ซื้อ Hard Drive ใหม่เสียที หลังจากอึดอัดมานาน

ด้วยเหตุที่ว่า Notebook ผมนั้นมันมีพื้นที่ใช้ส่อยแค่ 40GB และถูกลดลงด้วยหลักเลขฐานสองลงไปอีก (อ่านดูแล้วกัน : พื้นที่ในฮาร์ดดิสค์หายไปไหน ?? มันคือพื้นที่ผีอยู่ หรือว่ามันหายไปจริงๆ !!! ) ซึ่งมันจะเหลือให้ใช้จริงๆ อยู่ประมาณ 38.xx GB เท่านั้น ทำให้อึดอัดมาก แค่ลง Operating System และ Software ต่าง ๆ ก็ใช้พื้นที่ไปแล้วกว่า 16 – 18GB ซึ่งนี้ยังไม่รวมไฟล์เอกสารที่มากมาย ที่ซัดไปเหลือให้ได้ว่าง ๆ เอาไว้วิ่งเล่น และ Defragmemt อีกนิดหน่อย ซึ่งน้อยมาก ๆ จนต้องไปหาซื้อ Hard Drive ใหม่สักที ด้วยราคาที่ถูกลงมากสำหรับความจุ 80GB ทำให้ผมไปคว้ามาซะเลยในราคาค่าตัว 4,000 ถ้วน (ราคาต่างจังหวัดนะ) ซึ่งแพงกว่าแถวกรุงเทพฯ ตามห้างดังต่าง ๆ อยู่ไม่น่าเกิน 300 บาท (คิดซะว่าค่ารถไปกลับยังไม่ถึงเลย ถือว่า ok แล้วกัน) โดยที่ซื้อคือ Seagate® Momentus 5400.3 ST980815A 5,400rpm 80GB ซึ่งเอามาแทนที่ Hitachi® Travelstar HTS424040M9AT00 4,200rpm 40GB ที่ติดมากับ IBM Thinkpad R40 ตัวเก่งของผม ซึ่งการเปลี่ยนก็ง่าย ๆ แค่ถอดน็อต 1 ตัวแล้วก็เลื่อนมันออกมา ขันน็อตที่ยึดอีก 4 ตัว แล้วก็เปลี่ยนเสร็จก็เอาตัวใหม่ใส่แล้วก็ทำขั้นตอนย้อนกลับก็จบ ง่ายมาก ๆ ไม่ยาก แต่ที่ยากคือการเอาข้อมูลใน Hard Drive ตัวเก่ามาใส่ตัวใหม่ ซึ่งคงต้องอาศัย software อย่าง Norton Ghost มาช่วยเล็กน้อย ตามวิชาที่ได้ร่ำเรียนมาจากสำนักประกอบเครื่องตอน ม. 4-6 ที่โรงเรียนเก่า (ประกอบเครื่องและลงโปรแกรม 250 เครื่องภายใน 5 วัน ก็ใช้ Ghost เนี่ยหล่ะเป็นคำตอบ อิๆๆๆ) ซึ่งก้ใช้เวลาอีก 3 – 4 ชั่วโมงในการย้ายข้อมูล รวมไปถึงการ update MFT (Master File Table) ของ File System ของ Windows อีก ครึ่งชั่วโมง โดยใช้การ chkdsk c:/f เพื่อทำการ update MFT เพราะไม่งั้น windows มันจะเอ้อๆ และช้าๆ เพราะ MFT ใน Hard Drive ตัวเก่า กับ ตัวใหม่นั้นมีการอ้างอิงที่มีการคลาดเคลื่อนกันได้ โดยเฉพาะถ้าขนาด Partition ที่มีไม่เท่ากัน ซึ่งอย่างของผม Drive C ที่เก็บ OS ไว้นั้น ตัวเก่ามีขนาด 20GB แต่ตัวใหม่มีขนาด 30GB ทำให้มีพื้นที่บางส่วนที่ MFT ไม่ครอบคลุมแน่นอน โดยสักเกตุได้ง่ายมากก่อนทำ chkdsk c: เฉยๆ มันจะขึ้น MFT error ซึ่งต้องทำการ fix ในส่วนของ MFT ด้วยคำสั่ง chkdsk c:/f ก่อน แล้วถึงจะหาย error ซึ่งจริง ๆ ต้องทำทุกๆ Drive เลยทีเดียว และคราวนี้ก็สมใจสักที มีพื้นที่โล่งๆ ไว้เก็บงานต่าง ๆ ได้มากขึ้น แถมเพลงอีกด้วย

ส่วนตัวเก่านั้นก็ไปซื้อ External Box 2.5" มาใส่ในราคา 190 บาท (ราคาต่างจังหวัด)

รูปต่าง ๆ ถ่ายด้วย Sony Ericsson W700i ย่อรูปเหลือขนาดที่ ~500 x ~500 Pixel

ความเป็นไปของยี่ห้อ HardDisk ต่าง ๆ

พอดีว่าอ่านแล้วน่าสนใจมากเลยนำมาบอกต่อครับ

อ้างอิงจาก http://www.pantip.com/tech/coffee/topic/JX1985579/JX1985579.html


ในสมัยก่อน มี HardDisk ยี่ห้อ Seagate,Maxtor,Quantum,IBM,Corner,Wetern Digital และ NEC

ซึ่งต้อนนั้นยี่ห้อ Seagate ขายดีที่สุด และ IBM ขายได้น้อยที่สุด

ในยุคต่อมา Seagate ได้ซื้อกิจการ HardDisk ของ Corner ทำให้ไม่มียี่ห้อ Corner ต่อไปแล้ว

ต่อมา บริษัท LG ได้ควบกิจการ HardDisk ของ Quantum
ทำให้ตอนนั้น HardDisk ของ Quantum มียี่ห้อว่า LG- Quantum

ในปีต่อมา บริษัท LG ได้หยุดควบ HardDisk ของ Quantum ทำให้ HardDisk มียี่ห้อ Quantum เหมือนเดิม

ต่อมา HardDisk ยี่ห้อ NEC ก็ได้เลิกกิจการแผนก HardDisk และเลิกผลิต HardDisk อีกต่อไป เพราะขายไม่ค่อยดี และได้กำไร น้อย

ต่อมามี HardDisk ยี่ห้อใหม่ๆ ออกมา คือ Fujitsu และSamsung
ตอนนั้นยังขายไม่ค่อยออกเท่าไร่

ต่อมา บริษัท HITACHI ได้เข้า TakeOver HardDisk ยี่ห้อ IBM ทำให้ HardDisk ยี่ห้อ IBM ได้เปลี่ยนเป็น ยี่ห้อ HITACHI และ HITACHI เป็นผู้ผลิต HardDisk เพียงแต่ผู้เดียว แต่ยังใช้โรงงานและเทคโนโลยีของ IBM อยู่

ต่อมา HardDisk ยี่ห้อ Samsung ขายดีมากขึ้น เทน้ำเทท่า ทำให้ Samsung ผลิต HardDisk ต่อไป

ต่อมามี HardDisk ยี่ห้อ TOSHIBA ออกมาแต่มักจะทำแบบ Notebook มากกว่าแบบ Desktop PC

ต่อมา HardDisk ยี่ห้อ Fujitsu แบบ Desktop PC ขายไม่ได้ตามเป้า แต่ในขนาดเดียวกันมี Notebook หลายยี่ห้อ ยังใช้ HardDisk ของ Fujitsu อยู่ Fujitsu จึงตัดสินใจยกเลิกผลิต HardDisk แบบ Desktop PC แล้ว แต่ยังคงผลิต HardDisk สำหรับ Notebook ต่อไป

ต่อมา HardDisk ยี่ห้อ Maxtor ได้ควบกิจการกับ Quantum เรียบร้อยแล้ว และให้ Maxtor ผลิต HardDisk สำหรับ Desktop PC และ Notebook และให้ Quantum ผลิต HardDisk สำหรับ Server

ปัจจุบัน HardDisk ยี่ห้อ Seagate ซื้อกิจการ HardDisk ยี่ห้อ Maxtor แต่จะเป็นยังไร เดียวมาเล่าสู่กันฟัง