ซื้อหนังหรือเพลงแบบถูกลิขสิทธิ์ต้องลองทำดูอาจติดใจ

จากกระทู้ ญี่ปุ่นเนี้ย มีแผ่นผี ซีดีเถื่อนมากน้อยแค่ไหน ? แล้วมีมาตรการจัดการยังไง ? ทำให้คันไม้คันมือเล็กๆ คือหลังๆ เรื่องเพลง หรือหนัง ถ้าไม่ดูในโรงหนังผมก็รอแผ่นแท้เอามากกว่า ระงับความอยากในการโหลดมาดูรอแผ่นอย่างเดียว หลังๆ ก็ทำได้นะ มันไม่ตายหรอก

ซึ่งแต่ก่อนหนังผมจะตามเก็บ DVD ไว้ดู แต่ตอนนี้มาเก็บพวกแผ่น Bluray แทน (มีเครื่องดู) แต่ว่าผมจะบ้าๆ แปลกๆ ทำเทาๆ หน่อยๆ คือจะโหลด Bit ตัว 720p/1080p มาดูใน Computer แทน เพราะไม่มีเครื่อง Rip Bluray ใส่ลง Computer ส่วนแผ่นเพลงจะซื้อแผ่นแท้มา Rip ฟัง ครั้งแรกและเก็บเข้ากล่องเลย กลัวแผ่นเป็นรอย (ผมสะสม) แต่พอ iTunes Store เปิดก็ซื้อทั้งเพลงและหนัง (อาจจะเช่าบ้าง) ใน iTunes Store เยอะขึ้น อย่างเพลงไทย เพลงเกาหลี ญีปุ่น ฝรั่ง นี่ถ้าชอบผมซื้อหมด เดือนนึงหมดไปเกือบพัน หรือพันกว่า แล้วแต่ว่าเดือนไหนถูกใจมากน้อย แต่ที่บ้าสุดคงเป็น SNSD เพราะมีแผ่นแท้แล้ว แต่แผ่นแท้ไม่เคยแกะออกมา (หลายแผนแหละ) แต่ที่ใช้ฟังๆ นี่ผมไปโหลดจาก iTunes Store อีกรอบ เพราะรอแผ่นแท้ที่สั่งจาก YesAsia ไม่ไหว (มันบ้าไปแล้ว) ><”

พวก App หรือ Software หลังๆ เน้นแท้หมด เวลาซื้อ จะซื้อแบบ Download Version เพราะราคาถูกกว่าและสะดวกในการ upgrade แถมัว upgrade version บางค่ายจะเป็นส่วนลดในการ upgrade ใน version ล่าสุดด้วย มันประหยัดกว่า และเริ่มรู้แหล่งในการซื้อ Software ถูกต้องและเทคนิคการซื้อของพวกนี้ในราคาถูก เช่นการลองค้นหา coupon หรือ redeem code มาลดราคา บางครั้งได้ราคาถูกกว่ากล่อง 50-80% เลยก็มี พยายามเช็คจากเว็บ dealer ขายพวกนี้บ่อยๆ จะมีหลุดมาเรื่อยๆ ซื้อแล้วคุ้มกว่า เคยเจอ Photoshop CS5 ราคาเหลือหมื่นหน่อยๆ แต่ไม่ได้ซื้อ เพราะตอนนั้นเงินหมด T_T

ส่วนตัวหลังๆ ไม่ได้คิดว่าการซื้อของพวกนี้เป็นภาระนะ ผมมองว่ามันไม่ใช่การอวดรวย แต่มันคือการทำที่ถูกต้องและควรทำอยู่แล้ว แต่พอดีว่าคนส่วนใหญ่ไม่ทำ เลยดูแปลกๆ แค่นั้นเอง

WP_20130109_014

ร้านที่อาจไม่ได้ขายแต่กาแฟ

ส่วนตัวแล้วคิดว่า การนั่งทำงานในร้านกาแฟเช่น Starbucks , Tom N Tom, True หรือ Dean & Deluca นั้นเป็นเรื่องปรกตินะ (ร้านอื่นๆ ไม่ได้กล่าวเพราะนานๆ ไปที) คือร้านพวกนี้เป็นร้านที่ขายเครื่องดื่มพร้อมบริการที่นั่ง ซึ่งค่อนข้างจะสบายในการนั่งดื่มและซึมซับบรรยากาศของร้านอยู่แล้ว รวมไปถึงร้านพวกนี้ “ยินดี” ที่จะให้เป็นที่นั่งสำหรับทำงานหรืออ่านหนังสือด้วยซ้ำไป เพราะมีทั้งปลั๊กไฟ ระบบ WiFi และแสงสว่างที่เพียง คือสังเกตได้ว่าร้านไหนทำที่ ไม่มีปลั๊กไฟให้ ระบบ WiFi ไม่ใช่ของร้าน รวมไปถึงนั่งแข็งๆ ไม่สบายเท่าไหร่ มักจะให้เราอยู่ในร้านไม่นานนัก แต่ร้านกาแฟที่เน้นให้เรานั่งนานๆ นั้น เค้ามองว่าเค้าไม่ได้ขายกาแฟเท่านั้น แต่เค้ามองที่เรื่องการเช่าพื้นที่ใช้สอยชั่วคราวด้วย ซึ่งมันถูกรวมลงไปในราคาเครื่องดื่มอยู่แล้วทุกแก้ว (ถ้าเอากลับบ้านคุณจะได้บริการห่อและรูปแบบการห่ออย่างดีเช่นกันเพื่อชดเชยเรื่องพวกนี้บ้าง) ไม่อย่างนั้นร้านพวกนี้จะทำร้านให้นั่งสบาย และตกแตกสวยงามทำไม? คือถ้าได้อ่านหนังสือ The Starbucks Experience: 5 Principles for Turning Ordinary Into Extraordinary คงทราบว่าทำไม

IMG_20121009_155043

แต่ปัญหาที่เจอในไทย หรือทั่วโลกบางที่ในตอนนี้คือ การใช้พื้นที่ในร้านกาแฟที่ถือว่าเป็นพื้นที่ใช้ร่วมกันของแต่ละคนนั้น ถูกใช้เกินความพอดีในช่วงเวลาที่คนเข้าใช้บริการร้านพวกนี้เยอะ ซึ่งปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวร้านหรือการออกแบบสักเท่าไหร่ แต่อยู่ที่ความพอดีของแต่ละคนที่ใช้บริการนั้นไม่เท่ากันมากกว่า

โดยปรกติการใช้บริการต่อ 1 แก้วอาจจะมีระยะเวลาประมาณ 15 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ก็แล้วแต่คนที่สามารถที่จะใช้พื้นที่ตรงนั้นได้ แต่เยอะกว่านั้นดูจะมากไปสำหรับ 1 แก้ว สำหรับช่วงเวลาที่คนเยอะ (ถ้าซื้อเพิ่มก็ยังโอเคนะ ผมถือว่าแฟร์ดี) การใช้วิธีคิดแบบนี้ค่อนข้างโอเค แต่จะใช้ไม่ได้ผลถ้าคนในร้านหรือช่วงเวลาที่คนไม่มาก ซึ่งผมมองว่าร้านพวกนี้มีพื้นที่เหลือให้บริการอยู่แล้ว และคิดว่าเค้ายินดีให้แน่นอน

IMG_20120430_190121

บางครั้งการต่อว่าแบบเหมารวมในเรื่องของคนเข้าไปใช้บริการแล้วกาง Notebook หรืออ่านหนังสือนั้นดูง่าย และใช้เวลาที่รวดเร็ว แต่ส่วนตัวแล้วนั้นไม่ค่อยจะเหมาะนักกับพื้นฐานวิธีคิดแบบนี้ เพราะดูจะสรุปบนความฉาบฉวยไปหน่อย เพราะบางคน (รวมถึงผม) อาจจะไม่ได้นั่งนานขนาดครึ่งวัน อาจจะขอเวลา 30 นาทีถึงชั่วโมงในการนั่งทำงานเล็กๆ น้อยๆ หรือนั่งรอคนอยู่ก็ได้ การกาง Notebook หรือเปิดหนังสือมานั่งอ่านเพียงเวลาไม่นานอาจโดนเหมารวมได้เช่นกัน ผมมองว่าปัจจัยเรื่องนี้มันเยอะมากทีเดียว

จริงๆ ผมอยากหาที่ที่เป็น Co-Worker ที่มันใกล้ๆ รถไฟฟ้าหรือในห้างก็น่าจะดีนะ ที่ที่มีอยู่ตอนนี้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยสะดวก อย่างเช่น Hubba Thailand นี่ใกล้บ้านผมมากไป ไปนั่งทำงานคนเดียวมันแปลกๆ ผมเดินทางกลับบ้านผมทำงานที่ห้องง่ายกว่า ><” (ใช้เวลาเดินทางห่างกัน 15 นาทีเอง)

ซื้อของให้ตั้งราคาตั้งต้นก่อน

เท่าที่ลองเล่นมาทั้ง Dell Latitude 10, Lenovo ThinkPad 2 และ ASUS VivoTab Smart ตัวเลือกที่ตัวเองสนใจและคิดจะซื้อกลับกลายเป็น ASUS VivoTab Smart ซะงั้น เพราะส่วนตัวแล้วงานประกอบและวัสดุตัว Latitude และ ThinkPad ทำได้ดี แต่ VivoTab ก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกแตกต่างจนรู้สึกได้ คือส่วนตัวเอาฟังค์ชันปรกติทั่วไป ผมว่ามันก็ตอบโจทย์งานผมได้เยอะแล้วนะ

คือในด้านราคาที่ตั้งธงไว้เนี่ยสำคัญ อย่าง Tablet Android ผมจะไม่ซื้อเกินราคา 9,000 บาท มือถือจะซื้อไม่เกิน 15,000 บาท ส่วนถ้าเป็น Tablet Windows 8 ผมตั้งธงไว้ในใจว่าจะซื้อไม่เกิน 20,000 บาท สำหรับ Notebook ผมตั้งธงไว้ที่ 40,000 บาท เพราะงั้นต้องคิดให้เยอะเข้าไว้

จริงๆ อย่าง Mouse/Keyboard ผมตั้งราคาไว้ว่าทั้งเซ็ต 2 ตัวนี้ต้องราคาไม่ถึง 5,000 บาท ซึ่งหลายคนคิดว่าอาจดูเยอะ แต่ถ้ามองว่ามันใช้งาน 3 ปีและเราต้องสัมผัสมันทุกวันตลอดการใช้คอมพิวเตอร์ ถ้าเราใช้ของไม่ดีอาจมีปํญหาด้านสุขภาพและการทำงานได้

การซื้อของถ้าเราตั้งธงด้านราคาไว้ เราจะรู้ว่าควรได้อะไรและไม่ควรได้อะไร ไม่จำเป็นต้องได้อะไรที่ใหม่สุดหรือท็อปของสายการผลิตนั้นๆ หรอก บางครั้งเราก็ไม่ได้ใช้งานมันเลย

ปล. เอาจริงๆ ซื้อ Lumia 920 ที่ราคา 21,900 บาท ตอนเพิ่งเริ่มขายมันได้โปรลดราคาเพราะงั้นก็ยังถือว่าไม่เกิน 15,000 บาท คือได้ลดราคาทั้งราคาค่าเน็ต และได้ของแถมที่ชาร์จไร้สาย ซึ่งรวมกันแล้วมาหักลบกับราคาเครื่อง จะเหลือแค่ 12,000 – 13,000 บาทเองนะ

โลกจะพัฒนาเพราะการแข่งขันไม่ใช่การชนะแบบเบ็ดเสร็จ

ผมเคยเขียนเรื่อง WebKit != W3C ไปเมื่อหลายเดือนก่อน หลังจาก Opera หันมาใช้ WebKit ไปก่อนหน้านี้

แต่เมื่อไม่กี่วันก่อน Google ได้ fork ตัว WebKit ออกมาเป็น Blink ต่างหาก และจะถูกใส่กลับเข้ามาใน Chrome ในอนาคตอันใกล้นี้ (คาดว่าไม่เกิน 10 อาทิตย์ต่อจากนี้) โดยเหตุผลทั้งในเรื่องของความง่ายต่อการควบคุมและใส่คุณสมบัติใหม่ๆ โดยไม่ต้องรอ Apple ซึ่งเป็นเจ้าของ WebKit โดยตรงเห็นชอบทั้งหมด แม้ว่า open source community จะมีขั้นตอนและฝ่ายที่เกี่ยวข้องเยอะ แต่หลักๆ คงเป็นเจ้าของหลักหรือทีมหลักซึ่งในที่นี้คือ Apple นั้นเอง ซึ่งหลายคนไม่ทราบว่า WebKit เป็น layout engine ที่ open source โดย Apple ซึ่งจริงๆ มันเป็น layout engine ของ Safari อยู่ก่อนแล้ว

จากเหตุการณ์ทีเกิดขึ้น ผมยังยืนยันว่าการพัฒนาเว็บควรยืนตาม W3C HTML5 เป็นสำคัญ แล้วจึงปรับตาม layout engine ในแต่ละตัวในภายหลัง ซึ่งการใช้ layout engine เป็นหลักสักตัวเป็นเรื่องดี แต่ไม่ใช่ข้ออ้างในการทำเว็บเพื่อสนับสนุนเพียง layout engine เดียว เพราะนั้นทำให้คุณปิดโอกาสในการเข้าถึงและใช้งานของกลุ่มผู้ใช้อีกกลุ่มได้ง่ายมากในโลกของอินเทอร์เน็ตที่มีความหลากหลายของ layout engine ที่มากกว่าเดิมอย่างมากในตอนนี้ ความหลากหลายที่ว่านี้ไม่ใช่แค่ Desktop/Notebook Computer แต่เป็น Mobile Device ต่างๆ ที่มีความหลายหลากด้วย ซึ่ง layout engine ยุคใหม่ในตอนนี้ทุกตัวทำตามมาตรฐาน W3C HTML5 เป็นหลักอยู่แล้ว (ซึ่งจะมากน้อยว่ากันอีกที)

ส่วนตัวแล้วนั้น ตอนนี้โลกอยู่ในยุคของสงคราม Web Browser ครั้งที่ 2 อย่างไม่ต้องสงสัยอีกครั้ง ซึ่งในตอนนี้เป็นโอกาสที่ดีที่เว็บต่างๆ จะอาศัยช่วงนี้พัฒนาและใช้ความสามารถที่หลากหลายเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ และผมเชื่อว่ากลุ่มนักพัฒนา layout engine ต่างๆ ในตอนนี้ไม่มีทางที่จะหยุดพัฒนาและทำให้ตัวเองมีความสามารถที่ล้าหลังคนอื่นได้นานมากนัก เพราะฉะนั้นยึดตามมาตรฐานเปิดจึงดีที่สุด (นี่ผมยังไม่ได้พูดถึง JavaScript Engine ที่แข่งกันอีกส่วนเช่นกัน)

โดยในตอนนี้ 3 ค่าย layout engine หลักของโลกคือ Trident engine – Internet Explorer, Gecko engine – Firefox และ WebKit – Safari, Opera, Chrome กำลังมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้นี้ โดยมี Blink ที่จะถูกใส่ลงมาใน Chrome, Servo ที่เป็นส่วนที่ถูกพัฒนาใส่ลงใน Firefox Mobile (ยังไม่แน่ว่าจะลง Firefox ตัวหลักหรือไม่) และ WebKit2 ซึ่งจะถูกใช้ใน Safari รุ่นต่อไป ซึ่งทั้งหมดนี้กำลังเพิ่มเติมเข้ามาอีกภายในปีนี้แน่นอน

จากที่เขียนมายืดยาวนั้น ยังคงยืนยันว่านักพัฒนาเว็บไม่ควรมักง่ายเพียงเพื่อความสะดวกสบายแบบแต่ก่อนครั้งยังใช้ IE6 และเราเรียกร้องกันเหลือเกินให้ใช้และทำตามมาตรฐาน W3C และตอนนี้มาตรฐานเปิด W3C HTML5 ก็เป็นสิ่งที่กำลังไปได้ดี (แม้จะช้าบ้าง มีการเมืองบ้าง แต่ผมถือว่ามันจะมั่นคงในอนาคต) ส่วนตัวผมไม่อยากให้ WebKit กลายเป็นกรณีเดียวกับ IE6 แห่งโลก Web สมัยเก่าก่อน (ผมไหว้หล่ะ) เพราะผมเชื่อว่ามันไม่ใช่ทางออกที่ดี และยังเชื่อว่า “โลกจะพัฒนาเพราะการแข่งขันไม่ใช่การชนะแบบเบ็ดเสร็จ”

เมื่อไหร่จะถูกใจพี่?

ส่วนตัวแล้วพลังงานโซล่าเซลล์เลิกคิดไปเลยในช่วง 10 ปีนี้

ลองคิดว่ามีเงินพอหรือเปล่าก่อนดีกว่า เพราะลองคิดเล่นๆ ว่าเราต้องซื้อแผงโซล่าเซลล์ที่จ่ายไฟ 120 W ในราคา เกือบหมื่นบาท (ราคา ณ ปีนี้) ซึ่งคิดแล้วมันพอแค่หลอดไฟ 36 วัตต์ประมาณ 3 หลอดเท่านั้น เมื่อได้ไฟมาแล้วก็ต้องบวกค่าอุปกรณ์สำหรับอินเวอร์เตอร์ไฟตัวเล็กๆ ที่ใช้สำหรับแปลงไฟมาจ่ายไฟ ซึ่งราคาก็หลักเกือบหมื่นเหมือนกัน ได้ไฟแล้วก็ต้องมีที่เก็บ ก็ต้องลงเงินมาซื้อแบตสำหรับเก็บไฟฟ้าที่ต้องเปลี่ยนทุกๆ สามถึงห้าปี มูลค่ากี่หมื่นก็ไม่รู้ (แล้วแต่พี่จะเก็บไฟนานแค่ไหน) แล้วอย่าลืมว่าแผงโชล่าเซลล์มันมีอายุอยู่นะครับ ตัวแผงบางรุ่นมีอายุแค่ 20 ปีเองนะ (รุ่นที่มีอายุเยอะๆ ก็แพงกว่านี้)

การที่แดดร้อน-แรงไม่เกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้าได้เยอะจากเจ้าโชล่าเซลล์นะ มันอยู่ที่คลื่นความกว้างรังสีเป็นสำคัญ ลงทุนเกือบแสนใช้หลอดไฟได้ 3 หลอด ><”

นี่ยังไม่รวมเรื่องผลพิษของการผลิตทั้งแผงโซล่าเซลล์และแบตของมันด้วยนะ แถมหมดอายุการใช้งานชิ้นส่วนบางส่วนและแบตยังเป็นพิษอีก (พี่จะรักษ์โลกพี่ช่วยคิดให้ครบด้วย)

ส่วนไฟฟ้าพลังลม อันนี้มลพิษทางเสียงสาหัสมาก แล้วพื้นที่ขายฝั่งประเทศไทยจะเอาที่ไหน เพราะตอนนี้ไม่เป็นป่าสงวนก็เป็นสถานที่ท่องเที่ยวไปหมดแล้ว

ไทยเราตอนนี้
– นิวเคลียร์ กลัวระเบิด
– ถ่านหิน กลัวมลภาวะ
– เขื่อนพลังน้ำ ก็กลัวสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย
– ใช้เชื้อเพลิงจากเพื่อนบ้าน หรือสร้างโรงไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน กลายเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน

อยากใช้พลังงานโซล่าเซลล์ที่บอกว่าพลังงานสะอาด(เหรอ) คุณยอมจ่ายหน่วยละ 10-20 บาทไหม? (ก็เดาออกนะว่าคงไม่)

สรุปเอาไงกันดีครับ ><“