สัญญาลิขสิทธิ์ของ Windows 7 แบบ FPP License ดีกว่า OEM อย่างไร ?

ในฐานะที่ทำเว็บ Community อย่าง ThaiThinkPad และได้รับเป็นผู้ทดสอบ Windows 7 ภาษาไทยกลุ่มแรกๆ จึงมีอีเมลต่าง ๆ สอบถามมาในเรื่องของ Windows 7 ในรูปแบบ licensing ต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง จริงๆ แล้วก็ไม่ได้แตกต่างจากใน Microsoft Offcie 2007 เท่าใดนัก แต่เพื่อเจาะจงลงไปจะได้อ่านเข้าใจได้ง่ายๆ ผมเลยนำมาสรุปอีกครั้งจะได้ไม่งงกับข้อมูลครับ

สำหรับ Windows 7 ในนั้นมีระบบ licensing อยู่ 3 แบบหลักๆ แต่ผมจะพูดส่วนของ FPP และ OEM ก็พอ ส่วน Volume License นี่ผมคงไม่พูดถึงครับ

  1. FPP License หรือ Full Package Product License จะมาในรูปแบบของกล่องซึ่งเหมาะ สำหรับผู้ใช้ซอฟต์แวร์ส่วนบุคคล ใช้ตามบ้านทั่วๆ ไป หรือนิสิตนักศึกษาเป็นหลัก โดยอาจจะต้องมีความรู้ในการติดตั้งเองสักหน่อย เช่นต้องหาแผ่น driver ต่างๆ ของเครื่องเราเอง แต่ก็มีความคล่องตัวในการย้ายเครื่องได้มากกว่า
  2. สิทธิ์ที่ได้
    – 1 กล่องจะสามารถใช้งานได้เพียง 1 เครื่องเท่านั้น
    สามารถโอนย้ายข้ามเครื่อง ได้ โดยการย้ายข้ามเครื่องต้องลบซอฟต์แวร์ออกจากเครื่องเก่าก่อนแล้วทำการติดตั้งในเครื่องใหม่ แล้วทำการโทรเข้า ศ.บริการของ Microsoft เพื่อทำเรื่องของ Activation Software อีกทีหนึ่ง
    – ไม่ได้รับสิทธิในการใช้งานเวอร์ชั่นเก่าได้ (Downgrade Right)
    – ไม่สามารถใช้งานข้ามภาษาได้
    – อาจจะได้รับ Software Assurance ในกรณีที่กำลังจะมีการออกรุ่นใหม่ออกมาทำให้เราได้รับการอัพเกรดฟรี

    สิ่งที่อยู่ในกล่อง
    – คู่มือการใช้งาน
    – ใบรับรองสินค้าของแท้ (Certificate of Authenticity: COA) ติดอยู่ข้างกล่อง
    – ใบอนุญาตการใช้งานสำหรับผู้ใช้ ปลายทาง (End User License Agreement)
    – แผ่นดิสก์ หรือ CD ROM 

  3. OEM License หรือ Origianl Equipment Manufacturer จะเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อเครื่องใหม่ องค์กร หรือห้างร้านที่ไม่ต้องการยุ่งยากกับการใช้ซอฟต์แวรที่ไม่ต้องการยุ่งยากในการติดตั้งและหา driver ต่างๆ โดยจะติดตั้งมาให้พร้อมใช้งานทันที

    สิทธิ์ที่ได้รับ
    – 1 กล่องจะสามารถใช้งานได้เพียง 1 เครื่องเท่านั้น
    – ซื้อพร้อมกับเครื่องใหม่เท่านั้นและจะติดไปกับเครื่องนั้นเท่านั้น โดยที่ไม่สามารถย้ายเครื่องได้ในกรณีที่เครื่องเสีย โดยในกรณีที่เป็นเครื่องที่เป็น partner กับ Microsoft อย่างถูกต้องจะมีชื่อผู้ผลิตเครื่องระบุในตัว COA ด้วยซึ่งถ้ามีปัญหาใดๆ ก็จะอ้างอิงจาก S/N เครื่องเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นการติดตั้งแบบ OEM ที่ซื้อต่างหากที่ให้กับร้านค้าประกอบเครื่องเองเช่นในห้างไอทีต่างๆ ในไทยนั้นจะผูกติดกับ M/B เป็นหลัก ถ้า M/B ของเครื่องนั้นๆ เสีย OEM License ตัวนั้นก็จะสิ้นสุดสิทธิ์ในการใช้งานไปด้วย
    ได้รับสิทธิในการใช้งานเวอร์ชั่นเก่าได้ (Downgrade Right) แต่ก็ตามที่ระบุไว้นะครับว่าต่ำสุดได้เท่าไหร่
    – ไม่สามารถใช้งานข้ามภาษาได้
    – อาจจะได้รับ Software Assurance ในกรณีที่กำลังจะมีการออกรุ่นใหม่ออกมาทำให้เราได้รับการอัพเกรดฟรี

    สิ่งที่อยู่ในกล่อง OEM
    – OEM จะมีสติ๊กเกอร์ใบรับรองสินค้าของแท้ (Certificate of Authenticity: COA) ให้มาแปะกับเครื่องและจะไม่สามารถนำออกไปได้ถ้าติดไปแล้วโดยจะมี CD-Key ระบุไว้อย่างชัดเจนบน สติ๊กเกอร์นั้นๆ
    – ใบหรือการ์ดระบุคุณลักษณะในการใช้งานทั่วไป
    – ใบอนุญาตการใช้งานสำหรับผู้ใช้ ปลายทาง (End User License Agreement)
    – แผ่นดิสก์ หรือ CD ROM (มีเฉพาะกับของ Windows เท่านั้นซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ จะไม่มี)

  4. Volume License อันนี้เหมาะกับองค์กรเป็นหลักครับ เพราะมีราคาถูกที่สุด และใช้ในปริมาณมากๆ ได้ดีแต่ก็ต้องทำติดขอซื้อและทำสัญญา Software Assurance ต่างๆ ด้วยซึ่งตรงนี้อาจจะกล่าวต่อไปถ้ามีเวลาครับผม ซึ่งถ้าเปิดบริษัทผมแนะนำตัวนี้ครับ เพราะถ้าเราซื้อสิทธิ์พร้อม Software Assurance จะได้รับการอัพเกรดเป็นรุ่นใหม่เสมอๆ ตลอดระยะเวลาทำสัญญา Software Assurance ครับ

จากข้อมูลด้านบนนั้นผมมักแนะนำเสมอๆ ว่าถ้ามีโอกาสผมก็จะแนะนำให้ซื้อ FPP ไปเลย เพราะย้ายเครื่องได้ อัพเกรด หรือทำอะไรกับเครื่องก็สบายใจ เพราะถ้าเราอัพเกรดมากๆ บางครั้ง OEM จะโดนให้ Activate ใหม่ แล้วมักจะไม่ผ่านในขั้นตอนนี้ครับ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวมากครับ ซึ่งราคา FPP ในประเทศไทยนั้นราคาไม่แพงไปกว่า OEM ในตลาดเมืองนอกครับ ถ้ายังจำได้ตอน Windows 7 เปิดตัวในไทยใหม่ๆ จะมีราคาโปรโมตชั่นแรงๆ ในราคาถูกมากๆ ซึ่งผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีและน่าจะเหมาะกับวิถีชีวิตการใช้งานคนไอทีในไทยที่มักจะซื้อเครื่องประกอบเอง และเปลี่ยนแปลงเครื่องตัวเองบ่อยๆ มากกว่า OEM ครับ (ราคา OEM และ FPP สำหรับ Windows 7 ก็ไม่ได้แตกต่างไปมากแบบเมื่อในรุ่นเก่าๆ แล้วครับ)

อ้างอิงจาก http://www.microsoft.com/thailand/licensing/

 

5 thoughts on “สัญญาลิขสิทธิ์ของ Windows 7 แบบ FPP License ดีกว่า OEM อย่างไร ?”

  1. แสดงว่าน่าจะเอามาเป็นแบบ FPP น่าจะดีกว่าน่ะครับเพราะว่า จะได้ไม่ต้องยึดติดกับเครื่อง เราจะย้ายไปใช้เป็นเครื่องไหน เราก็ย้ายได้ด้วย ไม่เคยรู้ว่ามีแบบนี้ด้วยน่ะครับ

  2. ถามเรื่อง OEM ครับ เปลี่ยนอะไหล่ตัวไหนบ้างที่เข้าค่ายว่าจะหลุดจากสิทธิ์ OEM ครับ? เึครื่องพังเปลี่ยน HDD หลุดหรือเปล่า Activate ได้ไหม?

    • @Slimy

      ปรกติแล้วจะหลุดก็ตัว M/B พังครับ แต่ว่า Microsoft อนุโลมให้ถ้าตัวเครื่องยังคงเดิมอยู่ เหมือนผูก S/N กับกับตัว CD-Key นั้นๆ อีกที แต่นี่เป็นในกรณีของเครื่อง Brandname ที่เป็น partner กับ Microsoft ครับ เช่น Lenovo, HP, Dell หรือ Sony ประมาณนี้

  3. OEM ถูกกว่า Volume License นะครับ
    แล้วถ้าเป็น PKC (digital key)จะถูกกว่าOEMมาก / องค์กรต้องใช้ OEMหรือ Volume License หรือ Open Licenseเท่านั้นครับ ใช้ผิดประเภทระวังโดนลิขสิทธิ์ได้ และห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทสถาบันการศึกษาทั้งสิ้นด้วย

Comments are closed.