Innergie mMini Combo 15W AC Duo USB ชาร์จ Asus Nexus 7 ไม่ได้!

Innergie mMini Combo 15W AC Duo USB (15AC) ตัว Wall Charger ที่สามารถชาร์จ iPad ได้ 2 port พร้อมกันกลับไม่สามารถชาร์จ Asus Nexus 7 ได้ ><" สรุปมัน 2 มาตรฐานนี่หว่า!!!

ตอนแรกนึกว่าสายมีปัญหาสรุปลองชาร์จไล่ตามนี้เลย

  1. เสียชาร์จกับ Wall Charger ของ BlackBerry ก็ชาร์จเข้าปรกติ
  2. เอาสาย microUSB ที่ให้มากับ Nexus 7 ต่อกับตัว Notebook ช่องปรกติก็ชาร์จได้
  3. เปลี่ยนสายเป็นสาย Sync ของ BlackBerry (microUSB) ที่มีอยู่ ต่อเข้ากับ Charger ที่ให้มาพร้อมกับ Nexus 7 ก็ชาร์จได้
  4. นึกว่าตัว Innergie มันเสีย เลยเอาสาย Dock Connector ของ iPad เสียบชาร์จตัว iPad 2 มันก็ชาร์จ iPad 2 ได้
  5. เอาสายทีให้มากับ Nexus 7 ต่อกับ Innergie แล้วชาร์จโทรศัพท์ Oppo Find 3 ก็ชาร์จเข้า

สรุปสาย microUSB ไม่เสีย ตัว Charger ที่ให้มากับ Nexus 7 ก็ไม่เสีย เอ้าาา อะไรของม้านนนนน ><”

ตอนนี้จนปัญญาไปเลย

สุดท้ายผมเปิด Google ไล่หาคนที่เจอปัญหานี้แล้วก็เจอครับ มีคนทักเรื่องนี้ไว้ที่ Customer Review: Does not charge the Nexus 7! ใน Amazon ที่ตัวสินค้า Innergie mMini Combo 15W AC (Wall) Duo USB Charging Kit (ADP-15AC AA) ตามด้วยบทสรุปทั้งหมดของเรื่องที่ [SOLVED] Nexus 7 charger/cable issues ไม่ขอแปลแล้วกัน เรื่องมันยาว ตามไปอ่านกันเอาเอง บอกได้เลยว่าเยอะมาก!!

สรุปชาร์จไม่ได้ ซึ่งใน review ดังกล่าวที่แนะนำเค้าให้ซื้อ Naztech Micro USB Charging Cable มาใช้ร่วมกับ Innergie แล้วจะชาร์จได้ เพราะสายทำให้ตัว Charger ทำงานเป็น AC charging mode ให้เราได้เหมือนกับสายของ Dock Connector ของ Apple

ขยายความก็คือ สาย microUSB ปรกติและที่แถมมาให้กับ Nexus 7 มันจะเป็น USB/Data Mode ซึ่ง Charger ที่ใช้ได้กับอุปกรณ์ของ Apple แล้วเอามาใช้กับ USB/Data Mode มักจะชาร์จไม่ได้ เพราะกระแสไฟไม่พอ เนื่องจาก USB/Data Mode มันจ่ายไฟ 0.5A แต่ด้วยข้อกำหนดของตัว Charger ที่ใช้กับอุปกรณ์ของ Apple มันไปดัดแปลงวงจรบางตัวให้ปรับเป็น AC charging mode ที่ตัว Charger เมื่อต่อกับสาย Dock Connector ให้ได้เลย (สองมาตรฐานชัดๆ) แต่กับ microUSB ปรกติมันจะไม่ทำให้ บางตัวมันอาจจะโง่ๆ จ่ายไฟไปเลยอะไรแบบนั้นอันนี้อันตรายมากกว่าเพราะไม่มีกำหนดกระแสไฟที่เหมาะสม อาจทำให้เกิดความร้อนเกินและทำให้แบตบวมได้

ดังนั้นทำให้มันอาจมีปัญหาชาร์จไฟกับ Nexus 7 ซึ่งต้องระวังในการซื้อให้ดีๆ จริงๆ ก็อาจจะมีปัญหากับมือถือหรืออุปกรณ์แนวๆ นี้เหมือนกัน ในตัวอย่างเค้าก็บอกว่า Samsung Galaxy Nexus ก็เจอปัญหานนี้และเห็นว่าทำให้การชาร์จไฟช้าลงเพราะ AC charging mode นั้นจ่ายไฟได้ที่ 1A-2A ซึ่งมันจะปรับได้ตามอุปกรณ์ที่ต่อใน Charger แต่ถ้าเป็น USB/Data mode มันจะจ่ายไฟที่ 0.5A เท่านั้น (ตามมาตรฐาน USB ปรกติ)

ว่างๆ จะมาคุยเรื่องนี้กันผมเริ่มเข้าใจอะไรพวกนี้มากขี้นแหละ แต่มันจะมีกี่คนที่รู้วะเนี่ย ><”

IMG_20120429_143222
Innergie mMini Combo 15W AC Duo USB (15AC)

ลองของแรง Express Card/34 for USB 3.0 ราคา 337 บาทกับ HDD Ext WD My Book USB 3.0

ก่อนเข้าเรื่องก็ดูลำดับความเร็วของ Port ต่างๆ ที่เรามักเจอๆ กันโดยทั่วไป (มันมีมากกว่านี้ แต่พวกนี้คือที่เราหาซื้อและใช้ๆ กันโดยทั่วไป) ตาม datasheet ว่ามันควรจะเร็วเท่าไหร่

  • Thunderbolt : 10Gb/s (1.2GB/sec)
  • Serial ATA (Gen 3 or SATA6) : 6Gb/s (714MB/sec)
  • SuperSpeed USB 3.0 : 5Gb/s (595MB/sec)
  • Serial ATA (Gen 2 or SATA3) : 3Gb/s (357MB/sec)
  • FireWire 800 (IEEE 1394b-2002) : 800 Mb/s (95.2MB/sec)
  • HighSpeed USB 2.0 : 480Mb/s (57.2MB/sec)
  • FireWire 400 (IEEE 1394-1995) : 400 Mb/s (47.6MB/sec)
  • USB Full Speed (USB 1.1) : 12 Mb/s (1.42MB/sec)
  • USB Low Speed (USB 1.0) : 1.5Mb/s (192 KB/sec)

ซึ่งเมื่อสัก 1-2 เดือนก่อนผมซื้อ WD My Book Essential External Hard Drives with USB 3.0 มา ก็ใช้ผ่าน USB 2.0 มาโดยตลอด ก็ยังไม่ได้ตื่นเต้นอะไร แต่เมื่อเดือนที่แล้วซื้อ Lenovo ThinkPad T420 มา มี Express Card/34 มาให้ ซึ่งตัวเครื่องไม่ได้ใส่ USB 2.0 มา ก็เลยยังไม่มีโอกาสได้ใช้ แต่ก็ยังได้ใช้ eSATA แทนผ่าน WD My Book Home Edition External Hard Drives ที่ตัวเองมีอยู่ 2 ตัว (มี 500GB และ 1TB อย่างละตัว) เอาไว้ทำงานบนนั้นได้ทันที ทำงานได้รวดเร็วดีครับ คือง่ายๆ มันเหมือนต่อ HDD ผ่าน SATA นั้นแหละครับ

พอใช้ๆ ไป เปิดๆ eBay ดูโน้นนี่ไปเรื่อยๆ (ทดสอบกิเลสตัวเอง) ก็ไปเจอเจ้านี่เข้า

IMG-20110823-00229

มันคือ Express Card 34 for USB 3.0 port with Fresco Logic FL1000 Series แน่นอนว่าตอนแรกก็เฉยๆ ดูราคาสักหน่อย ระบุไว้ 10USD นิดๆ แถม Free Shipping! งั้นจัดไปก่อน 1 ตัว ลองดูว่ามันจะแรงแค่ไหน คนส่งของเร็วหรือเปล่า (ส่งหรือเปล่าไม่ค่อยซีเรียส เพราะมันมีแนวทางในการอายัดอยู่)

IMG-20110823-00228

แล้วก็ได้มาเมื่อวานครับ ลองเสียบใส่และลง Driver ซึ่ง Windows 7 ไม่มี USB 3.0 Driver มาให้ ต้องลงเอง (หวังว่า Windows 7 SP2 จะใส่มาให้เลย) แล้วก็ลองทดสอบดูเทียบกับ eSATA

อย่างแรกผมก็ทดสอบความเร็วการส่งข้อมูลระหว่าง eSATA 3Gb/s และ WD My Book Home Edition External Hard Drives with eSATA 3Gb/s บนเครื่อง ThinkPad T420 ด้วย Windows 7 Ultimate 64 bit ก่อนแล้วกัน อันนี้เป็นพื้นๆ ไปเอาง่ายๆ

2011-08-24_005217

ความเร็วก็ตามมาตรฐานครับ HDD ต่อผ่าน eSATA มันก็ได้เท่าๆ กับ HDD Desktop 7200rpm โดยทั่วไปเลย

ต่อมาก็มาทดสอบความเร็วการส่งข้อมูลระหว่าง Express Card 34 for USB 3.0 port with Fresco Logic FL1000 Series (ราคา 339 บาท จาก eBay) และ WD My Book Essential External Hard Drives with USB 3.0 บนเครื่อง ThinkPad T420 ด้วย Windows 7 Ultimate 64 bit

2011-08-24_005833

จะเห็นว่าพอๆ กันดูจะช้าบ้าง เร็วบ้างสลับกัน แต่ที่แน่ๆ เอามาใช้งานได้พอๆ กัน!!! อืมมมม น่าสนใจ USB 3.0

หลายคนคงสงสัยว่า Data Rate เยอะๆ แบบนี้ ทำไมทำงานไม่ถึง ก็เพราะ HDD 7200rpm มันได้ Data Rate เต็มที่อยู่ช่วง 80MB/s – 120MB/s เท่านั้นแหละครับ ถ้าอยากได้มากกว่านี้ก็ต้องไปเล่น 10,000rpm ที่ราคาก็สูงขึ้นไปเยอะ เพราะฉะนั้น USB 3.0 ใน 1 port รองรับการต่อ HDD 7200rpm ได้อยู่ 3-4 ตัวในช่องเดียว เพราะธรรมชาติของ USB มันเป็นลักษณะ Share B/W ใน 1 port ครับ เพราะฉะนั้นการมี Data Rate ต่อช่องสูงๆ จึงจำเป็นมากในการใช้งานเชื่อมต่อแบบ HUB ซึ่งแตกต่างจาก USB 2.0 ที่มันส่งข้อมูลไม่ได้เต็มที่ ได้ประมาณครึ่งนึงของ Data Rate ของ HDD 7200rpm ต่อ 1 ตัวทำให้มี port USB 2.0 อยู่ 1 port ที่ต่อ HDD 7200rpm ก็แทบจะต่อแชร์กับ HDD ตัวที่ 2-3 ในการทำงานได้ยากด้วย

แต่ถ้าคุณเล่น SSD ตอนนี้ Data Rate ของ SSD นั้นส่งได้ที่เกือบๆ จะเต็ม USB 3.0 ไปแล้ว ที่ทดสอบกัน SSD แบบ SATA 6Gb/s (Gen 3) ส่งกันที่ 450Mb/s – 550MB/s แล้วครับ (ณ.วันที่ 24/8/2011)

อีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้อุปกรณ์ที่ต่อกับ USB Port แล้วใช้งานไม่ได้

ได้รับเมลมาว่า

    ขณะใช้งาน USB Device อย่าง H/D External ที่เอา H/D Notebook มาใส่กล่อง แล้ว copy ไฟล์ขนาดใหญ่ หรือใช้งานหนัก ๆ ก็ค้างไปเฉย เกิดเพราะอะไร ? หรือบางครั้งเสียบ H/D External หน้าเครื่องแล้วเปิดไม่ขึ้นแต่พอไปเสียบหลังเครื่องกลับใช้งานได้ปกติ ควรแก้ปัญหายังไง

ดูจากคำถามแล้วเนี่ย ต้องบอกก่อนว่าตามสเป็คของ USB 1.0 – 2.0 ที่อยู่ที่เครื่อง computer จะจ่ายไฟที่ 5 V (volts) และ 100 mA ถึง 500 mA ต่อ 1 port ครับ ขึ้นอยู่กับว่าต่อผ่าน USB Hub/Front Panel หรือต่อโดยตรงกับที่ M/B แต่ถ้าคุณใช้ USB Hub แบบไม่มีแหล่งจ่ายไฟ มาต่อแยกทุก port จะลดลงเหลือแค่ port ละ 100mA (เมื่อต่อครบทุก port) หรือ 400mA (เมื่อต่อเพียงแค่ 1 port) แต่ถ้าซื้อ USB Hub แบบมีแหล่งจ่ายไฟจะได้แรงดันไฟฟ้าที่ 500mA ต่อ 1 port เท่ากับต่อที่ computer ครับ

ซึ่งกระแสไฟที่ส่วนใหญ่ H/D External ต้องการคือ 500mA (เต็มที่ของการจ่ายกระแสไฟของ USB port เลย) ถ้าต่ำกว่านั้นอาจจะมีปัญหาได้ครับ ส่วนพวก Flash Drive ต่าง ๆ ที่ขาย ๆ กันจะต้องการกระแสไฟอยู่ที่ 100mA – 200mA โดยทั่วไปครับ (ส่วนใหญ่จะ 100mA) บางครั้งการต่อไม่ติดเนี่ย ก็เกิดจากกระแสไฟที่จ่ายมาให้กับอุปกรณ์ไม่เพียงพอครับ

[เพิ่มเติมสำหรับ iPod]

บางครั้งใน iPod เนี่ย เราสามารถเอา USB Hub ที่มีแหล่งจากไฟมาใช้ชาร์จไฟได้เหมือนกับชาร์จไฟจากคอมพิวเตอร์เลย (เป็นทั้งที่ชาร์จไฟ และ USB Hub ไปในตัวเสียเลย)

จากรูปด้านล่างผมนั้นผมซื้อ USB Hub ที่มีแหล่งจ่ายไฟมาต่อเป็น adapter สำหรับ change ไฟให้กับ iPod จากไฟบ้านครับ (ในรูปราคา 790 บาทครับ)

เวลาดูอุปกรณ์สำหรับเอามาชาร์จกับ iPod เนี่ยต้องรู้ก่อนว่า iPod นั้นต้องการกระแสไฟฟ้าเท่าไหร่ ซึ่งใน iPod นั้นกระแสไฟในการประจุไฟต้องไม่ต่ำกว่า 400mA ครับซึ่งร่วมถึงการใช้งานตามปกติด้วย (เช่นการส่งข้อมูลไฟล์ต่าง ๆ ) โดย adapter นั้นแนะนำว่าไม่ควรเกิน 500mA (จริง ๆ เกินได้ครับเพราะแบตฯ li-ion นั้นการประจุไฟแบบกระแสไฟไม่ใช่ความต่างศักดิ์ แต่การใช้กระแสไฟมากเกินไปอาจทำให้แบตฯ li-ion ใน iPod ร้อนเกินไปครับ) และความต่างศักดิ์ต้องอยู่ระหว่าง 4.75–5.25 V. ครับ

อ้างอิงจาก http://en.wikipedia.org/wiki/USB

USB flash drive ?

มีคน ส่ง msg มาถามเลยเขียนสักหน่อย ;)

USB flash drive ส่วนรูปแบบการเก็บข้อมูลแบบหนึ่งใน "USB mass storage device class" โดยที่ USB mass storage device จะมีด้วยกันหลายแบบ ได้แก่

  1. external magnetic hard drives
  2. external optical drives, including CD and DVD reader and writer drives
  3. portable flash memory devices, particularly keydrives
  4. adapters bridging between standard flash memory cards and a USB connection
  5. digital cameras
  6. digital audio players (MP3 players, e.g. iAudio, iPod and Creative Labs MuVo series)
  7. high-end hardware media players

โดยที่ USB flash drive ถือว่าเป็น portable flash memory devices, particularly keydrives นั้นเอง โดยที่มันมีการเชื่อมต่อแบบ USB 1.1 หรือ USB 2.0 (USB 1.0/1.1 มีความเร็วที่ 1.5 Mbps หรือ 12 Mbps และ USB 2.0 ที่ 480Mbps) ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้มากถึง 64GB (ณ.วันที่ 3 พ.ค. 49) โดยใช้งานได้แบบไม่ต้องลง Driver ตั้งแต่ Windows ME และ 2000 เป็นต้นมา โดยใช้ชื่อรวมๆ ว่า "USB Mass Storage devices" โดยมักถูกเรียกในชื่อหลายๆ แบบตามแต่ที่ผู้ผลิตจะตั้งได้ เช่น "pen drives", "chip sticks", "thumb drives", "flash drives", "USB keys" และ "handdy drive" เป็นต้น

โดยรายชื่อที่มักพบเจอจะมีดังนี้

  • Bug – perhaps a reference to the size and appearance of some USB drives
  • Memoria USB or simply USB – primarily in Mexican Spanish
  • Chip stick
  • Chubidubi – primarily in Cuban Spanish
  • Cruzer – a SanDisk brand name
  • Data key
  • Data stick
  • Disk on key
  • Disgo – a Disgo brand name
  • Dongle – regarded by some as an inaccurate use of this word
  • Doofer – Commonly used in Northern Ireland. Is also used to describe various small electronic devices (Almost always prefixed with "USB").
  • Finger drive
  • Flash disk
  • Flash drive
  • Flash memory drive
  • Flashka (флэшка) – used in Russian
  • Geek stick – used by Geek Squad agents to refer to the special-use, branded USB flash drives with special diagnostic tools pre-loaded onto them.
  • Gigachip
  • Gli-gli – used in Andalusia, Spain
  • Handdy Drive – Apacer
  • ‘Jon’ – mainly used in Doylestown, Pennsylvania
  • Jump drive – a trademarked name used by Lexar
  • Jump stick
  • Key
  • Keychain drive
  • Keydrive
  • Keyfob – widely used in the Seattle area
  • Magic key
  • magic stick – common in some Ohio towns and also the name of a 50 Cent song
  • Memory drive
  • Memory key
  • Memory stick – inaccurate use of a Sony trademark (Memory Stick, capitalized) for a non-USB proprietary
  • flash memory module
  • Micro hard drive
  • Mobile drive
  • Nerd bling
  • Nerd necklace – used when worn around the neck
  • Nerd stick – uncommon term
  • Pen drive
  • Pen-used in much of Portugal
  • Piripicho (primarily in South American Spanish)
  • Pocket drive
  • Stick
  • Thumb drive
  • Thumbdrive a Trek 2000 International Ltd trademark
  • Thumb key
  • Travel drive – a Memorex trademark
  • Travel stick
  • USB drive
  • USB key
  • USB-minne "USB memory", used in Norway and Sweden
  • USB-nøkkel "USB key", used in Norway
  • USB-pinne a (bad) translation of "USB Stick" used by some manufacturers in Norway and Sweden.
  • USB Stick
  • USB – sometimes used as a shorthand
  • USB zip drive – sometimes used, not often
  • Vault drive – Sony’s USB storage devices started using this name in March 2005

ซึ่งโดยทั่วไปมักจะมีองค์ประกอบดังนี้

  1. USB connector
  2. USB mass storage controller device
  3. Test points
  4. Flash memory chip
  5. Crystal oscillator
  6. LED
  7. Write-protect switch
  8. Unpopulated space for second flash memory chip

โดยในปัจจุบัน มักมีระบบรักษาข้อมูลชั้นสูงขายด้วย หรือเรียกว่า encrypted filesystem นั้นเอง โดยมักถูกเรียกว่า TrueCrypt, CryptoBuddy, Private Disk และล่าสุดคือ Lexar JumpDrive Secure โดยจะเป็นการเข้ารหัสไฟล์ไม่ให้ถูกเข้าถึงหรือใช้งานได้ ถ้าไม่รู้รหัสผ่าน โดยในปี 2005 ได้มีการจำหน่ายมาพร้อมกับ biometric fingerprinting หรือระบบแสกนนิ้วมือด้วย

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Flash_drive

ระวัง !!! FlashDrive ของท่านอาจะไหม้ได้้ T_T

วันนี้ยืมเอา USB Flash Memory เพื่อนมาว่าจะก็อปงานต่างๆ จากเครื่องเพื่อนอีกคน แต่ ซวย !!! เสียบ USB Port หน้าเครื่องปั้บดัง พรึ้บ !!! กลิ่นตุๆ ที่ไม่ได้รับเชิญมาปุ๊บ สรุปว่ามัน …….. T_T

มันคือะไร …….. มันเป็นไปได้ยังไง สรุปคือ ………. สิ่งทำให้มันดัง พรึ้บ !!! มันคืออาการของการสปาร์คของไฟที่ลัดวงจร และกลิ่นตุๆ มันก็คือกลิ่นไหม้ แต่อะไรไหม้หล่ะ ?

ระหว่าง M/B หรือ USB Flash Memory ใจไม่ดี ซะแล้ว ………….

เปิดฝาออกมาดู ตัว M/B ซึ่งคือ Controller ไม่มีปัญหาใช้งานได้ เฮ้อ …. โล่ง …… งั้น ??!!##$@#

…………….. USB Flash Memory เพื่อนตรู กลับสวรรค์ไปแล้วครับ พังไปแล้ว งาน + เงิน ตรูไปซะแล้ว ในนั้นที่จะก็อปมาหายหมด ต้องหาทางก็อปกันใหม่ …… แม่เจ้าเซ็งจริงๆ ส่งแคลมได้ไหมเนี่ย …… ภาวนากันอยู่ T_T $!#@$!#@$!

เหตุที่มันไหม้ เพราะ ไอ้ร้านเวรมันประกอบเครื่องมาไม่ดี ดันต่อ USB Port ด้านหน้าเครื่องสลับสายสัญญาณกันระหว่างวรจรไฟ กับวงจรสัญญาณ เวรกรรมจริงๆ ซวยเลย ซื้อใหม่เพื่อน แน่ๆ เลย

ทำให้เราจำไว้ขึ้นใจเลยว่า “ตรูจะเสียบ USB Flash Memory ด้านหลังเครื่องช่องของ M/B แทนการใช้ USB Port หน้าเครื่อง เพราะตรูเข็ดแล้ว ประกอบเครื่องห่วยแล้วซวยถึง USB Flash Memory ซื้อของมาราคาไม่ใช่ถูกๆ นะเครื่องน่ะ ประกอบกันดีๆ หน่อย แต่ทำให้ USB Flash Memory ของตรูพังอีก ของมันไม่ใช่ถูกๆ เหมือนกันนะเฟ้ย …. !!”