ทำไมผมถึงเขียน WeBlog (Blog)

นี่เป็นคำถามที่เวลาผมส่งลิงส์ Blog ผมไปไม่ว่าจะใน IM หรือทางอีเมล ต่าง ๆ มักจะถามว่า “เขียนไปทำไม”

ในตอนแรกเริ่มเดิมที เห็นพี่ ๆ ที่ทำงานด้าน programming หรือตามเว็บต่าง ๆ เค้ามี blog กัน เลยคิดในใจว่า “เฮ้ย มันดียังไง เค้าเขียนกันไปเพื่ออะไร” พออ่าน ๆ ไปเริ่มคิดได้ ความคิดเริ่มตกผลึก ปัญญาเริ่มก่อเกิด ทำให้เข้าใจอย่างหนึ่งว่า สาเหตุหลักที่ชาวต่างประเทศในหลาย ๆ ประเทศที่เจริญ ๆ แล้วทำไมเค้าถึงเก่งนัก ทำไม เก่งกันในทางที่เกาะกลุ่มกันได้ หรือไปในแนวทางเดียวกัน รวมถึงความรู้มันถึงได้กระจายออกไปได้ดี ผมก็ตั้ง สมมติฐานในว่า คงเป็นเพราะมีส่วนที่ไว้แลกเปลี่ยนความรู้ หรือเผยแพร่ความรู้ต่าง ๆ กับผู้อื่น บางคนก็ว่า Diary หรือ Webpage แบบเต็มรูปแบบ ซึ่งนั้นก็เป็นประเด็นที่น่าคิด และมีมากมายในเว็บของต่างชาติซึ่งมีเยอะมาก และมากกว่าไทยมากมายนัก แต่ Weblog หรือ Blog นั้นต่างออกไป

อย่างแรกคือ ความเป็นปัจเจกบุคคล หรือความเป็นส่วนตัว
อย่างที่สอง การสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง Blog หรือการโต้ตอบในแนว Webboard หรือ Community Web ที่เป็นไปในแนวทางเสนอหรือต่อยอดความคิดเห็นต่าง ๆ
ประการสุดท้าย ความง่ายในการใช้งาน ของตัวระบบ Blog เองที่สามารถปรับแต่ง แก้ไข ได้ไม่ว่าจะเชี่ยวชาญหรือไม่ก็ตามที ไม่ต้องมี Host ไม่ต้องหาพื้นที่ทำเว็บต่าง ๆ และมันทำได้ง่ายๆ ทำให้มันเป็นสิ่งที่สำเร็จรูปในตัว คุณมีหน้าที่เพียงเอาความคิดใส่ลงไปในรูปแบบ Blog ที่สื่อถึงรูปแบบชีวิต และแนวคิดของคุณเอง (LifeStyle) ทำให้มันเชื่อมโยงกับข้อแรกที่ว่า มีความเป็นปัจเจกบุคคล มาก เข้ามาแล้วรู้เลยว่า Blog ของใคร อารมณ์แบบไหน

ข้อดีของ Blog นั้น คือทำให้เกิดสังคมในการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันมากขึ้น เกิดความรู้ใหม่ ๆ ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจของตนเอง สู่สังคมโลก รวมถึงสื่อด้วยภาษาที่เป็นกันเอง หรือเรียบง่าย เข้าใจกันในหมู่หรือกลุ่มคนเหล่านั้น แต่บางคนก็สื่อด้วยภาษาที่รุนแรง แต่ก็อย่างที่บอก มันเป็นเรื่องของส่วนบุคคล ถ้ารับไม่ได้ก็ต้องออกไป เพราะถือว่า Blog เป็นสิ่งที่สื่อถึงตัวตนของคน คนนั้นได้เป็นอย่างดี

ซึ่งทำให้ผมเริ่มเขียนมันมาเรื่อย ๆ อะไรที่เขียนแล้วคนอื่นอ่านแล้วได้ประโยชน์ก็จะเขียนไปเรื่อย ๆ แต่ก็มีคนตั้งคำถามว่า “ทำไมไม่เอาไปลงเว็บหล่ะ” คือผมคิดว่าสิ่งที่จะเอาไปลงเว็บของผมได้ มันต้องได้รับการกลั่นกรองมาอย่างดีพอสมควร และเป็นสิ่งที่ไม่ควรใส่อารมณ์ความรู้สึกของผมลงไปมากเกินไปนัก ไม่อย่างงั้นมันจะดูเป็นเหมือนเอาเรื่องส่วนตัวใส่ลงไปในเนื้อหาวิชาการ จนมันดูไม่เหมาะสม ทำให้ผมเขียน Blog แทนเพราะบางครั้ง มันเอาลงเว็บหลัก ไม่ได้ แต่อยากระบาย หรือเรารู้เรื่องบางอย่างเราก็อยากถ่ายทอดออกไป หรือมันเบื่อ ๆ อยากบ่นลง Blog ก็เอาเลย เต็มที่ 5555 และบางครั้งเป็นความรู้ที่ได้จากเว็บอื่น ๆ เราคัดลอกมาก็ไม่อยากมีปัญหาในเรื่องละเมิดต่าง ๆ ไปลงเว็บหลักเรา ใส่ Blog ไปแทนเพราะอย่างน้อย ๆ คนอ่านก็กลุ่มเล็ก ๆ และเปลี่ยนความรู้ข่าวสารต่าง ๆ สบาย ๆ ไม่มีวิชาการให้ปวดหัวนัก ภาษาง่าย ๆ อ่านสบายหัว (มั้งนะ -_-”)

อีกอย่างคือ “เขียนแล้วได้อะไร” ผมก็คงตอบไปคล้ายในย่อหน้าที่แล้ว แต่เสริมหน่อยว่า ความรู้อยู่ในหัว ในตัวเอา บางครั้งก็ไม่อยากให้มันหายไปกับความไม่แน่นอนของเวลา และความทรงจำของเราเอง เลยเขียนไว้เหมือนบรรทึกย่อ ๆ ในสิ่งที่เรารู้ เผื่อมันจะมีประโยชน์กับคนอื่น ๆ เค้าบ้างดีกว่าเก็บไว้คนเดียว หรือถ่ายทอดแค่ไม่กี่คน เดี่ยวมันจะกลายเป็นคัมภัร์ที่สาบสูญ 555555555 (หนังจีนกำลังภายใน ย้ากกกกกกกกกก)

งานเอ๊กซ์โปที่ญี่ปุ่น อึ้งพูดไม่ออกบูธลาวเขมรดีกว่าไทยเยอะ บูธไทยเรา กระจ๊อก กระจอก จริงๆ

รับไม่ได้อย่างแรง จริงๆ …….. เข้ามาอ่านในกระทู้ใน pantip.com

http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P3431064/P3431064.html

อ่านแล้วช้ำใจอย่างแรงกับเรื่องเหล่านี้ ใครได้เห็นและได้เปรียบเทียบกับเพื่อบ้านเราหลาย ๆ ประเทศ แล้วยิ่งช้ำใจหนักไม่ว่าจะ ลาว กัมพูชา หรือแม้แต่ เวียดนาม …… สวยและดูดีรักษาสิ่งแวดล้อมมากกว่าเรามากนัก

ศาลาไทยในเอ็กซ์โป
โดย สุวัฒน์ ทองธนากุล 24 เมษายน 2548 16:51 น.

การจัดงาน “เอ็กซ์โป 2005 ไอจิ แจแปน ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นคราวนี้ กำลังเป็นข่าวดังสำหรับประเทศไทยในแง่เป็นการ “ขายหน้าระดับโลก”

เพราะมีเสียงสะท้อนจากคนที่ไปชมงานว่า ศาลาไทยซึ่งเป็นอาคารแสดงความโดดเด่นของประเทศไทย เพื่อให้ชาวโลกที่จะไปชมงานนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีกว่า 15 ล้านคนนั้น

การออกแบบอาคารแสดง และการนำเสนอของดีของไทยนั้น อยู่ในสภาพ “ดูไม่ได้” ไม่สมราคากับงบประมาณ 250 ล้านบาท เพื่อการนี้

คุณยงยุทธ ติยะไพรัช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ไหวทันก็เลยรีบไปดูด้วยตัวเอง พร้อมกลุ่มนักข่าวก็เสนอตามมาด้้วยข่าวที่ช่วยชี้ชัดว่า รัฐมนตรีคนใหม่ท่านนี้ไม่ใช่ต้นเรื่อง แต่ต้องรีบเข้าแก้ปัญหา

ขณะเดียวกัน บริษัท เจเอสแอล จำกัด ผู้ประมูลงานนี้ได้ย่อมตกเป็นจำเลยสังคม ฐานที่ทำงานระดับ “มวยวัด” ที่ไปโชว์ในระดับสากลได้อย่างไร

การแถลงข่าวของประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเจเอสแอลในวันนี้ จะช่วยกู้หน้าได้ขนาดไหน หรือจะกลายเป็นศึกยืดเยื้อ จนถึงมีการเอาผิดผู้เกี่ยวข้องได้แค่ไหนหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับผลการสอบสวนและเอาจริงของเจ้ากระทรวง

แต่เรื่องนี้ต้องเป็นเรื่องที่พูดกันไปอย่างสนุกปากแน่ เพราะเสียงวิจารณ์ที่มีมากมายตามข่าวทำนองว่า การออกแบบก่อสร้างและการเลือกของดีของไทยไปแสดงดูไม่เป็นมืออาชีพ

บางเสียงว่าดูจืดชืดราวกับเป็นแค่อาคารเก็บของ ซ้ำยังมีการเปรียบเทียบว่า สู้ความโดดเด่นดึงดูดความสนใจสู้ประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ มาเลเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย

ทั้งๆ ที่ของเรามีทรัพยากรและสิ่งที่จะอวดชาวโลกได้มากมายกว่า

บริษัท เอเอสแอล ซึ่งเคยรับจ้างจัดงานระดับชาติ จนได้รับคำชมอย่างพิธีเปิด-ปิดกีฬาเอเชียนเกมส์ ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ หรืองานแสดงพยุหยาตราทางชลมารคในงานประชุมเอเปก

มางานเอ็กซ์โปที่นาโกยาคราวนี้ คนทั่วไปได้ยินตัวเลขงบการจ้าง 250 ล้านบาท ก็ต้องรู้สึกว่าน่าจะทำได้ดีกว่านี้ แม้เจเอสแอลจะบอกว่า เป็นงานที่ทำขาดทุน เพราะเงินกว่าครึ่งเป็นค่าก่อสร้างซึ่งต้องจ้างบริษัทในญี่ปุ่นดำเนินการ แต่สังคมจะเห็นใจแค่ไหนในเมื่อผลออกมาไม่น่าพอใจ

ก็ล้วนเป็นประเด็นปลายเหตุที่จะมีการเช็กบิลกันไป

รวมทั้งข้อสงสัยว่าคณะกรรมการคัดสรรบริษัทผู้เข้าประมูล และคณะกรรมการจัดจ้างเห็นชอบกับแนวคิด และแบบที่นำเสนอได้อย่างไร

แต่สิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือ หลักการในการดำเนินงานไม่ควรเป็นเช่นที่แล้วมา
การไปจัดนิทรรศการในงานระดับนานาชาติเช่นนี้ เป็นการสื่อสารการตลาดเพื่อประเทศไทย

ถ้าจะให้หน่วยงานใดรับเป็นเจ้าภาพจัดการหน่วยงานนั้น ก็จะต้องตระหนักว่ากำลังเป็นตัวแทนสร้างผลงานการตลาดให้ประเทศ ซึ่งต้องมองเชิงบูรณาการ

เมื่อคิดอย่างแคบด้วยมิติแบบราชการว่า การจัดงาน “เอ็กซ์โป 2005″ ที่หมุนเวียนประเทศเจ้าภาพทุก 5 ปี คราวนี้มีแนวคิดหลักอยู่ที่ “ภูมิปัญญาของธรรมชาติ” (Nature Wisdom)

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจึงถูกมอบหมายให้รับผิดชอบ
แล้วคณะกรรมการคัดสรรบริษัทผู้เข้าประมูล และกรรมการจัดจ้างที่แต่งตั้งขึ้นยอมรับมาได้อย่างไร

ทั้งๆ ที่แนวคิดการบริหารงานที่รัฐบาลเคยเสนอแนวทางที่เรียกว่า “ทีมไทยแลนด์” ที่หวังจะให้การขับเคลื่อนกิจกรรมในการบุกตลาดต่างประเทศให้ผนึกกำลังกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไป เมื่อต้องไปแข่งขันกับตลาดโลก

การไปร่วมแสดง “จุดเด่นของประเทศ ครั้งนี้ในงานเอ็กซ์โปที่ญี่ปุ่น ก็เป็นการแข่งขันเพื่อชิงความโดดเด่น ความประทับใจให้ชาวโลกที่ไปชมงานเกิดความเชื่อมั่น และนิยมในผลที่มีศิลปะและวิถีไทยจากประเทศไทย

จึงเป็นโอกาสดียิ่งในการ “เสริมสร้าง”ภาพลักษณ์ที่ดี ไม่ใช่ไป “ประจาน” ตัวเอง เมื่อถูกเปรียบเทียบกับประเทศอื่น

ดังนั้น เมื่อภาระตกอยู่ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ในเชิงสื่อสารการตลาดมาก่อน ประกอบกับข้อจำกัดด้านงบประมาณและกำลังคน

ข้อถกเถียงเรื่องการบริหารงบประมาณพอไม่พอจึงเกิดขึ้น

ทั้งๆ ที่รายการนี้นอกจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่จะคัดสรรผลงานไปอวดแล้ว ยังมีหลายหน่วยงานที่ควรต้องเข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการจัดงานอย่างเต็มที่

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่มีข้อมูลและประสบการณ์เกี่ยวกับการส่งเสริมจุดเด่นด้านการท่องเที่ยว

กระทรวงสาธารณสุข ในแง่การเสริมความเชื่อมั่นด้านความสะอาด และรสชาติอร่อยของอาหารไทย เพื่อสนับสนุนโครงการครัวไทยสู่ครัวโลก รวมทั้งความโดดเด่นเรื่องสมุนไพร การแพทย์แผนไทย และการนวดแผนไทย

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาค

ส่วนหน่วยงานใดมีกำลังสนับสนุนทางการเงินด้วยก็ยิ่งเป็นส่วนเสริม เพราะที่สำคัญคือจะเอา “อะไร” ไปแสดง และแสดง “อย่างไร” จึงดึงดูดความสนใจ และเข้าใจอย่างที่เราอยากให้เป็น

นี่ยังไม่รู้ว่าจะปรับปรุงหรือเสริมแต่งรูปแบบของ “ศาลาไทย” ให้เข้าท่ากว่านี้ด้วยวิธีใด เพราะงานนี้

เปิดให้คนจากทั่วโลกเข้าชมทุกวันตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคมแล้ว

แต่ถ้าไม่ทำอะไรเลย ก็จะเป็นการประจานประเทศไทยไปจนกว่างานจะจบเอาในวันที่ 25 กันยายน 2548

ก็ขอให้ใช้บทเรียนนี้เป็นโอกาสในการปรับปรุงกระบวนการพิจารณาคัดเลือกผู้ว่าจ้าง และจัดจ้างของราชการที่ไม่ใช้การมุ่งผลเชิงปริมาณ แต่ต้องมุ่งคุณภาพที่ยอมรับได้

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9480000054571

ไปอ่านกันดูแล้วกัน ไม่รู้จะบรรยายอะไรแล้ว ………. T_T

Contents Feed และ Creative Commons License บน ThaiCyberPoint.com

หลังจากพัฒนามานานก็สำเร็จเสียที เป็นอะไรที่ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่สำหรับ xml เพราะอาจจะใหม่สำหรับเราก็ได้ แต่มันก็คล้ายๆ กับ HTML ที่เราถนัดเลยรู้สึกไม่ต่างกันเท่าไหร่ แต่รายละเอียดมันเยอะกว่ามาก ๆ แต่ก็พอทน ทำ script PHP สำหรับ Parse เอาข้อมูลจาก Database MySQL ได้เสียที แล้วเขียนลง feed files ได้ ก็ ok สำหรับงานนี้ เฮ้อเกือบจะไม่รอดเอา มึนๆ อีกแล้ว เฮ้อ งานเยอะจริง ๆ จริ้ง …..

หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่า RSS มันคืออะไร เดียวอธิบายให้ฟังเลยแล้วกัน ขอยกคำอธิบายของพี่เดฟ (rp@jp ตอนนี้กลายเป็น rp@th ไปแล้ว)

RSS คิดง่ายๆ ว่าเป็นข้อมูลดิบ (raw data) ของพวก website ที่ดึงออกมาจาก database โดยตรง ที่เราสามารถเอาไป format ต่อยังไงก็ได้ และเนื่องจากเป็นข้อมูลดิบ

ดังนั้น RSS จึงทำหน้าที่เป็นเหมือนกับ layer ตรงกลางระหว่าง database กับ website อีกทีหนึ่ง

เราอาจจะคิดว่า ปกติมันเป็นแบบนี้ (เอาแค่ concept นะ)

1) website ปกติ –> เขียน html content กันตรงๆ เลย
2) website ที่ใช้ข้อมูลจาก database –> ดึงข้อมูลจาก database มาทำเป็น html โดยผ่าน formater/parser ของตัวเอง

RSS เป็นสิ่งที่เข้ามาตรงกลาง ทำให้ตัว website กับ database แยกออกจากกันได้มากขึ้น และเป็นมาตรฐาน นอกจากนี้เรายังสามารถที่จะเอา RSS feed ไปอ่านที่อื่น (เช่นจาก RSS reader ทั่วไป) โดยไม่ผ่าน website ได้อีกด้วย

website พวกข่าว หรือว่า weblog ส่วนมาก ตอนนี้ก็มีการ publish RSS feed เช่นกัน

มันแตกต่างจาก HTML คือ HTML เน้นที่การ markup ของ layout ของ website ส่วน XML สามารถเขียน markup tag เองได้ เพื่อ markup content อะไรก็ได้ (เรียกว่า DTD) โดย RSS นั้นจะใช้ RSS หรือว่า Atom marktup เพื่อ markup เนื้อหา ว่าส่วนไหนเป็นอะไร

ส่วนอันนี้เป็นตัวอย่างการ markup raw data ที่ว่าด้วย RSS 0.91 จะเห็นว่ามันต่างจาก HTML ชัดๆ อย่างนึงเลย ตรงที่ว่ามันจะ markup ด้วย tag ที่แสดงความหมายของ content (เช่น title, link, description, ฯลฯ) มากกว่าที่จะเป็น tag ที่แสดงถึงรูปแบบของการแสดงผลหรือ layout (เช่น blockquote, font, ฯลฯ … ถึงจะมี blockquote หรือว่า font สีอะไรๆ เราก็ไม่รู้อยู่ดีว่ามันสื่อถึงอะไรกันแน่ เป็นต้น)

จริงๆ จะบอกว่า HTML เป็น XML แบบหนึ่งที่มี set ของ tag เพื่อการ markup การแสดงผลใน browser ก็ไม่ผิดหรอก

และไปเจออีกที่หนึ่ง

RSS เป็น รูปแบบเอกสารที่เอาไว้กระจายไปยังที่ต่างๆ และรวบรวมหัวข้อเนื้อหาจากเว็บต่าง ๆ หรือ อาจจะหัวข้อข่าวจาก เว็บบลอก RSS เป็นโครงสร้างของภาษา XML (eXtended Markup Language) ไม่ต้องสนใจ ให้สังเกตุว่าลักษณะของ RSS Feed จะมีสัญลักษณ์ XML หรือ RSS ในเว็บไซต์นั้นๆ หรือ ชื่อเว็บไซต์ต่อท้ายด้วย .xml และความพิเศษของมันคือมันเป็น xml ที่มีการกำหนด schema ที่แน่นอน สำหรับเอาไว้ให้โปรแกรมที่เป็น RSS Client ดึงมาแสดงครับ

ข้อดีของ RSS ที่ผมเห็นก็คือ สมมุติว่าผมชอบเปิดเข้าไปตาม เว็บต่างๆ เพื่อเข้าไปดูว่ามันมีอะไรใหม่มั่งหว่า บางทีผมก็ลืมไปว่าผมควรจะเปิดไปดูอะไรบ้าง หรือไม่ก็เปิดไป 5 วันมันยังไม่ update เลย เสียเวลาครับ ดังนั้น RSS มีประโยชน์คือคุณสามารถที่จะรับข่าวสารจากเว็บต่างๆ หรือ ข้อความใหม่ๆจาก blog คนอื่นๆได้โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา

ส่วนเจ้า RSS Client หรือ News Feed Client ก็มีมากมายให้เลือกใช้กันครับ ส่วนใหญ่จะฟรี ส่วนโปรแกรมที่ผมใช้มานานแล้ว แล้วก็ชอบที่สุดก็คือ RssOwl ครับ หลังจากโหลดมาก็ add รายชื่อ URL เข้าไปในโปรแกรม เท่านี้ก็สามารถติดตามเนื่อหาใหม่ๆของเว็บที่เราต้องการได้แล้วครับ

นั้นหมายความว่าท่าน ๆ ผู้อ่าน ก็สามารถติดตามเรื่องราวของบทความต่าง ๆ บนเว็บของผมได้ผ่านทางโปรแกรมพวก RSS Reader ได้เช่นกันครับ สะดวกไหมหล่ะ ;)

ต่อมาก็ Creative Commons License ที่ได้จาก blog ของพี่ bact ก็เลือก ๆ อยู่นานก็ได้มาเสียทีมีลายละเอียดคราว ๆ คือ

Attribution-NonCommercial-NoDerivs 2.0

You are free:

  • to copy, distribute, display, and perform the work

Under the following conditions:

by
Attribution. You must give the original author credit.
nc
Noncommercial. You may not use this work for commercial purposes.
nd
No Derivative Works. You may not alter, transform, or build upon this work.
  • For any reuse or distribution, you must make clear to others the license terms of this work.
  • Any of these conditions can be waived if you get permission from the copyright holder.

ก็ไม่ได้เขี่ยว อะไรหรอก แต่ใครจะเอาไปใช้ยังไงก็มีเครดิตหน่อยก็แล้วกันเน้อ …. ส่วนใครจะเอาไปขายก็เจอกันในศาลแล้วกัน

ไปหล่ะ -_-” ง่วงจริง ……

Adobe ซื้อ Macromedia ด้วยราคา 3.4 พันล้านดอลฯ

อะไร ๆ มันก็เป็นไปได้ นี่ก็อีกเรื่องที่เป็นไปแล้ว ตอนนี้ Adobe ซื้อ Macromedia และควบรวมมาในชื่อ Adobe Systems, Inc ไปเลย

Adobe Buys Macromedia for $3.4B
Posted by CmdrTaco on Monday April 18, @10:00AM

Kobayashi Maru writes “A press release from Adobe announces that they will buy Macromedia for approximately $3.4 billion. The new company will be called Adobe Systems, Inc.”

จากข่าวถือเป็นการขายกิจการด้านธุรกิจ IT ครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งหลังจากการขายส่วนผลิต PC ตระกูล Think ของ IBM ให้ Lenovo อย่างที่ได้เคย ๆ ได้บ่น ๆ ใน blog ไปได้สักพัก ….

การขายครั้งนี้คาดว่าเป็นการรวมกันอยู่อย่างแข็งแกร่ง และถ่ายโอนเทคโนโลยีต่างๆ ถ้าคนที่ได้ใช้ซอฟต์แวร์ Adobe และ Macromedia แล้วจะพอเข้าใจว่าการทำงานนั้นแตกต่างกันในจุดหมายของผลงาน ซอฟต์แวร์ของ Adobe เป็นซอฟต์แวร์ทำงานด้านออกแบบ เช่น Photoshop เป็น 2D Raster Image, Illustrator เป็น 2D Vector Image, Premiere + AfterAffect เป็น 4D (Time Based/VDO Editor) และ Indesign เป็น Press + Layout. ส่วนซอฟต์แวร์ของ Macromedia เป็นซอฟต์แวร์สำหรับสร้าง Application Online เช่น Director, Flash, Dreamweaver, ColdFusion, ฯลฯ แทบทั้งสิ้นเลย …..
เมื่อเอาจุดแข็งมารวมกัน เพื่อลบจุดอ่อนของกันและกัน ทำให้เป็นเหมือนกับการฮั้ว และผูกขาดได้เลยทีเดียว (ผมคิดแบบนี้นะ) ….. แต่ที่ดูๆ แล้วมีซอฟต์แวร์บางตัวต้องหลีกทาง เช่น Freehand และ Illustrator, DreamWeaver และ GoLive, ImageReady และ Fireworks, ฯลฯ ดูกันว่าอะไรอยู่จะไป กัน …….. T_T

แต่ก็ดูต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร แต่ที่อยากให้เกิดคือราคาของ Software ของทั้งสองค่ายคงลดลงหลังจากควบรวมกัน แต่กลัวว่ามันจะรวมหัวกันขึ้นราคาหล่ะซิ T_T

ใหม่!!! Firefox 1.0.3 ปิดช่องโหว่อันตราย

เมื่อวานเพิ่งอัพเกรดไปหยกๆๆ

ใหม่!!! Firefox 1.0.3 ปิดช่องโหว่อันตราย
โดย กองบรรณาธิการเว็บไซต์ ARiP.co.th อัพเดต 17 เมษายน 2005 เวลา 9:26 น.

รายงานข่าแจ้งว่า Mozilla Foundation ออกบราวเซอร์ Firefox และชุดซอฟต์แวร์ Mozilla เวอร์ชันใหม่แล้ว โดยเป็นเวอร์ชันที่ได้รับการแก้ไขช่องโหว่ต่างๆ ที่ได้เคยรายงานข่าวไปแล้ว ก่อนหน้านี้ ได้มีการรายงานข่าวถึงช่องโหว่ของความปลอดภัยในกลไกการทำงานของ JavaScript ล่าสุดช่องโหว่ดังกล่าวได้มีการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว โดยในเวอร์ชั่นใหม่ได้มีการแก้ไขช่องโหว่วิกฤติที่พบ 3 แห่งใน Firefox แต่ก็จะพบช่องโหว่ดังกล่าวด้วยใน Mozilla ถึง 2 แห่ง ช่องโหว่ทั้งหมดยังจะได้มีการแก้ไขเข้าไปในชุดซอฟต์แวร์อัพเกรด Firefox ด้วย ส่วนเมล์ไคลเอ็นต์อย่าง Thunderbird ยังไม่มีรายงานการปรับปรุงใดๆ ทั้งสิ้น
สำหรับ 3 ช่องโหว่วิกฤติที่แก้ไขไปแล้วนั้น มี 2 ช่องโหว่ที่เกิดจากการรันโค้ดที่ไม่ปกติ เพื่อนำไปสู่การได้รับสิทธิ์ในการเข้าถึงระบบ
ช่องโหว่แรกเป็นข้อผิดพลาดของการสนับสนุนการทำงานกับ favicons (ไอคอนเล็กๆ ที่อยู่หน้า URL ในช่อง Address ของบราวเซอร์) ที่ผู้บุกรุกสามารถรันสคริปท์ เพื่อยกระดับสิทธิ์ในการเข้าถึง และติดตั้ง หรือสั่งรันซอฟต์แวร์ได้ตามอำเภอใจ
ช่องโหว่ที่ 2 จะเกิดกับ Firefox โดยเฉพาะ โดยจะยอมให้สคริปท์อันตรายเปิดหน้า privilege ที่อยู่ด้านข้าง (sidebar) เพื่อส่งสคริปท์ที่สามารถใช้ในการติดตั้งโค้ดอันตราย หรือขโมยข้อมูลก็ได้
ช่องโหว่ที่ 3 จะมีลักษณะแตกต่างออกไป โดยพบจะอยู่ในส่วนของโค้ด UI ที่ใช้ในการรันสคริปท์ของผู้ใช้ ซึ่งทาง Mozilla ยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับบั๊กตัวนี้จนกว่าจะถึงวันที่ 25 เมษายน

ดาวน์โหลด Firefox 1.0.3 คลิกที่นี่