รีวิว LG 29UM65 Ultrawide 21:9 IPS LED monitor ขนาด 29” ที่เหมาะสำหรับทำงานโดยไม่ต้องต่อจอภาพเพิ่ม

เมื่อสัก 2-3 อาทิตย์ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสได้ LG 29UM65 มาทดลองใช้ ซึงเป็น Ultrawide 21:9 IPS LED monitor ขนาด 29” โดยมันเหมาะในการใช้ทำงานเอกสารที่ต้องใช้การเปิดหลายๆ หน้าต่างในเวลาเดียวกันเป็นอย่างมาก ทั้งยังพ่วงมาพร้อมกับรองรับความบันเทิงได้อย่างดีเยี่ยม เรามาดูกันว่ามันมีอะไรน่าสนใจและตอบโจทย์ในการทำงานอย่างไร

LG IPS Monitor Ultra Wide

DSC_7744c

จากแผนภาพด้านล่าง จะเห็นได้ชัดเจนถึงขนาดของจอภาพ 21:9 ที่ได้พื้นที่แนวกว้างเพิ่มมากขึ้นกว่า 16:9 หรือ 16:10 อยู่ถึง 1 ใน 5 นั้นทำให้มันมีพื้นที่ในการทำงานในแนวนอนเยอะมากขึ้นจนสามารถที่จะเปิดหน้าต่างของโปรแกรมได้ถึง 2 หน้าต่าพร้อมๆ กันในแนวนอนได้

image

สำหรับความกว้างในการแสดงผลของสีนั้น ค่อยข้างใกล้เคียงกับ sRGB พอสมควร (เส้นสีแดง) โดยจากคำโฆษณานั้นรองรับ sRGB >99% แต่จากการทดสอบ อาจจะมีการ calibrate หรือการปรับตั้งจอภาพที่อาจจะมีปัญหา ทำให้ได้โทนสีเขียวหลุดหายไปพอสมควร ซึ่งจะกล่าวเหตุผลต่อไปตอนพูดถึงการปรับตั้งค่าจอภาพ

2014-10-26_163156

การปรับแต่งหน้าจอทำได้ผ่านปุ่มใต้โลโก้ ที่มีเพียงปุ่มเดียว โดยกดปุ่มลงไปแล้วโยกไป-มาตามเมนูต่างๆ

จากการใช้งาน อาจจะต้องปรับตัวเล็กน้อยเพราะค่อนข้างใช้ความเคยชินในการเริ่มต้นใช้มากพอสมควร เพราะบางครั้งต้องกดและโยกปุ่มไปพร้อมๆ กัน

DSC_7725 image

การปรับแต่งนั้นส่วนที่ขาดหายไปที่ส่วนตัวมองว่าจำเป็นอย่างมาก คือการปรับ color temperature ที่ไม่พบการปรับแต่งอุณหภูมิสีตามค่ามาตรฐาน Kelvin เช่น 5000K, 5500K, 6500K หรือ 9300K แต่เป็น Warm, Medium และ Cool  แทน ซึ่งจากการค้นหาข้อมูลจากคู่มือของ LG ในรุ่นอื่นๆ นั้น  ค่า Warm คือ 6500K ส่วนค่า Medium หรือ Cool นั้นไม่ค่อยมีค่าแน่นอนสักเท่าไหร่ ทำให้เมื่อนำไปใช้งานปรับแต่งเพื่องานที่ซีเรียสเรื่องสี นอกจากค่า 6500K แล้วอาจจะต้องมานั่งไล่ปรับตามค่า RGB ซึ่งสามารถปรับแต่งได้ แต่ยุ่งยากกว่าพอสมควร ซึ่งนี่อาจเป็นสาเหตุให้เมื่อทำการ calibrate หน้าจอเพื่อหาค่า ICC ออกมาแล้วมีบางโซนของการแสดงผลสีที่ต่ำกว่าความเป็นจริงที่สามารถทำได้ ซึ่งหากใครไม่ได้ซีเรียสในเรื่องนี้มากนัก ก็อาจจะไม่ถือเป็นข้อแย่แต่อย่างใด เพราะค่าที่ตั้งมาให้จากโรงงานก็ให้ค่าสีที่ค่อนข้างใกล้เคียงกับจอ LG E2360V-PN ที่ผมใช้งานอยู่มานานปี ซึ่งจอที่นำมาเปรียบเทียบนี้ ได้รับการปรับแต่ง color temperature เป็น 6500K และทำการ calibrate จอภาพแล้วเช่นกัน

 image image

แน่นอน อาจจะมีหลายๆ คนที่ใช้งานแล้วมีซอฟต์แวร์บางตัวไม่รองรับกับขนาดจอภาพ 2560×1080 แบนี้ เราสามารถมาปรับแต่ง Ratio ให้เป็น Original ก็ได้ ซึ่งเราสามารถที่จะทำให้การแสดงผลนั้นจำกัดขอบเขต แนวตั้งแทนแนวนอน อาจจะมีพื้นที่ขอบสีดำด้านซ้าย-ขวาขึ้นมาในพื้นที่ที่ไม่มีการแสดงผล อย่างที่ผมใช้เล่นเกมอย่าง StarCraft II หรือ Diablo 3 ก็เล่นได้อย่างสบายๆ

DSC_7766

แน่นอนว่าหากความละเอียดไม่ตรงตามที่จอรองรับจะมีข้อความเตือนว่าใช้ความละเอียดที่ไม่ตรงอยู่มาให้เราเห็นด้วย

DSC_7762

การเชื่อมต่อสามารถเชื่อมต่อกับ port อย่าง DVI, HDMI 1.4 , DisplayPort 1.2  และช่องต่อ audio in-out แบบ stereo speakers มาให้พร้อม เพื่อรองรับการเชื่อมต่อลำโพงในตัวจอภาพ และหูฟังภายนอกได้ในคราวเดียว

DSC_7728

ในการใช้งานนั้นส่วนตัวใช้ DisplayPort ในการเชื่อมต่อแทน HDMI ทีให้มาในกล่อง เพราะเนื่องจากเครื่องที่ใช้งานนั้น การ์ดจอรองรับการส่งภาพออกผ่าน HDMI ได้เพียง Full HD แบบ 1960×1080 เท่านั้น หากต้องการได้รับภาพขนาด 2560×1080 แบบ Ultrawide 21:9 นี้ ต้องต่อจอภาพผ่าน DisplayPort ซึ่งการใช้งานก็ไม่ได้แตกต่างจาก HDMI เท่าไหร่ เพราะส่งได้ทั้งภาพและเสียงมาได้ทันทีสบายๆ ฉะนั้นหากใช้จอภาพตัวนี้อาจจะต้องตรวจสอบการ์ดจอของท่านให้ดีว่ารองรับการเชื่อมต่อแบบใดจึงจะสามารถแสดงผลได้เต็มประสิทธิภาพ

DSC_7733 DSC_7736

สำหรับในส่วนของฐานจอภาพค่อนข้างแน่นหนาดีมาก และมีลำโพงขนาด 7 Watts ทั้งสองด้าน ให้มาพร้อมในตัว ซึ่งสามารถเล่นเสียงผ่านสาย DisplayPort หรือ HDMI ได้ทันที

ตัวจอยึดกับฐานจอด้วยน็อต 2 ตัวกัฐานจอที่ค่อนข้างแน่นอนมาก แต่เวลาประกอบจอครั้งแรกเมื่อใช้งาน ต้องค่อยๆ ขันน็อตและตรวจสอบให้เรียบร้อยเสียหน่อย เพราะจอภาพค่อนข้างหนักและอาจทำให้รูน็อตมีปัญหาได้หากขันไม่แน่นหนาพอ

DSC_7745

DSC_7752 DSC_7751 

ในด้านของความบันเทิง จริงๆ ส่วนตัวมองว่ามีประโยชน์ในส่วนของการแสดงผลสัดส่วนภาพที่เท่ากับ

โรงภาพยนตร์ หรือที่บรรจุในแผ่น Bluray ที่เดี๋ยวนี้มักเป็น 21:9 ทำให้การแสดงผลดูเต็มตา ครบพื้นที่ของจอภาพที่เรามีครับ อันนี้น่าจะเป็นที่ชื่นชอบสำหรับคนที่มีแผ่นหนัง Bluray เยอะๆ แล้วเอามาเปิดบนจอสัดส่วน 21:9 แบบนี้

DSC_7760

ความสามารถแบบ Dual Link-up คือความสามารถที่ทำให้จอภาพเราสามารถแสดงผลภาพจากอุปกรณ์ 2 ตัวมาแสดงผลบนจอภาพ 1 จอได้พร้อมๆ กัน โดยที่ผมใช้บ่อยๆ คือต่อจอภาพด้วย DisplayPort และ HDMI พร้อมๆ กัน ซึ่ง HDMI จะต่อจากมือถือที่เป็น port แบบ SlimPort อีกทีหนึ่ง

DSC_7767

ตัว Dual Link-up จะแบ่งครึ่งขอภาพด้านซ้ายและขวามาให้ ต่อเป็น PC อยู่ด้านซ้าย และ Android อยู่ด้านขวา ซึ่งเหมาะกับงานที่มีการนำเสนอควบคู่กันจากสองแหล่งการส่งภาพมาแสดงผล หรือจะนำมาประยุกต์ใช้กับการดูภาพยนต์ไปพร้อมๆ กับการทำงานก็ยังได้

โดยความสามารถแบบ Dual Link-up สามารถต่อเข้ากับจอภาพรุ่นนี้ได้ทั้งผ่าน DVI, HDMI และ DisplayPort ได้พร้อมกัน 2 อุปกรณ์ ซึ่งความการตั้ง Ratio ของทั้งสองฝั่งนั้นตั้งแยกได้อย่างอิสระ

DSC_7768

DSC_7772

จากทั้งหมดที่กล่าวมานั้น หากมองในมุมการทำงานในปัจจุบันนี้ เราต้องการพื้นที่ในการทำงานที่มากขึ้น ในชีวิตประจำวันในการทำงานเรามักเปิดโปรแกรมต่างๆ ขึ้นมาทำงานพร้อมๆ กันอยู่มากมายหลายตัว ซึ่งทำให้การทำงานบนจอภาพ Ultrawide 21:9 ตัวนี้ ตอบโจทย์การทำงานที่สามารถเปิดหน้าต่างของโปรแกรมได้พร้อมๆ กันโดยที่ไม่ต้องใช้การซ่อนลงมา taskbar เพื่อสลับไป-มาในระหว่างการทำงาน ซึ่ง LG 29UM65 นั้นโดดเด่นที่มีขนาดหน้าจอกว้างเพิ่มขึ้นจากหน้าจอ wide screen ขนาดมาตรฐาน 16:9 หรือ 16:10 โดยทั่วไปอีก 1 ใน 5 ทำให้เรามีหน้าจอที่สามารถทำงานได้มากขึ้นโดยไม่ต้องใช้จอภาพเพิ่มเติมแต่อย่างใด ซึ่งทำให้ชีวิตการทำงานสะดวกอย่างมาก

DSC_7716

สำหรับราคาขาย LG 29UM65 อยู่ที่ 17,900 บาท และทั้งนี้ LG IPS Monitor UltraWide มีอยู่ทั้งหมด 3 ขนาดที่วางจำหน่ายในไทย โดยอีก 2 ขนาดคือ หน้าจอ 34” ราคา 24,500 บาท และขนาดหน้าจอ 25” ราคา 9,900  บาท

ข้อมูลด้านเทคนิดอ่านได้ที่ LG 29UM65 IPS Monitor UM65 Series – LG Electronics TH

รีวิวใช้งานจริงกับ HP Deskjet Ink Advantage 3545 ตอนที่ 2

ต่อจาก รีวิวใช้งานจริงกับ HP Deskjet Ink Advantage 3545 ตอนที่ 1 ในตอนที่ 2 นี้จะพูดถึงการนำ HP Deskjet Ink Advantage 3545  มาพิมพ์รูปถ่าย และเอกสารผ่านแท็บแล็ต-มือถือต่างๆ กัน

โดยอุปกรณ์ที่นำมาทดสอบให้ดูมีดังต่อไปนี้
– iPad (iPad Air)
– Android Tablet (Lenovo IdeaTab A3000)
– Android Phone (LG G2)
– Windows RT 8.1 (Surface RT)

ตัวอย่างการเชื่อมต่อแบบ Wireless Direct เข้ากับมือถือ Android

ในบางครั้ง เราไม่ได้เชื่อมต่อ internet อาจจะพบปัญหาได้ เราย้อนกลับมาที่ความสามารถ Wireless Direct ที่สามารถเชื่อมต่อกับ HP Deskjet Ink Advantage 3545 ได้โดยตรง โดยเราสามารถเชื่อมต่อได้ผ่านเมนู WiFi ได้โดยตรง และกรอกรหัสผ่านตามที่เครื่องได้สุ่มไว้ให้เรา

Screenshot_2014-07-06-23-24-42_thumb[2] Screenshot_2014-07-06-23-25-07_thumb[2]

Read more

รีวิวใช้งานจริงกับ HP Deskjet Ink Advantage 3545 ตอนที่ 1

รีวิวนี้ค่อนข้างยาวพอสมควร เพราะในตอนแรกกะว่าจะเขียนตอนเดียวจบ แต่หลังจากใช้งานเครื่องพิมพ์ HP Deskjet Ink Advantage 3545 e-All-in-One Printer  (ต่อไปจะเรียก HP Deskjet Ink Advantage 3545) แล้วพบว่ายิ่งใช้ ยิ่งปรับแต่ง ยิ่งพบความสามารถที่มากมายจนเขียนตอนเดียวไม่หมด ผมจึงแบ่งออกมาเป็น 3 ตอนขั้นต่ำ และในขณะที่เขียนตอนที่ 1 อยู่ ตอนที่ 3 ยังเขียนไม่ครบเลย

  1. พูดถึงความสามารถโดยรวม และการใช้งานร่วมกับ HP Connected และ Google Cloud Print และทดสอบพิมพ์ผ่าน Android Phone (LG G2) และ Android Tablet (Lenovo IdeaTab A3000)
  2. พูดถึงการพิมพ์รูปถ่าย และเอกสารผ่านแท็บแล็ต-มือถือ
    – iPad (iPad Air)
    – Android Tablet (Lenovo IdeaTab A3000)
    – Android Phone (LG G2)
    – Windows RT 8.1 (Surface RT)
  3. จัดการเครื่องระยะไกลและการสแกนเอกสาร (Webscan, HP Scan and Capture และ HP AiO Remote)

โดยผมได้ HP Deskjet Ink Advantage 3545 มาใช้สักพักใหญ่ๆ มันเป็นเครื่องพิมพ์แบบมัลติฟังก์ชั่นแบบหมึกพ่น หรือ Ink Jet ที่มีความสามารถไม่ใช่แค่พิมพ์ภาพสวย แต่ยังพ่วงเอาความสามารถมัลติฟังก์ชั่นแบบไร้สายเอาไว้ด้วย โดย HP Deskjet Ink Advantage 3545 นั้นถูกผลิตมาช่วยให้การทำงานของเราสะดวกสบายมากขึ้นด้วยความสามารถในการควบคุมผ่านเครือข่ายไร้สาย (WiFi) และแบบ Cloud แบบเต็มที่ โดยมีความสามารถแบบย่อๆ คือสามารถ Print, Copy, Scan และ Photo ได้ในเครื่องเดียว แน่นอนว่าช่วยให้เราสามารถทำงานได้คล่องตัว พร้อมกับการรับประกันสินค้า 2 ปี และรูปแบบการรับประกันแบบใหม่ที่เรียกว่า Smart Friend โดยทั้งหมดในราคาไม่ถึง 4,000 บาท

Smart Friend เป็นบริการรับส่งเครื่องถึงที่ เวลาเครื่องของเรามีปัญหาสามารถให้พนักงาน HP มารับไปซ่อมได้เลยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปศูนย์แต่อย่างใด ซึ่งจะครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ นอกจากนี้ก็ยังมีบริการเสริมอื่นอีกได้แก่ บริการรับ-ส่งซ่อมเครื่องถึงบ้าน ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ตลอด 24 ชม. บริการกู้คืนข้อมูล บริการตรวจเช็คสภาพผลิตภัณฑ์ บริการรับซ่อมทันใจ สอบถามความพึงพอใจหลังให้บริการ

โดยเรามาพูดถึงความเร็วในการพิมพ์นั้นอยู่ที่ประมาณ 8 แผ่นต่อนาที จากที่ลองใช้จริงจะอยู่ประมาณ 6 แผ่นกว่าๆ ด้วยการพิมพ์เอกสารปรกติทั่วไป ส่วนรูปถ่ายนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 2-4 แผ่นต่อนาที (กระดาษขนาด 4×6”) โดยความละเอียดในการพิมพ์ภาพสีอยู่ที่ 4800 x 1200 dpi บนกระดาศสำหรับพิมพ์ภาพถ่าย ส่วนสีดำอยู่ที่ 1200 x 600 dpi บนกระดาษทั่วไป

DSC_7643

ตัวเครื่อง และสิ่งที่ให้มา

ตัวเครื่องนั้นเป็นพลาสติกมันวาว ฝาด้านบนเป็นสีดำด้าน มีหน้าจอ LCD ขนาด 2 นิ้ว แบบ Hi-Res Mono LCD ถาดใส่กระดาษได้ประมาณ 100 แผ่น และถาดรับกระดาษเมื่อพิมพ์เสร็จได้ 30 แผ่น สามารถพิมพ์หน้าหลักได้อัตโนมัติโดยไม่ต้องกลับหน้าเอง (Automatic Duplex) และการพิมพ์แบบไร้ขอบ (Borderless printing) ซึ่งขนาดกระดาษมาตราฐานที่ใช้ได้คือ A4, A5, B5, DL, C6, A6, และแบบปรับแต่งเองอยู่ที่ขนาดกว้าง 76 – 216 mm และยาว 127 – 356 mm โดยตัวเครื่องสามารถแสกนเอกสารแบบไร้สายได้ โดยการสั่งแสกนผ่านทางแอพเพื่อ Remote scan และผ่านเว็บด้วยความสามารถ Webscan ได้ด้วย ซึ่งเดี่ยวจะพูดถึงต่อไป

ส่วนอีกความสามารถคือ มันทำตัวเป็นเครื่องถ่ายเอกสาร โดยแสกนแล้วพิมพ์ในการใช้งานฟังก์ชั่น Copy ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์แต่อย่างใด

DSC_7636 DSC_7637

สำหรับตลับหมึกที่ให้มานั้นเป็น HP 678 Black ที่พิมพ์สีดำได้ประมาณ 480 หน้า และ HP 678 Tri-color ที่พิมพ์สีได้ประมาณ 150 หน้า  (ตามสเปคที่ให้มา) โดยหมึกทั้ง 2 รุ่นนี้จะมีหัวพิมพ์อยู่ที่ตลับหมึกเลย เปลี่ยนตลับก็เปลี่ยนหัวพิมพ์ไปพร้อม ๆ กันด้วย

DSC_7630 DSC_7638

ความสามารถโดดเด่นของเครื่องรุ่นนี้คือ การทำงานร่วมกับเครื่องแบบไร้สายโดยไม่ต้องต่อสายเข้ากับคอมพิวเตอร์ใดๆ แค่ให้มันเชื่อมต่อกับเครือข่าย Wireless หรือใช้การเข้าถึงแบบ Wireless Direct เท่านั้น เราจะมาดูกันแบบลึกๆ ว่าความสามารถต่างๆ นั้นตั้งค่า และทำงานอย่างไรบ้างกันดีกว่า

Read more

Nokia Lumia 1520 – 20MP PureView กับ Nokia Camera และ RAW File (DNG)

โนเกียได้เปิดตัว Nokia Lumia 1520 เมื่อ 2 เดือนก่อน ซึ่งเป็นมือถือรูปลักษณ์แบบ Phablet ที่มาพร้อมกับจอภาพขนาด 6 นิ้ว ความละเอียด Full HD อีกทั้งผนวกกับ กล้อง และเลนส์ Carl Zeiss ทำงานผ่านเซ็นเซอร์ขนาด 1/2.5” ความละเอียด 20 MP เทคโนโลยี PureView และ optical image stabilization (OIS) โดยเป็นการจับคู่กันอย่างลงตัวของมือถือจอภาพขนาดใหญ่ และกล้องถ่ายรูปพร้อมเลนส์ประสิทธิภาพสูง

WP_20131226_12_00_01_Pro wp_ss_20131226_0013c

โดยกล้อง และเลนส์ที่มีประสิทธิภาพสูงนั้น ต้องคู่กับแอพที่ชื่อ Nokia Camera ซึ่งเป็นแอพที่ได้รวมเอา Nokia Smart Cam และ Nokia Pro Cam เข้ามารวมกันในแอพเดียว เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการเลือกใช้งาน คุณสมบัติเดิมจากทั้งสองแอพนั้น ได้ถูกถ่ายทอดมาครบครันใน Nokia Camera โดยเป็นทั้งแอพที่ช่วยในการ แต่งรูปที่ทำให้เราถ่ายภาพ ปรับแต่งภาพที่มีวัตถุเคลื่อนไหว ภาพแอ็คชั่นเคลื่อนไหว และเอฟเฟคสวยๆ ผ่านเลนส์แอพได้

WP_20131218_10_23_48_Pro

WP_20131226_12_16_24_Pro
(ภาพถ่ายโดย Nokia Lumia 920)

รูปลักษณะตัวเครื่องนั้นออกแบบที่หมดจด เต็มไปด้วยแนวการออกแบบที่ชื่อว่า minimalist โดยจะมุ่งเน้นใส่รายละเอียดตามความจำเป็น และประโยชน์เพื่อใช้งานตามความเหมาะสมเป็นหลัก

ภายในนั้นใช้ชิปประมวลผลกลาง Qualcomm MSM8974 Snapdragon 800 และชิปประมวลผลกราฟฟิก Adreno 330 ให้หน่วยความจำหลักมาถึง 2GB และพื้นที่เก็บข้อมูลหลักของเครื่องอีก 32GB และยังใส่ microSD Card เพิ่มได้อีกด้วย

Nokia Camera

Nokia Camera ซึ่งเป็นแอพที่ได้รวมเอา Nokia Smart Cam และ Nokia Pro Cam จากแอพที่พัฒนาแะใช้งานแยกกันมาแต่เดิม มารวมกัน โดยหน้าตาและการเรียกใช้ ทำงานทดแทนแอพ Camera หลักของ Windows Phone 8 (Lumia Blank) ได้ทันที

wp_ss_20131226_0008

การเข้าใช้งาน Nokia Camera ที่มาพร้อมกับ Windows Phone 8 (Lumia Black) นั้นเข้าผ่านปุ่ม shutter หลักของเครื่องได้ทันที เพราะ Nokia ตั้งค่าเข้า Nokia Camera ให้เป็นค่าเริ่มต้นจากโรงงานมาให้เลย ซึ่งหน้าแรกที่เจอคือส่วนติดต่อการถ่ายรูป 2 ส่วนหลักๆ คือส่วนปรับแต่ง (ด้านบน) และส่วนของการเลือกโหมดการถ่ายภาพ-สั่งการถ่ายภาพ (ด้านขวา) โดยเลือกได้ระหว่างโหมดการถ่ายภาพแบบ Picture, Video และ Smart

wp_ss_20131226_0009

ส่วนปรับแต่ง (ด้านบน) นั้นสามารถขยายออกมาเป็นตัวเลือก เพิ่มเติมได้มากมาย โดยปรับได้ดังนี้

  1. brightness ปรับแต่งแบบชัดเชยแสง แบบ 3 Stop (1/3, 1/6 และ 1)
  2. shutter speed ปรับแต่งค่าความเร็มชัตเตอร์ (1 ส่วนวินาที ถึงหลักวินาที)
  3. sensitivity ปรับแต่ค่าไวแสง แบบ ISO
  4. focus ปรับการโพกัสแบบอัตโนมัติกับแบบปรับเอง (automatic หรือ manual)
  5. white balance ปรับตั้งค่าสมดุลสีขาว
  6. flash on/off ปรับการใช้แฟลชในการถ่ายรูป

wp_ss_20131226_0002 wp_ss_20131226_0015

wp_ss_20131226_0016 wp_ss_20131226_0019

wp_ss_20131226_0020 wp_ss_20131226_0021

แน่นอนว่าบางคนไม่สะดวกในการปรับแต่งที่ส่วนปรับแต่ง (ด้านบน) ก็สามารถลากปุ่มสั่งการเข้ามาที่กลางจอภาพ จะมีส่วนปรับแต่งทั้งหมดแสดงออกมาให้ปรับแต่งได้ทัน โดยไม่ต้องไปยุ่งกับส่วนปรับแต่ง (ด้านบน) ให้ยุ่งยากแต่อย่างใด ซึ่งตรงนี้คงแล้วแต่ใครถนัด

wp_ss_20131226_0001

ในส่วนของ App Bar นั้น มีส่วนของ Expander (Ellipsis) ที่สามารถเลือกใช้งานเมนูอื่นๆ ที่ซ้อนอยู่เพิ่มเติมได้

wp_ss_20131226_0022 wp_ss_20131226_0023

  1. lenses – เป็นส่วนที่เรียกแอพเพื่อเรียกใช้ฟิตเตอร์ต่างๆ ในการตกแต่งรูปภาพที่ถ่ายเสร็จแล้ว
  2. front facing – เป็นส่วนสลับการใช้งานกล้องหน้า-หลัง
  3. timer – ตั้งเวลาถ่ายรูป
  4. bracketing – ตั้งค่าเพื่อถ่ายรูป “คร่อมแสง” โดยใช้เพื่อให้ความสว่างหลายระดับ แยกเป็นหลายภาพ (ถ่ายที่ละภาพ) โดยกดปุ่มชัตเตอร์ไล่ไปเรื่อยๆ ตัวแอพกล้องจะไล่ปรับความสว่างจากมืดสุดไปสว่างสุด ตามการตั้งค่า
  5. settings – การตั้งค่ารวมทั้งหมดของ picture, video และ smart
  6. tutorial
  7. feedback
  8. about

wp_ss_20131226_0029 wp_ss_20131226_0030

wp_ss_20131226_0031

ในส่วนที่น่าสนใจคือ settings เป็นส่วนที่ปรับแต่งค่าต่างๆ ใดมากมายกว่าแอพ Camera หลักของ Windows phone 8 ค่อนข้างเยอะ

ในส่วนของ pictures นั้นจะปรับแต่งได้ดังนี้

  1. ตั้งให้มีไฟส่องโดยใช้ไฟจากแฟลชที่มือถือ เพื่อส่องช่วยหาโฟกัสให้
  2. ตั้งค่าประเภทของเส้นกริดเพื่อช่วยจัดองค์ประกอบภาพ
  3. สัดส่วนของภาพ (16:9 หรือ 4:3)
  4. การเลือกประเภทของรูปภาพที่จะได้หลังจากถ่ายรูปเสร็จสิ้น (จะกล่าวต่อไปในตอน RAW File)
  5. การตรวจจับใบหน้า
  6. แสดงรูปภาพหลังจากถ่ายรูปเสร็จสิ้น

wp_ss_20131226_0024 wp_ss_20131226_0026

ในส่วนของ video นั้นจะปรับแต่งได้ดังนี้

  1. ตั้งค่าประเภทของเส้นกริดเพื่อช่วยจัดองค์ประกอบภาพ
  2. ความละเอียด ความเร็ว และสัดส่วนของวิดีโอที่จะบันทึก
  3. ตั้งค่าคุณภาพของเสียง
  4. ตั้งค่าการบันทึกเสียงจากไมล์ที่อยู่คู่กับกล้องหน้า

ในส่วนของ smart นั้นจะปรับแต่งได้เพียงแสดงรูปภาพหลังจากถ่ายรูปเสร็จสิ้นเท่านั้น เพาะการปรับแต่งจะเป็นแบบสำเร็จรูปไว้แล้ว

wp_ss_20131226_0027 wp_ss_20131226_0028

RAW File (DNG)

การตั้งค่าเพื่อบันทึกการถ่ายรูปของมือถือ Nokia Lumia 1520 (และ Nokia Lumia 1020) เพื่อให้บันทึกไฟล์ DNG (RAW) นั้น สามารถเข้าไปตั้งค่าได้ที่ pictures ในแอพ Nokia Camera ที่หัวข้อ Capture mode

จะมีตัวเลือกให้ทั้งหมด 3 ตัวเลือก

  1. บันทึกรูปภาพเป็นไฟล์ JPG เฉพาะขนาด 5 MP เท่านั้น โดยรูปที่ได้จะมีขนาด 5 MP โดยใช้การย่อภาพแบบ pixel oversampling จากเซ็นเซอร์ขนาด 20 MP ลง ภาพที่ได้จะมีขนาดไฟล์ที่เล็ก ทำให้ถ่ายภาพได้จำนวนมากๆ ได้ โดยไฟล์จะมีมีขนาดประมาณ 1.5MB – 3MB
  2. บันทึกรูปภาพเป็นไฟล์ JPG ทั้งขนาด 5 MP และ 16 MP ไปพร้อมๆ กัน โดยรูปที่ได้จะมีขนาด 5 MP และ 16 MP โดยใช้การย่อภาพแบบ pixel oversampling จากเซ็นเซอร์ขนาด 20 MP เช่นเดียวกับข้อแรก ภาพที่ได้จะมีขนาดไฟล์ที่เล็ก ทำให้ถ่ายภาพได้จำนวนมากๆ ได้ โดยไฟล์จะมีมีขนาดประมาณ 1.5MB – 3MB สำหรับ 5 MP และ 8 -11MB สำหรับ 16 MP
  3. บันทึกรูปภาพเป็นไฟล์ JPG ขนาด 5 MP และ DNG ขนาด 16 MP ไปพร้อมๆ กัน โดยรูปภาพ JPG ที่ได้จะมีขนาด 5 MP โดยใช้การย่อภาพแบบ pixel oversampling จากเซ็นเซอร์ขนาด 20 MP และไฟล์แบบ DNG ที่ปรับแต่งได้หลากหลายกว่า โดยภาพแบบ JPG ขนาด 5MP จะมีขนาดไฟล์ที่เล็ก ส่วน DNG นั้นจะมีขนาดของไฟล์ที่เท่ากันทุกภาพ ที่ 20.1 MB หรือเรียกว่า uncompressed RAW

เมื่อเลือกรูปแบบการบันทึก และถ่ายภาพไปแล้ว เราสามารถเข้าไปนำไฟล์ DNG ได้จาก folder ที่ชื่อ Camera Roll ใน Pictures ภายในหน่วยความจำของตัวเครื่อง Nokia Lumia 1520 (และ Nokia Lumia 1020)

wp_ss_20131226_0025

รูปแบบไฟล์ DNG หรือชื่อเต็มคือ Digital Negative เป็นรูปแบบไฟล์มาตรฐานเปิดจาก Adobe โดยเจ้าไฟล์ DNG นี้ถือเป็นไฟล์ RAW ในลักษณะมาตรฐานเปิด ซึ่งสามารถนำเอาไฟล์ DNG นี้ไปเปิดกับซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนการเปิดไฟล์ DNG ได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ผู้ผลิตกล่องนั้นๆ ทำซอฟต์แวร์เฉพาะออกมาพร้อมๆ กันไป (ซอฟต์แวร์เหล่านี้เรียก RAW Converter) โดยซอฟต์แวร์ที่ได้รับความนิยมในการเปิด DNG ได้แก่ Adobe Photoshop Lightroom หรือ Adobe Camera RAW เป็นต้น

จากตัวอย่างผู้เขียนได้เปิด Metadata (Exif) ของไฟล์ JPG และ DNG ผ่าน Adobe Bridge CC

2013-12-26_145153

2013-12-26_145215

โดยจาก metadata ถูกแปลงจากซอฟต์แวร์ที่ชื่อ Nokia RAW-to-DNG converter v01.00.06 จากภายในตัวแอพ Nokia Camera อีกทีเพื่อให้ได้ไฟล์ DNG ออกมา เพื่อเพิ่มความสะดวกในการนำไฟล์ DNG ไปใช้งานได้กว้างขว้างมากขึ้น

ข้อดีประการต่อมาในการใช้ไฟล์ DNG คือ การปรับแต่งแก้ไขไฟล์ DNG จะไม่ทำลายข้อมูลต้นฉบับ โดยผู้ปรับแก้สามารถปรับค่าคืนกลับตามเดิมได้โดยไม่ทำให้ข้อมูลเดิมเสียหาย (non-destructive) นั้นหมายรวมไปถึงการตั้งค่าที่กล้องจะไม่มีผลกับไฟล์ DNG แต่อย่างใด โดยเมื่อเราเปิดไฟล์ DNG ขึ้นมา จะต้องเป็นผู้ใช้งานเองที่เป็นผู้ปรับแต่งอีกครั้งเหมือนเราเป็นแอพที่เปิดไฟล์เหล่านั้นมาปรับแต่ง ฉะนั้น ถ้าเรานำไฟล์ DNG ไปเปิดในโปรแกรมต่างยี่ห้อ หรือแม้แต่ต่างเวอร์ชั่นกัน ก็จะอ่านค่าไม่เหมือนกัน แม้จะมีการบันทึก และปรับแก้ โทน สี ความคมชัดจะไม่เท่ากันเลย แต่สามารถปรับแต่งให้ทุกอย่างเหมือนกันได้ผ่านการปรับแต่งอย่างละเอียดโดยผู้ใช้งานเองอีกครั้ง

ซึ่งเจ้าไฟล์ DNG ของ Nokia Lumia 1520 นั้นมีขนาด 20.1 MB ทุกรูป ไฟล์มี resolution ที่ 5,376 x 3,024 pixel หรือ 16.3MP โดยให้จำนวนข้อมูลบิต (bit depth) ที่ 10 bit และ ICC profile (colour space) แบบ RGB

สำหรับด้าน JPG ให้จำนวนข้อมูลบิต (bit depth) ที่ 8 bit และ ICC profile (colour space) เป็น sRGB

การปรับแต่งไฟล์ DNG ผ่าน Camera RAW

โดยปรกติถ่ายใครได้เล่นไฟล์ RAW และใช้ DSLR อยู่แล้วคงไม่รู้สึกแปลกใหม่อะไรเท่าไหร่ แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ใช้ และเคยได้สัมผัสอาจจะไม่รู้ถึงความสามารถ และการปรับแต่ง แน่นอนข้อเด่นแรกที่ได้บอกไปแล้วว่า

  1. เราสามารถการปรับแต่งแก้ไขไฟล์แล้วจะไม่ทำลายข้อมูลต้นฉบับ และสามารถปรับคืนค่าเดิมได้ (non-destructive)
  2. การทำปรับแต่งให้คมชัดขึ้น (sharpen) และการลดสัญญาณรบกวน (noise reduction) จากตัวประมวลผลภาพ (image processor) ไม่มีผลต่อไฟล์แบบนี้ นั้นหมายถึง ภาพอาจจะไม่คมชัด หรือมีสัญญาณรบกวนมากกว่าไฟล์ JPG ที่ได้มาคู่กัน ต้องใช้ซอฟต์แวร์อื่นๆ ปรับแต่งเพิ่มเติม
  3. จำนวนข้อมูลบิต (bit depth) ที่บันทึกลงในไฟล์นั้นมีข้อมูลที่มากกว่า เพราะ JPG มี 8 bit/channel ส่วน DNG มี 10 bit/channel ทำให้ JPG ไล่แฉดสีได้เพียง 256 แฉดสี ส่วน DNG สามารถไล่แฉดสีได้ถึง 1024 แฉดสีเลยทีเดียว ทำให้เวลาเราปรับแต่งแฉดสีใหม่หลังจากถ่ายภาพ ปรับโทน ดึง-เรียกกลับข้อมูลช่วงมืด-สว่างทำได้มากกว่าไฟล์ JPG
  4. ปรับแก้ไขสมดุลสีขาว (white balance) ได้ยืดหยุ่น และหลากหลายกว่าในระดับเคลวิน
  5. ปรับแต่งการใช้งาน ICC profile (colour space) ได้หลากหลาย ทั้ง ProPhoto RGB, Adobe RGB หรือ sRGB ได้
  6. ภายในไฟล์ DNG และไฟล์แบบ RAW โดยทั่วไปจะมีรูปภาพขนาดเล็ก (thumbnail) อยู่ภายในด้วย ทำให้เราดึงภาพเหล่านี้ออกมาโดยไม่ต้องแปลงภาพก่อน มักถูกนำไปใช้ตอนพรีวิวรูปภาพเป็นหลัก

แต่มีข้อที่เข้าใจผิดว่าการถ่ายรูปมาเพื่อให้ได้ไฟล์ DNG นี้จะได้ภาพที่คมชัดกว่า JPG นั้น เป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะการปรับแต่บนข้อมูลที่มากกว่า ไม่ได้เกี่ยวกับความคมชัด แต่เป็นเรื่องของความหลากหลาย จากจำนวนข้อมูลที่มากกว่าเพื่อปรับแต่งได้หลากลายกว่า

จากภาพตัวอย่างด้านล่าง ภาพจะออกโทนฟ้ามากไป (4550K) มีบางส่วหลุดช่วงสีสว่างออกไป (Highlight)

2013-12-27_001444

ผู้เขียนทำการปรับค่าเคลวินให้ออกไปโทนอุ่นเล็กน้อย (5250K) ทำการปรับแต่งค่าอื่นๆ เร่งความสว่าง ปรับค่าความเปรียบต่างของสี ฯลฯ

2013-12-27_001453

ภาพดูสว่างไปนิด และหลุดช่วงช่วงสว่างไปมากกว่าเดิม ทำการดึงกลับมาด้วย Tone Curve

2013-12-27_001506

สุดท้ายก็จะได้ภาพที่มีโทนสีอุ่นอื่น และมีช่วงสีโดยส่วนใหญ่ไม่หลุดไปทางช่วงสว่างและมีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น

2013-12-27_001528

จากด้านบนจะเป็นการปรับแต่งแบบง่ายๆ เร็วๆ เรามาดูตัวอย่างการปรับแต่งอีก 1-2 ตัวอย่าง โดยจะใช้งานร่วมกับ Adobe Photoshop CC ด้วย

จากตัวอย่างทั้งหมดต่อไปนี้จะใช้ Adobe Photoshop CC เพียงแต่ย่อรูปภาพลงมา และใช้การ Resapmle แบบ Bicubic Sharper (reduction) เพื่อเพิ่มความคมชัดของภาพ การทำการย่อรูปลง และทำ Resapmle ผ่านโปรแกรมภายนอกนั้น จะได้ภาพที่ดี และปรับแต่งได้หลากหลายกว่าในตัวมือถือมาก

โดยเราสามารถปรับแต่งในด้านการลดสัญญาณรบกวน (noise) ของภาพที่เราถ่ายได้อย่างหลากหลายมากด้วยเช่นกัน ซึ่งตรงนี้เราไม่จำเป็นต้องรอการแก้ไขตัวแอพจากผู้ผลิต เพื่อใช้ปรับแต่งหลังจากที่เราซื้อมา ซึ่งอาจจะไม่ถูกใจเราในอนาคต

image

ภาพด้านล่างนี้หลุดโทนสว่างมากไปเช่นเดียวกับด้านบน

2013-12-27_025720

เปิดมาแล้วไปปรับแต่งที่ Tone Curve เพิ่มดึงค่าด้านสว่างกลับเข้ามา

2013-12-27_030001

เปิดไฟล์ที่แก้ไขเสร็จแล้วใน Adobe Photoshop CC แล้วก็ปรับแต่งภาพในเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติม (แล้วแต่ความชอบ)

WP_20131218_21_27_01_Raw__highres-wall

ตัวอย่างอื่นๆ ที่ใช้งานไฟล์ DNG ของ Nokia Lumia 1520 กับ Adobe Camera RAW และ Adobe Photoshop CC

2013-12-27_024129

WP_20131210_17_48_09_Raw__highres-wall

2013-12-27_022848

WP_20131207_17_58_31_Raw__highres-wall

2013-12-27_025223

WP_20131214_18_54_53_Raw__highres-wall

จากตัวอย่าง และการใช้งานจะเห็นได้ว่า การใช้ไฟล์ DNG ที่ได้จากกล้องถ่ายรูประดับบน ซึ่งถูกนำมาใส่ไว้ใน Nokia Lumia 1520 นั้น ทำให้เราสามารถสนุกกับการปรับแต่งรูปภาพได้อย่างมืออาชีพมากขึ้น บางครั้งโทนสี การปรับแต่งอัตโนมัติของแอพจนได้รูปภาพออกมา อาจจะไม่ถูกใจเรา การนำภาพ JPG มาปรับแต่งภายหลังอาจจะไม่ยืดหยุ่นเท่ากับไฟล์ DNG และการได้ไฟล์ DNG ยังสามารถช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดหลายๆ อย่างหลังจากถ่ายรูปไปแล้วแม่นยำกว่า JPG อีกด้วย

Windows Azure ตอนที่ 5 การติดตั้ง Linux และ Windows Server บน Windows Azure Virtual Machine

ระบบเครื่องประมวลผลเสมือนหรือ Virtual Machines (VM) เป็นหนึ่งในบริการโครงสร้างพื้นฐาน (IaaS) สำหรับให้เราปรับแต่งและนำระบบที่พัฒนาสำหรับใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตขึ้นสู่บริการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ โดยบริการโครงสร้างพื้นฐานที่จัดเตรียมไว้ให้บนระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆโดยระบบเครื่องประมวลผลเสมือนที่รองรับทั้ง Windows และ Linux

โดยผู้พัฒนาระบบที่ใช้ในบริการเครื่องประมวลผลเสมือนนี้มาประยุกต์ใช้งานเพื่อสร้างระบบที่ออกแบบได้เองตั้งแต่การเลือกใช้งานระบบปฏิบัติการ (Operating System) การตั้งค่าการสื่อสารระหว่างตัวเครื่องประมวลผลเสมือนติดตั้งซอฟแวร์สื่อสารระหว่างระบบ (Middleware) ซอฟต์แวร์ช่วยประมวลผลภาษาโปรแกรมมิ่ง (Software Runtime) ซอฟต์แวร์เพื่อรองรับโครงร่างการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software Framework) และระบบสำรองข้อมูลทั้งหมด ทำให้เราสามารถบริหารจัดการได้เสมือนเครื่องแม่ข่ายจริงๆ

การติดตั้ง Ubuntu Linux Server บน Windows Azure Virtual Machine

1. เลือกที่ NEW ที่หน้า Windows Azure Portal

2013-10-05_223623

2. เลือกที่ Compute ตามด้วย Virtaul Machine และเลือกที่ From Gallery

2013-10-05_224608_thumb

3. เลือก Ubuntu Linux Server รุ่นที่ต้องการจากหน้า Virtual machine image selection กดปุ่ม Next

2013-10-05_224718

4. กรอกข้อมูลตั้งค่า Virtual Machince ส่วนของคุณสมบัติเครื่องเสมือนได้แก่

4.1. ตัวเลือก Version Release Date ซึ่งเป็นรุ่นที่มีการรวบรวมการสร้างอิมเมจของตัวระบบปฏิบัติการนั้นๆ ซึ่งถ้าใช้วันที่ล่าสุด จะทำให้เราไม่ต้องอัพเดทแพตเยอะเกินความจำเป็น

4.2. ตั้งชื่อเครื่องเสมือนที่ Virtual Machine Name

4.3. เลือกขนาดของตัวเครื่อง (Size)

image_thumb[3]

4.4. เลือกชื่อเข้าระบบ (New user name)

4.5. เอาเครื่องหมายถูกที่ Upload compatible SSH key for authentication ออกไป

4.6. เลือก Provide a password และตั้งรหัสผ่านเข้าระบบจากตรงนี้

ตั้งค่าทั้งหมดเสร็จแล้วกดปุ่ม Next

2013-10-05_224947

5. กรอกข้อมูลตั้งค่า Virtual Machince ในส่วนของการใช้งานเครือข่ายได้แก่

5.1. Cloud Service เป็นตัวเลือกเพื่อผูกเข้ากับ Cloud Service ใหม่หรือผนวกตัว Virtual Machine ที่กำลังจะสร้างนี้ไปใช้งานร่วมกับ Virtual Machine เก่าโดยการผนวกเพื่อใช้งานร่วมกับ Virtual Machine เก่าจะสามารถใช้ความสามารถของ Load Balancer ได้ด้วย

5.2. Cloud Service DNS name ชื่อของ Cloud Service ที่จะใช้อ้างอิงเพื่อใช้งานกับ domain ชื่อ cloudapp.net

5.3. Subscription ชื่อของบัญชีผู้ใช้งานเพื่อเรียกเก็บค่าใช้ระบบ

5.4. Region/Affinity Group/Virtual Network โซนที่ต้องการนำ Virtual Machine นี้ไปใช้งาน

5.5. Storage Account ชื่อบัญชีผู้ใช้งานสำหรับจัดการเก็บ Virtual Machine ซึ่งไฟล์ Virtual Machine จะเป็นนามสกุล VHD ซึ่งเป็นตัวเดียวกับที่ใช้บน Windows Server

5.6. Availability Set เป็นการตั้งกลุ่มเพื่อทำการขยายระบบและรองรับการล่มของ Virtual Machine ซึ่งจะทำงานสอดคล้องกับ Cloud Service ในข้อที่ 5.1

2013-10-05_225355

6. ตั้งค่าการเข้าถึงผ่าน Port ของ Network ซึ่งเป็นการตั้งค่าให้สอดคล้องกับระบบรักษาความปลอดภัยของ Windows Azure ผ่านระบบ Firewall ด้วยการตั้งค่า Endpoint ซึ่งค่าเริ่มต้นของ Linux นั้นจะเป็น Port หมายเลข 22 ที่เป็น Secure Shell นั้นเอง

2013-10-05_225450_thumb

จากตัวอย่าง ถ้าเราต้องการใช้ Virtual Machine นี้ในการให้บริการเว็บก็เลือก HTTP เพื่อใช้ Port หมายเลข 80 เพื่อให้รองรับกับ Apache Web Server และ Port หมายเลข 21 เพื่อให้รองรับกับการส่งไฟล์ผ่าน FTP เป็นต้น

เมื่อทุกอย่างตั้งค่าครอบแล้วให้ตอบ OK หรือเครื่องหมายถูก ที่มุมขวาล่าง

2013-10-05_225435

7. จากตัวอย่างดังกล่าว เมื่อตอบตกลงให้สร้าง Virtual Machine แล้ว ให้รอจนกว่าจะ Provisioning เสร็จสิ้นแล้วขึ้นสถานะ Running

2013-10-05_225536

2013-10-05_225857

8. เมื่ออยู่ในสถานะ Running แล้วให้เข้าไปที่ Dashboard ของ Virtual Machine เครื่องที่เราสร้างขึ้นมา จะมีส่วนต่างๆ ในหน้า Dashboard นี้หลายส่วนให้เทำความเข้าใจ

8.1. web endpoint status ตั้งสถานะการตรวจจับการทำงานของ endpoint ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อส่งสถานะไปแจ้งเมื่อมีการล่มเกิดขึ้นหรือโยกการเข้าถึงไปยังระบบอื่นๆ

8.2. autoscale status ตั้งค่าขยายระบบอัตโนมัติ โดยปรกติถ้าใช้งานเพียง Virtual Machine เดียวเราจะไม่สามารถตั้งค่าอะไรเพิ่มเติมได้ เพราะต้องคั้งค่า Availability Set เสียก่อน

8.3. usage overview จะแสดงจำนวน core ของ CPU ที่ใช้งานอยู่และสามารถขยายระบบออกไปได้ ถ้าตั้ง Availability Set ไว้จะเห็นจำนวน core ของ CPU ใน Available เพิ่มขึ้นมา

8.4. disk ส่วนแสดงรายการของ disk หรือไฟล์ VHD ที่เกี่ยวกับและทำงานร่วมกับ Virtual Machine เครื่องนี้

8.5. quick glance ใช้สำหรับแสดงสถานะของ Virtual Machine ได้แก่
status แสดงว่ากำลังทำงานอยู่หรือไม่
dns name ชื่อ DNS สำหรับใช้ในการติดต่อ ภายใต้ domain name ชื่อ cloudapp.net
host name ชื่อ host name ของระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งอยู่
public virtual IP หมายเลข IP ภายนอกที่ใช้สำหรับติดต่อเข้ามา ใช้งานแทน dns name ได้
internal IP หมายเลข IP สำหรับควบคมผ่าน cloud agent ของ Windows Azure Portal
SSH details รายละเอียดสำหรับเชื่อมต่อผ่าน SSH
size คุณสมบัติของ Virtual Machine เครื่องนี้

8.6. matrix เป็นกราฟที่ใช้แสดงโหลดของ Virtual Machine เครื่องนี้ว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไรบ้าง

8.7. dashboard menu เมนูหลักในการจัดการ Virtual Machine ในส่วนต่างๆ

2013-10-05_230513_thumb[6]

9. ส่วนของ Endpoint เป็นส่วนที่ใช้สำหรับจัดการ Port เพื่อให้เราสามารถเชื่อมต่อกับ Virtual Machine ได้จากเครือข่ายภายนอก Windows Azure โดย Port ต่างๆ นั้นจะใช้ผ่านโปรแกรมหรือการเรียกใช้ตามที่ระบุไว้เท่านั้น ถ้าไม่มีการเปิดใน Endpoint นี้ก่อน จะทำให้การเข้าถึงในโปรแกรมหรือระบบที่ได้ติดตั้งลงใน Virtual Machine ที่ทำงานใน Port ดังกล่าว ใช้งานจากภายนอก Windows Azure ไม่ได้

2013-10-05_230538

10. การตั้งขนาดของ Virtual Machine สามารถกลับมาปรับได้จากหน้า Configure นี้ รวมไปถึงการตั้งค่า Availability Set เพื่อสร้างกลุ่มของการขยายและรองรับการล่มของระบบขึ้นมา ในส่วนของ monitoring นั้น เป็นส่วนที่ใช้สำหรับตั้งค่า web endpoint status ซึ่งเป็นที่เดียวกันในหน้า Dashboard

2013-10-05_230733

11. การเชื่อมต่อสามารถเข้าได้ผ่าน SSH Client อย่าง PuTTY โดยใช้ค่าจาก SSD Details มาใช้งานเพื่อเชื่อมต่อ ซึ่งเมื่อทำการเชื่อมต่อให้กดรับ rsa2 key fingerprint ก่อนเพื่อให้การเชื่อมต่อสำเร็จ

2013-10-05_230958

2013-10-05_231026

12. เมื่อเชื่อมต่อได้ ผ่านข้อมูลในข้อที่ 4. ก็จะเข้ามาในหน้า Shell ของระบบ เป็นอันเสร้จสิ้นการติดตั้ง Ubuntu Linux Server

2013-10-05_231141

 

การติดตั้ง Windows Server บน Windows Azure Virtual Machine

1. เลือกที่ NEW ที่หน้า Windows Azure Portal

2013-10-05_223623

2. เลือกที่ Compute ตามด้วย Virtaul Machine และเลือกที่ From Gallery

2013-10-05_224608

3. เลือก Windows Server รุ่นที่ต้องการจากหน้า Virtual machine image selection กดปุ่ม Next

2013-10-05_231605

4. กรอกข้อมูลตั้งค่า Virtual Machince ส่วนของคุณสมบัติเครื่องเสมือนได้แก่

4.1. ตัวเลือก Version Release Date ซึ่งเป็นรุ่นที่มีการรวบรวมการสร้างอิมเมจของตัวระบบปฏิบัติการนั้นๆ ซึ่งถ้าใช้วันที่ล่าสุด จะทำให้เราไม่ต้องอัพเดทแพตเยอะเกินความจำเป็น

4.2. ตั้งชื่อเครื่องเสมือนที่ Virtual Machine Name

4.3. เลือกขนาดของตัวเครื่อง (Size)

4.4. เลือกชื่อเข้าระบบ (New user name)

4.5. กรอกข้อมูลรหัสผ่าน (New password) และยืนยันรหัสผ่านอีกครั้ง

ตั้งค่าทั้งหมดเสร็จแล้วกดปุ่ม Next

2013-10-05_232502

5. กรอกข้อมูลตั้งค่า Virtual Machince ในส่วนของการใช้งานเครือข่ายได้แก่

5.1. Cloud Service เป็นตัวเลือกเพื่อผูกเข้ากับ Cloud Service ใหม่หรือผนวกตัว Virtual Machine ที่กำลังจะสร้างนี้ไปใช้งานร่วมกับ Virtual Machine เก่าโดยการผนวกเพื่อใช้งานร่วมกับ Virtual Machine เก่าจะสามารถใช้ความสามารถของ Load Balancer ได้ด้วย

5.2. Cloud Service DNS name ชื่อของ Cloud Service ที่จะใช้อ้างอิงเพื่อใช้งานกับ domain ชื่อ cloudapp.net

5.3. Subscription ชื่อของบัญชีผู้ใช้งานเพื่อเรียกเก็บค่าใช้ระบบ

5.4. Region/Affinity Group/Virtual Network โซนที่ต้องการนำ Virtual Machine นี้ไปใช้งาน

5.5. Storage Account ชื่อบัญชีผู้ใช้งานสำหรับจัดการเก็บ Virtual Machine ซึ่งไฟล์ Virtual Machine จะเป็นนามสกุล VHD ซึ่งเป็นตัวเดียวกับที่ใช้บน Windows Server

5.6. Availability Set เป็นการตั้งกลุ่มเพื่อทำการขยายระบบและรองรับการล่มของ Virtual Machine ซึ่งจะทำงานสอดคล้องกับ Cloud Service ในข้อที่ 5.1

2013-10-05_234002

6. ตั้งค่าการเข้าถึงผ่าน Port ของ Network ซึ่งเป็นการตั้งค่าให้สอดคล้องกับระบบรักษาความปลอดภัยของ Windows Azure ผ่านระบบ Firewall ด้วยการตั้งค่า Endpoint ซึ่งค่าเริ่มต้นของ Windows นั้นจะเป็น Port หมายเลข 3389 ที่เป็น Remote Desktop และ 5986 ที่เป็น PowerShell เพื่อ Remote เข้ามาได้

2013-10-05_234027

จากตัวอย่าง ถ้าเราต้องการใช้ Virtual Machine นี้ในการให้บริการเว็บก็เลือก HTTP เพื่อใช้ Port หมายเลข 80 เพื่อให้รองรับกับ IIS และ Port หมายเลข 21 เพื่อให้รองรับกับการส่งไฟล์ผ่าน FTP เป็นต้น

เมื่อทุกอย่างตั้งค่าครอบแล้วให้ตอบ OK หรือเครื่องหมายถูก ที่มุมขวาล่าง

2013-10-05_234041

7. จากตัวอย่างดังกล่าว เมื่อตอบตกลงให้สร้าง Virtual Machine แล้ว ให้รอจนกว่าจะ Provisioning เสร็จสิ้นแล้วขึ้นสถานะ Running

2013-10-05_234157

2013-10-05_234546

8. เมื่ออยู่ในสถานะ Running แล้วให้เข้าไปที่ Dashboard ของ Virtual Machine เครื่องที่เราสร้างขึ้นมา จะมีส่วนต่างๆ ในหน้า Dashboard นี้หลายส่วนให้เทำความเข้าใจ

8.1. web endpoint status ตั้งสถานะการตรวจจับการทำงานของ endpoint ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อส่งสถานะไปแจ้งเมื่อมีการล่มเกิดขึ้นหรือโยกการเข้าถึงไปยังระบบอื่นๆ

8.2. autoscale status ตั้งค่าขยายระบบอัตโนมัติ โดยปรกติถ้าใช้งานเพียง Virtual Machine เดียวเราจะไม่สามารถตั้งค่าอะไรเพิ่มเติมได้ เพราะต้องคั้งค่า Availability Set เสียก่อน

8.3. usage overview จะแสดงจำนวน core ของ CPU ที่ใช้งานอยู่และสามารถขยายระบบออกไปได้ ถ้าตั้ง Availability Set ไว้จะเห็นจำนวน core ของ CPU ใน Available เพิ่มขึ้นมา

8.4. disk ส่วนแสดงรายการของ disk หรือไฟล์ VHD ที่เกี่ยวกับและทำงานร่วมกับ Virtual Machine เครื่องนี้

8.5. quick glance ใช้สำหรับแสดงสถานะของ Virtual Machine ได้แก่
status แสดงว่ากำลังทำงานอยู่หรือไม่
dns name ชื่อ DNS สำหรับใช้ในการติดต่อ ภายใต้ domain name ชื่อ cloudapp.net
host name ชื่อ host name ของระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งอยู่
public virtual IP หมายเลข IP ภายนอกที่ใช้สำหรับติดต่อเข้ามา ใช้งานแทน dns name ได้
internal IP หมายเลข IP สำหรับควบคมผ่าน cloud agent ของ Windows Azure Portal
size คุณสมบัติของ Virtual Machine เครื่องนี้

8.6. matrix เป็นกราฟที่ใช้แสดงโหลดของ Virtual Machine เครื่องนี้ว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไรบ้าง

8.7. dashboard menu เมนูหลักในการจัดการ Virtual Machine ในส่วนต่างๆ

โดยในส่วนของเมนู Endpoint และ Configure นั้นไม่แตกต่างจากของ Linux แต่อย่างใดนัก

2013-10-05_235810

9. ในส่วนของการเชื่อมต่อเข้าไปยัง Virtual Machine เพื่อควบคุมนั้น สามารถดึง RDP profile จากในหน้า Windows Azure Portal ได้จากเมนู Connect ที่ด้านล่าง

2013-10-05_235906

10. เราจะได้ไฟล์ .rdp มา เมื่อ Save และ Open ไฟล์ดังกล่าว ตัว Windows ของเราจะทำการเชื่อมต่อกับ Virtual Machine ที่สร้างขึ้นมา

2013-10-05_235927

11. ตอบรับการเชื่อมต่อในคำแนะนำนี้

2013-10-05_235950

12. ใช้การเชื่อมต่อแบบกำหนดเอง ให้กรอกข้อมูลที่ข้อที่ 4.

2013-10-06_000047

13. ตอบรับ Certificate ของการเชื่อมต่อนี้

2013-10-06_000055

14. รอการเชื่อมต่อ และรอการตั้งค่าต่างๆ ครั้งแรกที่ได้เชื่อมต่อเข้าไป

2013-10-06_000105

2013-10-06_000121

15. เมื่อเชื่อมต่อเสร็จแล้ว เราก็สามารถควบคุม Virtual Machine ที่เป็น Windows Server ได้แล้ว

2013-10-06_000304

 

การเปิดใช้ SWAP Partition ของระบบปฏิบัติการ Linux บน Windows Azure

โดยปรกติแล้ว ถ้าเราลง Linux โดยทั่วไปจะมีการตั้ง SWAP Partition ไว้เป็นปรกติอยู่แล้ว แต่ถ้าอยู่บน Cloud นั้นตัวอิมแมจของระบบปฏิบัติการ Linux จะถูกปรับแต่งบางส่วนเพื่อไม่ให้สร้าง SWAP Partition ด้วยเหตุผลด้านพื้นที่ที่ต้องจองไว้และความไม่จำเป็นโดยทั่วไปของ Cloud อยู่แล้ว (ปรกติใช้ Cloud สำหรับ Compute ข้อมูลที่อาจจะไม่ได้ใช้หน่วยความจำเยอะ) เพราะไม่ใช่ทุกคนที่ลงระบบปฏิบัติการ ต้องได้ใช้ SWAP เสมอไป แต่ถ้าอยากลงก็มีทางให้อยู่ โดยการตั้งค่าต่อไปนี้ อ้างอิงอยู่บน Ubuntu Linux Server เพื่อให้สอดคล้องกับการติดตั้งระบบปฎิบัติการ Ubuntu Linux Server ด้านบน

1. จัดการ sudo ให้ตัวเองเป็น root ของระบบ

2. เข้าไปแก้ไข Windows Azure Linux Agent Configuration ซึ่งอยู่ที่ /etc/waagent.conf

3. เมื่อเปิดไฟล์ขึ้นมาจะตัวตั้งค่าอยู่พอสมควร ให้หาส่วนที่ขึ้นต้นด้วย ResourceDisk ซึ่งจะมีอยู่ทั้งหมด 5 ค่า

ResourceDisk.Format=y
ResourceDisk.Filesystem=ext4
ResourceDisk.MountPoint=/mnt/resource
ResourceDisk.EnableSwap=n
ResourceDisk.SwapSizeMB=0

4. เราจะปรับให้ใช้ SWAP ขนาด 2GB โดยปรับค่า 2 ตัวดังนี้

#เปิดการใช้ SWAP
ResourceDisk.EnableSwap=y

# 2GB หน่วยเป็น MB
ResourceDisk.SwapSizeMB=2048

5. เมื่อปรับแต่งตัวตั้งค่าทั้ง 2 ตัวแล้ว บันทึกไฟล์แล้วออกจากตัว editor

6. สั่ง Deprovision ด้วยคำสั่งด้านล่าง

azureuser@ns1:~$ waagent –force –deprovision
azureuser@ns1:~$ export HISTSIZE=0

7. เมื่อสั่งรันคำสั่งจบก็ exit ออกมา แล้วไปที่ Windows Azure Portal เพื่อสั่ง Restart ตัว Virtual Machines รอสัก 3-4 นาทีโดยประมาณ ระบบจะบูทกลับมาใหม่ ให้ remote กลับเข้ามา แล้วพิมพ์คำสั่ง swapon –s เพื่อตรวจสอบว่ามีไฟล์ SWAP ของระบบอยู่ที่ /mnt/resource/swapfile หรือไม่

2013-03-02_192724