ลองสมัครย้ายค่าย LINE Mobile

LINE Mobile นี่ทำเรื่องย้ายค่ายง่ายมากจริงๆ ทำผ่าน online ได้ทั้งหมดเลย

คือเริ่มแรกเกิดจาก Truemove H ที่ใช้รับ SMS 2FA จาก Twitter ไม่ได้ โทรเข้า CC ไป 2 รอบ และ Chat อีก 1 รอบ ก็แก้ไขปัญหาไม่ได้ คือ จนท บอกว่าไม่ได้ block อะไรเลย ก็บอกว่าสัญญาเรามีปัญหาหรือเปล่า เราก็บอกตลอดว่าไม่นะ นี่ยังรับ-ส่ง SMS ได้ แถมรอบล่าสุด เพิ่งได้ SMS แจ้งยอดค่าบริการล่าสุดได้อยู่ แสดงว่าไม่น่าเกี่ยวหรอก สุดท้ายก็เลิกล้มความตั้งใจ ย้ายค่ายแทนแล้วกัน

การย้ายค่ายก็ไม่ยากเท่าไหร่ ก็เข้าเว็บ LINE Mobile กด *151* อะไรพวกนี้ (รหัสตามหน้าเว็บ) แล้วได้โค้ดมาจำนวนหนึ่งมาเพื่อนำไปย้ายค่าย (ทำคล้ายๆ กับย้าย Registrar ของ Domain name เลยแฮะ) แล้วก็ไปกรอกในหน้าเว็บ LINE Mobile กรอกข้อมูลส่วนตัว ถ่ายรูปบัตรประจำตัวประชาชน นิดหน่อย กรอกที่อยู่จัดส่งเอกสาร แล้วสุดท้ายชำระเงินด้วย LINE Pay ผ่านบัตรเครดิต ทุกอย่างจบใน 10 นาที นั่งรอซิมใบใหม่ที่บ้าน โปรที่ใช้ก็ตัว 300 บาท data 20GB (โปรแบบลด 50%)

คล้อยหลังไปสัก 2 ชั่วโมง Truemove H ก็โทรมาง้อ แต่คงไม่ได้ผลหรอก เพราะให้โอกาสหลายรอบแหละ ก็เลยยืนยันย้าย ได้โปรลับคล้ายๆ กับ LINE Mobile เลย แต่คือเราต้องการใช้งานมากกว่าโปรที่ล่อใจตรงนั้น SMS 2FA รับไม่ได้ ให้ data มาก็ไม่ได้ช่วยอ่ะ คนละประเด็น

ตอนนี้ก็หวังว่าเอามาใช้แล้วมันจะดีนะ คือไม่ดีก็ย้ายออก ไม่ได้ยากอะไร brand loyalty สำหรับกลุ่มสินค้าหลายๆ กลุ่มผมไม่ค่อยมีหรอก ตอบสนองความต้องการได้ ก็ใช้ต่อ ถ้าไม่ได่ดั่งใจก็ย้ายออก แค่นั้นเอง

ลอง OneDrive Files On-Demand บน Windows 10 Fall Creators Update แล้วพบว่า จ่ายเงินกับ Dropbox Professional ดีกว่า

หลังจาก Dropbox ออก Smart Sync ที่เป็น Files On-Demand แต่เสียเงินเพิ่ม $100 สำหรับ feature ดังกล่าว

(upgrade plan จาก Dropbox Plus ราคา $99.99/Year ไปใช้ Dropbox Professional ราคาเต็ม $199.99/Year)

เมื่อคืนที่ผ่านมา ผมก็ย้ายข้อมูลไปไว้บน OneDrive แทน เพราะจะใช้งาน Files On-Demand ของ OneDrive ที่เป็นความสามารถใหม่ที่มาพร้อมกับ Windows 10 Fall Creators Update แทนจ่ายเงินให้กับ Dropbox Professional เพิ่มอีก $100

การทดสอบนี้ใช้ทั้ง OneDrive (Consumer) และ OneDrive for Business เพราะผมมีทั้ง 2 แบบเลย โดย OneDrive (Consumer) มีพื้นที่ 38GB และ OneDrive for Business มีพื้นที่ 1TB ซึ่งใช้ client ของ OneDrive ตัวล่าสุดบน Windows 10 Fall Creators Update

แล้วพบว่า …..

ผมกดจ่ายเงินอัพ Plan ไปใช้ Dropbox Professional ต่อไปดีกว่า …..

อ้าวววววว!!!

สิ่งที่เจอบน OneDrive (Consumer) และ OneDrive for Business ทั้ง 2 ตัว แล้วพบว่ามันทำงานได้แย่ และยังสู้กับ Dropbox ไม่ได้ก็คือ

  1. หากจำนวนไฟล์เยอะมากๆ พบว่ามันทำงานได้ช้ามาก (เยอะแน่นอน ให้พื้นที่มา 1TB ไฟล์มันต้องเยอะอยู่แล้ว) ช้าในระดับที่เปิดเพลง Spotify ฟังยังกระตุก และพัดลม CPU ทำงานเต็มรอบมันตลอดเวลา
  2. จากข้อข้างบน การอัพเดทไฟล์ใดๆ จะทำให้ OneDrive มันต้อง Looking for changes แล้วเวลาเกิดการทำงานนี้ มันจะกิน CPU สูงมากตลอด (เป็นเหตุผลของการกระตุกของการทำงานร่วมกับแอปอื่นๆ)
  3. OneDrive for Business ไม่รองรับอักขระพิเศษหลายตัวที่ File System ปรกติมันรองรับ ต้องมา rename ไฟล์โน้นนี่เยอะไปหมด

    สำหรับในส่วนของชื่อไฟล์ภาษาญี่ปุ่นนั้น ทดสอบซ้ำอีกรอบ น่าจะเป็นเพราะ folder มีอักขระพิเศษ (มี # อยู่ที่ชื่อ folder) และชื่อไฟล์มีอักขระพิเศษเลยโดน OneDrive for Business มัน Block ซึ่งปัญหานี้ไม่พบบน OneDrive (Consumer)
  4. การโหลดข้อมูลเข้า Cloud ของ Microsoft ทำงานช้ามาก การอัพโหลดไฟล์เยอะๆ ตัวโปรแกรมมันก็ทำงานช้าแล้วนะ แต่ตัว Cloud ก็ยังทำงานาช้าอีก แถมบางครั้ง Web และ App บนมือถือก็เหมือนจะอัพเดทไฟล์ไม่ทันที ต้องรอสัก 10 นาทีถึงจะเห็นไฟล์ที่อัพโหลดไปเสร็จแล้วเมื่อ 10 นาทีก่อน อาจจะเป็นผลจากข้อแรกคือ ไฟล์เยอะ การ refresh ข้อมูลใหม่เลยทำงานช้าตามไปด้วย

สรุป OneDrive Files On-Demand อาจจะเหมาะกับไฟล์น้อยๆ มั้ง ไฟล์เยอะๆ แบบเรานี่คงจะไม่ไหว (แต่ OneDrive for Business พี่ให้พื้นที่มา 1TB เลยนะ)

หมายเหตุ สิ่งที่เพิ่มมาใน Dropbox Professional คือ

  • Smart Sync (Files On-Demand)
  • Full text search (เอาไว้ค้นหาข้อมูลในไฟล์)
  • File version history 120-day history (Plus ให้ 30-day)
  • Shared link controls (Plan เก่ามันเคยมี มันถอดออกมาให้ Pro ใช้แทน)

ซึ่งเป็นความสามารถที่ดีมากๆ ทุกตัว แต่ก็ช่างใจนิดนึงกับราคาที่แพงขึ้นมากจนน่าตกใจ

multi-factor authentication (MFA) ของ Google account และ Microsoft account ไม่บังคับใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือเพื่อรับ OTP ผ่าน SMS

การเปิดใช้ multi-factor authentication (MFA) ของ Google account และ Microsoft account ตอนนี้ไม่บังคับว่าจะต้องใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือในการรับ OTP ผ่าน SMS แล้ว

โดยแนวทางอื่นๆ ในการทำ MFA คือ

  1. ใช้ TOTP ผ่าน Authenticator app
  2. ใช้การยืนยัน push notification ผ่าน Authenticator app (Google เรียก Google prompt)
  3. ใช้ backup code หรือ recovery code ผ่านการจดหรือบันทึกไว้ในที่ที่ปลอดภัย

ส่วนที่ต่างของ Microsoft account มีเพิ่มเติมให้คือ
– ใช้ alternative E-mail ในการรับ OTP ได้ด้วย (ของ Google ไม่มี)

ส่วนที่ต่างของ Google account มีเพิ่มเติมให้คือ
– ใช้ USB FIDO Universal 2nd Factor (U2F) มาใช้ร่วมกับการเข้าระบบ

สำหรับความสามารถ Sign in Without Password ผ่าน Authenticator ที่เป็นการกดยืนยันเข้าระบบโดยไม่ต้องใช้ password ใดๆ ผ่านตัวแอป Authenticator ของทั้งสองค่ายนั้น มีจุดที่แตกต่างคือ Microsoft account ยินยอมให้เปิด MFA ไปพร้อมๆ กันได้ แต่ถ้าเป็น Google จะไม่ยอม จะต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

สำหรับผู้ให้บริการค่ายอื่นๆ ก็มีแนวทางประมาณนี้เยอะขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ backup code เป็นตัวทดแทนการรับรหัส OTP ผ่าน SMS

เหตุผลที่ถอด SMS ออกจากการรับ OTP เพราะช่องโหว่บนระบบ Signalling System No. 7 (SS7) ในระบบสื่อสารผ่านโทรศัพท์ที่สามารถถูกดังฟังได้ อ้างอิง (1), (2) และ (3)