Blog-tag

โดน Tag มาจาก Katanyoo’s Blog (เห็นว่าเราบ่น ๆ ว่าไม่โดน Tag เลย Tag เราเหรอ รู้นะว่าหาคน Tag ไม่ได้ ฮ่า… เพราะเค้าเล่นกันหมดแล้ว)

[update 1, 10 มกราคม 2549 19:59 น. ] มีคน Tag มาตั้งแต่วันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมาแล้ว แต่เพิ่งรู้เมื่อกี้นี้เอง จาก AnnoMundi’s Weblog ครับ

อธิบายสั้นๆ Blog tag ก็คือ การบอกสิ่งที่เกี่ยวกับตัวเอง 5 อย่าง แล้ว tag ต่อให้คนอื่นทำบ้าง แบบนี้ไปเรื่อยๆ

1. ชื่อ Ford AntiTrust เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นมาด้วยความอยากสื่อถึงสิ่งที่ตนเองมี และตนเองชอบ Ford เป็นชื่อเล่นที่พ่อและแม่ ตั้งให้ตั้งแต่เด็กในตอนนั้นพ่อซื้อรถ Ford พอดีเลยตั้งเสีย ส่วน AntiTrust นั้นมาจากว่าตัวเองดูภาพยนต์เรื่อง AntiTrust แล้วติดใจชอบมาก และคิดว่าในชีวิตหนึ่งจะได้ทำงานในสภาพแวดล้อมใน Nurv และมีความเก่งแบบ Milo Hoffman ในเรื่องบ้าง ถึงแม้ Nurv จะถูกสร้างขึ้นในจินตนาการให้เหมือนกับ Microsoft ก็ตามที และในนัยหนึ่งก็คือในตอน ม. ปลาย จะเป็นพวกปลายแถวในเรื่องเรียน แต่ Nerd ในเรื่องคอมพิวเตอร์มาก จนกลายเป็น Lab-Boy วันๆ อยู่แต่ห้อง Lab Computer จริง ๆ แล้วสิงตั้งแต่ ม.ต้น ช่วง ม. 3 นั้นแหละ แต่พอเข้ามหาวิทยาลัย ก็พยายามกำจัด Nerd ออกจากตัวไป เริ่มเป็นคนมากขึ้น และกลายเป็น Geek จัด ๆ ก็ช่วงปี 3 และการที่ชอบทำอะไรแปลก ๆ และไม่ชอบทำอะไรที่คนเค้าทำกัน จึง Anti การผูกขาดแนวคิดที่ใช้คำว่า "ใคร ๆ เขาก็ทำกัน" จึงเป็นที่มาของคำว่า AntiTrust ที่แข็งกร้าวมากขึ้นกว่าตอนแรกในช่วง ม.ปลาย

2. IT IDols ของผมคือ Bill Gates หลายคนคงแปลกใจ หรือบางคนที่รู้จึกผมมาก ๆ คงไม่แปลกใจ เพราะผมอ่านประวิติและแนวการทำบริษัท Microsoft ตั้งแต่ตอนอยู่ ม. 1 ในหนังสือ Computer Today ก่อนที่จะรวมเล่มทีหลัง ซึ่งผมก็ยังคงมีเล่นนี้อยู่ โดยหนังสืออื่น ๆ ทั้งไทย และเทศ ถ้าเป็นของ Bill Gates ก็จะพยายามหาซื้อมาให้ได้ โดยในช่วงเวลาอันใกล้นี้จะสั่งหนังสือเกียวกับเขาอีกหลายเล่มจาก Amazon.com แนวคิดการทำงาน และการปรับเปลี่ยนแนวคิดการทำงานในชีวิตประจำวัน เป็นอะไรที่โด้ดเด่น และน่าประทับใจอย่างมาก ใครได้อ่าน The Road A-Head จะเข้าใจเป็นอย่างดี ว่าสิ่งที่เขาคนนี้เขียนไว้ได้เป็นจริงแล้วในวันนี้อย่างมากมาย น่าประทับใจมากครับนายคนนี้

3. ยังคงสายตาดีอยู่ทุกเมื่อ ไม่ว่าจะเล่นคอมพิวเตอร์มากมายแค่ไหน ทำให้เคยได้มีโอกาสใส่แว่นกันเค้าเสียที

4. ภาษาโปรแกรมแรกที่ได้เขียนคือภาษา LOGO และจริง ๆ จัง ๆ กับภาษา C ตอน ม. 3 ส่วนระบบปฎิบัติการตัวแรกในชีวิตคือ DOS 5 Thai ตามด้วย Word Processor คือ RW Word

5. แม่คือคนที่ทำให้ผมได้สัมผัส Computer ได้มากเท่าที่อยากจะทำ ถึงแม้ว่ากว่าจะได้คอมพิวเตอร์ก็ตอน ม.4 และก่อนหน้านั้นไม่มีคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเอง แต่ก็อาศัยใช้ตามเวลาที่มีอยู่ที่เรียนพิเศษด้านคอมพิวเตอร์ ECC สาขานครสวรรค์ (ทำเครื่องเค้าพังไปหลายตัว ฮ่า ….)

อีก 5 คนก็รับช่วงต่อไปนะคร้าบบบบบบบบ

ได้แก่ OHM DEV, N’Pop, พี่เดฟ, หน่อย SNC และ พี่ Devman (เจ้าของ Host ที่เช่าอยู่)

Hello World !! Ford AntiTrust’s Projects Work

และแล้วก็ได้ทำสักทีสำหรับ Blog Project Work เป็น Blog สำหรับบอกเล่าเก้าสิบ งาน Programming แล้วพวก Project งานต่างๆ ที่ได้ทำ ในส่วนที่เปิดเผยได้ แต่ท่าทางจะเปิดเผยไดเ้่เยอะในส่วนของ FOSS น่ะ ทั้งพัฒนาในด้าน .Net และ มาตรฐานอื่นๆ ในแบบ FOSS หรือพวก Web Application ต่างๆ ที่ได้รับการว่าจ้าง หรือจัดทำจากลูกค้า ซึ่งในส่วนนี้แล้ว จะเอาแค่เทคนิค หรือระบบที่เค้ายอมรับให้เผยแพร่ได้ เอามาบอกๆ กัน แต่ท่าทางจะพูดในเชิืงเทคนิดมากกว่า แล้วเจอกันนะ หุๆๆๆ

ติดตามได้ที่นี่

ทำไมผมถึงเขียน WeBlog (Blog)

นี่เป็นคำถามที่เวลาผมส่งลิงส์ Blog ผมไปไม่ว่าจะใน IM หรือทางอีเมล ต่าง ๆ มักจะถามว่า “เขียนไปทำไม”

ในตอนแรกเริ่มเดิมที เห็นพี่ ๆ ที่ทำงานด้าน programming หรือตามเว็บต่าง ๆ เค้ามี blog กัน เลยคิดในใจว่า “เฮ้ย มันดียังไง เค้าเขียนกันไปเพื่ออะไร” พออ่าน ๆ ไปเริ่มคิดได้ ความคิดเริ่มตกผลึก ปัญญาเริ่มก่อเกิด ทำให้เข้าใจอย่างหนึ่งว่า สาเหตุหลักที่ชาวต่างประเทศในหลาย ๆ ประเทศที่เจริญ ๆ แล้วทำไมเค้าถึงเก่งนัก ทำไม เก่งกันในทางที่เกาะกลุ่มกันได้ หรือไปในแนวทางเดียวกัน รวมถึงความรู้มันถึงได้กระจายออกไปได้ดี ผมก็ตั้ง สมมติฐานในว่า คงเป็นเพราะมีส่วนที่ไว้แลกเปลี่ยนความรู้ หรือเผยแพร่ความรู้ต่าง ๆ กับผู้อื่น บางคนก็ว่า Diary หรือ Webpage แบบเต็มรูปแบบ ซึ่งนั้นก็เป็นประเด็นที่น่าคิด และมีมากมายในเว็บของต่างชาติซึ่งมีเยอะมาก และมากกว่าไทยมากมายนัก แต่ Weblog หรือ Blog นั้นต่างออกไป

อย่างแรกคือ ความเป็นปัจเจกบุคคล หรือความเป็นส่วนตัว
อย่างที่สอง การสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง Blog หรือการโต้ตอบในแนว Webboard หรือ Community Web ที่เป็นไปในแนวทางเสนอหรือต่อยอดความคิดเห็นต่าง ๆ
ประการสุดท้าย ความง่ายในการใช้งาน ของตัวระบบ Blog เองที่สามารถปรับแต่ง แก้ไข ได้ไม่ว่าจะเชี่ยวชาญหรือไม่ก็ตามที ไม่ต้องมี Host ไม่ต้องหาพื้นที่ทำเว็บต่าง ๆ และมันทำได้ง่ายๆ ทำให้มันเป็นสิ่งที่สำเร็จรูปในตัว คุณมีหน้าที่เพียงเอาความคิดใส่ลงไปในรูปแบบ Blog ที่สื่อถึงรูปแบบชีวิต และแนวคิดของคุณเอง (LifeStyle) ทำให้มันเชื่อมโยงกับข้อแรกที่ว่า มีความเป็นปัจเจกบุคคล มาก เข้ามาแล้วรู้เลยว่า Blog ของใคร อารมณ์แบบไหน

ข้อดีของ Blog นั้น คือทำให้เกิดสังคมในการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันมากขึ้น เกิดความรู้ใหม่ ๆ ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจของตนเอง สู่สังคมโลก รวมถึงสื่อด้วยภาษาที่เป็นกันเอง หรือเรียบง่าย เข้าใจกันในหมู่หรือกลุ่มคนเหล่านั้น แต่บางคนก็สื่อด้วยภาษาที่รุนแรง แต่ก็อย่างที่บอก มันเป็นเรื่องของส่วนบุคคล ถ้ารับไม่ได้ก็ต้องออกไป เพราะถือว่า Blog เป็นสิ่งที่สื่อถึงตัวตนของคน คนนั้นได้เป็นอย่างดี

ซึ่งทำให้ผมเริ่มเขียนมันมาเรื่อย ๆ อะไรที่เขียนแล้วคนอื่นอ่านแล้วได้ประโยชน์ก็จะเขียนไปเรื่อย ๆ แต่ก็มีคนตั้งคำถามว่า “ทำไมไม่เอาไปลงเว็บหล่ะ” คือผมคิดว่าสิ่งที่จะเอาไปลงเว็บของผมได้ มันต้องได้รับการกลั่นกรองมาอย่างดีพอสมควร และเป็นสิ่งที่ไม่ควรใส่อารมณ์ความรู้สึกของผมลงไปมากเกินไปนัก ไม่อย่างงั้นมันจะดูเป็นเหมือนเอาเรื่องส่วนตัวใส่ลงไปในเนื้อหาวิชาการ จนมันดูไม่เหมาะสม ทำให้ผมเขียน Blog แทนเพราะบางครั้ง มันเอาลงเว็บหลัก ไม่ได้ แต่อยากระบาย หรือเรารู้เรื่องบางอย่างเราก็อยากถ่ายทอดออกไป หรือมันเบื่อ ๆ อยากบ่นลง Blog ก็เอาเลย เต็มที่ 5555 และบางครั้งเป็นความรู้ที่ได้จากเว็บอื่น ๆ เราคัดลอกมาก็ไม่อยากมีปัญหาในเรื่องละเมิดต่าง ๆ ไปลงเว็บหลักเรา ใส่ Blog ไปแทนเพราะอย่างน้อย ๆ คนอ่านก็กลุ่มเล็ก ๆ และเปลี่ยนความรู้ข่าวสารต่าง ๆ สบาย ๆ ไม่มีวิชาการให้ปวดหัวนัก ภาษาง่าย ๆ อ่านสบายหัว (มั้งนะ -_-”)

อีกอย่างคือ “เขียนแล้วได้อะไร” ผมก็คงตอบไปคล้ายในย่อหน้าที่แล้ว แต่เสริมหน่อยว่า ความรู้อยู่ในหัว ในตัวเอา บางครั้งก็ไม่อยากให้มันหายไปกับความไม่แน่นอนของเวลา และความทรงจำของเราเอง เลยเขียนไว้เหมือนบรรทึกย่อ ๆ ในสิ่งที่เรารู้ เผื่อมันจะมีประโยชน์กับคนอื่น ๆ เค้าบ้างดีกว่าเก็บไว้คนเดียว หรือถ่ายทอดแค่ไม่กี่คน เดี่ยวมันจะกลายเป็นคัมภัร์ที่สาบสูญ 555555555 (หนังจีนกำลังภายใน ย้ากกกกกกกกกก)

Contents Feed และ Creative Commons License บน ThaiCyberPoint.com

หลังจากพัฒนามานานก็สำเร็จเสียที เป็นอะไรที่ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่สำหรับ xml เพราะอาจจะใหม่สำหรับเราก็ได้ แต่มันก็คล้ายๆ กับ HTML ที่เราถนัดเลยรู้สึกไม่ต่างกันเท่าไหร่ แต่รายละเอียดมันเยอะกว่ามาก ๆ แต่ก็พอทน ทำ script PHP สำหรับ Parse เอาข้อมูลจาก Database MySQL ได้เสียที แล้วเขียนลง feed files ได้ ก็ ok สำหรับงานนี้ เฮ้อเกือบจะไม่รอดเอา มึนๆ อีกแล้ว เฮ้อ งานเยอะจริง ๆ จริ้ง …..

หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่า RSS มันคืออะไร เดียวอธิบายให้ฟังเลยแล้วกัน ขอยกคำอธิบายของพี่เดฟ (rp@jp ตอนนี้กลายเป็น rp@th ไปแล้ว)

RSS คิดง่ายๆ ว่าเป็นข้อมูลดิบ (raw data) ของพวก website ที่ดึงออกมาจาก database โดยตรง ที่เราสามารถเอาไป format ต่อยังไงก็ได้ และเนื่องจากเป็นข้อมูลดิบ

ดังนั้น RSS จึงทำหน้าที่เป็นเหมือนกับ layer ตรงกลางระหว่าง database กับ website อีกทีหนึ่ง

เราอาจจะคิดว่า ปกติมันเป็นแบบนี้ (เอาแค่ concept นะ)

1) website ปกติ –> เขียน html content กันตรงๆ เลย
2) website ที่ใช้ข้อมูลจาก database –> ดึงข้อมูลจาก database มาทำเป็น html โดยผ่าน formater/parser ของตัวเอง

RSS เป็นสิ่งที่เข้ามาตรงกลาง ทำให้ตัว website กับ database แยกออกจากกันได้มากขึ้น และเป็นมาตรฐาน นอกจากนี้เรายังสามารถที่จะเอา RSS feed ไปอ่านที่อื่น (เช่นจาก RSS reader ทั่วไป) โดยไม่ผ่าน website ได้อีกด้วย

website พวกข่าว หรือว่า weblog ส่วนมาก ตอนนี้ก็มีการ publish RSS feed เช่นกัน

มันแตกต่างจาก HTML คือ HTML เน้นที่การ markup ของ layout ของ website ส่วน XML สามารถเขียน markup tag เองได้ เพื่อ markup content อะไรก็ได้ (เรียกว่า DTD) โดย RSS นั้นจะใช้ RSS หรือว่า Atom marktup เพื่อ markup เนื้อหา ว่าส่วนไหนเป็นอะไร

ส่วนอันนี้เป็นตัวอย่างการ markup raw data ที่ว่าด้วย RSS 0.91 จะเห็นว่ามันต่างจาก HTML ชัดๆ อย่างนึงเลย ตรงที่ว่ามันจะ markup ด้วย tag ที่แสดงความหมายของ content (เช่น title, link, description, ฯลฯ) มากกว่าที่จะเป็น tag ที่แสดงถึงรูปแบบของการแสดงผลหรือ layout (เช่น blockquote, font, ฯลฯ … ถึงจะมี blockquote หรือว่า font สีอะไรๆ เราก็ไม่รู้อยู่ดีว่ามันสื่อถึงอะไรกันแน่ เป็นต้น)

จริงๆ จะบอกว่า HTML เป็น XML แบบหนึ่งที่มี set ของ tag เพื่อการ markup การแสดงผลใน browser ก็ไม่ผิดหรอก

และไปเจออีกที่หนึ่ง

RSS เป็น รูปแบบเอกสารที่เอาไว้กระจายไปยังที่ต่างๆ และรวบรวมหัวข้อเนื้อหาจากเว็บต่าง ๆ หรือ อาจจะหัวข้อข่าวจาก เว็บบลอก RSS เป็นโครงสร้างของภาษา XML (eXtended Markup Language) ไม่ต้องสนใจ ให้สังเกตุว่าลักษณะของ RSS Feed จะมีสัญลักษณ์ XML หรือ RSS ในเว็บไซต์นั้นๆ หรือ ชื่อเว็บไซต์ต่อท้ายด้วย .xml และความพิเศษของมันคือมันเป็น xml ที่มีการกำหนด schema ที่แน่นอน สำหรับเอาไว้ให้โปรแกรมที่เป็น RSS Client ดึงมาแสดงครับ

ข้อดีของ RSS ที่ผมเห็นก็คือ สมมุติว่าผมชอบเปิดเข้าไปตาม เว็บต่างๆ เพื่อเข้าไปดูว่ามันมีอะไรใหม่มั่งหว่า บางทีผมก็ลืมไปว่าผมควรจะเปิดไปดูอะไรบ้าง หรือไม่ก็เปิดไป 5 วันมันยังไม่ update เลย เสียเวลาครับ ดังนั้น RSS มีประโยชน์คือคุณสามารถที่จะรับข่าวสารจากเว็บต่างๆ หรือ ข้อความใหม่ๆจาก blog คนอื่นๆได้โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา

ส่วนเจ้า RSS Client หรือ News Feed Client ก็มีมากมายให้เลือกใช้กันครับ ส่วนใหญ่จะฟรี ส่วนโปรแกรมที่ผมใช้มานานแล้ว แล้วก็ชอบที่สุดก็คือ RssOwl ครับ หลังจากโหลดมาก็ add รายชื่อ URL เข้าไปในโปรแกรม เท่านี้ก็สามารถติดตามเนื่อหาใหม่ๆของเว็บที่เราต้องการได้แล้วครับ

นั้นหมายความว่าท่าน ๆ ผู้อ่าน ก็สามารถติดตามเรื่องราวของบทความต่าง ๆ บนเว็บของผมได้ผ่านทางโปรแกรมพวก RSS Reader ได้เช่นกันครับ สะดวกไหมหล่ะ ;)

ต่อมาก็ Creative Commons License ที่ได้จาก blog ของพี่ bact ก็เลือก ๆ อยู่นานก็ได้มาเสียทีมีลายละเอียดคราว ๆ คือ

Attribution-NonCommercial-NoDerivs 2.0

You are free:

  • to copy, distribute, display, and perform the work

Under the following conditions:

by
Attribution. You must give the original author credit.
nc
Noncommercial. You may not use this work for commercial purposes.
nd
No Derivative Works. You may not alter, transform, or build upon this work.
  • For any reuse or distribution, you must make clear to others the license terms of this work.
  • Any of these conditions can be waived if you get permission from the copyright holder.

ก็ไม่ได้เขี่ยว อะไรหรอก แต่ใครจะเอาไปใช้ยังไงก็มีเครดิตหน่อยก็แล้วกันเน้อ …. ส่วนใครจะเอาไปขายก็เจอกันในศาลแล้วกัน

ไปหล่ะ -_-” ง่วงจริง ……