ข้อควรทราบของการอัพเกรดมา Windows 10

พยายามหาข้อมูลมาให้ประมาณนี้ครับ

  • Windows 7 และ 8.1 สามารถ upgrade ไป Windows 10 ได้จนถึง ก.ค. 2559
  • จากที่ทดสอบส่วนตัว driver ส่วนใหญ่บน Windows 8.1 สามารถนำมาใช้กับ Windows 10 ได้
  • หากกำลังจะซื้อ Windows 10 แบบ OEM แนะนำให้ซื้อ Windows 8.1 OEM แทนจะได้ราคาถูกกว่า
  • หากต้องการใช้สิทธิ์ FPP บน Windows 10 จะต้องซื้อ Windows 10 FPP ต่างหากแยกมาเท่านั้น
  • หากใช้ Windows 7 และ 8.1 ที่เป็น OEM ก่อนอัพเกรด กลุ่มนี้หากอัพเกรดไป Windows 10 จะได้สิทธิ์ตาม OEM เดิมซึ่งจะไม่สามารถย้ายเครื่องได้
  • หากใช้ Windows 7 และ 8.1 แบบ FPP ก่อนอัพเกรด กลุ่มนี้จะย้ายเครื่องได้บนสิทธิ์ FPP ของ version เดิมจนถึงเดือน ก.ค. 2559  หลังจากนั้นแล้วหากอัพเกรดมา Windows 10 แล้วจะย้ายเครื่องตามสิทธิ์ FPP ของ version เก่าไม่ได้
  • Windows 8.1 ที่ซื้อ upgrade มาจาก Windows 7 จะได้สิทธิ์การอัพเกรดไป Windows 10 เช่นเดียวกัน แต่สิทธิ์นั้นเป็น FPP จะถือเป็นสิทธิ์ของ version เก่า หากอัพเกรดมา Windows 10 แล้วจะไม่สามารถย้ายเครื่องได้
  • การติดตั้ง Windows 10 สามารถ skip การใส่ Product Key ได้จนติดตั้งเสร็จและใช้งานได้ โดยมีคำเตือนแจ้งว่าตัว Windows 10 ที่ใช้งานอยู่ยังไม่ Activate ให้ทำการ Activate ซึ่งช่วยให้คนที่ต้องการลองใช้งานได้สามารถลองใช้งานได้สะดวกมากขึ้น
  • Windows 10 หากลงแบบ upgrade ผ่านแล้ว ให้เช็คว่าตัว Windows 10 นั้น Activate ผ่านเรียบร้อยแล้วหรือยัง ถ้า Activated แล้ว สามารถ clean install ได้ครับ โดยตอนที่ถาม product key ให้กด skip ไปเลยก็ได้ เพราะลงเสร็จแล้วตัว Windows จะทำการ Activate ให้เองอีกครั้งโดยไม่ถาม product key
  • หากใช้ Tablet ที่มี Windows 8.1 Single Language (with Bing) สามารถอัพเกรดไป Windows 10 Home Single Language ได้
  • ตัว Windows 8.1 Single Language (with Bing) สามารถอัพเกรดไป Windows 10 Home Single Language ได้ โดยรัน Media Creation Tool ของ Windows 10 บนเครืองนั้น จะมีตัวเลือกของ Windows 10 Home Single Language ให้โหลดเพิ่มเติม อย่าไปรันบนเครื่องอื่นที่ไม่ใช่ Windows 8.1 Single Language (with Bing) เพราะจะไม่มีตัวเลือกนี้ขึ้นมาให้ ส่วนการโหลดให้เลือก Architecture แบบ Both ไปเลย เพราะจะได้ไม่มีปัญหาว่า x86 หรือ x64 ทีหลังอีก

รวบรวมมาได้ประมาณนี้ครับ

ซื้อ SSD อย่าดูแต่ Throughput, Latency และ IOPS ให้ดูข้อมูล Endurance Rating ด้วย

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสทดสอบ SSD หลายรุ่น และ SSD ที่ใช้งานอยู่บางตัวมีปัญหาจนต้องซื้อใหม่ ผมเลยนำประสบการณ์ของปัญหา และมาเล่าเรื่องของ Endurance Rating เพื่อเอาไว้เลือกซื้อ SSD มาเล่าให้ฟังไว้ประกอบการซื้อ SSD ในครั้งต่อๆ ไป และถือเป็นการบันทึกช่วยจำให้กับตัวเองด้วย

Endurance Rating ที่ว่านี้ อ้างอิงจาก JESD218/JESD219 standard เพื่อนำไปใช้วัดผลการทดสอบความทนทานของ SSD รุ่นนั้น โดยค่าที่มักจะแสดงอยู่ใน Reliability Specifications มักจะบอกเป็นค่า Terabytes Written หรือตัวย่อ TBW ซึ่งแปลตรงๆ ว่า “จำนวนไบต์ที่สามารถเขียนลงไปได้ทั้งหมด” แน่นอนว่ามักจะมีขอบเขตเวลา ซึ่งโดยทั่วไปวัดจาก “อายุการรับประกันสินค้า” และบางยี่ห้อ หรือบาง Technical Specifications จะมีอีกคำหนึ่งคือ Drive Writes Per Day หรือตัวย่อว่า DWPD ซึ่งแปลตรงๆ ว่า “จำนวนข้อมูลที่เขียนลงบนไดรฟ์ต่อวัน” โดยเทียบกับขนาดพื้นที่ของตัว SSD ซึ่งวัดขอบเขตเวลาจากอายุการรับประกันเช่นเดียวกัน

เมื่อมี 2 ค่าดังกล่าว มักจะให้มาแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง เราสามารถแปลงค่าไป-กลับของทั้งสองข้างได้ด้วยวิธีคิดดังนี้

DWPD = TBW * 1024 / (Capacity * Warranty * 365)

SSD 120GB รับประกัน 5 ปี โดยให้ค่า TBW ไว้ที่ 70 แปลงเป็น DWPD จะได้ดังนี้

(70 * 1024) / (120 * 5 * 365)  = 0.3273059360730594 DWPD หรือประมาณ 0.33 DWPD

ส่วนบางรุ่นให้ DWPD มา เราก็แปลงเป็น TBW ได้ดังนี้

TBW = DWPD * Warranty * 365 * Capacity / 1,024

SSD 100GB รับประกัน 5 ปี โดยให้ค่า DWPD ไว้ที่ 10 แปลงเป็น TBW จะได้ดังนี้

10 * 5 * 365 * 100/1024 = 1,782.2265625 TBW หรือปประมาณ 1,782 TBW (1.78 PBW)

ซึ่งทั้งค่า TBW และ DWPD นั้นไม่ได้ระบุแบบคงตัวทั้งรุ่นนั้นๆ รวมๆ กัน แต่มักแยกตามความจุด้วย ดังตัวอย่าง Reliability Specifications  ของ Intel SSD DC S3500 และ Intel SSD DC S3700 ด้านล่าง ฉะนั้นต้องตรวจสอบให้ดีกว่าได้เท่าไหร่อย่างไรในแต่ละรุ่น

image

image

image

ซึ่งจากค่าดังกล่าวนี้ จะทำให้เห็นถึงความแตกต่างของ SSD แบบ consumer grade กับ enterprise grade จาก Endurance rating ได้ชัดเจนขึ้น และ consumer grade มักไม่ได้ให้ตัวเลขนี้มาใน Technical Specifications หรือให้มาก็มักจะแอบๆ ไว้ ตัวอย่างเช่น

  • Intel SSD 335 240 GB มีค่า TBW ที่ 21.4 (รับประกัน 5 ปี)
  • Intel SSD 530 240 GB มีค่า TBW ที่ 36.5 (รับประกัน 5 ปี)
  • Intel SSD DC S3500 240GB ทีค่า TBW ที่ 140 (รับประกัน 5 ปี)
  • Samsung SSD 840 Pro มีค่า TBW ที่ 73 (รับประกัน 5 ปี)
  • Samsung SSD 850 Pro มีค่า TBW ที่ 150 (รับประกัน 10 ปี)
  • Intel SSD DC S3700 200GB มีค่า TBW ที่ 3,650 TBW (3.65 PB) (รับประกัน 5 ปี)

และหากไปตรวจสอบราคาด้านบนจะเห็นว่าความจุพอๆ กัน แต่ราคาแต่ละรุ่นจะห่างกันเกือบเท่าตัวโดนวัดตาม TBW หรือ DWPD ที่สูงกว่าจะมีราคาแพงกว่า และแน่นอนว่า SSD พวก consumer grade ณ ตอนนี้อยู่ประมาณ 0.2 DWPD – 0.35 DWPD แล้วแต่รุ่นและราคา อย่างตัวที่เพิ่งออกมาและโฆษณาว่าทนทานมากในตลาด consumer grade อย่าง Samsung SSD 850 Pro หากเอามาเข้าสูตร DWPD แบบประกัน 5 ปีแล้วจะได้อยู่ที่ประมาณ 0.35 DWPD หรือ 0.175 DWPD หากคิดแบบประกัน 10 ปี ซึ่งถือว่าเป็น consumer grade ที่มี DWPD เทียบเท่า enterprise grade ในหลายๆ รุ่นเลย แต่แน่นอนว่าราคาก็ใกล้ๆ กันด้วย

ทำไมเราถึงสนใจตัวเลข DWPD และ TBW นัก หากเอามาใช้งานหนักๆ ผมขอนำข้อมูลเพิ่มเติมจากการใช้งานจริงของ Intel SSD 530 120 GB มีค่า TBW ที่ 36.5 โดย Intel รับประกัน 5 ปี มาฝาก ด้านล่างคือการตรวจสอบข้อมูลจาก SMART Details ของตัว SSD ซึ่งตัวนี้ใช้งานสุดโหดพอสมควร โดยตัวมันเองนั้นทำงาน 24×7 มาตลอดเกือบ 2 ปี โดยใช้กับงาน database อยู่ และใช้งานหนักระดับ 800 query/s โดยอ่าน-เขียนฐานข้อมูลหนักระดับ 100-300MB/s เป็นเวลาสิบกว่าชั่วโมงต่อวัน (ช่วง peak load) โดยระบุไว้เลยว่ามีเขียนไฟล์ไป 31.69 TB และอ่านไฟล์ไป 214.83TB แล้ว และเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา SSD ตัวนี้เริ่มมีอาการเขียนไฟล์ลงไปได้ช้าลงจน I/O วิ่งช้าระดับ 80% และหยุดทำงานไปถึง 3 ครั้งในเวลา 7 วัน โดยไม่ทราบสาเหตุ

Capture3

โดยเมื่อตรวจสอบด้วย Intel Solid-State Drive Toolbox แล้วพบว่า SMART Summary ใกล้ Warning และ Eslimated Life Remaining เหลือไม่ถึง 25% แล้ว และแน่นอนว่า ณ ตอนนี้คงไม่เสี่ยงกับ 25% ที่เหลือ เพราะอาการออกหนักมากในตอนนี้ตามที่บอกไปข้างต้น

Capture4

Capture1 Capture2

จากตัวอย่างที่แสดงให้เห็น จะเห็นว่า แม้ว่า Totals LBAs Written จะยังไม่ครบตาม TBW ใน datasheet แต่หากใกล้มากๆ ระดับนี้ก็มีความเสี่ยงมากพอที่จะทำให้ SSD เกิดปัญหาได้แล้ว และตอนนี้ส่วนตัวก็เปลี่ยนมาใช้ Intel SSD DC S3500 ที่มี TBW ที่ 70 TB ซึ่งมากกว่าตัวเก่าเท่าตัว แต่แน่นอนว่าการเปลี่ยนครั้งนี้จะมีการปรับในอนาคตเป็นตัวที่ดีกว่านี้ คือ Intel SSD DC S3700 Series ที่มี TBW ที่ 1,875 TB หรือทนทานกว่ามาก (แต่ราคาก็แพงกว่าเท่าตัวอีกเช่นกัน) โดยผลจากการเปลี่ยนทำให้ I/O ที่วิ่งอยู่พุ่งขึ้นไป 80% นั้นลดต่ำลงเหลือ 5-10% เท่านั้น

สำหรับคำแนะนำคนที่อ่านถึง ณ ตอนนี้คือ ใครใช้ SSD ดูก็ลองเช็ค Totals LBAs Written จากใน SMART Details ของตัว SSD ว่ามีค่าเท่าไหร่เมื่อเทียบกับข้อมูล TBW ใน datasheet ของรุ่นที่ใช้อยู่ เผื่อจะได้เตรียมตัวเปลี่ยนหรือสำรองข้อมูลได้ทัน แต่แน่นอนว่า consumer grade อาจจะหายากหน่อย อันนี้ก็คงแล้วแต่ยี่ห้อ-รุ่นว่าจะกล้าบอกคนซื้อมากแค่ไหน แน่นอนว่าการใช้ของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนไม่ได้อ่าน-เขียนไฟล์หนักๆ รุ่นถูกๆ มี Endurance Rating ไม่มาก ก็เพียงพอต่อความต้องการแล้ว แต่บางคนเอาไปใช้งานหนักๆ การดูเรื่องความทนทานผ่านค่า Endurance Rating ก็ช่วยให้มั่นใจในการใช้งานหนักๆ ได้มากขึ้น

หากคิดจะใช้ AIS mPay Rabbit SIM ควรทราบข้อกำหนดการ “การขอคืนมูลค่า” เสียก่อน

ส่วนตัวใช้ AIS mPay Rabbit SIM ซึ่งสนับสนุนมือถือ Android อยู่ แต่ตอนนี้ผมเปลี่ยนมาใช้ iPhone ซึ่ง SIM ดังกล่าวไม่สนับสนุน นั้นหมายความว่า หากจะเปลี่ยน SIM จะทำให้เงินและจำนวนเที่ยวภายใน SIM นั้นหายไปทันที 

แม้ว่าจะมีทางแก้ไขในส่วนของเงินที่อยู่ใน SIM โดยทำเรื่องขอคืนเงินได้ที่ ศ. Rabbit เสียก่อน แล้วจึงเปลี่ยน SIM ดังกล่าว แต่มีค่าธรรมเนียม 50 บาท และจำนวนเที่ยวที่อยู่ใน SIM จะไม่สามารถดึงออกมาได้ทำให้สูญเงินไปทั้งสองทาง ฉะนั้น หากอ้างอิงตาม FAQ แล้วนั้น

การขอคืนมูลค่าของ AIS mPay Rabbit SIM ไม่รวมถึงจำนวนเที่ยว แต่มีความหมายแค่จำนวนเงินเท่านั้น

2015-08-05_114747

ทั้งนี้ AIS mPay Rabbit เล่นคำว่า “การขอคืนมูลค่าคงเหลือ” เพื่อให้เราในฐานะผู้ใช้บริการเข้าใจผิดว่า “การขอคืนมูลค่า” หมายถึง “ทั้งจำนวนเงินและจำนวนเที่ยว” ซึ่งในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ ซึ่งเลวร้ายมาก

แน่นอนว่า ส่วนตัวผม ณ ตอนนี้คือทำ spare SIM โดย SIM หลักคือ iPhone ที่เป็น SIM ปรกติ ส่วน SIM สำรองคือเครื่อง Android ที่เป็น Rabbit SIM เพื่อให้ใช้งานบริการของ Rabbit ไปได้ก่อน โดยเสียเงิน 29 บาทต่อเดือน ซึ่งก็ยังถูกกว่าค่าธรรมเนียน 50 บาท และสูญจำนวนเที่ยวทั้งหมดกว่า 30 เที่ยวไป รวมแล้วเสียเงินเกือบพันบาทไปเสียเปล่าเปล่าๆ

น่าเสียดายบริการนี้ที่กลับมีข้อกำหนดที่กำกวมแบบนี้