พาชมงานเปิดตัว Panasonic Toughbook ทั้ง 3 รุ่นในไทย

เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2556 ที่ผ่านมาทาง Panasonic ได้เปิดตัวแท็บเล็ตและโน๊ตบุ๊คที่ผลิตเพื่อจับกลุ่มความต้องการของลูกค้าองค์กรในภาคอุตสาหรกรรมที่เน้นความทนทานสูง เหมาะกับผู้ใช้งานที่ต้องการใช้งานในสภาพแวดล้อมหลากหลาย โดยมีการเปิดตัวทั้งหมด 3 รุ่น โดยทั้ง 3 รุ่นนี้รองรับ Microsoft Windows 8 ทั้งหมด ซึ่งได้แก่ Panasonic Toughbook CF-AX2, Panasonic Toughbook CF-C2 และ Panasonic Toughpad FZ-G1

WP_20130404_026

ในงานช่วงเริ่มต้นนั้นได้นำเสนอเรื่องราวของ Panasonic Toughbook ว่าเป็นโน๊ตบุ๊คที่ได้รับการยอมรับในด้านการออกแบบขึ้นมาเพื่อเป็นโน๊ตบุ๊คที่เหมาะกับการใช้งานนอกสถานที่เป็นประจำ โดยจุดประสงค์หลักเพื่อนำไปใช้ในสถานที่สุดโหด ที่ตัวเครื่องนั้นต้องทนต่อฝนตก ฝุ่นผงต่างๆ ในระหว่างการทำงาน โดยมาพร้อมระบบรักษาความปลอดภัย ระบบการจัดการตัวเครื่อง และความสามารถในการเชื่อมต่อที่หลากหลาย

ซึ่งหน่วยงานที่มักนำไปประจำการนั้นได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่ทำงานด้านการแจ้งเตือนเหตุภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก ในโรงงานอุตสาหกรรมหนัก และในรุ่นที่ทำงานเป็นแท็บแล็ตนั้นยังถูกใช้ในโรงพยาบาลมากมายในประเทศญี่ปุ่นด้วย

ตัวอย่างในงานที่นำมาให้เล่นกันอย่าง Toughbook CF-H2 Field ซึ่งไม่ได้ทำตลาดในไทยตอนนี้ (วิดีโอด้านล่าง)

Toughbook CF-H2 Field – test drive

Panasonic Toughpad FZ-G1 มาในรูปลักษณ์แบบแท็บเล็ตออกแบบมารองรับงานสมบุกสมบัน กันน้ำได้และยังทนทานต่อแรงตกกระแทกได้เป็นอย่างดี โดยได้ผ่านการทดสอบ MIL-STD-810G ของสหรัฐอเมริกาแล้ว

 

G1_image_03 G1_standard_back_02

  • ใช้ CPU Intel Core i5-3437U (Intel HD Graphics 4000) ขนาดของ RAM ที่ 4GB (มีรุ่น 8GB ด้วย แต่จะฝั่งมากับบอร์ดเลยใส่เพิ่มไม่ได้)
  • หน้าจอสัมผัส Capacitive ขนาดหน้าจอ 10 นิ้ว Resolution ที่ 1920×1200 pixel พร้อมตัวกรองแสงสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนในที่กลางแจ้ง รองรับ multitouch จำนวน 10 จุด
  • ใช้ Windows® 8 Pro 64-bit บน SSD ขนาด 128 GB
  • กล้องหน้า 1.3MP และกล้องหลังที่ 3MP รองรับ autofocus และ LED lighting
  • แบตเตอร์รี่อยู่ได้ประมาณ 8 ชั่วโมงและถอดเปลี่ยนได้
  • รองรับทั้ง WiFi, Bluetooth 4.0 และมีตัวเลือกสำหรับเพิ่มเติม 3G ให้ด้วย
  • การเชื่อมต่อนั้นมีทั้ง 24-pin Port Replicator Connector, Full size USB 3.0, HDMI และหูฟัง
  • มีชุดโมดูลสำหรับเพิ่มเติมการเชื่อมต่อได้โดยสามารถใช้ micro SDXC, USB 2.0, LAN port, Serial port หรือ GPS
  • น้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม

G1_standard_front

โดยจากการได้ทดสอบภายในงาน นั้นน้ำหนักค่อนข้างหนักวัสดุตามขอบของตัวเครื่องนั้นคล้ายๆ ยางรอบตัว ปุ่มกดต่างๆ นั้นซิลป้องกันน้ำและฝุ่นมาแน่นหนาดี และช่องเชื่อมต่อนั้นมีที่ปิดป้องกันไว้เช่นกัน

ในด้านความเร็วในการตอบสนองของการทำงานนั้น จากที่ได้ลองใช้ก็ทำงานได้ไม่แตกต่างจากตัวเครื่องโน๊ตบุ๊คโดยทั่วไปเท่าไหร่นัก แต่แน่นอนว่าข้อเสียของแท็ตเล็ตรุ่นนี้ก็คือขนาดตัวเครื่อง ความหนา และความหนักที่อาจจะน้องๆ โน๊ตบุ๊คเลยทีเดียว

(ผมไม่ได้ถ่ายรูปสินค้าตัวจริงของ FZ-G1 มา มีเพียงวิดีโอสาธิตการตกกระแทกและการป้องกันน้ำมาให้ชมกัน)

Panasonic Toughpad FZ-G1 – test

Panasonic Toughbook CF-C2 มาในรูปลักษณ์แบบโน๊ตบุ๊คกึ่งแท็บเล็ตออกแบบมาให้รองรับสภาพแวดล้อมสุดโหดที่ออกแบบที่เอาข้อดีจากรุ่นพี่ Toughbook CF-19 รุ่นก่อนมาใส่

c2_front_open_01

Panasonic Toughbook CF-19 รุ่นก่อน
WP_20130404_061 WP_20130404_063
WP_20130404_074 WP_20130404_076

สำหรับเจ้า Toughbook CF-C2 นั้นได้รับการออกแบบให้ดูดีมากขึ้น และใช้วัสดุนั้นใช้อัลลูมิเนียมเยอะกว่าเดิมมากขึ้น

c2_front_close_monitor

  • ตัวเครื่องมาพร้อมกับ CPU ของ Intel Core i5-3427U 1.8GHz (Intel HD Graphics 4000)  พร้อมหน่วยความจำขนาด 4GB และใส่เพิ่มได้อีกเป็น 8GB เหมือนโน๊ตบุ๊คทั่วๆ ไป
  • ใช้ Windows 8 Pro 64-bit ทำงานบน HDD ขนาด 320GB หรือจะใช้ SSD ขนาด 128GB หรือ 256GB ก็ได้เช่นกัน
  • หน้าจอสัมผัส Capacitive ขนาดหน้าจอ 12.5 นิ้ว Resolution ที่ 1366×768 pixel รองรับ multitouch จำนวน 5 จุด
  • รองรับทั้ง Gigabit Ethernet, WiFi, Bluetooth 4.0 และมีตัวเลือกสำหรับเพิ่มเติม 3G ให้ด้วย
  • มี port USB 3.0/2.0 มาให้ในตัว พร้อม VGA port, HDMI, เพิ่มเติม Serial port (RS232C) แทน VGA port ได้
  • น้ำหนักประมาณ 1.81 กิโลกรัม

c2_front_open_02 c2_front_right_model_w_digitizer
หลังจากได้ทดสอบจับในงานนั้น (ผมไม่ได้ถ่ายรูปเครื่องมา) ตัวเครื่องนั้นให้ความรู้สึกแข็งแรงกว่าเจ้า Toughbook CF-19 ซึ่งคงเพราะการออกแบบที่ใช้อลูมิเนียมที่เยอะชิ้นกว่า แต่การป้องกันในช่องเชื่อมต่อต่างๆ นั้นอาจจะไม่เท่ากับรุ่นพี่ เพราะเป็นรุ่น Semi Rugge นั้นเอง

ส่วนที่ค่อนข้างชอบคือการถอดเปลี่ยนแบตเตอรี่นั้นทำได้ง่ายและไม่จำเป็นต้องปิดเครื่อง เพราะเครื่องนั้นจะมีแบตเตอรี่มาให้ 2 ชุดโดยระหว่างเปลี่ยแบตเตอรี่ชุดแรก ชุดที่สองจะทำงานต่อเนื่องให้เราทันที ทำให้เราสามารถทำงานต่อเนื่องได้เรื่อยๆ ระหว่างสลับแบตเตอรี่

แน่นอนว่าส่วนที่อาจจะทำให้หลายๆ คนไม่ชอบคือความหนาของตัวเครื่องที่ค่อนข้างหนาเลยทีเดียว แต่ก็แลกกับความแข็งแรงที่ให้มาอย่างมากเลย

สำหรับตัวคีย์บอร์ดนั้นเป็นแบบ Spill resistant คือมีช่องระบายน้ำออกมาแทนการป้องกันน้ำเข้าเครื่องแทน เพราะเป็นรุ่น Semi Rugge นั้นเอง

ในด้านความเร็วและการใช้งานโดยทั่วไปนั้นตอบสนองได้ดีไม่แพ้โน๊ตบุ๊คทั่วๆ ไป สำหรับการพิมพ์บนตัวคีย์บอร์ดนั้นอาจจะยากสำหรับคนที่นิ้วใหญ่สักหน่อย (แบบผม) เพราะปุ่มกดนั้นไม่ใหญ่มากนักและการจัดเรียงตัวคีย์บอร์ดชิดกันพอสมควร อาจจะต้องใช้การปรับตัวกันพอสมควร

Panasonic Toughbook CF-AX2 รูปลักษณ์อัลตร้าบุ๊คกึ่งแท็บเล็ตที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกึ่งสมบุกสมบัน เป็นการออกแบบตัวเครื่องแนว Flip-Over ที่จอภาพสามารถหมุนได้ 360 องศากลับมาอีกด้านหนึ่งเพื่อใช้เป็นแท็บเล็ตได้

ax_front

ตัวเครื่องนั้นออกแบบมาแตกต่างจากรุ่นพี่ โดยใช้การออกแบบว่า Business ruggedized ซึ่งไม่ใช่การออกแบบที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมโหดๆ แต่เน้นรองรับการใช้งานในภาคธุรกิจที่ต้องเคลื่อนย้ายไป-มาได้สบายๆ โดยมุ่งเน้นความทนทานที่มากกว่าโน๊ตบุ๊คในตลาดโดยทั่วไป แล้วด้วยคุณสมบัติแบบอัลตร้าบุ๊คทำให้มันเบาและบางกว่ารุ่นพี่ที่ออกมาก่อนหน้านี้อย่างมากเลยทีเดียว

ตัวเครื่องมาพร้อมกับ CPU จาก Intel Core i5-347U 1.8GHz (Intel HD Graphics 4000)  พร้อมหน่วยความจำขนาด 4GB เพิ่มเติมไม่ได้

ติดตั้ง Windows 8 Pro 64-bit บน SSD ขนาด 128GB

WP_20130404_103 WP_20130404_104WP_20130404_106 WP_20130404_100

การออกแบบในส่วนของบริเวณคีย์บอร์ดนั้นจัดวางได้ค่อนข้างดี แต่จำนวนปุ่มนั้นมีเพียง 85 ปุ่มและลดทอนไปใช้ short-key ตัวอื่นๆ แทน โดยสัมผัสการพิมพ์นั้นค่อนข้างดี แต่ตัวปุ่มบนคีย์บอร์ดนั้นจะเล็กและพิมพ์ได้ค่อนข้างยากสำหรับคนที่นิ้วใหญ่ๆ สักหน่อย 

มีกล้องหน้าขนาด HD 720p มาให้สำหรับใช้ Webcam

WP_20130404_083 WP_20130404_091WP_20130404_098 WP_20130404_099

สำหรับการเชื่อมต่อต่างๆ นั้นมีมาให้ค่อนข้างครบทั้ง USB 3.0, VGA port, HDMI, ช่องเสียบไมค์และหูฟัง, SD/SDXC Slot

การเชื่อมต่อเครือข่ายนั้นมีทั้ง Gigabit Ethernet, WiFi, Bluetooth 4.0 และเพิ่มเติม 3G module ได้

สำหรับแบตเตอรี่นั้นมีมาให้ 2 ชุดโดยชุดแบบเปลี่ยนไม่ได้ซึ่งติดตั้งภายในเครื่องและชุดที่เปลี่ยนได้เอง โดยเหตุผลที่ทำแบบนี้เพราะต้องการให้สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ตัวหลักได้โดยไม่ต้องปิดเครื่องระหว่างที่เปลี่ยนแบตเตอรี่

WP_20130404_116 WP_20130404_117

ในด้านของจอภาพนั้น เป็นจอภาพสัมผัสแบบ capacitive รองรับ multitouch จำนวน 10 จุด ขนาด 11.6” ที่ resolution ขนาด 1366×768 pixel

WP_20130404_119

ในด้านความแข็งแรงนั้น ผ่านการทดสอบตกกระทบพื้นแบบอิสระ (Free-fall) กว่า 76cm และรองรับแรงกดทับได้ถึง 100kg เลยทีเดียว (ดูตัวอย่างการขึ้นไปยืนบนตัวเครื่องจากรูปด้านล่าง) และคุณซาโตชิ มิโซบาตะ ผู้อำนวยการ พานาโซนิค ทัฟบุ๊ค เอเชีย แปซิฟิก กรุ๊ป ได้เอากลับขึ้นมาเล่นต่อให้ชมกันว่ายังทำงานได้อย่างสบายๆ

WP_20130404_108

WP_20130404_114

สำหรับตัว Panasonic Toughbook และ Toughpad ทั้งสามรุ่นนี้พร้อมจำหน่ายในประเทศไทยแล้วโดยมุ่งไปที่ขายในตลาดองค์กรเป็นหลัก และยังไม่มีจำหน่ายสำหรับบุคคลทั่วไปในตอนนี้แต่อย่างใด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่ www.panasonictoughbook.asia ส่วนราคานั้นยังไม่มีเปิดตัวราคาอย่างแน่ชัด ใครที่จะเสนอองค์กรให้นำ Panasonic Toughbook และ Toughpad สามารถขอราคาได้โดยตรงจากทาง Panasonic ได้จากเว็บไซต์ข้างต้น

การชาร์จแบตเตอร์รี่ Li-Ion ที่ถูกต้อง

แบตเตอร์รี่แบบ Li-Ion และรวมถึงแบตฯรุ่นใหม่ Li-Polymer ด้วย นั้นจะ นับรอบการชาร์จ (Cycle) ของแบตฯ ของตัวมันเอง ซึ่งรอบการชาร์จของแบต Li-Ion คือ ชาร์จรวมกันแล้ว 85 – 95 % ขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตด้วย) ถึงจะนับเป็น 1 รอบ ไม่ใช่จำนวนครั้งในการชาร์จ อย่างที่เข้าใจกัน ตัวอย่างเช่น คุณชาร์จไปครั้งแรก ใช้ไปแค่ 20% ซึ่งแบตของคุณในตอนนั้นเหลือ 80% คุณก็ชาร์จไฟเข้าไปใหม่ คุณจะสามารถทำอย่างงี้ไป 5 ครั้ง ถึงจะ นับ 1 รอบ การชาร์จ ผมก็อปมาให้ดูจาก Help ของ Notebook IBM ครับ A cycle is defined as each time the battery discharges a total of 85% or more and is recharged it counts as one cycle. ผมใช้ไปสัก 20 – 30% แล้วชาร์จ ทำแบบนี้ไปราว 3 ครั้ง ตัวเลข Cycle จึงขึ้นมา 1 ครับ (แบตบ้าอะไรก็ไม่รู้ นับจำนวน Cycle ตัวเองได้ด้วย) แต่ถ้าเป็นแบต NiCd หรือ NiMH ก็นับจำนวนครั้งที่ชาร์จเลย ดูได้ดังภาพด้านล่างครับ

ดูที่ cycle count นะครับ ผมเสียบแบตเข้าออกไม่ต่ำกว่า 200 รอบแล้ว นับจากใช้ notebook ibm ที่ใช้แบต li-ion มา แต่จำนวน cycle count ยังอยู่ที่ 39 อยู่เลยเพราะว่าผมเอาไปเรียนไม่เท่าไหร่กับใช้แบตบ้าง เสียบแบต บาง ไม่เสียบบ้างครับ

ดูอีกอันนะครับ คงยืนยันได้เป็นอย่างดีครับ ยี่ห้อ ibm คงยืนยันได้ดีนะครับ แถมเป็น li-ion ของ panasonic ที่เป็นฐานการผลิตแบตแบบ oem ใหญ่ให้กับแบตหลายๆ ยี่ห้อรวมทั้ง sony ด้วยครับ ……. ดังภาพด้านล่างสองภาพครับ

คงต้องบอกว่าตัวแบต Li-ion นั้นระหว่าง Notebook หรือ มือถือ นั้นเหมือนกัน ไม่ต้องบอกก็ดูจะรู้ครับเพราะว่ากรรมวิธีไม่ได้แตกต่างกันเลย มันก็แบบเดียวกันครับ นั้นหมายความว่าการนับย่อมเหมือนกันครับ สารประกอบ และธาตุที่เอามาทำแบตนั้นชนิดเดียวกันโครงสร้างเหมือนกัน ทุกส่วนครับ

หลักการทำงานและสารประกอบทางเคมีครับ

Lithium is the lightest metallic element and generates a high voltage vs. the standard hydrogen electrode (i.e. -3.045 V). Early attempts used lithium metal in combination with a transition metal oxide or sulphide (e.g. Li/MoS2 the Molicell) intercalation compound.
These cells, although exhibiting the high energy densities expected, suffered from two main problems, caused mainly by the lithium anode: limited cycle life and poor safety.

The lithium anode caused both the poor safety and limited cycle life. During repeated discharge and charge cycles, the lithium stripping and replatingprocess was not 100% efficient and this created high surface area, particulate lithium which gradually consumes the lithium metal foil anode. The presence of particulate lithium caused increased internal resistance that limits the cycle life.

In addition, and more importantly, the particulate lithium creates major safety problems and renders the cell unsafe.

The Solution
The solution to the so-called ‘lithium metal’ problem was to replace the metal anode with a second intercalation compound which can reversibly intercalate Li+. This material is carbon and this is now used as the active anode material in all commercially available Li-ion cells. Since the anode is carbon, the active material of the cathode must be a compound which already contains Li+ and moreover the Li+ must be easily removed without a change in its molecular (crystal) structure.
There are presently two types of compounds which meet this requirement: these are the layered transition metal oxides LiMO2 (where M = Co, Ni or Mn) – examples include LiCoO2 (lithium cobaltite) and LiNiO2 (lithium nickelite) – and the spinel material LiMn2O4.

The use of LiCoO2, LiNiO2 and mixed compounds of such as LiNi1-xCoxO2 is protected by several patents owned by AEA Technology.
All the major companies which manufacture Li-ion cells have found that LiCoO2 offers superior reversibility, discharge capacity, charge/discharge efficiency and have thus adopted it as the cathode material of choice for small cells used in portable electronics.
As Li-ion cells are charged and discharged Li+ ions are transported between their carbon-based anode and their LiCoO2-based cathode, with electrons exchanged as a result of lithium ion insertion (doping) and of lithium ion extraction (undoping).

During charging, the cathode is undoped (i.e. the lithium is removed), and the anode, which consist of carbon with a layered structure are doped (i.e. lithium ions are inserted).

During discharge (when electrical energy is spontaneously released) lithium is removed from the carbon layers of the anode and inserted into the layers of the cathode compound. When Li-ion cells are first charged, lithium ions are transferred from the layers of the lithium cobaltite to the carbon material which forms the anode.

This is illustrated below.



initial charging
LiCoO2 + 6C –> Li1-xCoO2 + LixC6
Subsequent discharge and charge reactions are then based on the motion of lithium ions between anode and cathode.
discharging
Li1-xCoO2 + LixC <—-> Li1-x+dxCoO2 + Lix-dxC
charging
In order to achieve a high energy density, the capacity of the carbon anode must be as high as possible. To this end, carbon materials with large lithium ion doping capacities are required and the stoichiometric LiC6 lithium-graphite interlated compound composition (corresponding to 372 mA h g-1) were selected.

Anode Technology
At present, there are three kinds of carbon which are used in the anode of Li-ion cells:

Graphite types – highly structured
Coke types – less structured but easily transformed into graphite by heating
Non-graphitizable (hard) carbon types – highly disordered.
Of these carbon types Sony Energytec originally adopted a non-graphitizable (hard) carbon for use in the anode.
In contrast, the other leading Li-ion cell manufacturers such as Sanyo, Matushita (Panasonic) and Japan Storage Battery Co., Ltd. (JSB) have adopted a graphitic type carbon for the anode. Although the stored capacity of both graphite and hard carbon cells is similar, the average discharge voltage of the graphite cell (3.7 V) is slightly higher than for hard carbon (3.6 V). The delivered energy of the graphite technology is therefore higher for the same cell capacity due to its flatter discharge characteristic.
Recently, non-carbon active anode materials consisting of amorphous tin composite oxide (ATCO) materials have been used by Fujifilm Celltec. These materials have advantages in bulk density and reversible specific capacity compared to graphite. However, the major disadvantage with these materials is a large irreversible capacity that has to date limited their successful introduction in to commercial Li-ion products.

อ้างอิง : http://www.agmbat.co.uk/liiontechnology.html

ซึ่งถ้าปิดหรือเปิดเครื่องหรืออุปกรณ์ระหว่างชาร์จนั้นอันไหนได้ผลดีกว่ากัน อันนี้ผมไม่ขอสรุปเพราะว่ายังไม่มีการทดสอบและทดลองที่แน่ชัดครับ อันนี้คงแล้วแต่สะดวกมากกว่าครับ แล้วอีกอย่างถึงแม้แบตเราจะไม่ได้ทำการชาร์จเลยเป็นเวลานานก็ตามแบตก็จะเสื่อมไปเองภายในเวลา 3 – 5 ปีครับ อันเนื่องมากจากการทำงานของสารเคมีภายในที่หมดคุณภาพไปครับ หรืออาจจะเป็นเพราะข้อจำกัดของสารประกอบและกรรมวิธีของมันเองมากกว่าครับ อันนี้ผมไม่ขอตอบแน่ชัดเพราะว่ายังไม่มีรายงานใดๆ ออกมาครับจึงสรุปได้ไม่เต็มปากครับ แต่ที่สังเกตก็เป็นเช่นนั้นครับ ใช้ไม่ใช้ก็มีอายุเท่ากันแต่ใช้แล้วเนี่ยมันจะสั้นกว่า แต่ก็ไม่ต่างกันมากนักขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่างเช่น

  1. การใช้เครื่องชาร์จที่ได้รับไฟฟ้าที่นิ่งๆ คือการได้รับไฟฟ้าที่ไม่มีไฟตกไฟเกินไฟกระฉาก ครับ อันนี้มีผล ต่อการชาร์จไฟที่มีคุณภาพ 10 – 20% ครับ
  2. อุณหภูมิในระหว่างการชาร์จ หรือประจุไฟควรประจุที่อุณภูมิปกติ และไม่มีความชื่นมากนักเพราะจะทำให้การถ่ายเทความร้อนทำได้ยากขึ้น
  3. ขั้วแบตและขั้วส่วนของเสียบสายชาร์จนั้นต้องมีการส่งผ่านไฟที่สม่ำเสมอ เพราะว่าทำให้การประจุไฟหรือการชาร์จเป็นไปอย่างราบรื่นและได้ผลที่ดี
  4. การหลีกเลี่ยงการทำแบตตกพื้นเพราะจะทำให้หน้าสัมผัสภายในเสียหรือหลุดได้โดยที่เราไม่รู้ รวมถึงทำให้สารประกอบต่างๆ รั้วไหลได้ (เป็นต้นเหตุให้ระเบิดได้)
  5. ควรใช้แบตอย่างถูกต้องตามแบบสารประกอบนั้นๆ เช่น NiCd ให้ใช้หมดก่อนแล้วชาร์จ NiMH , Li-ion , Li-Poly ลักษณะการใช้งานคล้ายมาก จะชาร์จตอนไหนก็ชาร์จเพียงแต่ NiMH นั้นยังมี memory effect ซึ่ง NiMH นั้นเป็นแบตที่เป็นต้นแบบของ Li-ion เลยก็ว่าได้เพราะว่าเอาแก้ไขส่วนของ memory effect ของ NiCD โดยเฉพาะครับ แต่ว่า Li-ion ทำได้ดีกว่า ส่วน Li-ion กับ Li-Poly นั้นแทบจะไม่มีหรือไม่มีเลย
  6. การชาร์จในตอนแรกที่ได้รับแบตมานั้น NiCD , NI-HM นั้นใช้ชาร์จ 12 – 14 ชม. 3 ครั้งทุกครั้งใช้แบตให้หมด เพื่อเป้นการกระตุ้นธาตุ Ni ครับ ส่วน Li-ion และ Li-Poly นั้นไม่ต้องครับ แค่ทำให้มันเต็มหรือชัวช์ๆ ก็ 3 ครั้งแรกชาร์จสัก 6 ชม. ก็พอครับ แต่ Li-ion อย่าทำให้แบตหมดเกลี้ยงเป็นอันขาดนะครับ เพราะจะทำให้แบตเสียได้ ส่วน Li-Poly นั้นแก้ไขส่วนนี้มาแล้ว และเป็นแบตที่มีน้ำหนักเบากว่า Li-ion ครับ
  7. หวังว่าคงเข้าใจพอสมควรแล้วนะครับ ลองหาอ่านได้จากหนังสือ แบตเตอร์รี่ของ Se-ed ครับผมจำได้ว่าการ สร้าง NiMH นั้นสร้างมาเพื่อลบจุดด้อยเรื่อง memory effect ของ NiCD ครับแต่ว่าไม่มากพอซึ่งมีบ้างแต่ไม่มีเท่าครับแต่ได้ความจุที่มากกว่า NiCD มากเลยนั้นคือสิ่งที่ดีของ NiMH ที่ดี แต่ด้อยตรงที่ NiCD นั้นคายประจุได้สม่ำเสมอและเที่ยงตรงมากที่สุดในแบตที่ชาร์จใหม่ได้ครับ …………… ทุกอย่างมีข้อดีและข้อเสียของมันครับ …………


[Update 22/03/2004 = แหล่งความรู้เพิ่มเติม]

[Update 2/12/2006 = แหล่งความรู้เพิ่มเติม]