การเซ็ตให้ Borland C++ Compiler 5.5 ทำงานร่วมกับ EditPlus เพื่อทำการ Compile ไฟล์ที่เขียนขึ้นด้วยภาษา C++

สิ่งที่ต้องมี

  • Borland C++ Compiler 5.5
  • EditPlus

1. ดาวน์โหลด Borland C++ Compiler 5.5 มาจากเว็บ Borland ที่ http://www.codegear.com/downloads/free/cppbuilder

2. ดาวน์โหลด EditPlus ได้จากที่นี่ http://www.editplus.com

3. เมื่อโหลดได้แล้วทำการติดตั้งดังภาพด้านล่างนี้ครับ


ภาพที่ 3-1


ภาพที่ 3-2


ภาพที่ 3-3


ภาพที่ 3-4


ภาพที่ 3-5

4. เปิด EditPlus ขึ้นมาแล้วไปที่ Tools ที่เมนูบาร์ แล้วไปที่ เมนู Configure User Tools


ภาพที่ 4-1

5. เข้ามาที่หน้าต่าง Preferences ตอนนี้เราจะอยู่ที่ Tools และหัวข้อย่อย User tools

  • ให้เราเลือกที่ Groups and tools items ไหนก็ได้ ในตัวอย่างเลือกอยู่ที่ Groups 4
  • กดปุ่ม Add Tool แล้วไปที่ Program


ภาพที่ 5-1

6. เราจะได้ New Program มา 1 อัน

  • เราสามารถเปลี่ยนชื่อได้โดยไปที่ Menu text ในที่นี้ให้เปลี่ยนเป็น “Borland C++ Compile
  • ในส่วนของ Command ให้ไป Browse ให้ชี้ไปที่ ไฟล์ bcc32.exe ซึ่งในที่นี้ถ้าติดตั้งตามแบบข้างต้น (ข้อที่ 3 ) จะได้ที่นี่ C:\Borland\BCC55\Bin\bcc32.exe
  • ในส่วนของ Argument ให้ใส่ตามข้างล่างนี้เลย ถ้าติดตั้งตามแบบข้างต้น (ข้อที่ 3 )
    -IC:\Borland\BCC55\Include -LC:\Borland\BCC55\Lib -n$(FileDir) $(FilePath)
  • จากข้อที่แล้วจะสังเกตที่ได้ขีดเส้นได้ว่าคือที่ ที่เราได้เซ็ตไว้ข้างต้นแล้วในตอนที่ติดตั้ง Borland C++ Compiler 5.5 ซึ่งในข้อที่ 3 เราได้กำหนดไว้ที่ C:\Borland\BCC55 นั้นเอง
  • ในส่วนของ Initial directory ให้กำหนดเป็น C:\Borland\BCC55\Bin
  • ให้ทำการทำเครื่องหมายถูกที่ Capture output ด้วย


ภาพที่ 6-1

7. ทำการกดปุ่ม Add Tool แล้วไปที่ Program เพื่อ New Program อีกหนึ่งอัน


ภาพที่ 7-1

8. ในขั้นตอนนี้เราจะทำ Menu Run กันในโปรแกรม EditPlus แต่มีข้อเสียอยู่อย่างเดียวคือ

เราจะไม่สามารถใช้กับโปรแกรมที่มีการรับ Argument ได้ ซึ่งทางผู้จัดทำเอกสารยังไม่ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมแต่อย่างใด แต่สามาถ Compile ได้แต่จะมีวิธีการทำในภายหลังว่าจะทำยังไงให้สามารถ Run แล้ว สามารถให้โปรแกรมสามารถรับค่าได้

  • ที่ Menu text ให้เปลี่ยนจาก New Program เป็น Run
  • ที่ Command ให้ใส่ $(FileNameNoExt)
  • ที่ Initial directory ให้ใส่ $(FileDir)
  • ให้ทำการทำเครื่องหมายถูกที่ Capture output ด้วย


ภาพที่ 8-1

9. ต่อมาเรามาทำการเปลี่ยนชื่อ Groups 4 ให้เป็น C++ Compile ก่อนเพื่อจะได้ไม่สับสน

  • ไปที่ Group Name
  • แล้วทำการเปลี่ยนชื่อเป็น C++ Compile
  • กด OK เพื่อยืนยันการเปลี่ยนแปลง


ภาพที่ 9-1

10. แล้วกด OK ออกมาจาก หน้าต่าง Preferences

11. เขียนโปรแกรม ง่ายๆ ทดสอบกันว่ามันทำงานหรือเปล่า

  • แต่ก่อนทำการ Compile และ Run ต้องทำการ Save ก่อนเพื่อจะได้ Run ได้
  • การ Save ที่ถูกต้องและจะทำให้ Compile ผ่านได้และไม่ผิดพลาด นั้นควรตั้งชื่อไฟล์ และการเก็บไฟล์ไว้ที่ Folder ที่ไม่มีช่องว่างในการตั้งชื่อ และชื่อต้องที่ไม่มีช่องว่างในการตั้งชื่อด้วย (แต่สามารถใช้ _ ในการเว้นระยะแทนได้) เช่น
    • D:\Ford\MyProgramming
    • D:\cpp
    • D:\cpp\test.cpp
    • D:\cpp\test_input.cpp
  • ไม่ควร Save ไว้ที่ Folder หรือตั้งชื่อไฟล์ที่มีช่องว่างระหว่างชื่อ, ชื่อเป็นภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษ, ชื่อมีเครื่องหมายพิเศษหรือ มีสัญลักษณ์พิเศษ เช่น
    • D:\Ford\My Programming
    • D:\Ford\My OOP
    • D:\Ford\My Cpp
    • D:\Ford\My C(pp)
    • D:\cpp\tes#t.cpp
    • D:\cpp\test input.cpp
  • เราก็เขียนโปรแกรมง่ายๆ ดังภาพด้านล่างนี้ ……… และ Save ไว้ที่ D:\test.cpp


ภาพที่ 11-1

12. เมื่อเรา Save แล้ว ก็ไปที่ Tools ที่เมนูบาร์ ไปที่ User Tool Groups แล้วเลือกที่ C++ Compile ที่เราได้เซ็ตกันเมื่อกี้นี้


ภาพที่ 12-1

13. เราก็จะได้เมนูใหม่เข้ามาคือ Borland C++ Compile และ Run ที่เราเซ็ตไว้เมื่อกี้นี้

  • ให้เรากดที่เมนู Borland C++ Compile เพื่อทำการ Compile


ภาพที่ 13-1

14. เราจะได้ผลลัพธ์ตามภาพ


ภาพที่ 14-1

15. แล้วถ้าเราจะ Run ให้ใช้ เมนู Run ดังภาพ


ภาพที่ 15-1

16. เราจะได้ผลลัพธ์ตามภาพ


ภาพที่ 16-1

17. เรามาเขียนโปรแกรมรับค่าและ วิธีการแก้ปัญหาของ EditPlus ที่ทำการ Run แบบรับค่าไม่ได้ (ภาพที่ 17-2)

  • จากโปรแกรมนี้นั้น จะมีการรับค่ามาหนึ่งค่า เราจะรวบรัดขั้นตอนในบางตอนไปเลย ซึ่งเมื่อเขียนโปรแกรมนี้เสร็จแล้วให้ทำการ Compile ตามวิธีเดิมข้างต้นไปได้กล่าวไปแล้ว แต่ไม่ต้องทำการ Run แต่อย่างใด มิเช่นนั้นแล้วโปรแกรม EditPlus จะมี Process ค้างและทำให้เครื่องมีปัญหาได้
  • แต่ถ้าไปเผลอ Run แก้โดยให้ทำการ ปิดโปรแกรม EditPlus แต่จะมี Dial Box ขึ้นมาถามว่าเราจะ Stop Process หรือไม่ ดังภาพภาพที่ 17-1 ให้ตอบ Yes ไป

ภาพที่ 17-1


ภาพที่ 17-2

18. ทางแก้ในด้านนี้คือใช้ Command Prompt นั้นเอง

  • ให้ไปที่ Start > Run
  • พิมพ์ cmd


ภาพที่ 18-1

19. ไปที่ ที่อยู่ไฟล์ที่เราได้ Compile ไว้

  • ซึ่งในการ Compile นั้นโปรแกรม Borland C++ Compiler 5.5 จะทำการ Build ไฟล์ที่เรา Compile เป็น Execute File ( .exe ) ให้เราแล้ว
  • เราเพียงแต่เข้าไปหาไฟล์ที่เรา Compile ไว้แล้วพิมพ์ชื่อไฟล์นั้นๆ ลงไปให้ตรงเท่านั้น
  • ในขั้นตอนนี้ควรมีความสามารถในการใช้คำสั่ง DOS


ภาพที่ 19-1

20. จากทั้งหมดที่ได้กล่าวไปเป็นการเซ็ตและการประยุกต์ใช้ในด้านการทำงานครับ ขาดตกเนื้อหาตรงไหนเมล มาสอบถามได้นะครับ หวังว่าคงได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ

ทำให้ Mozilla Firefox ใช้ภาษาไทยอย่างสมบูรณ์

*ในการอธิบายนี้ใช้ Firefox Version 0.9.2 – 1.0.7

* สำหรับ Mozilla Firefox 1.5 นั้นอยู่ที่ ปรับแต่งให้ Mozilla Firefox 1.5 ใช้ภาษาไทยอย่างสมบูรณ์

Read more

มาใช้ Mozilla Firefox กันเถอะ

อะไรคือ Mozilla Firefox ?

         ก่อนอื่นต้องเท้าความถึงเจ้า Mozilla กันก่อน Mozilla คือ ชื่อของมูลนิธิ Mozilla ซึ่งก่อตั้งคือในเดือนกรกฏาคม 2546 ซึ่งทาง Mozilla ได้รับความร่วมมือจาก Netscape ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ American Online ที่ถูกซื้อหลังจากเกือบล้มละลาย ซึ่งทาง Mozilla เป็นองค์กรอิสระที่ไม่หวังผลกำไรทางการค้า และ Mozilla เป็นโครงการซอฟต์แวร์ระบบเปิด หรือ open source software project ซึ่งมูลนิธิตั้งอยู่ที่ Mountain View, California

         ซึ่งเจ้า Mozilla เป็นเวบเบราเซอร์ที่ได้รับความนิยมบนลินุกซ์ซึ่งและกำลังพยายามเข้าสู่ตลาดเดิมที่ Netscape เคยรุ่งเรืองคือ Windows นั้นเอง ซึ่งทาง Mozilla.org ได้เปลี่ยนแนวการพัฒนาเวบเบราเซอร์ จากเดิมที่ Mozilla เป็นโปรแกรมชุด ซึ่งมีเบราเซอร์, โปรแกรมอีเมล, โปรแกรม IRC,โปรแกรมป้องกัน Pop-up และโปรแกรมแก้ไขเวบเพจ รวมมาอยู่ในชุดเดียวกัน ทำให้มีมขนาดใหญ่ กลายมาโปรแกรมย่อยแต่ละตัวแยกกันชัดเจนในนามว่า Mozilla Phoenix แต่กลับมีปัญหากับบริษัทชื่อ Phoenix จึงเปลี่ยนมาเป็นชื่อ Mozilla Firebird ซึ่งก็ยังไปซ้ำกับโครงการฐานข้อมูลโอเพ่นซอร์สอีกโครงการที่ชื่อว่า Firebird SQL ทำให้ทางทีม Firebird SQL ออกมาประท้วงในเรื่องชื่อที่คล้ายกันอย่างมากมาย และแล้ว Mozilla.org ก็ต้องยอมเปลี่ยนชื่อเป็นครั้งที่สาม มีชื่อว่า Mozilla Firefox 0.8 และ 0.9 ที่เพิ่งจะออกมาสดๆร้อนๆ (ณ. 15/07/2004) แถมยังเปลี่ยนโลโก้ใหม่ด้วย จากที่ผมได้ใช้ดูแล้วนั้นผมว่ามันดูดีกว่า Internet Explorer มากและทำงานได้เร็วกว่า Mozilla ที่เป็นพี่ของมันเองอีกด้วย ซึ่งในตอนนี้ เวบเบราเซอร์แบ่งเป็น 4 ค่ายใหญ่ๆ คือ ตระกูล Mozilla ที่มีเวบเบราเซอร์มากมายใช้งานเอ็นจิน Gecko อย่างเช่น ตัว Mozilla เอง, Galeon, Epiphany, Camino (สำหรับ MacOSX) และเจ้า Firefox ตัวนี้ที่จะเป็นหัวหอกในอนาคตของค่ายนี้ ค่ายที่สองคือ Opera ที่ยังมาแรง และมีกลุ่มแฟนๆ เหนียวแน่น ค่ายที่สามคือ ตระกูล KHTML (ใช้ WebCore Engine) ที่เวบเบราเซอร์ของ KDE คือ Konqueror นำไปใช้ และแอปเปิลก็นำตัวนี้ไปใช้ในเวบเบราเซอร์ Safari ของ MacOS X ด้วย สุดท้ายคือ Internet Explorer เจ้าเก่า ถึงแม้ไมโครซอฟท์จะหมดความสนใจในตลาดนี้ไปแล้วก็ตาม แต่ IE ที่แถมไปกับวินโดว์ส ก็ยังมีปริมาณมหาศาลอยู่ครับ ใครทำธุรกิจเกี่ยวกับเวบไซต์คงต้องตื่นตัวทำเวบให้เบราเซอร์ทั้ง 4 ตระกูลนี้อ่านได้ทุกตัวครับ ไม่งั้นเสียลูกค้าแย่เช่นกัน ( อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์, [email protected] )ซึ่งเรา Firefox นั้นทำงานได้บนระบบ Microsoft Windows, Mac OS X และ Linux อีกด้วย

         ซึ่งในวันที่ 14 มิถุนายน 2547 ที่ผ่านมานั้นทาง Mozilla.org ได้ทำการปล่อยเบราเซอร์รุ่นใหม่ชื่อว่า Mozilla Firefox 0.9 แทนตัวเก่า 0.8 ที่ออกมาก่อนหน้านี้ด้วยระบบที่มีความปลอดภัยกว่า ง่ายต่อการใช้งานและการจัดการหน้าตาของเบราเซอร์ และยังเป็นรุ่นล่าสุดของ Mozilla Firefox ในการเป็นมาตรฐานของเบราเซอร์ของ Mozilla ซึ่งทาง Mozilla นั้นหวังไว้ว่าเจ้า Firefox ของ Mozilla นั้นจะเป็นผลงานสำหรับผู้ใช้ทั่วไปเพื่อให้ได้รับความนิยม มากขึ้นๆ ในตลาด Linux และ Unix รวมถึง Windows ขึ้นเรื่อยเนื่องจากระบบที่ทำงานได้อย่างปลอดภัยนั้นเอง และเป็นเอกเทศ นั้นเอง

คุณสมบัติพื้นฐาน มีอะไรบ้าง?

  1. Popup Blocking เป็นระบบที่ช่วยในการป้องกัน Popup โฆษณาที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ
  2. Tabbed Browsing ดูเว็บได้มากกว่า 1 หน้าใน 1 หน้าต่างของ windows เพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการสลับหน้าไปมาได้ง่าย
  3. Smarter Search เป็นระบบค้นหาจาก Google ที่ได้ทำการ Built-in เข้ามาไว้ให้แล้วในตัวโปรแกรม
  4. Privacy and Security ได้ใส่ระบบป้องกันที่จะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณปลอดภัยจาก malicious spy ware และมีระบบควบคุม ActiveX (ถ้าต้องการใช้ Flash จำเป็นต้องโหลด Flash Player จาก Macromedia มาลงเพื่อให้ Mozilla Firefox ใช้ได้งาน Flash ได้) และยังมีเครื่องมือที่ช่วยให้การทำงานด้านความปลอดภัยทางธุรกิจ
  5. Hassle-Free Downloading ระบบช่วย Download ซึ่งระบบนี้จะ Download ตามต้องการและยังสามารถย้อนกลับมา download ใหม่ได้เมื่อต้องการ เป็นระบบที่ใส่มาเพื่อใช้กับไฟล์ที่ใหญ่ๆ และมีปัญหาเกี่ยวกับ internet ที่หลุดบ่อยๆ ซึ่งระบบสามารถเซตได้ว่าจะให้ไปวางไว้ที่หรือเซตเป็นค่าเริ่มต้นได้ตามต้องการ
  6. Fits Like a Glove เป็นระบบเบื้องต้นแต่ยังอยู่ในขั้นพัฒนาซึ่งยังคงทำงานไม่เต็มที่ ซึ่งอยู่ในด้านของ Bookmarks (Favorite ของ IE นั้นเอง), History, Full Screen, Text Zooming ซึ่ง Text Zooming เป็นการตั้งค่าให้ตัวอักษรเล็กสามารถอ่านได้ง่าย
  7. S M L XL XXL XXXL ระบบของ Mozilla Firefox นั้นสามารถกำหนดคุณสมบัติเพิ่มเติมได้มากมาย ซึ่งสามารถกำหนด toolsbars เพื่อทำการใส่ปุ่มต่างๆ หรือโยกย้ายได้ และยังใส่ Extensions ใหม่ๆ เพื่อให้ได้คุณสมบัติใหม่ๆ หรือใส่ Themes เพื่อให้ได้หน้าตาตามที่ท่านต้องการ หรือจะใส่ระบบ search engines อื่นๆ เพื่อให้ท่านทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในด้านการ search engines ซึ่ง Mozilla Firefox นี้จะใหญ่หรือเล็กนั้นขึ้นอยู่กับคุณที่จะกำหนดมันในภายหลัง
  8. A Developer’s Best Friend Mozilla Firefox นั้นมาพร้อมกับระบบมาจฐานของเครื่องมือพัฒนา JavaScript and CSS error/warning console และยังมีระบบเสริมจำพวก Document Inspector เพื่อให้คุณสามาระเข้าใจว่าหน้าเว็บนั้นๆ ทำงานอย่างไร

คุณสมบัติ ใน Firefox 0.9 (ตอนนี้คือ 0.9.2 ครับ) ที่มากับมัน ?

  1. ง่ายต่อการย้ายจากเบราเซอร์อื่นๆ มาใช้ Firefox ด้วยเหตุผลที่ว่ามันสามารถทำการ inport ข้อมูลจาก Favorites, history, settings, cookies และ passwords จากโปรแกรมเบราเซอร์ Internet Explorer และมันยังสามารถ import ค่า settings ต่างๆ จาก Mozilla 1.x, Netscape and Opera ได้อีกด้วยทำให้มันไม่ทำให้ผู้ใช้ยุ่งยากในการโย้กย้ายการใช้งานแต่ประการใด
  2. มีความเล็กในการดาวส์โหลด เพราะว่าเป็นโปรแกรมเบราเซอร์ที่ทาง Mozilla ทำมาเพื่อให้แยกออกเป็นเบราเซอร์เอกเทศนั้นเองทำให้มันทำงานได้อย่างอิสระและรวดเร็วซึ่งใน version Windows นั้นตัว Firefox จะมีขนาดในการดาวส์โหลดเพียง 4.7 MB เท่านั้น
  3. มี Theme ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้ใช้
  4. มีระบบ SmartUpdate ที่สามารถบอกเราได้ว่ามี version ใหม่ของ Firefox เพื่อทำการ update โปรแกรมเพื่อความปลอดภัยอยู่เสมอ
  5. ระบบช่วยเหลือแบบใหม่ที่ทำงานได้ทั้ง offline และ online เพื่อให้ได้ความแน่ใจว่าท่านทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจริงๆ
  6. มีระบบจัดการ Extension และ Theme เป็นระบบเพื่อทำการใส่ Extension และ Theme ใหม่ๆ หรือสิ่งที่คุณต้องการเพิ่มเติมต่างๆ ลงระบบเพื่อนเพิ่มประสิทธิภาพของ Firefox ต่างๆ ได้มากมายโดยในตอนนี้มี Extension มากกว่า 100 แบบให้เลือกและ Theme มากมายให้ได้ปรับเปลี่ยนตามรูปแบบการใช้งานของท่านเองด้วย รวมทั้งยังทำให้ดูมีระดับและดูแตกต่างจากผู้ใช้เบราเซอร์อื่นๆ

รางวัลต่างๆที่ Mozilla ได้รับ คือ

  • MAXIMUM PC – "Softy Awards 2004" – 1st Place
    • “The créme of this year’s software créme”
    • “[Firefox] is nothing short of a revelatory experience.”
    • “We fell in love with [Firefox]’s open-ended nature and the access it gives us to an ever-expanding slew of interesting extensions”
  • LinuxQuestions.org – "Member’s Choice Awards" – Browser of the Year
    • “easy, fun, fast, safe, free”
    • “Both frequent and casual Web users should rush to give Firefox a try – it is a delight to use.”
    • Dwight Silverman, Houston Chronicle (March 13, 2004

         และทาง Mozilla ไม่ได้มีแต่ Browser Firefox เท่านั้นยังมี Mozilla ThunderBird โปรแกรม Mail Clients แบบเดียวกับ Microsoft Office Outlook ซึ่งจากการทดสอบจาก PC World นั้นได้คะแนนเป็นอันดับที่ 2 รองจาก Microsoft Office Outlook 2003 เท่านั้นเอง ทำให้เป็นอีกโปรแกรมที่น่าสนใจมากทีเดียว

         คราวต่อไปจะมาแนะนำการลงโปรแกรม แล้วก็พวกระบบ Extension (บางส่วนที่จำเป็น) และ Theme ต่างๆ ครับ

         ท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมสามารถพูดคุยกันได้ผ่านทางระบบ แสดงความคิดเห็นครับ

อ้างอิง : http://www.mozilla.org/products/firefox/

การนำอีเมล์จาก Outlook Express 4.* , 5.* , 6.* เข้าสู่ Microsoft Office Outlook

การนำอีเมลจาก Outlook Express 4.* , 5.* , 6.* เข้าสู่ Microsoft Office Outlook

* ในที่นี้ใช้ Office 2003 แต่ขั้นตอนใน Version เก่าๆ ก็ไม่ต่างกันมากนัก และใช้ระบบ OS รุ่น Windows XP SP1

ไปที่ แฟ้ม ตามด้วยเมนู การนำเข้าและการส่งออก

จะได้หน้าต่าง ตัวช่วยสร้างการนำเข้าและส่งออก เรามาอธิบายทีละตัวเลยนะครับ

  • Export to a file เป็นการนำไฟล์ของ Microsoft Office Outlook ไปเก็บไว้ที่อื่น ซึ่งจะเป็นจำพวกไฟล์เมลต่างๆ นัดหมายและ ที่อยู่ของลูกค้าต่างๆของเราเอง
  • Import a VCARD .. เป็นการนำไฟล์ VCARD ซึ่งเป็นไฟล์ที่เป็นข้อมูลของลูกค้าที่ลูกค้าให้มานำเข้าสู่ Contact list ใน Microsoft Office Outlook ครับ
  • Import an iCanlendar or vCanlendar file (.vcs) นำไฟล์ iCanlendar หรือ vCanlendar เข้า Microsoft Office Outlook (อันนี้ผมก็ไม่รู้ว่า เจ้าโปรแกรม iCanlendar กับ vCanlendar มันหน้าตายังไง ขอละไว้แล้วกันนะครับ)
  • Import from another program of file การนำเข้าข้อมูลจากโปรแกรมอื่นเข้า Microsoft Office Outlook ซึ่งเป็นพวก * ACT! 2.0 Contact Manager for Windows, * ACT! 3.0 Contact Manager for Windows, * dBase, * ECCO 2.0, 3.0, 4.0, * Lotus Organizer 1.0, 1.1, * Lotus Organizer 2.1, * Lotus Organizer 97, * Schedule+ 1.0, * Schedule+ 7.0, * Sidekick 95, * SideKick for Windows 2.0, Personal Folder (.pst ซึ่งเป็นพวกไฟล์ของ Outlook ด้วย) , database files และพวก text ไฟล์ต่างๆ เช่น Comma Separated Values (MS-DOS), Comma Separated Values (Windows), Tab Separated Values (MS-DOS), Tab Separated Values (Windows) เป็นต้น
  • Import Internet Mail Account Settings คือการนำค่าพวก Account ที่เราเซ็ตไว้จากโปรแกรมอื่นๆ ในเครื่องเช่น Outlook Express , Eudora ฯลฯ เข้าโปรแกรม Microsoft Office Outlook
  • Import Internet Mail and Address คือการนำเอาพวกอีเมล ต่างๆ จากโปรแกรมอื่นๆ ในเครื่องเช่น Outlook Express , Eudora ฯลฯ เข้าโปรแกรม Microsoft Office Outlook (ซึ้งเราจะใช้เมนูนี้ครับ)

ให้คลิ้กที่ Import Internet Mail and Address ครับ

ให้เลือกว่าจะนำเมลจากโปรแกรมไฟล์ในเครื่องของเราและจะนำอะไรเข้ามาใน Microsoft Office Outlook บ้างครับ

ให้เลือกว่าจะให้แทนที่ข้อมูลที่ซ้ำในโปรแกรม Microsoft Office Outlook หรือว่าจะสร้างใหม่เลยแยกจากันหรือว่าไม่นำเข้าถ้าซ้ำครับ

  • ถ้ามันหาไม่เจอ มันจะมี Dialog Box ขึ้นมาครับว่าให้หา Folder ที่เก็บไฟล์ข้อมูลของเมล Outlook Express ครับ ซึ่งมันอยู่ใน “C:\Documents and Settings\User\Local Settings\Application Data\Identities\{75AFB5C0-8FE5-4C1D-B2C0-B2D89290FD0C}\Microsoft\Outlook Express” ซึ่ง User คือ ชื่อของเราที่อยู่ใน Windows ครับ และ 75AFB5C0-8FE5-4C1D-B2C0-B2D89290FD0C นั้นคือเล่นรหัส ซึ่งจะไม่เหมือนกันเลยในแต่ละเครื่องครับ
  • แต่ถ้าระบบหาเจอก็จะ Import เข้ามาให้เลย ดังภาพด้านล่าง

แนะนำการทำเว็บ (ตอนที่ 2)

สวัสดีครับท่านผู้อ่าน ไอ้จริงๆ ผมมีโครงการจัดทำบทความไว้มากมายก็จะเอามาลงในเว็บแห่งนี้ครับ แต่ว่าด้วยเรื่องเหตุต่างๆ มากมายในการเรียนใน มหาวิทยาลัย ปีที่ 1 ครับทำให้ผมต้องเลื่อน บทความต่างๆ ที่ค้างคาอยู่มากมาย (ก็แบบว่าร่างๆ ไว้เต็มไปหมดแต่ก็ หมกไว้ไม่เสร็จเป็นชิ้นไปอันสักที) เลยเอามาลงไม่ได้เป็นเวลาเดือนกว่า สองเดือนได้ ไอ้จริงๆ บทความแนะนำด้านแนวทางทำเว็บนั้นที่ได้ผ่านสายตาไปก็ เป็นบทความเก่านะครับแต่ว่าเอามาปัดฝุ่นใหม่เท่านั้นเอง ทำให้ตอนนี้ก็มึนๆ กับบทความทั้งหลายว่าจะต่อมันยังไงดี (เขียนโครงสร้างไว้นะครับแต่ว่าด้วยเหตุที่ว่า วันเวลาผ่านไปข้อมูลบางอย่างมันเก่าเลยต้องปรับปรุงให้ทันสมัย) เลยตอนนี้ต้องมานั่งแก้บทความกันเล็กน้อยครับ


เรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าครับ จากที่ผมได้ค้างไว้ครั้งที่แล้วเรื่อง “แนวทางในการประชาสัมพันธ์เว็ปให้ได้ดี

ประชาสัมพันธ์ อย่างไรดีกับเรื่องนี้

ต้องบอกกันก่อนว่าเว็บไม่ใช่หนัง ที่จะประโคมงบลงทุนในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และจุดเด่นต่างๆ แต่เป็นการสร้างจุดเด่นและความเหมือนที่แตกต่างกันในเรื่องเนื้อหาและรวมไปถึงสาระต่างๆ จริงๆ อันนี้ได้พูดถึงกับไปแล้วในตอนที่ 1 ครับ (แต่ว่าหลายคนที่เมล์มาหาผมนั้นว่ายังไม่กระจ่างอธิบายเพิ่มได้ไหม ต้องบอกว่าได้ครับ แต่ว่าขอเอามาคิดก่อนว่าจะต่อยอดมันยังไง เพราะว่าบ้างส่วนนั้นลึกเหมือนกันครับ กลัวจะมึนกับมัน เลยต้องขอไว้ก่อนนะครับ) คือจริงๆ แล้ว เราต้องสร้างโครงข่ายของเพื่อนๆ หรือเรียกอีกอย่างว่าพันธ์มิตร โดยมากเค้าจะใช้การแลกลิ้งส์กัน ซึ่งผมจะพูดต่อไปว่าทำยังไง และได้ผลมากน้อยเพียงใด ซึ่งไม่ต้องเสียค่าโฆษณาแต่อย่างใด และทำให้เว็บของเราได้ติดอันดับต้นๆ ในการค้นหาของเว็บค้นหาข้อมูลต่างๆได้อย่างไม่ยาก (แต่ใช้เวลานานหน่อย) นั้นเอง


ทำไมต้องทำอย่างนี้ …….. ?

ผมจะไม่พูดถึงการประชาสัมพันธ์แบบเสียค่าใช้จ่ายเพราะคงไม่มีใครต้องการ (แต่ได้ผลเร็วมากๆ ) เพราะว่าในการเขียนบทความนี้นั้นเรายึดอันดับแรกคือ เราไม่มีงบ และหลายๆ คนที่ทำเว็บคงไม่มีงบกันเป็นทุนเดิม อยู่แล้ว (ในยุคของผม หรือใครหลายๆ คนคงเข้าใจดี) เพราะว่าการทำเว็บเพราะอยากทำ (มากกว่าการทำเพื่อได้เงิน) ทำให้เราไม่มีอะไรมาต่อกรกับเว็บที่มีทุนหนาและเงินทับตัวเองตาย (ไม่ต้องทำเว็บก็รวยแล้ว) แต่เนื่องจากว่าในตอนนี้ข้อมูลต่างๆ นั้นหลั่งไหลมาสู่โลกแห่งระบบสารสนเทศมากขึ้นทำให้คนเริ่มต้องเอาระบบต่างๆ และข้อมูลลงสู่เว็บมากขึ้น และรวมไปถึงความรู้ใหม่ๆ ที่ใครหลายๆ คนรู้กันมาแต่ว่าหาที่ถ่ายทอดได้ยากและสื่ออื่นๆ มีราคาที่แพงและยากแก่การเผยแพร่ให้ทั่วถึง ทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางของคนทุกชนชั้นได้อย่างไม่ยาก ซึ่งก็เป็นอย่างที่บอกไว้แล้วว่าทำให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่อยู่ในโลกนี้ที่มีนับไม่ถ้วนอยู่ในโลกแห่งนี้มากมายจนล้น ทำให้ต้องมีระบบค้นหาออกมาเพื่อให้สามารถค้นหาได้ง่าย และรวดเร็วต่อการใช้งานอีกด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการค้นหาโดยใช้ระบบค้นหา Search Engines และ Web Directory นั้นเอง


ทั้งสองต่างกันอย่างไร …… ?

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าระบบทั้งสองอย่าง ต่างกัน และเหมือนกัน รวมถึงเกี่ยวข้องกันอย่างแยกกันไม่ออกแล้วในปัจจุบัน ก่อนที่จะไปพูดถึงตรงนั้นเรามาทำความรู้จักกับ Search Engines ก่อน

Search Engine ( จาก http://www.krumontree.com/search/ : 07/27/2003 06:16:53 ) แต่ละแห่งมีวิธีการและการจัดเก็บฐานข้อมูลที่แตกต่างกันไปตามประเภทของ Search Engine ที่แต่ละเว็บไซต์นำมาใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการที่คุณจะเข้าไปหาข้อมูลหรือเว็บไซต์ โดยวิธีการ Search นั้น อย่างน้อยคุณจะต้องทราบว่า เว็บไซต์ที่คุณเข้าไปใช้บริการ ใช้วิธีการหรือ ประเภทของ Search Engine อะไร เนื่องจากแต่ละประเภทมีความละเอียดในการจัดเก็บข้อมูลต่างกันไป ที่นี้เราลองมาดูซิว่า Search Engine ประเภทใดที่เหมาะกับการค้นหาข้อมูลของคุณ

  • Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อยๆ ก็ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจนั้นๆ โดยการอ่านนี้จะหมายรวมไปถึงอ่านข้อความที่อยู่ในโครงสร้างภาษา HTML ซึ่งอยู่ในรูปแบบของข้อความที่อยู่ในคำสั่ง alt ซึ่งเป็นคำสั่งภายใน TAG คำสังของรูปภาพ แต่จะไม่นำคำสั่งของ TAG อื่นๆ ในภาษา HTML และคำสั่งในภาษา JAVA มาใช้ในการค้นหา วิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสำคัญกับการเรียงลำดับข้อมูลก่อน-หลัง และความถี่ในการนำเสนอข้อมูลนั้น การค้นหาข้อมูล โดยวิธีการเช่นนี้จะมีความรวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงรายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่หากว่าคุณต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล และความรวดเร็วในการค้นหา วิธีการนี้ก็ใช้ได้ผลดี
  • Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาเว็บเพจ ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคนว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้นๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร ดังนั้นฐานข้อมูลของ Search Engine ประเภทนี้จะถูกจัดแบ่งตามเนื้อหาก่อน แล้วจึงนำมาเป็นฐานข้อมูลในการค้นหาต่อไป การค้นหาค่อนข้างจะตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และมีความถูกต้องในการค้นหาสูง เป็นต้นว่า หากเราต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ Search Engine ก็จะประมวลผลรายชื่อเว็บไซต์ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ล้วนๆ มาให้คุณ
  • Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language (ภาษาพูด) ดังนั้น หากคุณจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย

• การทำงานของ Search Engine •

การทำงานของ Search Engine จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ

  • Spider หรือ Web Robot จะเป็นตัวที่ทำหน้าที่เข้าสำรวจเว็บไซต์ต่างๆ แล้วดึงข้อมูลเหล่านั้นมาอัพเดทใส่ในรายการฐานข้อมูล ส่วนมาก Spider มักจะเข้าไปอัพเดทข้อมูลเป็นรายเดือน
  • ฐานข้อมูล (Database) เป็นส่วนที่เก็บรายการเว็บไซต์ ฐานข้อมูลที่ดีควรจะมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะรองรับกับการเติบโตของเว็บไซต์ในปัจจุบัน การออกแบบฐานข้อมูลที่ดีก็เป็นส่วนสำคัญเพราะถ้าฐานข้อมูลออกแบบมาทำงานช้าก็ทำให้การรอผลนานและจะไม่ได้รับความนิยมไปในที่สุด โปรแกรม Search Engine มีหน้าที่รับคำหรือข้อความที่ผู้ใช้งานป้อนเข้ามา แล้วเข้าค้นหาตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล จากนั้นก็จะรายงานผลเว็บไซต์ที่ค้นพบให้กับผู้ใช้ การสืบค้นด้วยวิธีนี้นอกจากจะต้องมีระบบการสืบค้นข้อมูลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพแล้ว การกลั่นกรองผลที่ได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของการสืบค้นข้อมูล ดังนั้น การเลือกใช้เครื่องมือในการค้นหาจะต้องเข้าใจว่า ข้อมูลที่ต้องการค้นหานั้นมีลักษณะอย่างไร มีขอบข่ายกว้างขวางหรือแคบขนาดไหน แล้วจึงเลือกใช้เว็บไซต์ค้นหาที่ให้บริการตรงกับความต้องการของเรา

Web Directory นั้นหลายๆ ความรู้หลายๆ แห่ง หรือหนังสือต่างๆ อาจจะรวมเอาเข้าไปกับ Search Engines ก็ได้แต่ว่าถ้าจริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้นซะทีเดียว เพราะว่าระบบค้นหาที่โด่งดังมากอย่าง yahoo ก็เป็น Web directory มาก่อนแล้วค่อยมาปรับเปลี่ยนเป็น Search Engine ที่หลังครับ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น คือจริงๆ ในอดีตนั้นระบบการจัดการเว็บลงในฐานข้อมูลนั้นยังใช้คนในการใส่ข้อมูลของเว็บซึ่งได้จาก Meta Tag หรือ Description Tag ซึ่งเค้าจะเอาข้อมูลในส่วนนั้นที่เราได้ใส่ไว้มาทำการปรับปรุงและเอามาลงในฐานข้อมูล ซึ่งอย่าง yahoo ในตอนแรกๆ นั้นมีคนทำระบบและจัดการกับการเอาข้อมูลเข้าสู่ระบบเพียง 20 คนเท่านั้นทำให้การปรับปรุงของฐานข้อมูลทำงานช้าแต่ที่ทำให้มีความนิยมเพราะชื่อที่จำง่ายและมีการจัดการของหมวดหมู่ของเว็บต่างๆ ใน Directory ที่เข้าใจง่ายประกอบกับระบบ Web Robot หรือ Spider ในยุดเริ่มต้นยังไม่ฉลาดพอและทำงานได้ไม่ดีเท่าคนทำจึงทำให้ yahoo ได้รับความนิยมมากกว่าเพราะ ให้เนื้อหาที่ตรงกลุ่มกว่าและไม่ผิดพลาดเพราะผู้ที่จัดระบบคือมนุษย์นั้นเอง ซึ่งก็ไม่แปลกทำไมในอดีตคนทำเว็บจึง ไผ่ฝันมากที่จะมีชื่อของตัวเองอยู่ใน yahoo เพราะระบบอย่างนี้เองซึ่งในตอนนั้นถ้าเว็บใครได้อยู่ใน yahoo บอกได้เลยว่าเว็บนั้นสุดยอดละดีจริงๆ และ sanook ก็เป็นเช่นนั้นด้วยครับ เพราะว่าในยุคแรกๆ ของเว็บ sanook นั้นยังไม่มีใครทำเว็บและโปรแกรมการจัดการระบบต่างๆ ยังไม่ได้รับความนิยมประกอบกับการสร้างเว็บยังไม่เป็นที่นิยมอย่างในปัจจุบัน ทำให้ใครๆ ในตอนนั้นที่ทำเว็บใช้ช่วงแรกๆ นั้นหากันยากมากสำหรับเว็บไทยๆ แต่ก็อย่างที่บอก sanook มาได้จังหวะ เอาหลักการเป็นเดียวกับ yahoo มาทำแต่ตอนนั้นคนทำทำแค่คนเดียวครับ ทำให้ระบบก็ช้าๆ ซึ่งต่อมาก็ปรับเปลี่ยนมาจนมาเป็นในปัจจุบันนี้ครับ แต่ในปัจจุบันระบบ Search ในตอนนี้ที่มาตีระบบเก่าๆ กระจุยคงไม่พ้น google นั้นเอง ด้วยระบบ Robot และ Spider ที่ฉลาดโคตรๆ จนแทบจะเรียกได้ว่าไม่ต่างไปจากคนทำให้มันได้รับความนิยมากมายจนถีบ yahoo ร่วงไปจากบรรลังแห่งเจ้าพ่อการค้นหาข้อมูลบนอินเตอ์เน็ต และอีกอย่างตอนนั้นก็มีอีกเว็บที่เป็น Web Directory แท้ๆ และเป็นแบบดั่งเดิม นั้นคือ Open Directory Project นั้นเอง ( http://dmoz.org/ ) เป็นแบบ yahoo ในช่วงต้นแต่ด้วยความร่วมมือกันของ google และ dmoz ทำให้เกิดสารระบบ Both Search ขึ้นครับ ทำให้ตอนนี้เป็นระบบ Search ที่สมบูรณ์มากๆ และมันทำให้เป็นผลดีอย่างไรน่ะหรือ เพราะว่าระบบ google จะทำการค้นหาด้วย spider จากนั้นก็ทำผนวกเอา dmoz มาแสดงผลเพื่อให้ได้ผลออกมาทั้งส่องทางในแบบเดียวกับ yahoo ในปัจจุบันครับ


อ้าว!!! แล้วเล่ามาทั้งหมดมันเกี่ยวกันยังไง

ก่อนอื่นต้องบอกว่าเอาพื้นๆมาให้อ่านแล้ว จะเริ่มเข้าใจหลักการทำงาน เมื่อเข้าใจก็เหมือนหนังกำลังภายใน “ที่ว่ารู้เค้ารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง”คือเมื่อเราเข้าใจแล้ว ด้วยเหตุที่ว่าในปัจจุบัน กว่า 50% ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลก นั้นใช้ google ซึ่งมันใช้โปรแกรม spider หรือ robot ให้การหาเว็บและเก็บข้อมูลต่างๆ มาทำให้เราก็ไม่ต้องไปลงฐานข้อมูลให้มัน เดี่ยวมันก็หาเจอเอง แต่ว่านานหน่อยซึ่งเรามีวิธีที่ง่ายๆ และได้ผล คือเราต้องพยายามหาเว็บที่เจ้า google นี้หาเจออยู่แล้ว แล้วทำการแลกลิ้งส์กับเค้าหรือติดต่อเค้าให้ลงลิงส์หรือ ทำยังไงก็ได้ให้ชื่อเว็บเราและที่อยู่เว็บเราอยู่ในเว็บนั้น แล้วเมื่อระบบ spider (ขอรวมไปถึง robot ด้วยจะได้ไม่เขียนบ่อยเมื่อย ครับ ^_^ ) กลับมาเพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลให้ใหม่ ส่วนมากจะ 3 – 5 วันแล้วแต่การเขียนโปรแกรมและความสำคัญของเว็บนั้นๆ ก็จะดึงลิงส์ใหม่ๆ เข้าไปแล้วก็จะวิ่งไปตามลิงส์ใหม่ๆ เพื่อดูว่าเว็บที่เป็นลิงส์เหล่านั้นมีอะไรมั้ง และก็จะเทียบกับฐานข้อมูลตัวเองว่ามีเว็บนี้อยู่หรือไม่แล้วทำการบรรจุลงในฐานข้อมูลของระบบตนเอง นี่เป็นหลักการง่ายๆ แต่ว่าฉลาดมาก ทำให้ระบบ google นั้นทำงานบนระบบ Server อย่างน้อยๆ ก็ 6,000 (หกพัน) ตัวเป็นอย่างน้อย (ข้อมูลจาก pcworld ครับ )เพื่อเก็บฐานข้อมูลเว็บอันมหาศาลเหล่านั้นไว้ ซึ่งโดยส่วนมากในปัจจุบันนั้นระบบนี้ใช้กันแทบจะทุกๆ เว็บค้นหาข้อมูลชั้นนำอยู่แล้ว นั้นเอง ชึ่งเอาไปประยุกต์ใช้ได้ตลอดครับ


แต่ก็มีปัญหาอีกนั้นหล่ะว่าเว็บในไทยส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ระบบนี้ ทำยังไงดีหล่ะ ?

นี่คือปัญหาใหญ่เลยทีเดียว อันนี้คงต้องตอบแบบกำปั้นทุบดินแล้วกันว่า เราต้องไปลงทะเบียนเองในเว็บนั้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วปริมาณคนใช้งานนั้นเทียบกับตัวอื่นๆ ที่ได้กล่าวมานั้นยังคงน้อยอยู่ครับ …… ซึ่งถ้าเราใส่ Meta Tag และ Description Tag ไว้แล้วส่วนมากจะไม่มีปัญหาอยู่แล้วครับ ถ้าเว็บเรา ok เค้าจะใส่ให้เราเองโดยสมัครใจครับ …….

เป็นยังไงครับกับเรื่องนี้ หวังว่าคงได้ความรู้บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ แต่สำหรับคนที่รู้แล้วก็คง ไม่ว่ากัน หรือถ้ามีผิดอะไรไปก็ อภัยไว้ให้ด้วยเพราะว่า บางส่วนอ้างอิงมาบางส่วนเอามาจากความรู้ที่ได้อ่านๆ มาตามนิตยสารคอมฯ และหนังสือต่างๆ ที่ได้เสนอมาแต่ในอดีตครับ

ขอค้างไว้นะครับ อีกเรื่องคือ “รูปแบบเว็บแบบใดเหมาะแก่การทำระบบเว็บธุรกิจ” ครับ แล้วตอนหน้าจะมาต่อครับ ส่วนตอนต่อจากเรื่อง “รูปแบบเว็บแบบใดเหมาะแก่การทำระบบเว็บธุรกิจ” คือ “การปรับแนวทางเว็บให้เข้าสมัยและ การจัดระบบข้อมูลให้ดูเรียบง่าย แต่ไม่เละ” ครับ