ลองจับ LG Optimus G

เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2556 ที่ผ่านมา LG ประเทศไทย เชิญผมเข้า Workshop มือถือระดับ flagship ชื่อ LG Optimus G (รหัส E975) ซึ่งกำลังนำเข้ามาขายเร็วๆ นี้ ส่วนตัวยังไม่ทราบราคาแน่ชัดนัก แต่เดาๆ เอาว่าราคา 19,900 บาท (ผมเดาครับ ไม่ได้รับการยืนยันใดๆ ทั้งสิ้น) โดยเปิดตัวครั้งแรกที่เกาหลีเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา และผ่านมาได้ 4 เดือนกว่าๆ ก็ได้เวลาสำหรับประเทศไทยกันเสียที (ก่อนหน้านี้เปิดตัวที่เกาหลี ญี่ปุ่น แคนาดา และอเมริกา)

WP_20130227_015

มาดูที่ตัวเครื่องกันเลยดีกว่า ตัว LG Optimus G นั้นเป็นส่วนผสมของ LG Optimus 4X HD และ Nexus 4 เข้าด้วยกัน มองง่ายๆ คือ ตัว Form Factor หลักๆ เป็นแบบ LG Optimus 4X HD ที่ค่อนข้างเหลี่ยมและแบน และผสมเข้ากับกระจกด้านหลังมีเกล็ดสะท้อนแสงคล้าย Nexus 4 ซึ่งทำให้ในชุดที่จำหน่ายมีแถมฟิล์มกันรอยให้ทั้งด้านหน้าและหลังมาในกล่องด้วย (ถ้าไม่มีก็เรียกจากร้านได้เลย)

WP_20130227_048

WP_20130227_029 WP_20130227_035

ในด้านหน้าจอนั้นเป็น “True HD” IPS LCD (768×1280 pixels; 318ppi) ขนาด 4.7” โดยเป็น “gapless” panel โดยตัวกระจกเป็น Corning Gorilla Glass 2 ที่หลังกระจกเป็นจอ LCD เลยไม่มีฟิล์มขั้นกลางให้สีและแสงถูกตัดทอนไปแบบจอ LCD ปรกติ

ในด้านหน่วยประมวลผลกลางนั้นเป็น quad-core CPU จาก Qualcomm Snapdragon S4 Pro APQ8064 (1.5 GHz quad-core Qualcomm Krait) ที่ถือว่าเร็วมากสำหรับตลาดระดับบน พร้อมกับ RAM ที่ให้มาถึง 2GB และ Storage ที่ 32GB ให้เต็มๆ (ความเร็วดูได้จากวิดีโอด้านล่าง)

น้ำหนักตัวเครืองประมาณ 145 กรัม ขนาดตัวเครื่องใหญ่พอๆ กับ Nokia Lumia 920 แต่เบากว่าเยอะ

Battery ที่ให้มานั้นเป็น Li-Ion ที่ไม่สามารถถอดออกจากตัวเครื่องได้ ซึ่งมีความจุ 2,100 mAh ที่ LG พัฒนาตัว Battery ให้สามารถใช้ได้นานถึง 800 Cycle Charge แถมตัว Android ของ LG นั้นได้ปรับแต่งโดยมี “power saver” settings ซึ่งสามารถปรับการใช้งานไป eco mode เพื่อช่วยประหยัดพลังงานด้วย

ในด้านตัว OS นั้นเป็น Android ICS อยู่ แต่ LG บอกว่าตัวขายจริงอาจมีการปรับแต่ง ROM เพิ่มเติมอีกครั้งเพื่อให้พร้อมขายกับคนไทยด้วย แต่ในงานก็ได้ลองปรับดูว่ามีคีย์บอร์ดไทยหรือไม่ ซึ่งก็ปรากฎว่ามี ก็ลองดูกันว่าคีย์บอร์ดทีให้มาพร้อมตัว OS นั้นโอเคหรือไม่ (แต่โหลดเพิ่มได้อยู่ดี)

WP_20130227_040 WP_20130227_037

WP_20130227_047

สำหรับของแถมอีกอย่างที่จะแถม คงเป็นเคสที่ให้มาในกล่อง ซึ่งเป็นเซ็ตของ LG Optimus G ที่ขายในไทยเลย รูปแบบไม่แตกต่างจาก LG Optimus 4X HD  ที่ขายไปเมื่อไม่นานมานี้แต่อย่างใด คล้ายๆ กันนะเท่าที่ดู

WP_20130227_017 WP_20130227_019

WP_20130227_021

ส่วนอื่นๆ ที่โน็ตๆ มานั้น ผมขอสรุปตามนี้

  • ตัวเครื่องนั้นต้องบอกว่าวัสดุคล้ายๆ กับ Nexus 4 เป็นส่วนใหญ่
  • งานออกแบบเอา LG Optimus 4X HD มาเป็นฐานแล้วเอา Nexus 4 มาแต่งๆ ใส่ลวดลายและกระจกหน้า-หลังลงไปให้ดูสวยขึ้น
  • จอภาพสวยงามสบายตาดี ถ้าให้เทียบกับ Nokia Lumia 920 แล้ว พอๆ กันเลย แต่สีของ LG จะจัดกว่าหน่อย คนที่ไม่ชอบ AMOLED อาจจะชอบตัวนี้ (ดูๆ แล้วไม่เหลืองด้วยนะ)
  • ในด้านความเร็วในการตอบสนองของ UI ดีมาก (ดูได้จากวิดีโอด้านบน) แต่ซึ่งถ้าเทียบกับ Nokia Lumia 920 แล้วคงต้องบอกว่า ลื่นในลักษณะที่ไม่เหมือนกัน (บอกไม่ถูก แต่มันติดนิ้วคนละแบบจริงๆ)
  • กล้องด้านหลัง 13MP ให้มาเกินพอ ภาพในที่แสงน้อยทำได้ดี ISO 800 ให้คุณภาพของภาพที่ถือว่าไม่ทำให้ผิดหวัง (ภาพจากกล้องอยู่ด้านล่าง)
  • กล้องด้านหน้า 1.3MP ตามสมัยนิยม ไม่มีอะไรใหม่เท่าไหร่ในส่วนนี้ (ถ่ายวิดีโอจากกล้องหน้าได้ 720p ด้วยนะ)
  • ตัววิดีโอที่ถ่ายออกมาแล้วภาพคมชัดดีมาก (ภาพจากกล้องอยู่ด้านล่างอัพขึ้น Youtube ให้แล้ว) รองรับ Full HD video (1080p) ที่ 30 fps
  • App ถ่ายรูปและถ่ายวิดีโอพัฒนาในด้านการใช้งานเพิ่มขึ้นและน่าสนใจ อย่างเช่น Time catch shot ถ่ายรูปภาพหลายๆ รูป แล้วเลือกรูปที่ดีที่สุด หรือ cheese shutter ใช้เสียงจากการออกเสียงที่เป็นการอ้าปากที่ทำให้ยิ้มแล้วกล้องจะถ่ายให้ ชื่อคุณสมบัติตรงๆ ตัวมาก
  • ช่องเสียบหูฟังเป็นช่องแบบ 3.5 mm stereo audio jack ส่วนตัวแล้วถือว่าโอเค ตัวหูฟังไม่เห็นตัวจริง เลยไม่รู้ว่าสวยแบบในรูปไหม (เห็นเค้าว่าหูฟังเสียงดีมากๆ แต่เสียดายไม่เห็นและฟังของจริง)
  • การเชื่อมต่ออย่าง Wi-Fi 802.11 a/b/g/n, Bluetooth 4.0 + A2DP และ NFC มีมาให้พร้อม เปิด Wi-Fi Hotspot ได้ รองรับ DLNA
  • ช่องเชื่อมต่ออย่าง micro-USB 2.0 (5-pin) ที่รองรับทั้ง MHL for USB หรือ HDMI connection
  • เรื่องความถี่ในการใช้งานนั้นคงทั่วๆ ไปก็คือ 2G, 3G และ 4G LTE

สรุปโดยส่วนตัวแล้วนั้น รอดูของจริงที่ Shop ใกล้บ้าน อยากให้ไปลองจับลองเล่นดูก่อน ส่วนตัวผมจากที่ให้แม่ใช้ LG Optimus 4X HD มา 2 เดือนกว่าๆ ต้องบอกว่า LG มาเงียบๆ แต่งานประกอบคุณภาพค่อนข้างดีครับ แม่ผมชอบงานประกอบมาก เมื่อเทียบกับ Samsung Galaxy S3 ของเพื่อนแม่ (´∇`)メ

ไฟล์วิดีโอจากกล้อง LG Optimus G

รูปภาพจากกล้อง LG Optimus G

ปล. สภาพแสดงในร้านอาหารตอน present อาจไม่คมชัดเท่าไหร่มัก เพราะ ISO 800 ครับ ต้องลองในสภาพแสงแดดปรกติดู

CAM00012

CAM00009

CAM00010

เป็น Programmer/Developer งานมันเครียด

อาชีพ Programmer กับ Developer งานมันเครียด พาลเส้นเลือดในสมองจะแตกตาย ได้ง่ายๆ จะตายโดยไม่ได้ใช้ตังเนี่ยแหละ

หลังๆ เลยพยายามให้วันอาทิตย์คือ 1 วันใน 7 วันที่พักจริงๆ จังๆ ไม่ยุ่งกับงานเลย (ถ้าไม่ critical ระดับระบบล่ม มี critical bug นะ) คือได้พักวันนึงเต็มๆ นั่งอ่านโน้นนี่ ลองของไปเรื่อยๆ ได้หาอะไรใหม่ๆ ทำหรือเล่น หรือแบบเบื่อมากๆ ก็ไปเที่ยวแม่มเลย ใครมาอี๊ดๆ ติดต่องานวันนั้นจะไม่รับเลย จะให้อีเมลแจ้งเท่านั้น (มีเวลาตั้ง 7 วัน กูขอวันหนึ่งเหอะ กูขอหล่ะ)

คือไอ้ 1 วันที่ว่าเนี่ย อาจเป็น 1 วันที่ได้ศึกษาอะไรใหม่ๆ ด้วย งานด้าน IT มันต้องอัพตัวเองตลอด มันมีอะไรใหม่ เจออะไรมาก ทำอะไรได้บ้าง คือเราทำงานด้าน Solution มันต้องรู้อะไรใหม่ๆ ตลอด ศึกษาเรื่อยๆ ไม่ใช่หยุดอยู่กับที่ ไม่งั้นเราจะตามหลังแน่ๆ

ผมเชื่อแล้วว่า “คนที่เป็นโปรแกรมเมอร์ได้ยาวนานนั้น ต้อง Born to be จริงๆ”

Official Twitter App for Windows Phone 8 สวยงามน่าใช้มาก!!!

วันนี้ช่วงประมาณตี 1 ของประเทศไทย (วันที่ 27 ก.พ. 2556)  Twitter ได้ปล่อย Official Twitter App for Windows Phone 8 ออกมาให้ได้ใช้กัน

รายละเอียด

  • Faster performance
  • Lock screen and custom Live Tile that show your notifications
  • Direct access to your favorite profiles and lists optimizing Windows Phone "pinning" functionality
  • Streamlined navigation brings you the new Home, Connect, Discover and Me tabs
  • Engage with the best Twitter content available in the Discover tab, as well as Trends, browse categories, find friends, and suggestions about Who To Follow
  • Enjoy your Retweets, favorites, follows, mentions and replies in the Connect tab, or filter your mentions and replies only

Download Twitter App for Windows Phone 8

จากที่ใช้ๆ มาโดยรวมแล้วหลายๆ อย่างที่มีก็เป็นสิ่งที่อยากได้ใน Rowi นะ แล้วมันก็มีมาด้วย หรืออย่างใน Mehdoh ก็มีเช่นกัน ไม่มีอะไรให้ settings เยอะ แต่โดยรวมมีมาให้ครบและลงตัวนะ จากที่ใช้ๆ เร็วๆ แล้วตอนนี้ก็ลบทั้งสองตัวที่ว่าออก แล้วใช้ตัวนี้ตัวเดียวพอ สัก 2-3 วันน่าจะรู้แล้วว่าจะสะดวกกว่าจริงแค่ไหนนะ

 

13105_10151427456110275_1767017735_n

ถ้าอยากใช้ Windows Azure Virtual Machines เค้าคิดราคากันยังไง…

จาก จ่ายเท่าที่ใช้งานกับ Cloud Virtual Machines ซึ่งเป็นแนวคิดเรื่อง deploy ตัวงานขึ้น Windows Azure Virtual Machines นั้น มีหลายคนอยากรู้ว่าราคามันเท่าไหร่เมื่อคิดราคาต่อเดือน ดูตามด้านล่างได้เลยครับ

ผมเสนอแผนและราคาไปคือ Windows Azure Virtual Machines (WAVM) และ GoDaddy.com Secure Sockets Layer (SSL) เพราะเป็นงานด้านเว็บธุรกิจ มีการสื่อสารข้อมูลสำคัญเยอะ เลยมี SSL ด้วย

Windows Azure Virtual Machines (WAVM)

  • Operating System: Linux Virtual Machines (Ubuntu Server 12.04 LTS)
  • Compute: 1 x Extra small VM (Shared 1GHz CPU x 1 core, 768MB RAM)
  • Storage (Geo Redundant): 100GB (IDC Southeast Asia in Singapore and IDC East Asia in Hong Kong/China)
  • Bandwidth: 45GB/mo

GoDaddy.com Secure Sockets Layer (SSL)

  • Standard SSL
  • 1 certificate protects www.domain.com AND domain.com
  • 24/7 live support
  • SSL Installation Tool
  • Site seal options

ราคาที่คิดไว้คือ (Pricing)

  • Compute: $9.36/mo ($0.013/hr)
  • Storage: $9.50/mo
  • Bandwidth: $4.80/mo
  • Standard SSL: $69.99/yr (ถ้ามีคูปองราคาก็ถูกลงไปอีก)

รวมทั้งหมด (Total)

  • WAVM: $23.66/mo (~750Baht/mo)
  • Standard SSL: $69.99/yr (~2,100Baht/yr)

หรือตกปีละประมาณ 11,100 บาท โดยประมาณ (แต่ถ้าเพิ่ม Compute ในบางช่วง หรือัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้น ราคาก็แตกต่างกันไปอีก)

อ้างอิงราคาจาก (Pricing Ref.)

จะเห็นว่าราคาอาจดูสูง แต่ดู Storage (Geo Redundant) ขนาด 100GB และ Bandwidth ขนาด 45GB ต่อเดือน ก็ถือว่าเยอะเมื่อเทียบกับ Hosting โดยทั่วไป ซึ่งถ้าใช้ Storage และ Bandwidth น้อยกว่านี้ราคาก็ถูกลงไปอีก ไม่ได้จ่ายเผื่อแบบจองไว้แบบ Hosting ที่เราๆ ใช้ๆ กันแต่อย่างใด (อย่างที่บอก ใช้เท่าไหร่ จ่ายเท่านั้น) แถมถ้าเป็นช่วงแรกๆ ทดสอบระบบ Bandwidth ใช้ไม่ถึง 5GB ก็ฟรีอีก ไม่ต้องจ่ายเงินแต่อย่างใด ก็ประหยัดไปอีกครับ ลองเอาไปคำนวณเล่นๆ กันดู เผื่อคันไม้คันมืออยากลอง ตอนนี้ Azure มี Trial Account ด้วยนะ ใช้ฟรี 3 เดือน (อยู่ในข้อกำหนดที่พอเอาไปทดลองใช้งานได้สบายๆ เลย)

เมื่อ Windows Azure ไม่ให้ ping ก็ใช้ tcping แทนซิ

การ ping เป็นการใช้ ICMP ในการเรียกเข้าไปยัง Server ปลายทาง ปรกติเอาไว้ทดสอบเรื่องการตอบสนองของ Server ปลายทางว่ายังมีการตอบสนองอยู่หรือไม่ และมีความเร็วในการตอบสนองดีอยู่หรือเปล่า (พื้นฐานทั่วไปใช้ประมาณนี้)

แต่ทีนี้ Windows Azure ดันไม่ยอมให้ ICMP เข้าไปที่ Virtual Machines ด้านหลัง Firewall วิธีที่น่าจะโอเคที่สุดคือตรวจสอบด้วยการ GET ข้อมูลผ่าน TCP แทนว่า service ตัวนั้นยังเปิดใช้งานอยู่หรือไม่ ซึ่งแน่นอนว่าต้องมี service บน port ตรงนั้นก่อน แล้วเปิด Endpoint ที่ port นั้นด้วย

โดยแน่นอนว่าเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบว่า port นั้นเปิดอยู่หรือไม่นั้นก็มีเยอะนะ แต่ว่าไม่มีตัวไหนเล็กเท่ากับเจ้า tcping.exe – ping over a tcp connection (http://www.elifulkerson.com/projects/tcping.php) โดยเป็น console application ขนาดเล็ก ที่ทำงานบน Win32 Console ซึ่งทำงานได้บน Windows XP, Vista, 7 และที่ผมใช้อยู่อย่าง Windows 8 ซึ่งเจ้าตัวนี้เป็น license แบบ GPL ที่ตัวหน้าเว็บหลักมี source code ให้สำหรับเผื่อเอาไปพัฒนาต่อได้เองด้วย

ตัว tcping.exe เป็น console application เล็กๆ ที่ทำงานคล้ายๆ กับ ping แต่ทำงานบน tcp protocal ทำให้มันมีความสามารถที่มากกว่า ping ที่ใช้ๆ กันเพียงแค่ request/response ตามปรกติ

ตัว tcping.exe เองนั้น default port ที่ใช้คือ port 80 (http service)

C:\Users\Annop>tcping thaicyberpoint.com

Probing 168.63.238.30:80/tcp - Port is open - time=56.492ms
Probing 168.63.238.30:80/tcp - Port is open - time=55.441ms
Probing 168.63.238.30:80/tcp - Port is open - time=44.554ms
Probing 168.63.238.30:80/tcp - Port is open - time=62.413ms

Ping statistics for 168.63.238.30:80
4 probes sent.
4 successful, 0 failed.
Approximate trip times in milli-seconds:
Minimum = 44.554ms, Maximum = 62.413ms, Average = 54.725ms

แต่ถ้าต้องการที่จะตรวจสอบ port อื่นๆ ก็สามารถกำหนดได้ด้วยการใส่หมายเลข port อื่นๆ ต่อท้ายเอา

C:\Users\Annop>tcping thaicyberpoint.com 22

Probing 168.63.238.30:22/tcp - Port is open - time=79.934ms
Probing 168.63.238.30:22/tcp - Port is open - time=60.144ms
Probing 168.63.238.30:22/tcp - Port is open - time=67.704ms
Probing 168.63.238.30:22/tcp - Port is open - time=61.353ms

Ping statistics for 168.63.238.30:22
4 probes sent.
4 successful, 0 failed.
Approximate trip times in milli-seconds:
Minimum = 60.144ms, Maximum = 79.934ms, Average = 67.284ms

และถ้าต้องการทดสอบความเร็วอื่นๆ นอกจาก response time ปรกติ ก็ใส่ -h เข้าไป ก็ได้ข้อมูลเพิ่มเติมมาอีกพอสมควร

C:\Users\Annop>tcping -h thaicyberpoint.com
** Requesting "" from thaicyberpoint.com:
(for various reasons, kbit/s is an approximation)

Probing 168.63.238.30:80/tcp - HTTP is open - time=39.916ms rcv_time=98.247 status=302 bytes=363 kbit/s=~29.558
Probing 168.63.238.30:80/tcp - HTTP is open - time=34.371ms rcv_time=60.109 status=302 bytes=363 kbit/s=~48.312
Probing 168.63.238.30:80/tcp - HTTP is open - time=35.718ms rcv_time=100.248 status=302 bytes=363 kbit/s=~28.968
Probing 168.63.238.30:80/tcp - HTTP is open - time=36.757ms rcv_time=77.558 status=302 bytes=363 kbit/s=~37.443

Ping statistics for 168.63.238.30:80
4 probes sent.
4 successful, 0 failed.
Approximate trip times in milli-seconds:
Minimum = 34.371ms, Maximum = 39.916ms, Average = 36.691ms
Approximate download times in milli-seconds:
Minimum = 60.109ms, Maximum = 100.248ms, Average = 84.041ms

สุดท้ายก็หวังว่าหลายๆ คนที่ใช้พวก cloud service จะได้ทำความเข้าใจข้อจำกัดบางอย่างและหาวิธีแก้ไขกันเพื่อให้เราสามารถทำงานได้ต่อไปครับ

การใช้งาน (นำมาจากเว็บ project)

Usage: tcping [-t] [-d] [-i interval] [-n times] server-address [server-port]

-t   : ping continuously until stopped via control-c
-n 5 : for instance, send 5 pings
-i 5 : for instance, ping every 5 seconds
-w 100 : for instance, wait 100 milliseconds for a response
-d   : include date and time on each line
-b 1 : enable beeps (1 for on-down, 2 for on-up,
3 for on-change, 4 for always)
-r 5 : for instance, relookup the hostname every 5 pings
-s   : automatically exit on a successful ping
-v   : print version and exit
-d   : include date and time on each line

HTTP Options:
-h   : HTTP mode (use url without http:// for server-address)
-u   : include target URL on each line
-p   : use POST rather than GET (to avoid caching)

Debug Options:
-o   : use alternate timing function (less precise)
-f   : force tcping to send at least one byte

If you don't pass server-port, it defaults to 80.