เคลม iPod Shuffle เนื่องจาก Can’t mount iPod.

เมื่อสักอาทิตย์ เกือบ 2 อาทิตย์ iPod Shuffle 512MB ของผมดันเดี้ยง มันขึ้น LED light message แจ้งว่า Error เลยว่าจะ Restore พอจะ Restore อย่างที่ทุก ๆ ครั้งทำ มันดันหา iPod ไม่เจอ อ้าววววว เวรกรรม แล้ว Disk mode ก็ใช้งานไม่ได้ แถมใน Restore ที่อยู่ในตัว iPod Updater ตัวล่าสุด มันขึ้น Message มันขึ้น Can’t mount iPod เลยเข้าเว็บต่าง ๆ ที่เจอเหตุการ์ณเดียวกัน ผมก็ไปเจอ iPod – The Five Rs โดยมีวีธีดังนี้ครับ (แปลมาอีกทีครับ) แต่เดี่ยวก่อน ในนั้นมี 5 วิธี แต่สำหรับผมต้องเป็น 5 + 1 ครับ หุๆๆ เพราะว่าผมใช้วิธีสุดท้านให้ iPod กลับมาหาผม แล้วใช้งานได้เหมือนเดิม 5555

  1. Reset : ทำการ Reset iPod ของคุณ
    • iPod Shuffle ทำโดย ปลด iPod ออกจากเครื่องคอมฯ แล้วทำการเลือนสวิตช์ไปที่ปิดการทำงาน แล้วรอ 5 วินาที แล้วเลือนสวิตช์กลับไปที่ต่ำแหน่งเล่นเพลงต่ำแหน่งใดต่ำแหน่งหนึ่ง (เล่นแบบเรียงตามรายการ หรือแบบสุ่มสลับการเล่น)
  2. Retry : ลองเชื่อมต่อ iPod เข้ากับคอมฯ อีกครั้ง
  3. Restart : ลอง Restart เครื่องของคุณ และลองหาซอฟต์แวร์รุ่นล่าสุดมาติดตั้งด้วย
  4. Reinstall : ทำการติดตั้งซอฟต์แวร์ของ iPod และ iTunes อีกครั้ง หรือดูว่าเป็นรุ่นล่าสุดหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ให้ติดตั้งรุ่นล่าสุดลงระบบแล้วทดลองอีกครั้ง
  5. Restore : ทำการใช้ Function Restore ใน iPod Updater รุ่นล่าสุด โดยการ Restore จะทำการลบข้อมูลบน iPod ของคุณทั้งหมด และทำการเซ็ตซอฟต์แวร์ที่อยู่ใน iPod ใหม่หมดเหมือนกับออกจากโรงงาน แล้วทดสอบอีกครั้ง
  6. Retailer Store : ถ้าทั้งหมด 5 ข้อแล้วยังไม่สำเร็จ iPod คุณยังไม่สามารถใช้งานได้ ให้เข้าร้านค้า iPod ที่ได้รับการแต่งตั้งโดย Apple เพื่อรับบริการจาก Apple เพื่อให้ทางร้านแก้ปัญหาให้เราโดยตรง ซึ่งถ้ามีปัญหาจริง และยังอยู่ในประกัน คุณจะได้รับการเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่ภายในระยะเวลาที่กำหนดจากทางร้านค้า

ซึ่งผมทำทุกวิธีแล้วมันก็ยังคงไม่ตื่นก็เลยส่งเคลม และตอนนี้ผมก็ได้ตัวใหม่กลับคืนมาแล้วครับ ชื่อของมันคือ TEDDYPOD2 ครับ หุๆๆ ใช้เวลาในการเคลมสินค้าประมาณเกือบ ๆ 2 อาทิตย์ครับ (ทั้งส่งไปแล้วกลับด้วย) ส่งกลับมานี่ใหม่เอื่อมเลยครับ ของใหม่ แล้ว iPod Shuffle ตัวนี้ก็ใกล้จะหมดประกันแล้วด้วย -_-"

แก้ไขปัญหา Client does not support authentication protocol ใน MySQL

ใน MySQL 4.1 ขึ้นไปนั้น ได้ใช้ hashing algorithm ในการเก็บ password เพื่อใช้ในการ Authentication Protocol แบบใหม่ซึ่งทำให้ยังไม่สนับสนุนใน PHP หรือ software client ใน version เก่าๆ (หรือใหม่ๆ บางตัวก็ยังไม่สนับสนุน) ถ้าคุณ upgrade ไปเป็น MySQL 4.1 หรือสูงกว่า การติดต่อเพื่อเข้าไปใช้งานนั้น จะขึ้นข้อความว่า

Client does not support authentication protocol requested by server; consider upgrading MySQL client.

สาเหตุมาจากการที่ MySQL ได้ทำการปรับเปลี่ยนการเข้ารหัส password ใหม่อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วโดย ถ้าใน MySQL version ก่อน 4.1 นั้นใช้การเข้ารหัสที่มีความยาว 16 bytes แต่ใน version ตั้งแต่ 4.1 ขึ้นมาถึงปัจจุบันนี้จะใช้การเข้ารหัสที่มีความยาว 41 bytes ซึ่ง client บางตัวยังไม่สนับสนุน password hashing algorithm แบบนี้ครับ ซึ่งการเข้ารหัส password ที่มีความยาว 41bytes นี้จะทำให้การถอดรหัสเพื่อทำการ hack ข้อมูลนั้นทำได้ยากขึ้นมากเลยทีเดียวครับ 

โดยถ้าเราเปรียบเทียบจากตัวก่อนหน้า version 4.1 จะได้

mysql> SELECT PASSWORD(‘mypass’);
+——————–+
| PASSWORD(‘mypass’) |
+——————–+
| 6f8c114b58f2ce9e |
+——————–+

แต่ถ้าเราใช้คำสั่งเดียวกันใน version หลังจาก 4.1 จะได้

mysql> SELECT PASSWORD(‘mypass’);
+———————————————–+
| PASSWORD(‘mypass’) |
+———————————————–+
| *43c8aa34cdc98eddd3de1fe9a9c2c2a9f92bb2098d75 |
+———————————————–+

จะเห็นความแตกต่างของการเข้ารหัส password ของ MySQL ครับ

การแก้ไขปัญหานี้ทำได้โดยการ

  • ทำการ upgrade ตัว client ที่ติดต่อกับ MySQL ให้เป็น version ที่สนับสนุน hashing algorithm ที่เก็บ password ใหม่ใน MySQL 4.1 ขึ้นไป (client ที่ว่านี้หมายถึง PHP MySQL Module, MySQL Front, PHPMyAdmin และตัวจัดการข้อมูลต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับ MySQL ถือเป็น client ทั้งหมดครับ)

  • เมื่อทำการติดต่อกับ server โดยใช้ pre-4.1 client program ให้ใช้บัญชี username ที่ใช้ pre-4.1-style password แทนการใช้ username ที่ใช้ style password แบบเก่า

  • ทำการ Reset password ไปเป็น pre-4.1 style โดยใช้คำสั่ง SET PASSWORD และ OLD_PASSWORD() function โดยทำใน MySQL Command Line Client ซึ่งใช้คำสั่งดังนี้

mysql> SET PASSWORD FOR

-> ‘some_user‘@’some_host‘ = OLD_PASSWORD(‘newpwd‘);

  • some_host ให้เปลี่ยนเป็น hostname ที่ใช้เช่น localhost, 127.0.0.1, 192.168.0.1 หรือที่เป็น hostname นั้นๆ
  • some_user ให้เปลี่ยนเป็น username ที่ใช้เช่น root, admin หรือ username อื่นๆ ที่ต้องการ
  • newpwd ให้เป็นเป็น password ที่ใช้เช่น 1234, abcde หรือที่ต้องการ

ตัวอย่าง :

mysql> SET PASSWORD FOR

-> ‘root‘@’localhost‘ = OLD_PASSWORD(‘1234‘);

คือกำหนด password ใหม่ให้กับ root ที่ localhost โดยใช้ hashing algorithm password แบบเก่าโดยกำหนด password คือ 1234

แล้วทำการ UPDATE และ FLUSH PRIVILEGES โดยใช้สั่ง

mysql> UPDATE mysql.user SET Password = OLD_PASSWORD(‘newpwd‘)

-> WHERE Host = ‘some_host‘ AND User = ‘some_user‘;

mysql> FLUSH PRIVILEGES;

ตัวอย่าง :

mysql> UPDATE mysql.user SET Password = OLD_PASSWORD(‘1234‘)

-> WHERE Host = ‘localhost‘ AND User = ‘root‘;

mysql> FLUSH PRIVILEGES;

* ด้วยวิธีด้านบนนี้เหมาะสำหรับใช้ในกรณีที่มี user ที่อยู่ในฐานข้อมูลน้อยๆ เท่านั้น มิเช่นนั้นแล้วอาจจะต้องเปลี่ยนกันมืองึก -_-"

  • ถ้ามี user ในฐานข้อมูลมากๆ และการปรับเปลี่ยนวิธีด้านบนทั้งหมดเป็นการยากในการทำระบบฐานข้อมูลกลับมาใช้งานได้ปกติในเวลาอันสั้น เราสามารถบอกให้ MySQL ใช้ password hashing algorithm แบบเก่าตอน start-up service ได้เลย แต่แนะนำให้ใช้งานชั่วคราวเท่านั้นครับ และเมื่อมีเวลาให้ทำการปรับเปลี่ยนไปใช้ระบบ password hashing algorithm แบบใหม่แทน

    โดยเริ่มการทำงานของ mysqld ด้วย –old-passwords ที่เป็น option command

    ตัวอย่าง :

    c:\MySQL\bin\mysqld –old-passwords

อ้างอิงจาก A.2.3. Client does not support authentication protocol ใน MySQL 5.0 Reference Manual

ทำไมต้อง update patch ซอฟต์แวร์ด้วยนะ ?

จริง ๆ ผมก็คิดจะเขียนมาตั้งนานแล้วหล่ะ แต่ติดที่เวลาในการรวบรวมความคิดมันสั้นเกินกว่าที่ผมจะเอามาเขียนได้อย่างมีเนื้อหาที่ไม่ซับซ้อน เพราะเขียนมาแล้วเต็มไปด้วยคำพูดที่ยากแก่การเข้าใจ แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่อาจหลีกหนีมันได้ อีกอย่างคือเนื้อหาส่วนนี้มากจากประสบการณ์ตรง และสรุปออกมาเองให้เข้าใจง่าย มันเลยไม่ตรงตามหลักวิชาการ เลยเอาไปอ้างอิงไม่ได้ แต่ก็เอาหล่ะเขียนไปทั้ง ๆ แบบนี้ดีกว่า

การ update patch หรือ upgrade ซอฟต์แวร์ (ต่อไปผมจะขอพูดสั้น ๆ ว่า update นะครับ) ให้มีความสามารถสูงขึ้น หรือลบข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดจากกระบวนการผลิต และจัดทำซอฟต์แวร์ขึ้นมา โดยหลุดรอดจากขั้นตอนการทดสอบของฝ่าย Tester (ฝ่ายทดสอบ หรือตรวจสอบซอฟต์แวร์) ของบริษัทจัดจำหน่าย นั้น ๆ จริงอยู่หลายคนคงไม่ชอบที่จะมานั่ง update ตัวซอฟต์แวร์ บ่อย ๆ แต่เราต้องเข้าใจความเป็นจริงที่ว่า “ไม่มีใดที่สมบูรณ์แบบในการผลิต” โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่มีความละเอียดอ่อนอย่างซอฟต์แวร์ ที่ทุก ๆ การจัดทำนั้น ต้องมีการวางแผนและจัดโครงสร้างของซอฟต์แวร์ ตามระบบให้ดีที่สุด และการที่มีการ update ซอฟต์แวร์โดยตัว update/patch ที่ถูกส่งมาเพื่อ update ซอฟต์แวร์นั้นถือเป็นความรับผิดชอบต่อความผิดพลาด (ในความเป็นจริงเราจะเรียกมันว่า ‘bug’) ของตนเองในการผลิตซอฟต์แวร์ออกมาแล้วมีข้อผิดพลาด ต่าง ๆ จริงอยู่ผู้ใช้ก็ไม่ชอบ และบางครั้งยุ่งยากและกินเวลานานในการทำตามขั้นตอน update แต่นั้นหมายความถึงซอฟต์แวร์ ที่เราใช้มีความผิดพลาดน้อยลงในการใช้งานด้วย และเป็นความจริงอีกเช่นกันที่เราใช้ซอฟต์แวร์ แล้วมักจะมองว่าซอฟต์แวร์ที่จัดจำหน่ายนั้นต้องไร้ที่ติ และไม่มีข้อผิดพลาด ซึ่งความผิดพลาดนี้อาจจะมีทั้งการใช้งานตามปกติแล้วเกิดปัญหา และความปลอดภัยในการใช้งานต่อซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอง ซึ่งในที่นี้ผมขอแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

  1. ปัญหาจากความผิดพลาดของซอฟต์แวร์ จากการใช้งานปกติ
  2. ปัญหาจากความปลอดถัยของระบบซอฟต์แวร์ทั้งหมด (รวมถึง “ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ” )

ปัญหาจากความผิดพลาดของซอฟต์แวร์ จากการใช้งานปกติ นั้นถือเป็นความรับผิดชอบในส่วนของข้อผิดพลาดจากความไม่สมบูรณ์ต่าง ๆ เช่น ใช้งานในบางฟังค์ชันแล้วค้าง, ใช้งานแล้วตัวซอฟต์แวร์ให้ผลออกมาไม่ตรงถามผู้ใช้ต้องการรวมถึงบางส่วนทำงานผิดพลาดจากที่ควรจะเป็น, ใช้งานไปสักพักแล้วแคช หรือเปิดตัวซอฟต์แวร์ไม่ได้หลังจากการติดตั้งซอฟต์แวรตามแบบแผนของ Requestment ของคู่มือที่ให้มา เป็นต้น ซึ่งด้วยเหตุผลปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข ซึ่งมักจะได้รับการ update ของตัวซอฟต์แวร์ได้ภายหลักจากการผลิตหรือออกสู่ตลาดไปสัก 2 – 3 เดือนขึ้นอยู่กับข้อผิดพลาดนั้น ๆ ว่ามีปัญหาต่อการใช้งานโดยรวมมากน้อยเพียงใดด้วย ซึ่งในส่วนนี้ถ้าท่านไม่ได้ใช้ฟังค์ชัน หรือไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดอาการแคชใด ๆ เลย ก็แทบจะไม่รู้สึกว่าท่านจะต้องไปทำอะไรกับมัน เพราะในเมื่อท่านสามารถใช้งานได้ดี ก็แทบจะสบายใจว่าได้ มันตอบสนองต่อการใช้งานได้ดี ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามนี้อยู่แล้วด้วย ซึ่งในส่วนนี้แนะนำว่าถ้าไม่มีเหตุการณ์ที่ทำให้งานของผู้ใช้งานต้องชะงัก ก็ไม่มีเหตุจำเป็นต้องไป update แต่ประการใดเลย

ปัญหาจากความผิดพลาดด้านความปลอดถัยของระบบซอฟต์แวร์ (รวมถึง “ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการ” ) ทั้งหมด ในส่วนนี้ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการ update ซึ่งในปัจจุบันความปลอดภัยถือเป็นความรับผิดชอบสูงสุดของผู้ผลิตซอฟต์แวร์เลยทีเดียว ดังจะเห็นได้จากการ update นั้นทำด้วยความรวดเร็วมากทีเดียว เพราะไม่ว่าซอฟต์แวร์จะทำงานได้ดีเพียงใด และไม่มีข้อผิดพลาดใด ๆ เลย ในการทำงาน และไม่ก่อให้เกิดการชะงักต่อการทำงาน  แต่ความปลอดภัยของการใช้งานหมายถึงข้อมูลของผู้ใช้ที่ได้นำมาใช้งานต่าง ๆ อยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกโจรกรรม ,ดัดแปลง ,แก้ไข และเสียหาย จากการที่ถูกเจาะระบบผ่านทางข้อผิดพลาดต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ว่าจะด้วยกลยุทธในการเจาะ และโจรกรรมแบบใดก็ตาม ย่อมก่อให้เกิดความสูญเสียในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นความลับทางการค้า หรือข้อมูลอันมีค่าต่าง ๆ ที่เก็บไว้ด้วย ซึ่งไม่ว่าจะด้วยเหตุผลกลใดก็ตามที ปัญหานี้ถ้าผู้ใช้ไม่แก้ไข ก็ทำให้การทำงานต่าง ๆ ชะงัก หรือต้องแก้ไขกับอย่างขนานใหญ่เลยทีเดียว และมักจะรุนแรงกว่าความผิดพลาดของการใช้งานปกติหลายเท่าตัวทีเดียว ดังจะเห็นได้จากการถูกโจมตีจากความผิดพลาดของโปรแกรมอย่าง Worm ที่ชื่อว่า Blaster และ Sasser ที่ใช้ช่องโหวด้านความปลอดภัยของ Service ในตัวระบบปฎิบัติการ Windows เอง ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากต่อผู้ใช้ทั้ง ผู้ใช้ตามบ้าน และบริษัทต่าง ๆ มากมาย

ซึ่งส่วนมากแล้วคนส่วนใหญ่จะไม่ใส่ใจต่อการ update ซอฟต์แวร์ ไม่ว่าความผิดพลาดต่าง ๆ จะอยู่ในตัวปัญหาในข้อใดข้อหนึ่งหรือไม่ก็ตาม เพราะผู้ใช้จะให้เหตุผลว่า “มันใช้งานได้ดีอยู่” ซึ่งคำกล่าวนี้จะออกจากปากผู้ใช้ซอฟต์แวร์ที่มีปัญหาจากความผิดพลาดด้านความปลอดภัยในการใช้งานมากกว่า เพราะว่าไม่เห็นผลกระทบต่อสิ่งเหล่านี้ได้ชัดเจนเท่ากับซอฟต์แวร์ทำงานผิดพลาดปกติ

บิลเกต ได้เคยกล่าวไว้ว่า “การเปิดตัวสินค้าออกสู่ตลาดก่อนผู้อื่นด้วยสินค้าที่ดี และใช้งานได้ มักจะดีกว่าการเปิดตัวทีหลัง ด้วยสินค้าที่สมบูรณ์” ถ้ามองในเชิงธุรกิจถือว่าเป็นการกล่าวที่ปัดความรับผิดชอบลงไปยังผู้ใช้ แต่ในอีกนัยสำคัญคือ สินค้าที่ดี และใช้งานได้ นั้นหมายถึงการเปิดตัวสินค้าที่ตรงความต้องการและสนองงานที่ผู้ใช้ต้องการก่อน ความสมบูรณ์ของตัวซอฟต์แวร์เอง ดังจะเห็นได้จากเมื่อสินค้าของไมโครซอฟต์ออกมามักจะมีตัว update/patch ออกตามมาในเวลาไม่นานนักอย่างช่วย Windows XP ออกมาใหม่ ๆ นั้นยังไม่พร้อมต่อการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ชนิด USB 2.0 เพราะยังไม่ลงตัวเรื่องมาตรฐานต่างๆ ทางไมโครซอฟต์เลยตัดสินใจเปิดตัว Windows XP ก่อนความพร้อมของ USB 2.0 แต่ต่อมาก็ได้รับการ update ในการใช้งานใน Service Pack 1 นั้นเอง นั้นคงจะบอกได้ถึงความกล่าวข้างต้นของบิลเกตได้เป็นอย่างดี

อยากจะทิ้งท้ายไว้นิดว่า “ไม่มีซอฟต์แวรไหนในโลกนี้จะสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะมาจากฝั่ง OpenSource หรือ CloseSource ก็ตามที ถ้าสิ่งไหนจำเป็นต้อง update เพื่อให้งานที่เราทำ และระบบซอฟต์แวร์ทั้งหมดทำงานได้อย่างไม่มีความผิดพลาด และปลอดภัย เราก็ควรจะ update มันซะ …..”

การคัดลอกแผ่นที่มีการป้องกันไว้มาแผ่น CD – R อย่างปลอดภัย และไม่ให้เสีย

มาแล้วครับ การคัดลอกแผ่นที่มีการป้องกันไว้มาแผ่น CD – R อย่างปลอดภัยและไม่ให้เสีย ซึ่งเทคนิคนี้ผมได้ทำการขออนุญาติจากเจ้าของ เทคนิคนี้เรียบร้อย คือ พี่ ++ HotDog ++ แห่ง Pantip.com ครับ ต้องขอขอบคุณไว้ ณ. โอกาส นี้ครับ …….. เรามาดูกันดีกว่า เขาทำกันยังไง ครับ

Download ClonyXXL 2.0.1.5

1. ใส่ CD แล้วเปิดโปรแกรม ClonyXXL

2. กด Scan จากนั้นรอสักครู่ … บริเวณหมายเลข 1 คือ ชนิดของ Protect ที่ใช้กับ CD … ของผมเป็นแผ่น SimCity 3000 ใช้ SafeDisc Old …

บริเวณหมายเลข 2 แสดงลักษณะพิเศษของ Protect ชนิดนั้น …
(อาจแตกต่างตามชนิด Protect จากรูปเป็น SafeDisc Old ซึ่งลักษณะพิเศษคือ มี Bad Sector เป็นจำนวนมาก เป็นต้น) ..

บริเวณหมายเลข 3 แสดงความยากง่ายของการ Copy CD แผ่นนี้ … ยิ่งมีหัวกะโหลกมาก ยิ่ง Copy ยาก … ของผมมีแค่ 2 หัว … CD แบบผม SafeDisc Old จึง Copy ได้ง่ายมากครับ …

บริเวณหมายเลข 4 (เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะนำไปใช้กับ CloneCD) แสดงการ Setting ที่จะต้องนำไปใช้กับ CloneCD เพื่อให้ Copy ได้สำเร็จ …

บริเวณหมายเลข 5 … หากคุณ Scan CD แล้วปรากฎว่ามันแสดง Protect เป็น Unknown คุณอาจใช้วิธีการ Scan แบบ Manual ได้ที่ปุ่มนี้ …. เมื่อกด มันจะถามคำถามคุณ คุณก็ตอบตามจริง แล้วมันวิเคราะห์ให้ว่า CD คุณน่าจะมี Protect เป็นอะรัยยย ..

3. เปิดโปรแกรม CloneCD เพื่อเริ่มขั้นตอนการ Copy (ขั้นตอนการตรวจสอบ CD มี 2 ข้อข้างบนแค่นั้นแหล่ะจ๊ะ) ..
จากรูปผมจะเลือกการ Copy CD นะครับ (อ่าน CD แล้วเขียนตอนนั้นเลย) .. คุณอาจจะ Read to File .. แล้วไว้เขียนจริงคราวหลังก็ได้ ..

4. เลือก Drive ที่จะทำหน้าที่อ่าน CD …. (Tip. เลือกไดรฟ์ที่คิดว่ามีปัญหาในการอ่านน้อยสุด … เป็น DVD Drive ได้ยิ่งดี … หรือจะเป็น CD-RW Drive ที่จะใช้เขียนก็ได้ มันจะให้เอาแผ่นเข้า ๆ ออก ๆ เองในช่วงการ Copy ช่วงหลัง ..)

5. Setting การ Copy CD …. เลือก Speed ของเครื่องอ่าน (ปกติตั้งที่ Max) .. บริเวณหมายเลข 1 ให้เอาค่า Setting ที่ได้จาก ClonyXXL (รูปความเห็นที่ 2) .. มาติ๊ก …

บริเวณหมายเลข 2 หากติ๊ก Fast Skip Error ไว้ให้มา Set ที่ตรงนี้ด้วย ..

6. Setting ในส่วน Fast Error Skip … หากเครื่องอ่านคุณมีตัวเลือก Hardware แบบในรูป .. ให้เลือก Hardware ดีกว่า … เพราะมันจะเช็ค Error ด้วย Hardware เอง แต่หากมีปัญหา … ก็ให้ใช้ค่า Defualt ก็ได้ .. (แต่อาจจะอ่านได้ช้ากว่า) ..

7. Setting เกี่ยวกะ Image File สามารถเปลี่ยนชื่อหรือโฟเดอร์ได้โดยการกด Browse
หมายเลข 1 Create “Cue Sheet” ติ๊กเพื่อให้สร้างไฟล์ cue ไฟล์นี้จะเก็บข้อมูลของ CD ไว้เพื่อเอาไปอ่านกับโปรแกรมอื่น ๆ ได้ …
หมายเลข 2 Delete after a successful Write ติ๊กเพื่อให้ลบ Image File หลังจากที่เขียน CD เสร็จสมบูรณ์
หมายเลข 3 Copy “On-the-Fly” ติ๊ก จะเป็นการ Copy โดยตรงจากเครื่องอ่านไปสู่เครื่องเขียน โดยไม่สร้าง Image File เลย …. หากเป็นการ Copy CD ที่มี Protect ต่าง ๆ ไม่แนะนำให้ติ๊ก … เพราะการอ่านอาจมีปัญหา อ่านไม่ทัน …

8. เลือกเครื่องที่ใช้เขียน ….
กด Next มันก็จะเริ่มอ่าน เริ่มเขียน ทันที …. ทีนี้ก็รอ …
จบจ้า …

การแก้ปัญหาและแนวทางป้องกันเมื่อเจอ Worm Blaster

Ref : http://www.pantip.com/cafe/siam/topic/F2412050/F2412050.html
Ref : http://thaicert.nectec.or.th/advisory/alert/blaster.php

  1. แนวทางป้องกันเปิด Firewall ไว้ดีที่สุดไม่โดแน่นอน ไม่ทำให้เน็ตช้าไม่ทำให้ระบบรวนและจะป้องกันได้ครอบคลุมต้องลง AntiVirus และ update ล่าสุดทุกๆ อาทิตย์ด้วย
  2. ถ้าโดนไปแล้วดาวส์โหลด http://securityresponse.symantec.com/avcenter/FixBlast.exe เป็นโปรแกรมตรวจหาเจ้าตัวปัญหานี้ (ใครเคยโดนพวก LoveBug คงจำได้ว่าทำไงนะครับ
  3. พอตรวจหาเจอแล้วให้โหลดตัวแก้ปัญหาทั้งหมดที่และป้องกันอีกที http://download.microsoft.com/download/9/8/b/98bcfad8-afbc-458f-aaee-b7a52a983f01/WindowsXP-KB823980-x86-ENU.exe และทางที่ดีเข้า Windows Update เพื่อทำการปรับปรุงระบบป้องกันใหม่ที่สุดมาลงครับ

แต่ถ้าโดนไปแล้วแล้วมัน Shutdown ตลอดทำไงเรามีวิธีครับ

  1. ถ้ามี ข้อความนี้ขึ้นมา ให้ทำดัง นี้
  2. คลิคที่ปุ่ม start แล้วคลิกที่ Run
  3. พิมพ์ ข้อความ shutdown -a แล้วกดปุ่ม OK
  4. ไปที่ link นี้ http://microsoft.com/downloads/details.aspx?FamilyId=2354406C-C5B6-44AC-9532-3DE40F69C074&displaylang=en
  5. Download file WindowsXP-KB823980-x86-ENU.exe นี้มา
  6. แล้ว ทำการ Run ไฟล์ที่ download มา นานหน่อยนะครับ
  7. เมื่อเสร็จแล้ว reboot เครื่อง อีก 1 ครัง
  8. เหตุการณ์จะปรกติ :-)
  9. หรือถ้าไม่ทำก็มีอีกแบบคือ
  10. กด CTRL+ALT+DELETE แล้วหา MSBLAST.EXE จาก Process List แล้วลบมันซะ
  11. จากนั้นไปที่ c:\windows\system32 หา MSBLAST.EXE แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น BLASTMS.BAK (** เพิ่มเติมสำหรับคนที่แก้ไม่ได้ให้ไปที่
    Run พิมพ์ MsConfig ไปที่ Tap StartUp แล้วหา msblast.exe คลิกเครื่องหมายถูกออกแล้ว Restart เครื่องอีกครั้ง)
  12. แล้วลองมาปลี่ยนหรือลบซะ
  13. จากนั้นเข้าไปที่ c:\windows\perfetch แล้วหา MSBLAST.EXE ลบมันซะ (หรือชื่อคล้ายๆ มังก็ลบทิ้งๆ ไปเลย นามสกุล .pf)

ไวรัสตัวนี้อาจเข้าไปฝังใน Register ซึ่งเราสามารถแก้ได้โดย

  1. ไปที่ Start > Run พิมพ์ regedit
  2. แล้วไปที่ HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\Windows\CurrentVersion\Run
    (** หรือสำหรับคนที่เกียดหา ไปที่ Edit เลือก Find แล้วพิมพ์ msblast ลงไป)
  3. ตรงช่องด้านขวาถ้าเจอ "windows auto update"="msblast.exe" ลบแย่จังซะ (ดูด้านซ้ายด้วยก็ได้)
  4. โหลด fixblast ตามลิงค์ที่เจ้าของกระทู้ให้ไว้
  5. โหลด Patch ป้องกันสมบูรณ์แบบ
    1. สำหรับคนที่ไม่มี SP1 (Windows XP Pro ธรรมดา) ไปที่
      http://microsoft.com/downloads/details.aspx?FamilyId=2354406C-C5B6-44AC-9532-3DE40F69C074&displaylang=en
    2. สำหรับคนที่มี SP1 (Windows XP Pro Service Pack 1) ไปที่
      http://download.microsoft.com/download/9/8/b/98bcfad8-afbc-458f-aaee-b7a52a983f01/WindowsXP-KB823980-x86-ENU.exe
      แล้วก็จัดการลง Patch ให้เรียบร้อย