ลองเล่น ownCloud

ตอนนี้ผมทดลอง Implement ระบบ Cloud Storage ตัวหนึ่งชื่อ ownCloud (http://owncloud.org/) เป็น open source software ที่เป็น Web Interface และระบบ WebDAV API สำหรับจัดการไฟล์แบบ Virtual File System อีกทีหนึ่ง
โดยตัว concept ก็เหมือนๆ Cloud ทั่วไป คือเราไม่ต้องรู้ว่ามันจัดเก็บไฟล์ที่ไหน โดยมันเป็น Interface ที่เราเอาไว้โยนไฟล์ใส่ แล้วมันจะเอาไปไว้ในที่ที่เราตั้ง Mount ตัว File System ต่างๆ ไว้อีกทีหนึ่ง โดยเราจะเอาไว้บน Local File System, FTP, WebDAV, Open Stack Storage หรือ Samba ก็ได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเอาไว้ใช้บนรูปแบบการจัดเก็บหลังบ้านแบบไหนต่อไป (Frontend/Backend) แถมทำ Versioning File ได้ด้วย

แต่ที่สุดยอดจริงๆ ของมันคือ มันมี Sync Software ที่มีให้เลือกทั้ง Windows, Mac และ Linux ซึ่งจากที่ลองใช้ ทำงานเหมือน Dropbox เลย ใช้งานแบบลากไฟล์ใส่ Folder ที่กำหนด แล้วไฟล์มันจะ sync ขึ้น cloud ให้เอง (เหมือนเลยดีกว่า)

ส่วนบนมือถือเราก็หาตัว Apps ที่รองรับการทำงานผ่าน WebDAV ก็สามารถใช้งานได้แล้ว (จะทำ auto upload ก็ทำผ่านไอ้ตัวนี้ได้เลย) ซึ่งจากที่นั่ง Lab มาได้สัก 1-2 อาทิตย์ ถ้าเราใช้งานทั่วไป และ Share File ระหว่าง user ผมว่าตอบโจทย์การใช้งานในองค์กรได้เลยนะ (มันทำ Share Folder ระหว่าง group/user ได้)

ตอนนี้ผมกำลังลองทำ Mount ไปใช้รูปแบบอื่นๆ อยู่ ซึ่งคิดว่าจะลองตัว Open Stack Storage ด้านหลังแทน Local File System อยู่ (Open Stack Storage ทำงานคล้ายๆ Amazon S3) คิดว่าถ้าโอเค น่าจะทำ Solution ต่างๆ ได้เยอะมากๆ โดยไม่ต้องพึ่งพวก Dropbox เหมาะกับองค์กรหรือคนที่ห่วงข้อมูล กลัวโดนพวก 3rd party พวกนี้ไปใช้ อาจจะใช้ภายในองค์กรเฉยๆ ไม่ได้อยากต่อออก Internet ก็น่าสนใจอีกตัวนึง

มาทำ Backup ไฟล์สำคัญจากมือถือและโน๊ตบุ๊ก ไปไว้บน Cloud กันดีกว่า!!! (Online Sync)

จาก วิธีเก็บไฟล์รูปภาพให้อยู่กับเรานานๆ และ แนวทางการ Backup ข้อมูล (ฉบับปรับใหม่) ทั้งสองตอนเป็นเรื่องราวของการ Backup แบบ Local Drive อยู่ที่บ้านของแต่ละคนเป็นสำคัญ มารอบนี้เน้นแบบ Cloud Storage Service หรือบริการพื้นที่รับฝากไฟล์แบบ Sync ระหว่างเครื่องของเรากับตัว Service ที่อยู่บน Internet ซึ่งตรวจสอบและทำการ copy ไฟล์เราขึ้นไปอยู่บน Internet อยู่เรื่อยๆ เมื่อมีการเพิ่มขึ้นของไฟล์ เปลี่ยนแปลงข้อมูล ทั้งแก้ไขหรือลบ โดยเราแทบไม่ต้องสนใจเลยว่ามันทำงานอย่างไร แถมยังมีสำรองข้อมูลเราแบบ Snapshot ซึ่งจะเก็บไฟล์เราไว้เป็นช่วงๆ เวลาที่เราแก้ไขเป็นเวลาเรียงต่อไปว่าเราเคยแก้ไขไปเมื่อไหร่บ้างและสามารถเรียกกลับมาอ่านหรือแก้ไขใหม่แทนที่ตัวปัจจุบันได้ด้วย แต่ระยะเวลามากสุดก็แล้วแต่พื้นที่หรือวันเวลาที่ระบบตั้งไว้สูงสุดเท่าไหร่ ซึ่งขึ้นกับผู้ให้บริการ

สำหรับบริการที่ผมใช้นั้นมี 3 Cloud Storage Service

  1. SugarSync (มีพื้นที่ใช้อยู่ 36.5GB ซึ่งเช่าเพิ่มเติมมาอีก 30GB)
  2. Dropbox (มีพื้นที่ใช้อยู่ 4GB ใช้ฟรี)
  3. SkyDrive (มีพื้นที่ใช้อยู่ 25GB ใช้ฟรี)

และเครื่องที่ผมมีไฟล์ข้อมูลเก็บอยู่ ซึ่งแน่นอนว่ามันก็คือโน๊ตบุ๊กของผมและมือถือของผมครับ

สำหรับตัวโน๊ตบุ๊กนั้น ผมแบ่งเป็น 3 Folder หลัก คือ

  1. Dropbox เป็น Folder หลักและสำคัญที่สุด เพราะเก็บไฟล์งานสำคัญต่างๆ และเอกสารทั้งหมด โดยจะใช้ Sync กับบริการของทั้ง Dropbox และ SugarSync แบบพร้อมๆ กันเลย คือทั้งสอง Service จะมีไฟล์เหมือนกัน (เผื่อมันล่มหรือมีปัญหายังมีอีกที่ที่ทำงานได้)
  2. SkyDrive เป็นตัวแยกต่างหาก ใช้เก็บไฟล์ที่ไม่สำคัญมาก หรือเอาไว้ Public/Share คนทั่วไปเป็นหลัก อันนี้เพิ่งเริ่มใช้งาน แต่โดยรวมประทับใจมาก แต่ Dropbox และ SugarSync ก็ใช้ไม่หมดแล้ว
  3. Magic Briefcase เป็นบริการส่วนของ SugarSync เอาไว้ Backup สำหรับมือถือเป็นหลัก โดยจะ Sync จากมือถือขึ้น Cloud และจาก Cloud ลงมาใส่บนโน๊ตบุ๊กอีกรอบนึง เป็นแบบ Auto/Interval Sync ทุก 12 ชั่วโมง (เลือกตั้งได้ถี่กว่านี้ก็ได้ผ่านภายในตัวมือถือ)

ด้านล่างเป็นแผนภาพรวมที่ใช้อยู่ตอนนี้

Backup Plans

ตัว SugarSync จะยืดหยุ่นกว่า Dropbox ในการเลือก Folder ต่างๆ ในเครื่องเราได้มากกว่า อย่าง Dropbox แม้จะมี Selective Sync แต่ก็ต้องเลือกจากภายใน Folder หลัก ไม่ใช่คนละ Location แบบ SugarSync

หน้าตาของ SugarSync File Manager

2012-06-21_205353

หน้าจอ Dropbox Preferences ที่เลือก Selective Sync

2012-06-21_210408

สำหรับมือถือนั้น ผมใช้ Android Phone เพราะงั้นผมมีอิสระในการเข้าถึงไฟล์ต่างๆ บนเครื่อง และจัดการไฟล์ได้เยอะกว่าทั้ง Internal Storage, Internal SD Card, External SD Card (เครื่องผมมันมี 3 Storage) เลยทำให้ SugarSync ตอบโจทย์ในเรื่องของความยืดหยุ่นของการ Backup ทั้ง 3 Storage เพราะผมเลือก Location ต่างๆ ในเครื่องทั้งหมดให้ Sync ลง Mobile Folders ใน Magic Briefcase ได้ทันที เพราะงั้น ถ้ามือถือหาย หรือไฟล์หาย ผมยังเรียกคืนจาก Cloud ได้หรือแม้แต่บนโน๊ตบุ๊กที่ผมก็ตั้ง Sync ตัว Magic Briefcase ไว้ได้ทั้งสองที่ครับ

SCR_20120621_205053 SCR_20120621_210028

หวังว่าประสบการณ์ในการแบ่งบันครั้งนี้คงทำให้หลายๆ คนรอดพ้นจากไฟล์ข้อมูลสำคัญๆ หายจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันจากทั้งโน๊ตบุ๊กและโทรศัพท์มือถือครับ

ฝากไว้เหมือนเดิม

Backup พันวัน เอาไว้ใช้วันสำคัญวันเดียว … วันที่ข้อมูลมีปัญหา!!!

SugarSync อีกทางเลือกสำหรับคนชอบใช้ Cloud Storage

วันนี้ผมมาแนะนำ SugarSync สำหรับคนอยากได้พื้นที่เก็บไฟล์ฟรีๆ 5GB ตอนสมัครและรับเพิ่มในรูปแบบอื่นๆ ได้มากถึง 10GB โดยรวมแล้วคล้ายๆ กับ Dropbox ซึ่งเป็น Cloud Storage แต่ที่ Dropbox จะให้พื้นที่เริ่มต้น 2GB และให้มากสุดที่ 8GB (ด้วยโปรจากการแนะนำ หรือเรื่องต่างๆ ตามเทศการ)

สำหรับในส่วนของราคาสำหรับคนใช้งานไม่พอนั้น SugarSync นั้นดูจะมีราคาถูกกว่าและตัวเลือกในการเพิ่มพื้นที่เยอะกว่ามาก เลยมีความน่าสนใจมากกว่า แถมตัว SugarSync สำหรับทำงานบน Laptop/Notebook นั้นก็สามารถเลือก Directory ได้หลากหลายกว่าทาง Dropbox เพราะไม่ต้องเลือกเฉพาะแค่ Directory เดียวแล้ว Selective ภายในแบบ Dropbox แต่เลือกได้หลายๆ Directory จากต่างที่กันได้ด้วย ทำให้ความหลากหลายในการใช้งานนั้นมีมากกว่า Dropbox ด้วย

โดยรวมแล้วใช้งานไม่ได้แตกต่างกันทั้งสองส่วน เลยอยากแนะนำให้ลองสมัครใช้งานกันดูครับ

SugarSync is a free service that enables you to access, sync and share your files across all your computers and devices. We enable you to backup, sync and share all of your documents, photos, music and movies so that you can access them from your laptop, iPhone, iPad, Android, BlackBerry, or any other device.

ลองสมัครได้ที่นี่ครับ

บริการ Cloud ที่ใช้อยู่ตอนนี้

  • Google Apps for Business : $50 (1 user account / year)
  • Flickr PRO : $24.95 (1 user account / year)
  • Multiply Premium : $19.95 (1 user account / year)
  • Xmarks Premium: $12 (1 user account / year)

กำลังคิดว่าจะเพิ่มอีก 2 ตัวในตอนนี้ กำลังดูถึงความคุ้มค่า

  • Dropbox Pro 50 : $50 (1 user account / year)
  • Google additional storage 20 GB : $5 (1 user account / year)

ความคิดเห็นต่อ “Google+เป็นภัยต่อช่างภาพ!?”

จากข่าว “Google+เป็นภัยต่อช่างภาพ!?

ท่ามกลางข่าวสารคึกคักเกี่ยวกับเสียงตอบรับถล่มทลายจากชาวออนไลน์ทั่วโลก ล่าสุดสื่อนอกเตือนภัยการโพสต์ภาพบนเครือข่ายสังคมใหม่ล่าสุดของกูเกิล กูเกิลพลัส (Google+) ว่าจะเป็นภัยต่อช่างภาพมืออาชีพเนื่องจากเง…

มันก็ตั้งแต่โลกมี Digital Data ที่ Copy ได้โดยที่ต้นฉบับยังคงอยู่ครับ ผมมองว่า Google+ คือ Flickr หรือเว็บแชร์รูปทั่วไป ที่มีข้อกำหนดเพื่อปกป้องตัวเองจากการทำ Copyright เป็นหลัก ซึ่ง Facebook, Flickr, Multiply หรือเว็บอื่นๆ ก็มีระบบ Share หรือ Embed รูปก็มีข้อกำหนดที่ไม่แตกต่างกันทั้งนั้น เพียงแต่ Google+ ทำให้มันง่ายขึ้นแบบเดียวกับ Facebook นั้นแหละ

ถ้ามองในความเป็นจริงสิทธิ์ในตัวรูปภาพยังอยู่กับคนเป็นเจ้าของ การเอารูปไปใส่ใน Social Network ใดๆ เป็นการยอมรับการแจกจ่ายด้วยตัว Function หลักของมัน แต่เมื่อใดที่คนใน Social Network นั้นๆ ทำการสำเนา (Save As to …) ออกมาโดยไม่ใช่ Function Share แล้วเผยแพร่ไปที่เว็บอื่นๆ หรือสื่ออื่นๆ นั้นแหละถือว่าละเมิดแล้ว

ประกอบกับด้วยความที่มันเป็น Cloud Storage มันจึงถูกทำให้เกิดข้อกำหนดนี้แบบเดียวกับ Dropbox ฯลฯ บริการอื่นๆ ที่มันสามารถ Public ออกไปด้วย เพราะตัวรูปแบบของ Cloud นั้นจะมีการทำสำเนา หรือวิธีจัดเก็บที่อาจจะต้องปรับปรุงหรือสำเนาต้นฉบับไปหลายๆ ที่เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึง เช่นย่อรูป, ทำให้คุณภาพรูปลดลงเพื่อจำกัดพื้นที่ หรือนำไฟล์ไปกระจายตามเครื่องแม่ข่ายต่างๆ ทั่วโลก

ซึ่งจริงๆ มันเป็นเรื่องของข้อกำหนดของกฎหมายที่ให้สอดคล้องกับวิธีทางเทคนิคภายในที่คนทั่วไปไม่รู้ ถ้าเข้าใจเรื่องลิขสิทธิ์จริงๆ จะทราบว่าสิขสิทธิ์ของรูปภาพขึ้นอยู่กับความยินยอมของผู้เป็นเจ้าของนั้นๆ ซึ่งมันมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกเยอะเกินกว่าแค่การทำสำเนารูปไปมาแล้วจบ ซึ่งมันก็อ้างอิงถึงเรื่องผลประโยชน์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นหลัก