ทำไมนะ Apple ถึงไม่ใช้ AMD ?

จากที่ได้อ่านเรื่อง Intel isn’t the only game in town “Why Not AMD ?” ในหนังสือ Mac World ฉบับมกราคม 2005 เมื่อกี้นี้ ได้อ่านบทวิเคราะห์ในเรื่องของการที่ Apple ไม่ใช้ Chip CPU Intel ว่า

“Jobs has a clear goal in mind: innovative design. And such designs require ultralow-voltage chips, which IBM and Freescale weren’t going to make with the PwerPC ship core and which AMD has not yet perfected”

แปลประมาณว่า jobs เนี้ยต้องการ Chip ที่ Design ในลักษณะ ultralow-voltage ซึ่ง IBM เองนั้นไม่สามารถทำให้ได้ และ AMD ก็ยังไม่สมบูรณ์แบบพอ

และยังต่ออีกว่า “นี่เป็นความเหมาะสมในทางปฎิบัติ ซึ่งต้องทำอย่างจิงจัง โดยการตัดสินใจของ Jobs เอง”

โดยในงาน IDC (Intel Developer Con.) นั้นทาง Intel ได้บ่งบอกถึงสายการผลิตที่สมบูรณ์ของ chip ที่ใช้พลังงานต่ำ (low-power) ที่ใช้ในตลาด mobile และ computer ขนาดเล็ก

Jobs นั้น ก็ชอบ AMD ในเรื่องของการใส่คุณสมบัติต่างๆ มากมาย ใน road map แต่ว่า นั้นก็ทำให้เกิดปัญหาที่มองข้ามไม่ได้คือ “ทุกๆ อย่างที่อยู่ใน road map ต้องเป็นไปได้ทั้งหมด” และในอนาคตอันใกล้นี้ AMD ก็ยังไม่สามารถออก low-voltage และ ultralow-voltage processors ได้แน่นอน ซึ่ง AMD ยังต้องพัฒนา chip ที่ทำงานได้ในสถาพการใช้พลังงานที่ต่ำแบบเดียวกับ Pentium M และรวมไปถึงการที่สามารถขายในราคาที่ยอมรับได้ด้วย และต้องมีทรัพยากรที่เพียงพอต่อการรับ load การผลิตที่สูงๆ ได้ตามที่ตลาดของ Apple ต้องการ

โดยตัวเลือกจาก Intel ที่ Apple ได้เลือกในตอนนี้คือ Yonah ที่เป้น low-power/dual core ship ที่เอามาใช้สำหรับ Notebook โดย Yonah นั้นจะจำหน่ายในปี 2006

“Yonah นั้นมีสิ่งที่เหมาะสมกับ Apple โดยที่ Yonah นั้นจะเป็นตัวจักรสำคัญให้กับกับ Apple notebook ได้ ซึ่ง AMD นั้นยังคงกำลังพัฒนา low-power, dual core chip ที่บาง และเล็ก เพื่อใช้ใน notebook อยู่ แถมก็ยังไม่ได้บอกว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ถึงจะสำเร็จ แต่ว่า Yonah นั้นเป็น x86 Architecture ซึ่ง Apple ต้องทำให้ softwae ที่ทำงานบน x86 Architecture ได้อย่างสมบูรณ์เสียก่อนด้วย” Kevin Krewell, editor in chief of Microprocessor Report กล่าว

ในด้าน Performance นั้น Intel และ AMD นั้น ในการต่อสู้กับในตลาดมายาวนาน ดูเหมือนจะพลัดกันแพ้ชนะมาเรื่อย และบริษัททั้งสองก็มี dual core chip ที่มีความร้อนสูงอยู่ และแถมยังไม่สามารถทำความเร็ว clock speed ได้สูงไปกว่าที่เป็นอยู่ได้มาเป็นเวลานานแล้ว

ซึ่ง Intel จะจัดการกับปัญหานี้ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2006 นี้ โดยจะเป็น low-power, dual-core chips โดยที่ Brookwook จาก Intel ยืนยันหนักแน่นว่าจะใช้พลังงานที่ต่ำกว่าเดิม และมี performance มากขึ้น แต่จะไม่ปรับ Mhz ให้สูงขึ้น

โดยที่ “Intel ได้เลิกความคิดในเรื่องของสงครามตัวเลข Mhz ไปแล้ว และมันคงเป็นสิ่งที่ Jobs ต้องการได้ยิน ซึ่ง Jobs คงไม่ต้องการได้ยินการลดความเร็ว clock speed ของ Intel มากกว่าที่ PowerPC ได้ทำไว้” Brookwook จาก Intel ได้กล่าวไว้ และทิ้งท้ายไว้ว่า “Application performance ของ Mac นั้น คงไม่ต้องการ chip ที่มีความเร็วต่ำกว่าที่ควรจะเป็น”

มันเป็นไปได้ไหมว่าว่า Apple อาจจะใช้ AMD Processor ในอนาคต หลังจากที่ Transition ไป x86 Architecture แล้ว ? นาย Brookwood ได้กล่าวว่า “สำหรับ Apple แล้วนั้น การที่จะย้ายไป AMD นั้น ทาง AMD ต้องมี low-power chip เสียก่อน ซึ่ง Intel ของเรานั้นมี สินค้าในส่วนที่ ที่มีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการ อยู่แล้ว และคงเป็นการยากที่จะทำในหลายๆ เรื่อง”

Notebook สำหรับเด็กขายฝันเกินไปหรือเปล่า ?

เรื่องนี้ผมต่อต้านพอสมควร ผมว่ามันเป็นนโยบายประชานิยมมากเกินไป การพัฒนาแบบฉาบฉวยดูจะได้ผล แต่จริง ๆ แล้วเหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำมากกว่า ผมเคยเขียนและบอกกล่าวไปแล้วใน blog เก่า ๆ ลองไปอ่านได้ที่นี่ครับ นโยบาย Notebook สำหรับนักเรียนประถม ของท่านผู้นำ …

ซึ่งเรื่อง Notebook สำหรับเด็กไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่ ไม่ว่าจะยกเหตุผลใดๆ มาอ้างก็ตาม ผมมี Notebook ใช้ตั้งแต่ ม.5 ตอนนี้ ปี 3 แล้ว ใช้มา 2 เครื่อง และ Desktop อีก 1 เครื่อง

เรื่อง MIT Notebook นี้ จริงๆ แล้วไม่เหมาะกับการเรียนการสอนในไทยเท่าไหร่ และประเทศพัฒนาหลายๆ ประเทศ ที่นักเรียนกว่า 30 – 40% สามารถซื้อ Notebook ได้ แต่ก็ไม่ค่อยมีใครใช้ มาแทนการใช้งานหนังสือเท่าไหร่

เพราะหนังสือ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการเรียนรู้ และไม่ทำลายสายตาเท่ากับจอคอมพิวเตอร์ ถึงแม้จะเป็นจอ LCD กรือ OLED ก็ตามที ก็ไม่ได้ดีไปกว่ากระดาษธรรมดาที่มีตัวหนังสือให้อ่าน และมันสามารถอ่านได้ทุกๆ ที่โดยที่ไม่ต้องมากังวลว่าแบตจะหมด หรือไม่ต้องมานั่งปั้นไฟ แบบ MIT Notebook ตัวนี้ แถม หนังสือมันทำให้เราฝึกการเขียน วิเคราะห์ ย่อความ หรือการเรียบเรียงใหม่อีกมากมาย

ถึง Notebook จะสะดวก แต่มันทำให้คนเรายึดติดมันมากเกินไป ผมมี eBook ในเครื่องกว่า 10GB และ VDO Training อีก 20 GB ผมเปิดๆ ดู เปิดๆ อ่าน ก็สะดวกดี แต่ …….

พอเราอยู่นอกบ้าน มันไม่สะดวกเท่าหนังสือ การหยิบจับมันง่ายกว่ามาก หลายๆ คนคงบอกว่า Notebook มันเก็บหนังสือได้มากกว่ากระเป๋าหนังสือ 100 เล่ม อันนี้ไม่เถียง แต่ผมเถียงในเรื่องของคำว่า “พยายาม” ตอนผมเรียน ม.ปลาย หนังสือที่ผมเอาไปเรียนก็ว่าเยอะแล้วนะ แต่ตอนมาเรียน มหาลัยฯ เยอะกว่าหลายเท่า และในปัจจุบัน หนังสือเรียนรุ่นๆ ใหม่ๆ ของเด็กประถม ก็น่าอ่านกว่าแต่ก่อนเยอะ แต่เนื้อหามากขึ้นลึกขึ้น พอสมควร ผมถามว่า Notebook ไม่ใช่สิ่งที่มาแทนที่หนังสือ และไม่สามารถทดแทนได้ ไม่ว่าจะยังไงก็ตาม ผมยังเห็นคนที่เรียนด้านคอมฯ และคนทำวิจัยเก่งๆ ที่มี Notebook ดีๆ มี External H/D ความจุสูง ยังซื้อหนังสือ Text Book มาอ่านอยู่เลย ทั้งๆ ที่มีให้โหลดแบบ PDF กันดาดดืน ด้วยเหตุผลที่ว่า ความรู้สึกที่ได้อ่าน และโน๊ตลงไปมันทดแทนไม่ได้ และความสะดวกในการหยึบอ่านมันมีมากกว่า อ่านที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องคิดมาก

อีกอย่างที่ผมว่าไม่เหมาะสมคือ ความรับผิดชอบในสิ่งของ ของเด็กๆ ระดับเล็ก แม้แต่ ม.ต้น บางคนก็มีความรับผิดชอบที่ต่ำ และเกรงว่าจะเป็นภัยต่อตัวเด็กในเรื่องของอาชญากรรม ด้านการลักขโมย และลักทรัพย์ครับ เรื่องนี้น่าเป็นห่วงมากกว่าครับ

ต่อมาคือค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และการสอนการใช้งาน อย่าลืมว่าระบบที่แน่นอนแล้วคือ Linux แน่นอน ซึ่ง ok linux ในปัจจุบันใช้งานง่าย และไม่ซับซ้อน แต่ปัญหาไม่ใช่อยู่เพียงแค่นี้ ปัญหาคือความเคยชิน มากกว่า ระบบ linux นั้นทำงานได้ดีในการทำงานระดับ Office ครับ คือทำงาน Word Processing, Speadheet, Presentation Slide , ฯลฯ ซึ่งซอฟต์แวร์พวกนี้ รองรับระบบไฟล์บางอย่างของ microsoft ได้ยาก เช่นไฟล์ .doc ซึ่งเป็นของ microsoft word เป็นต้น ซอฟต์แวร์ openoffice หรือ koffice ของ linux ยังคงอ่านไฟล์ของ microsoft word ยังไม่สมบูรณ์ และดีพอ ซึ่งต้องทำให้นักเรียน และคุณครูทั่วไปเคยชินต่อระบบ linux ก่อน และยอมรับ format ไฟล์ของ openoffice หรือ koffice ก่อน ซึ่งระบบราชการไทย ยังใช้ ms word กันอยู่เลย -_-” แถม font พวก Angsana New หรือตระกูล UPC ทั้งหลายใน Linux ไม่มีครับ ต้องหา Copy จาก Windows ซึ่งผิดลิขสิทธิ์เต็มๆ แต่ก็เหอะ พี่ไทยเราคงไม่สนใจ จริงแมะ ……

ส่วนเรื่องการเอามาลง Windows คงเป็นไปได้ยาก เพราะ Memory และ H/D คงไม่เอื้อให้คุณสามารถลงได้เต็มที่ ไม่แน่แค่ลง Windows ก็เหมาะเนื้อที่แล้ว

ซึ่งผมมองว่า เห็นโครงการขายฝันมากกว่า ดูดีครับ แต่ใช้งานได้ยาก และไม่มีเหมาะกับสังคมไทย ที่ยังใช้เทคโนโลยีอย่างแฟชั่น และการใช้งานแบบ All-in-one ซึ่ง MIT Notebook ตัวนี้คงไม่ตอบโจทย์ และความต้องการเท่าไหร่

และไม่เหมาะกับเด็กไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆ ทั้งสิ้น ผมสังเกตุว่าประเทศหลายๆ ประเทศ อย่างญี่ปุ่น เค้าไม่เห็นสนใจโครงการนี้เท่าไหร่ ….. อีกอย่างญี่ปุ่นยังใช้กระดาน กับช็อค เรียนกับหนังสือ และสมุดอยู่เลย ….

Yonah มีอะไรน่าสนใจบ้าง ? ….. (รายละเอียดเบื้องต้น)

Intel แสดง roadmap และราคาของ Yonah ทั้งรุ่นทั่วไป และแบบ low/ultra low voltage

เรามาทำความเข้าศัพท์เล็กน้อยกันก่อน สำหรับ Single core นั้น Intel จะเรียกว่า Core Solo ส่วน ถ้าเป็น Dual Core จะเรียนกว่า Core Duo ครับ

ใน Intel road map ได้แสดงให้เห็นว่าในมกราคมปี 2006 Yonah จะออกสู่สายการผลิต ซึ่งเป็น core แบบ 65nm, แต่ยังคงทำงานบน 32bit architecture และมีทุกๆ รุ่นมี L2 Cache ที่ 2MB และมี FSB (Front Side Bus) ที่ 667Mhz สำหรับรุ่นทั่วไปและ low voltage ส่วน ultra low voltage จะมี FSB ที่ 553Mhz ซึ่ง Yonah ที่จะออกทั้งปีนี้มีดังนี้ครับ

ที่ 667MHz FSB รุ่นทั่วไป จะมี
* T1700 (x60) คือความเร็ว 2.33GHz (dual core) ออกไตรมาศที่ 2 ของปี 06
* T1600 (x50) คือความเร็ว 2.16GHz (dual core) ออกมกราคมปี 06
* T1500 (x40) คือความเร็ว 2.00GHz (dual core) ออกมกราคมปี 06
* T1400 (x30) คือความเร็ว 1.83GHz (dual core) ออกมกราคมปี 06
* T1300 (x20) คือความเร็ว 1.66GHz (dual core) ออกมกราคมปี 06
* 766 คือความเร็ว 1.83GHz (single core) ออกไตรมาศที่ 2 ของปี 06
* 756 คือความเร็ว 1.66GHz (single core) ออกมกราคมปี 06

ที่ 667MHz FSB รุ่น low voltage จะมี
* L1500 (x58) คือความเร็ว 1.83GHz (dual core) ออกไตรมาศที่ 2 ของปี 06
* L1400 (x48) คือความเร็ว 1.66GHz (dual core) ออกมกราคมปี 06
* L1300 (x38) คือความเร็ว 1.50GHz (dual core) ออกมกราคมปี 06

ที่ 533MHz FSB รุ่น ultra low voltage จะมี
* U1500 คือความเร็ว 1.06GHz (dual core) ออกไตรมาศที่ 2 ของปี 06
* 1200 คือความเร็ว 1.2GHz (single core) ออกปลายปี 06
* 1100 คือความเร็ว 1.06GHz (single core) ออกปลายปี 06

โดยจะมาใน Platform ที่เป็น code name ว่า Napa ซึ่งเป็น code name ของ centrino ใหม่ของ Intel ที่จะมาแทน Sonoma

ซึ่งจากแหล่งข่าว และคำกล่าวของ Intel ให้บอกไว้ว่า Yonah นั้นจะมี Performance per Watt ที่สูงกว่า P4 รุ่น D พอสมควร ในสัญญาณนาฬิกาเดียวกัน

ส่วนปลายปี เราจะได้เจอกับ mobile dual core ที่ทำงานบน 64bit architecture ที่ชื่อว่า Merom Processor โดยข้อมูลคราวๆ มีดังนี้
– core แบบ 65nm
– dual core (มันแน่นอนอยู่แล้ว)
– EM64T (ชื่อเรียก CPU 64bit ของ Intel)
– FSB 667Mhz
– L2 Cache ขนาด 4Mb ( ^O^ โอ้วว เยอะจริงๆ )

โดยจะมาใน Platform ที่เป็น code name ว่า Conroe ซึ่งเป็น code name ของ centrino ใหม่ของ Intel ที่จะมาแทน Napa

ซึ่งตอนนี้ notebook ตัวแรกที่ประกาศใช้ Yonah และเดินสายการผลิต เป็นยี่ห้อ NEC ไปแล้วครับ และจะเปิดจำหน่ายในเดือนนี้เช่นกัน ไม่รู้ว่า Apple จะทำยังไงต่อไป

อ้างอิงจาก
http://www.neoseeker.com/news/story/5275/Intel%20prices%20up%2065nm%20dual,%20single-core%20′Yonah’
http://www.intel.com
http://www.blognone.com