Podcasting หรือ Podcast คืออะไร ?

Podcasting หรือ Podcast คือขั้นตอนของสื่อชนิดหนึ่งบนระบบอินเตอร์เน็ตที่ยินยอมให้ผู้ใช้ทั่วไปทำการสมัครเพื่อรับ feed news

มันเริ่มได้รับความนิยมประมาณปลายปี 2004 ที่ผ่านมา ตัว feed news นี้จะทำงานอัตโนมัติ เพื่อทำการดาวด์โหลดไฟล์มัลติมีเดียต่างๆ เข้าสู่ computer หรือ portable music player (เรียกติดปาก ว่า mp3 player)

คำว่า Podcasting หลายๆ คนคิดว่าอาจจะเป็นคำคว]มาจากคำว่า Broadcasting กับ iPod แต่ตามข้อกำหนดแล้ว มันเป็นการเข้าใจผิด แต่เป็นความบังเอิญ อันสอดคล่องพอดี หรือประจวบเหมาะ กับ iPod ของ Apple นั้นเอง ซึ่ง Steve Jobs ก็ใช้โอกาสนี้ โฆษณา feature ใหม่เป็น Broadcasting + iPod  = Podcasting นั้นเอง  

ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั้น ตั้งแต่ที่ได้ยินมานับตั้งแต่ Podcasting เกิดขึ้นมาบนโลกมา ระบบนี้สามารถใช้ได้กับ iPod หรือพวก portable music player อื่นๆ และรวมไปถึงเครื่อง computer ได้อยู่แล้ว ซึ่งในความเป็นจริง แล้วนั้น ตั้งแต่ กันยายน ปี 2004 นั้น ได้มีการบัญญัติคำว่า POD ซึ่งเป็นคำย่อมาจาก “Personal On-Demand” หรือ “อุปสงค์ส่วนบุคคล” นั้นเอง เมื่อรวมกับ Broadcasting ก็กลายเป็น PODcasting นั้นเอง ซึ่ง Broadcasting เป็นการนำสื่อต่างๆ มาอยู่ในรูปของภาพ และเสียง ต่างๆ มากมาย ไม่ขึ้นกับ formatของไฟล์ หรือ type ของไฟล์แต่อย่างใด นำมาเผยแพร่ให้บุคคลภายนอก (The public in general) ฟังโดยที่ไม่จำเป็นเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ และเป็นเทคโนโลยีในการถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียง ผ่านสื่อต่างๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นเทคโนโลยีที่สามารถโยกย้ายข้อมูลขนาดมหึมาของภาพและเสียงจากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่งระหว่างเครือข่ายชนิดต่างๆ

Podcasting นั้นทำงานโดนการที่ใช้ RSS 2.0 XML หรือ RDF XMLที่เป็นไฟล์ format มาตรฐานของ XMLที่เป็นไฟล์แบบเปิด โดย Podcasting จะเปิดทำงานแบบอิสระต่อการจัดการ และทำสื่อส่วนตัวต่างๆ โดยตัว Podcasting นั้นเป็นสื่อกลางระหว่างไฟล์เสียง, วีดีโอ หรือมัลติมีเดียอื่นๆ อีกมากมาย กับผู้ใช้งานอีกทีหนึ่ง

การทำงานของ Podcasting มีขั้นตอนคือ ผู้ใช้ได้รับ URL ของ Podcasting แล้วใส่ในซอฟต์แวร์ Podcasting Reader หรือ RSS Reader ยี่ห้อต่างๆ ในที่นี้ของใช้คำสั้นๆ ว่า Podcasting  Reader ในทีเดียวเลย  ผู้ใช้ทำการร้องขอต่อ URL นั้นๆเพื่อทำการปรับปรุง index หรือสารบัญ ของ Podcasting เจ้าตัว Podcasting Reader จะวิ่งไปที่ URL ที่กำหนดดังกล่าว เพื่ออ่าน ไฟล์ XML ซึ่งจะอ่านว่ามีรายละเอียดต่างๆ ภายในนั้นอาจจะมีพวก ชื่อรายการ, ชื่อผู้จัดทำ, วันที่จัดทำ , ฯลฯ ซึ่งจะทำการส่งรายละเอียดต่างๆ นั้นมาไว้ที่ซอฟต์แวร์ของเรา เพื่อบอกรายละเอียด และรอให้เราทำการร้องขอไฟล์มีเดียนั้นอีกที และเมื่อร้องขอไฟล์ที่เราต้องการแล้ว เจ้าตัว Podcasting Reader จะเข้าไปอ่านที่ไฟล์ XML เดิมอีกที หรืออ่านไฟล์ XML ดังกล่าว (ขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์นั้นๆ ว่าจะเก็บไฟล์ทื่อ่านเพื่อทำ cache หรือ่านทุกๆ ครั้งผ่าย Internet) เมื่อทำการอ่านไฟล์ XML ในนั้นจะบอกซอฟต์แวร์ของเราว่าไฟล์มีเดียนั้นๆ เก็บอยู่ที่ใด เพื่อทำการไปโหลดที่ต้นทางจริงๆ อีกทอดหนึ่ง ซึ่งตัวซอฟต์แวร์ Podcasting Reader จะทำการดาวด์โหลดไฟล์มีเดียมาใส่ในที่อยู่ใดๆ ใน Hard drive ของเราเอง จะเห็นได้ว่าเจ้า ตัวระบบ Podcasting เนี่ยเป็นเพียงสื่อสารระหว่างไฟล์มีเดียต่างๆ กับผู้ใช้เพื่อง่ายแก้การจัดการเป็นศูนย์กลางเพื่อทำการจัดเก็บไฟล์ และค้นหาไฟล์นั้นเอง

แต่ที่นิยมในตอนนี้เป็น Podcasting แบบ Radio Shows มากกว่าเพราะทำง่าย เผยแพร่ง่ายด้วย

โดยไฟล์มีเดียที่นิยมในการจัดเก็บและเผยแพร่คือ MP3 นั้นเอง โดยมี bit rate ที่ 32 k bps ขึ้นไป ส่วที่ตามมาติดๆ ก็ ACC นั้นเอง

โดยจะใช้โปรแกรมใดๆ ก็ได้ที่ทำการอัดเสียง และบันทึงเสียงเป็นไฟล์ MP3 ก็ได้เช่นกัน โดยโปรแกรมที่อยากแนะนำคือ Audacity ซึ่งเป็นโปรแกรมแบบ ฟรีซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็น open source software สำหรับบันทึกเสียง และปรับแต่งเสียงซึ่งทำงานได้บน  Mac OS X, Microsoft Windows และ GNU/Linux ซึ่งทำงานได้ดีมากเช่นกัน

เอกสารอ้างอิง

“Brand Loyalty” สร้างยี่ห้อ ด้วยอารมณ์ ?

นี่เป็นเรื่องที่ผมอยากบอกกล่าวคนหลาย ๆ ในเรื่องนี้มานานมาแล้วหล่ะครับ ในเรื่องของการจงรักภักดี หรือการซื่อสัตย์ ต่อยี่ห้อสินค้า หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า “Brand Loyalty” นั้นเอง

จริง ๆ แล้ว มันไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่เก่าเก็บ หรือเรื่องที่ต้องมานั่งบอกกล่าวกันมากมายนัก แต่ที่อยากจะบอก หรือพูดในวันนี้นั้น น่าจะเป็นที่การมองคนใช้งาน หรือซื้อสินค้าโดยใช้คำว่า การซื่อสัตย์ต่อยี่ห้อ หรือ Brand Loyalty (ต่อไปขอใช้ Brand Loyalty แทนคำว่า การซื่อสัตย์ต่อยี่ห้อ หรือตัวสินค้า นะครับ) เข้ามาเป็นตัวตัดสินการซื้อแทน การตัดสินที่ความคุ้มค่าของราคาต่อประสิทธิภาพ หรือความคุ้มค่าในด้านอื่นๆ ในราคาที่ถูกกว่า

โดยมากแล้วคนที่มองเค้าที่ใช้การตัดสินใจโดย Brand Loyalty นั้น มักถูกมองเป็นคนโง่ หรือเหยื่อของนักการตลาด ใช่ไหมครับ ?

เอาหล่ะ ทุกคนมีสิทธิที่จะคิดครับ แต่ว่าเรามองในมุมในการสร้าง Brand Loyalty ก่อนดีกว่า ….

การที่จะสร้าง หรือปลุกเมล็ดพันธุ์ ของชื่อยี่ห้อหรือสินค้าลงในสมองของผู้ซื้อ หรือผู้ใช่งานนั้น ให้นึกถึงทุก ๆ ครั้งที่เค้าต้องการซื้อหรือแนะนำ รวมถึงการใช้งานนั้น ยากครับ การสร้างสิ่งเหล่านี้ได้นั้น ต้องมีปัจจัยมากมาย แต่ผมขอยกตัวอย่างมาง่ายๆ และหลักๆ สัก 2 – 3 อย่างก่อน ผมไม่ขออ้างอิงหลักการทางววิชาการมองนักเพราะว่าเขียนมาด้วยความรู้สึก และการสังเกตของตนเองครับ

ในการสร้างยี่ห้ออย่างแรกนั้น ทุก ๆ ที่มักจะยึดกันอยู่แล้ว แต่ทำได้ยากมากครับนั้นคือการสร้าง “ความซื่อสัตย์” ต่อลูกค้า ให้ข้อมูลที่ถูกต้องของตัวสินค้าที่จะขายได้อย่างละเอียด เพื่อประกอบการตัดสินใจในเรื่องของการสั่งซื้อ หรือการขอรับบริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะด้านเล็กหรือใหญ่ โดยไม่ออดอ้อน ต่อความผิดของตนเอง และตัวลูกค้าเองด้วย เมื่อสินค้าและบริการ เกิดความผิดพลาด ก็น้อมรับต่อความผิดพลาด และปรับปรุงแก้ไขไม่ว่าจะด้านใด ด้านหนึ่ง ซึ่งยังผลต่อมาในเรื่องของ “ความเชื่อมั่น” เมื่อลูกค้าได้รับการบริการที่ซื่อสัตย์แล้วนั้นย่อมทำให้เชื่อมั่นว่าจะได้รับการบริการที่ดียิ่ง ไม่ว่าคุณจะใส่กางกางขาก๋วย หรือขาสั้น เข้าไปรับบริการ โดยได้รับการบริการดังเช่นเดียวกับคนใส่สูธ ผูกเน็ตไทร์ เพื่อซื้อสินค้าของเค้าออกมา เมื่อความเชื่อมั่นได้ถูกปลุกขึ้น ในครั้งต่อไปเค้าจะมี “ความระลึกถึง” ต่อการซื้อสินค้า และบริการของสินค้านั้น ๆ ต่อ ๆ ไป นี่ยังไม่พอยังเป็นการสร้างโครงข่ายโฆษณาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดอีกด้วย กล่าวคือ เมื่อลูกค้านั้น ระลึกถึงตัวสินค้า หรือยี่ห้อนั้นๆ แล้ว ย่อมอยากจะแนะนำเพื่อน ๆ หรือบุคคลที่ตนเองรู้จักได้ใช้งาน หรือรับบริการที่ดีเช่นเดียวกับตนด้วย เมื่อได้รับการร้องขอ หรือสอบถามก็มักจะแนะนำยี่ห้อที่ตนเองนั้นใช้แล้วดี ใช้แล้วไม่ประสบปัญหาในการซื้อ หรือรับบริการหลังการขายย่อมแนะนำต่อ ๆ ไปเรื่อยๆ จนขยายวงกว้างมากขึ้น …..

เรื่องของ Brand Loyalty นั้นเหมือนเป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกส่วนตัวของบุคคลนั้น ๆ ด้วย บางคนอาจหมายรวม รสนิยม ความพึ่งพอใจในสินค้า และยี่ห้อด้วย ซึ่งเมื่อตัว Brand Loyalty ขยายวงมากขึ้นเกิดการรวมตัวกัน เกิดพลังในการช่วยเหลือกันเองของลูกค้า หรือความคิดรวมหมู่ในตัวสินค้านั้น ๆ แล้วมักทำให้สินค้านั้น ประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก และเจ้าของสินค้านั้น ๆ เหมือนมีกำแพงกันชนระหว่างผู้ใช้กับตัวยี่ห้อสินค้านั้น ๆ คือตัวผู้ใช้ที่มี Brand Loyalty อยู่ในใจอยู่แล้ว ทำให้มีการแนะนำ และช่วยแก้ไขปัญหาในการผู้ใช้หน้าใหม่ ๆ โดยบุคคลที่เข้ามาแก้ไขปัญหานั้นๆ ไม่ได้เป็นพนักงานของบริษัท หรือเจ้าของสินค้านั้น ๆ แต่ประการใด แต่เข้ามาช่วยเหลือเหล่าคนที่ใช้ หรือมีรสนิยมเดียวกันให้สามารถผ่านพ้นปัญหาของส่วนต่างๆ ของตัวสินค้าและบริการนั้น ๆ

ซึ่งเมื่อเกิด Brand Loyalty หรือกลุ่มคนที่มีใจต่อยี่ห้อมาก ๆ แล้วเนี่ยสิ่งที่ตามมาคือสร้างคุณค่า ให้คงอยู่กับสินค้านั้นๆ ดังจะเห็นได้ว่าสินค้านั้น ๆ จะราคาแพงกว่าที่ควรจะเป็น รวมถึงมีบริการต่าง ๆ ที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ และอาจจะมีการจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อกลุ่มลูกค้าเหล่านี้ด้วย เพื่อมัดใจ มัดความรู้สึกต่อสินค้าเอาไว้ อีกอย่างคือเมื่อสินค้าราคาสูงขึ้นแล้ว คุณภาพต้องดี ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ผลิตก็มักจะทำให้ดีที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดผลเสีย หรือเกิดประวัติที่ไม่ดีต่อสินค้าหรือยี่ห้อของตนเองด้วย ทำให้ขั้นตอนการผลิตมีการตรวจสอบคุณภาพสินค้าที่ดี และเข้มงวดมากขึ้น ทำให้สินค้าเหล่านั้นมีราคาที่สูง กว่าสินค้าอื่นๆ พอสมควร ก็มักจะถูกคนที่ใช้สินค้าราคาที่ต่ำกว่า และมีคุณสมบัติต่างๆ ที่ดีกว่า นั้นดูถูกว่า “โง่” หรือมักคิดแต่เพียงว่าตนเองซื้อมาเพียงแค่อวด เพื่อความโก้หรู่เพียงเท่านั้น แต่คนเหล่านั้นกลับไม่มองในมุมกลับว่า ทำไมเค้าเหล่านั้นก็ซื้อสินค้าที่ราคาต่ำกว่าด้วยเหตุผลกลไกที่ไม่แตกต่างกันสักเท่าไหร่นัก

ผมอยากให้มองต่ออีกนิด การที่เราจะมองอะไรเพียงเพราะเค้าแตกต่างจากเรา เค้าเหล่านั้นคิดไม่เหมือนเรา หรือค้าส่วนใหญ่ที่คิดกัน ไม่ได้หมายความว่าเค้าเหล่านั้นทำตัวแแปลกแยก หรือแตกต่างจากเรา เพียงแต่มาตรฐานในการมองสิ่งต่าง ๆ ของเราและ เข้าเหล่านั้น แตกต่างกันตามเหตุผล และปัจจัยร่วมต่าง ๆ มากมายด้วย

คนทุกคนมี Brand Loyalty ในตัวทุกคน ลองนึกๆ ดูว่าคุณอยากได้อะไรมาใช้งาน หรือบริการที่คุณอยากได้บ้าง ถ้าคุณคิดถึงยี่ห้อนั้น ๆ ก่อนตัวอื่น ๆ แล้วนั้นหมายความว่าคุณก็ยึดมั่นในยี่ห้อนั้น ๆ เพราะคุณคิด หรือนึกถึงได้ก่อนนั้นเอง

ลองคิดดูว่า ทำไม เรา ๆ ท่าน ๆ ส่วนใหญ่แล้วคิดกันว่ารถยนต์ธรรมดาทั่ว ๆ ไป ถ้าอยากได้ดี ๆ คงทน ต้อง Benz ทำไมต้อง BMW ทำไมต้อง Volvo ถ้าคุณหาเหตุผลไม่ได้ และหรือตอบคำถามเพื่อได้มาซึ่งเหตุผลนั้น ไม่ได้แล้ว นั้นก็หมายถึงคุณยึดติดแล้วไปในตัวเองว่าคุณก็มี Brand Loyalty ในตัวเอง เช่นกันถ้าในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ก่อนจะซื้อ คนส่วนใหญ่ หรือแม้แต่คุณก็มักจะมอง Intel InSide ก่อนเสมอ ๆ และเปรียบเทียบราคา ต่าง ๆ ตามมาทีหลัง บางครั้งซื้อของก็เอาอารมณ์มาอยู่เหนือเหตุผล ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็มากกว่า 80% ด้วยซ้ำไปครับ ทีเป็นกันแบบนี้

ปิดท้ายนิดนึง ผมเพิ่งซื้อ iPod Shuffle มาจริง ๆ แล้วใน Catalog สินค้าในร้านที่ผมไปซื้อมี MP3 Player มากมาย หลากหลายยี่ห้อ นับไม่ถ้วน แต่ไม่มี iPod ทุกรุ่นอยู่ในนั้น แต่ผมสั่ง iPod Shuffle กับทางร้านแทน (อยู่ต่างจังหวัดครับ ไร้ซึ่งเวลาที่จะมาซื้อที่กรุงเทพฯ) ทั้ง ๆ ที่ไม่มี และทางร้านก็ใจดีสั่งให้โดยผมกับทางร้านตกลงกันว่าผมจะออกค่าขนส่ง และบวกกำไรค่าติดต่ออีกสักเล็กน้อย ผมก็ยอม

– ทำไมหล่ะ ?
– MP3 Player มีให้เลือกมากมาย แถมบางตัว Option เยอะแยะ มากกว่า iPod Shuffle มากนัก ทำไมผมไม่เลือก ?
– บางตัวราคาถูกกว่า Option เยอะกว่า ทำไมไม่เลือก ?

ผมจะบอกเหตุผลที่อาจดูงี้เง้าที่สุดสำหรับใครบางคนได้รับรู้

ผมชอบ iPod เพราะดูแล้วมันแตกต่างจากสินค้าตัวอื่น ๆ ในตลาด มันคือเครื่องเล่นเพลงแบบที่ผมชอบ ผมไม่อยากมานั่งดูจอภาพ ผมไม่อยากมานั่งเล่นลูกเล่นต่าง ๆ ที่ผมก็ไม่รู้ว่าผมจะได้ใช้มันหรือเปล่า ขนาดผมมี CD-WalkMan ของ Sony ที่มีจอแสดงผลที่ดี ผมยังไม่ค่อยได้มองเท่าไหร่เลยส่วนใหญ่ก็ใช้แค่ Play/Stop/Next Track/Previous Track เสียมากกว่า แล้วก็ฟังไปเรื่อยๆ ตาม Playlist ที่ผมจัดและ Burn ลง CD-RW แต่มันช้าและไม่ยืดหยุ่นเท่าไหร่ รวมถึงขนาดที่ใหญ่มาก ๆ เลยไม่ใช้หาตัวที่เล็ก และดูดีเสียดีกว่า เนอะ !!! แต่ iPod mini หรือ iPod 4G มันมีจอ อันนี้ผมคงต้องขอพูดสักนิดว่า ถ้าความจุของเพลงเพิ่มมากขึ้นการจะบันทึกสิ่งใดๆ ก็ตามควรที่จะจัดหมวดหมู่ไว้ ถ้าไม่จัดมันจะกลายเป็นว่ารก และค้นหายาก ซึ่งข้อมูลขนาด 4GB หรือมากว่า 1 GB ขึ้นไปนี่เริ่มๆ หายากแล้ว การมีจอภาพก็ไม่ถือว่าผิด แต่ผมในตอนนี้คงไม่ใช้ หรือตรงใจผมเท่าไหร่ จนกว่าผมจะมองจอภาพบนเครื่องเล่น Mp3 Player มากมายจอคอมฯ อ้าวซะงั้น !!! Brand เดียวกันเหตุผลตีกันเอง หุๆๆ

คำว่า Apple, Mac หรือ iPod มันเป็นยี่ห้อ ที่ดูดี ใช้ของมีระดับ ในสายตาคนไทยส่วนใหญ่ แต่นั้นไม่ใช่ประเด็น ประเด็นคือมันคือ Apple ผู้คิดแตกต่างจากคนอื่น
ต่อมาก็คือผมไม่ชอบซื้ออะไรเผื่อ และอะไรที่มัน All-in-one มากนัก มันดูไม่ดี และพอไม่ได้ใช้ตอนเราปลดระวางมัน มันเสียดายความสามารถ และเสียดายเงินที่เราเสียไปกับสิ่งที่เราไม่ได้ใช้ มันเหมือนคนที่ใช้ของไม่เต็มประสิทธิภาพ เหมือนๆ กับที่ผมซื้อ SE-T630 แทนที่จะซื้อ Nokia 6600 มาใช้แทน ทั้งๆ ที่ Nokia มีความสามารถมากกว่าเป็น Smart Phone และสามารถจัดการระบบในโทรศัพท์ได้ดีกว่ามาก ๆ แถมเพิ่มหน่วยความจำ รวมความสามารถของการฟังเพลงไปได้อีกด้วย แต่ผมไม่เลือก เพราะมันเผื่อมากเกินไป และอย่างที่บอกในตอนแรก All-in-one มันดูดีนะ แต่ ….. มันดีจริงหรือ การเอาทุกอย่างมารวมกันเราลืมไปหรือเปล่าว่าอุปกรณ์ที่เราถืออยู่มันมีหน้าที่ทำอะไร เราลืมแก่นของมันไปหรือเปล่า แล้วเราได้ใช้พวกที่มันอยู่ในสิ่งที่เรียกกว่า All-in-one ได้

My iPod Shuffle

วันนี้ได้ iPod Suhffle มาแล้ว หลังจากเก็บสะสมเงินมานาน ซื้อมาในความจุ 512MB ที่ซื้อมาแค่นี้เพราะว่ามี KingMax FlashDrive 256MB อยู่แล้ว ก็เก็บข้อมูลได้เพียงพออยู่ เลยเอามาใช้เพียงเท่านี้พอ จริงๆ 512MB สำหรับผมในการเก็บเพลงก็ถือว่าเยอะมาก เพราะว่าก่อนหน้านี้ใช้ Sony CD-WalkMan ที่เก่าแก่มานานเกือบๆ 2 ปีได้ ซึ่งเจ้าตัว Cd-WalkMan มันอ่าน CD-R/RW ได้เลยชินๆ กับการเอาเพลงเข้าออกจากเครื่องคอมฯ อยู่แล้ว เลยไม่ค่อยคิดมากเท่าไหร่

จากที่ได้อ่านคู่มือแล้วก็ค่อยข้างละเอียดดีมาก ทีเดียว ถึงจะเป็นภาษาอังกฤษ ก็ไม่ใช่ปัญหาสำหรับผม หุๆๆ ทำการชาร์จ และทำการ Register เจ้า iPod ตัวนี้เรียบร้อย ก็ทำการตั้งค่า และใส่เพลงลงไป โดย Enable disk use ไว้สัก 33MB เผื่อต้องใส่ไฟล์อะไรฉุกเฉิน บ้างบางครั้ง แต่ก็มีพื้นที่เหลือพอในการใส่เพลงได้อีกประมาณ 98 – 100 เพลง แค่นี้ก็ฟังกันอ่วมแล้ว ก็กะๆ ว่าประมาณ 5 – 6 ชั่วโมง น่ะครับ

หลังจากทดสอบและ ฟังก็ถือว่าเสียงของลำโพงที่ยังไม่ได้ผ่านการ Burn-in ก็ใช้ได้ดีทีเดียวเสียงนี่ผมว่าหูฟังชั้นดีหลายๆ ยี่ห้อยังอายเลยครับ

ส่วนการใช้งานนั้น ถือว่าง่าย ผมแทบไม่ต้องอ่านจากคู่มือก็ใช้งานเป็นได้ไม่ยากครับ ส่วนการทิป และเทคนิค ในการใช้ก็ต้องลองอ่านๆ ดูก็พบว่ามีบางส่วนที่เป็นเสริมเพิ่มประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดีครับ

ส่วน Shuffle หรือการสุ่มเพลงออกมาเล่นนั้นผมถือว่าเป็น Idea ที่ดีครับ จริงๆ ผมชินกับการ Shuffle อยู่แล้วเลยแทบไม่ต้องปรับตัวมากนักครับ สบายๆ เลยหล่ะ

ส่วนในด้านตัวปุ่มปรับระดับเสียงนั้น จะว่าใช้งานยากก็ไม่ใช่ หรือว่าจะง่ายก็ไม่เชิงครับ ถือว่า ok แล้วกันในความคิดของผมครับ คือมันชิดกันปุ่ม Play/Puase และปุ่ม Next/Previous Track เลยกดพลาดไปหลายครั้ง แต่การรวมศูนย์การควบคุมเป็น Idea ที่ดีครับ แต่มันพลาดนี่ดิ ผมคงต้องปรับตัวอีกสักนิด -_-”

ในด้านอื่นๆ ในการใช้งานทั่วๆ ไปก็ในขั้นดี จริงๆ ไม่มีจอ หรือมีจอ ไม่ตางกันมากเท่าไหร่ครับ ในความคิดเห็นของผมเนี่ย ผมลองใช้เครื่องเล่น MP3 มาหลายเครื่อง เนี่ยไม่ค่อยได้เลือกเพลงเท่าไหร่ เพราะว่ามันเล็ก และมันคงไม่ได้เลือกได้สะดวกเท่าในเครื่องคอมฯ เท่าไหร่ และการทำตัวเครื่องให้เล็ก และถ้ายัดใส่ จอ LCD ลงไปมันทำให้ตัวเครื่องนั้นใหญ่ และหนักมากขึ้น แล้วยิ่งเป็น Flash Drive Memory แล้วนี่ มันแทบจะไม่จำเป็นเลย เพราะคนส่วนใหญ่ก็ใช้แต่ Next/Previous Track, Play/Pause และ ปุ่มปรับระดับเสียงซะมากกว่า (หรือว่าไม่จริง) นี่คือข้อสังเกตุครับผม

ไปดีกว่าไปสนุกต่อหล่ะครับ ………….