นโยบาย Notebook สำหรับนักเรียนประถม ของท่านผู้นำ …

จริงๆ ได้ข่าวมาสักพัก วันนี้เลยซัดลง Blog เลยดีกว่า

เด็กประถม จะให้ใช้ Notebook ผมว่ามันเกินไป มันมีความจำเป็นซะขนาดนั้นหรือไงท่านผู้นำ ขนาดประเทศที่พัฒนาแล้วยังไม่ทำเลยไม่ใช่ว่า Notebook จะทำให้เด็กไทยมัน ฉลาดขึ้นนะ การสอนอย่างมีระบบ ระเบียบมากกว่ามั้งคุณท่านผู้นำ

ผมว่านะ เอาให้เด็กตามสถานที่ชนบทให้เค้ามีข้าวกินครบมื้อ มีจักรยานให้ถีบมาเรียนก่อนจะดีกว่ามั๊งครับ

ผมว่างานนี้เหมือนรัฐแจกรถให้คนละคันให้ขี่ไปทำงาน บางคนรถไม่ต้องการเลย มีแล้ว ที่ต้องการคือบ้าน บางคน รถไม่ต้องการเลย ข้าวใส่ท้องยังไม่มี บางคน ที่ทำงานอยู่ใกล้ เดินไปก็ได้

เอางบไปปฎิรูปการศึกษา เพิ่มเงินเดือนครูให้สูงเท่าอาชีพ อย่างวิศวกร ไม่ดีกว่าเหรอไง จะได้ดึงดูดคนเก่งๆ มีความสามารถมาสอนกันลูกสอนหลาน กันเยอะๆ ถ้าไอ้ Notebook เนี่ยมันทำให้เด็กไทย ทั้งหมดเป็นอัจฉริยะ ได้นี่ ต่อให้คนละแสนก็น่าลงทุนครับ แต่ …..

มันไม่ได้เป็นแบบนั้น Notebook มันเป็นแค่เครื่องมือ ครับ เป็นตัวช่วยมากกว่าเป็นทุกๆ อย่าง

Notebook ที่ท่านผู้นำจะมอบให้กับเด็กๆ มันไม่ใช่คำตอบของการแสวงหาความรู้ทั้งหมดครับ …

ประเทศอย่าง อเมริกาและญี่ปุ่น คงหัวเราะกันท้องแตกไปเลย เมื่อเจอ การพัฒนาการศึกษาของไทยแบบนี้

เค้าคงมองว่าผู้คิดขึ้นมานั้น เป็น รัฐบุรุษโลกเลยล่ะครับ 5555555555 โอ้ย ……… แม้ คิดมาได้นะครับ ….

อยากให้ท่านผู้นำ และท่านๆ ที่สนับสนุนอ่านเหลือเกิน

มาเล่าเรื่อง โรงเรียนชนบท

ช่วงไม่กี่วันมานี้ ผมได้มีโอกาสออกไปต่างจังหวัด หลายๆจังหวัด กับเพื่อนๆและคณะข้าราชการเกษียณอาวุโสหลายท่าน เพื่อนำสิ่งของ เครื่องใช้ เสื้อผ้ากีฬา อุปกรณ์กีฬา และสันทนาการต่างๆ ไปให้แก่โรงเรียนชนบทที่อยู่ห่างไกลจากความเจริญ หลายแห่ง

ก็เลยมีความคิดจะนำเรื่องบางเรื่องมาเล่าสู่กันฟังเป็นอีกมุมมองหนึ่งในเรื่อง ความเป็นอยู่และการศึกษาของเด็กๆ ในถิ่นทุรกันดารและไกลความเจริญ

มีหลายสถานที่มากมายทั่วทุกภาคครับที่ห่างไกลความเจริญ โดยเฉพาะ ทางด้านการศึกษาของเด็กๆ เท่าที่ผู้ร่วมคณะท่านหนึ่งซึ่งเคยเป็นข้าราชการเก่าในกระทรวงศึกษาธิการเล่าให้ฟังว่า ภาคใต้นั้น การศึกษาพื้นฐานจะดีที่สุด ภาคที่มีปัญหาคือ ภาคอีสาน และภาคเหนือ อันเป็นแดนดินถิ่นท่านนายกฯ note book

ช่วงการออกตระเวน ภาระกิจหลักก็คือ การนำเอาสมุดและหนังสือเรียนที่มาจากการบริจาคจากทุกที่ รวมทั้งอุปกรณ์การสอน การเรียนและเสื้อผ้า รองเท้า ไปแจกจ่ายให้แก่ นักเรียนในถิ่นกันดารต่างๆ ส่วนใหญ่นั้น โรงเรียนแทบจะไม่มีสภาพของอาคารเรียนเลย มันเป็นเพียงเพิงที่สร้างขึ้นแค่คุ้มแดดและฝนให้แก่นักเรียนเท่านั้น
…………โรงอาหาร ไม่มี แต่อาศัยเอาร่มไม้ในบริเวณเป็นที่นั่งรวมกันรับประทานอาหาร
ดีว่ายังมี………..ห้องส้วม ที่ครูอาสาและครูอัตราจ้างพิเศษในแดนกันดาร ที่ท่านมีวิญญาณของ “ครู” อย่างแท้จริง ได้สร้างขึ้นเอง ด้วยเงินบริจาคอันน้อยนิดที่ได้รับมา

ครูชายท่านหนึ่ง บอกผมว่า เรื่องสุขอนามัยนั้น ถือว่าสำคัญ เพราะ หากเด็กๆไม่สบาย ก็จะไปทำการรักษาลำบาก เพราะอยู่ห่างจากสถานพยาบาลมากนัก ต้องเดินและไปต่อรถอีกหลายต่อ ไม่มีโรงอาหารยังอาศัยกินกันใต้ต้นไม้หรือในห้องเรียนได้ แต่ไม่มีส้วมที่ได้สุขลักษณะนั้น ไม่ดีเลยต่ออนามัยของเด็กๆ……………ครูดีแบบนี้ ปัจจุบันยุคนี้ปี 2548 หาได้สักกี่คน????

ครูชายท่านนี้ อายุอานามเพียง 20 ต้นๆ แต่อุดมการณ์นั้น เปี่ยมไปเฉกดั่งพ่อครูที่ผ่านโลกมาช้านาน ครูตัดสินใจเขียนจดหมายแบบเดาสุ่มมาที่บริษัทฯของผม และมันถูกฝ่ายบุคคลที่บริษัทฯดองเค็มนานถึง ห้าเดือนเต็มๆ ก่อนที่มันจะถูกพบเห็น โดย auditor ภายนอกที่มาตรวจประจำระบบคุณภาพ อันเป็นมาตรการรักษาไว้ของ certificate ที่ทางบริษัทฯได้รับมานานแล้ว อย่างต่อเนื่องทุกปี
ผมจึงทราบเรื่อง และดำเนินการติดต่อ และให้คนสืบเสาะ ไปจนพบครูท่านนี้ ซึ่งได้รับการชี้แจงว่า จะมีคณะบุคคลมาให้ความช่วยเหลือเช่นกัน ผมจึงได้ติดต่อขอเข้าร่วมทันที และเป็นที่มาของการเดินทางร่วมไปด้วยกันในการตระเวนช่วยเหลือเด็กชนบททางด้านการศึกษา

…..ก่อนหน้านี้ ผมก็บริจาคเงินและสิ่งของเนืองๆผ่านทางองค์กรเอกชนบ้าง มูลนิธิบ้าง เพราะทราบดีว่า ยังมีเด็กไทยที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาในประเทศเรานั้นมากนัก จากรายการสารคดีต่างๆ จากสื่อ. แต่ก็ไม่มีโอกาสไปสัมผัสด้วยตนเองสักครั้ง นับจากที่เคยสัมผัสสมัยที่ยังเป็นนักศึกษา ซึ่งมันก็นานกว่า 25 ปีมาแล้ว

…ครับ……25 ปีมาแล้วที่สภาพของโรงเรียนชนบทของไทยในถิ่นกันดาร แทบจะไม่มีอะไรเปลี่ยนไปจากเดิมเลย อะไรกันเนี่ย? ผมงงจริงๆ
ผมประเมินว่า มันน่าจะมีความเจริญหรือดีขึ้นมาบ้างในเรื่องนี้ แต่ปรากฏว่า 25 ปีผ่านไป เด็กๆในท้องถิ่นกันดาร กลับได้รับการดูแลจากรัฐ ในด้านการศึกษาเหมือนเดิม

ผมและเพื่อนๆในคณะหดหู่ใจเป็นอย่างยิ่ง และตั้งใจกันว่าจะเริ่มทำกันเป็นกิจลักษณะเพื่อช่วยเหลือทุกด้านแก่โรงเรียนชนบทที่ขาดไร้การดูแล ซึ่งขณะนี้ ก็กำลังให้ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งไปดำเนินการในเรื่องการจัดตั้งมูลนิธิ อย่างถาวรไปเลย ไม่ใช่แค่เพียงรวมตัวเฉพาะการ ดำเนินการเฉพาะกิจแบบที่พวกคนบางคนชอบทำตัวเป็นข่าวให้โก้

ย้อนกลับมาที่โรงเรียนที่ไป ขอยกมาสักโรงเรียนหนึ่งทางภาคเหนือ นะครับ โรงเรียนนี้ตั้งอยู่ในดินแดนสีแดงเก่า (เขตผู้ก่อการร้ายในอดีต) ที่จังหวัดน่าน
โรงเรียนนี้เองที่ครูชายท่านที่ผมกล่าวถึงทำการสอนอยู่ มีเพียงครูท่านนี้ และ บัณฑิตจากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ที่จบมาเพียงสองปีเองเท่านั้น ทำการสอนอยู่
ผมถามเธอว่า จบจากสถาบันดี เกรดก็ดี ทำไมมาอยู่ที่นี่
เธอตอบผมสั้นมากๆ ครับ ” หนูเป็นครู ลูกศิษย์อยู่ไหน หนูก็จะไปสอนค่ะ”
..ผม…..ชื่นชมทั้งพ่อแม่ที่สั่งสอนอบรม ชื่นชมทั้งสถาบันที่เธอศึกษาและผลิตเธอออกมาเป็นบัณฑิตที่มีคุณค่า ชื่นชมในความดีของเธอครับ

โรงเรียนนี้ เด็กๆ ไม่มีรองเท้าใส่ ผมนึกว่าจะมีแต่ในละคร อยู่กับก๋ง ซะอีก สำหรับปี พ.ศ. นี้ ที่ไหนได้ ละครชีวิตจริงกลับอยู่ที่น่านนี่เอง
ชุดนักเรียนบางคนก็มีบางคนที่มีก็ปะแล้วปะอีก

ที่สำคัญ ตำราเรียนและสมุดนั้นหายากมา เรียกได้ว่าหนังสือหนึ่งเล่ม เรียนกันสามคน ส่วนสมุดนั้น หากมีการบ้าน 5 ข้อ ก็ช่วยกันเขียน ช่วยกันทำคนละข้อ เพราะ ไม่ใช่ว่าจะมีทุกคน

ผมสอบถามก็ได้ความว่า โรงเรียนนี้ มันไกลเกินกว่าที่ท่านข้าราชการจะเดินทางมาแจกของ ของที่มีอยู่ก็เป็นส่วนที่ ต.ช.ด. ของสมเด็จย่าฯ ปันมาให้ แต่ก็ไม่ทั่วถึง

หลังจากที่พวกเราจากมา ได้มอบเงินไว้สร้างอาคารเรียนและซ่อมแซมส่วนหนึ่ง และ บอกว่าเราจะกลับไปอีกช่วงเดือนตุลาคม เพื่อดูแลในส่วนที่ยังขัดสนอื่นๆ

…………………
…………………….
ผมกลับมากรุงเทพฯ นั่งอ่านหนังสือพิมพ์
นั่งฟังและดูข่าว ท่านนายกรัฐมนตรีเรื่องจะแจกเครื่องคอมพิวเตอร์ note book แก่เด็กๆ นัยว่ามันเป็นมิติใหม่ของการศึกษาเลยทีเดียว

ผมน้ำตาซึม ครับ
ไม่ใช่ดีใจ
แต่ผมเสียใจ
ผมเสียใจที่มีนายกรัฐมนตรีที่คิดแบบนี้

มีเด็กไทยอีกไม่น้อยที่ยังไม่มีโอกาสแม้จะศึกษา
มีเด็กไทยอีกมากที่ไม่มีแม้รองเท้า เสื้อผ้า สมุด หนังสือ แต่เด็กๆเหล่านั้นอยากเรียน

ทำไมท่านไม่ชวยเด็กเหล่านี้ก่อนครับ
ทำไมต้อง note book ด้วย

ลูกหลานคนไทยจนๆ เขาไม่อยากได้มันหรอก เขาขอแค่มีเรียน มีหนังสือ มีสมุด มีครู เขาก็พอใจแล้ว

คิดแบบนี้นี่เอง………………..ใต้มันถึงลุกเป็นไฟ ไม่ยอมดับ

พิโธ่เอ๊ย นายกฯnote book

จากคุณ : นายชด – [ 8 ส.ค. 48 18:42:53 ]

REF : http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P3656749/P3656749.html

1 thought on “นโยบาย Notebook สำหรับนักเรียนประถม ของท่านผู้นำ …”

Comments are closed.