Hoffman Framework เอา Smarty ออกจาก Components หลักแล้ว

ช่วงนี้ไม่ได้บอกถึงความเปลี่ยนแปลงของ Framework ตัวนี้เลยเกือบ ๆ เดือน เพราะว่าผมเปลี่ยนงานใหม่ครับ เลยต้องนั่งเคลียร์งานที่ค้างกับบริษัทเก่า เลยแทบไม่ได้จับเลย แต่ก็หาเวลาว่ามานั่งไล่ดูระบบภาพรวมโดยทั้งหมด สิ่งที่ผมเปลี่ยนแปลงตัวระบบ runtime มากที่สุดครั้งหนึ่งในการทำ Framework ตัวนี้คือเอา Smarty ออกไป (แต่ถ้าอยากเอากลับมาก็ทำได้ไม่ยาก เดี่ยวจะเขียนวิธีการอีกทีนึงสำหรับคนที่อยากเอา Smarty หรือ Template-engine ตัวอื่น ๆ มาใส่) ซึ่งตัวโครงสร้าง RenderView นี่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมาก นอกจากเอา Smarty ออกไป และสร้าง method ที่ render ของตัวเองมาอีก 2-3 ตัวเท่านั้นเอง เลยเอากลับมาใส่ได้ไม่ยากครับ

เหตุผลที่เอาออกไปเนื่องจากมันไปหยุดวิธีการทำงานของแนวคิด php เดิม ๆ ไปไว้ฝั่ง designer และทำให้ learning curve ของทั้งฝั่ง developer และ designer เพิ่มมากขึ้น เพราะ Smarty มี syntax เป็นของตัวเอง และสิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกว่าต้องเอาออกจริง ๆ นั้นคือการสร้าง Helpers ของ RenderView ที่ยากกว่าปกติมาก ๆ -_-‘ การ register function/class/object/class->method เข้าไปเป็น function/modifier ต่าง ๆ พวกนี้ทำได้ยาก และงงสุด ๆ ซึ่งจริง ๆ มันก็ไม่ยากหรอกครับ แต่ว่ามันเสียเวลามากกว่าปกติเวลาต้องคิดพวก Helpers เพราะมี guide-line ของมันเอง ซึ่งทำให้มึน ๆ งง ๆ ได้ง่าย ๆ เลย จริง ๆ 9Aum ก็บอกแบบนี้เหมือนกัน ผมก็ว่าจริง ;P

โดยที่ผมเอาออกไป ก็ไปนั่งแกะเจ้า Smarty และ Template-engine ของค่ายอื่น ๆ บ้าง รวมถึง CodeIgniter ด้วย เพื่อเขียนเองซะเลย พบว่าใช้ output-buffer แทนแล้วกัน แต่คาดว่าผมต้อง manage ตัว buffer นี้ด้วย ไม่งั้นมีปัญหาแน่ ๆ ซึ่งจริง ๆ Template-engine ทุกตัวก็ใช้แนวคิดไม่ต่างกันอยู่แล้วครับ คือทำ runtime ให้เสร็จแล้วเอาผลของการทำงานออกมาทีเดียวเลยเพื่อแยกระหว่าง process กับ presentation ออกจากกันอย่างชัดเจน โดยแนวคิดหลัก ๆ เอามาจาก PHPTemplate ของ Drupal ครับ

ต่อมาก็ทำ Acl เสร็จแล้วรวมถึง Authen ด้วย (เพราะทั้งส่วนนี้ต้องทำคู่กันครับไม่งั้น ไม่มีประโยชน์แน่นอน) กำลังปรับแต่งให้ config ง่ายที่สุด และรองรับทั้ง file-base และ db-base ครับ

ส่วน Error Handle และ Logs นั้นเพิ่มและใช้ได้ดี ในระหว่างทำ demo-app และ production-app ครับ (ตอนนี้ผมทำ production-app อยู่ 2-3 ตัวครับผม) โดย Logs จะช่วยได้เยอะมาก ๆ ในเรื่องการ track-error ครับ และ Error Handle มี 2 mode คือ production และ developer ครับ ถ้า environment เป็น production พวก error ต่าง ๆ จะไม่โชว์ออกมาเลย แต่จะ redirect ไปหน้าหลักอย่างเดียว (หรือ control ไปหน้าอื่น ๆ ก็ได้ แต่อันนี้เดี่ยวใส่เพิ่มอีกที)  แต่พวก error พวกนี้จะบันทุกอยู่ใน logs ตลอดครับ ทั้ง 2 mode เลย ทำให้ถ้ามี error ใน production mode จะไม่โดน hack จากการเกิด error ได้ง่ายครับ

ส่วนของ Third Party Components นี่กำลังใส่ทำ Baseclass-Components  อยู่ครับ จะได้สะดวก ๆ หน่อยน่ะครับ ;)

เดี่ยวจะมาเล่าพวกการ config อีกทีครับว่ามีส่วนไหนบ้างครับผม ;)

image

ความคืบหน้า PHP Hoffman Framework

  • ทำการ redesign ตัว clean url ใหม่อีกรอบ ด้วยการกลับมาใช้แบบเดิมเมื่อตอนออกแบบครั้งแรกคือ controller/action แทน ส่วนต้องการแก้ไข url ใหม่ ก็เพิ่มลงไปใน xml เอา โดย default คือ <map pattern=”:controller/:action” /> ถ้าต้องการใช้ user/login เป็น login เฉย ๆ ก็ <map pattern=”login” action=”user/login” /> แทนซะ หรือถ้าต้องการ rewrite ตัว url ที่มีการส่ง value ด้วยก็ <map pattern=”news” action=”page/show/1″ /> แทนก็ได้เช่นกัน โดยในรุ่นต่อไปจะมี plugin เสริมสำหรับการ hook ตัว xml ตัวนี้ให้ไปใช้ database ได้ แบบเดียวกับ drupal แทนช้าลงและโหลด db มากขึ้น กำลังจุดลงตัวในส่วนนี้ โดย clean url นี้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเยอะกว่าเดิมมาก และลดความซับซ้อนในการตั้งค่าลงไปเยอะด้วย แต่ต้องแลกกับความยืดหยุ่นบางส่วนไป แต่ถ้าว่า ok กว่าเดิมมาก ๆ ในตอนนี้
  • หน้า error handler page นั้น ok แล้ว เพื่อดักข้อผิดพลาดในกรณีไฟล์ของ controller หรือ view ไม่มี รวมถึง arguments ไม่ครบเมื่อ controller ไป handle ตัว action
  • ตัว config ไฟล์ใน .ini file และสามารถทำ inherit config ได้ด้วย เช่น
[production]
database.default.type=mysql
database.default.hostname=localhost
database.default.username=root
database.default.password=1234
database.default.name=album

[development : production]
database.default.hostname = localhost
database.default.username = root
database.default.password = 1234
  • เมื่อเราเลือก production เป็น environment มันจะไปดึงตัว config มาของ production มา แต่ถ้าใช้  development ก็จะไปดึงส่วนของ development ที่ override ตัว production มาใช้เท่านั้น ทำให้ลดการตั้งค่าลงไปเยอะ
  • ในส่วนของ Model layer มี 3 ทางเลือกให้ extends มาใช้งานได้ คือ Zend_Db, Doctrine หรือ LogicModel (ตัวนี้ผมเขียนเอง สนับสนุนแค่ MySQL เท่านั้น) โดยใครถนัดแบบไหนก็ใช้แบบนั้นได้เลย เพียงแค่ตั้งค่าใน Model แต่ละตัวว่าจะใช้แบบไหน กำลังหาจุดลงตัวเพื่อให้เราสามารถใช้ Model ได้หลากหลายรูปแบบการ extends จาก 3 ทางเลือก บางครั้ง Model บางตัวอาจจะเหมาะกับ Doctrine มากกว่า 2 ตัวที่เหลืออะไรแบบนั้น และอาจจะรองรับการเขียนด้วย function mysql(i) เดิม ๆ ได้ด้วย โดยผมมองว่า Model นั้นเป็น Business logic ซึ่งควรมี performance สูงที่สุดในการเขียนและนำไปใช้งานครับ
  • การส่งข้อมูลจาก controller ไปหา view นั้นใช้การ return ของ action ใน controller นั้น โดยการส่งข้อมูลแบบตัวแปรเดียวก็ได้ หรือส่งเป็น array ออกไปก็ได้ โดยส่งเป็น array จะทำการ fetch ข้อมูลให้ชั้นนึงเพื่อส่งผ่านเป็นตัวแปรนึงใน view ให้เลย โดยใช้การ map key เป็นชื่อตัวแปรใน dimension ที่ 1 ของ array ซะ
  • พยายามเอา ORM หลาย ๆ ตัวมาใช้ร่วมกันใน Model เพื่อลดการยึดติดของระบบกับรูปแบบ ORM ของตัวใดตัวหนึ่ง
  • ยังคงใช้ Zend แบบหลักในการพัฒนาระบบภายในเช่นเดิม

ตอนนี้โดยรวมพยายาปั้นตัวแรกออกมาให้ได้ก่อน เพื่อเอามารับคำติของทุกท่านครับ เพื่อเอามาพัฒนาต่อไปครับผม

กำลังเตรียมตัวไปงาน BarCamp Bangkok Winter 2008

image

งาน BarCamp Bangkok Winter 2008

จัดในวันที่ 26 มกราคม 2551 โดยจัดที่ร้านอาหาร Indus แถวสุขุมวิท บรรยากาศดีเยี่ยม งานเริ่มตั้งแต่ 10 โมงเช้าจนถึง 6 โมงเย็น แล้วมีปาร์ตี้ข้าวเย็นกันต่อตอนช่วงค่ำ

ตอนนี้กำลังปั่นตัว slide ที่จะเอาไปพูดในงาน 2 ตัว (ในรอบเดียว)

  1. MySQL Tuning นี่คงเอาเนื้อหาเดียวกับที่เคยได้โพสใน entry เก่าไปแล้ว แต่เพิ่มเติมและใส่ประสบการณ์ตรงของตัวเองลงไป
  2. PHP Framework ผมคงไม่พูดถึงตัวอื่นมาก เอาแค่ intro พอนิด ๆ แต่เอา PHP Hoffman Framework (HMF) ไปแสดงก่อน

ซึ่งตัว PHP Framework ของผมเนี่ย ตอนนี้ก็ปั่นตัว implementation code อยู่ ไม่รู้จะทันหรือเปล่า แค่ทำ Routing URL กับพวก Standard Code ต่าง ๆ ใหม่หมดก็เล่นซะหลายวัน รวมถึง Directory structure ก็เพิ่งจะลงตัวไป น่าจะเข้ารูปเข้ารอยในไม่ช้านี้ หลาย ๆ ภายใน Framework ยังไม่นิ่งพอจะเป็น Alpha version ได้ด้วยซ้ำ แถมหลายอย่างที่อยู่ใน 0.1a (ตัวใหม่ผมเรียกมันว่า Rv2 หรือ revolution version 2) ไม่ได้โอนถ่ายมาใส่อีกด้วย เพราะซ้ำซ้อน กับ Zend Components ที่จะเอามาใช้อยู่หลายตัวอย่าง ACL ที่ทำเองใน 0.1a พอมาตัวใหม่นี้ ใช้ Zend_Acl ของ Zend Framework แทน และหลาย ๆ ตัวที่โยกมาใช้ Zend แทนหลายตัวเลย รวมถึงตัว Model ที่ใช้ความสามารถของ Doctrine และ Zend_Db แทนที่ตัว Components ของผมเอง แต่ว่าตัวที่ผมใช้อยู่ก่อนหน้านั้นก็ยังคงมีอยู่ เหมือนเดิม เพียงแต่ไม่ได้เปิดใช้เท่านั้นเอง ส่วน Controller นี่เขียนเองหมดเลย Flow ตัว Controller ต่าง ๆ จัดการเองหมด รวมถึง Standard Structure และ Code ต่าง ๆ ส่วนของ View ก็ใช้ Smarty เข้ามาแทนของเก่าของผมเองทั้งหมดเลย

ตอนนี้ที่ตัดสินใจไว้ทั้ง 3 components หลัก ๆ ก็คือ

LogicModel ใช้ความสามารถต่าง ๆ จาก Doctrine และ Zend_Db และพวก tools ด้าน Business Logic ทั้งหมด
FlowController อันนี้เขียนเองทั้งหมดเพราะหาตัวที่มันโดนใจไม่ได้ ฮา …
RenderView ใช้ความสามารถต่าง ๆ ของ Smarty มาช่วยในส่วนนี้

เพราะเท่าที่หาข้อมูลและ defend กับตัวเองแล้วหลาย ๆ อย่างน่าจะใช้สิ่งที่มีอยู่และนำมาปรับให้เข้ากับแนวทางของ Framwork ของเราเองหลาย ๆ ตัวน่าจะทำให้มันง่าย ๆ เข้าไว้ด้วย Framework บางตัวทำเรื่องง่าย ๆ ให้เป็นเรื่องยากไปซะงั้น บางตัวทำงานไม่ยืดหยุ่นอะไรแบบนั้นอีก เลยทำเองซะ แล้วให้คนอื่นมา defend กับเราว่าควรปรับอะไรอีกบาง

หลาย ๆ อย่าง หลาย ๆ idea มาจากหลาย ๆ Framework มาปรับใช้เข้าด้วยกันบางอย่าง idea ดีมาก ๆ น่าจะทำให้มันทำงานได้ง่าย ขึ้นพอสมควร

แล้วเจอกันที BarCamp ครับ