การโฆษณาโดยทำภาพหรือแผ่นโฆษณา ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย

ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5352/2553 ที่วินิจฉัยว่า

“ในโครงการอาคารชุด ร. จำเลยจัดทำภาพจำลองอาคารและแผ่นโฆษณาระบุว่าจำเลยจะก่อสร้างอาคารศูนย์สรรพสินค้าขนาดใหญ่ติดกับอาคารชุด โดยมีสระน้ำขนาดใหญ่บนอาคารจอดรถของอาคารชุดเพื่อจูงใจลูกค้าให้ซื้อห้องชุดในโครงการอาคารชุดดังกล่าว แผ่นโฆษณาแสดงภาพจำลองอาคารชุดและอาคารศูนย์สรรพสินค้าถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดระหว่างโจทก์กับจำเลยด้วย (เมื่อจำเลยไม่ได้สร้างตามที่โฆษณาไว้ก็ถือว่าจำเลยผิดสัญญา)”

อ้างอิง: คดีผู้บริโภค : บรรทัดฐานจากคำพิพากษาฎีกา 

ต่อไปพวกโฆษณาไม่เป็นไปตามโฆษณาระวังกันหน่อยนะครับ เดี่ยวงานจะงอก…

“ข้อมูลผิด” ก็ต้องบอกว่า “ผิด” ความเป็น “คนดี” ไม่ทำให้ข้อมูลที่คุณนำเสนอมันถูกต้อง

บ้านเราอ่อนแอ เพราะคำว่า “คนดี” เลยไม่ได้ดูที่ข้อเท็จจริงที่มีมันคืออะไร ใช้คำว่า “คนดี” เป็นเครื่องมือในการยืนยัน “ความเชื่อ” ตัวเอง แต่ “เนื้อแท้มั่ว” ก็มีเยอะไป

คือคุณให้ “ข้อมูลผิด” ก็ต้องบอกว่า “ผิด” ความเป็น “คนดี” ไม่ทำให้ข้อมูลที่คุณนำเสนอมันถูกต้อง บางครั้งอคติที่มีต่อตัวบุคคลทำให้ข้อมูลที่นำเสนอมันดูไม่มีน้ำหนัก ทั้งที่ความเป็นจริงมันไม่ใช่ บ้านเมืองมันเลยมีปัญหาเพราะแบบนี้แหละ

บอลมันเล่นเป็นทีม

บางครั้งนักเตะที่ดี คงไม่ใช่เราไปคาดหวังว่าเขาจะต้องเลี้ยงเดี่ยวเข้าหาคู่แข่งแล้ว เลี้ยงหลบคู่แข่งทั้งทีมไปกว่า 2 รอบ แล้วเข้าไปหลอกโกลต่อให้หลังหักอีก 2 รอบ เสร็จแล้วค่อยวนกลับมายิงไกล ถึงจะเรียกว่าเล่นดี ><" คือบอลมันเล่นเป็นทีม แค่ทุกครั้งที่จับบอล แล้วทำประโยชน์ให้กับทีมได้ตลอด ผมก็ถือว่าเล่นดีได้เหมือนกัน

“ขวดน้ำทิพย์” รักษ์โลกหรือรักษ์บริษัทผู้ผลิต?

ส่วนตัวนั้นการเปิดขวดน้ำทิพย์ต้องใช้สมาธิอย่างสูงมากก่อนลงน้ำหนักบีดขวดเปิด เพราะต้องเปิดให้ได้ภายในครั้งเดียว คือต้องลงน้ำหนักในการบิดให้หนักแน่น ชัดเจนและเด็ดขาด ไม่งั้นการเปิดครั้งต่อไปอาจหมายถึงน้ำทั้งขวดจะไหลหรือสาดเข้าตัวทั้งขวด ซึ่งน้ำจะออกมาตามแรงบิดที่ปราศจากการดันขวดให้พองของก๊าซที่อัดมาเพื่อให้ขวดคงตัวอยู่ได้

ด้วยความบางของขวดน้ำที่บางกว่านี้อีกนิดหน่อยก็เกือบเท่าถุงร้อนใส่แกงตามตลาดทำให้ดื่มน้ำไปได้สักครึ่งขวดหรือมีลมพัดแรงๆ หน่อย ตัวขวดนั้นพร้อมที่จะพยุงตัวไม่อยู่แล้วล้มลงมาทำน้ำหกใส่ได้ทันทีเช่นกัน และความบางของขวดน้ำพร้อมที่จะแตกได้ในกระเป๋าเวลาพกพาเมื่อเปิดขวดไปแล้วในครั้งแรกเช่นกัน เพราะขวดน้ำดังกล่าวมันเคยแตกในกระเป๋าผมมาแล้ว ซึ่งดีที่ในกระเป๋ามีแต่หนังสือไม่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้ช็อตใดๆ เลยรอดพ้นหายนะไปได้

จากปัญหาที่บอกๆ ไป มันทำให้ผมไม่เข้าใจว่า การคิดว่าขวดน้ำที่เปิดขวดขึ้นมาเพื่อดื่มน้ำแล้วใช้ได้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งเนี่ยมันดียังไง คือคนทำไม่คิดว่าฝามันจะเปิดไม่ได้ในครั้งแรกบ้างเหรอ แล้วเปิดครั้งต่อไปจะมีปัญหาต่อมาหรือไม่ หรือคนซื้อเค้าอยากปิดฝาแล้วดื่มครั้งต่อไปเพื่อใช้สำหรับเป็นเครื่องดื่มระหว่างการเดินทางบ้างเหรอ

ส่วนตัวผมแล้วผมว่ามันสร้างขยะมากกว่าเดิมอีก เพราะขวดไม่สามารถให้คนซื้อนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยไม่ผ่านขั้นตอนการผลิตในอุตสาหกรรม ซึ่งขวดน้ำทิพย์ที่บางลง 35% นั้นหมายถึงต้นทุนที่น้อยลง 35% ของขวดพลาสติก แต่ราคาไม่ได้ลดลง ซึ่งยังคงราคาเท่าเดิมซึ่งเมื่อเทียบกับราคาน้ำดื่มขวดข้างๆ ที่มีความหนาของขวดปรกติ สามารถใช้งานและนำกลับมาใช้ได้เป็นอย่างดี มันกลับทำให้น้ำทิพย์ดูแพงไปในทันที แถมขวดน้ำทิพย์ยังให้ปริมาณที่น้อยกว่าบางยี่ห้อด้วย!

ที่น่าสนใจคือ จริงๆ แล้วการบอกว่าเนื้อพลาสติกที่ลดลง “รักษ์โลก” แต่เนื้อแท้ของสาระหลังจากได้สัมผัส เป็นแค่คำโฆษณาที่แอบแฝงด้วยการช่วยบริษัทในการลดต้นทุนเรื่องขวดน้ำมากกว่าหรือเปล่า?

ในฐานะผู้บริโภคคนหนึ่ง “น้ำทิพย์” ขวดบางๆ แบบนี้จะเป็นตัวเลือกสุดท้ายที่ซื้อครับ

WP_20130424_013

สิ่งที่คนใช้ App เถื่อนไม่มีวันเข้าใจ?

สิ่งที่คนใช้ App เถื่อนไม่มีวันเข้าใจคือ

1. เราเห็น App แพงๆ พอเห็นมันลดราคาเหลือ 0.99 เซนต์หรือไม่ก็ปล่อยโหลดฟรีปุ๊บ รีบกดซื้อแบบไม่คิค
2. App แพงๆ ที่เราอยากได้จนอดใจไม่ไหว ทำไมไม่ลดเสียที สุดท้ายกัดฟันซื้อ แล้วพอซื้อไปสักพักแม่มลดเหลือ 0.99 เซนต์ ความรู้สึกแม่มเหมือนโดนหักหลัง

มีใครเป็นเหมือนผมบ้าง 55555