ความรู้สึกหลังจากการสัมผัส Windows 8 Developer Preview

มาเป็น bullet เลย ไม่มีภาพใดๆ ฮา…

  • Windows 8 Developer Preview (DP) มันคือ Windows 8 ที่ยังไม่เสร็จ อย่าใช้คำว่าเสร็จ ใช้คำว่า มันยังไม่เริ่มอะไรเป็นชิ้นเป็นอันมากกว่า ไม่เหมาะกับการนำมาใช้งานใช้ชีวิตประจำวัน แนะนำให้ใช้เพื่อศึกษาและลองของเป็นหลัก ถ้ายังอยากให้ชีวิตการทำงานอย่างสุขสบาย
  • ทุกอย่างที่เห็นใน Windows 8 DP นั้นปรับเปลี่ยนได้ทั้งหมด ขนาดตอน Windows 7 Beta กับ Windows 7 RC ยังมีข้อแตกต่างกันเยอะมากๆ ในหลายๆ จุด จนสงสัยว่า RTM มันจะเปลี่ยนอีกไหม และจนสุดท้ายก็เปลี่ยนจริงๆ ใครได้ลองตอนนั้นคงเข้าใจ ยิ่งเป็น Developer Preview ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะงั้นอย่าไปไปเทียบกับ Major Release กับ OS ใดๆ อย่างจริงจังมากนัก ของขายแบบจริงจังกับของที่โหลดฟรีๆ แถมยังแปะป้ายว่าลองชิม ถ้าเกิดท้องเสียขึ้นมาเค้าคงไม่รับผิดชอบหรอกครับ
  • อย่างแรกหลังจากติดตั้งเสร็จ ….. งง!!! เป็น Windows ตัวแรกที่ต้องมี Account ของ Windows Live ID เพื่อ Sync อะไรหลายๆ อย่าง ก่อนจะสร้าง Account Profile แล้วใช้งานได้ แต่ผมไม่รู้ว่าต้องต่อเน็ตทุกกรณีไหม แต่คิดว่าไม่ต้องต่อเน็ตก็ติดตั้งได้และใช้การสร้าง Account Profile ได้ตามปรกติ แต่เพื่อประสบการณ์ที่ดีคงต้องมี (คำพูดตามสมัยนิยม)
  • การสลับระหว่าง Metro Style UI กับ Desktop UI โคตรงง ไม่งงธรรมดา แบบ เฮ้ยยย จะเข้า Desktop UI พี่ท่านดันสลับมาใช้ Metro ซะงั้น ผมคิดว่าใน Bata หรือ DP2 น่าจะปรับปรุงตรงนี้แน่นอนเพราะมันทำให้ผู้ใช้งงแน่ๆ
  • การปรับเปลี่ยนส่วนใหญ่เป็นเรื่องของ UI ล้วนๆ ครับ เน้น Metro ล้วนๆ เลย ผมใช้ Mouse ไปสักพักก็เอานิ้วไปทัสหน้าจอซะงั้น ออกแนวชินกับระบบ Touch Screen บนมือถือแล้วมี icon ใหญ่ๆ แบบนี้ (แล้วก็มานั่งฮาตัวเอง ทำไปได้ไง) ผมเชื่อว่าหลายๆ คนที่ลองก็เป็น ถ้ามันทัสได้ มันจะดีมากๆ เลย
  • ส่วนอื่นๆ ก็ล้อๆ จาก Windows 7 เกือบทั้งนั้นครับ ส่วนของ Windows Explorer ที่เป็น Ribbon UI นั้นบอกตรงๆ มันควรจะมาตั้งแต่ Windows 7 ผมรอมานานและไม่ทำให้ผิดหวัง!!! แต่ …. อาจจะต้องปรับลำดับของปุ่มนิดหน่อย แต่โดยรวมถือว่าโอเคผ่าน
  • ระบบ Copy/Cut/Paste ที่ปรับปรุงใหม่ ทำได้ดี เร็วขึ้นจาก Windows 7 เยอะ เสถียรขึ้นด้วย รู้เลยว่า IO ตัวไหนช้าและเร็วยังไง ทำให้เราสามารถปรับแก้ไขหรือพักการ Copy ได้เป็นตัวๆ ทำให้เราได้ความรู้ในการจัดการเรื่องพวกนี้ได้ดีขึ้น
  • ระบบ Control Panel อะไรพวกนี้จะซ่อนไปทำไม หายากมาก งงอีกต่างหาก ><” ตรงนี้ต้องปรับด่วนมาก!!!
  • โดยรวม ไม่ฟันธงใดๆ มันยังไม่เสร็จ ยังไม่ได้เริ่มอะไรเท่าไหร่ ออกแนวเปิดตัวเพื่อบอกว่า เฮ้ย Windows 8 จะมาแล้ว พวกเจ้าจงรู้ไว้ซะ ปีหน้าเจอกัน!!!

สรุปงาน Build เรื่อง Windows 8 Developer Preview

เป็นสรุปจาก Twitter ที่ทวิตเมื่อคืนนี้ครับ อาจจะไม่ครบดี แต่ก็เป็นส่วนหลักๆ ของ Windows 8

image

รูปภาพจาก http://www.microsoft.com/presspass/events/build/imagegallery.aspx

image

Windows 8 สโลแกนน่าจะเป็น "Please stop using IE6 and XP!"

Microsoft เปิด Blog ชื่อ “Building Windows 8 : An inside look from the Windows engineering team” มาได้ 1 เดือนแล้ว เพื่อรับฟังความคิดเห็นและนำเสนอข้อมูลของ Windows 8 อย่างเป็นทางการ

Building Windows 8 (“B8”). Our experience with the Engineering Windows 7 blog ("E7")

This blog is 100% authentic “engineer written” and not a marketing or communications effort. We do not have ghost-writers, editors, or any process that attempts to sanitize the words of folks on the team other than some basic copy editing.

Windows 8 reimagines Windows for a new generation of computing devices, and will be the very best operating system for hundreds of millions of PCs, new and old, used by well over a billion people globally.

image

  • ตอน Windows 7 นั้น Microsoft ใช้ Engineering Windows 7 ("E7") ใน Windows 8 ใช้ Building Windows 8 (“B8”) แทน ….
  • สถิติเล็กๆ ของ Windows 7 ขายไปแล้วกว่า 450 ล้านชุด
  • Windows 8 Developer Preview นั้น Apps ทุกอย่างที่ทำงานได้บน Windows 7 จะทำงานบน Windows 8 ได้ทั้งหมด
  • วันนี้ Windows 8 ที่เรารู้จักจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้งาน User Interface ใหม่ทั้งหมด แต่ก็ไม่ทิ้งรูปแบบเดิมๆ ที่มีมาในอดีต เพื่อให้รองรับตลาดใหม่และตลาดเก่าที่ Windows OS ถือครองส่วนแบ่ง OS จากทั่วโลกกว่า 86.58% (Net Market Share:Aug 2011)   
  • Windows 8 ทำงานได้บน x86-64, IA-32 และ ARM ได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับ Apps ที่ทำงานต้องสนับสนุนด้วยหรือไม่เช่นกัน
  • Microsoft แสดงให้เห้นว่า Windows 8 ทำงานบนเครื่องที่มี CPU Atom และ RAM 1GB ที่ใช้ RAM น้อยลงกว่าเดิมกว่าตอน Windows 7 โดยเปรียบกันระหว่างใน Windows 7 SP1 ใช้ RAM ตอนบูทจบแล้วประมาณ 404 MB แต่ใน Windows 8 จะใช้ตอนบูทจบอยู่ที่ 281MB เท่านั้น
  • Windows 8 ใช้ Welcome Screen ใหม่ และใช้ gesture touch!!!! สำหรับเข้าเครื่องแทน Password เพื่อใช้งานได้ดีกับ Touch Screen ด้วย
  • Windows 8 ใช้หน้าตาแบบ Metro Style UI แบบเดียวกับ Windows Phone 7 เป็นหลักเลย ทำให้เป็น OS ที่เหมาะกับคนที่ใช้ Touch Input เป็นหลักด้วยในตัวเดียว
  • จากที่ดูๆ ในงาน Build แล้วนำเสนอเรื่องของ Metro Style UI เพื่อบอกว่า Windows 8 ทำงานบน Tablet หรือ Notebook จอ Touchscreen ได้อย่างสมบูรณ์มากขึ้นกว่าใน Windows 7 อย่างเห็นได้ชัด
  • อย่าลืมว่า Windows 8 ที่เห็นนี่คือ Windows ตัวเต็มๆ ตัวที่ทำงานได้ทุกอย่างที่ Windows 7 ทำได้และรองรับ Touch Input พร้อม UI ใหม่
  • Windows 8 คือ Windows OS ที่ทำงานได้ทุกๆ Form Factor ทั้ง Desktop, Notebook, Netbook และ Tablet รองรับทั้งรุ่นเก่าประมาณ 3 ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบันบน CPU ขนาด 1GHz และ RAM 1GB
  • Windows 8 แยกระหว่าง Metro Style Apps (web) กับ Desktop Apps (.net) แต่ทำงานอยู่บน Kernel Services อีกที
  • Windows 8 ทำงานร่วมกับ H/W ได้ดี และบูตเครื่องได้อย่างรวดเร็วมากๆ ในเครื่องที่ทำงานได้เร็วอยู่แล้วจะสามารถบูตเครื่องได้ใน 2 วินาทีเท่านั้น และใน Notebook ทั่วๆ ไปในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 8 วินาที
  • Windows 8 รองรับ USB 3.0 ตั้งแต่ต้น ระบบ copy/move/paste ใน Windows Explorer แบบใหม่ และ copy/move ได้เร็วขึ้น พร้อม UI แบบใหม่
  • Windows 8 รองรับ Drive ที่ใหญ่ขนาด 256TB
  • Windows 8 Developer Preview มาแล้ว ดาวน์โหลดได้ที่ http://dev.windows.com 
    * Windows 8 Developer Preview ไม่มีอะไรสมบูรณ์ ไม่เหมาะกับใช้งานจริงจัง เหมาะสำหรับนักพัฒนาโปรแกรมเป็นหลัก เพราะทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ทั้งหมด
  • ใน Windows 8 นั้นตัว Windows จะสามารถปรับตัวเองตามขนาดของหน้าจอโดยอัตโนมัติ จอเล็กก็จะตัดบางปุ่มออกไม่ต้องโชว์ ทำให้ทำงานได้สะดวกและไม่ต้องปรับแต่งเองใหม่ทุกๆ ครั้งที่มีการปรับเปลี่ยนขนาดของจอภาพ

ข้อมูลอื่นๆ อ่านต่อได้ที่ http://www.buildwindows.com/

image

image

7 สิ่งมหัศจรรย์ แห่ง 7 – ตอนที่ 3 สิ่งมหัศจรรย์ลำดับที่ 5-7 – Native VHD boot, XP Mode และ UAC

ห่างจาก "7 สิ่งมหัศจรรย์ แห่ง 7 – ตอนที่ 2 สิ่งมหัศจรรย์ลำดับที่ 4” มา 8 เดือน!!! แต่ยังเขียนต่อนะครับ ;P

Native VHD boot

คุณสมบัตินี้ มีอยู่ใน Windows 7 และ Windows Server 2008 R2 ซึ่งเจ้า Native VHD boot นี้จะใช้ได้ใน Edition ของ Windows 7 คือ Enterprise และ Ultimate edition เท่านั้นครับ

โดยเจ้า VHD นั้นเป็นชนิดของไฟล์ที่คิดค้นโดยบริษัท Connectix ผู้เป็นเจ้าของซอฟต์แวร์ชื่อดังอย่าง Virtual PC และต่อมา Microsoft ได้เข้าซื้อกิจการจนเปลี่ยนชื่อเป็น Microsoft Virtual PC ตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา เมื่อซื้อมาแล้วก็ปล่อย Microsoft Virtual PC ออกมาเพื่อให้ทำงานได้บน Windows XP และ Windows 2000 เป็นต้นมา โดยเพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานกับ Operating System ที่เก่ากว่าให้ทำงานแบบ Operating System แบบ Guest OS ได้อีกทีนึง

โดยเจ้า VHD นั้นทาง Microsoft ได้ให้ข้อกำหนดตัว VHD Image Format Specification ไว้เป็นสัญญาอณุญาติแบบ Microsoft Open Specification Promise ทำให้เราสามารถใช้เจ้าไฟล์ VHD กับซอฟต์แวร์จากผู้ผลิตค่ายอื่นๆ ได้เช่นกัน

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ VHD กันก่อน เจ้า VHD นี่ย่อมาจาก Virtual Hard Disk ซึ่งเป็นรูปแบบไฟล์เสมือนที่ทำตัวคล้าย Hard Drive ตัวนึงเมื่อเราทำการเปิดขึ้นด้วยวิธีการ Mount ตัวไฟล์ดังกล่าวขึ้นมา โดยการทำงานภายใน Virtual Hard Disk นั้นทำได้ทุกๆ อย่างเหมือนกับ Hard Drive ตัวนึงเลย

ทีนี้เมื่อมันทำงานได้แบบนี้แล้ว เราก็สามารถติดตั้งตัว Software ใดๆ ลงไปก็ได้ และเมื่อเอามาใช้งานร่วมกับ Microsoft Virtual PC  เราก็สามารถติดตั้ง Operating System ใดๆ ลงไปก็ได้ภายใน VHD ได้เลย ทำให้เราสามารถสั่งให้ Operating System (Guest OS) ตัวอื่นๆ ทำงานบน Operating System หลักได้ (Host OS) ได้เลย ซึ่งการทำแบบนี้นั้น มันเรื่องปรกติครับ ยี่ห้อไหนก็ทำได้

* การใช้งาน Microsoft Virtual PC ขอไม่ผู้ถึงแล้วกันครับ

เมื่อเราสามารถติดตั้ง Operating System ใดๆ ลงไปใน VHD เพื่อทำ Guest OS ได้ ทำไมเราจะ Boot เป็น Host OS ไม่ได้ ซึ่งใน Windows 7 นั้นสามารถใช้ความสามารถนี้ได้เลย โดยเพียงแค่ติดตั้ง Windows Virtual PC for Windows 7 ลงไปและทำการ Attach/Create VHD ตัวไฟล์ครับ

ซึ่งการทำ Native VHD Boot มีข้อดีคือ

  • สามารถสามารถ Copy ไฟล์ OS เพียงไฟล์เดียวก็สามารถนำไปเปิดเครื่องไหนก็ได้ ที่มีเสปคเดียวกัน แล้วทำงานได้ทันที
  • สามารถลดขนาดของ VHD ไฟล์ได้ง่ายๆ เลย
  • สามารถแยกการ Deployment ตัว Application บางชนิดที่อาจทำให้ระบบ OS มีปัญหาทั้งระบบได้ การแยกออกมาแล้วทดสอบต่างหากบนระบบที่ Call HW Native จริงๆ ทำให้ทราบถึงข้อผิดพลาดได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งลองทดสอบเล่นเกมส์ด้วย Native VHD Boot แล้วทำงานได้ราบรื่นดีมากครับ

แต่ก็มีข้อควรจำไว้ก็คือ

  • VHD นั้นทำงานได้กับ Windows 7 และ Windows Server 2008 R2
  • ประสิทธิภาพของระบบจะลดลงประมาณ 3-5%,
  • Hibernate และ BitLocker อาจจะทำงานได้
  • ระบบ Windows Experience index  ไม่ทำงาน
  • ไฟล์ VHD มีขนาดได้ไม่เกิน 2 TB ต่อ 1 ไฟล์

วิธีการใช้งานก็ตาม VDO – How Do I: Windows 7 VHD Boot Demonstration? (WMV) ครับ 

XP Mode

ซึ่งต้องใช้กับ Windows 7 รุ่น Professional, Enterprise และ Ultimate เท่านั้น

ซึ่งต้องไปดาวน์โหลดที่ http://www.microsoft.com/windows/virtual-pc/download.aspx โดยเลือกตาม edition ที่ตัวเองมีอยู่
โดยไฟล์ที่เกี่ยวข้องจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วนคือ

  1. Windows XP Mode
  2. Windows Virtual PC
  3. Windows XP Mode update

เมื่อติดตั้งพร้อมเราก็จะได้ Windows XP Mode ซึ่งก็คือ Windows XP Service Pack 3 ที่ทำงานบน Windows 7 อีกทีนึง ถ้าคุณใช้ CPU ที่ลองรับ Virtualization จะทำให้สามารถทำงานได้รวดเร็วมากขึ้นด้วย

ซึ่งจากที่ผมใช้งานแล้วนั้นสามารถนำไปใช้งานเพื่อเปิดโปรแกรม หรือใช้งานอุปกรณ์เก่าๆ ที่ driver ไม่รองรับ Windows 7 ได้อย่างดีครับ อย่างของผมที่เจอคือ Scanner USB ตัวเก่า ผมทำงานผ่าน USB Simulator Mode เข้าไปที่ XP Mode แล้วทำการ Scan ได้เลย และทำงานได้อย่างดีเลย แถมบนโปรแกรมทำ Seamless Virtual Machine ได้ด้วย ที่ใช้บ่อยๆ ก็คือเปิดใช้งาน IE6 เพื่อทดสอบเว็บที่ทำงานส่งลูกค้านั้นเองครับ

UAC (User Account Control)

หลายคนอาจจะรำคาญเจ้าตัวนนี้ เพราะทุกครั้งที่ติดตั้งโปรแกรมหรือทำงานที่ยุ่งกับส่วนหลักของระบบจะเด้งขึ้นมาให้เรากด Yes/No ใน Windows 7 นี่ลดจำนวณความถี่ลงและมีส่วนที่ปรับลดควมเข้มงวดลงได้ง่ายขึ้นเยอะเลย เลยรู้สึกว่ามันทำงานได้ดี และช่วยลดการติดไวรัสหรือโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ได้เยอะมากๆ เลย

image

อ้างอิงจาก

สัญญาลิขสิทธิ์ของ Windows 7 แบบ FPP License ดีกว่า OEM อย่างไร ?

ในฐานะที่ทำเว็บ Community อย่าง ThaiThinkPad และได้รับเป็นผู้ทดสอบ Windows 7 ภาษาไทยกลุ่มแรกๆ จึงมีอีเมลต่าง ๆ สอบถามมาในเรื่องของ Windows 7 ในรูปแบบ licensing ต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง จริงๆ แล้วก็ไม่ได้แตกต่างจากใน Microsoft Offcie 2007 เท่าใดนัก แต่เพื่อเจาะจงลงไปจะได้อ่านเข้าใจได้ง่ายๆ ผมเลยนำมาสรุปอีกครั้งจะได้ไม่งงกับข้อมูลครับ

สำหรับ Windows 7 ในนั้นมีระบบ licensing อยู่ 3 แบบหลักๆ แต่ผมจะพูดส่วนของ FPP และ OEM ก็พอ ส่วน Volume License นี่ผมคงไม่พูดถึงครับ

  1. FPP License หรือ Full Package Product License จะมาในรูปแบบของกล่องซึ่งเหมาะ สำหรับผู้ใช้ซอฟต์แวร์ส่วนบุคคล ใช้ตามบ้านทั่วๆ ไป หรือนิสิตนักศึกษาเป็นหลัก โดยอาจจะต้องมีความรู้ในการติดตั้งเองสักหน่อย เช่นต้องหาแผ่น driver ต่างๆ ของเครื่องเราเอง แต่ก็มีความคล่องตัวในการย้ายเครื่องได้มากกว่า
  2. สิทธิ์ที่ได้
    – 1 กล่องจะสามารถใช้งานได้เพียง 1 เครื่องเท่านั้น
    สามารถโอนย้ายข้ามเครื่อง ได้ โดยการย้ายข้ามเครื่องต้องลบซอฟต์แวร์ออกจากเครื่องเก่าก่อนแล้วทำการติดตั้งในเครื่องใหม่ แล้วทำการโทรเข้า ศ.บริการของ Microsoft เพื่อทำเรื่องของ Activation Software อีกทีหนึ่ง
    – ไม่ได้รับสิทธิในการใช้งานเวอร์ชั่นเก่าได้ (Downgrade Right)
    – ไม่สามารถใช้งานข้ามภาษาได้
    – อาจจะได้รับ Software Assurance ในกรณีที่กำลังจะมีการออกรุ่นใหม่ออกมาทำให้เราได้รับการอัพเกรดฟรี

    สิ่งที่อยู่ในกล่อง
    – คู่มือการใช้งาน
    – ใบรับรองสินค้าของแท้ (Certificate of Authenticity: COA) ติดอยู่ข้างกล่อง
    – ใบอนุญาตการใช้งานสำหรับผู้ใช้ ปลายทาง (End User License Agreement)
    – แผ่นดิสก์ หรือ CD ROM 

  3. OEM License หรือ Origianl Equipment Manufacturer จะเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อเครื่องใหม่ องค์กร หรือห้างร้านที่ไม่ต้องการยุ่งยากกับการใช้ซอฟต์แวรที่ไม่ต้องการยุ่งยากในการติดตั้งและหา driver ต่างๆ โดยจะติดตั้งมาให้พร้อมใช้งานทันที

    สิทธิ์ที่ได้รับ
    – 1 กล่องจะสามารถใช้งานได้เพียง 1 เครื่องเท่านั้น
    – ซื้อพร้อมกับเครื่องใหม่เท่านั้นและจะติดไปกับเครื่องนั้นเท่านั้น โดยที่ไม่สามารถย้ายเครื่องได้ในกรณีที่เครื่องเสีย โดยในกรณีที่เป็นเครื่องที่เป็น partner กับ Microsoft อย่างถูกต้องจะมีชื่อผู้ผลิตเครื่องระบุในตัว COA ด้วยซึ่งถ้ามีปัญหาใดๆ ก็จะอ้างอิงจาก S/N เครื่องเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นการติดตั้งแบบ OEM ที่ซื้อต่างหากที่ให้กับร้านค้าประกอบเครื่องเองเช่นในห้างไอทีต่างๆ ในไทยนั้นจะผูกติดกับ M/B เป็นหลัก ถ้า M/B ของเครื่องนั้นๆ เสีย OEM License ตัวนั้นก็จะสิ้นสุดสิทธิ์ในการใช้งานไปด้วย
    ได้รับสิทธิในการใช้งานเวอร์ชั่นเก่าได้ (Downgrade Right) แต่ก็ตามที่ระบุไว้นะครับว่าต่ำสุดได้เท่าไหร่
    – ไม่สามารถใช้งานข้ามภาษาได้
    – อาจจะได้รับ Software Assurance ในกรณีที่กำลังจะมีการออกรุ่นใหม่ออกมาทำให้เราได้รับการอัพเกรดฟรี

    สิ่งที่อยู่ในกล่อง OEM
    – OEM จะมีสติ๊กเกอร์ใบรับรองสินค้าของแท้ (Certificate of Authenticity: COA) ให้มาแปะกับเครื่องและจะไม่สามารถนำออกไปได้ถ้าติดไปแล้วโดยจะมี CD-Key ระบุไว้อย่างชัดเจนบน สติ๊กเกอร์นั้นๆ
    – ใบหรือการ์ดระบุคุณลักษณะในการใช้งานทั่วไป
    – ใบอนุญาตการใช้งานสำหรับผู้ใช้ ปลายทาง (End User License Agreement)
    – แผ่นดิสก์ หรือ CD ROM (มีเฉพาะกับของ Windows เท่านั้นซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ จะไม่มี)

  4. Volume License อันนี้เหมาะกับองค์กรเป็นหลักครับ เพราะมีราคาถูกที่สุด และใช้ในปริมาณมากๆ ได้ดีแต่ก็ต้องทำติดขอซื้อและทำสัญญา Software Assurance ต่างๆ ด้วยซึ่งตรงนี้อาจจะกล่าวต่อไปถ้ามีเวลาครับผม ซึ่งถ้าเปิดบริษัทผมแนะนำตัวนี้ครับ เพราะถ้าเราซื้อสิทธิ์พร้อม Software Assurance จะได้รับการอัพเกรดเป็นรุ่นใหม่เสมอๆ ตลอดระยะเวลาทำสัญญา Software Assurance ครับ

จากข้อมูลด้านบนนั้นผมมักแนะนำเสมอๆ ว่าถ้ามีโอกาสผมก็จะแนะนำให้ซื้อ FPP ไปเลย เพราะย้ายเครื่องได้ อัพเกรด หรือทำอะไรกับเครื่องก็สบายใจ เพราะถ้าเราอัพเกรดมากๆ บางครั้ง OEM จะโดนให้ Activate ใหม่ แล้วมักจะไม่ผ่านในขั้นตอนนี้ครับ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวมากครับ ซึ่งราคา FPP ในประเทศไทยนั้นราคาไม่แพงไปกว่า OEM ในตลาดเมืองนอกครับ ถ้ายังจำได้ตอน Windows 7 เปิดตัวในไทยใหม่ๆ จะมีราคาโปรโมตชั่นแรงๆ ในราคาถูกมากๆ ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีและน่าจะเหมาะกับวิถีชีวิตการใช้งานคนไอทีในไทยที่มักจะซื้อเครื่องประกอบเอง และเปลี่ยนแปลงเครื่องตัวเองบ่อยๆ มากกว่า OEM ครับ (ราคา OEM และ FPP สำหรับ Windows 7 ก็ไม่ได้แตกต่างไปมากแบบเมื่อในรุ่นเก่าๆ แล้วครับ)

อ้างอิงจาก http://www.microsoft.com/thailand/licensing/