กูเป็นนักศึกษา ? !!!!

เพลง : กูเป็นนักศึกษา
ศิลปิน: พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

ทุกวัน ทุกวัน เห็นเขารีบออกไป แต่งตัวทันสมัย ขับรถซิ่ง

อือฮื้อ อาฮ้า เทวดาฟ้าดิน กุ๊กกิ๊ก ดุ๊กดิ๊ก สะดิ้งมาเต็มคัน

ชาวบ้านยืนมองแล้วอดใจไม่ไหว เอ่ยถามขึ้นทันใดว่าไอ้หนุ่มเอ้ย

มึงเป็นใคร ?

กูเป็นนักศึกษา นักล่าปริญญา ใฝ่ฝันขึ้นไปเป็นใหญ่

แล้วยังไง ?

กูจะรวยน่ะสิว่ะ ความรู้กูแน่นหนากูจะมาเป็นนายมึง

รำพึงรำพันน้อยใจวาสนา ไม่มีการศึกษาอนาคตสั่นไหว

จับกังคนงานยังฝันหวานเกินไป น้อยอกน้อยใจไม่ได้เป็นนักศึกษา

เข้าเทคเข้าบาร์ ดึ๊บดั๊บกันเข้าไป ชาติจะเป็นยังไงไม่ใช่เรื่องนักศึกษา

มึงเป็นใคร ?

กูเป็นนักศึกษานักล่าปริญญา ใฝ่ฝันขึ้นไปเป็นใหญ่

แล้วยังไง ?

กูจะรวยน่ะสิว่ะ ความรู้กูแน่นหนากูจะมาเป็นนายมึง ……..

ชาวบ้านถามว่าคุณจะทิ้งผมไปไหน ยากจนเข็นใจรอให้คุณนำพา

คุณขึ้นสวรรค์ผมไม่เคยคิดอิจฉา ขอเถอะคุณจ๋าอย่าทิ้งผมไปไหน

มึงเป็นใคร ?

กูเป็นนักศึกษานักล่าปริญญา ใฝ่ฝันขึ้นไปเป็นใหญ่

แล้วยังไง ?

กูจะรวยน่ะสิว่ะ ความรู้กูแน่นหนากูจะมาเป็นนายมึง

มึงเป็นใคร ?

กูเป็นนักศึกษานักล่าปริญญา ใฝ่ฝันขึ้นไปเป็นใหญ่

แล้วยังไง ?

กูจะรวยน่ะสิว่ะ ความรู้กูเหนือกว่า กูจะมาเป็นนายมึง

บทเพลงกระแทกใจคนหลาย ๆ คน (รวมถึงผมด้วย) ในวันที่เราเรียนหนังสือ และเข้าศึกษาในระดับต่าง ๆ เราไขว้ขว้าความสำเร็จ เราเหยียบหัวคนที่ มีความรู้น้อยกว่าตัวเองมาเท่าไหร่ คนบางคนที่มีความรู้ไม่มากเท่าเรา แต่เรากลับมองว่าเค้าเหล่านั้นไม่รู้ มองว่าโง่กว่าเรา แต่เราไม่มองว่า "ทำไม" เค้าเหล่านั้นถึงได้เป็นแบบนั้น อาจจะเพราะสภาพแวดล้อม ทั้งด้านการเลี้ยงดู และทางด้านการเงินในตอนเริ่มปฐมวัยมาแต่เด็ก หลังจากฟังเพลงนี้สิ่งที่ต้องนำมาฉุกคิดคือ เรากำลังเรียนเพื่ออะไรกันแน่ เรียนเพียงแต่สนองความอยากด้านการเงิน ที่เรียนเพื่อปรับฐานเงินเดือนตามวุฒิฯ และความมั่งคั่งเท่านั้น หรือเพื่อการพัฒนาต่อสังคมโลกที่ได้รับผลจากการที่เราเรียนรู้และต่อยอดทางความคิด

ทางสองสายที่บางครั้งไม่จำเป็นต้องเลือก เพราะมันไปด้วยกันได้ เพียงแต่ในสังคมไทย ทางทั้งสองกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น อาจจะเพราะสังคมไทยโดยส่วนใหญ่ต้องการผลงานที่ฉาบฉวย ต้องการเพียงวันนี้ พรุ่งนี้ ประมาณงานผักชีโรยหน้า ปีงบฯ เป็นปี ๆ ไป พลาญเงินไปเรื่อย ๆ สนุกสนานกันไป

น่าเสียดายสังคมการศึกษาสมัยนี้ยึดติดภาพลวงตา ทั้ง ๆ บางครั้งไม่มีอะไรเลยที่ได้กลับมา (แถมเสียเงินอีก -_-‘) แถมภาพลวงตาเหล่านั้น กลับมาดูถูกเพื่อนรวมโลกของตัวเอง แทนที่จะช่วยกันเพิ่มพูนความรู้ให้แก่กันและกัน แถมไม่ยอมรับฟังเหตุผล เพียงเพราะเรามีวุฒิการศึกษาสูงกว่า (แต่บางครั้งใช้งานไม่ได้ในโลกความเป็นจริง)

ผมอาจจะไม่ได้เป็นนักการศึกษา แต่ก็ไม่อยากทำตัวเป็นนักศึกษาความรู้มือสอง

ผมเคยช่วยพ่อผมทำโปรแกรมคิดเงินภายในร้านอาหาร และเป็นโปรเจ็คส่งอาจารย์ตอนปี 2 ด้วย แต่พอทำไป ดู ๆ แล้วใช้งานไม่ได้ในความเป็นจริงแม้จะลองเก็บ requirement เต็มที่ ข้อมูลครบ จริง ๆ ทำเลียนแบบคล้าย ๆ MK ในด้านการสั่งอาหารและคิดเงิน แต่เราไม่ได้ทำส่วนของ flow นำเข้าห้องครัว แถมเราไม่มี Pocket PC ให้ลอง เลยทำ เป็น webbase แทน แต่กลับยุ่งยากและช้ากว่าวิธีเดิม ๆ เพราะเราไม่เข้าใจธรรมชาติของงานที่บางครั้งเขียน และกดเครื่องคิดเลขเองจะเร็วกว่า ถ้าจะทำให้ดี ต้องทำครบวงจรจริง ๆ คือมีระบบแจ้งเข้าครัวด้วย แต่ยากเข้าไปอีก เพราะครัวนั้นเอาคอมฯ เข้าไปคงพังภายในเดือนเดียว T_T เลยพับโครงการไป แต่ก็ยังคงคิดว่าจะทำยังไงกับตรงนี้ต่อดี เพราะถ้าทำได้ น่าจะนำออกจำหน่ายได้แน่ ๆ เพราะร้านอาหารแบบนี้มีเยอะมาก แต่ที่แน่ ๆ พ่อผมก็บอกไว้ว่า "ต้องไม่เบรคพฤติกรรมเก่า ๆ หรือปรับไม่มาก flow การทำงานต้องคงเดิม หรือปรับให้น้อยที่สุด เพราะเราทำงานร่วมกับคนหลากหลายแบบ หลากหลายวุฒิการศึกษา อย่าคิดว่าทุกคนฉลาดและเข้าใจเหมือนกับเรา" โดนเลยคำพูดนี้ เลยต้องนั่งปรับ ๆ แนวคิดเยอะมาก ๆ

จากตัวอย่างของผมเนี่ย บางครั้ง ถ้าเราเอาสิ่งที่เราเรียนมาพัฒนางานพื้น ๆ ภายในครอบครัวเรา และ/หรือนำเสนอต่อคนภายในสังคมเราก่อน ตอบโจทย์สังคมเราให้ได้ น่าจะเป็นทางออกที่ดี เพราะเท่าที่เห็น เรามักทำอะไรสนองตลาดที่กว้าง แต่มักลืมไปว่าช่องทางภายในสังคมเรายังมีอีกมากจนบางครั้งเราหลงลืมไปเยอะมาก

แถมด้วยปัญหาด้านลิขสิทธิ์ บางครั้งงานที่เรานำเผยแพร่ อาจจะดีกว่าของต่างชาติในเชิงความต้องการที่ตรงประเด็น แต่เพราะว่า option/feature เราอาจจะไม่มากมาย แต่โดนแนวคิดเก่า ๆ ทำลายไป เพราะเรามี option/feature น้อยกว่าเท่านั้น แนวคิดเดียวกับ "อาหารแช่แข็งไม่อร่อย"

ความรู้ตกรุ่นเร็ว (ภาคการศึกษาตอนที่ 2.1)

ผมเห็นหลายคนที่ไม่กล้าเขียนBlog กลัวคนอื่นจะดูแคลนว่าทำไม่ถูกทำไม่เก่ง กลัวว่าจะไปลดความเชื่อถือที่แบกมา ตั้งนานสองนานในฐานะผู้เป็นผู้เชี่ยวชาญต่างๆ มันก็จริงของท่านที่เคยเชี่ยวชาญตั้งแต่ปีมะโว้โน่น ไม่ทราบหรือไรว่ายุคสมัยนี้ความรู้ตกรุ่นเร็วยิ่งกว่ากางเกงในเปลี่ยนคอนเล็คชั่น

การที่จะดำรงความเชี่ยวชาญไว้ได้ จะต้องหมั่นเปลี่ยนดินเปลี่ยนไปปุ๋ยเป็นระยะๆ ไม่อย่างนั้นความรู้ก็จะอยู่ในกระถางบอนไซ ปลูกอะไรไว้ก็แคะแกร็นอยู่อย่างนั้น จะมาชื่นชมอนุรักนิยมเหมือนวัตถุโบราณไม่ได้หรอก ใครมีความรู้ต้องเปลี่ยนการอนุรักษ์มาเป็นการอนุแลก คือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันให้กว้างขวางไปเรื่อยๆ ไม่อย่างนั้นกระบวนการเรียนรู้ในบ้านเมืองเราก็ทำได้แต่ผิวๆ ไม่ก้าวหน้าถึงระดับที่จะสร้างชุดความรู้ฉบับแห่งชาติได้

ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

มันโดนใจบ้างไหม ? (ฉบับรวบรวมสิ่งโดนใจ ภาคการศึกษา ตอนที่ 2)

จะเห็นว่าต้องเคี่ยวเข็ญให้ใครต่อใครมาอบรมเรื่องคอมพิวเตอร์กันอย่างทรมาทรกรรม ร้อยไม่เอาสิบไม่เอา บังคับมากๆงอแงจะเออรี่ฯกันอีกแน๊ะ มีไม่ใช่น้อยนะคนที่อยากโยนผ้าขาว ทราบว่ามีตัวเลขสัดส่วนครึ่งต่อครึ่ง ผมมองว่านี้คือปัญหาของชาติ ที่เราจะต้องค้นหาวิธีการเรียนไอทีให้มีความสุขและโดนใจ ที่สำคัญเราจะต้องผลิตครูผู้สอนในด้านนี้ให้มี”ลูกเล่นอย่างมืออาชีพ” ให้มากที่สุด

ผมเจอมาบ้าง อาจารย์ที่สอนไม่ดูตาม้าตาเรือ ไม่คำนึงถึงหัวอกผู้เรียน เอาแผ่นใสที่กรอบจนเกรียบมาวางแล้วก็พ่นไปเรื่อย ไม่คำนึงถึงเนื้อหาและสาระที่สอนว่ามันเข้าท่ารึเปล่า เรามีอาจารย์ประเภทนี้มากแค่ไหนก็ไม่รู้ ที่ทำเอาการศึกษาตายด้านเป็นทุกข์ ไม่สนุกกับการเรียน จะหาความรู้ยังทุกข์ทรมานอีก เด็กที่ไหนมันจะสนใจเรียน คะครู

ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

มันโดนใจบ้างไหม ? (ฉบับรวบรวมสิ่งโดนใจ ภาคการศึกษา ตอนที่ 1)

นั่งไล่อ่าน Blog ของ อ.วรภัทร์ ภู่เจริญ แล้วมันโดนจริง ๆ สำหรับการศึกษาไทย ยิ่งอ่านยิ่งเศร้าใจ แต่สิ่งที่ อ.วรภัทร์ ภู่เจริญ พูดนั้นมันเป็นแบบนั้นจริง ๆ

มันน่าเศร้าไหมครับ ที่ เราเห็น ในมหาวิทยาลัยของรัฐ หลายแห่ง นักศึกษาออไปใช้ บริการรับจ้างทำวิทยานิพนธ์ บริการติววิชาระดับมหา ฯ แค่ กวดวิชา entrance ก็อัปยศแล้ว !!! นี่ กวดวิชา เพื่อ ทำเกรด ในมหา ฯ

http://gotoknow.org/blog/ariyachon/130835

“คนที่ชื่อว่าเป็นนักการศึกษามีพฤติกรรมการศึกษา (จะเรียกเรียนรู้ก็ได้) หรือ มีแค่ปริญญาการศึกษา กันแน่” ในทางกลับกัน “คนที่ไม่มีปริญญาการศึกษากลับมีพฤติกรรมการศึกษานั้นมีมากมาย” …… ตราบใดที่ยัง วัดผล ปริญญา กันด้วย ผลของการรับรู้ คิดตรงกับผู้สอน เอา information มาเข้าใจผิดว่าเป็น knowledge เรียนรู้แบบโดนยัดไม่เป็น constructionism learning ก็คง ได้ ปริญญาทางการศึกษาที่ไม่เรียนรู้ ไป บริหารการศึกษาต่อไป

http://gotoknow.org/blog/ariyachon/112400

โรงเรียนที่ เอาแต่ ค่าแปะเจี๊ยะ ก็จะได้ผู้ปกครองแบบ เสพนิยม เขาถือว่าเอาเงินฟาดหัว ครูได้ ผ้ปกครองแบบนี้ งกๆเค็มๆ มาเจอ ผู้บริหารโรงเรียนแบบงกๆเค็มๆ ไปด้วยกันได้พอดีเลย สุดท้าย ไปลูกศิษย์ งกๆ เค็ฒๆ ออกมาเป็น นักการเมืองโกงๆ แพทย์งกๆ วิศวกรไร้จิตใจ นักกฎหมายกระล่อน ครูอาจารย์หยิ่งจองหอง พ่อแม่อารมณ์ร้าย ทีวีบ้ากาม พ่อค้า นักการตลาด นักโฆษณาวิปริต ชาวนาโดนหลอก ฯลฯ

นักศึกษา นุ่งสั้น นมปลิ้น เป็น ผลพวง ของ ผู้ใหญ่ในสังคมครับ อย่าไปโทษเด็กเลย หัด “ดูตนเอง” ทำ reflection บ้าง เชิญหลายๆวงการ มามี ส่วนร่วม มามีความเป็นเจ้าของระบบการศึกษาบ้าง เช่น ทีวี สื่อหนังสือพมพ์ ดารา ข้าราชการ พ่อค้า พ่อแม่ ฯลฯ มา Show & share มาคุยกันดีๆ หยุดทะเลาะกันได้แล้ว !!!!!! Talk —> think —> theory —-> Trial —-talk —think —-> ฯลฯ

http://gotoknow.org/blog/ariyachon/112400

เก่งเฉพาะทาง รู้ลึกๆ แต่โง่กว้างๆ
คนหลายคน ชอบที่ จะ เก่งทางใดทางหนึ่ง แบบสุดๆ สุดโต่ง

ซึ่งผมก็เห็นด้วยไม่ว่าอะไร ….. เพียงแต่ จะถามว่า

* แน่ใจนะว่า ที่เก่งน่ะ เก่งสุดแล้ว
* หลงตนเองหรือเปล่า
* บ้ายอหรือเปล่า
* เก่งในรู คือ เก่งเฉพาะ ในประเทศหรือเปล่า หรือ แค่ในรั้วตนเอง
* เคยเฉลียวใจไหม
* ฯลฯ

ผมอุปมา เกี่ยวกับการใช้จอบ “ขุดดิน” ให้ฟังนะ

ถ้าเราขุดไปเรื่อยๆ ให้จอบ ด้ามเดียว จะขุกลึกได้ ระดับตื้นๆ เท่านั้นเอง (ลงลึก เรื่องใดเรื่องหนึ่ง) อย่างมาก ก็ไม่กี่ นิ้ว ไม่กี่ คืบ

แต่ ถ้าเรา ยอมเสียเวลา ขยายปากหลุมที่เราขุด —–> ไปเสือกๆเรื่องอื่นๆบ้าง ไปอ่าน ไปฟัง คนนอกวงการของเราบ้าง ไปสุนทรียสนทนากับคนโน คนนี้ ไปฟังคนประหลาดๆ วิจารณ์งานของเราบ้าง …… ” ไปเปิดหู เปิดตา และ เปิดใจ มองโลกด้วยมุมมองใหม่ ไม่ว่าจะร้าย หรือ จะดี …….” ไป คว้าจับ ข้อมูล แนวคิด สะกิดใจ ไปสร้าง sense ให้ตนเอง

ไม่น่าเชื่อครับ จะลงลึกเรื่องที่ตนเองถนัด ได้มากกว่าเดิม

ขุดลงลึกกว่าเดิม อาจจะเป็นเมตร เป็นกิโล เป็นโยชน์เลยก็ได้ ถ้า ได้เครื่องมือดีๆ ได้เพื่อนมาช่วยขุด

อย่าประมาทครับ อย่านึกว่าเป็น เซียนเรื่องหนึ่งๆแล้ว จะยกเลิกเรื่องอื่นๆ เห็นเรื่องของคนอื่น งี่เง่าไปหมด ของเรา จ๊าบกว่า …… นี่แหละ ที่ ขุดไว้กลับจะตื้นเขินได้ เฉยเลยน่ะ …..ตัว “หลง” นี่แหละ mental model มาขวางกั้นการเรียนรู้

“รู้กว้าง มาเสริมรู้ลึก” “ลึกมากไป ก็ตื้นได้”

ลึกมากไปตื้นได้ เพราะ ขอบหลุม ขอบบ่อ ถล่มลงมาทับตนเอง ฮ่าๆๆๆ

http://gotoknow.org/blog/ariyachon/104439

จาก อริยชน (อ.วรภัทร์ ภู่เจริญ)