ทำความสะอาดเครื่อง Printer เพื่อนยากของเราสักหน่อย ………

ทำความสะอาดเครื่อง Printer สักหน่อย ………

เมื่อวานนี้เพิ่งเอารางที่รองรับน้ำหมึก ที่ใช้ในการล้างน้ำหมึกออกจากหัวพ่นออกมา ซึ่งถ้าใครแกะออกมาคงตกใจว่าหมึกทำไมมันเยอะมหาศาลมาก ขนาดที่ว่าเอามันแข็งมากๆ กว่าจะแงะออกมาได้ มันเป็นก้อนๆ เลยครับ

จริงๆ HP DJ 930c ของผมเนี่ยมีอายุได้ 4 ปีแล้ว แต่พิมพ์งานได้เนียบเหมือนเดิม แต่มาระยะหลังๆ ตัวอักษรที่พิมพ์เป็นสีดำมันออกมาลายๆ แรก ๆ ก็ว่าน่าจะเป็นที่ตลับหมึก แต่พอไปให้ช่างที่เติมหมึกดูหัวก็บอกว่าใช้ได้นิ เลยสัญนิฐานว่าเป็นที่เครื่อง ช่างแนะนำว่าให้ถอดออกมาเอาหมึกที่คั่งออกมาหรือ เช็ดทำความสะอาดบริเวณ ที่พักตลับหมึกดูน่าจะหาย

ผมก็จัดการแงะเครื่องเลย คือไม่กลัวมันหมดประกันหรอก เพราะว่ามันหมดไปตั้งนานแล้ว และจากที่สอบถาม HP ก็ได้คำตอบว่ารุ่นนี้ไม่ support อะไหล่แล้ว คาดว่าไม่ได้ spare part ไว้แล้วในไทย คือถ้าเครื่อง HP DJ 930c ของผมเสียก็ซื้อใหม่ได้เลย โดยเอาเครื่องไปเทิร์นในราคาส่วนลดเครื่องใหม่ 400 – 500 บาท ครับ ซึ่งผมนี่งงเลย เครื่องผมซื้อมา 9,000 กว่าๆ ได้ แต่ขายเทิร์นได้แค่เนี้ย แต่เอาเหอะ ช่างมัน ไม่คิดมากเพราะว่าไม่ได้คิดจะเทิร์นอยู่แล้ว เลยลองแกะมาทำความสะอาดบริเวณที่พักตลับหมึกก่อน ดีกว่า เพราะจากการสัญนิฐานของตัวเองน่าจะเป็นบริเวณที่สัมผัสกับตัวหัวพ่นหมึกมากที่สุดที่หนึ่ง การประกอบกับที่พักตลับหมึกและที่ล้างหัวพ่นอยู่ที่เดียวกันเลยทำทีเดียวได้สองอย่างเลย แต่รุ่นเล็กอีกตัวของผมคือ HP Deskjet 3325 ของผมมันอยู่กันคนละที่ ก็เลยว่าจะทำเหมือนกัน เพราะว่าหมดประกันแล้ว ตอนนี้ก็เลยทำดูดีกว่า ที่กว่าไปซ่อม หรือให้ที่ ศ. ล้างให้คงเสียค่าบริการอีกมากเลยหล่ะ และการทำแบบนี้ก็อาจทำให้การพิมพ์งานของผมดีขึ้นเหมือนซื้อเครื่องใหม่ได้เลย เพราะจากที่ได้เอาไฟฉ่ายสังเกตุดูมันมีคราบเยอะมากๆ และมีก้อนของน้ำหมึกจับกันเป็นก้อนแข็งขนาด 1″ x 0.5″ ตับตัวอยู่ 1 – 2 ก้อน โดยประมาณ

การแกะก็ทำไม่ยาก ใช้ความรู้ทางช่างนิดหน่อย ประกอบกับทักษะการประกอบหุ่นยนต์ เล็กหน่อย คือมันคล้ายๆ กันน่ะ ถ้าอ่านในคู่มือ ก็คงมีแต่อันนี้มันเร่งๆ เพราะมีงานต้อง print อยู่ เลยจัดการสำรวจ และแงะ แกะ เกามันออกมาซึ่งก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร เพราะว่าตัวเครื่องนี่มีน็อตแค่ 2 ตัว และมีสลักยึกตัวเครื่องระหว่างด้านฐานตัว Printer กับตัวฝาครอบ อยู่ 4 จุด และฝาครอบถาดกระดาษอีก 2 จุดก็แกะมันออกมาได้แล้ว เลยเห็นที่พักตลับหมึก และบริเวณสำหรับล้างหัวพ่นอยู่ก็ใช้ แอลกอฮอลในการเช็ดๆ ส่วนที่เป็นที่พักหมึก แนะนำว่าอย่าใช้ทินเนอร์ เด็ดขาด เพราะว่าบางรุ่นเป็นยาง อาจทำให้ละลายได้ ให้ใช้แอลกอฮอลผสมน้ำอ่อนๆ เช็ดจะดีกว่าครับ เช็ดออกมาได้ หมึกที่เป็นก้อนขนาดใหญ่รวมๆ กันแล้วขนาดประมาณ 1″ x 2″ ได้ครับ นี่สะสมมา 4 ปีนะครับ …. และทำการเช็ดทำความสะอาดบริเวณแท่นพักตลับหมึกด้วย บริเวณนั้นส่วนมากจะเป็นยาง ครับ ใช้แอลกอฮอลผสมน้ำนิดนึง ก็ออก ทำความสะอาดอีกหน่อยก็เสร็จ …….

และทำการทดสอบการพิมพ์ได้ผลในการพิมพ์เป็นเยี่ยมครับ ตัวอักษรที่ลายๆ กลับมาคมดั่ง laser เหมือมเดิมครับ …… ใครที่ใช้ HP หรือ Epson ลองๆ สักเกตุดูนะครับ ….. และไม่แนะนำให้แกะเครื่องถ้ายังอยู่ในประกันครับ แต่ว่าถ้าหมดประกันแล้วก็ตามสบายท่านแล้วกัน

อ่อ อีกเรื่องครับ การที่แท่นพักตลับหมึกมีคราบมากๆ เป็นสาเหตุ อีกสาเหตุที่ทำให้หัวพ่นหมึกของ inkjet ตันครับ ……

และหัวพ่นของ inkjet ห้ามใช้ ทินเนอร์ในการเช็ดนะครับ ให้ใช้น้ำประปาอุ่นๆ สะอาดๆ เช็ดโดยใช้สำลีจุ่มน้ำเช็ดออกครับ เพราะว่าผมเคยใช ทินเนอร์เช็ดหัวพ่นของตลับหมึก HP ที่เกือบหมดแล้ว ตลับพังเลย เพราะว่าหัวพ่นมันเสียครับ ….. T_T

HP ไม่ยอมเคลม หมึก Printer InkJet ให้ … ซะงั้น

เซงจริงๆ เราว่าเราเช็คดีแล้วนะว่าเครื่อง Printer เราไม่มีปัญหา เพราะว่าเราก็ไม่เคยเอาไปใช้ที่ไหน ตั้งไว้อยู่ที่บ้านมาก็จะ 4 ปีแล้ว ทนดี แถมไม่ค่อยได้พิมพ์มากมายนัก เพราะว่ามาเรียนที่มหาวิทยาลัย ใช้ HP Deskjet อีกรุ่นนึง ก็ใช้ดี พิมพ์งานเยอะมาก เยอะกว่าเครื่องที่บ้านแล้วมั้ง …..

แต่ว่าเครื่องที่บ้านที่แคลมหมึกเพราะว่ามันแพงอ่ะนะ คือตลับนึงก็ 1,300 กว่าบาทแล้ว เงินมันไม่ใช่หาได้ง่ายๆ ถ้าเสียก็ต้องแคลมเพราะว่ามันอยู่ในประกันอ่ะนะ

ส่วนอาการคือมันพิมพ์เป็นเส้น ทาง HP บอกว่าเป็นที่ Printer จะบ้า เหรอไง หัวพิมพ์มันอยู่ที่ตลับหมึกมันเกี่ยวอะไรกับ เครื่องด้วยเนี่ย เฮ้อ …. เอากับมันดิเนี่ย ตอนนี้ก็กำลังรออยู่ว่าจะเอายังไง เพราะว่าเห็นว่าจะให้เอาเครื่องไว้ที่ศูนย์ก่อน เค้าจะเอาตลับหมึกอันใหม่มาทดสอบดู แต่จากที่เค้าเอาตลับหมึกส่งไปให้ที่ กรุงเทพฯ ก็บอกว่าตลับไม่เสีย อ้าววว ไรฟร่ะ ก็เครื่องมันแจ้งว่าตลับเสียด้วยนะเนี่ย แถมพิมพ์เป็นเส้นๆๆ

ตอนนี้เลยรอผลก่อนแล้วกันว่าเป็นเพราะอะไรกันแน่ ……

Laser Printer ความละเอียดต่ำกว่า InkJet Printer เยอะ แต่ทำไมราคาแพงกว่า ?

เรื่องนี้ต้องมาดูองค์ประกอบหลักของพิมพ์ครับ

1. การฉีดน้ำหมึก (InkJet)
2. การฉาบผงหมึก (Draft หรือเรียกว่า Laser เพราะใช้แสง ‘optical’ ในการวาดภาพบน Drum ก่อนแล้วให้กระดาษผ่าน Drum ไป เหมือนปั้มออกมา)

นั้นคุณภาพต่างกัน ครับ ถึงแม้ความละเอียดของ InkJet จะไปถึง 4,800dpi หรือ 19,200 dpi แล้วก็ตาม แต่ข้อจำกัดของ “น้ำ” คือมี “การซึม” บนตัวกระดาษ หรือการผืนผิวที่ดูดซับน้ำได้ นั้นยังคงไม่ค่อยดี นัก ซึ่ง Laser ที่มีขนาดความละเอียด 600 dpi นั้นให้คุณภาพในการพิมพ์มากกว่า InkJet ในความละเอียด 4,000 dpi มากครับ เนื่องจากผงหมึกนั้นไม่มีคุณสมบัติที่ก่อให้เกิดการซึมได้ง่ายเ่ท่าน้ำครับ

การใช้ความร้อนในการทำให้ผงหมึกแกะติดกับกระดาษนั้นทำให้ ผลงานที่ออกมานั้นดีกว่ามากครับ ส่วนที่ทำให้ InkJet นั้นพิมพ์ได้เกือบใกล้เคียง แล้วก็ตามแต่จุดอ่อน นั้นไม่ได้ถูกลบไป แต่แก้ไขด้วยการทำให้จุดสีนั้นลดลงเรื่อยๆ เพื่อลดการซึม ซึ่งทดสอบได้โดยหยดหมึกปากกา ที่ระดับความสูงเท่ากัน แต่หยดหมึกต่างกันนั้น จะได้ความกว้างของการซึมต่างกันครับ …..

แต่ผงหมึกไม่มีการซึมครับ แต่ต้องแลกกับราคาที่แพงกว่า เพราะมีความซับซ้อนในกระบวนการทำงานมากกว่า เพราะมีระบบที่ทำงานเทียบเท่าเครื่องถ่ายเอกสาร (ก็มันหลักการเดียวกันนั้นหล่ะ) แต่ด้วยที่ระบบคอมฯ เป็นระบบสั่งการด้วย ดิจิตอล ทำให้มันต้องทำการแปลงค่าต่างๆ ของคอมฯ เข้ามา หรือพวก PostScript หรือพวก Draft ต่างๆ ด้วยนั้นเอง ทำให้ราคาสูงกว่า

แต่เราต้องเทียบกับความคุ้มในการพิมพ์ด้วยครับ

ด้วยผงหมึกของ Leser จำนวน 1 ตลับ นั้น สามารถพิมพ์ได้ 4,000 – 10,000 แผ่น โดยประมาณ แล้วแต่ยี่ห้อ, รุ่น และลักษณะการใช้งานด้วย ด้วยราคา 2,000 – 5,000 บาท ในรุ่นระดับ Consumer ถึง SOHO หรือระดับ Enterprise ที่ 10,000 -> นั้นมีราคาต่อแผ่น A4 ที่ 0.10 – 0.25 สตางค์ เท่านั้น

เมื่อเทียบกับตลับหมึกของ InkJet ราคาตลับหมึกตั้งแต่ 250 – 2,500 บาท แต่พิมพ์ได้มากที่สุดที่ทำได้ (อ่านจากหนังสือและประสบการณ์ที่ใช้มา) ไม่เคยเกิน 400 แผ่น หรือกระดาษหนึ่งรีมครับ และต้นทุนต่อแผ่นตก 2.50 – 35 บาท ในสิ่งพิมพ์ขาวดำ – สี ซึ่งไม่นับรวมกับเติมหมึกนะครับ แต่ถ้ารวมการเติมหมึกด้วยต้องเทียบทั้งสองฝ่ายคือ InkJet และ Laser ครับ เพื่อความเสมอภาคกันครับ ซึ่งถ้าโดยรวมแล้ว Laser นั้นคุ้มกว่าในระยะยาวครับ ถ้าคิดจะใช้ 4 – 10 ปี นี่คุ้มแน่นอนครับ

ต่อมาเรื่องความเร็ว และความเงียบ นั้น Laser กินขาดครับ เอาเรื่องความเร็วก่อนนะครับ ความเร็วเป็นจุดเด่นของ Laser ครับ การพิมพ์หน้าขาวดำได้ต่ำสุดในตอนนี้ส่วนใหญ่คือ 20 หน้าต่อนาที่ครับ ซึ่งตัวเลขนี้ไม่ขึ้นลง เหมือนกับ InkJet ครับ ที่พิมพ์เต็มหน้าก็็ใช้เวลาหลายนาที ต่อ 1 หน้ากระดาษครับ ซึ่งค่าความเร็วในการพิมพ์ต่อนาทีเป็นจำนวนหน้าของ Lasaer เป็นค่าที่ค่อนข้างเป็นที่ต้องการอย่างมากของคนที่ทำงานใน SOHO หรือ Office อยู่แล้วครับ และยังไม่มี InkJet ใดสามารถทำลายเรื่องความเร็วและความสะดวกในส่วนนี้ได้ครับ ส่วเรื่องความเงียบนั้น แน่นอนครับ ว่าเงียบว่าอย่างมาก

แต่ Laser มีข้อเสียคือผลหมึกนั้นมีอันตรายต่อร่างกายมากครับ ข้อนี้ต้องระวังให้ดีครับ

แต่เหตุผลที่คนใช้ Laser กันน้อยกว่่าในระดับ Home User (Consumer) เพราะว่าด้วยราคาเริ่มต้นไม่น่าจูงใจการซื้อมาใช้ ประกอบกับ Laser พิมพ์ภาพสีได้ด้อยกว่า InkJet ครับ ทำให้เหมือนกับ ความแตกต่างทางแนวคิด แนวทางการทำตลาดครับ

ซึ่ง InkJet ส่วนใหญ่ทุกยี่ห้อจะทำคลาดระดับ Home User หรือ SOHO ครับ

ส่วน Laser นั้นส่วนใหญ่ทุกยี่ห้อจะทำคลาดระดับ Corperate หรือ Enterprise ซะมากครับ


Update 00:04 / 29:12:2004 เรามาพูดถึงต้นทุนของชิ้นงานในการพิมพ์ออกมากันต่อ ถ้าจะให้ InkJet พิมพ์คมเท่า Laser คุณต้องจ่ายค่ากระดาษคุณภาพดีๆ ราคาแพงเพื่อจะได้คุณภาพงานพิมพ์เทียบเท่า Laser ครับเช่น

Laser – A4 ธรรมดา 0.05 บาท + ค่าผงหมึกต่อแผ่น 0.10 บาท = 0.15 บาท
InkJet – A4 High Quality Paper ราคา 2 บาท/แผ่น + ค่าหมึก 0.50 – 2 บาท/แผ่น = 2.50 บาทขั้นต่ำ ครับ

ปล. ด้านบนนี้ประมาณเอานะครับ และประมาณในการพิมพ์ขาวดำเท่านั้น

ลองคิดถึงการพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพ + เวลา + จำนวนครับว่าต้องใช้เงินเท่าไหร่สำหรับ InkJet ถึงจะเท่า Laser ครับ

แต่ถ้ามองในผู้ใช้ตามบ้านนั้นคงใช้เครื่องราคาถูกก่อนแน่นอน เพราะคาดหวังเพียงเพื่อใช้งานได้ในราคาที่จับต้องได้ในการพิมพ์ก่อนครับ ส่วนเรื่องรองคือค่าหมึกในตลับต่อไปนั้น แทบทุกคนได้ยินราคาแล้วลมแทบจับกันหมด เพราะซื้อทีเนี่ยก็ซื้อเครื่องได้ 1 เครื่องเลยทีเดียวครับ ….

มาเลือกเครื่องพิมพ์ก่อนนำไปใช้งานกันดีกว่า …. (ฉบับเน้นๆ เครื่องอิงก์เจ็ต)

         อุปกรณ์เอาต์พุตของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่โดยปกตินั้น คงหนีไม่พ้นที่จอภาพกับเครื่องพิมพ์ เพราะถ้าคอมพิวเตอร์ขาดอุปกรณ์เอาต์พุตแล้ว เจ้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่เกือบจะกลายเป็นเครื่องใช้ประจำบ้านชิ้นนี้ ก็คงไม่มีประโยชน์อะไรเลย

         ในส่วนของเครื่องพิมพ์ หากพิจารณากันแล้ว ในปัจจุบันมีอยู่หลากหลายประเภทด้วยกัน แต่เท่าที่นิยมใช้ในปัจจุบันสำหรับงานระดับโฮมยูส หรือว่าในสำนักงานขนาดเล็กแล้ว มีเพียงแค่ 3 ประเภทเท่านั้น คือ เครื่องเลเซอร์, อิงก์เจ็ต และดอตเมตริกซ์ สำหรับอย่างหลังในปัจจุบันได้ลดความนิยมลงมากทีเดียว เพราะว่าคุณภาพงานที่ได้ไม่ค่อยดีนักแต่ถึงอย่างไร แถมราคาแพงอีกต่างหากแต่ก็ยังมีความต้องการใช้อยู่มากทีเดียวเพราะการทำงานเอกสารในสำนักพิมพ์บางอย่าง เช่นการพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน,ใบส่งสินค้าที่ต้องการหลายๆ ก๊อปปี้ เครื่องดอตเมตริกซ์เป็นเครื่องประเภทเดียวที่รองรับงานประเภทนี้ได้เพราะว่าเป็นชนิดเดี่ยวที่สามารถทำได้ดี แต่ไม่แน่ในอนาคตอาจจะเครื่องพิมพ์ที่สามารถทำได้ดีกว่านี้อีกก็ได้

ก่อนซื้อต้องดูให้ดีก่อน

         หากว่าคุณเป็นคนหนึ่งที่จำเป็นต้องเลือกเครื่องพิมพ์มาใช้งาน ณ วันนี้ โดยที่ไม่มีความรู้อะไรมาก่อนเลยนั้น การไปเลือกหาสินค้าที่มาขายคงเป็นเรื่องยากทีเดียว เพราะเครื่องแต่ละแบบก็มีข้อดีแตกต่างกันออกไป และแต่ละแบบก็มีจุดด้อยแตกต่างกันอีกเช่นกันสำหรับเครื่องพิมพ์ในรุ่นในอดีต หลายรุ่นจากหลายๆ ยี่ห้อนั้น มักจะมุ่งเน้นไปที่การใช้งานภายใต้วินโดวส์เป็นหลัก ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ไปไหนมาไหนก็มักจะเห็นแต่เครื่องพิมพ์ที่สนับสนุนการใช้งานบนวินโดวส์ อย่างเดี่ยว แต่ในปัจจุบันนั้น ไม่เป็นเช่นนั้น เป็นที่น่ายินดีที่ตอนนี้แทบทุกรุ่นสามารถนำมาใช้ในระบบปฏิบัติการ Linux และ MAC ได้เกือบๆ ทุกรุ่นนั้นคงเป็นเพราะ มาตรฐานของ พอร์ต USB นั้นเองที่ทำให้เราสามารถทำงานได้ข้ามระบบได้ดีขนาดนี้นั้นเอง

         ซึ่งถ้ามองกลับมาดูคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานกันอยู่ในอดีตมาจนตอนนี้นั้นเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น โอเอสที่ใช้กันมากยังคงเป็นวินโดวส์อยู่เช่น เดิมหากแต่มีการใช้โอเอสอื่นกันมากขึ้น อย่างเช่น ลีนุกซ์ เป็นต้น ซึ่งด้วยเหตุผลนี้เองทำให้เครื่องพิมพ์หลายๆ ยี่ห้อจึงต้องออกแบบให้สามารถใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ได้เช่นกัน หรือในบางรุ่นก็ยังคงสนับสนุนการทำงานบนเครื่องแมคอินทอชอีกด้วย โดยมักจะสนับสนุนการใช้งานผ่านทางพอร์ต USB เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีบ้างเหมือนกันที่อาจจะสนับสนุนการใช้งานผ่านทางอื่น เช่น พอร์ตอินฟราเรด ซึ่งดูๆ ไปแล้วในอนาคตอันใกล้นี้การส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ผ่านทางพอร์ตอินฟราเรดนั้นดูไม่ค่อยสดใสนัก เพราะเครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยสนับสนุนเท่าที่ควร จะมีก็เพียงแค่รุ่นพิเศษเท่านั้นเอง ซึ่งตอนนี้เท่าที่เห็นจะเป็นรุ่นที่เรียกว่า พริ้นเตอร์โฟ้โต้ หรือเครื่องพิมพ์ภาพถ่าย นั้นเอง ซึ่งมีลักษณะและหลักการเดียวกับ อิงก์เจ็ตแต่ว่าทำงานได้เร็วกว่า ทำงานโดยไม่ต้องใช้คอมฯ และรวยกว่ารวมถึงประหยัดหมึกมากกว่าด้วย แต่ราคายังคงแพงอยู่มากเมื่อเทียบกับอิงก์เจ็ตธรรมดา แต่จริงๆก็เป็นขนิดเดียวกันเลยไม่ต้องเรียกแยกออกจากตระกูลอิงก์เจ็ตแต่กระการใด

         แต่ในอนาคตอาจจะคาดการณ์ได้ว่า การใช้เครื่องพิมพ์ผ่านทางพอร์ตอินฟราเรดคงจะได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น หากว่ามีการพัฒนาความเร็วให้สูงขึ้น แต่จริงๆ แล้วความสำคัญของพอร์ตอินฟราเรดนั้นเป็นแค่ทางเลือกเท่านั้นเอง ไม่ได้ถือเป็นปัจจัยสำคัญของการทำงานหลักๆ ของเครื่องพิมพ์นั้น ซึ่งรวมถึงเครื่องพิมพ์ที่สามารถรองรับหน่วยความจำอื่นๆ ด้วยไม่ว่าจะเป็น CompactFlash , SmartMedia , Secure Digital , Memory Stick , ฯลฯ

         การที่เราพิจารณาตัดสินใจเลือกเครื่องพิมพ์มาใช้งานนั้น ปัจจัยหลักๆ จะอยู่ที่ว่าเราต้องการนำเครื่องพิมพ์เครื่องนั้นมาทำงานอะไร และทำงานควบคู่กับอะไรบ้าง จากนั้นจึงค่อยมาพิจารณาที่ประสิทธิภาพและราคาของเครื่องพิมพ์กันอีกทีหนึ่ง สำหรับเครื่องพิมพ์ดอตเมตริกซ์นั้นถึงแม้จะได้รับความนิยมลดน้อยลง แต่อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ในการทำงานเอกสารหลายแบบยังคงต้องการเครื่องพิมพ์ประเภทนี้อยู่ ในการพิมพ์บิลต่างๆ สิ่งที่ต้องยอมรับสำหรับเครื่องดอตเมตริกซ์ก็คือเรื่องราคากับคุณภาพที่ไม่ค่อยจะไปทางเดียวกันนัก เพราะราคานั้นยังคงในหลักเกือบหมื่นขึ้นไป แต่คุณภาพงานพิมพ์ที่ได้ยังไม่สวยงามนัก แถมยังไม่มีลูกเล่นเหมือนเครื่องพิมพ์รุ่นอื่นๆ อีกด้วย (แต่ก็ชดเชยกับความสามารถที่ไม่มีในเครื่องแบบอื่นๆ)

         ส่วนเครื่องพิมพ์อีก 2 ประเภทที่ได้รับความนิยมกันอย่างมากในปัจจุบัน พร้อมทั้งมีการพัฒนาเทคโนโลยีกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนมากจะเป็นเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต เสี่ยส่วนใหญ่เพราะว่าตลาดมีความต้องการกว่าเครื่องพิมพ์เลเซอร์ ที่ต่างก็พยายามพัฒนาความละเอียดและความเร็วในการพิมพ์ให้สูงขึ้นกว่าเมื่อก่อน รวมทั้งยังพัฒนาคุณภาพงานและสีสันของภาพให้สมจริงมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันกับที่แต่ละบริษัทก็มีกระดาษเฉพาะงานมาให้เลือกใช้กันมากขึ้น เพื่อดึงประสิทธิภาพของตัวเครื่องพิมพ์ออกมาให้ได้มากที่สุดด้วยนั่นเอง และเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ก็พัฒนาการพิมพ์สีให้มีราคาถูกลงเพื่อให้สามารถนำมาสู้กับเครื่อง อิงก์เจ็ตได้ด้วย

         ซึ่งในส่วนของเครื่องพิมพ์เลเซอร์ มีการพัฒนาความละเอียดของการพิมพ์ขึ้นมาถึงระดับ 2,400 dpi แล้ว แต่ในรุ่นราคาถูก นั้นยังคง 600 dpi อยูาาซึ่งอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ถ้าเทียบกับราคาและความละเอียดที่คมชัดการเครื่องแบบอื่นๆ ในระดับความละเอียดที่เท่ากัน และมากกว่านั้นสำหรับในบางรุ่นนอกจากนี้แล้วสำหรับเครื่องพิมพ์เลเซอร์สีนั้นก็ยังมีให้เลือกใช้มากกว่าอดีตเช่นกัน แต่จุดเด่นที่สุดของเครื่องพิมพ์เลเซอร์ในระดับที่ใช้งานในสำนักงานขนาดเล็กหรือโฮมยูสนั้น จะอยู่ที่ความคมชัดและความคงทนของเอกสารที่พิมพ์ออกมารวมทั้งราคาต้นทุนต่อแผ่นที่ต่ำกว่าเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต จุดนี้เองที่นับว่าเป็นจุดขายหลักของเครื่องพิมพ์เลเซอร์ในระดับนี้ แต่ถ้าต้องการพิมพ์งานหลากหลายกว่าไม่ว่าจะเป็นรูปภาพที่มีสีสันสวยงาม พิมพ์เอกสาร หรือสั่งพิมพ์โดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือหรืออุปกรณ์ไร้สารอื่นๆ นั้นคงต้องหันมามองที่เครื่องอิงก์เจ็ตอย่างแน่นอน เพราะความอิสระในการใช้งานบวกกับเทคโนโลยีที่มีการพัมนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้คุณภาพงานที่ได้เหนือชั้นกว่าเดิมมาก แม้ว่าจะเป็นเครื่องรุ่นเล็กก็ตาม แต่ข้อเสียของเครื่องอิงก์เจ็ตก็มีมากอยู่เช่นกัน ที่เห็นได้ชัดคือราคาหมึกหรือราคาต้นทุนต่อแผ่นที่ค่อนข้างสูง และเครื่องยังมีประสิทธิภาพต่ำลงเมื่อใช้ในระยะยาวอีกด้วย แต่ถ้าท่านผู้ใช้ใช้เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ตที่สามารถเจิมหมึกได้โดยเป็นรุ่นที่คนส่วนใหญ่เติมหมึกแล้วไม่มีปัญหากับเครื่องพิมพ์ เช่นหัวตัน เป็นต้น ก็จะประหยัดไปได้มากทีเดียว ซึ่งบริษัทที่ผลิตเครื่องพิมพ์จะไม่แนะนำให้เติมด้วยกันทั้งนั้นแต่ว่าถ้าไม่มีปัญหาผมว่าเป็นทางเลือกที่ประหยัดไปได้มาก

         ประการสำคัญอีกอย่างหนึ่ง นอกเหนือจากการเลือกใช้เครื่องพิมพ์ให้เหมาะสมกับงานอย่างที่กล่าวไปแล้วก็คือค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ การพิจารณาเลือกใช้เครื่องพิมพ์นั้นจะต้องคำนึงค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ด้วยเสมอ สำหรับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ต้นทุนต่อแผ่นจะไม่สูงมากนัก และในบางรุ่นยังเปลี่ยนเฉพาะผงหมึก ไม่เปลี่ยนดรัมทำให้ราคาหมึอต่ำลงกว่าเดิม ซึ่งนับเป็นปัญหาใหญ่เช่นกัน เพราะเมื่อดรัมมีอายุนานขึ้นคุณภาพของงานงานก็จะต่ำลงไปด้วย และเมื่อถึงเวลาเปลี่ยนดรัมจะเห็นว่า ราคาดรัมสูงกว่าราคาหมึกมากทีเดียว สำหรับเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ตนั้นถึงจะเทียบต้นทุนต่อแผ่นกับเลเซอร์ไม่ได้ก็ตาม ( หากใช้เครื่องเลเซอร์พิมพ์ในปริมาณมากๆ จะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าอิงก์เจ็ตมาก ) เพราะด้วยราคาหมึกเทียบต่อจำนวนหน้าแล้วเห็นได้ชัดว่ามีราคาสูงกว่า โดยเฉพาะหลายยี่ห้อที่ราคาหมึกแพงเกือบเท่าราคาเครื่องเลยทีเดียว ปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายจึงนับเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ในขณะที่พิจารณาซื้อเครื่อง

เทคโนโลยีของเครื่องพิมพ์ในปัจจุบัน

         ถ้าพิจารณาเฉพาะกลุ่มเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ตในปัจจุบันจะเห็นว่ามีให้เลือกหลายระดับ ตั้งแต่เครื่องรุ่นเล็กในราคาไม่กี่พันบาทไปจนเกินหมื่นก็มี ซึ่งด้วยช่วงราคาที่ค่อนข้างกว้างนี่เองเป็นตัวบอกเราได้ว่า เครื่องอิงก์เจ็ตมีให้เลือกหลายแบบอย่างเช่น ของเอปสันแบ่งประเภทของเครื่องอิงก์เจ็ตเอาเป็น 2 กลุ่มชัดเจน คือในตระกูล Stylus Color และ Stylus Photo ซึ่งทำให้ 2 แบบนี้ออกแบบมาให้รองรับการทำงานคนละอย่างกันคุณภาพงานที่ได้จากเครื่อง Stylus Color นั้นอาจจะสู้ การพิมพ์ด้านภาพถ่ายกับเครื่อง Stylus Photo ไม่ได้ แต่ก็มีความเร็วที่เหนือกว่ามาก เพราะว่าสามารถทำความเร็วได้มากกว่าในการพิมพ์ด้านสิ่งพิมพ์ นั้นเอง เช่น ในรุ่นพกพานอกจากจะมีขนาดเล็กและขนาดเบาแล้วยังให้ประสิทธิภาพเทียบเท่ากับเครื่องขนาดใหญ่ๆ อีกด้วย แต่ว่าความละเอียดก็ดีเรื่องนึง และ HP ก็มีการแบ่งเป็น DeskJet และ PhotoSmart ส่วนยี่ห้ออื่นๆ นั้นยังคงไม่แบ่งการทำตลาดแต่ประการใด ซึ่งใช้เพียงการเปลี่ยนตลับหมึกจากธรรมดาเป็นตลับหมึก Photo เท่านั้นทำให้ประหยัดกว่า แต่ทำให้เราต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นในการซื้อตลับหมึกใหม่อีกนั้นเอง (หรือถ้าใครพอทราบในส่วนยี่ห้ออื่นๆ อีเมล์มาแบ่งปันความรู้กันได้ครับ หรือโพสแสดงความคิดเห็นเพื่อเป็นการแบ่งบันความรู้ได้ครับ)

         เทคโนโลยีอย่างแรกที่เห็นได้ชัดและเป็นตัวแปรสำคัญที่หลายๆ คนใช้ตัดสินใจในการเลือกเครื่องพิมพ์เลย นั่นคือความละเอียด ซึ่งความละเอียดของเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ตในตอนนี้จะอยู่ที่ 600×600 dpi เป็นหลัก นอกจากนั้นจะเป็นรุ่นใหญ่ที่มีความละเอียดสูงกว่า อย่างเช่น ของเอปสันมีความละเอียดขึ้นไปถึงระดับ 1,440×2,880 dpi ส่วน Canon และ HP นั้นมีความละเอียดขึ้นไปถึง 600×1,200 dpi เช่นกัน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะเทคโนโลยีสมัยใหม่ ช่วยให้สามารถพิมพ์ได้ที่ความละเอียดสูงขึ้น และเมื่อพิมพ์ได้ละเอียดขึ้น ก็หมายความว่างานที่ได้จะคมชัดตามไปเช่นกัน แต่นั่นก็เป็นเพียงตัวแปรหนึ่งเท่านั้น เพราะการที่เครื่องพิมพ์จะให้คุณภาพงานดีหรือไม่ ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอีกหลายอย่างด้วยกัน

         ส่วนในเรื่องของความเร็วในการทำงานนั้น ยังไม่พัฒนาจนแตกต่างไปจากเดิมมากนัก อาจจะเป็นเพราะว่าต่างก็ไปเร่งพัฒนาตรงที่คุณภาพงานให้ดีขึ้นกว่าเมื่อก่อน ดังนั้นถึงจะพัฒนาด้านความเร็วให้เร็วขึ้นเครื่องก็ยังต้องทำงานมากขึ้น ความเร็วจึงไม่แตกต่างไปจากเดิมนักซึ่งมีตั้งแต่ 4 – 5 หน้าต่อนาทีไปจนถึง 17-24 หน้าต่อนาทีหรือ มากกว่านั้น อย่างเช่น เครื่อง Deskjet 5550 จาก HP นั้นสามารถพิมพ์สีได้เร็วถึง 12 แผ่นต่อนาที และสีดำเร็วถึง 17 แผ่นต่อนาที ในขณะที่มีความละเอียดสูงสุดอยู่ที่ 4,800×1,200 dpi ทีเดียว อย่างไรก็ตาม ในกรณีของเครื่องพิมพ์ภาพถ่ายอย่างเช่นในตระกูล PhotomSmart , Stylus Photo หรือว่าเครื่องจาก Lexmark ,Canon (ที่ใช้หมึก Photo) เมื่อทำงานพิมพ์ภาพถ่าย ส่วนใหญ่แล้วบริษัทจะออกแบบเครื่องมา โดยเน้นคุณภาพงานเป็นหลัก และให้ความสำคัญด้านความเร็วน้อยมาก จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมเราจึงเห็นเครื่องพิมพ์ภาพถ่ายราคาเกินหมื่นแต่กลับมีความเร็วต่ำมากในการพิมพ์ภาพถ่าย แต่พิมพ์สิ่งพิมพ์ได้เร็วกว่า เพราะสิ่งที่ชดเชยกันก็คือ คุณภาพงานที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงนั่นเอง ในการพิมพ์ภาพถ่ายนั้นเอง

         อีกอย่างหนึ่งที่เริ่มเป็นที่สมใจกันในปัจจุบัน ก็คือความเข้ากันได้กับอุปกรณ์อื่นๆ หรือสามารถพิมพ์ผ่านโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือได้ ในตอนนี้คงไม่น่าแปลกใจนักที่จะเห็นเครื่องพิมพ์ทุกรุ่นสามารถใช้บนวินโดวส์ได้ แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ เครื่องพิมพ์บางรุ่นแม้แต่รุ่นเล็กยังสนับสนุนการใช้งานบนลีนุกซ์หรือ แมคอินทอช ในขณะที่รุ่นใหญ่ๆ บางรุ่นกลับไม่สนับสนุนการทำงาน ในการสนับสนุนการข้ามระบบ ซึ่งจากเครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่แล้วพอจะคาดการได้ว่าในอนาคตอันใกล้ เครื่องพิมพ์แทบทุกรุ่นที่ออกมาใหม่นั้นน่าจะสนับสนุนการทำงานทั้งบนวินโดวส์ ลีนุกซ์และ แมคอินทอชได้ทั้งหมด โดยเฉพาะลีนุกซ์ที่บริษัทต่างๆ เคยมองข้ามไปในตอนนี้ก็เริ่มกลับมาให้ความสำคัญกันมากขึ้น ส่วนเครื่องแมคอินทอชนั้นสามารถต่อเข้ากลับเครื่องพิมพ์ได้โดยตรง ผ่านทางทางพอร์ต USB เช่นกัน ซึ่งด้วยการออกแบบเครื่องเช่นนี้ ทำให้มีความสะดวกและอิสระในการใช้งานมากยิ่งขึ้น

         นอกจากนนี้ ในบางรุ่น อย่างเช่น Deskjet รุ่นสูงๆ (คงต้องดูรายละเอียดเอาเองนะครับ) และรวมถึงรุ่น Photo แทบทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ในตอนนี้ นั้นสนับสนุนการส่งข้อมูลผ่านทางพอร์ตอินฟราเรด ทำให้การพิมพ์เอกสารไม่จำกัดอยู่เพียงแค่เอกสารที่มาจากเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ยังรองรับการสั่งงานจากเครื่อง PDA, Pocket PC, WebTV และยังสามารถสั่งงานโดยตรงจากกล้องดิจิตอลได้อีกด้วย ช่วยให้การทำงานกับอุปกรณ์มือถือต่างๆ ทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้นหรือแม้แต่เครื่องโน้ตบุ๊กก็ตามพอร์ตอินฟราเรดที่ทำให้การทำงานกับเครื่องโน้ตบุ๊กคล่องตัวยิ่งขึ้นอีกด้วย

         ที่พูดถึงทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนของเครื่องพิมพ์เท่านั้นเอง แต่ในความเป็นจริงแล้วส่วนประกอบที่ต้องมีการพัฒนาให้ดีควบคู่กันไปกับเครื่องพิมพ์ ก็คือกระดาษหรือสื่อที่ใช้พิมพ์และหมึกพิมพ์ ในส่วนของหมึกพิมพ์นั้นสามารถมองแยกออกไปเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ สำหรับเครื่องเลเซอร์และเครื่องอิงก์เจ็ต ซึ่งในเครื่องอิงก์เจ็ต ต่างก็พยายามพัฒนาให้หมึกมีหยดเล็กที่สุด เพื่อความคมชัดของภาพที่ดีที่สุดอย่าง Canon และ Epson สามารถทำให้หมึกมีปริมาตรต่อหยดเล็กเพียง 3-4 พิโคลิตร เท่านั้น ทำให้สามารถสร้างภาพที่ชัดเจนขึ้นมาได้ไม่ยากนัก อีกทั้งยังมีการคิดค้นเทคนิคต่างๆ สำหรับหมึกพิมพ์อีกด้วยเพราะนอกจากความคมชัดของภาพแล้วยังจำเป็นต้องเก็บเอาไว้ได้นานอีกด้วย

         การออกแบบหมึกจากหลายยี่ห้อ จึงพยายามทำให้มีอนุภาคเล็กลงมาก อย่างเอปสันพัฒนาให้ของแข็งในอนุภาคเล็กถึง 0.67 ไมครอน (หรือน้อยกว่านี้) แล้วเคลือบด้วยเรซินด้านนอก ทำให้เมื่อเก็บเอาไว้อนุภาคของหมึกจะไม่รวมกันเป็นอนุภาคใหญ่ๆ และเมื่อนำมาใช้งานเรซินในอนุภาคนี้จะเป็นสารเคลือบด้านนอกอีกครั้ง ทำให้ผลงานมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น หรือหากมาดูที่โทนเนอร์ของแคนนอนตัวหมึกจะเคลือบ WAX เอาไว้ภายในอนุภาคเลยทำให้เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วจะเหมือนมี WAX เคลือบให้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องใช้ Siliconoil อีกต่อไป ทำให้ภาพที่ได้ดูสมจริงมากขึ้น

         ส่วนด้านซอฟต์แวร์เอปสันก็พัฒนาความสามารถในการจัดการกับรูปภาพโดยใช้ PhotoEnhance เพื่อแก้ไขการพิมพ์ภาพความละเอียดต่ำที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตให้คมชัดขึ้น และยังสามารถปรับโหมดสีพร้อมทั้งแก้ไขความชัดเจนของภาพได้อีกด้วย ส่วนของแคนนอนก็ไม่แพ้กัน ในด้านหมึกนั้นก็นำ WAX เข้าไปไว้ในอนุภาคเพื่อให้หมึกมีสารเคลือบตัวเองได้ทันทีหลังจากพิมพ์เสร็จ หรือแม้แต่การควบคุมน้ำหมึกที่แคนนอน ก็ใช้เทคโนโลยี MicroFine Droplet ทำให้ขนาดของหมึกเล็กลงถึง 0.3-4 พิโคลิตร(หรือน้อยกว่า)

         ส่วนทางด้านเครื่องพิมพ์เลเซอร์แคนนอนใช้ WPS (Windows Printing System ) เป็นตัวประมวลผล นั่นหมายความว่า งานทั้งหมดจะยกมาให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รันวินโดวส์เป็นตัวจัดการ แล้วส่งงานที่ประมวลผลเสร็จแล้วออกไปที่เครื่องพิมพ์ วิธีนี้ทำให้เกิดข้อดีคือเครื่องพิมพ์ไม่จำเป็นต้องมีหน่วยความจำมากอีกต่อไป และยังทำงานได้เร็วอีกด้วยแต่อย่างไรก็ตาม ระบบยังคงขึ้นอยู่กับความสามารถของคอมพิวเตอร์อีกเช่นกัน

         แต่ข้อเสียที่เห็นได้ชัดก็คือ ทำให้เกิดข้อจำกัดที่เครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีนี้ จะทำงานได้เฉพาะกับวินโดวส์เท่านั้น สุดท้ายที่ลืมไม่ได้ก็คือแคนนอนคิด Think Thank ขึ้นมา โดยแยกหมึกสีออกจากกันทำให้ใช้หมึกได้อย่างคุ้มค่าไม่จำเป็นต้องทิ้งหมึกอีก 2 สีไปเปล่าๆ เมื่อสีหนึ่งหมด และยังออกแบบให้ตลับหมึกใสเพื่อดูระดับหมึกได้ด้วยตัวเอง พร้อมทั้งมีระบบตรวจสอบปริมาณหมึกโดยใช้แสงอีกเช่นกันซึ่งไม่ได้มีแต่ Cannon ที่ใช้แล้วในตอนนี้เพราะว่าในรุ่น Photo ในเกือบๆ ทุกรุ่นนั้นมีการใช้ตลับหมึกแยกสีกันหมดแล้วด้วย

เครื่องพิมพ์ในอาณาจักรแคนนอน ( Canon )

         คงปฏิเสธไม่ได้ว่า แคนนอนก็เป็นผู้นำสำหรับเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ตอยู่เช่นกัน ในรุ่นที่ใช้กันอยู่ทั่วไปอย่าง Canon BJC – S200SPx
มีความละเอียดไม่ต่างจากยี่ห้ออื่นคือมีความละเอียด 2880 X 720 dpi และความเร็ว 5 และ 3 หน้าต่อนาทีในการพิมพ์สีดำและสีตามลำดับ แต่จุดเด่นนั้นอยู่ที่ฟีเจอร์ Think Thank ที่แยกตลับหมึกสีออกจากกันทำให้ประหยัดหมึกได้มากทีเดียวและ เทคโนโลยีมหัศจรรย์ภาพสวยใหม่ด้วย เทคโนโลยี Vivid Photo แต่งแต้มงานพิมพ์ให้เจิดจ้ายิ่งขึ้น และยังสามารถเชื่อมต่อได้กับ PC และ MAC อีกด้วย

         ส่วนในงานพิมพ์ภาพถ่ายนั้น แคนนอนมีเครื่องพิมพ์ที่น่าสนใจอยู่ 2 รุ่นคือ BJC-520 และ BJC-820 ซึ่งดูเหมือนจะเป็นตระกูลเดียวกันที่ไม่ค่อยต่างกันมาก แต่เครื่องทั้ง 2 ต่างกันโดยสิ้นเชิง ที่ความเร็วในการพิมพ์ แบบครึ่งต่อครึ่ง แต่ราคาไม่ต่างกันมาก สำหรับ BJC-820 นั้นเป็นเครื่องขนาดสำหรับการใช้งานระดับมืออาชีพ แต่ว่าโดยสเปคแล้วนั้น อยู่ในระดับโฮมยูสกึ่งมืออาชีพ ส่วน BJC-520 นั้นเหมาะสมมากกว่าโดยให้ความละเอียดสูงสุดที่ 2,400×1,200 dpi โดยที่ BJC-820 นั้นมีเทคโนโลยี Microfine Droplet ให้ขนาดหยดหมึกเล็ก เพียง 4 พิโคลิตร ช่วยเพิ่มความละเอียดในการพิมพ์ภาพสี ส่วน BJC-520 เทคโนโลยี Microfine Droplet ให้ขนาดหยดหมึกเล็ก เพียง 5 พิโคลิตร ช่วยเพิ่มความละเอียดในการพิมพ์ภาพสี ซึ่ง ดูๆ แล้วไม่ต่างกันมากแต่จริงๆแล้วต่างกันในการไล่สีที่สู้กันไม่เลย

         Microfine Droplet Technology คือท่อสีแบบหักมุม ท่อหมึกขนาดเล็กลงแล้วเลื่อนฮีทเตอร์มาไว้ที่ปลายสุดใกล้กับหัวฉีด เพื่อลดปริมาตรหมึกที่อยู่ด้านหน้าของฟองอากาศขณะพิมพ์จะดันหมึกได้เล็กลงกว่าเดิม

         Multi-Nozzie เป็นการเพิ่มจำนวนหัวฉีดหมึกให้มากถึง 256 หัวต่อ 1 สีและยังจัดวางหัวฉีดแต่ละหัวไว้ไขว้กันในรูปแบบพิเศษด้วย ซึ่งทำให้หัวฉีดสามารถทำงานในแนวตั้งได้ละเอียดยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้พิมพ์เร็วขึ้นอีกด้วย

เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ตจาก HP

         ทางเอชพีนั้นก็มีความเชื่อต่างกับแคนนอน เพราะคิดว่าเครื่องพิมพ์ที่ดีต้องให้รายละเอียดสีได้ดีและให้สีได้มาก รวมทั้งยังควรจะต้องมีหน่วยความจำมากๆ อีกด้วย และหัวพ่นหมึกควรจะติดอยู่กับตลับหมึกเพื่อจะได้เปลี่ยนทุกครั้ง (แต่ก็ต้องแลกกับราคาที่สุดๆของตลับหมึกด้วยเช่นกัน) คุณภาพงานก็จะดีสม่ำเสมอตลอดเวลา และสุดท้ายก็คือ เครื่องต้องทำงานได้ดีในทุกโหมด กับสื่อทุกๆ แบบโดยไม่จำเป็นต้องใช้ dpi สูงๆ เพราะทำให้เปลืองหมึกและเสียเวลาในการพิมพ์มากขึ้น ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าเครื่องพิมพ์จากเอชพีส่วนใหญ่แล้วจะมีความละเอียดอยู่ในระดับกลาง – สูงพิเศษ แต่เอชพีจะใช้เทคโนโลยี PhotoRet แทน

         PhotoRet (Photo Resolution Enhancement Technology) จะมีหลาย Version มากครับ เช่น PhotoRet I , PhotoRet ll , PhotoRet 3 และ PhotoRet 4 อย่าง PhotoRet 3 ทำให้งานพิมพ์ที่ความละเอียด 600×600 dpi มีคุณภาพเทียบเท่า 2,400×1,200 dpi เลยทีเดียวเพราะใช้วิธีการผสมสีที่จุดสูงถึง 29 ชั้นต่อจุด 17 ระดับต่อสี ทำให้สร้างเฉดสีได้มากถึง 35,000 สีที่จุดเดียวโดยไม่จำเป็นต้องสร้าง Halftone จากหลายๆ จุดเพื่อลวงตาให้เป็นโทนสีหลายๆ แบบต่างกันออกไป และ PhotoRet 4 ในรุ่นใหม่ๆ เช่น Dj5550 , 450series , PhotoSmart 7550,130 PSC 2110 และรุ่นใหม่ๆ นั้นใช้การพิมพ์สี 6 สี ได้แก่สี Cyan, Magenta, Yellow, Black, Light Magenta และ Light Cyan ทำให้ได้ภาพที่มีความละเอียดของภาพที่ 32 ชั้นต่อจุด 256 ระดับต่อสี ทำให้สร้างเฉดสสีได้ 1.2 ล้านสี ทีเดียว (มากกว่า PhotoRet 3 ถึง 350 เท่า) แต่ว่าสิ่งที่ตามมาคือจำเป็นต้องใช้ในตลับหมึกเฉพาะด้วยนั้นเองครับ และการพิมพ์แบบนี้มีหยดหมึกที่ 5 พิโคลิตรครับ ซึ่งใหญ่ แต่ว่าทำให้เปลื้องหมึกน้อยกว่า เพราะว่าชดเชยกับการไล่ระดับสีที่สุดยอดกว่า

         เครื่องพิมพ์ที่น่าสนใจจากเอชพี ( Hewlett-Packard ) เอชพีมีเครื่องพิมพ์ด้วยกันหลายรุ่นทีเดียว โดยเฉพาะในกลุ่มของเครื่องพิมพ์ Deskjet ที่มีให้เลือกหลายรุ่นอย่างเช่น 342x Series ซึ่งพิมพ์ที่ 2400x1200dpi ด้วย PhotoRet ll ความเร็วในการพิมพ์อยู่ที่ 10 หน้าต่อนาทีในการพิมพ์สีและสีดำ ส่วนรุ่นใหญ่อย่าง Deskjet 5550 ซึ่งมีความเร็วสูงถึง 17 หน้าต่อนาทีในการพิมพ์สีดำและ 12 นาทีในการพิมพ์สีและความละเอียดที่ทำได้สูงถึง 4,800×1,200 dpi ด้วยเทคโนโลยี PhotoRet 4 หรือนอกจากนั้นตัวเครื่องยังมีพอร์ตอินฟราเรด เพื่อสั่งงานโดยตรงจากอุปกรณ์มือถือต่างๆ และ สามารถรองรับหน่วยความจำอื่นๆ ด้วยไม่ว่าจะเป็น CompactFlash , SmartMedia , Secure Digital , Memory Stick , ฯลฯ หรือจากพอร์ตอินฟราเรดของเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย และยังสามารถเพิ่มอุปกรณ์พิมพ์ในโหมด Deplex Mode หรือพิมพ์ 2 หน้าอัตโนมัติได้

เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ตจากเอปสัน ( Epson )

         เครื่องพิมพ์ยี่ห้อนี้ได้รับความนิยมกันอย่างสูง และก็ได้รับการยอมรับอีกด้วยว่าให้คุณภาพงานพิมพ์ที่ดีมากทีเดียว แม้ว่าจะมีข้อเสียตรงที่หัวพ่นหมึกนั้นติดอยู่ที่เครื่องพิมพ์ทำให้ส่งผลไม่ดีในการใช้งานระยะยาว หรืออาจจะเกิดปัญหาเมื่อไม่ได้ใช้งานไปซักระยะหนึ่ง แต่ถึงอย่างไรเมื่อหักลบกับข้อดีแล้วก็นับว่าเป็นเครื่องที่น่าสนใจไม่น้อยอย่าง Epson Stylus Color C61 ซึ่งเหมาะกับการใช้งานทั่วๆ ไปความเร็วของเครื่องอยู่ที่ 14 หน้าต่อนาทีทั้งสีและขาวดำ และตัวเครื่องมีความละเอียดถึง 2,880×720 dpi

         นอกจากนี้แล้วไดรเวอร์ของเครื่องยังสามารถสั่งพิมพ์ลายน้ำทับมาในเอกสารได้ทันทีอีกด้วย หรือแม้แต่จะสเกลเพื่อทำหนังสือคู่มือก็ได้เช่นกัน ส่วนเครื่องพิมพ์ภาพถ่ายในตระกูล Stylus Photo ที่น่าสนใจคือ Epson Stylus Photo 830 ซึ่งความละเอียดที่สูงถึง 2,880×720 dpi และทำได้สูงถึง 5760 dpi และในรุ่น Stylus Photo โดยส่วนใหญ่จะมีข้อดีกว่าตรงที่สนับสนุนการใช้งานกับ CompactFlash และ PC Card ได้โดยตรง และไม่ต้องผ่านคอมพิวเตอร์ก็สามารถพิมพ์ภาพถ่ายได้ทันที

         Advanced Micro Piezo เป็นทำให้เหมือนกับการยิงธนูโดยที่หัวพิมพ์จะมีแรงดึงน้ำหมึกถอยหลัง แล้วจึงพ่นน้ำหมึกออกไปซึ่งทำให้สามารถควบคุมปริมาณและขนาดของน้ำหมึกได้ โดยเครื่องจะทำงานให้เองโดยอัตโนมัต

         UMD ( Ultra Micro Dot ) ที่ทำให้หยดหมึกมีขนาดเล็กมากถึง 3 พิโคลิตร

         VSDT ( Variable-size Droplet ) ที่ทำให้เครื่องสามารถปรับขนาดจุดได้หลายระดับ โดยเครื่องสามารถพิมพ์ได้ทั้งจุดเล็กและใหญ่ ทำให้ภาพที่ได้มีความคมชัดที่สุดและยังทำให้มีความเร็วสูงขึ้นอีกด้วย

เปิดคลังเครื่องพิมพ์เล็กซ์มาร์ก ( Lexmark )

         เครื่องพิมพ์รายนี้มีอยู่หลายรุ่นเหมือนกัน แต่ที่น่าสนใจน่าจะตกไปอยู่ที่ Z45Se ที่ให้คุณภาพงานพิมพ์ระดับภาพถ่ายความเร็ว 9 หน้าต่อนาที และความละเอียดที่ 4,800×1,200 dpi และที่ 15 หน้าต่อนาที่ในการพิมพ์สิ่งพิมพ์ นอกจากนั้นตัวเครื่องพิมพ์ยังสามารถพิมพ์งานขนาดใหญ่กว่าขนาดตัวเครื่องโดยการพิมพ์ลงในเอกสารหลายๆ แผ่นเป็นส่วนๆ ในขณะเดียวกันก็ยังย่อขนาดเพื่อพิมพ์เอกสารหลายๆ หน้าลงบนเอกสารแผ่นเดียวได้เช่นกัน ส่วนรุ่นเล็กลงมาก็คือ Z32 ซึ่งก็มีความสามารถไม่ต่างกันนัก แตกต่างกันที่ความเร็วที่ช้ากว่ากันนิดหน่อย แต่ว่า ความละเอียดสูงสุดก็ได้แค่เพียง 2,400×1,200 dpi

         Excimer เป็นเทคโนโลยีที่ นำมาใช้ในเครื่องรุ่นใหม่ๆ โดยการใช้แสงเลเซอร์ในการผลิตเพื่อให้เกิดรูทำให้รูนั้นเล็กลง

         Variable drop size เป็นเทคโนโลยีในการทำให้สามารถปรับขนาดของหยดหมึกตามลักษณะการพิมพ์ เช่นถ้าต้องการความละเอียดสูงก็จะทำการปรับให้หยดหมึกเล็กลง แต่ถ้าพื้นนั้นๆ ต้องการความละเอียด น้อยก็จะปรับให้หยดหมึกใหญ่ขึ้นโดยตัวมันเอง

         ที่ร่ายยาวมาทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้เห็นภาพรวมของทุกยี่ห้อ ซึ่งจะเห็นได้ว่า เครื่องพิมพ์ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพสูงมาก โดยเฉพาะเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ตที่สามารถพิมพ์เอกสารได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเท็กซ์หรือรูปภาพ ในระดับภาพถ่าย อีกทั้งยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เครื่องรองรับการทำงานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์มือถืออุปกรณ์ Compact Flash, PC Card และ SmartMedia หรือแม้แต่กล้องดิจิตอลได้ เมื่อรวมกับเทคโนโลยีการพิมพ์ภาพในระดับภาพถ่ายแล้วเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ตสามารถรองรับกล้องดิจิตตอลระดับ 2-3 ล้านพิกเซลได้สบายๆ

         แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการเลือกว่า เครื่องพิมพ์แบบใด หรือรุ่นใดเหมาะสมที่สุดสำหรับเราก็คือ ควรจะรู้ถึงความต้องการของตัวเองอย่างถ่องแท้ว่า จะนำไปใช้งานแบบใด