์โดยทั่วไปจะเป็นในรูปแบบของ Laptop แบบทั่วๆ ไป โดยการเปิดและปิดนั้นจะไม่แตกต่างจาก Laptop แต่อย่างใด

UntitledUntitled2yoga 11-2

ตัวระบบปฏิบัติการนั้นจะเป็น Windows RT แบบ 32-bit ที่ทำงานบนหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรมที่ชื่อว่า ARM ซึ่งทาง Lenovo ได้เลือกใช้ NVIDIA Tegra 3 (ARM Cortex-A9) ซึ่งเป็น Quad-Core โดยมีหน่วยความจำความจุขนาด 2GB DDR3L ซึ่งไม่สามารถอัพเกรดได้แบบ Laptop รูปแบบเดิมๆ

สำหรับข้อมูลในส่วนของระบบปฎิบัติการ Windows RT นั้น จะเป็นรุ่นย่อส่วนจาก Windows 8 โดยใช้งานได้เพียงส่วนของ Windows 8 App ใน Modern UI และ Software ที่ออกแบบสำหรับสถาปัตยกรรมระบบประมวลผลแบบ ARM เท่านั้น ไม่สามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ที่เราคุ้นเคยโดยทั่วไปได้ โดยโครงสร้างการออกแบบตัวเครื่องโดยทั่วไปนั้น จะเป็นแบบเดียวกับ Android หรือ iPad ที่อยู่ในตลาด นั้นคือเหตุผลว่าทำไมมันถึงไม่สามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ที่เป็น Desktop Application ที่เคยทำงานใน Windows XP, Vista, 7 และแม้แต่ 8 ได้ โดยการติดตั้ง App ต้องทำผ่าน Windows Store เท่านั้น

สำหรับใน Windows RT นั้น Microsoft ได้ให้ชุดซอฟต์แวร์สำนักงานที่ชื่อ Office Home & Student 2013 RT มาพร้อมกับ Windows RT โดยเป็นชุดซอฟต์แวร์ที่ประกอบด้วย Word 2013 RT, Excel 2013 RT, PowerPoint 2013 RT และ OneNote 2013 RT ซึ่งตัวชุดซอฟต์แวร์นี้บันทึกไฟล์เข้า SkyDrive เป็นค่ามาตรฐาน

ความสามารถในรายการด้านล่างนี้ไม่สนับสนุนใน Office Home & Student 2013 RT ณ ตอนนี้ (6 มิถุนายน 2556)

  • Macros, Add-Ins, Forms, and Custom Programs (Word, Excel, PowerPoint)
  • Send Email Features (Word, Excel, PowerPoint, OneNote)
  • SkyDrive Sync Integration (Word, Excel, PowerPoint)
  • Equation Editor 3.0 (Word, Excel, PowerPoint)
  • Lync File Download
  • Grammar checking (Word)
  • Data Models (Excel)
  • Slide Library ActiveX Control (PowerPoint)
  • Legacy Media Formats in PowerPoint (PowerPoint)
  • PowerPoint Flash Video Playback (PowerPoint)
  • Recording Narrations (PowerPoint)
  • Audio and video recording (OneNote)
  • Import through scanner (OneNote)
  • Audio & video search (OneNote)

ที่มา Office Home & Student 2013 RT ต่างจากรุ่นปรกติอย่างไร (Office ที่ให้มาพร้อม Windows RT)

แน่นอนว่าด้วยโครงสร้างสถาปัตยกรรมด้านการประมวลของตัวเครื่องนั้นได้รับข้อเด่นจากสถาปัตยกรรมระบบประมวลผลแบบ ARM ที่ประหยัดพลังงาน และยังมีความร้อนที่ได้จากตัวเครื่องที่น้อยกว่าสถาปัตยกรรมแบบเดิมๆ ที่เราคุ้นเคยกัน โดยจากที่ได้ทดสอบใช้งานนั้นสามารถเปิด และใช้งานได้ตลอดทั้งวันกว่า 9 ชั่วโมงโดยไม่ต้องปิดพักแต่อย่างได้ แต่ถ้าเปิด-ปิดใช้งานไม่ได้ใช้งานต่อเนื่อง ก็สามารถทำงานได้ตลอดวันได้ไม่ยากเลยทีเดียว โดยผลการทดสอบแบบใช้งานและปิดเครื่องด้วยการ standby สลับไป-มาในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ก็สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องได้ทั้ง 2 วันโดยไม่ต้องชาร์จไฟแต่อย่างใด

DSC_5929

ในด้านของการคีย์บอร์ดนั้นจะเป็นแบบ QWERTY ตัวเต็มที่นำมาจากคีย์บอร์ดลักษณะเดียวกับ Laptop ของ Lenovo ideaPad ที่ขายอยู่ในท้องตลาดอยู่ก่อนแล้วนั้นเอง โดยเป็นแบบ Accutype Keyboard ซึ่งจากการพิมพ์นั้นให้สัมผัสในการตอบสนองที่ดีมากและการพิมพ์ก็ไม่ต้องบีบนิ้วมือเพื่อใช้งานคีย์บอร์ดแต่อย่างใด

สำหรับในด้านการจัดวางปุ่มนั้น ใครที่ใช้ปุ่มตัว Grave Accent ( ` ) ในการสลับภาษาอาจจะหงุดหงิดเล็กๆ เพราะปุ่มนี้โดนบีบให้มีขนาดผอมลงเหลือขนาดเพียง 2 ใน 3 จากปุ่มอื่นๆ อาจทำให้พิมพ์ไม่ถนัดสักเท่าไหร่นัก

สำหรับตัวทัชแพดนั้นเป็นแบบซ่อนปุ่ม (buttonless) ซึ่งในด้านของการสัมผัสและลากใช้งานนั้นทำได้อย่างดีมาก แต่ปุ่มที่ซ่อนไว้นั้นอาจจะกดยากสักหน่อย คงต้องใช้ให้ชินสักพักถึงจะพอถนัดมือ

DSC_5928
DSC_5933 DSC_5930

ในด้านปุ่มจัดการตัวเครื่องต่างๆ นั้น ปุ่มสำหรับเปิด-ปิดเครื่องจะอยู่ที่ด้านล่างส่วนหน้าของเครื่อง เป็นทั้งปุ่มเปิด-ปิดและ standby ได้ในตัวเดียวกัน สำหรับส่วนอื่นๆ ก็มีช่องเชื่อมต่อมาให้อย่างครอบคลุมทั้ง HDMI, USB 2.0 จำนวน 2 ช่อง, ช่องเสียบหูฟัง 3.5 ม.ม., ช่องเสียบการ์ดหน่วยความจำ, ปุ่มเพิ่ม-ลดเสียง, ปุ่มล็อคการหมุนจอ (rotation lock) และช่องเสียบสายชาร์จแบบใหม่ของ Lenovo ที่จะเป็นแบบแบน

การเชื่อมต่อ USB 2.0 นั้น สามารถต่อกับ printer เพื่อพิมพ์งาน หรือ external HDD ก็สามารถดูหนัง Full HD และเข้าถึงไฟล์ต่างๆ ได้สบายๆ สำหรับช่องต่อการ์ดหน่วยความจำก็สามารถเข้าถึงไฟล์ได้ตามมาตราฐาน ซึ่งการใช้งานทั้ง external HDD และการ์ดหน่วยความจำนั้นสามารถทำผ่าน File Explorer ของ Windows RT ได้อย่างสะดวกสบาย

จอภาพนั้นมีขนาด LCD 11.6” ความละเอียดที่ WXGA (1366×768 pixel) สัดส่วน 16:9 ซึ่งได้ให้ panel มาเป็น IPS ตามสมัยนิยมรวมไปถึง LED backlit อีกด้วย แต่นอนว่าเป็น Tablet ได้ต้องมาพร้อมกับหน้าจอ touch screen โดยรองรับการ multi-touch เพียง 5 จุดเท่านั้น สำหรับกล้องนั้นเป็น Webcam 720p HD โดยทั่วไปไม่มีอะไรแปลกใหม่นัก

DSC_5936
DSC_5934 DSC_5935

Tablet Mode

DSC_5949 DSC_5950

Tent Mode

DSC_5946 DSC_5947

Stand Mode

DSC_5953 DSC_5957

ส่วนสำคัญของ Yoga 11 ตัวนี้ก็คือบานพับที่ออกแบบมาเป็นพิเศษที่สามารถพับจอได้ 360 องศา เพื่อพับตัวจอภาพให้ไปประกบกับด้านหลังเพื่อแปลงร่างเป็นโหมด Tablet, Tent หรือ Stand ได้ ซึ่งตัวบานพับนั้นเป็นสแตนเลส หรือเหล็กกล้าไร้สนิมแบบเดียวกับ notebook สำหรับธุรกิจอย่างตระกูล Lenovo ThinkPad ที่เป็นกลุ่ม notebook ระดับพรีเมียมแบรนด์ของกลุ่ม Lenovo เอง

DSC_5958 DSC_5959

สุดท้ายในส่วนของอแดปเตอร์ชาร์จไฟนั้นมีขนาดไม่ใหญ่มากและมีน้ำหนักเบาเสียด้วย เมื่อรวมน้ำหนักตัวเครื่องแล้วก็มีน้ำหนักไม่เกิน 1.5kg แต่อย่างใด

ส่วนที่ประทับใจ

  • ความแปลกใหม่ในการนำเสนอบานพับแบบใหม่ทำให้ใช้งานได้หลากหลาย
  • ตัวบานพับแข็งแรง ไม่แน่นจนพับจอลำบาก และไม่หล่วมจนรู้สึกว่าจะตั้งไม่อยู่แต่อย่างใด
  • ตัวถังภายนอกทำจากอลูมิเนียมทำให้ดูแข็งแรงดีมาก
  • การระบายความร้อนและการนำพาความร้อนออกมานั้นทำได้ดี และขณะใช้งานรู้สึกเพียงอุ่นๆ เท่านั้น
  • คีย์บอร์ดคุณภาพดี การตอบสนองดีเยี่ยม
  • ช่องการเชื่อมต่อให้มาครบ และอยู่ในตำแหน่งที่ต่อการใช้งานดี
  • อแดปเตอร์ชาร์จไฟมีน้ำหนักเบาไม่เป็นภาระต่อการพกพา
  • การประหยัดไฟของสถาปัตยกรรม ARM ที่ Lenovo นำมาใช้คู่กับ Windows RT นั้นทำงานได้ดีเยี่ยม

ส่วนที่ไม่ประทับใจ

  • ด้วยสถาปัตยกรรมแบบ ARM ทำให้ใช้คู่กับ Windows RT แล้ว App บน Windows 8 Style มีน้อย อาจหงุดหงิดได้ง่าย แต่ในอีกไม่นานนี้ Windows RT รุ่นใหม่รหัสพัฒนา Windows Blue กำลังออก คาดว่าจะดีขึ้นเรื่อยๆ
  • ตัวเครื่องนั้นดูหนักกว่าคู่แข่งอื่นๆ อยู่พอสมควร ถ้าน้ำหนักลงมาไม่เกิน 1 kg คงกำลังดี
  • ปุ่มทัชแพดที่เป็นแบบซ่อนปุ่มกดยาก อาจต้องใช้เวลาปรับตัวสักหน่อย
  • ปุ่ม Grave Accent ( ` ) ถ้าใช้สำหรับสลับภาษาอาจจะใช้ไม่สะดวก เพราะปุ่มนี้โดนบีบให้มีขนาดผอมลงเหลือขนาดเพียง 2 ใน 3 จากปุ่มอื่นๆ
  • หน่วยความจำหลักให้มาน้อยไปเสียหน่อย น่าจะให้มามากกว่านี้ เพราะไม่สามารถซื้อแรมมาเพิ่มเติมได้ในภายหลัง

Tech Spec
CPU: NVIDIA Tegra 3 (Quad-Core ARM Cortex-A9)
GPU: NVIDIA GeForce Integrated GFX
RAM: 2GB DDR3L
Display: 11.6” WXGA (1366×768) 16:9 LED IPS, 5 points multi-touch screen
Storage: 64 GB eMMC
Camera: 1.0M 720p HD Integrated Webcam
Connectivity:

  • Wireless Lan (802.11 b/g/n)
  • Bluetooth 4.0
  • 2 x USB 2.0 ports
  • 1 x SD card reader
  • 1 x 3.5mm headphone jack
  • 1 x full-size HDMI

Camera: 1.0M 720p HD Integrated Webcam
Weight: 1.27 kg
Preload Software:

  • Amazon Kindle
  • eBay
  • Evernote
  • Intelligent Touchpad
  • Lenovo Cloud Storage
  • Lenovo Companion
  • Lenovo Energy Management
  • Lenovo Motion Control
  • Lenovo Support
  • Lenovo Transition
  • Office Home & Student 2013 RT
  • Microsoft Connected Standby
  • OneKey Rescue
  • RaRa
  • Skype

ขอบคุณ Lenovo Thailand สำหรับ Lenovo IdeaPad Yoga 11 ที่ให้นำมาให้เราทดสอบกันในครั้งนี้ครับ

บทความ รูปและเนื้อหานี้เป็นลิขสิทธิ์ของผู้จัดทำหากต้องการนำไปใช้งานกรุณาติดต่อผู้จัดทำเนื้อหาก่อนนำไปใช้หรือเผยแพร่

ลองจับ Lenovo ThinkPad Tablet 2

ได้มีโอกาสลองจับตัว Lenovo ThinkPad Tablet 2 อยู่สักพัก (ประมาณ 30 นาที) เลยเอามาให้ดูกันสักเล็กน้อยครับ

ตัว Lenovo ThinkPad Tablet 2 นั้นมาพร้อมกับ CPU แบบ SoC (System on a chip) รุ่น Intel Atom Z2760 SoC ดูอัลคอร์ความเร็ว 1.8GHz  (1MB cache) โดยมี VGA on chip ของ PowerVR HD SGX545 GFx (12 bit, 1080p video @30fps, DX9) ซึ่งเจ้า SoC จะคล้ายๆ ของค่าย ARM ที่รวมเอาทุกอย่างไว้ในตัวชิป CPU (หลังๆ CPU Core Architecture ของ Intel ก็เริ่มรวมหลายๆ อย่างลงใน CPU มากขึ้น) ทำให้ประหยัดพลังงาน และประหยัดพื้นที่ด้วย

ซึ่งเจ้าตัวนี้ มาพร้อม RAM ชนิด LPDDR2 ขนาด 2GB ความเร็ว 800 MHz และมีความจุ storage ที่ 64GB แบบ eMMC สามารถใส่เพิ่มได้ผ่าน micro-SD card โดยใส่เพิ่มได้สูงสุดถึง 64GB และยังสามารถต่อ external HDD แบบ USB 2.0 ผ่านช่องต่อ USB 2.0 แบบ full-size เพื่อเพิ่มพื้นที่ได้ด้วย (จากที่ทดสอบต่อ WD Passport 500GB ได้สบายๆ)

WP_20130311_065 

ในด้านของฝาหลังนั้น จากที่สัมผัสดูแล้วคิดว่าเป็น Polyurethane Soft-touch Coatings คล้ายๆ กับฝาหลังตัวเครื่อง ThinkPad โดยตัวจอภาพนั้นเป็นจอ LCD ขนาด 10.1" ตัว panel เป็น IPS ขนาดความละเอียดที่ 1,366×768 พิกเซล (HD 720p) ที่อัตราส่วน 16:9 ความสว่างที่ 400 nits (500:1 contrast ratio) แต่ไม่ได้ใช้ Corning Gorilla Glass แบบตัวก่อน โดยเป็นหน้าจอสัมผัสรองรับสัมผัสได้ 5 นิ้ว

ตัวเครื่องนั้นหนาเพียง 9.8mm ซึ่งบางกว่าตัว Lenovo ThinkPad Tablet รุ่นเก่าถึง 30% (ตัวเก่าหนาที่ 14.5mm) จากที่บางลง ทำให้น้ำหนักลดลงมาอยู่ที่ 590g หรือเบากว่าLenovo ThinkPad Tablet รุ่นเก่ากว่า 23% อีกด้วย (ตัวเก่าหนัก 759g) ซึ่งน้ำหนักนี้รวมปากกาแล้ว โดยจากที่จับมา ผมมองว่าเบาจริง ถือว่าทำน้ำหนักมาได้ดีสำหรับจอภาพที่ขนาด 10.1”

สำหรับงานประกอบนั้น ตัวเครื่องนั้นหาช่องน็อตสกรูให้เห็นชัดเจนไม่เจอ ในส่วนอื่นๆ การประกอบระหว่างรอยต่อต่างๆ ดูแนบสนิทแน่นหนาดีมาก สำหรับโครงสร้างภายในนั้น Lenovo ได้ออกแบบภายในแบบเดียวกับ ThinkPad Notebook หรือเรียกว่า Roll cage design

WP_20130311_038 WP_20130311_041

ในด้านของตัวปากกานั้น ThinkPad Tablet 2 ใช้ Wacom digitiser แบบเดียวกับที่เคยใช้กันมาก่อนหน้านี้ โดยมีที่เก็บแบบสอดเข้าไปในเครื่อง โดยตัวปากกามีขนาดเล็กกว่าตัวเดิมอยู่มาก สำหรับการเขียนต่างๆ ทำได้ลื่นไหลดี โดยตัวจอภาพแบบสัมผัสเมื่อทำงานร่วมกับปากกาสามารถเอามือวางบนจอภาพแล้วเขียนแบบบนกระดาษปรกติได้เลย เพราะตัว Windows 8 นั้นฉลาดเพียงพอที่จะแยกแยะการสัมผัสได้ (ดูได้จากวิดีโอล่างสุด)

สำหรับตัวกล้องนั้น ThinkPad Tablet 2 มีมาให้ทั้งกล้องหน้าและหลัง โดยกล้องหลังให้มา 8MP พร้อม ไฟแฟลชแบบ LED รองรับการถ่ายวิดีโอ HD 720p และสำหรับกล้องหน้ามีความละเอียด 2.0MP ซึ่งสำหรับภาพถ่ายนั้น ไม่ได้ลองถ่ายมาดูครับ เพราะเวลาไม่พอที่จะได้ลอง

 WP_20130311_020 

WP_20130311_024 WP_20130311_063 

ตัวจุดเชื่อมต่อต่างๆ ให้มาค่อนข้างครบ ตัวแรกคือ  full-size USB 2.0 พอร์ต ที่อยู่ด้านข้างเครื่อง ที่ทำหน้าที่เหมือนกับ USB พอร์ต ปรกติบนโน้ตบุ๊กหรือเดสก์ท็อปเลย สามารถต่อ HDD เข้าไปเพื่อเพิ่มพื้นที่ได้ แต่วันที่ลองยังไม่ได้ลองต่อเมาส์และคีย์บอร์ดลอง แต่คิดว่าได้ เหมือนกัน

ส่วนต่อมาคือ micro-USB 2.0 ซึ่งทำหน้าที่แค่ชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่เท่านั้น เหตุผลที่ใช้ micro-USB เพราะหาพอร์ตในการมาชาร์จไฟได้ง่ายตามมาตรฐาน European Union

ส่วนต่อมาคือภาพและเสียง ที่ให้ mini-HDMI พอร์ต และ headphone/microphone combo jack มาให้ โดยมี Noise-cancelling microphone มาให้พร้อมเพื่อทำงานคู่กับเว็บแคมขนาด 2MP ด้านหน้า

เมื่อเป็นแท็บเล็ตสำหรับทำงานย่อมต้องมี dock connector มาให้แน่ๆ ซึ่ง ThinkPad Tablet 2 ก็มีมาให้เลย ทำให้สามารถต่อได้เพิ่มมากขึ้นทั้ง USB พอร์ต ที่ได้มากขึ้น หรือต่อเมาส์และคีย์บอร์ดได้อย่างง่ายๆ รวมไปถึงมี Folio Case with Keyboard ทำตลาดมาพร้อมด้วย

สำหรับปุ่มรอบๆ เครื่องนั้น เท่าที่จับและเจอก็มี ปุ่ม Windows, ปุ่มเปิด/ปิดเครื่อง, ปุ่มปรับระดับเสียง, ปุ่มคงค่าการหมุนจอภาพ และปุ่มรีเซทเครื่อง

การเชื่อมต่ออื่นๆ ก็มีมาให้ครบในตัวเหมือนโน้ตบุ๊กเครื่องนึงเลยก็ว่าได้ทั้ง NFC, GPS, compass, ambient light sensor, proximity sensor, sensor hub, 802.11 a/b/g/n, Bluetooth 4.0 และสำหรับรุ่น 3G จะมาพร้อม WWAN Gobi 4000 (รองรับ LTE /HSPA+)

WP_20130311_051

WP_20130311_061 WP_20130311_043

จากการที่ได้นั่งเล่นมานั้น โดยรวมถือว่าทำงานได้รวดเร็วดีมาก ด้วยจำนวนคุณสมบัติที่ให้มานั้น เหมาะสำหรับคนที่ต้องการนำไปใช้งานด้านเอกสารต่างๆ ที่ใช้ตัวซอฟต์แวร์ที่ไม่ใช้ทรัพยากรระบบมากนัก ถ้านำไปใช้พวกแต่งรูป รีทัชรูป ตัดต่อวิดีโอ หรือเล่นเกม ก็ดูจะโหดร้ายเกินไปสำหรับคุณสมบัติที่ให้มา (อาจพอได้ แต่พื้นที่ลงซอฟต์แวร์คงไม่พอ รวมไปถึง RAM ที่มีมาให้แค่ 2GB ท่าทางจะไม่ไหว) ซึ่งส่วนตัวถ้าเอาไปใช้งานด้านพัฒนาซอฟต์แวร์ ดูแลจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร หรือแม้แต่เขียนบทความแล้วก็ถือว่าตอบโจทย์การใช้งานได้พอเหมาะกับงานแนวๆ นี้

ในด้านของขนาดจอภาพ 10.1” นั้น โดยรวมแล้วเฉยๆ เพราะส่วนตัวสนใจขนาดความละเอียดของจอภาพมากกว่า ซึ่งให้มา 1,366×768 พิกเซล เท่ากับ Lenovo ThinkPad T420 ที่ใช้งานอยู่ ซึ่งเมื่อใช้งานแล้ว ก็ไม่ได้รู้สึกว่าเล็กแต่อย่างใด (ตัวหนังสือเล็กลงไป แต่โดยส่วนตัวแล้วก็อ่านได้สบายตาปรกติดี)

ความบางและน้ำหนัก อย่างที่บอกไปข้างต้นแล้วว่าทำออกมาได้ดี งานประกอบเรียบร้อยดีมาก มีพอร์ตมาให้ครบตามที่เราอยากได้ในแท็บเล็ตโดยทั่วไป

ในส่วนของแบตเตอรี่ขนาด 30Wah ที่เป็นแบบ lithium polymer นั้นยังไม่ได้ทดสอบความยาวนานของการใช้งาน อันนี้คงต้องขอผ่านไปก่อน

กล่าวสรุปโดยรวมแล้ว ถือว่าผ่านสำหรับการเป็น Tablet เพื่อนำไปใช้ทำงานมากกว่าเล่น ก็ต้องรอดูว่า app บน Windows 8 จะมีมามากแค่ไหน จนสามารถทดแทนตัวแท็บเล็ตยี่ห้ออื่นๆ ได้ แต่สำหรับ desktop app แล้วนั้น ถือว่ารองรับได้ทั้งหมดที่คนส่วนใหญ่ใช้งานได้สบายๆ

WP_20130311_033 WP_20130311_034

วิดีโอทดลองเล่นและสัมผัสการใช้งาน Lenovo ThinkPad Tablet 2

รอดูรีวิวเต็มๆ อีกที (ไม่รู้จะได้เมื่อไหร่ครับ คงต้องต่อคิวเครื่องเค้า ><”)

ลองเล่น Windows 8 บน Samsung Tablet PC 11.6” ที่เป็น CPU Intel!!!

เพิ่งได้ลองเล่น Windows 8 บน Samsung Tablet PC ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับในงาน Build ของ Microsoft เมื่อปี 2011 ที่ผ่านมา แน่นอนว่าได้เล่นแบบผ่านๆ ได้ลองหลายๆ อย่าง ต้องบอกว่า Windows 8 มันออกแบบมาสำหรับ Tablet จริงๆ ให้ตายเหอะ!!!

คือตัว Tablet ตัวนี้ถ้าซื้อตอนนี้จะได้ Windows 7 ติดมาครับ แต่ตัวนี้ได้ลง Windows 8 มาเลยทำให้ได้อะไรที่สุดๆ กับสิ่งที่ผู้ผลิต H/W ต้องการมากกว่า Windows 7 เยอะมาก

IMG20120903122547 (1)

ตัวคุณสมบัติคราวๆ ของ Samsung 700T1A-A03AU Tablet PC ก็ตามนี้

  • CPU: Intel Core i5-2467M 1.6GHz
  • VGA: Intel HD 3000 Graphics Card
  • Display: 11.6 Capacitive Multi-Touch Display (8 touch sensor)
  • RAM: 4GB
  • SSD: 64GB

IMG20120903122557

ตัวคีย์บอร์ดและภาษาไทยนั้นมาแบบเต็มที่ครับ ไม่ต้องกลัวว่าจะใช้ไม่ได้ ตัวคีย์บอร์ดเท่าที่พิมพ์นั้นสะดวกและแม่นมาก ไม่มีอาการหน่วงเลย กดปุ๊บมาปั๊บแบบเร็วทันใจมากๆ

IMG20120903122811

ได้ลอง Windows 8 ที่ทำงานบน Tablet แล้วต้องอุทานว่า "นี่มัน!!!!" ส่วนตัวแล้วบอกกับตัวเองเลยว่า "เก็บเงินซื้อ ThinkPad Tablet 2 ได้เลย!!!!" มันเร็ว แรง และมันคือ Windows Base ที่ทำงานบน Tablet ได้อย่างแท้จริง!

IMG20120903123216

ลองเขียนอะไรเล่นๆ บน OneNote ใน Windows 8 โดยใช้ Stylus ก็เขียนได้ง่ายๆ สบายๆ แบบนี้นี่เอง สามารถเอามือวางเหมือนเขียนหนังสือปรกติได้สบายๆ ไม่มีปัญหาที่ตัวจอสัมผัสมันไปสัมผัสส่วนอื่นๆ โดยไม่ตั้งใจ

IMG20120903124404

Windows 8 หมดปัญหากับการต้องมานั่ง format ใหม่ เพราะมันมี function ช่วยในการติดตั้ง Windows ให้ใหม่มาในตัว Windows แบบใช้ง่ายๆ ทั้งแบบติดตั้ง Windows ใหม่แบบลงใหม่เฉพาะตัว Windows/Apps หรือจะ Factory Reset ก็ได้ (ข้อมูลหายหมด)

IMG20120903125340

ถ้าถามว่าตัว Tablet ตัวนี้บางไหม ก็ไม่บางมากครับ เอามาวางเทียบกับ Lenovo ThinkPad X1 Carbon แล้วบางกว่านิดหน่อย (ดูความสูงของ port USB 3.0 ก็ได้) แต่แน่นอน อย่าลืมว่ามันคือ Tablet ที่ข้างในเป็น CPU Intel ตัว Core i5 นะครับ

สำหรับเรื่องความร้อนนั้นก็อุ่นๆ ครับ ลองใช้อยู่ประมาณ 30 กว่านาที ต้องยอมรับเลยว่าลื่นมาก แรกๆ จะงงๆ หน่อย แต่พอสักพักจะเริ่มชิน ลองสลับมาโหลด Desktop แทน Modern UI ก็ทำได้ครับ ทำงานแบบ Desktop ทั่วไปได้เลย คือตัว Keyboard/Mouse แบบ Bluetooh แล้วใช้งานแบบ Notebook ทั่วไปได้ทันที!!!

IMG20120903125505

เอามาวางเทียบกับ Lenovo ThinkPad X1 Carbon สักหน่อย

แกะกล่องเล่นๆ กับ Nexus 7 ขนาด 8GB

2012-08-06_011520

ASUS Nexus 7 เปิดตัวในงาน Google I/O 2012 ที่ San Francisco เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2555 งานดังกล่าวเริ่มในเวลาประมาณ 5 ทุ่มครี่ง ตามเวลาประเทศไทย โดยในงานมุ่งเน้นแสดงความสามารถของ Android 4.1 Jelly Bean และเปิดตัว Tablet Nexus 7 ที่ใช้ Android 4.1 Jelly Bean เป็นตัวแรก และ Nexus Q ที่เป็น Online TV Devices ของ Google

ผมได้รับ Nexus 7 มาได้เกือบๆ 1 อาทิตย์แล้วครับ (วันที่เขียนวันที่ 11 สิงหาคม 2555) โดยเป็นเครื่องหิ้วจาก US มาในราคาไม่แพงมากนัก (ขอไม่บอกว่าเท่าไหร่แล้วกัน) ซึ่งมารอบนี้มาพาแกะกล่องและเล่าประสบการณ์โดยรวมของ Nexus 7 ตัวนี้กันครับ

DSC_1553

DSC_1533 DSC_1529

ตัวกล่องที่ใส่เครื่องมานั้นเป็นแบบ 2 ชั้นครับ slide ตัวกล่องออกมา โดยรวมกล่องไม่ใหญ่มาก เล็กและหิ้วง่ายดีครับ

Read more