ทดสอบ WD My Book/Passport บน USB 3.0 เทียบกับ eSATA 3Gbps

เอาผลการทดสอบของปะทะกันของคู่ความแรงในอดีตและความแรงในปัจจุบันของ External HDD ที่คนทั่วไปมักซื้อใช้กัน มาลองทดสอบกันเล็กๆ

อดีตของแรงพกความสามารถในการรองรับ port ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่ยังคงแรงอยู่อย่าง WD My Book Home Edition 1TB ที่เชื่อมต่อได้ 3 แบบคือ USB 2.0 (480Mbps), Firewire 400 (400Mbps) และ eSATA (1.5/3Gpbs) ท้าสู้กับมวยสดใหม่อย่าง WD My Passport Essential 500GB และ WD My Book Essential 2TB ที่มี port ความเร็วสูงอย่าง USB 3.0 (5Gbps)

Bang Na-20120212-00555

ทดสอบ USB 3.0 ผ่าน Express Card/34 USB 3.0 แบบ 2 port ใช้ USB 3.0 Controller ของ NEC/Renesas รุ่น uPD720202

Bang Na-20120212-00554

ผลการทดสอบนี้อาจจะไม่ถึงที่สุดหรือบทสรุป เป็นการนำค่าผลการทดสอบที่ดีที่สุด 3 ครั้งของ HDD External ทั้ง 3 ตัว

ลองดูกันได้เลย

WD My Book Home Edition 1TB via eSATA

2012-02-21_204608

WD My Passport Essential 500GB via USB 3.0

2012-02-21_204129

WD My Book Essential 2TB via USB 3.0

2012-02-21_203736

มาทดสอบปิดท้ายกันสักนิดกับการ copy ไฟล์แข่งกัน

ไฟล์คือ SNSD 120218 KBS2 MUSIC BANK IN PARIS SNSD All Cut Moonlight.ts

ขนาดประมาณ 3.16GB

WD My Book Home Edition 1TB via eSATA

ผลการทดสอบ

  • Copy File 46MB/s
  • Test File 98MB/s

2012-02-21_211740

WD My Passport Essential 500GB via USB 3.0

ผลการทดสอบ

  • Copy File 44MB/s
  • Test File 67MB/s

2012-02-21_210948

WD My Book Essential 2TB via USB 3.0

ผลการทดสอบ

  • Copy File 45MB/s
  • Test File 85MB/s

2012-02-21_211207

จากผลการทดสอบทั้ง 3 ผลจะเห็นว่า eSATA นั้นทำงานได้เร็วพอๆ กับ Internal SATA ปรกติอยู่แล้ว แต่ผลของการทำงาน USB 3.0 ก็ดีไม่แพ้กันมากมายนัก ถ้าในด้านการทำงานถือว่าใกล้เคียงกันอย่างมาก เพราะฉะนั้นการนำ USB 3.0 มาใช้ทำงานบน External แทน SATA 3Gbps จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป หลังๆ ผมทำงานไฟล์รูปภาพใหญ่ๆ แบบ TIFF ขนาด 50-100MB บน USB 3.0 อยู่พอสมควร ยังไม่เคยมีปัญหา Interface หลุดตอนทำงานแต่อย่างใด ซึ่งตรงนี้อาจจะต้องดูที่ตัว Chip USB 3.0 Controller ควบคู่กันไปด้วย เพราะในผลการทดสอบต่างประเทศ Chip USB 3.0 Controller บางตัว โดยเฉพาะรุ่นเก่าๆ หรืออกมารุ่นแรกๆ จะมีความไม่นิ่งอยู่บ้าง แต่แก้ไขได้ด้วยการ update ตัว Driver ก็หายครับ (เหนื่อยหน่อยตอนแรก แต่พอนิ่งแล้วสบายเลย) เพราะฉะนั้นถ้าสรุปง่ายๆ ก็คือ USB 3.0 ในตอนนี้ถือว่าทำงานได้ให้ความเร็วเต็มเพดานของความเร็วของ HDD ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ

External Hard Drive ลาโลก !!!

ที่ลาโลกไปคือ Western Digital 320GB My Book Premium ES Edition 3.5" ที่ซื้อมาประมาณ 2 ปีกับอีก 3-4 เดือนมั้ง ซึ่งได้ลาโลกไปเมื่อวันที่ 23 มกราคม 53 ที่ผ่านมา ไม่ได้เขียนตอนนั้นเพราะยังเซง และทำใจเขียนไม่ได้สักทีซิน่า –_-‘

คือที่ผมใช้ External Hard Drive นี่ผมมี

  • Western Digital 320GB My Book Premium ES Edition 3.5"
  • Western Digital 500GB My Book Home Edition 3.5"
  • Western Digital 1TB My Book Home Edition 3.5"

ที่พังไปคือ Western Digital 320GB My Book Premium ES Edition 3.5" ตัวแรกนั้นครับ ซื้อตัวแรกก่อนชาวบ้านเค้า เลยพังก่อนชาวช้านเค้าเลย T_T

เหตุที่ทำไมผมถึงใช้ External Hard Drive เยอะ เพราะผมใช้ Hard Drive ตัวนี้ไปกับการ Backup ข้อมูลทุกๆ วันครับ โดยเฉพาะรูปและข้อมูลสำคัญพวกไฟล์งานผมจะมีการ Backup อย่างน้อย 1 copy เพื่อป้องกันข้อมูลสูญหาย หรือเครื่อง Notebook โดนขโมยครับ อยางน้อยๆ ก็ยังเหลือข้อมูลที่จำเป็นไว้เสมอๆ ซึ่งไอ้วิธีแบบนี้เนี่ยแหละ งานหลายๆ อย่างของผมราบรื่นขึ้นเพราะมีวิธีนี้ ไฟล์หลายๆ อย่างผมเผลอลบ หรือแก้ไขไป ผมยังกลับมาห้องแล้วดึงข้อมูลเก่าของเมื่อวานกลับมาได้เสมอๆ ผมใช้แนวทางนี้มาหลายรอบ และช่วยผมหลายงานแล้ว

ส่วนอีกสองตัวนั้นผมจะเก็บรูปที่เป็นไฟล์ RAW ที่ถ่ายๆ มาทั้งหมดครับ แล้วมีพวกไฟล์งาน หนังต่างๆ ที่ผม Rip จากแผ่นที่ผมซื้อเก็บไว้อยู่ในนั้นเยอะพอสมควรเลยครับ เลยทำให้เก็บไฟล์เยอะใช้ได้เลย (มี SNSD MV อีกเกือบ 100GB ;P)

รูปเก่าลำลึกความหลังก่อน เดี่ยวจะเล่าให้ฟังว่าพังยังไง

P1040745[1] image

คือเมื่อวันที่ 23 มกราคม 53 ตอนเช้าๆ ผมก็ตื่นมาตามปรกตินั้นแหละ วันเสาร์สบายๆ ตื่นมางัวเงียเปิดจอ Notebook ก็ไม่ได้อะไร ดูที่ Task bar ผมว่าตัว Acronis True Image สำหรับ Backup มันขึ้น Error บอกว่ามัน copy ตัวไฟล์ไป Hard Drive ปลายทางไม่ได้ ผมก็เออ อาการเดิมมั้ง Hard Drive ดับ คือเจ้าตัวนี้มันเป็นบ่อยที่จู่ๆ มันก็ดับไปเองบางครั้ง แต่ว่าไม่ได้คิดอะไรคงประมาณว่า เออ มันส่งข้อมูลหรือมีอะไรผิดพลาดมั้งมันเลยดับไป แต่ทุก ๆ ครั้งมันก็เปิดติดกลับมาเช่นเดิม แต่คราวนี้ไม่ใช่แบบนั้น คราวนี้มันไม่ตื่น กดปุ่มเปิดมันก็ไม่ตื่น ทำยังไงก็ไม่ตื่น –_-‘ เฮ้ยย งานเข้าแล้วดิเรา เอาไงดีวะ ตอนนั้นอาการงัวเงียหายไป ทุกอย่างมาคุ บรรยากาศตรึงเครียดมาก แต่ไม่ค่อยเท่าไหร่ เพราะตัวที่มีปัญหาผมเอามาใช้ Backup ข้อมูลเสียมากกว่า ดังนั้นข้อมูลด้านในจึงเป็นข้อมูลที่พังและเสียหายไปก็ไม่เสียดายเพราะมันมีตัวไฟล์ต้นฉบับอยู่ แต่ด้วยความที่คิดว่ามันน่าจะเสียที่แผงวงจรมากกว่า ผมเลยรีบจัดการธุระส่วนตัวและบึ่งออกจากห้องไปซื้อ Hard Drive Enclosure มาต่อทันที แล้วก็ทำการแกะตัว Hard Drive ออกมาครับ ไม่สนใจประกันใด ๆ ทั้งนั้น ช่างมัน ออกแนว “กูจะเอาข้อมูลเว้ย” เลยรีบกระชากซีลยางและแกะออกมาทุกอย่างก็เป็นตามภาพด้านล่าง

DSC_9138

แผงวงจรทุกอย่างโอเคครับ ไม่มีอะไรไหม้ ทุกอย่างดูดีมากๆ

DSC_9126

DSC_9135

แต่เจ้าตัวที่มีปัญหาคือ …. !!! …. T_T ….

Hard Drive Western Digital WD3200AAJS ครับ มันได้จากโลกนี้ไปอย่างสงบ (แต่ผมไม่สงบกับมันด้วย) เพราะต่อกับ Exclosure ก็ไม่ตื่น ทุกอย่างเงียบสนิท ไม่ยอมหมุนใดๆ ทั้งสิ้น T_T

DSC_9137

ตอนนี้สภาพของมันก็ยังกองอยู่ที่โต๊ะอย่างในภาพตั้งแต่วันนั้นจนวันนี้ แผงวงจรยังใช้งานได้ เพราะต่อกับ Hard Drive 2.5” ก็ยังทำงานได้ปรกติมากๆ แต่ตัว Hard Drive พังไปแล้ว ส่วนตัว Enclosure ตอนนี้ก็ยังกองอยู่ ไม่ได้ใช้อะไรอีก (เสียดายเงิน) รอเวลาและเงินไปซื้อ Hard Drive ตัวใหม่มาใส่แทน ตอนนี้เลยเหลือแต่  Western Digital 500GB My Book Home Edition 3.5" และWestern Digital 1TB My Book Home Edition 3.5" เท่านั้นเอง

งานนี้ทำให้ได้ข้อคิดว่าควรสำรองข้อมูลอยู่เสมอๆ ครับ และสังเกตอยู่ต่อเนื่องว่า External Hard Drive ของเราทำงานเป็นปรกติดีอยู่หรือไม่ด้วยครับ สุดท้ายมันน่าจะพังเพราะอะไรนี่ไม่แน่ใจ แต่ที่แน่ๆ เรื่องไฟกระชากของไม่ใช่แน่นอน เพราะผมต่อ External Hard Drive ผ่าน UPS ทุกตัวครับ ไม่มีอาการไฟกระชากแล้วทำให้มันพังแน่นอนครับ ;)

ไว้อาลัยกับมันอีกสักพัก T_T ….

ปีใหม่เปลี่ยน HD ใน Notebook เป็น 7,200rpm กับเปลี่ยนสายไฟต่อพ่วงจาก UPS ใหม่ยกชุด

สวัสดีปีใหม่ 2552 ครับ ขอให้ทุกท่านมีความสุข สมหวัง ร่ำรวยเงินทอง และสุขภาพครับ (ช้าไปเกือบ 2 อาทิตย์ –_-‘)

ช่วงนี้งานเยอะ เลยไมได้ update blog มา 1-2 อาทิตย์แล้ว ปิดช่วงปีใหม่ก็ไปเที่ยวบ้างนิดหน่อย ก่อนกลับบ้านก็ซื้อ Hard Drive ใหม่มาใส่ใน Notebook แทนตัวเก่า ซึ่งก็คือ Western Digital 2.5" 7,200rpm 250GB (WD2500BEKT) ของ Hardware House นั้นเอง โดยรวมกินไฟน้อยกว่า Hitachi 250GB 5,400rpm (HTS542525K9SA00) เสียอีก เพราะเจ้า WD2500BEKT นี่กินไฟ 550mA 500mA ส่วน HTS542525K9SA00 กินไฟไปซะ 700mA ห่างกันพอสมควรเลยทีเดียว แต่เจ้า WD2500BEKT นี่แรงสั่นสะเทือนเยอะกว่าหน่อยเพราะแรงกว่านิด ๆ แต่ว่าไม่ค่อยเท่าไหร่ ส่วนความร้อนก็พอใช้ได้สูงกว่าตัวเก่านิดหน่อย 1-3 องศาครับ แต่ความเร็วที่ได้นี่ไม่ใช่เล่นเลยทีเดียว เพราะเจ้า HTS542525K9SA00 นี่ Burst Rate อยู่ที่ประมาณ 35 – 40 MB/sec ได้ ส่วน WD2500BEKT นี่โดดไป 50 – 55 MB/sec 70 – 75 MB/sec เลยทีเดียว ซึ่งทำให้เห็นว่าความเร็วในการส่งข้อมูลมีมากขึ้นเยอะ ส่วน access times ก็ต่างกันประมาณ 30% ได้ครับ

TZYnB8C2a0

รูปโฉมหน้าของ WD2500BEKT (ถ่ายจากกล้องมือถือ HTC 3470 ที่ macro mode ความละเอียด 1Mpx เท่านั้น)

ผลการทดสอบ Western Digital 2.5" 7,200rpm 250GB (WD2500BEKT)

แล้วกลับมาจากบ้านก็แบกเอา HP LaserJet 1020 กับ ACER S2W 3300U มาที่หอที่ กทม ด้วยเพราะจะได้มีใช้สักทีนึง

P1090785

เลยจัดโต๊ะทำงานใหม่เลยดีกว่า

ต่อมาคือเปลี่ยนปลั้กไฟที่ต่อจาก UPS Leonics Explorer ที่หอใหม่ทั้งหมดจากยี่ห้อ Toshino เป็น Belkin F9E400th ที่เป็น 4 Sockets ครับ เหตุที่ต้องเปลี่ยนจาก Toshino  เพราะได้เจอกระทู้หลาย ๆ ที่ [1] [2] พูดถึงยี่ห้อนี่ทำให้เสี่ยว ๆ พอสมควรเลย ก็เลยเปลี่ยนดีกว่า ราคาก็ไม่แพงด้วยตอนนี้ที่ IT City ที่ pantip ขายที่ 390 – 1,290 บาท แล้วแต่รุ่นครับ อย่างรุ่นที่ผมเอามานี่ราคา 490 บาท ต่อชุดครับ ซื้อมา 3 อันเพราะว่าเปลี่ยน 3 ชุดที่ต่อกับ UPS เลย

P1090789

Belkin F9E400th จำนวน 3 ชุดที่ซื้อมา ราคา 490 บาท ต่อชุดครับ

P1090790 P1090791

ด้านหน้าและด้านหลัง ปลั้กไฟมีประกันภัย และรับประกันแบบ Lifetime Warranty ด้วย โดยถ้าอุปกรณ์ที่ต่อกับปลั้กอันนี้แล้วปลั้กสร้างความเสียหายมีเงินประกันหรือซ่อมให้ในงบประมาณที่ไม่เกิน 40,000 บาทให้ด้วย

P1090793

แกะออกมาแล้ว อันนี้สายยาว 1.8 เมตรครับ

P1090794

P1090795 P1090797

ติดตั้งเข้ากับ Leonics Explorer โดยต่อกับ Surge Protector Socket  ตัวนึงอันนี้ต่อยาวไปให้กับ Laset Printer, โคมไฟที่โต๊ะ แล้วก็นาฬิกา Sony Digital ที่หัวนอนครับ ส่วนที่เป็น Battery Backup Socket อีก 2 อันนี่ต่อกับ External Hard Drive ทั้ง 2 ตัว, USB Hub 7 port, ADSL Wireless Router, Creative Speaker, ACER S2W 3300U Scanner แล้วก็ ThinkPad R40 ที่เป็น notebook ตัวเก่า ส่วนต่อ ThinkPad Z61t ที่ใช้อยู่ต่อตรงกับ Battery Backup Socket ตัวสุดท้ายครับ

โดยรวมเป็นการลงทุนที่มากมายในทีแรก แต่ก็อุ่นใจพอสมควรเพราะชุดปลั้ก Belkin ได้รับการยอมรับมานานว่าไม่มีปัญหาในการใช้งาน จริง ๆ อยากได้รุ่น SurgeMaster มากกว่า SurgeTrip ครับ แต่ว่าราคา 1,290 บาท มันแพงน่ะ แถมมีขายแบบ 8 Sockets เท่านั้นอีกต่างหาก กลัว Socket ที่ตัว UPS มันรับโหลดไม่ไหว เลยไม่เอาดีกว่า ต้องกระจายโหลดทุก ๆ Socket ที่ UPS ไปที่ 3-4 Socket กำลังเหมาะครับ

[Update Benchmark ของ WD2500BEKT วันที่ 13 มกราคม 2552 14:15น.]

ของเค้าแรงจริง ๆ ;)

2009-01-13_141409

[Update ผลการทดสอบ Western Digital 2.5" 7,200rpm 250GB (WD2500BEKT)วันที่ 13 มกราคม 2552 18:22น.]

ผลการทดสอบ Western Digital 2.5" 7,200rpm 250GB (WD2500BEKT)

Jupiter (Western Digital My Book Premium ES Edition, 320GB)

หลักจากสถานที่กักเก็บข้อมูลของเราเริ่มไม่พอ หมด DVD จะหลอดแล้ว เห็นว่าไม่ดีแน่ถ้ายังคิดจะ burn ใส่ DVD ไว้เพราะหาลำบากมาก ๆ วันนี้เลยตัดสินใจไปซื้อ “Western Digital My Book Premium ES Edition” ด้วยความที่มันสวยดี ดูดีมีชาติตระกูลมาก ๆ แต่ว่าตอนแรกกะว่าจะซื้อ Harddisk + External Enclosure แทน แต่คิดไปคิดมา ราคาก็ไม่แตกต่างกันมาก ซึ่งราคา Harddisk ก็ 3,000 ต้น ๆ กับค่ากล่องที่ดี ๆ หน่อยก็ 1,000 กว่า ๆ เลยเอาตัวที่เค้าสำเร็จมาดีกว่าอย่าง ๆ น้อย ๆ ก็ไม่ต้องกังวลกับเรื่อง Enclosure ที่ไม่มีคุณภาพ ราคาถูกแพงไม่สำคัญ เพราะราคาแพงก็ห่วยได้ (เจอมาแล้ว ใช้ได้ไม่ถึงเดือนพัดลมพัง อีกตัวซื้อมาใช้ไปได้อีก 2 เดือน power supply พัง)

WD
กล่องสวยใช้ได้ มี Software อย่าง EMC Retrospect Express สำหรับ Backup ข้อมูลมาให้ แต่ผมใช้ ThinkVantage Rescue and Recovery ดีกว่า ของ Thinkpad เองใช้ง่ายกว่าเยอะ (แถมใช้มานานแล้ว)

WD
ตัวนี้ ผมซัดมา 320GB รองรับทั้ง USB 2.0 กับ eSATA ซึ่งมีความเร็วตามทฤษฎีที่ 3 Gb/s สำหรับ M/B Desktop และ Notebook บางรุ่น ซึ่ง Desktop รุ่นใหม่ ๆ จะมี Port นี้ส่งข้อมูลรวดเร็วแบบเดียวกับใช้ SATA แท้ ๆ เลย ลดคอขวดได้มาก แต่คาดว่าจะไม่ได้ใช้ T_T (หวังว่าจะมีโอกาสได้ใช้มัน)

WD
รองรับทั้ง Mac OS X และ Windows 2000/XP/Vista (แน่นอน) แล้ว Linux หล่ะ !!! ลองกับ Ubuntu 7.04 Desktop แล้วมองไม่เห็น -_-‘ ท่าทางต้องลงไม้ลงมือสักหน่อยแล้วงานนี้ -_-‘

WD

WD
Port ที่อยู่ด้านหลังก็มีแค่ 3 ช่องคือ Power, USB 2.0 และ eSATA ครับ

WD
ภาพ Jupiter กับ Neptune (Notebook Harddisk 2.5″ + External Enclosure)

WD
วิวสวย ๆ ของ Western Digital My Book Premium ES Edition

ความเป็นไปของยี่ห้อ HardDisk ต่าง ๆ

พอดีว่าอ่านแล้วน่าสนใจมากเลยนำมาบอกต่อครับ

อ้างอิงจาก http://www.pantip.com/tech/coffee/topic/JX1985579/JX1985579.html


ในสมัยก่อน มี HardDisk ยี่ห้อ Seagate,Maxtor,Quantum,IBM,Corner,Wetern Digital และ NEC

ซึ่งต้อนนั้นยี่ห้อ Seagate ขายดีที่สุด และ IBM ขายได้น้อยที่สุด

ในยุคต่อมา Seagate ได้ซื้อกิจการ HardDisk ของ Corner ทำให้ไม่มียี่ห้อ Corner ต่อไปแล้ว

ต่อมา บริษัท LG ได้ควบกิจการ HardDisk ของ Quantum
ทำให้ตอนนั้น HardDisk ของ Quantum มียี่ห้อว่า LG- Quantum

ในปีต่อมา บริษัท LG ได้หยุดควบ HardDisk ของ Quantum ทำให้ HardDisk มียี่ห้อ Quantum เหมือนเดิม

ต่อมา HardDisk ยี่ห้อ NEC ก็ได้เลิกกิจการแผนก HardDisk และเลิกผลิต HardDisk อีกต่อไป เพราะขายไม่ค่อยดี และได้กำไร น้อย

ต่อมามี HardDisk ยี่ห้อใหม่ๆ ออกมา คือ Fujitsu และSamsung
ตอนนั้นยังขายไม่ค่อยออกเท่าไร่

ต่อมา บริษัท HITACHI ได้เข้า TakeOver HardDisk ยี่ห้อ IBM ทำให้ HardDisk ยี่ห้อ IBM ได้เปลี่ยนเป็น ยี่ห้อ HITACHI และ HITACHI เป็นผู้ผลิต HardDisk เพียงแต่ผู้เดียว แต่ยังใช้โรงงานและเทคโนโลยีของ IBM อยู่

ต่อมา HardDisk ยี่ห้อ Samsung ขายดีมากขึ้น เทน้ำเทท่า ทำให้ Samsung ผลิต HardDisk ต่อไป

ต่อมามี HardDisk ยี่ห้อ TOSHIBA ออกมาแต่มักจะทำแบบ Notebook มากกว่าแบบ Desktop PC

ต่อมา HardDisk ยี่ห้อ Fujitsu แบบ Desktop PC ขายไม่ได้ตามเป้า แต่ในขนาดเดียวกันมี Notebook หลายยี่ห้อ ยังใช้ HardDisk ของ Fujitsu อยู่ Fujitsu จึงตัดสินใจยกเลิกผลิต HardDisk แบบ Desktop PC แล้ว แต่ยังคงผลิต HardDisk สำหรับ Notebook ต่อไป

ต่อมา HardDisk ยี่ห้อ Maxtor ได้ควบกิจการกับ Quantum เรียบร้อยแล้ว และให้ Maxtor ผลิต HardDisk สำหรับ Desktop PC และ Notebook และให้ Quantum ผลิต HardDisk สำหรับ Server

ปัจจุบัน HardDisk ยี่ห้อ Seagate ซื้อกิจการ HardDisk ยี่ห้อ Maxtor แต่จะเป็นยังไร เดียวมาเล่าสู่กันฟัง