ทำไมต้อง update patch ซอฟต์แวร์ด้วยนะ ?

จริง ๆ ผมก็คิดจะเขียนมาตั้งนานแล้วหล่ะ แต่ติดที่เวลาในการรวบรวมความคิดมันสั้นเกินกว่าที่ผมจะเอามาเขียนได้อย่างมีเนื้อหาที่ไม่ซับซ้อน เพราะเขียนมาแล้วเต็มไปด้วยคำพูดที่ยากแก่การเข้าใจ แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่อาจหลีกหนีมันได้ อีกอย่างคือเนื้อหาส่วนนี้มากจากประสบการณ์ตรง และสรุปออกมาเองให้เข้าใจง่าย มันเลยไม่ตรงตามหลักวิชาการ เลยเอาไปอ้างอิงไม่ได้ แต่ก็เอาหล่ะเขียนไปทั้ง ๆ แบบนี้ดีกว่า

การ update patch หรือ upgrade ซอฟต์แวร์ (ต่อไปผมจะขอพูดสั้น ๆ ว่า update นะครับ) ให้มีความสามารถสูงขึ้น หรือลบข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดจากกระบวนการผลิต และจัดทำซอฟต์แวร์ขึ้นมา โดยหลุดรอดจากขั้นตอนการทดสอบของฝ่าย Tester (ฝ่ายทดสอบ หรือตรวจสอบซอฟต์แวร์) ของบริษัทจัดจำหน่าย นั้น ๆ จริงอยู่หลายคนคงไม่ชอบที่จะมานั่ง update ตัวซอฟต์แวร์ บ่อย ๆ แต่เราต้องเข้าใจความเป็นจริงที่ว่า “ไม่มีใดที่สมบูรณ์แบบในการผลิต” โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่มีความละเอียดอ่อนอย่างซอฟต์แวร์ ที่ทุก ๆ การจัดทำนั้น ต้องมีการวางแผนและจัดโครงสร้างของซอฟต์แวร์ ตามระบบให้ดีที่สุด และการที่มีการ update ซอฟต์แวร์โดยตัว update/patch ที่ถูกส่งมาเพื่อ update ซอฟต์แวร์นั้นถือเป็นความรับผิดชอบต่อความผิดพลาด (ในความเป็นจริงเราจะเรียกมันว่า ‘bug’) ของตนเองในการผลิตซอฟต์แวร์ออกมาแล้วมีข้อผิดพลาด ต่าง ๆ จริงอยู่ผู้ใช้ก็ไม่ชอบ และบางครั้งยุ่งยากและกินเวลานานในการทำตามขั้นตอน update แต่นั้นหมายความถึงซอฟต์แวร์ ที่เราใช้มีความผิดพลาดน้อยลงในการใช้งานด้วย และเป็นความจริงอีกเช่นกันที่เราใช้ซอฟต์แวร์ แล้วมักจะมองว่าซอฟต์แวร์ที่จัดจำหน่ายนั้นต้องไร้ที่ติ และไม่มีข้อผิดพลาด ซึ่งความผิดพลาดนี้อาจจะมีทั้งการใช้งานตามปกติแล้วเกิดปัญหา และความปลอดภัยในการใช้งานต่อซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอง ซึ่งในที่นี้ผมขอแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

  1. ปัญหาจากความผิดพลาดของซอฟต์แวร์ จากการใช้งานปกติ
  2. ปัญหาจากความปลอดถัยของระบบซอฟต์แวร์ทั้งหมด (รวมถึง “ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ” )

ปัญหาจากความผิดพลาดของซอฟต์แวร์ จากการใช้งานปกติ นั้นถือเป็นความรับผิดชอบในส่วนของข้อผิดพลาดจากความไม่สมบูรณ์ต่าง ๆ เช่น ใช้งานในบางฟังค์ชันแล้วค้าง, ใช้งานแล้วตัวซอฟต์แวร์ให้ผลออกมาไม่ตรงถามผู้ใช้ต้องการรวมถึงบางส่วนทำงานผิดพลาดจากที่ควรจะเป็น, ใช้งานไปสักพักแล้วแคช หรือเปิดตัวซอฟต์แวร์ไม่ได้หลังจากการติดตั้งซอฟต์แวรตามแบบแผนของ Requestment ของคู่มือที่ให้มา เป็นต้น ซึ่งด้วยเหตุผลปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข ซึ่งมักจะได้รับการ update ของตัวซอฟต์แวร์ได้ภายหลักจากการผลิตหรือออกสู่ตลาดไปสัก 2 – 3 เดือนขึ้นอยู่กับข้อผิดพลาดนั้น ๆ ว่ามีปัญหาต่อการใช้งานโดยรวมมากน้อยเพียงใดด้วย ซึ่งในส่วนนี้ถ้าท่านไม่ได้ใช้ฟังค์ชัน หรือไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดอาการแคชใด ๆ เลย ก็แทบจะไม่รู้สึกว่าท่านจะต้องไปทำอะไรกับมัน เพราะในเมื่อท่านสามารถใช้งานได้ดี ก็แทบจะสบายใจว่าได้ มันตอบสนองต่อการใช้งานได้ดี ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามนี้อยู่แล้วด้วย ซึ่งในส่วนนี้แนะนำว่าถ้าไม่มีเหตุการณ์ที่ทำให้งานของผู้ใช้งานต้องชะงัก ก็ไม่มีเหตุจำเป็นต้องไป update แต่ประการใดเลย

ปัญหาจากความผิดพลาดด้านความปลอดถัยของระบบซอฟต์แวร์ (รวมถึง “ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ” ) ทั้งหมด ในส่วนนี้ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการ update ซึ่งในปัจจุบันความปลอดภัยถือเป็นความรับผิดชอบสูงสุดของผู้ผลิตซอฟต์แวร์เลยทีเดียว ดังจะเห็นได้จากการ update นั้นทำด้วยความรวดเร็วมากทีเดียว เพราะไม่ว่าซอฟต์แวร์จะทำงานได้ดีเพียงใด และไม่มีข้อผิดพลาดใด ๆ เลย ในการทำงาน และไม่ก่อให้เกิดการชะงักต่อการทำงาน  แต่ความปลอดภัยของการใช้งานหมายถึงข้อมูลของผู้ใช้ที่ได้นำมาใช้งานต่าง ๆ อยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกโจรกรรม ,ดัดแปลง ,แก้ไข และเสียหาย จากการที่ถูกเจาะระบบผ่านทางข้อผิดพลาดต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ว่าจะด้วยกลยุทธในการเจาะ และโจรกรรมแบบใดก็ตาม ย่อมก่อให้เกิดความสูญเสียในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นความลับทางการค้า หรือข้อมูลอันมีค่าต่าง ๆ ที่เก็บไว้ด้วย ซึ่งไม่ว่าจะด้วยเหตุผลกลใดก็ตามที ปัญหานี้ถ้าผู้ใช้ไม่แก้ไข ก็ทำให้การทำงานต่าง ๆ ชะงัก หรือต้องแก้ไขกับอย่างขนานใหญ่เลยทีเดียว และมักจะรุนแรงกว่าความผิดพลาดของการใช้งานปกติหลายเท่าตัวทีเดียว ดังจะเห็นได้จากการถูกโจมตีจากความผิดพลาดของโปรแกรมอย่าง Worm ที่ชื่อว่า Blaster และ Sasser ที่ใช้ช่องโหวด้านความปลอดภัยของ Service ในตัวระบบปฎิบัติการ Windows เอง ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากต่อผู้ใช้ทั้ง ผู้ใช้ตามบ้าน และบริษัทต่าง ๆ มากมาย

ซึ่งส่วนมากแล้วคนส่วนใหญ่จะไม่ใส่ใจต่อการ update ซอฟต์แวร์ ไม่ว่าความผิดพลาดต่าง ๆ จะอยู่ในตัวปัญหาในข้อใดข้อหนึ่งหรือไม่ก็ตาม เพราะผู้ใช้จะให้เหตุผลว่า “มันใช้งานได้ดีอยู่” ซึ่งคำกล่าวนี้จะออกจากปากผู้ใช้ซอฟต์แวร์ที่มีปัญหาจากความผิดพลาดด้านความปลอดภัยในการใช้งานมากกว่า เพราะว่าไม่เห็นผลกระทบต่อสิ่งเหล่านี้ได้ชัดเจนเท่ากับซอฟต์แวร์ทำงานผิดพลาดปกติ

บิลเกต ได้เคยกล่าวไว้ว่า “การเปิดตัวสินค้าออกสู่ตลาดก่อนผู้อื่นด้วยสินค้าที่ดี และใช้งานได้ มักจะดีกว่าการเปิดตัวทีหลัง ด้วยสินค้าที่สมบูรณ์” ถ้ามองในเชิงธุรกิจถือว่าเป็นการกล่าวที่ปัดความรับผิดชอบลงไปยังผู้ใช้ แต่ในอีกนัยสำคัญคือ สินค้าที่ดี และใช้งานได้ นั้นหมายถึงการเปิดตัวสินค้าที่ตรงความต้องการและสนองงานที่ผู้ใช้ต้องการก่อน ความสมบูรณ์ของตัวซอฟต์แวร์เอง ดังจะเห็นได้จากเมื่อสินค้าของไมโครซอฟต์ออกมามักจะมีตัว update/patch ออกตามมาในเวลาไม่นานนักอย่างช่วย Windows XP ออกมาใหม่ ๆ นั้นยังไม่พร้อมต่อการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ชนิด USB 2.0 เพราะยังไม่ลงตัวเรื่องมาตรฐานต่างๆ ทางไมโครซอฟต์เลยตัดสินใจเปิดตัว Windows XP ก่อนความพร้อมของ USB 2.0 แต่ต่อมาก็ได้รับการ update ในการใช้งานใน Service Pack 1 นั้นเอง นั้นคงจะบอกได้ถึงความกล่าวข้างต้นของบิลเกตได้เป็นอย่างดี

อยากจะทิ้งท้ายไว้นิดว่า “ไม่มีซอฟต์แวรไหนในโลกนี้จะสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะมาจากฝั่ง OpenSource หรือ CloseSource ก็ตามที ถ้าสิ่งไหนจำเป็นต้อง update เพื่อให้งานที่เราทำ และระบบซอฟต์แวร์ทั้งหมดทำงานได้อย่างไม่มีความผิดพลาด และปลอดภัย เราก็ควรจะ update มันซะ …..”

ท่าทางจะได้ตัดใจจาก IBM Thinkpad แล้วเหรอ …. T_T

ได้อ่านข่าว จาก ผู้จัดการออนไลน์ แล้วสะเทือนใจเป็นยิ่งนัก แทบจะร้องไห้เป็นภาษาไนจีเรีย …..

ลีโนโวผุดแผนรีแบรนด์ “IBM ThinkPad” เป็น “Lenovo ThinkPad”

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 22 มีนาคม 2548 14:00 น.

ผู้บริหารลีโนโวเปิดเผยกับสำนักข่าวซีเน็ต (Cnet) เกี่ยวกับแผนรีแบรนด์ “IBM ThinkPad” ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่หว่างการตัดสินใจว่าจะเป็น “Lenovo ThinkPad” หรือ “ThinkPad” ส่วนหนึ่งเพราะลีโนโวมีสิทธิ์ใช้แบรนด์ “IBM ThinkPad” ได้แค่ 3 ปีเท่านั้น จึงต้องรีบสร้างแบรนด์ของตัวเองขึ้นมาทดแทนก่อนเวลานั้นจะมาถึง

“เราจะเริ่มแผนปรับเปลี่ยนแบรนด์ IBM ThinkPad ในเร็วๆนี้” สตีเฟ่น วอร์ด (Stephen Ward) ว่าที่ประธานคณะผู้บริหาร บริษัทลีโนโว (Lenovo) ผู้ผลิตพีซียักษ์ใหญ่ของจีนที่เพิ่งซื้อกิจการพีซีของไอบีเอ็ม (IBM) ไปเมื่อปลายปีที่แล้ว

“เราจะทำตลาดแบรนด์ IBM ThinkPad ไปอีกระยะ ก่อนจะเปลี่ยนเป็น ThinkPad หรือ Lenovo ThinkPad อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการตัดสินใจ”

นอกจากแบรนด์แล้ว สิ่งทึ่จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งก็คือปุ่ม “Access IBM” ที่อยู่ตรงแถวบนสุดของคีย์บอร์ดของเครื่องโน้ตบุ๊ค ThinkPad ซึ่งเป็นการต่อตรงถึงเซอร์วิสของไอบีเอ็มนั้น ก็จะเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ThinkVantage” เช่นกัน

ยิ่งกว่านั้น ลีโนโวยังฝันจะมีชื่ออยู่ในตลาดหุ้นนิวยอร์กด้วย จากปัจจุบันที่เทรดอยู่เฉพาะในตลาดหุ้นฮ่องกง

กระบวนการควบรวมกิจการระหว่างไอบีเอ็มกับลีโนโวจะเสร็จสิ้นลงในไตรมาส 2 ปีนี้ ทั้งนี้ไอบีเอ็มตัดสินใจขายกิจการแผนกพีซีให้กับลีโนโวเมื่อเดือนธันวาคม 2004 ในมูลค่า 1,250 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 48,900 ล้านบาท) ภายใต้ข้อตกลง ลีโนโวมีสิทธิ์ใช้แบรนด์ “IBM” แบรนด์ “Think” ได้เป็นเวลา 3 ปี หลังจากนั้นจะต้องเปลี่ยนเป็นแบรนด์อื่นสำหรับการทำตลาดทั่วโลก และในช่วง 3 ปีนั้น ลีโนโวสามารถทำตลาดแบรนด์ “IBM” ได้ทั่วโลก ไม่เฉพาะในประเทศจีนเท่านั้น

การรุกตลาดโลกภายใต้แบรนด์ “IBM” ของลีโนโว สร้างแรงกดดันมหาศาลต่อยักษ์ใหญ่ของวงการอย่าง เอชพี (Hewlett-Packard; HP) ที่ปัจจุบันเป็นเบอร์ 1 ในสหรัฐอเมริกา

วอร์ดและผู้บริหารอื่นๆของทั้งสองบริษัทยืนยันว่า เทคโนโลยีและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ThinkPad จะไม่ต่ำลงอย่างแน่นอน ขณะที่นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า ลูกค้าของไอบีเอ็มจะเปลี่ยนไปหาคู่แข่งแน่นอน ไม่มากก็น้อย

Company Related Links:
Lenovo
IBM

ไม่น่าเลย IBM ท่าทางผมได้เข้าไปอยู่ในอ้อมกอดของ Toshiba หรือ Apple PowerBook แน่นอนถ้าซื้อ Notebook เครื่องใหม่ เฮ้อ นี่กะว่าจะซื้อ IBM Thinkpad T Series เครื่องต่อไปซะหน่อย แต่ดันเจอเรื่องแบบนี้ คงต้องชะรอการตัดสินใจ และมองดูยี่ห้ออื่นต่อไปดีกว่า …… เฮ้อ คิดแล้วเศร้า …..

การชาร์จแบตเตอร์รี่ Li-Ion ที่ถูกต้อง

แบตเตอร์รี่แบบ Li-Ion และรวมถึงแบตฯรุ่นใหม่ Li-Polymer ด้วย นั้นจะ นับรอบการชาร์จ (Cycle) ของแบตฯ ของตัวมันเอง ซึ่งรอบการชาร์จของแบต Li-Ion คือ ชาร์จรวมกันแล้ว 85 – 95 % ขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตด้วย) ถึงจะนับเป็น 1 รอบ ไม่ใช่จำนวนครั้งในการชาร์จ อย่างที่เข้าใจกัน ตัวอย่างเช่น คุณชาร์จไปครั้งแรก ใช้ไปแค่ 20% ซึ่งแบตของคุณในตอนนั้นเหลือ 80% คุณก็ชาร์จไฟเข้าไปใหม่ คุณจะสามารถทำอย่างงี้ไป 5 ครั้ง ถึงจะ นับ 1 รอบ การชาร์จ ผมก็อปมาให้ดูจาก Help ของ Notebook IBM ครับ A cycle is defined as each time the battery discharges a total of 85% or more and is recharged it counts as one cycle. ผมใช้ไปสัก 20 – 30% แล้วชาร์จ ทำแบบนี้ไปราว 3 ครั้ง ตัวเลข Cycle จึงขึ้นมา 1 ครับ (แบตบ้าอะไรก็ไม่รู้ นับจำนวน Cycle ตัวเองได้ด้วย) แต่ถ้าเป็นแบต NiCd หรือ NiMH ก็นับจำนวนครั้งที่ชาร์จเลย ดูได้ดังภาพด้านล่างครับ

ดูที่ cycle count นะครับ ผมเสียบแบตเข้าออกไม่ต่ำกว่า 200 รอบแล้ว นับจากใช้ notebook ibm ที่ใช้แบต li-ion มา แต่จำนวน cycle count ยังอยู่ที่ 39 อยู่เลยเพราะว่าผมเอาไปเรียนไม่เท่าไหร่กับใช้แบตบ้าง เสียบแบต บาง ไม่เสียบบ้างครับ

ดูอีกอันนะครับ คงยืนยันได้เป็นอย่างดีครับ ยี่ห้อ ibm คงยืนยันได้ดีนะครับ แถมเป็น li-ion ของ panasonic ที่เป็นฐานการผลิตแบตแบบ oem ใหญ่ให้กับแบตหลายๆ ยี่ห้อรวมทั้ง sony ด้วยครับ ……. ดังภาพด้านล่างสองภาพครับ

คงต้องบอกว่าตัวแบต Li-ion นั้นระหว่าง Notebook หรือ มือถือ นั้นเหมือนกัน ไม่ต้องบอกก็ดูจะรู้ครับเพราะว่ากรรมวิธีไม่ได้แตกต่างกันเลย มันก็แบบเดียวกันครับ นั้นหมายความว่าการนับย่อมเหมือนกันครับ สารประกอบ และธาตุที่เอามาทำแบตนั้นชนิดเดียวกันโครงสร้างเหมือนกัน ทุกส่วนครับ

หลักการทำงานและสารประกอบทางเคมีครับ

Lithium is the lightest metallic element and generates a high voltage vs. the standard hydrogen electrode (i.e. -3.045 V). Early attempts used lithium metal in combination with a transition metal oxide or sulphide (e.g. Li/MoS2 the Molicell) intercalation compound.
These cells, although exhibiting the high energy densities expected, suffered from two main problems, caused mainly by the lithium anode: limited cycle life and poor safety.

The lithium anode caused both the poor safety and limited cycle life. During repeated discharge and charge cycles, the lithium stripping and replatingprocess was not 100% efficient and this created high surface area, particulate lithium which gradually consumes the lithium metal foil anode. The presence of particulate lithium caused increased internal resistance that limits the cycle life.

In addition, and more importantly, the particulate lithium creates major safety problems and renders the cell unsafe.

The Solution
The solution to the so-called ‘lithium metal’ problem was to replace the metal anode with a second intercalation compound which can reversibly intercalate Li+. This material is carbon and this is now used as the active anode material in all commercially available Li-ion cells. Since the anode is carbon, the active material of the cathode must be a compound which already contains Li+ and moreover the Li+ must be easily removed without a change in its molecular (crystal) structure.
There are presently two types of compounds which meet this requirement: these are the layered transition metal oxides LiMO2 (where M = Co, Ni or Mn) – examples include LiCoO2 (lithium cobaltite) and LiNiO2 (lithium nickelite) – and the spinel material LiMn2O4.

The use of LiCoO2, LiNiO2 and mixed compounds of such as LiNi1-xCoxO2 is protected by several patents owned by AEA Technology.
All the major companies which manufacture Li-ion cells have found that LiCoO2 offers superior reversibility, discharge capacity, charge/discharge efficiency and have thus adopted it as the cathode material of choice for small cells used in portable electronics.
As Li-ion cells are charged and discharged Li+ ions are transported between their carbon-based anode and their LiCoO2-based cathode, with electrons exchanged as a result of lithium ion insertion (doping) and of lithium ion extraction (undoping).

During charging, the cathode is undoped (i.e. the lithium is removed), and the anode, which consist of carbon with a layered structure are doped (i.e. lithium ions are inserted).

During discharge (when electrical energy is spontaneously released) lithium is removed from the carbon layers of the anode and inserted into the layers of the cathode compound. When Li-ion cells are first charged, lithium ions are transferred from the layers of the lithium cobaltite to the carbon material which forms the anode.

This is illustrated below.



initial charging
LiCoO2 + 6C –> Li1-xCoO2 + LixC6
Subsequent discharge and charge reactions are then based on the motion of lithium ions between anode and cathode.
discharging
Li1-xCoO2 + LixC <—-> Li1-x+dxCoO2 + Lix-dxC
charging
In order to achieve a high energy density, the capacity of the carbon anode must be as high as possible. To this end, carbon materials with large lithium ion doping capacities are required and the stoichiometric LiC6 lithium-graphite interlated compound composition (corresponding to 372 mA h g-1) were selected.

Anode Technology
At present, there are three kinds of carbon which are used in the anode of Li-ion cells:

Graphite types – highly structured
Coke types – less structured but easily transformed into graphite by heating
Non-graphitizable (hard) carbon types – highly disordered.
Of these carbon types Sony Energytec originally adopted a non-graphitizable (hard) carbon for use in the anode.
In contrast, the other leading Li-ion cell manufacturers such as Sanyo, Matushita (Panasonic) and Japan Storage Battery Co., Ltd. (JSB) have adopted a graphitic type carbon for the anode. Although the stored capacity of both graphite and hard carbon cells is similar, the average discharge voltage of the graphite cell (3.7 V) is slightly higher than for hard carbon (3.6 V). The delivered energy of the graphite technology is therefore higher for the same cell capacity due to its flatter discharge characteristic.
Recently, non-carbon active anode materials consisting of amorphous tin composite oxide (ATCO) materials have been used by Fujifilm Celltec. These materials have advantages in bulk density and reversible specific capacity compared to graphite. However, the major disadvantage with these materials is a large irreversible capacity that has to date limited their successful introduction in to commercial Li-ion products.

อ้างอิง : http://www.agmbat.co.uk/liiontechnology.html

ซึ่งถ้าปิดหรือเปิดเครื่องหรืออุปกรณ์ระหว่างชาร์จนั้นอันไหนได้ผลดีกว่ากัน อันนี้ผมไม่ขอสรุปเพราะว่ายังไม่มีการทดสอบและทดลองที่แน่ชัดครับ อันนี้คงแล้วแต่สะดวกมากกว่าครับ แล้วอีกอย่างถึงแม้แบตเราจะไม่ได้ทำการชาร์จเลยเป็นเวลานานก็ตามแบตก็จะเสื่อมไปเองภายในเวลา 3 – 5 ปีครับ อันเนื่องมากจากการทำงานของสารเคมีภายในที่หมดคุณภาพไปครับ หรืออาจจะเป็นเพราะข้อจำกัดของสารประกอบและกรรมวิธีของมันเองมากกว่าครับ อันนี้ผมไม่ขอตอบแน่ชัดเพราะว่ายังไม่มีรายงานใดๆ ออกมาครับจึงสรุปได้ไม่เต็มปากครับ แต่ที่สังเกตก็เป็นเช่นนั้นครับ ใช้ไม่ใช้ก็มีอายุเท่ากันแต่ใช้แล้วเนี่ยมันจะสั้นกว่า แต่ก็ไม่ต่างกันมากนักขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่างเช่น

  1. การใช้เครื่องชาร์จที่ได้รับไฟฟ้าที่นิ่งๆ คือการได้รับไฟฟ้าที่ไม่มีไฟตกไฟเกินไฟกระฉาก ครับ อันนี้มีผล ต่อการชาร์จไฟที่มีคุณภาพ 10 – 20% ครับ
  2. อุณหภูมิในระหว่างการชาร์จ หรือประจุไฟควรประจุที่อุณภูมิปกติ และไม่มีความชื่นมากนักเพราะจะทำให้การถ่ายเทความร้อนทำได้ยากขึ้น
  3. ขั้วแบตและขั้วส่วนของเสียบสายชาร์จนั้นต้องมีการส่งผ่านไฟที่สม่ำเสมอ เพราะว่าทำให้การประจุไฟหรือการชาร์จเป็นไปอย่างราบรื่นและได้ผลที่ดี
  4. การหลีกเลี่ยงการทำแบตตกพื้นเพราะจะทำให้หน้าสัมผัสภายในเสียหรือหลุดได้โดยที่เราไม่รู้ รวมถึงทำให้สารประกอบต่างๆ รั้วไหลได้ (เป็นต้นเหตุให้ระเบิดได้)
  5. ควรใช้แบตอย่างถูกต้องตามแบบสารประกอบนั้นๆ เช่น NiCd ให้ใช้หมดก่อนแล้วชาร์จ NiMH , Li-ion , Li-Poly ลักษณะการใช้งานคล้ายมาก จะชาร์จตอนไหนก็ชาร์จเพียงแต่ NiMH นั้นยังมี memory effect ซึ่ง NiMH นั้นเป็นแบตที่เป็นต้นแบบของ Li-ion เลยก็ว่าได้เพราะว่าเอาแก้ไขส่วนของ memory effect ของ NiCD โดยเฉพาะครับ แต่ว่า Li-ion ทำได้ดีกว่า ส่วน Li-ion กับ Li-Poly นั้นแทบจะไม่มีหรือไม่มีเลย
  6. การชาร์จในตอนแรกที่ได้รับแบตมานั้น NiCD , NI-HM นั้นใช้ชาร์จ 12 – 14 ชม. 3 ครั้งทุกครั้งใช้แบตให้หมด เพื่อเป้นการกระตุ้นธาตุ Ni ครับ ส่วน Li-ion และ Li-Poly นั้นไม่ต้องครับ แค่ทำให้มันเต็มหรือชัวช์ๆ ก็ 3 ครั้งแรกชาร์จสัก 6 ชม. ก็พอครับ แต่ Li-ion อย่าทำให้แบตหมดเกลี้ยงเป็นอันขาดนะครับ เพราะจะทำให้แบตเสียได้ ส่วน Li-Poly นั้นแก้ไขส่วนนี้มาแล้ว และเป็นแบตที่มีน้ำหนักเบากว่า Li-ion ครับ
  7. หวังว่าคงเข้าใจพอสมควรแล้วนะครับ ลองหาอ่านได้จากหนังสือ แบตเตอร์รี่ของ Se-ed ครับผมจำได้ว่าการ สร้าง NiMH นั้นสร้างมาเพื่อลบจุดด้อยเรื่อง memory effect ของ NiCD ครับแต่ว่าไม่มากพอซึ่งมีบ้างแต่ไม่มีเท่าครับแต่ได้ความจุที่มากกว่า NiCD มากเลยนั้นคือสิ่งที่ดีของ NiMH ที่ดี แต่ด้อยตรงที่ NiCD นั้นคายประจุได้สม่ำเสมอและเที่ยงตรงมากที่สุดในแบตที่ชาร์จใหม่ได้ครับ …………… ทุกอย่างมีข้อดีและข้อเสียของมันครับ …………


[Update 22/03/2004 = แหล่งความรู้เพิ่มเติม]

[Update 2/12/2006 = แหล่งความรู้เพิ่มเติม]

สาเหตุที่เกิด Physical bad sector หรือ Bad sector

ในเมื่อไปตอบคำถามใครหลายๆ คนใน pantip แล้วบางครั้งคำถามและคำตอบมันจะหายไปตามกาลเวลา เลยมีความคิดว่า ถามตอบแล้วเอาคำตอบของเรามาใส่ไว้ใน Blog หรือถ้ามันเป็นคำตอบเชิงวิชาการ และทำเป็นบทความเล็กๆ ได้ก็เอาลง Web ซะเลยดีกว่า อืมมมม เป็นการใช้เวลาในการตอบกระทู้ให้เป็นประโยชน์ด้วย อุๆๆๆ …… คิดได้เรา ….

ปัญหาการเกิด Physical bad sector หรือ Bad sector จริงๆ ไม่ใช่เทียมๆ แบบใช้โปรแกรมแก้ได้นั้น

"ไม่มีทางเกิดจาก Software ได้เด็ดขาด"

สาเหตุเกิดจากระบบไฟฟ้าในการจ่ายไฟ 80 % – 90 % ของสาเหตุทั้งหมดที่ส่งแคลม

        ในนิตยสารในเมืองนอกอย่าง PC World ได้มีการทดสอบมาแล้วว่าการกดปุ่ม Restart หรือ Power-up/down ทันทีก่อนปิดระบบ os นั้น "ไม่มีผลต่อ H/D หรือ H/W อื่นๆ แต่ประการใด" แต่จะมีผลกับระบบ "OS นั้นๆ เท่านั้นเอง" ดังที่เมื่อ 5 – 6 ปีที่แล้วใช้ dos นั้นหล่ะครับ ที่เปิดปิด ก็ไม่ได้ปิดโดย os แต่ใช้ปุ่ม power-up/down แทน หรือ restart แทนการ restart แทนก็ใช้กันได้จนถึงทุกวันนี้ครับ ก็ไม่มีปัญหาอะไรสำหรับเครื่องผม p 166 ก็ยังดีอยู่ h/d ก็ไม่ได้ bad อะไร ซึ่งสามารถยืนยันได้จากเครื่องรุ่นเก่าๆ และเทคโนโลยีการผลิต h/d ที่เก่ากว่าครับ

        การทำให้เกิด physical bad sector นั้นสาเหตุหลักที่มาจากไฟ เกิดจาก power supply นั้นจ่ายไฟ ไม่พอ หรือจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ไม่นิ่ง หรือมีการจ่ายไฟไม่คงที่ของไฟฟ้าในการจ่ายไฟจาก power supply นั้นเอง

        อีกส่วนคือเกิดจากไฟฟ้าในกระแสไฟที่จ่ายให้กับ power supply นั้นจ่ายไฟ ไม่นิ่งซึ่งเป็นปัญหาเช่นเดียวกับข้างต้นที่บอกไป ซึ่งถ้าจะให้ดี แนะนำว่าให้ใช้ UPS ให้การกรองไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้า ตก, เกิน หรือกระชาก เข้า power supply อีกทีครับ เป็นการถนอมอุปกรณ์คอมฯ ไปในตัวครับ

        อีกส่วนคือการประกอบเครื่องไม่ได้คุณภาพ เช่นการเสียบสายไฟพวกลำโพง หรือพวก usb port ที่ต่อผิดขั้ว ทำให้เกิดการลัดวงจรภายใน ซึ่งถ้า m/b มีวงจรในการดักจำพวกนี้ก็ไม่มีปัญหาอันใด แต่มันจะไม่มีทุกตัวหล่ะซิ ซึ่งผมเคยเสียบสายลำโพง แล้วมันช็อต เครื่องค้างไปเลย ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุนี้ได้เช่นกันที่ทำให้ h/d มี physical bad sector ได้ครับ

        อีกเรื่องคือพวกลูกปืนจานหมุนเริ่มเสื่อม หรืออุปกรณ์บางตัวใน h/d มีการเสื่อมเองไปตามการใช้งานครับ

        อีกเรื่องก็คือเวลาใช้งานมีการเกิด Shock หรือการทำให้ตัว h/d สั่นไหว, กระแทก, สะเทือน และ ตกหล่นจากที่สูงเป็นสาเหตุในการเกิดเช่นกัน บางครั้งตั้งเครื่องไว้ แล้วมีคนมีทุบโต๊ะทำงานของเรา ก็เป็นสาเหตุได้เช่นกัน ซึ่งถ้าไม่รุนแรงมา h/d ก็ไม่มีปัญหา เพราะว่าเดี่ยวนี้สามารถรับแรงการสั่นไหวได้พอสมควรครับ แต่ก็ไม่สมควรทำครับ

       จำเอาไว้ครับว่าอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์มีความไว ต่อสิ่งต่างๆ มากครับ ความชื่น ความร้อน และการสภาพไฟฟ้าที่ผิดปกติครับ ถนอมๆ มันหน่อนเน้อ …….

และแล้วเราก็ใช้ LaTeX เป็นกับเค้าสักที

เป็นการลองผิดลองถูกมากกว่าาอาทิตย์ และประกอบกับอาจารย์ที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ได้สอนบ้างเล็กน้อย และพี่เดฟ ได้ส่งติวเตอร์มาให้ 2 ไฟล์ และติวเตอร์ที่ไปโหลดมาเองอีก 6 ไฟล์มานั่งอ่าน ๆ เซ็ต ๆ เจ้า MikTeX และ Text Editor ตัวถนัดของเราคือ EditPlus ให้มันทำการ Compile เจ้าไฟล์ LaTeX ที่เราเขียนขึ้นมาได้นั้นเอง เซ็ตตั้งแต่ทำตัดคำไทยก่อน ตามด้วย Compile ตามด้วย View ไฟล์ว่าถูกต้องหรือไม่ใน DVI Viewer แล้วก็ตามด้วย Convert จาก TeX ไฟล์ไป PDF ไฟล์อีกที …… เล่นเอามึนๆ ไปหลายวันกว่าจะทำได้ ……… เป็นการพยายามจนเลิกจะพยายามแล้วนะเนี่ย -_-” ….. แต่เราก็พยายามจนมันทำงานได้ หุ ๆ ๆ เดี่ยวว่าจะโชว์พาว ส่งงานอาจารย์ใน LaTeX ทำ แทนใช้ Microsoft Word ทำดีกว่า ดูมันใช้งานไม่ได้ยากไปกว่าเขียน HTML เท่าไหร่ น่าจะง่ายพอ ๆ กันนะ ….. อืมมมม เขียน PHP, Perl, C/C++, JAVA ยังยากกว่าเลย 5555555

http://www.thaicyberpoint.com/ford/blog/doc2.pdf ลองโหลดไปอ่านๆ ดูนะครับ หุๆๆๆ มันมาก เดี่ยวว่างๆ จะทำ Document ที่ ในการเซ็ตมาลงเว็บดีกว่า อ่อ อีกอย่าง เร็ว ๆ นี้เราว่าเราจะเอาบทความในเว็บทั้งหมดมาทำเป็น PDF ให้สมาชิกที่เสียค่าบริการได้โหลดไปอ่านกันนะเนี่ย …. กำลังร่าง ๆ ว่าจะเก็บเงินค่าสมาชิกยังไงดี …… คิด ๆ ๆ ๆ