Windows Azure ตอนที่ 5 การติดตั้ง Linux และ Windows Server บน Windows Azure Virtual Machine

ระบบเครื่องประมวลผลเสมือนหรือ Virtual Machines (VM) เป็นหนึ่งในบริการโครงสร้างพื้นฐาน (IaaS) สำหรับให้เราปรับแต่งและนำระบบที่พัฒนาสำหรับใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตขึ้นสู่บริการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ โดยบริการโครงสร้างพื้นฐานที่จัดเตรียมไว้ให้บนระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆโดยระบบเครื่องประมวลผลเสมือนที่รองรับทั้ง Windows และ Linux

โดยผู้พัฒนาระบบที่ใช้ในบริการเครื่องประมวลผลเสมือนนี้มาประยุกต์ใช้งานเพื่อสร้างระบบที่ออกแบบได้เองตั้งแต่การเลือกใช้งานระบบปฏิบัติการ (Operating System) การตั้งค่าการสื่อสารระหว่างตัวเครื่องประมวลผลเสมือนติดตั้งซอฟแวร์สื่อสารระหว่างระบบ (Middleware) ซอฟต์แวร์ช่วยประมวลผลภาษาโปรแกรมมิ่ง (Software Runtime) ซอฟต์แวร์เพื่อรองรับโครงร่างการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software Framework) และระบบสำรองข้อมูลทั้งหมด ทำให้เราสามารถบริหารจัดการได้เสมือนเครื่องแม่ข่ายจริงๆ

การติดตั้ง Ubuntu Linux Server บน Windows Azure Virtual Machine

1. เลือกที่ NEW ที่หน้า Windows Azure Portal

2013-10-05_223623

2. เลือกที่ Compute ตามด้วย Virtaul Machine และเลือกที่ From Gallery

2013-10-05_224608_thumb

3. เลือก Ubuntu Linux Server รุ่นที่ต้องการจากหน้า Virtual machine image selection กดปุ่ม Next

2013-10-05_224718

4. กรอกข้อมูลตั้งค่า Virtual Machince ส่วนของคุณสมบัติเครื่องเสมือนได้แก่

4.1. ตัวเลือก Version Release Date ซึ่งเป็นรุ่นที่มีการรวบรวมการสร้างอิมเมจของตัวระบบปฏิบัติการนั้นๆ ซึ่งถ้าใช้วันที่ล่าสุด จะทำให้เราไม่ต้องอัพเดทแพตเยอะเกินความจำเป็น

4.2. ตั้งชื่อเครื่องเสมือนที่ Virtual Machine Name

4.3. เลือกขนาดของตัวเครื่อง (Size)

image_thumb[3]

4.4. เลือกชื่อเข้าระบบ (New user name)

4.5. เอาเครื่องหมายถูกที่ Upload compatible SSH key for authentication ออกไป

4.6. เลือก Provide a password และตั้งรหัสผ่านเข้าระบบจากตรงนี้

ตั้งค่าทั้งหมดเสร็จแล้วกดปุ่ม Next

2013-10-05_224947

5. กรอกข้อมูลตั้งค่า Virtual Machince ในส่วนของการใช้งานเครือข่ายได้แก่

5.1. Cloud Service เป็นตัวเลือกเพื่อผูกเข้ากับ Cloud Service ใหม่หรือผนวกตัว Virtual Machine ที่กำลังจะสร้างนี้ไปใช้งานร่วมกับ Virtual Machine เก่าโดยการผนวกเพื่อใช้งานร่วมกับ Virtual Machine เก่าจะสามารถใช้ความสามารถของ Load Balancer ได้ด้วย

5.2. Cloud Service DNS name ชื่อของ Cloud Service ที่จะใช้อ้างอิงเพื่อใช้งานกับ domain ชื่อ cloudapp.net

5.3. Subscription ชื่อของบัญชีผู้ใช้งานเพื่อเรียกเก็บค่าใช้ระบบ

5.4. Region/Affinity Group/Virtual Network โซนที่ต้องการนำ Virtual Machine นี้ไปใช้งาน

5.5. Storage Account ชื่อบัญชีผู้ใช้งานสำหรับจัดการเก็บ Virtual Machine ซึ่งไฟล์ Virtual Machine จะเป็นนามสกุล VHD ซึ่งเป็นตัวเดียวกับที่ใช้บน Windows Server

5.6. Availability Set เป็นการตั้งกลุ่มเพื่อทำการขยายระบบและรองรับการล่มของ Virtual Machine ซึ่งจะทำงานสอดคล้องกับ Cloud Service ในข้อที่ 5.1

2013-10-05_225355

6. ตั้งค่าการเข้าถึงผ่าน Port ของ Network ซึ่งเป็นการตั้งค่าให้สอดคล้องกับระบบรักษาความปลอดภัยของ Windows Azure ผ่านระบบ Firewall ด้วยการตั้งค่า Endpoint ซึ่งค่าเริ่มต้นของ Linux นั้นจะเป็น Port หมายเลข 22 ที่เป็น Secure Shell นั้นเอง

2013-10-05_225450_thumb

จากตัวอย่าง ถ้าเราต้องการใช้ Virtual Machine นี้ในการให้บริการเว็บก็เลือก HTTP เพื่อใช้ Port หมายเลข 80 เพื่อให้รองรับกับ Apache Web Server และ Port หมายเลข 21 เพื่อให้รองรับกับการส่งไฟล์ผ่าน FTP เป็นต้น

เมื่อทุกอย่างตั้งค่าครอบแล้วให้ตอบ OK หรือเครื่องหมายถูก ที่มุมขวาล่าง

2013-10-05_225435

7. จากตัวอย่างดังกล่าว เมื่อตอบตกลงให้สร้าง Virtual Machine แล้ว ให้รอจนกว่าจะ Provisioning เสร็จสิ้นแล้วขึ้นสถานะ Running

2013-10-05_225536

2013-10-05_225857

8. เมื่ออยู่ในสถานะ Running แล้วให้เข้าไปที่ Dashboard ของ Virtual Machine เครื่องที่เราสร้างขึ้นมา จะมีส่วนต่างๆ ในหน้า Dashboard นี้หลายส่วนให้เทำความเข้าใจ

8.1. web endpoint status ตั้งสถานะการตรวจจับการทำงานของ endpoint ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อส่งสถานะไปแจ้งเมื่อมีการล่มเกิดขึ้นหรือโยกการเข้าถึงไปยังระบบอื่นๆ

8.2. autoscale status ตั้งค่าขยายระบบอัตโนมัติ โดยปรกติถ้าใช้งานเพียง Virtual Machine เดียวเราจะไม่สามารถตั้งค่าอะไรเพิ่มเติมได้ เพราะต้องคั้งค่า Availability Set เสียก่อน

8.3. usage overview จะแสดงจำนวน core ของ CPU ที่ใช้งานอยู่และสามารถขยายระบบออกไปได้ ถ้าตั้ง Availability Set ไว้จะเห็นจำนวน core ของ CPU ใน Available เพิ่มขึ้นมา

8.4. disk ส่วนแสดงรายการของ disk หรือไฟล์ VHD ที่เกี่ยวกับและทำงานร่วมกับ Virtual Machine เครื่องนี้

8.5. quick glance ใช้สำหรับแสดงสถานะของ Virtual Machine ได้แก่
status แสดงว่ากำลังทำงานอยู่หรือไม่
dns name ชื่อ DNS สำหรับใช้ในการติดต่อ ภายใต้ domain name ชื่อ cloudapp.net
host name ชื่อ host name ของระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งอยู่
public virtual IP หมายเลข IP ภายนอกที่ใช้สำหรับติดต่อเข้ามา ใช้งานแทน dns name ได้
internal IP หมายเลข IP สำหรับควบคมผ่าน cloud agent ของ Windows Azure Portal
SSH details รายละเอียดสำหรับเชื่อมต่อผ่าน SSH
size คุณสมบัติของ Virtual Machine เครื่องนี้

8.6. matrix เป็นกราฟที่ใช้แสดงโหลดของ Virtual Machine เครื่องนี้ว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไรบ้าง

8.7. dashboard menu เมนูหลักในการจัดการ Virtual Machine ในส่วนต่างๆ

2013-10-05_230513_thumb[6]

9. ส่วนของ Endpoint เป็นส่วนที่ใช้สำหรับจัดการ Port เพื่อให้เราสามารถเชื่อมต่อกับ Virtual Machine ได้จากเครือข่ายภายนอก Windows Azure โดย Port ต่างๆ นั้นจะใช้ผ่านโปรแกรมหรือการเรียกใช้ตามที่ระบุไว้เท่านั้น ถ้าไม่มีการเปิดใน Endpoint นี้ก่อน จะทำให้การเข้าถึงในโปรแกรมหรือระบบที่ได้ติดตั้งลงใน Virtual Machine ที่ทำงานใน Port ดังกล่าว ใช้งานจากภายนอก Windows Azure ไม่ได้

2013-10-05_230538

10. การตั้งขนาดของ Virtual Machine สามารถกลับมาปรับได้จากหน้า Configure นี้ รวมไปถึงการตั้งค่า Availability Set เพื่อสร้างกลุ่มของการขยายและรองรับการล่มของระบบขึ้นมา ในส่วนของ monitoring นั้น เป็นส่วนที่ใช้สำหรับตั้งค่า web endpoint status ซึ่งเป็นที่เดียวกันในหน้า Dashboard

2013-10-05_230733

11. การเชื่อมต่อสามารถเข้าได้ผ่าน SSH Client อย่าง PuTTY โดยใช้ค่าจาก SSD Details มาใช้งานเพื่อเชื่อมต่อ ซึ่งเมื่อทำการเชื่อมต่อให้กดรับ rsa2 key fingerprint ก่อนเพื่อให้การเชื่อมต่อสำเร็จ

2013-10-05_230958

2013-10-05_231026

12. เมื่อเชื่อมต่อได้ ผ่านข้อมูลในข้อที่ 4. ก็จะเข้ามาในหน้า Shell ของระบบ เป็นอันเสร้จสิ้นการติดตั้ง Ubuntu Linux Server

2013-10-05_231141

 

การติดตั้ง Windows Server บน Windows Azure Virtual Machine

1. เลือกที่ NEW ที่หน้า Windows Azure Portal

2013-10-05_223623

2. เลือกที่ Compute ตามด้วย Virtaul Machine และเลือกที่ From Gallery

2013-10-05_224608

3. เลือก Windows Server รุ่นที่ต้องการจากหน้า Virtual machine image selection กดปุ่ม Next

2013-10-05_231605

4. กรอกข้อมูลตั้งค่า Virtual Machince ส่วนของคุณสมบัติเครื่องเสมือนได้แก่

4.1. ตัวเลือก Version Release Date ซึ่งเป็นรุ่นที่มีการรวบรวมการสร้างอิมเมจของตัวระบบปฏิบัติการนั้นๆ ซึ่งถ้าใช้วันที่ล่าสุด จะทำให้เราไม่ต้องอัพเดทแพตเยอะเกินความจำเป็น

4.2. ตั้งชื่อเครื่องเสมือนที่ Virtual Machine Name

4.3. เลือกขนาดของตัวเครื่อง (Size)

4.4. เลือกชื่อเข้าระบบ (New user name)

4.5. กรอกข้อมูลรหัสผ่าน (New password) และยืนยันรหัสผ่านอีกครั้ง

ตั้งค่าทั้งหมดเสร็จแล้วกดปุ่ม Next

2013-10-05_232502

5. กรอกข้อมูลตั้งค่า Virtual Machince ในส่วนของการใช้งานเครือข่ายได้แก่

5.1. Cloud Service เป็นตัวเลือกเพื่อผูกเข้ากับ Cloud Service ใหม่หรือผนวกตัว Virtual Machine ที่กำลังจะสร้างนี้ไปใช้งานร่วมกับ Virtual Machine เก่าโดยการผนวกเพื่อใช้งานร่วมกับ Virtual Machine เก่าจะสามารถใช้ความสามารถของ Load Balancer ได้ด้วย

5.2. Cloud Service DNS name ชื่อของ Cloud Service ที่จะใช้อ้างอิงเพื่อใช้งานกับ domain ชื่อ cloudapp.net

5.3. Subscription ชื่อของบัญชีผู้ใช้งานเพื่อเรียกเก็บค่าใช้ระบบ

5.4. Region/Affinity Group/Virtual Network โซนที่ต้องการนำ Virtual Machine นี้ไปใช้งาน

5.5. Storage Account ชื่อบัญชีผู้ใช้งานสำหรับจัดการเก็บ Virtual Machine ซึ่งไฟล์ Virtual Machine จะเป็นนามสกุล VHD ซึ่งเป็นตัวเดียวกับที่ใช้บน Windows Server

5.6. Availability Set เป็นการตั้งกลุ่มเพื่อทำการขยายระบบและรองรับการล่มของ Virtual Machine ซึ่งจะทำงานสอดคล้องกับ Cloud Service ในข้อที่ 5.1

2013-10-05_234002

6. ตั้งค่าการเข้าถึงผ่าน Port ของ Network ซึ่งเป็นการตั้งค่าให้สอดคล้องกับระบบรักษาความปลอดภัยของ Windows Azure ผ่านระบบ Firewall ด้วยการตั้งค่า Endpoint ซึ่งค่าเริ่มต้นของ Windows นั้นจะเป็น Port หมายเลข 3389 ที่เป็น Remote Desktop และ 5986 ที่เป็น PowerShell เพื่อ Remote เข้ามาได้

2013-10-05_234027

จากตัวอย่าง ถ้าเราต้องการใช้ Virtual Machine นี้ในการให้บริการเว็บก็เลือก HTTP เพื่อใช้ Port หมายเลข 80 เพื่อให้รองรับกับ IIS และ Port หมายเลข 21 เพื่อให้รองรับกับการส่งไฟล์ผ่าน FTP เป็นต้น

เมื่อทุกอย่างตั้งค่าครอบแล้วให้ตอบ OK หรือเครื่องหมายถูก ที่มุมขวาล่าง

2013-10-05_234041

7. จากตัวอย่างดังกล่าว เมื่อตอบตกลงให้สร้าง Virtual Machine แล้ว ให้รอจนกว่าจะ Provisioning เสร็จสิ้นแล้วขึ้นสถานะ Running

2013-10-05_234157

2013-10-05_234546

8. เมื่ออยู่ในสถานะ Running แล้วให้เข้าไปที่ Dashboard ของ Virtual Machine เครื่องที่เราสร้างขึ้นมา จะมีส่วนต่างๆ ในหน้า Dashboard นี้หลายส่วนให้เทำความเข้าใจ

8.1. web endpoint status ตั้งสถานะการตรวจจับการทำงานของ endpoint ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อส่งสถานะไปแจ้งเมื่อมีการล่มเกิดขึ้นหรือโยกการเข้าถึงไปยังระบบอื่นๆ

8.2. autoscale status ตั้งค่าขยายระบบอัตโนมัติ โดยปรกติถ้าใช้งานเพียง Virtual Machine เดียวเราจะไม่สามารถตั้งค่าอะไรเพิ่มเติมได้ เพราะต้องคั้งค่า Availability Set เสียก่อน

8.3. usage overview จะแสดงจำนวน core ของ CPU ที่ใช้งานอยู่และสามารถขยายระบบออกไปได้ ถ้าตั้ง Availability Set ไว้จะเห็นจำนวน core ของ CPU ใน Available เพิ่มขึ้นมา

8.4. disk ส่วนแสดงรายการของ disk หรือไฟล์ VHD ที่เกี่ยวกับและทำงานร่วมกับ Virtual Machine เครื่องนี้

8.5. quick glance ใช้สำหรับแสดงสถานะของ Virtual Machine ได้แก่
status แสดงว่ากำลังทำงานอยู่หรือไม่
dns name ชื่อ DNS สำหรับใช้ในการติดต่อ ภายใต้ domain name ชื่อ cloudapp.net
host name ชื่อ host name ของระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งอยู่
public virtual IP หมายเลข IP ภายนอกที่ใช้สำหรับติดต่อเข้ามา ใช้งานแทน dns name ได้
internal IP หมายเลข IP สำหรับควบคมผ่าน cloud agent ของ Windows Azure Portal
size คุณสมบัติของ Virtual Machine เครื่องนี้

8.6. matrix เป็นกราฟที่ใช้แสดงโหลดของ Virtual Machine เครื่องนี้ว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไรบ้าง

8.7. dashboard menu เมนูหลักในการจัดการ Virtual Machine ในส่วนต่างๆ

โดยในส่วนของเมนู Endpoint และ Configure นั้นไม่แตกต่างจากของ Linux แต่อย่างใดนัก

2013-10-05_235810

9. ในส่วนของการเชื่อมต่อเข้าไปยัง Virtual Machine เพื่อควบคุมนั้น สามารถดึง RDP profile จากในหน้า Windows Azure Portal ได้จากเมนู Connect ที่ด้านล่าง

2013-10-05_235906

10. เราจะได้ไฟล์ .rdp มา เมื่อ Save และ Open ไฟล์ดังกล่าว ตัว Windows ของเราจะทำการเชื่อมต่อกับ Virtual Machine ที่สร้างขึ้นมา

2013-10-05_235927

11. ตอบรับการเชื่อมต่อในคำแนะนำนี้

2013-10-05_235950

12. ใช้การเชื่อมต่อแบบกำหนดเอง ให้กรอกข้อมูลที่ข้อที่ 4.

2013-10-06_000047

13. ตอบรับ Certificate ของการเชื่อมต่อนี้

2013-10-06_000055

14. รอการเชื่อมต่อ และรอการตั้งค่าต่างๆ ครั้งแรกที่ได้เชื่อมต่อเข้าไป

2013-10-06_000105

2013-10-06_000121

15. เมื่อเชื่อมต่อเสร็จแล้ว เราก็สามารถควบคุม Virtual Machine ที่เป็น Windows Server ได้แล้ว

2013-10-06_000304

 

การเปิดใช้ SWAP Partition ของระบบปฏิบัติการ Linux บน Windows Azure

โดยปรกติแล้ว ถ้าเราลง Linux โดยทั่วไปจะมีการตั้ง SWAP Partition ไว้เป็นปรกติอยู่แล้ว แต่ถ้าอยู่บน Cloud นั้นตัวอิมแมจของระบบปฏิบัติการ Linux จะถูกปรับแต่งบางส่วนเพื่อไม่ให้สร้าง SWAP Partition ด้วยเหตุผลด้านพื้นที่ที่ต้องจองไว้และความไม่จำเป็นโดยทั่วไปของ Cloud อยู่แล้ว (ปรกติใช้ Cloud สำหรับ Compute ข้อมูลที่อาจจะไม่ได้ใช้หน่วยความจำเยอะ) เพราะไม่ใช่ทุกคนที่ลงระบบปฏิบัติการ ต้องได้ใช้ SWAP เสมอไป แต่ถ้าอยากลงก็มีทางให้อยู่ โดยการตั้งค่าต่อไปนี้ อ้างอิงอยู่บน Ubuntu Linux Server เพื่อให้สอดคล้องกับการติดตั้งระบบปฎิบัติการ Ubuntu Linux Server ด้านบน

1. จัดการ sudo ให้ตัวเองเป็น root ของระบบ

2. เข้าไปแก้ไข Windows Azure Linux Agent Configuration ซึ่งอยู่ที่ /etc/waagent.conf

3. เมื่อเปิดไฟล์ขึ้นมาจะตัวตั้งค่าอยู่พอสมควร ให้หาส่วนที่ขึ้นต้นด้วย ResourceDisk ซึ่งจะมีอยู่ทั้งหมด 5 ค่า

ResourceDisk.Format=y
ResourceDisk.Filesystem=ext4
ResourceDisk.MountPoint=/mnt/resource
ResourceDisk.EnableSwap=n
ResourceDisk.SwapSizeMB=0

4. เราจะปรับให้ใช้ SWAP ขนาด 2GB โดยปรับค่า 2 ตัวดังนี้

#เปิดการใช้ SWAP
ResourceDisk.EnableSwap=y

# 2GB หน่วยเป็น MB
ResourceDisk.SwapSizeMB=2048

5. เมื่อปรับแต่งตัวตั้งค่าทั้ง 2 ตัวแล้ว บันทึกไฟล์แล้วออกจากตัว editor

6. สั่ง Deprovision ด้วยคำสั่งด้านล่าง

azureuser@ns1:~$ waagent –force –deprovision
azureuser@ns1:~$ export HISTSIZE=0

7. เมื่อสั่งรันคำสั่งจบก็ exit ออกมา แล้วไปที่ Windows Azure Portal เพื่อสั่ง Restart ตัว Virtual Machines รอสัก 3-4 นาทีโดยประมาณ ระบบจะบูทกลับมาใหม่ ให้ remote กลับเข้ามา แล้วพิมพ์คำสั่ง swapon –s เพื่อตรวจสอบว่ามีไฟล์ SWAP ของระบบอยู่ที่ /mnt/resource/swapfile หรือไม่

2013-03-02_192724

Windows Azure ตอนที่ 2 การคิดค่าบริการ

ใน Windows Azure นั้น การคิดเงินในการใช้งานโดยทั่วไปนั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ที่จำเป็นต้องนำมาคิดค่าบริการเกือบจะในทุกๆ บริการ ได้แก่

  1. Compute (Hours/Minutes)
  2. Storage (GB/TB)
  3. Bandwidth (GB/TB)

Compute

เป็นการคิดค่าใช้ระบบในด้านการประมวลผล (Compute) และมีพื้นที่หน่วยความจำหลัก (Memory) มาให้พร้อมกันเป็นคู่ โดยคิดเป็นหน่วยชั่วโมง แต่ในบางบริการจะเป็นการคิดแบบหน่วยนาที (ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2013) โดยบริการที่การคิดค่าบริการแบบนี้ได้แก่ Web Sites, Virtual Machines, Cloud Services, Biztalk Server, SQL Server และ SQL Reporting แต่มีบริการหนึ่งที่ทำงานด้านการประมวลผลและมีพื้นที่หน่วยความจำหลักเช่นกัน แต่เป็นลักษณะของโหนดประมวลผล (Compute Node) ที่ชื่อบริการว่า HDInsight อีกด้วย

โดยตัวเลือกของการประมวลผลของ CPU ได้ 3 รูปแบบ คือ

  1. Free Compute บน Virtual Cores ของ CPU ตัวหนึ่ง เป็นการให้ใช้งานฟรีในส่วนของ Web Sites เท่านั้น โดยให้ระยะเวลาในการประมวลผลเพียง 1 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น
  2. Shared Compute บน Virtual Cores ของ CPU ตัวหนึ่ง เป็นการให้ใช้งานในรูปแบบแชร์ทรัพยากร Core ใน CPU โดยให้ระยะเวลาในการประมวลผล 4 ชั่วโมงต่อวัน (หรือ 240 นาทีต่อวัน) โดยคิดระยะเวลาการใช้งานเป็นชั่วโมงหรือนาที โดยขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการ
  3. Reserved Compute บน Virtual Cores ของ CPU ตัวหนึ่ง เป็นการให้ใช้งานในรูปแบบในการจองและเป็นผู้ใช้งานทรัพยากร Core ของ CPU แต่เพียงผู้เดียวโดยคิดระยะเวลาการใช้งานเป็นชั่วโมงหรือนาที โดยขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการ

เมื่อเราเลือกรูปแบบการนำการประมวลผลได้แล้ว จะมีส่วนที่เรียกว่าประเภทของสัญญาอนุญาต (license) ที่เพิ่มเติมเข้ามาด้วยในบางรูปแบบ เช่น

  1. OS แบบ Windows หรือ Linux
  2. BizTalk Server แบบ Standard หรือ Enterprise
  3. SQL Server แบบ Web, Standard หรือEnterprise

โดยการเลือกรูปแบบของสัญญาอนุญาตเหล่านี้จะมีราคาที่แตกต่างกันไปในแต่ละแบบ ซึ่งด้านล่างนี้คือตารางจำนวน Virtual Cores และจำนวน RAM ที่ได้รับในแต่ละแบบ โดยใช้อ้างอิงได้ทั้ง

  1. Virtual Machines ที่เป็น OS แบบ Windows หรือ Linux
  2. Virtual Machines ที่เป็น BizTalk Server แบบ Standard หรือ Enterprise
  3. Virtual Machines ที่เป็น SQL Server แบบ Web, Standard หรือ Enterprise
  4. Cloud Services ที่เขียนระบบเพื่อรองรับงาน Web roles และ Worker roles
COMPUTE INSTANCE NAME VIRTUAL CORES RAM
Standard Instances
Extra Small (A0)

Shared

768 MB

Standard Instances
Small (A1)

1

1.75 GB

Standard Instances
Medium (A2)

2

3.5 GB

Standard Instances
Large (A3)

4

7 GB

Standard Instances
Extra Large (A4)

8

14 GB

Memory Intensive Instances (A6)

4

28 GB

Memory Intensive Instances (A7)

8

56 GB

สำหรับในส่วนของ Web Sites นั้นจะอ้างอิงเพิ่มเติมในส่วนของการใช้งานแบบฟรี

FREE SHARED RESERVED
CPU 60 min
CPU/day
240 min
CPU/day
Dedicated CPU
Custom
domain name
No Yes Yes
Sites 10 100 100
Storage 1 GB 1 GB 10 GB
Storage transactions Free Free Free
Relational database

20 MB, MySQL or SQL Databases

Outbound data transfer 165MB/day Bandwidth
rates
Bandwidth
rates
Inbound data transfer Free Free Free

Dedicated CPU

SIZE CPU CORES RAM
Small 1 1.75 GB
Medium 2 3.5 GB
Large 4 7 GB

สำหรับการคิดราคาใน HDInsight (Microsoft’s Hadoop-based service) นั้นจะคิดราคาตามชนิดของโหนด โดยมีโหนดอยู่ 2 แบบคือ

  1. Head Node โดยเป็น Virtual Machines แบบ Extra Large (A4)
  2. Compute Node โดยเป็น Virtual Machines แบบ Large (A3)

ซึ่งการใช้งาน HDInsight นั้นจะต้องสร้างโหนดทั้งสองแบบนี้มาอย่างละหน่วยประมวลผลเพื่อใช้งานและคิดค่าบริการรวมของการเปิดใช้งานทั้ง 2 แบบลงไป

ในด้านของ Mobile Services นั้นจะมีเพียงแบบฟรีและแบบคิดราคาเป็นชั่วโมงการเปิดใช้งาน โดยส่วนที่สำคัญคือ scheduled jobs เป็นสำคัญ โดยทั้งสองแบบนั้นในบัญชีการใช้งานจะสามารถสร้าง Mobile Services ได้ 10 บริการ สำหรับการส่งข้อมูลออก และการเชื่อมต่อฐานข้อมูลนั้นจะคิดตามการคิดค่าบริการของ Bandwidth และ SQL Database

FREE RESERVED
CPU Shared 1 CPU Core
(max 10 Core/subscription)
Mobile Services supported 10 per subscription 10 per subscription
Scheduled jobs 1 scheduled job
700 executions/month
10 scheduled jobs
Inbound data transfer Unlimited Unlimited
Outbound data transfer 165MB/day Bandwidth
rates
SQL Database (required) SQL Database
rates
SQL Database
rates

ส่วนสุดท้ายในการการคิดราคาแบบประมวลผลคือ SQL Reporting ซึ่งจะคิดราคาเป็นหน่วยชั่วโมง โดยคิดราคาที่ 30 รายงาน (report) ต่อชั่วโมง เช่น ถ้ามีการรันรายงานที่ 40 รายงานจะคิดราคาที่ 2 ชั่วโมง เป็นต้น

ข้อมูลราคาล่าสุด

Storage

เป็นการคิดค่าบริการตามพื้นที่ที่จัดเก็บข้อมูลไว้ระบบประมวลแบบกลุ่มเมฆ โดยจะมี 3 รูปแบบ

  1. Storage ซึ่งเป็นบริการที่รวมการจัดเก็บข้อมูลแบบ Blobs, Tables และ Queues ไว้เป็นรูปแบบบริการเดียว
    โดยการคิดราคาจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ย่อยดังนี้
    Geo Redundant เป็นการคิดค่าบริการจัดเก็บไฟล์แบบสำรองต่างพื้นที่ IDC
    Locally Redundant เป็นการคิดค่าบริการจัดเก็บไฟล์แบบสำรองภายในพื้นที่ IDC
    Transactions เป็นการคิดราคาในการอ่านหรือเขียนข้อมูลจาก Blobs, Tables และ Queues
    โดยคิดเงิน 1 ล้านครั้งต่อหน่วยราคา (ราคาวันที่เขียนบทความคือ 1 ล้านครั้งต่อ 0.10 USD)
  2. Backup สำหรับคนที่ต้องการ Backup บน Windows Server Backup ของ Windows Server 2012 สามารถ Backup บน Storage ระบบประมวลแบบกลุ่มเมฆ ซึ่งจะไม่มีการคิดเงินในส่วนของ Bandwidth, Storage, Storage transactions และ Compute เพิ่มเติม แต่อย่างใด
  3. SQL Database โดยจะคิดราคาในรูปแบบขนาดที่จัดเก็บข้อมูลและจำนวนฐานข้อมูลที่ใช้งาน

ข้อมูลราคาล่าสุด

Bandwidth

มีรูปแบบการคิดราคา 2 แบบคือพื้นที่ที่ระบบอยู่ หรือเรียกว่า Regions และเครือข่ายการกระจายเนื้อหา หรือ Content Delivery Network

การรับและส่งข้อมูลเข้าพื้นที่ที่ระบบอยู่นั้น เป็นการคิดราคาของการเรียกข้อมูลออกมาหรือส่งข้อมูลกลับเข้าไปในเขต IDC ที่เราได้ตั้งค่าสำหรับติดต่อเข้ากับระบบประมวลผล (Compute) หรือพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (Storage) โดยตรง ซึ่งจะแบ่งการคิดราคาเป็นโซน (zone) ทั้งหมด 2 โซน ได้แก่

  • Zone 1: East US, West US, North Central US, South Central US, North Europe และ Western Europe
  • Zone 2: East Asia และ Southeast Asia

โดย การคิดเงินนั้นในส่วนของ Zone ที่ 1 จะมีราคาถูกกว่า Zone ที่ 2 โดยการคิดราคาจะเริ่มต้นที่ 5GB เป็นต้นไป ถ้าใช้งานไม่ถึง 5GB จะไม่คิดเงินค่าใช้ข้อมูลแต่อย่างใด

สำหรับการคิดราคาของเครือข่ายการ กระจายเนื้อหา นั้นจะคิดราคาในด้านการเรียกใช้ข้อมูลตามการใช้งานจริงตั้งแต่เริ่มต้นส่ง ข้อมูล โดยไม่มีกรอบกำหนดเริ่มต้นที่ 5GB แต่ยังคงคิดราคาแบบ Zone เช่นเดียวกับแบบเขตในการรับ-ส่งข้อมูลเช่นเดียวกัน

โดยการคำนวณราคาใน ด้านของ Bandwidth นั้น จะมีการคิดราคาของ Transactions ในการเรียกใช้งานทั้งเรียกออกมาและส่งข้อมูลกลับเข้าไป โดยคิดเงิน 1 ล้านครั้งต่อหน่วยราคา (ราคาวันที่เขียนบทความคือ 1 ล้านครั้งต่อ 0.10 USD)

ข้อมูลราคาล่าสุด
Data Transfers

  • Regions
  • Content Delivery Network

สำหรับการคิดราคาในรูปแบบอื่นๆ

  • Connection Hours สำหรับใช้บริการ Virtual Network
  • Relay hours สำหรับใช้บริการ Service Bus
  • Messages สำหรับใช้บริการ Service Bus
  • GB Processed สำหรับใช้บริการ Media Services
  • Reserved Units สำหรับใช้บริการ Media Services
  • On-Demand Streaming Reserved Units สำหรับใช้บริการ Media Services

จะเป็นส่วนย่อยๆ ที่มีการคิดราคาโดยใช้พื้นฐานคล้ายๆ กับ Compute, Storage และ Bandwidth เป็นหลักทั้งหมด

ตัวอย่างการใช้บริการแบบ Windows Azure Virtual Machines

  • Compute: Small (A1)
    เป็น 1 Reserved Virtual Cores และ RAM ขนาด 1.75GB ติดตั้ง Linux Virtual Machines (Ubuntu Server 12.04 LTS)
  • Storage: 30GB ต่อเดือน
    เป็น Image สำเร็จรูปของ Linux Virtual Machines ติดตั้งแบบ Geo Redundant (IDC Southeast Asia ใน Singapore และ IDC East Asia ใน Hong Kong)
  • Bandwidth: 45GB ต่อเดือน
    เป็นราคาคาดการณ์การใช้งาน

ราคาที่คิดไว้คือ

  • Compute: ~$45 ต่อเดือน ($0.06 ต่อชั่วโมง)
    โดยคำนวณที่ 744 ชั่วโมง (ต่อเดือน)
  • Storage: $2.85 ต่อเดือน
    โดยคำนวณที่ 744 ชั่วโมง (ต่อเดือน) และ 1TB มีค่าเท่ากับ 1,024 GB
  • Storage Transactions: ~$1-$5 ต่อเดือน
    โดยขึ้นอยู่กับการอ่านเขียนตัวไฟล์ใน Storage มากน้อยแค่ไหน
  • Bandwidth: $4.80 ต่อเดือน
    โดยคำนวณที่ 744 ชั่วโมง (ต่อเดือน) และ 1TB มีค่าเท่ากับ 1,024 GB

รวมแล้วต่อเดือนจะมีค่าใช้บริการที่ $53.65 – $58.65 โดยประมาณ

คำแนะนำ: ขอให้อ้างอิงการคำนวณราคาระบบประมวลผลบนกลุ่มเมฆ Windows Azure ล่าสุดได้จากเว็บ windowsazure.com ทั้งหมดเพื่อความถูกต้องสูงสุด

ในตอนหน้าเราจะมาเริ่มการติดตั้งและใช้งาน Windows Azure Web Sites สำหรับ Drupal และ WordPress กัน