ในบ้านเราส่วนใหญ่แปะป้าย "ซื้อแล้วไม่รับเปลี่ยนหรือคืน" ถูกต้องหรือไม่?

อ้างอิงหลักฎหมายจาก http://www.lawyerthai.com/forum2/1578.html

เมื่อพิจารณาจากหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็จะเห็นได้ว่าประกาศหน้าร้าน "ซื้อแล้วไม่รับเปลี่ยน หรือคืน" อยู่ภายใต้บังคับข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม จึงไม่สามารถตกลงกันได้ ดังนี้ผู้ขายต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่อง แต่ความรับผิดของผู้ขายมีแค่เพียง ซ่อมบำรุงเท่านั้นให้สินค้าใช้งานได้ โดยที่ผู้ซื้อไม่มีสิทธิขอเปลี่ยนใหม่ ในกรณีที่ผู้ซื้อเห็นว่าไม่คุ้มที่จะซ่อม ผมก็มีทางออกมให้ครับโดยการให้ผู้ซื้อบอกเลิกสัญญาและให้ผู้ขายคืนเงินแก่ผู้ซื้อ แต่ได้ไม่เต็มนะครับต้องหักส่วนที่ใช้งานออกไปด้วย และ ผู้ซื้อก็คืนสินค้าให้แก่ผู้ขายไป คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมนั่นเอง

———————————————————————————-
หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ตาม ป.พ.พ.
– มาตรา 472 ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด
– มาตรา 483 คู่สัญญาซื้อขายจะตกลงกันว่าผู้ขายจะไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิก็ได้

ตาม พ.ร.บ.ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
– มาตรา ๖  สัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพที่มีการชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้บริโภค จะมีข้อตกลงยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพเพื่อความชำรุดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิทธิไม่ได้ เว้นแต่ผู้บริโภคได้รู้ถึงความชำรุดบกพร่องหรือเหตุแห่งการรอนสิทธิอยู่แล้วในขณะทำสัญญา ในกรณีนี้ให้ข้อตกลงยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดนั้นมีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น

การแอบอ้างหรือนำรูปไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาติ

เกรินนำก่อนเลยว่าตาม พ.ร.บ ลิขสิทธ์ ให้บอกไว้ว่า ”ลิขสิทธิ์จะเป็นของผู้สร้างสรรค์ ก็คือ ผู้แต่ง ผู้วาด ผู้เขียน ผู้ถ่าย ใครสร้างสรรค์ขึ้นมา ลิขสิทธิ์ก็จะเป็นของผู้นั้นโดยทันที โดยไม่ต้องจดลิขสิทธ์ แต่ประการใด” แตกต่างจากสิทธิบัตรอย่างชัดเจน (แต่ปรกติแล้วจดสิทธิบัตรมักจะจดมีลิขสิทธิ์พ่วงมาด้วยบ้างในบางงาน) เนื้อหาในข้อกฎหมายอ่านเพิ่มเติมที่ http://www.moc.go.th/opscenter/cr/lic1.htm

งานสร้างสรรค์ต่างๆ ซึ่งในที่นี้ผมจะมุ่งไปที่การสร้างสรรค์ในการถ่ายภาพนิ่งเป็นหลักเพื่อให้เหมาะกับสิ่งที่ผมจะพูด การถ่ายภาพนั้นถ้าเป็นการถ่ายรูปธรรมชาติ ทั่วๆ ไปหรือภาพเหตุการณ์ต่างๆ ที่ไม่มีคนมาเกี่ยวข้องอันนี้ไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไหร่นัก

แต่เมื่อใดก็ตามที่ถ่ายรูปมาติดหน้าคนเมื่อไหร่ อันนี้งานเข้าครับ เพราะมันมีเรื่องของกฎหมายสิทธิ์ส่วนบุคคลมาเกี่ยวข้อง ซึ่งในบางประเทศติดคนในภาพได้ถ้าไม่ชัดเจน หรือเห็นหน้าไม่ชัด แต่บ้างที่ก็ไม่ได้เลย ต้องให้เซ็น Model Release (ใบยินยอมให้เป็นแบบ) ที่ต้องเซ็นเพราะเป็นการบ่งบอกว่าการถ่ายรูปในครั้งนี้อาจนำมาซึ่งความไม่เป็นส่วนตัวได้ นั้นเอง

ที่นี้เมื่อใดก็ตามที่เป็นลักษณะของภาพบุคคลก็มักจะมีข้อกฎหมายที่เดี่ยวข้องแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ

  1. ลิขสิทธิ์ในตัวภาพถ่าย
  2. สิทธิส่วนบุคคลของผู้เป็นแบบ

ซึ่งต้องแยกกันให้ออก ปรกติแล้วในบ้านเราเวลาถ่ายรูป ออกทริปต่างๆ ไม่ว่าจะทริปใหญ่ ทริปเล็ก ไม่ค่อยมีใครเซ็น Model Release กันสักเท่าไหร่ เพราะทุกคนก็คิดว่ามันดูจริงจังเกินไป ถ่ายเป็นงานอดิเรกจะอะไรกันนักหนา อันนี้พอเข้าใจได้ เว้นนะครับ เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี อันนี้แนะนำให้เซ็นทุกกรณี (พร้อมรายเซ็นผู้ปกครองด้วย) ยิ่งโพสลงเว็บแล้วถ้าไม่ใช่พ่อ-แม่นี่อาจโดนลบทิ้งหรือยกเลิก account ของเว็บโพสรูปต่างๆ ได้ครับ เพราะในเมืองนอกนี่รูปเด็กๆ นี่เค้าถือเรื่องนี้กันมากครับ เพื่อนผมโดนยกเลิก account ของ SkyDrive ของ Microsoft มาแล้วเพราะมีรูปของน้องตัวเองอายุไม่ถึง 18 อยู่ กว่าจะเคลียร์กันได้ ไม่รู้ไปวัดอายุด้วยอะไรเหมือนกัน –_-‘

แต่เมื่อใดก็ตามที่เป็นการเป็นงาน ถ่ายในสตู เอาภาพไปใช้งานจริงๆ จังๆ ลงในเว็บ ลงหนังสือ สิ่งพิมพ์เป็นเรื่องเป็นราว บริษัทเอาไปใช้งานต่างๆ แล้วนั้นผมแนะนำให้เซ็นซะ จะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง โหลดได้ที่ http://www.arcurs.com/what-is-a-model-release อันนี้จัดเต็มหาให้เลย (ภาษาอังกฤษไปเลย จะได้ใช้ได้หลายงานดี) ประเด็นมันอยู่ตรงนี้แหละ เมื่อเราถ่ายรูปบุคคลมา เอามาโพสลงเว็บรูปก็ของเรา คนในรูปก็คนที่เราก็รู้จัก (หรือเรารู้จัก แต่เค้าไม่รู้จักเรา แต่เค้าโพสให้เราถ่ายรูปก็ตาม) ยังไงก็ควรเคารพสิทธิส่วนบุคคลผู้อยู่ภาพเสมอ ว่าภาพที่ลงนั้นจะไปสร้างความเสื่อมเสียต่อบุคคลนั้นหรือเปล่า ตรงนี้นางแบบหลายๆ คนจะได้ค่าจ้างเพิ่มจากการเซ็นตรงนี้ด้วยซ้ำ เพราะรูปภาพพวกนี้อาจจะถูกนำไปขายต่อได้ในอนาคต เพราะใน Model Release (ส่วนใหญ่) จะระบุเรื่องการโอนย้ายลิขสิทธิ์ของภาพนั้นๆ ด้วยตรงนี้ต้องอ่านดีๆ ครับ เพราะมันเกี่ยวกับความไม่เป็นส่วนตัวของคุณมากๆ

ต่อมาก็คืองานที่เป็นลักษณะจ้างวานอีกต่อหนึ่งในงานต่างๆ นั้น อาจจะมีการเซ็นหรือตกลงกันว่าภาพนี้จะเป็นลิขสิทธิ์ของผู้จ้างวานทั้งหมดหรือลิขสิทธิ์ร่วมก็แล้วแต่จะตกลงกันในเนื้องานไป ไม่เช่นนั้นจะเข้าข่ายตาม พ.ร.บ ลิขสิทธ์ ที่ผลงานเป็นของผู้สร้างสรรค์คนแรกทันที

ทำไมผมถึงมาพูดเรื่องพวกนี้ ต้องบอกว่าเมื่อเดือนก่อนผมได้รับ FWD Mail แล้วมีคนเอารูปที่ผมถ่ายเนี่ยแหละ ไปลง FWD Mail -_-‘ ได้รับเมลแล้วก็นะ คนแรกที่ส่งเท่าที่สาวได้ก็คนในองค์ใหญ่ใช้ได้เลย จริงๆ ผมก็ไม่ได้อะไรหรอก อยากเอาไป FWD Mail ก็น่าจะแจ้งกันสักหน่อย เพราะบางครั้งผมได้รับ FWD Mail หลายๆ ฉบับมักมีข้อความล่อแหลมพ่วงตามมาในเมลฉบับที่ FWD ต่อตอนท้ายๆ อันนี้เห็นแล้วได้แต่เซงๆ ทำอะไรไม่ได้ ได้แต่บ่นในใจ อยากจะด่ากลับเหมือนกัน แต่ด่าไปก็ได้แต่ท้ายๆ พวกได้รับแบบไม่รู้เรื่องรู้ราว แล้วไอ้คนแรกที่ส่งตามที่เราเห็น ก็ไม่แน่ใจว่าจะใช่คนแรกจริงๆ หรือเปล่าอีก เฮ้อ ….

แล้วต่อมาเร็วๆ นี้ก็มีเว็บหลายๆ เว็บ พวกโมเดลลิ่ง เว็บจัดทริปบางเว็บ เอารูปของพี่ๆ ที่รู้จักกันในมัลติพลายไปลง โดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ แถม hot link อีกต่างหาก logo มัลติพลายและลายน้ำชัดเจนมาก ซึ่งผมคิดว่าถ้าทำเว็บเป็นการเป็นงาน ทำธุรกิจเป็นเรื่องเป็นราวน่าจะติดต่อนางแบบมาเคส หรือติดต่อขอซื้อภาพไปเลยน่าจะดีกว่าไหม จะได้ดูน่าเชื่อถือ และดูเป็นมืออาชีพมากกว่านี้มากๆ ซึ่งคงไม่ต้องต่อว่าอะไรอีก เพราะผลงานเด่นชัดขนาดนั้นสังคมลงโทษกันเอาเองหล่ะครับ

ซึ่งแน่นอนว่าอีกประเด็นที่ร้อนไม่แพ้กันคือการนำรูปไปแอบอ้างเพื่อหวังประโยชน์ทางใดทางหนึ่ง เช่น ประกาศทริป/เคสงานแล้วนางแบบยังไม่รู้เรื่องเลย อยู่ๆ ก็ประกาศ แถมนำรูปไปใช้ก่อนด้วยนะ คนรู้จักนางแบบคนนั้นก็ไปถาม นางแบบก็งงๆ ว่าอ้าว ไปจัดอะไรกันตอนไหน คนจะเป็นนางแบบยังงงๆ อยู่เลย ออกแนวมัดมือชกหรือเปล่า ประกาศไปแล้ว นางแบบไม่มา กลายเป็นนางแบบเบี้ยวงาน ไปแทน เสียชื่อเสียงอีกต่างหาก อันนี้น่าคิดครับ ซึ่งในความคิดของผมเนี่ย ผมมองว่าถ้าจะทำธุรกิจอะไร ผมก็แนะนำให้ตรงไปตรงมาครับ ไม่ใช่ทำเป็นพวก มัดมือชก บอกความจริงไม่หมด บอกครึ่งเดียว หรือแอบอ้าง อันนี้ผมว่าไม่เหมาะสมเท่าใดนัก

สุดท้ายต้องมีคนมาแสดงคามคิดเห็นเรื่องการใช้ซอฟท์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในการตกแต่งภาพแล้วนำมาใช้แล้วถูกละเมิดเช่นกัน แล้วที่นี้เราจะไปฟ้องคนที่ละเมิดแล้ว ซึ่งภาพนั้นเราเองก็ละเมิดลิขสิทธิ์ซอพแวร์คนอื่นมาเหมือนกัน ซึ่งถ้าโดนฟ้องกลับตรงนี้ เป็นความผิดในเรื่องของ "ต่างกรรม ต่างวาระ" และไม่ใช่คนที่เค้าละเมิดลูกภาพเราจะมาฟ้องกลับได้ เพราะผู้ที่จะฟ้องเราได้ ต้องเป็นเจ้าของซอฟท์แวร์หรือผู้ได้รับอำนาจอย่างถูกต้องเท่านั้น แต่ฟ้องได้แต่ในเรื่องของการใช้ซอฟท์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในการตกแต่งภาพเท่านั้น แต่ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ของภาพที่เราใช้โปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์นั้นก็ไม่ได้หมดไปเช่นกัน ยังไงลิขสิทธิ์ของภาพก็ยังเป็นของเราอยู่ครับ

ซึ่งผมมองว่าการเรียกร้องการถูกละเมิดในขณะที่ตัวเราเองก็ละเมิดนั้น ผมว่ามันก็แล้วแต่บุคคล แต่ที่แน่ๆ "มันก็ไม่ใช่ข้ออ้างในการทำให้บุคคลอีกฝ่ายจะมาละเมิดลิขสิทธิ์ได้เช่นกัน"

ผมหวังว่าเรื่องพวกนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านไม่มากก็น้อย และอยากให้คนที่ถ่ายรูปทุกท่านระลึกไว้เสมอๆ ครับในเรื่องพวกนี้