ชนิดของสื่อที่เป็นเนื้อหาใน Tablet ในวงการศึกษา

จาก Tablet ในวงการศึกษา

พูดตรงๆ นะ เนื้อหาที่ใส่ใน Tablet สำหรับเด็กที่รัฐบาลจัดซื้อเนี่ย PDF ผมก็แทบจะกราบแล้ว เพราะเราสามารถทำได้เกือบจะทันทีครับ ส่วนในอนาคตจะมีรูปแบบอื่นๆ หรือไม่ ผมมองว่าขึ้นอยู่กับคนใช้และคนที่จะผลิตเนื้อหา จะมองเห็นช่องทางในการทำธุรกิจแล้วหล่ะ

ส่วนตัวนั้นผมมองว่าการทำธุรกิจด้านการศึกษาไม่ใช่สิ่งที่ผิด (หนังสือที่เรียนๆ กันมันก็ธุรกิจหนึ่ง) เพราะงั้น การเพิ่มตัวเลือกและช่องทางเข้ามา ทำให้เกิดการแข่งขันในการผลิตเนื้อหาให้ดีขึ้น เข้าถึงง่าย การใช้ Tablet ในการปูทางแทนที่ Computer Desktop/Notebook ในอดีตที่หลายๆ รัฐบาลหรือแม้แต่ภาคเอกชนพยายามทำมาเกือบ 10 ปีและล้มเหลวอยู่ตลอดเวลานั้นอาจจะเป็นเพราะ Computer Desktop/Notebook นั้นยากในด้านการพกพาและยากต่อการใช้งานมากเกินไปสำหรับคนที่เริ่มต้นใช้งาน (แม้แต่ตอนนี้ก็ยังคงยากสำหรับบุคคลทั่วไป) และผมเคยมีข้อโต้แย้งในเรื่องการจัดซื้อ Notebook เพื่อการศึกษาไปเมื่อหลายปีก่อนในยุคของรัฐบาลคุณทักษิณ ซึ่งเขียนลง Blog ไปแล้ว เพราะเรื่องความง่ายในการใช้ การดูแลรักษา และความไม่เหมาะสมของช่วงอายุ

แต่ในตอนนี้การมี Tablet เข้ามาช่วยให้การเข้าถึงเนื้อหาที่เป็นดิจิตอลนั้นทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น เมื่อการเข้าถึงนั้นเปลี่ยนไป และตลาดคนเมืองที่มีกำลังซื้อนั้นได้พิสุจน์ตัวเองในระดับที่จับต้องได้ว่าเด็กอายุไม่มากก็สามารถใช้งานได้จริง ทั้งที่ประสบพบกับตัวเอง และคนอื่นๆ เล่าให้ฟัง เมื่อคนเข้าถึงง่ายขึ้น คนผลิตเนื้อหาย่อมกระโดดเข้ามาในตลาดนี้เช่นกัน ดังที่จะเห็นในตัวอย่างหลายๆ ประเทศ และสื่อเหล่านี้ในตลาดเมืองไทยนั้นก็เยอะขึ้น แม้จะอยู่บน App Store ของ Apple แต่สื่อเหล่านั้นเป็นลักษณะพร้อมที่จะแปลงและปรับเข้าสู่ OS ตัวอื่นๆ ได้ ด้วยความต้องการมี มีหรือจะไม่มีคนผลิต รอดูกันไปว่าจะเป็นเช่นไรครับ

Tablet ในวงการศึกษา

ขอสั้นๆ จริงๆ มีเรื่องเยอะกว่านี้ แต่อันนี้ออกแนวพูดแบบเร็วๆ

ปัญหาเรื่อง Tablet ในวงการศึกษา ถ้ามองในปัจจุบัน ไม่ใช่ตัว "เด็ก" หรือ "ผู้เรียน" แต่คือ "ผู้สอน" และ "ผู้ดูแล" มากกว่า ว่าจะจัดการและสามารถทันต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ได้หรือไม่

การเอา "เนื้อหา" และ "สื่อต่างๆ" เข้าสู่ภูมิภาคต่างๆ ที่ห่างไกล และขาดโอกาส (และเงินทุน) เป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษา จะด้วยระบบสื่อสารความเร็วสูงอย่าง ADSL, WiMax และหรือดาวเทียมก็ตาม อุปกรณ์รับ แสดงผล และป้อนข้อมูลที่ง่ายกว่า Desktop/Notebook Computer ถือเป็นสิ่งที่น่าสนใจ อาจจะเอาไปทำรายงานเป็นจริงจังไม่ได้ แต่ก็เอาไปเพื่อใช้งานใน input ที่ง่ายๆ (ซึ่งในตัวอย่างให้เห็นอยู่มากมาย) การนำไปเพื่อรับสื่อเช่นวิดีโอ โดยอาจจะ copy แล้วส่งผ่านระบบไปรษณีย์พื้นฐาน ในกรณีที่ไม่มีระบบการสื่อสารอื่นๆ ที่ดีกว่า เพราะการส่งข้อมูลหลาย TB ผ่านโปรษณีย์เป็นเรื่องที่ทำง่ายและไว ในระดับที่ยอมรับได้ (ส่งวันนี้ไม่เกิน 3 วันถึงที่หมาย)

ซึ่งถ้ามองในมุมเนื้อหาวิชาการที่เป็นหนังสือเป็นเล่มๆ แล้วนั้น แทนที่จะต้องแบกหนังสื่อจำนวนมากๆ ไปโรงเรียนให้หนักและก่อให้เกิดอันตรายต่อสรีระร่างกาย (โรคต่างๆ ที่เกียวกับกระดูกสันหลัง) ถ้าได้เห็นการเรียนในปัจจุบันจะเห็นเด็กระดับประถมต้องแบกหนังสือกระเป๋าลากกันแล้ว ซึ่งดูบ้าบอมาก และไม่เหมาะสมกับสรีระ รวมถึงภาระของการเคลื่อนย้ายสถานที่เรียนที่มากมายขนาดนั้น ลองนึกถึงภาพลูกคุณต้องแบกรับน้ำหนัก 3-5 กิโลกกรัมเพื่อหิ้วไปไหนมาไหน ขนาดวัยรุ่น-กลางคนยังบ่นว่า Notebook 1-2 กิโลกรัมแบกไปทำงานยังว่าหนัก เด็กๆ สมัยนี้เค้าขนกันหนักกว่านี้อีก เพราะฉะนั้นการมีอุปกรณ์ที่จัดเก็บและแสดงผลได้หลากหลาย การเชื่อมต่อระบบสื่อสารและการป้อมข้อมูลที่ง่าย ในน้ำหนักที่ไม่มาก จึงเป็นสิ่งที่ควรมีไว้เป็นทางเลือก

เลิกนำกระบวนทัศน์แบบเดิมๆ ในอดีต ที่โลกเรามีข้อมูลเนื้อหาวิชาการณ์ที่ไม่เยอะ มาตัดสินและจำกัดการเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารและการเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ที่เค้าต้องมาแทนที่คุณเพื่อพัฒนาประเทศและโลกในอนาคตได้แล้ว

กลับตัวก็ไม่ได้ จะเดินต่อไปก็ไปไม่ถึง (ภาคการศึกษาไทย อีกครั้ง T_T)

โพสต์ทูเดย์ — ผลสำรวจพบเด็กไทยมีความสามารถแข่งขันด้านการศึกษารั้งท้ายนานาประเทศ

หนังสือพิมพ์โพสท์ทูเดย์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2551

นางจรวยพร ธรณินทร์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)

กล่าวว่า  จากผลการวัดความสามารถการแข่งขันของประเทศต่างๆ ด้านการศึกษาประจำปี 2550 ของสถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาการจัดการ (ไอเอ็มดี) พบว่า

  • คนไทยมีสมรรถนะอยู่ในลำดับที่ 46 ทั้งนี้ จากการสำรวจทั้งหมด 55 ประเทศทั่วโลก
  • โดยมีผลประเมินแยกตามโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษา 10 รายการ คือ
  • อัตราส่วนนักเรียนต่อครูประถมได้อันดับ 43 โดยมีครู 1 คนต่อนักเรียน 20.68 คน
  • อัตราส่วนนักเรียนต่อครูมัธยมได้อันดับที่ 48 มีครู 1 คนต่อนักเรียน 21 คน
  • อัตราเข้าเรียนระดับมัธยมอันดับที่ 46 มีเยาวชนอายุ 12-17 ปีได้เข้าเรียนมัธยม 72% จากประชากรวัยเดียวกัน
  • อัตราการไม่รู้หนังสือของผู้ใหญ่อายุ 15 ปีขึ้นไป อันดับ 43 ในอัตรา 7.4%
  • การลงทุนทางการศึกษาของภาครัฐอันดับ 42 มีการลงทุนในอัตรา 4.1% ของจีดีพี
  • ผลสัมฤทธิ์อุดมศึกษา อันดับที่ 39 มีอัตราผู้สำเร็จระดับอุดมศึกษา 18%
  • ด้านการถ่ายโอนความรู้ระหว่างภาคธุรกิจกับมหาวิทยาลัย มีการจัดการศึกษาตอบสนองภาคธุรกิจ ตลาดแรงงานอันดับที่ 42
  • การตอบสนองความสามารถใน การแข่งขันของระบบการศึกษาอันดับที่ 38
  • การตอบสนองความสามารถในการแข่งขันของการอุดมศึกษาต่อภาคเศรษฐกิจและการแข่งขัน อันดับที่ 39
  • ทักษะด้านภาษาที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประกอบการ อันดับที่ 48
  • นอกจากนี้ จากการประเมินเพื่อวัดคุณภาพการศึกษาในประเทศเป้าหมาย 41 ประเทศ ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ในปี 2550 ของโครงการสำรวจความรู้และทักษะการเรียนของเด็กอายุ 15 ปี (PISA) ในประเทศสมาชิกขององค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) พบว่า เวลาเรียน 2 วิชานี้ของนักเรียนไทยน้อยกว่าประเทศอื่น รวมทั้งขาดแคลนครูที่มีความสามารถ อีกทั้งนักเรียนไทยอายุ 15 ปี เขียนสะกดและใช้คำผิดมากที่สุด ไม่สามารถแยกแยะระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียน เรียงประโยค ไม่เป็น เรียบเรียงความคิดลงเป็นการเขียนไม่ได้
  • นางจรวยพร กล่าวว่า ปัญหาการศึกษาไทยมีสาเหตุจากการคิดและอ่านของเยาวชน 4 ประการ คือ

    1. เยาวชนคิดผิด คือ คิดแบบเอาเปรียบ คิดเรียนลัด คิดเก็งกำไร
    2. คิดไม่เป็น คือ ตามผู้อื่น เลียนแบบ เชื่อเพราะผู้พูดเป็นผู้ใหญ่หรือ ผู้อาวุโส
    3. ไม่คิด คือ ติดนิสัยพึ่งพา ผู้อื่น เชื่อตัวบุคคล เชื่อนักวิชาการ เชื่อหนังสือพิมพ์ โดยไม่ไตร่ตรอง
    4. คิดแล้วไม่ทำ คือ ประชุมเสร็จก็เลิกรา ปล่อยให้คนที่รับผิดชอบไปทำคนเดียว ไม่ช่วยระดมในรูปกลุ่ม ดังนั้นต้องร่วมกันแก้ปัญหาเหล่านี้

     

    แต่ผมว่าเรื่องนี้ไม่ต้องโทษใคร "โทษตัวเองดีกว่า" ครับ ผมว่านะ "พวกเราคือผลผลิตอันสมบูรณ์ของการศึกษาที่ล้มเหลว" อย่างที่พี่เดฟเคยบอกไว้ครับ T_T

    การเรียนด้านคอมพิวเตอร์

    ผมฟังรายการ ช่างคุยกับหมอ เป็นประจำ แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นแนว ๆ สูตินารีแพทย์ แต่บางตอนก็เป็นเรื่องการเรียนของแพทย์ ที่รายการนำมาเล่าสู่กันฟังไว้ได้อย่างน่าสนใจ แล้วประกอบกับไปอ่านใน G2K ใน blog ของ ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ แล้วอ่าน reply ของ บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา) แล้วชอบมาก ๆ กับข้อส่วนนี้ครับ

    • ที่ผ่านมาในห้องเราเรียนหลักการ ทฤษฎีมากมาย  ผมเห็นด้วยครับว่าต้องเรียน  แต่เรียนเล้วต้องเปิดโลกสังคมจริงให้เขาเอาหลักการนั้น ทฤษฎีนั้นไปใช้ ไปปฏิบัติ ไปทำ ไปฝึก
    • ผมชอบหลักสูตรของแพทย์ เมื่อเรียนแล้วปีท้ายๆเป็นแพทย์ฝึกหัด (Intern) ภายใต้การดูแลของอาจารย์แพทย์  ก่อนที่จะออกไปประกอบอาชีพ
    • วิชาชีพอื่นๆก็เหมือนกัน  ต้องออกไปฝึก ไปทำ ไปปฏิบัติ จึงจะรู้ว่าชีวิตจริงนั้นเป็นอย่างไร เข้าใจเขาซะให้ลึกซึ้ง ก่อน เหมือนหมอหาข้อมูลคนไข้ แล้วบันทึก วินิจฉัย แล้วเยียวยารักษา และดูอาการต่อเนื่อง วิชาชีพอื่นก็เช่นกันต้องทำในทำนองเดียวกัน เอาหลักการไปใช้เอาทฤษฎีไปใช้ในสถานการณ์จริง จึงจะรู้ว่า หลักการนี้ ใช้ได้หรือไม่ได้ ได้มากได้น้อยอย่างไร 
    • อาชีพครูมีการฝึกการสอน  ทุกวิชาชีพต้องใช้ศิลปะควบคู่ไปกับวิชาชีพ ทราบว่าบางประเทศจะต้องออกไปปฏิบัติจริงอย่างน้อยหนึ่งปี จึงกลับมาเรียนต่อจนจบในทุกวิชาชีพ
    • การเรียนในห้อง—–>ออกไปปฏิบัติ—–>เอาบทเรียนมาแลกเปลี่ยนแล้วศึกษาค้นคว้าต่อไป นี่คือการฝึกให้คิดเป็น ทำเป็น ติดดิน และสร้างสรรค์ อยู่บนของจริงไม่ลอยละล่อง
    • ครูออกไปสอน
    • เรียนกฏหมาย ออกไปฝึกกับอัยการ นักกฏหมายข้างโรงข้างศาล สถาบันศาลต่างๆ
    • นักเกษตรออกไปอยู่กับชาวบ้านสักปีหนึ่ง
    • เภสัช ออกไปอยู่ที่โรงพยาบาล ไปเรียนสมุนไพรโบราณกับพ่อนั่นพ่อนี่ ไปเดินป่าดงหลวง ดูกวางเครือของจริงมันเป็นอย่างไรขึ้นตรงไหน ต้นตะไคร้ต้นมันเป็นอย่างไรในป่าของจริง อยู่สักปีหนึ่ง
    • นักวิศวกร  ออกไปอยู่กับโรงานต่างๆ บริษัทก่อสร้าง หน่วยงานก่อสร้างจริง ฯลฯ
    • …..ฯลฯ.  อาจารย์ก็ออกไปด้วย ไปแลกเปลีย่นกับนักศึกษา ไปแลกเปลี่ยนกับเจ้าของกิจการ ไปแลกเปลี่ยนกับลูกค้า…โอย..ข้อมูลบานตะไทที่มาจากสังคมจริง  ของจริง  ไม่ใช่สมมุติกันอยู่นั่นแหละ 10 ปีมาแล้วยังยกตัวอย่างเดิมอยู่เลย  อิอิ
    • การออกไปสนามจริงทุกสาขาวิชานั้นจะช่วยให้เกิดการถกเถียงว่าหลักการที่เรียนมากับของจริงมันไปด้วยกันได้ไหม อาจะก่อให้เกิดการสร้างหลักการใหม่ๆ แนวทางใหม่ๆ ทฤษฎีใหม่ๆที่มาจากฐานสังคมจริงของไทยเรา ไม่ใช่เอาแต่แปรมาจากตำราต่างประเทศ อ้างกันอยู่นั่นแหละ มิสเตอรนั่น มิสสิสนี่  ไม่เห็นอ้างพ่อบัวไลผู้ตอนผักหวานป่าได้ผล พ่อแสนผู้ทำเล้าหมูเคลื่อนที่ ไม่เห็นอ้างครูบาสุทธินันท์ …
    • เรียน—->เอาไปปฏิบัติจริง——>เรียนรู้แบบยกระดัยขึ้นไปอีกจากของจริง
    • เราจะได้เด็กที่ติดดิน ทำเป็น คิดเป็น สร้างสรรค์เป็น ดัดแปลงได้ มีความสนใจเฉพาะส่วนตัวตามความถนัดของตัวเอง
    • เราจะได้เด็กที่ยืนอยู่บนของจริง

    แต่จุดหนึ่งที่ผมกลับมาย้อนดูวิธีการสอนฝั่งสาขาคอมพิวเตอร์บ้างสิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ ในส่วนของนักศึกษาแพทย์นั้นในช่วงเริ่มต้นอาจจะได้เรียนวิชาพื้นฐานต่าง ๆ เหมือน ๆ กับคณะอื่น ๆ แต่พอขึ้นปีสูง ๆ สิ่งที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัคคือผู้สอนที่ มาสอนนักศึกษาแพทย์จะเป็นผู้เชียวชาญหรือแพทย์ที่ทำงานมาแล้วและคัดมาเพื่อเป็นอจารย์ที่สอนนักศึกษาแพทย์อีกทีนึง สิ่งนี้เองที่ทำให้การเรียนการสอนนั้นมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพราะผู้ที่สอนนั้นมีประสบการณ์ตรงในการทำงานมาสอน ทำให้ได้แง่มุมต่าง ๆ มากมายในการทำงานจริงมาให้กับนักศึกษาเพื่อสืบทอดวิชาทางการแพทย์ต่อไป พอถึงปีท้าย ๆ ก้ต้องออกไปฝึกงานตามโรงพยาบาลต่าง ๆ อีก 1 ปีและกลับมาสอบทั้งภาคปฏิบัติและทฤษฎี ซึ่งการออกไปฝึกงานก็เหมือนกับนักรบที่ฝึกฝีมือมาแรมปี ได้ออกศึกลองฝีมือตัวเองว่าที่ตัวเองฝึกฝนมานั้นฝีมือเกร่งกล้าแค่ไหน

    พอกลับมาดูฝั่งสาขาคอมพิวเตอร์บ้าง เท่าที่ได้คุยกับเพื่อน ๆ ตัวเอง หลากหลายมหาวิทยาลัยสิ่งที่น่าตกใจคือ ผู้ที่เรียนด้านนี้แทบไม่ได้ลงมือปฎิบัติจริงกันเลย มีส่วนน้อยมาก ๆ และมักเป็นหัวหน้ากลุ่มทำงานซะมากกว่า นอกนั้นไม่ออกเงิน ก็นั่งดูกันไป  แถมด้วยบางที่ ไม่มีแม้แต่ให้นักศึกษาออกไปฝึกงาน เพื่อเผชิญหน้ากับโลกภายนอกบ้าง ว่ามันโหดร้ายยังไง โดนด่าเป็นไง อะไรแบบนั้น เอาแค่หา Lab วิจัยแบบพี่เดฟ ก็ยากเต็มทนแล้ว สำหรับในมหาวิทยาลัยในบ้านเรา พูดง่าย ๆ ก็คือเรียนเสร็จกลับบ้าน แล้วบางครั้งก็ไม่รู้ไปไหน ส่วนใหญ่ก็เลยไปเที่ยวกัน อย่างผม ไม่รู้ไปไหน นอกจากห้องสมุด หรือไม่ก็อยู่หอ (เที่ยวกับแฟนก็มีบ้าง แต่พอดีว่าเป็นเด็กเรียนด้วยกันทั้งคู่เลยก็ดีไป) นั่งเล่นเน็ต หรือไม่ก็รับงานมานั่งทำคนเดียว เพราะส่วนใหญ่เวลาเราทำงานด้วยแล้ว บางครั้งไม่ได้ดั่งใจอ่ะ -_-‘ (พูดตรง ๆ ) แค่ present หน้าชั้นเรียนตอนทำงานส่งผมก็ต้องนั่งเตรียม keynote เอง เอกสารทุกอย่างทำเอง เพราะจัดรูปแบบเอกสารไม่มีการวางแผนเลย ใช้ Style ใน Word Processer ยังไม่เป็นเลย ตอนหลัง ๆ ผมทำ LateX ซะเลยหมดเรื่องช้าหน่อย แต่มั่นใจได้เลยว่าสวยงามแน่นอน แถม Keynote เนี่ยบางครั้งสิ่งที่เราจะพูดเราต้องเตรียมเอง ให้คนอื่นเตรียมมันจะมีปัญหาตามมานั้นคือนั่งอ่าน keynote เอาแล้วพ่นออกมา เพราะว่าเราไม่ได้ทำเอง (หรือไม่ก็ไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลย อ่านที่ copy/paste) มันเลยไม่รู้ว่าจะมีอะไรโผล่มาบ้าง พอโดนอาจารย์ถามก็อึ้ง ๆ กันไปแถมด้วยความที่นักศึกษาส่วนใหญ่ที่ผมพบเจอที่เรียนในสายนี้มักจะไม่ได้ลงมือทำจริง เวลาอธิบายก็อธิบายแบบรู้คนเดียวคนอื่นไม่รู้ด้วย แถมเวลาผมพูดอะไรไปมักนึกภาพตามไม่ออก สิ่งที่ทำคือ กระดาษกับดินสอครับ ร่างให้อ่านกันเลย ว่ามันเชื่อมโยงกันยังไงบ้าง

    ผลจากการที่ไม่ได้ทำจริง มันเลยส่งผลตอนออกมาทำงาน แถมด้วยนิสัยความที่ไม่ได้เป็นคนชอบค้นคว้า ค้นหาความรู้ เลยมีผลต่อมาว่า ถ้าเราอยากรู้เรื่องที่เราไม่รู้ จะไปหาจากที่ไหน ถ้าเดี่ยวนี้ก็ Google, Live หรือ Yahoo ปัญหาต่อมาคือ นึก keyword ไม่ออก กลายเป็นว่าหาไม่เจอ ทำไม่ได้

    อีกเรื่องก็คือ ไม่มีใจในสิ่งที่เรียน ผมอาจจะเป็นคนที่โชคดีคนนึงที่เรียนในสิ่งที่ชอบ และรู้ว่าตัวเองชอบอะไร จริง ๆ แล้วต้องบอกว่าที่บ้านผม แม่ผมสนับสนุนเรื่องพวกนี้เต็มที่เลย อย่างตอนผม ม.1 ตอนนั้นผมไปซื้อวิทยุสื่อสารคลื่น 27MHz มา พอดีว่ามันพังตอนแรกก็ส่งให้เค้าซ่อม ต่อมาก็ซื้อหนังสือพวกวิทยุสื่อสารมา ในนั้นมันมีเรื่องพวกโม เครื่องให้ส่งไกล ๆ ด้วย (แต่ผิดกฎหมายนะ คลื่น 27MHz ห้ามขึ้นเสาสูงเด็ดขาด แต่ไม่รู้เดี่ยวนี้ได้หรือยัง เพราะไม่ได้เล่นมาจะ 6 ปีแล้ว) เลยสนใจด้านอิเล็คทรอนิกส์มาก ก็เลยไปซื้อพวกนักสื่อทำพวกนี้มา ซื้อชุดคิตมานั่งต่อ พวกเครื่องชาร์จแบต Ni-CD/Ni-MH (ทำให้ผมเขียนบทความเรื่องชาร์จแบตได้ไงหล่ะ เพราะผมทำเครื่องชาร์จไฟเข้าแบตมาก่อน) แล้วตอนนี้ Li-ion ยังใหม่มาก ๆ ได้แต่อ่านผ่าน ๆ เพราะตัว cell แพงมาก แต่ตัวเครื่องชาร์จไม่แพง แต่ไอ้ Ni-CD/Ni-MH เนี่ย มันถูกทั้งตัว Cell และตัวชาร์จเลย ส่วนใหญ่เอาไปใช้ในพวกวิทยุสื่อสาร (วอ) นั้นแหละ

    จริง ๆ ในตอนนั้นโมเครื่องวิทยุให้มันส่งไกล ๆ แข่งกันในหมู่เพื่อนร่วมย่านความถี่ เคยส่งได้ไกลที่สุดก็ประมาณ 20 กิโลเมตรได้ จริง ๆ มีคนส่งได้ไกลกว่าเยอะนะ แต่เราเอาแค่นี้แหละ ตัว Transitor กัล IC ภาคส่ง/รับมันแพง ตัวเป็นร้อย -_-‘ แถมกดส่งที Transitor แทบไหม้ ต้องเอาตัวระบายความร้อนมายัดใส่อีก (ไม่ต่างอะไรกับ CPU เลย นึกแล้วก็ข่ำ ฮา …. )

    พอทำ ๆ ไป อ่าน ๆ ไปก็สนุกดี แต่ที่ทำให้ผมทำเว็บเนี่ย ไม่ใช่ว่าผมไปอ่านหนังสือคอมฯ แล้วทำนะ ผมอ่านหนังสือวิทยุสมัครเล่นเนี่ยแหละ มันมีบทความสอนทำเว็บอยู่ เลยมานั่งเขียนใน notepad แล้วแสดงบน Netscape 3.0 เอา (ภาษา HTML ล้วนๆ) แล้วก็ลองทำไปเรื่อย ๆ บน http://www.geocities.com/SiliconValley/Garage/8818/ เนี่ยแหละ

    เลยเริ่มต้นเขียนเว็บตั้งแต่ตอนนั้น จริง ๆ ผมเรียนคอมฯ ตั้งแต่ ป.5 จับคอมฯ ตั้งแต่ตอนนั้นแหละ แล้วก็เรื่อย ๆ กับมัน จน ม.1 – 2 ก็ทิ้ง ๆ ไปนิดหน่อย แต่ก็เรียนอยู่ พอเริ่มเข้า ม.3 ตอนนั้นคอมฯ ก็ ok นะแข่งกันภายในโรงเรียนก็ได้ที่ 3 มา ตอนนั้นช่วงเลือกทางเดินว่าจะไปทางไหนดี ตอนนั้นชอบด้านอิเล็คทรอนิคส์มากกว่า เลยว่าจะไปเรียนเทคนิค ซื้อใบสมัครมาแล้ว แต่จนแล้วจนรอด ก็ได้เรียนต่อ ม.ปลาย ที่โรงเรียนเดิม เพราะคุณครูศิลป์ณรงค์ (ครูสอนคอมพิวเตอร์ ตอนนั้นครับ) เค้าไม่อยากให้ไปอ่ะ เสียดายฝีมือ จริง ๆ ตอนนั้นก็ไม่ได้เก่งอะไรมาก เป็นพวกลองจนเครื่องพัง แล้วก็ซ่อม ซ่อมแล้วก็พังอีก ย้ำคิดย้ำทำจนทำได้เองอ่ะแหละ ตอนเรียน ม.ปลาย ก็ไม่ได้ตั้งใจเรียนหรอก (และก็เลิกบ้าเรื่องอิเล็คทรอนิกส์ไปเลย มาจับด้านคอมฯ แทน แล้วก็แนว ๆ เดียวกัน) คนที่เป็นเพื่อนผมตอน ม.ปลาย คงเข้าใจดีว่านอกจากผมมันจะบ้าอิเล็คทรอนิคส์แล้วเนี่ย มันยังบ้าคอมฯ อีก เข้าห้องเรียน ส่วนใหญ่จะหลับ เพราะตอนกลางคืนนั่งเล่นคอมฯ อยู่บ้าน อ่อ ลืมบอกไปว่า ผมซื้อคอมฯ เครื่องแรกตอน ม.4 ครับ ก่อนหน้านั้น อยากเล่นต้องหาที่เล่นเอง ทั้งไปเช่าร้านเน็ตนั่งเล่น (ทำเว็บตอนนั้นก็ไปเช่าตามหน้านั่งทำเว็บวันละ 1-2 ชั่วโมง) พอมีเป็นของตัวเอง คราวนี้บ้าคอมฯ เลย แล้วก็เลยมีกลุ่ม LABBOY อยู่ที่โรงเรียน กลุ่มผมจะมี 4 คนมีไอ้เอฟ (ตอนนี้จบป.ตรี Computer Sci และต่อโทอยู่ม.รังสิต), ไอ้ตง (กำลังเรียนป.ตรี Computer Sci อยู่ ม.ราม) และไอ้ทัก (ตอนนี้เป็นตำรวจอยู่ 3 จังหวัดภาคใต้ครับ ไม่รู้ว่ามันเป็นไงบ้างไม่ได้โทรหามันเลย) แล้วจริง ๆ ก่อนจบก็มีรุ่นน้องชื่อไก่ (ผู้ชายนะ) คนนึงเข้าร่วมด้วย ส่วนคนอืน ๆ ก็เข้า ๆ ออก ๆ จำชื่อไม่ได้

    ห้องทำงานครูคอมพิวเตอร์ที่โรงเรียนเก่าครับ ตอนนั้นโคตรรกเลย

    ภาพถ่ายร่วมกับเพื่อน ๆ ตอนไปแข่ง Intel Tri-Contest เขตภาคกลางครับ

    เห็นภาพพวกนี้แล้วคิดถึงเพื่อน ๆ เหมือนกัน แต่ตอนนี้สนุกมาก ๆ เพราะคอเดียวกัน คุยกันอย่างมัน แบบว่าถ้าไอ้กลุ่มนี้รวมตัวมีแต่คำว่า Computer เท่านั้น ตอนนี้ก็จะ 5 ปีแล้ว ไม่ได้เจอกันพร้อม ๆ หน้ากันสักที T_T

    คือตอนอยู่ที่โรงเรียนเก่าเนี่ย พวกผมจะเป็นเหมือนช่างอ่ะ เครื่องเสียพวกผมก็ช่วยซ่อม Network มีปัญหาพวกผมก็ช่วยกันทำ สาย LAN ต้องการเพิ่มพวกผมก็เข้าสายกันเอง (เป็นเหตุให้ผมเข้าสาย LAN เป็นจนทุกวันนี้) แถมออกแบบระบบ Network แบบ LAN ทั่วไปอ่ะแหละ Share-internet ภายในโรงเรียนอะไรแบบนั้น (ติดตั้ง Windows 2000 Server + ISA Server 2000 ทำ Firewall + NAT ออก internet)

    แล้วยิ่งบ้าหนักเมื่อตอน ม.6 หก ตอนนั้นแทบไม่ได้เรียนเลย เพราะพวกผมมัวอยู่แต่ห้องคอมฯ ไม่ได้เข้าห้องเรียนครับ โดด ห้องคอมฯ อย่างเดียวจนครูคนอื่นเค้าก็ว่าเช้า ว่าเย็น เกรดก็ต่ำสุด ๆ แล้วมันจะ ent’ ติดไหมเนี่ย ฮา …… (สรุปมันก็ไม่ติดแหละ ฮา …… )

    แต่ช่างมัน หาทางเรียน computer science จนได้แหละ แล้วก็จบออกมาแล้วเนี่ยไง

    คือที่ร่ายยาวเอาประวัติพวกนี้มาเล่าเนี่ยไม่ได้อะไรหรอก เพียงแต่อยากจะบอกว่า ถ้าเรียนแล้วไม่มีใจรักมันจะไม่มีความสุขอ่ะ อย่างผมทำงานด้านคอมฯ เนี่ย ผมทำไป ผมไม่รู้สึกว่าเหนื่อยเท่าไหร่ นอกว่าเครียด ๆ เพราะงานมันกดดันนี่ก็เหนื่อย แต่ถ้าทำเรื่อย ๆ อย่าง Framework ที่ผมทำเนี่ย มันไม่เหนื่อย แต่กลับสนุกได้ทำอะไรที่มันเป็นความคิดของเราเอง ลองโน้นลองนี่ รู้สึกว่ามันได้เล่นอ่ะ (แปลกคนจริงแมะ)

    พอเรารู้สึกว่าสิ่งที่เราทำมันเหมือนเล่น มันก็สนุก ไม่เครียด ตอนเรียน ป.ตรี computer science ก็เหมือนกันผมก็ไม่ได้เรียนแตกต่างจากคนอื่น แถมตอนสอบ ผมก็อ่านน้อยกว่าคนอื่นด้วยซ้ำ อาจจะเพราะผมมีพื้นมาตั้งแต่ตอน ม.ต้น-ม.ปลาย ที่ได้ประสบการณ์ และการทำงานจริงมา เลยเข้าใจ และนึกภาพออก อ่อ ผมลืมบอกไปว่าตอนม.ปลาย ผมไปเป็นลูกมือร้านประกอบคอมฯ อยู่ 2-3 ร้าน รับจ้างประกอบคอมฯ เลือกเสปคให้ลูกค้า (เดี่ยวนี้ก็ยังมีคนโทรฯ มาถามเรื่องพวกนี้อยู่เลย) เลยได้พื้นพวกนี้มาด้วยมั้ง

    พอเราได้ลองของจริง เยอะ ๆ ความคิดมันเลยเริ่มแตกต่างเวลาทำรายงานกับนำเสนองานหน้าชั้นเรียน อย่างตอนเรียน คนที่เรียนกับผมคงรู้ว่าผมมันพวกแปลกแยก แตกต่างจากชาวบ้าน เค้าทำด้วย Word 2000 ผมก็ใช้ OpenOffice เค้าใช้ Access เขียนโปรแกรมฐานข้อมูล ผมก็เขียน PHP ติดต่อกับ MySQL แทน อะไรแบบนั้น (บ้าไปแล้ว)

    เป็นพวกพยายามหาอะไรใหม่ ๆ มาทำมากกว่ามั้ง

    อีกอย่างคือ ด้วยความที่เราชอบคอมฯ มากด้วยมั้งเลยอ่านมาก ก็รู้ว่าบางอย่างเวลาเราทำแล้ว มันเอาไปใช้งานจริง ตอนเรียนจบยาก เลยหาทางเอาแนวคิดตัวเองมาใส่ในงานที่ส่งแทน

    อ้าว ….. กรำ … ท่าทางผมจะออกนอกเรื่องเยอะไป (เยอะดิ เกือบครึ่ง ฮา … )

    กลับมาพูดเรื่องการเรียนการสอนต่อครับ …

    จากที่เล่า ๆ มาเนี่ย จะเห็นว่าถ้าคนเรียนมีใจแล้ว อะไรมันก็ง่ายขึ้นเยอะ และในกรณีการเรียนการสอนด้านคอมฯ ในไทย ที่ส่วนใหญ่อาจารย์ที่สอนมักจะมีประสบการณ์ตรงในส่วนที่ตัวเองสอนยังน้อยอยู่ ทำให้ไม่รู้จะยกตัวอย่างยังไง ให้เห็นภาพในโลกของความเป็นจริง แบบอาจารย์ของนักศึกษาแพทย์น่ะครับ (แนวนั้นนี่เห็นกันจะ ๆ ดูกันเห็น ๆ)

    และผมคิดว่างานด้านคอมฯ จำเป็นที่จะต้องมีคนที่มีความสามารถในเชิงทฤษฎีและปฎิบัติ มาทำงานควบคู่กัน เก่งแค่ทฤษฎีก็ได้แค่ฝันลม ๆ แล้ง ๆ ไปวัน ๆ เพราะว่าไม่ได้ลงมือทำ (เพราะทำไม่ได้) ส่วนเก่งแต่ปฎิบัติแต่ทฤษฎีไม่แน่นก็มีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพและประยุกต์ใช้ที่แหวกแนวแตกต่างจากของเดิม ๆ ที่ทำจนชิน

    คือมันต้องสมดุลกันทั้งสองด้าน น่าจะเป็นทางออกที่ดี ผมว่าคนเรียนคอมฯ รุ่นใหม่ ๆ น่าจะเปลี่ยนแนวทางจากเรียนทฤษฎี 80 ปฎิบัติ 20 มาเป็น 50:50 หรือ 40:60 ซะ คืออะไรปฎิบัติเกินครึ่ง คือเรียนแล้วต้องเอามาใช้ เหล็กมันต้องตีตอนแรกมันถึงจะแข็งแรง ทนทาน

    คือะไรประมาณว่าเขียนโปรแกรมพื้น ๆ ได้ แต่เข้าใจ ดีกว่าเขียนโปรแกรมขนาดใหญ่ยัก แต่แค่คัดลอกเค้ามา ผมว่ามันไม่เกิดประโยชน์เท่าไหร่ แล้วพวกโปรแกรมพื้น ๆ เนี่ยแหละ เอามาต่อยอดกันไป ๆ มา ๆ เดี่ยวมันก็ดี และใหญ่ขึ้นมาเอง น่าจะเป็นทางออกที่ดีในการเรียน การสอนครับ

    การศึกษาภาค 2.2

    จาก กูเป็นนักศึกษา ? !!!! และค้นด้วยคำดังกล่าวแล้วไปเจอความคิดเห็นที่น่าสนใจจากที่นี่ ผมจึงนำมาลงให้ได้อ่านกันครับ

    ในยุคมืดของประชาธิปไตยในประเทศไทย นักศึกษานับว่าเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทอย่างยิ่งในการเรียกร้องเสรีภาพเพื่อให้มาเป็นของมวลชน เป็นความหวัง ปากท้อง และรอยยิ้มของประชาชนอย่างแท้จริง เปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์ ความรู้ที่กอบโกยมาจากการหนุนของถิ่นเกิดก็เทคืนให้เมื่อสิ้นสุดกระบวนการศึกษาอย่างเต็มที่
    ด้วยความแตกต่างเมื่อครั้งอดีตกับปัจจุบันนี้ จึงเห็นว่าบทบาทของนักศึกษาเปลี่ยนไป ทำให้สายตาของประชาชนมองเห็นว่าเป็นกลุ่มคนที่ป่วย เรียกร้องความสนใจในรูปแบบต่างๆ หาผลกำไรใส่ตัวตั้งแต่เริ่มเรียน เที่ยวผับ เที่ยวบาร์ ไม่สนใจในหน้าที่อันพึงกระทำ เมื่อจบมาแล้วก็ยังหาความสุขเข้าตนเอง ใช้ปัญญาที่ได้มาสร้างเป็นเงินมหาศาล ถึงแม้จะต้องเหยียบหัวชาวบ้านตาดำๆ ที่ครั้งหนึ่งเคยหวังพึ่งความสามารถของปัญญาชน ฉุดตัวเองให้พ้นโคลนตม เหมือนอย่างที่เคยเป็นมาแล้วเมื่อครั้งอดีต เหยียบหัวชาวบ้านที่ยืนในปลักตมอยู่แล้วให้จมลึกลงไปอีกเพื่อตัวเองจะได้คว้าแสงจัทร์แสงดาวได้ง่ายขึ้น
    ถูกมองว่าเรียนเพื่อไล่ล่าไขว่คว้าสิ่งที่ยืนยันว่าตัวเองมีความรู้ความสามารถในสาขานั้นๆ เพื่อเป็นทุนในการสร้างกำไรก้อนใหญ่ต่อไป
    คิดถึงตรงนี้แล้วใจหาย แม้ครั้งที่ผมยังเป็นนักศึกษา สิ่งที่ผมทำได้ก็แค่ความตั้งใจ ทำอะไรมากกว่านี้ไม่ได้เพราะเพื่อนรอบข้างก้าวไกลออกไปทุกที จนไม่แน่ใจว่าความเปลี่ยนแปลงของนักศึกษาเกิดขึ้นจากความเหลวแหล่ หรือเพราะสังคมรอบข้างกันแน่

    กานธนิกา ชุณหะวัต (บง)
    [email protected]
    คุณบงจบการศึกษามัธยมปลาย จาก ร.ร เตรียมอุดมศึกษาพญาไท รุ่น 50 แล้วก็จบป.ตรี และโทจากสถิติ จุฬา ชอบเรียนเลข และรักเขียนมาตั้งแต่เด็กๆ ส่งผลงานมาลงใน YES! ครั้งแรกในคอลัมน์ Stop & Listen ด้วยเพลง ไม่สำคัญ ของซาร่า