ความคืบหน้า PHP Hoffman Framework (3)

จากตอนที่แล้ว ความคืบหน้า PHP Hoffman Framework (2) ได้ปรับเปลี่ยนการ config จาก ini มาเป็น array ใน php แทนแล้ว ได้ทำการปรับ routing จากตั้งใน xml มาเป็น array ใน php เช่นกัน ทำให้ลดเวลาในการ parse ข้อมูลได้

เป็นแบบนี้ครับ

$Rounting['keywords'] = array(
    ':controller' => '[a-zA-Z][a-zA-Z0-9_\-]*', // Default
    ':action' => '[a-zA-Z][a-zA-Z0-9_\-]*' // Default
);

$Rounting['map'] = array(
    'login' => 'user/login',
    'userdetail' => 'user/detail',
    ':controller/:action' => null // Default
);

เหตุผลต่อมาในการทำแบบนี้เพราะ เราสามารถนำไปทำ cache ได้ง่ายขึ้นด้วยครับ

หลาย ๆ คนถามมาว่าทำไมเปลียนแปลงส่วน config ใหม่ ทั้ง ๆ ที่น่าจะดีอยู่แล้ว เหตุผลง่าย ๆ ก็คือลดการประมวลผลที่ไม่จำเป็นในการประมวลผลส่วนการตั้งค่าระบบไปซะ อีกอย่าง array ใน php ก็ทำความเข้าใจไม่ยากนัก ทำให้การปรับมาใช้ไม่ทำให้สวยความง่ายลงไปครับ

อาจจะทำ tools สำหรับ generate ตัว routing ด้วยก็ไม่ยากนักครับ

ความคืบหน้า PHP Hoffman Framework (2)

หลังจาก ความคืบหน้า PHP Hoffman Framework มีข้อเสนอแนะมาเกี่ยวกับ routing ที่เป็น xml กับ config ที่เป็น ini ทั้ง ทาง im และ comment (แต่ใน comment มีแค่ 4 คน)

จาก comment ของคุณ kaze เรื่อง config แบบ ini เมื่อเอามานั่งไล่ดู แล้วเห็นตรงกันกับคุณ kaze ตอนนี้เลยทำการปรับเปลี่ยนไปใช้ array และ convert ตัว array เป็น object แทน ซะ แต่ยังคงความสามารถ inherit ตัว config ไว้เพื่อความสะดวกในการขึ้น production app ได้ ตอนนี้เลยปรับเปลี่ยนจาก ini เป็น Array ใน php แทน

ตอนนี้เลยใช้เป็นแบบนี้ครับ

$Config['Production']['WebHost'] = 'http://localhost';
$Config['Production']['UseCleanUrl'] = true;
$Config['Production']['UseRoutesCache'] = false;
$Config['Production']['BaseUrl'] =  '/PHM2';
$Config['Production']['RenderViewDebugging'] = false;
$Config['Production']['RenderViewCompileCheck'] = false;
$Config['Production']['RenderViewCache'] = false;
$Config['Production']['ArgSeparator'] = ';';

$Config['Production']['Database']['Default'] = 'mysqli://root:1234@localhost:3007/production_album';
$Config['Production']['Database']['ReadServer'] = 'mysqli://root:1234@localhost:3008/production_album';
$Config['Development']['Database']['Default'] = 'mysqli://root:1234@localhost:3008/development_album';
$Config['Test']['Database']['Default'] = 'mysqli://root:1234@localhost/test_album';

โดน Dimension แรกเป็นตัวกำหนด config ว่าจะเป็น environment ไหน ส่วนตัวต่อมาก็เป็น dimension ของ ตัวที่เอาไปตั้งค่าจริง ๆ ส่วน ของ database จะเรื่องมากกว่าหน่อยตรงที่มีหลาย ๆ profile เผื่อในกรณีที่มีการใช้งานข้าม database หรือข้าม server กัน

อันนี้คือการเปลี่ยนส่วนของ config อีกรอบนึง แต่ดู ๆ แล้วน่าจะดีกว่าเดิมในแง่ของการไม่ต้อง parse ตัว ini ออกมา

ส่วน routing กำลังคิด ๆ อยู่ว่าจะเอาไงดี อาจจะปรับมาใช้แบบเดียวกันเลย เพื่อลดเวลาการ parse ข้อมูลลอง xml ด้วย

ส่วนเวลาเรียกใช้ก็ อ้างอิงแบบ Object ซะ โดยตัวอย่างด้านล่างก็ต้องเอาข้อมูล user ของ Database ที่เป็น Default ออกมา

echo $applicationConfigurations->Database->Default->user;

[Update 08/02/2007 00:21]

ตอนนี้ลดรูปลงมาให้ดูง่ายขึ้น (หรือเปล่า) มาเป็นแบบนี้ครับ

$Config['Production'] = array(
    'WebHost'=>'http://localhost',
    'UseCleanUrl'=>true,
    'UseRoutesCache'=>false,
    'BaseUrl'=>'/PHM2',
    'RenderViewDebugging'=>false,
    'RenderViewCompileCheck'=>false,
    'RenderViewCache'=>false,
    'ArgSeparator'=>';',
    'Database'=> array(
        'Default'=>'mysqli://root:1234@localhost:3007/production_album',
        'ReadServer'=>'mysqli://root:1234@localhost:3008/production_album'
    )
);

$Config['Development'] = array(
    'Database'=> array(
        'Default'=>'mysqli://root:1234@localhost:3007/development_album'
    )
);

$Config['Test'] = array(
    'Database'=> array(
        'Default'=>'mysqli://root:1234@localhost:3007/test_album'
    )
);

ความคืบหน้า PHP Hoffman Framework

  • ทำการ redesign ตัว clean url ใหม่อีกรอบ ด้วยการกลับมาใช้แบบเดิมเมื่อตอนออกแบบครั้งแรกคือ controller/action แทน ส่วนต้องการแก้ไข url ใหม่ ก็เพิ่มลงไปใน xml เอา โดย default คือ <map pattern=”:controller/:action” /> ถ้าต้องการใช้ user/login เป็น login เฉย ๆ ก็ <map pattern=”login” action=”user/login” /> แทนซะ หรือถ้าต้องการ rewrite ตัว url ที่มีการส่ง value ด้วยก็ <map pattern=”news” action=”page/show/1″ /> แทนก็ได้เช่นกัน โดยในรุ่นต่อไปจะมี plugin เสริมสำหรับการ hook ตัว xml ตัวนี้ให้ไปใช้ database ได้ แบบเดียวกับ drupal แทนช้าลงและโหลด db มากขึ้น กำลังจุดลงตัวในส่วนนี้ โดย clean url นี้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเยอะกว่าเดิมมาก และลดความซับซ้อนในการตั้งค่าลงไปเยอะด้วย แต่ต้องแลกกับความยืดหยุ่นบางส่วนไป แต่ถ้าว่า ok กว่าเดิมมาก ๆ ในตอนนี้
  • หน้า error handler page นั้น ok แล้ว เพื่อดักข้อผิดพลาดในกรณีไฟล์ของ controller หรือ view ไม่มี รวมถึง arguments ไม่ครบเมื่อ controller ไป handle ตัว action
  • ตัว config ไฟล์ใน .ini file และสามารถทำ inherit config ได้ด้วย เช่น
[production]
database.default.type=mysql
database.default.hostname=localhost
database.default.username=root
database.default.password=1234
database.default.name=album

[development : production]
database.default.hostname = localhost
database.default.username = root
database.default.password = 1234
  • เมื่อเราเลือก production เป็น environment มันจะไปดึงตัว config มาของ production มา แต่ถ้าใช้  development ก็จะไปดึงส่วนของ development ที่ override ตัว production มาใช้เท่านั้น ทำให้ลดการตั้งค่าลงไปเยอะ
  • ในส่วนของ Model layer มี 3 ทางเลือกให้ extends มาใช้งานได้ คือ Zend_Db, Doctrine หรือ LogicModel (ตัวนี้ผมเขียนเอง สนับสนุนแค่ MySQL เท่านั้น) โดยใครถนัดแบบไหนก็ใช้แบบนั้นได้เลย เพียงแค่ตั้งค่าใน Model แต่ละตัวว่าจะใช้แบบไหน กำลังหาจุดลงตัวเพื่อให้เราสามารถใช้ Model ได้หลากหลายรูปแบบการ extends จาก 3 ทางเลือก บางครั้ง Model บางตัวอาจจะเหมาะกับ Doctrine มากกว่า 2 ตัวที่เหลืออะไรแบบนั้น และอาจจะรองรับการเขียนด้วย function mysql(i) เดิม ๆ ได้ด้วย โดยผมมองว่า Model นั้นเป็น Business logic ซึ่งควรมี performance สูงที่สุดในการเขียนและนำไปใช้งานครับ
  • การส่งข้อมูลจาก controller ไปหา view นั้นใช้การ return ของ action ใน controller นั้น โดยการส่งข้อมูลแบบตัวแปรเดียวก็ได้ หรือส่งเป็น array ออกไปก็ได้ โดยส่งเป็น array จะทำการ fetch ข้อมูลให้ชั้นนึงเพื่อส่งผ่านเป็นตัวแปรนึงใน view ให้เลย โดยใช้การ map key เป็นชื่อตัวแปรใน dimension ที่ 1 ของ array ซะ
  • พยายามเอา ORM หลาย ๆ ตัวมาใช้ร่วมกันใน Model เพื่อลดการยึดติดของระบบกับรูปแบบ ORM ของตัวใดตัวหนึ่ง
  • ยังคงใช้ Zend แบบหลักในการพัฒนาระบบภายในเช่นเดิม

ตอนนี้โดยรวมพยายาปั้นตัวแรกออกมาให้ได้ก่อน เพื่อเอามารับคำติของทุกท่านครับ เพื่อเอามาพัฒนาต่อไปครับผม

เปิดตัว NungSueDD.com เว็บร่วมด้วยช่วยกันแนะนำหนังสือดี ๆ

หลังจากจดชื่อนี้มาได้สัก 1 เดือนได้ และทำการ setup ตัว Drupal ตัวล่าสุดและ module ต่าง ๆ พอสมควร ตอนนี้ก็พอสามารถเปิดให้ใช้งานได้แล้วในวันนี้ อาจจะไม่สมบูรณ์นักในตอนนี้ แต่อยากให้คนที่อ่านหนังสือ และประทับใจหนังสือที่ตัวเองอ่านมาช่วยกันแนะนำหนังสือของตนครับ

ที่ http://www.nungsuedd.com / NungSueDD.com ครับ

โดยตัวระบบสมาชิกรองรับ OpenID เพื่อสะดวกสำหรับคนที่มี OpenID อยู่แล้วครับ

โดย user ที่สมัครจะได้พื้นที่สำหรับ upload ไฟล์คนละ 20MB ครับ และ 150KB ต่อไฟล์ เพื่อใช้สำหรับ upload ไฟล์รูปภาพหนังสือต่าง ๆ ครับ

image

โดยสามารถ upload ไฟล์เป็นไฟล์แน็บได้ผ่านระบบไฟล์แน็บ

image

มีระบบ Editor ที่ช่วยในการเขียน ซึ่งจะมีการปรับปรุงต่อไป เพื่อมีลูกเล่นเพิ่มเติมลงไปอีกครับ

image

โดยการเขียนนั้น เราได้เตรียมส่วนของข้อมูลของหนังสือไว้ให้เลย เพื่อความสะดวกในการสืบค้นต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ

image

ส่วนเรื่องของราคาของหนังสือผมได้ทำตัวเลือกของสำหรับอัตราแลกเปลี่ยนให้ด้วยครับ เพื่อเหมาะสมในการค้นหา และคำนวณกลับไปมาได้ครับผม

โดยในส่วนของการกรอกข้อมูลจะมี ISBN ทั้งแบบ 10 และ 13 ครับ เพื่อนำไปสืบค้นต่อได้ทั้งในห้องสมุดและนำไปซื้อได้ในร้านหนังสือและเว็บขายหนังสือต่าง ๆ ครับ

นี่อาจจะเป็นก้าวแรกในการทำเว็บหนังสือเว็บแรกของผม ผมเป็นคนชอบอ่านหนังสือ แต่หาเว็บแนะนำหนังสือที่มีระบบจัดการภายในที่ดีนั้นในไทยยังหาไม่ได้ และผมคิดว่าถ้าอยากได้ต้องทำเอง เลยทำมันลงไปซะเลย ถ้าไม่ดียังไง ท่านคือผู้สร้างเนื้อหาสามารถร่วมด้วยช่วยกันแนะนำ ติชมระบบจัดการภายในได้ที่ผมครับ ผมจะปรับปรุงระบบให้ระบบใช้งานง่ายมากขึ้นครับ

ตอนนี้ระบบยังไม่นิ่ง แต่จะไม่ทำให้ข้อมูลที่ท่านใส่หายไปครับ ;)