สาเหตุที่เกิด Physical bad sector หรือ Bad sector

ในเมื่อไปตอบคำถามใครหลายๆ คนใน pantip แล้วบางครั้งคำถามและคำตอบมันจะหายไปตามกาลเวลา เลยมีความคิดว่า ถามตอบแล้วเอาคำตอบของเรามาใส่ไว้ใน Blog หรือถ้ามันเป็นคำตอบเชิงวิชาการ และทำเป็นบทความเล็กๆ ได้ก็เอาลง Web ซะเลยดีกว่า อืมมมม เป็นการใช้เวลาในการตอบกระทู้ให้เป็นประโยชน์ด้วย อุๆๆๆ …… คิดได้เรา ….

ปัญหาการเกิด Physical bad sector หรือ Bad sector จริงๆ ไม่ใช่เทียมๆ แบบใช้โปรแกรมแก้ได้นั้น

"ไม่มีทางเกิดจาก Software ได้เด็ดขาด"

สาเหตุเกิดจากระบบไฟฟ้าในการจ่ายไฟ 80 % – 90 % ของสาเหตุทั้งหมดที่ส่งแคลม

        ในนิตยสารในเมืองนอกอย่าง PC World ได้มีการทดสอบมาแล้วว่าการกดปุ่ม Restart หรือ Power-up/down ทันทีก่อนปิดระบบ os นั้น "ไม่มีผลต่อ H/D หรือ H/W อื่นๆ แต่ประการใด" แต่จะมีผลกับระบบ "OS นั้นๆ เท่านั้นเอง" ดังที่เมื่อ 5 – 6 ปีที่แล้วใช้ dos นั้นหล่ะครับ ที่เปิดปิด ก็ไม่ได้ปิดโดย os แต่ใช้ปุ่ม power-up/down แทน หรือ restart แทนการ restart แทนก็ใช้กันได้จนถึงทุกวันนี้ครับ ก็ไม่มีปัญหาอะไรสำหรับเครื่องผม p 166 ก็ยังดีอยู่ h/d ก็ไม่ได้ bad อะไร ซึ่งสามารถยืนยันได้จากเครื่องรุ่นเก่าๆ และเทคโนโลยีการผลิต h/d ที่เก่ากว่าครับ

        การทำให้เกิด physical bad sector นั้นสาเหตุหลักที่มาจากไฟ เกิดจาก power supply นั้นจ่ายไฟ ไม่พอ หรือจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ไม่นิ่ง หรือมีการจ่ายไฟไม่คงที่ของไฟฟ้าในการจ่ายไฟจาก power supply นั้นเอง

        อีกส่วนคือเกิดจากไฟฟ้าในกระแสไฟที่จ่ายให้กับ power supply นั้นจ่ายไฟ ไม่นิ่งซึ่งเป็นปัญหาเช่นเดียวกับข้างต้นที่บอกไป ซึ่งถ้าจะให้ดี แนะนำว่าให้ใช้ UPS ให้การกรองไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้า ตก, เกิน หรือกระชาก เข้า power supply อีกทีครับ เป็นการถนอมอุปกรณ์คอมฯ ไปในตัวครับ

        อีกส่วนคือการประกอบเครื่องไม่ได้คุณภาพ เช่นการเสียบสายไฟพวกลำโพง หรือพวก usb port ที่ต่อผิดขั้ว ทำให้เกิดการลัดวงจรภายใน ซึ่งถ้า m/b มีวงจรในการดักจำพวกนี้ก็ไม่มีปัญหาอันใด แต่มันจะไม่มีทุกตัวหล่ะซิ ซึ่งผมเคยเสียบสายลำโพง แล้วมันช็อต เครื่องค้างไปเลย ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุนี้ได้เช่นกันที่ทำให้ h/d มี physical bad sector ได้ครับ

        อีกเรื่องคือพวกลูกปืนจานหมุนเริ่มเสื่อม หรืออุปกรณ์บางตัวใน h/d มีการเสื่อมเองไปตามการใช้งานครับ

        อีกเรื่องก็คือเวลาใช้งานมีการเกิด Shock หรือการทำให้ตัว h/d สั่นไหว, กระแทก, สะเทือน และ ตกหล่นจากที่สูงเป็นสาเหตุในการเกิดเช่นกัน บางครั้งตั้งเครื่องไว้ แล้วมีคนมีทุบโต๊ะทำงานของเรา ก็เป็นสาเหตุได้เช่นกัน ซึ่งถ้าไม่รุนแรงมา h/d ก็ไม่มีปัญหา เพราะว่าเดี่ยวนี้สามารถรับแรงการสั่นไหวได้พอสมควรครับ แต่ก็ไม่สมควรทำครับ

       จำเอาไว้ครับว่าอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์มีความไว ต่อสิ่งต่างๆ มากครับ ความชื่น ความร้อน และการสภาพไฟฟ้าที่ผิดปกติครับ ถนอมๆ มันหน่อนเน้อ …….

จบคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์จะไปทำอะไร

คำถาม : อยากรู้ครับ ว่าจบคณะวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ แล้วไปสมัครงานอะไรได้ครับ จะหาสมัครงานได้จากที่ไหน แล้วก็ ทำไมคนถึงไม่นิยมเรียนคณะวิทยาศาสตร์กันครับ

ถ้าจบไปจะไปต่อยอดหรือทำงานอะไร นั้น ในสาย Science นั้น มีทางเลือกได้มาก เพราะว่า Science คือศาสตร์ที่ว่าด้วยการทำงานที่เป็นระบบ ขั้นตอน ซึ่งคือการจัดการนั้นเอง หรือ Managment ครับ คุณต้องมีคุณลักษณะใน Sci’ method ที่มาก (ขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์) จริงๆ คุณต้องได้รับมาก การทำงานเป็นขั้นเป็นตอน ทำงานด้านวิจัยจะไปได้ดีกว่าครับ คนจบวิทย์มา จะได้เปรียบมากๆ เพราะว่าเรียนมาขั้นตอนมันสอนครับ แล้วไปเรียนต่อยอดด้าน SA หรือ NS ก็ได้

ต่อมาครับ การทำงานในระดับ Com Sci นั้นเป็นการนำขั้นตอน ทั้งปรัญญาศาสตร์, จิตศาสตร์ และคณิตศาสตร์ มารวมกันให้เกิดการตอบโจทย์ของคำถามที่ส่งมา

คุณต้องใช้ ปรัญญาศาสตร์และจิตศาสตร์เพื่อทำให้เกิดการทำงานร่วมกัน ระหว่างโปรแกรม รวมถึงระหว่างคน และทีมงานด้วย (วิทย์ต้องทำงานเป็นทีม และทำงานเป็นระบบครับ ซึ่งใช้ใน การเชื่อมโยงให้คุยกันได้ระหว่างระบบ หรือขั้นตอนนั้นๆ) และใช้คณิตศาสตร์ในการทำขั้นตอนในการ ตอบคำถามในแต่ละส่วนทั้งแนว condition หรือinteration ต่างๆ เป็นต้น

ผม intro มานาน ต่อในเรื่องทำงานต่อนะครับ

นั้นหมายความว่าคนที่จบวิทย์มานั้นทำงานในสายจัดการระบบ หรือทำงานในสายคิดค้นก็ได้ เพราะได้พื้นฐานจากความรู้และขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ มาครับ ซึ่ง ส่วนมากที่ได้เรียนกันก็มีในส่วนของ Computation, Algorithm, Data Stucture, Software Engineering (อันนี้สาย CS เรียนนะครับ ชื่อบอกวิศวะ แต่จริงๆ คอร์สมันเป็นของ CS ครับ), Software Analye ฯลฯ จริงๆ มีอีกหลายตัวครับ

ผมมองว่าการทำอาชีพมันจะไล่อันดับไปเรื่อยๆ ครับ จากคน Coding -> Team Leader -> Team Director -> Brand Manament -> Software Leader -> Corp Mangament ครับ จริงๆ มีมากกว่านี้แต่ไล่คร่าวๆ ครับ

การทำงานต้องรู้งานในส่วนนั้น ๆ แล้วค่อยๆ ไล่ตัวเองขึ้นไปครับ ไม่งั้นเราจะไม่รู้งานด้านล่าง แล้วเราจะจัดการ การทำงานพลาดครับ เหมือนกับคนที่ไม่รู้การตกปลาว่ายากแค่ไหน แต่ไปบอกให้ลูกจ้างตกปลาได้เยอะๆ โดยไม่รู้ว่ามันจับได้ยาก นั้นหล่ะคัรบ ……..

แล้วทำไมคนไม่ชอบเรียนผมบอกไว้เลยว่า เป็นเฉพาะที่ไทยมากกว่ามั้งครับ

ตอบตรงๆ นะ

“คณะนิยม”

ต่อการทำงานนิดนึงครับ จริงๆ แล้วทำงานได้เยอะนะครับสาบวิทย์

สายบริหาร, สายจัดการระบบ, สายค้นคว้าวิจัย, สาย Coding ครับ เอาแค่นี้ก่อนดีกว่าครับ

จริงๆ CS ไม่ได้จบออกมาแค่เขียนโปรแกรมนะครับ แต่ทำด้านอื่นได้อีก แต่ใช้สิ่งต่างๆ ที่เรียนมา นำมาประยุกต์ใช้ครับผม

ส่วนเรื่องการหางานนั้น แนะนำว่าให้ทำงานแนว Freelances ตอนเรียนไปก่อน (ถ้ายังเรียนอยู่นะครับ) แต่ถ้าจบมาแล้ว แนะนำให้ทำงานใน SWH ครับ ผมว่าได้ประสบการณ์ในการทำงานมากครับ ถึงจะโดนใช้เยี่ยงทาส เครียด แต่คุ้มในเรื่องประสบการณ์การทำงานครับ

ผมว่าทำงาน SWH กับตอนทำ project จบผมว่า SWH น่าจะลำบากน้อยกว่านิดๆ นะครับ เพราะว่าทำงานตอน project ทำเพื่อจบ เงินก็เสียเอง ทุกอย่าง แถมไม่ได้เงินเดืิอนเบี้ยเลี้ยง อีก แต่ทำงาน SWH ได้เงินเดือน สวิสดิการก็ได้ขึ้นกับบริษัท เครื่องมือต่างๆ หรือการทำเอกสารต่างๆ ก็ของ SWH ครับไม่ใช่เงินเราย่อมไม่ต้องออกเอง เพียงแต่ใช้งานให้ตรงกับ SWH ครับไม่ใช่ไปยักยอกเค้าเป็นของตนครับ

ผมว่าสบายกว่ากันตั้งเยอะครับ แถมได้เจอปัญหาใหม่ๆ ทั้งคน ทั้งงานเยอะมากครับ มีประโยชน์ในอนาคตแน่นอนครับ

ลำบากตอนแรกครับ ได้อะไรเยอะครับ แล้วเจออะไรสบายๆ ผมว่ามองอะไรได้กว้างขึ้นเยอะครับ เพราะเราลำบากมาแล้ว จะเข้าใจคนทำงานด้านล่าง ถ้าเรามาทำงานบริหารครับ …..

ปล. คิดในทางที่ดีไว้ครับ ชีวิตจะได้ไม่ทุกข์มากครับ

สุขภาพที่ดีกับการนั่งและจัดว่างอุปกรณ์ต่างๆ ในการทำงานให้ถูกวิธี

        หลังจากบทความเรื่อง “คำแนะนำการใช้สำหรับจอคอมพิวเตอร์เพื่อถนอมสายตา ฯลฯ” นั้นได้รับความนิยมอย่างมากจากท่านผู้อ่านมีเมล์มาสอบถามผมมากมายในเรื่องอื่นๆ ที่นอกเหนือจากเรื่องนี้ครับ ทำให้ผมต้องออกภาคต่อ ซึ่งคราวนี้เนื้อหานั้นต่อจากตอนที่แล้วซึ่งผมจะไม่กล่าวถึงตอนที่แล้วด้วย ไปอ่านกันเองนะครับ หุๆๆ แต่ผมต้องออกตัวไว้ก่อนนะครับว่าผมไม่ได้เป็นหมอ หรือนายแพทย์ ที่ชำนาญด้านนี้แต่อย่างใดครับ แต่ด้วยที่ค้นคว้าจากแหล่งต่างๆ และจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ประสบพบกับตัวเองด้วย ซึ่งเอามาแบ่งปันกันครับ งั้นเรามาเข้าเรื่องกันเลยนะครับ


        ซึ่งถ้าพูดถึงเรื่องผลกระทบของการใช้คอมพิวเตอร์กับมนุษย์เราๆท่านๆแล้ว ในยุคที่เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทกับชีวิตมนุษย์มากขึ้น และการพัฒนาของคอมพิวเตอร์นั้น มีความรวดเร็วมาก และมีประสิทธิภาพเทียบเท่า หรือดีกว่าการทำงานของมนุษย์ ซึ่งเห็นได้ว่าในต่างประเทศใช้หุ่นยนต์มาทำงานแทนมนุษย์ ในอนาคตคาดว่ามนุษย์อาจตกงาน เพราะหุ่นยนต์ทำงานได้ดีกว่า ไม่มีเหนื่อย และไม่เสี่ยงอันตรายเหมือนกับการใช้มนุษย์ ถ้าแบ่งผลกระทบการใช้คอมพิวเตอร์กับมนุษย์ แต่จนแล้วจนรอดสิ่งต่างๆ เหล่านั้นก็ยังคงไม่สามารถทดแทนกับคนบางกลุ่มได้นั้นคือคนที่ทำงานสั่งการมันนั้นเอง หรือเหล่าคนที่ต้องควบคุมดูแล และจัดการระบบ รวมถึงนักโปรแกรมเมอร์อย่างผม และเพื่อนๆ พี่ๆ หลายๆ คน ซึ่งผมกระทบทางด้านสุขภาพนั้นอาจจะไม่ได้มาในทันทีทันใด แต่จะสะสมรอวันที่มันจะแสดงตัวมันในอนาคต

ภาพที่ 1

ภาพที่ 2

ภาพที่ 3

        การปรับที่นั่งและโต๊ะที่ถูกสุขลักษณะในการทำงาน ควรเป็นโต๊ะเขียนหนังสือธรรมดา แล้ววางคีย์บอร์ด หรือโต๊ะที่มีลิ้นชักคีย์บอร์ดก็ได้ครับ แต่ ควรเลือกที่เหมาะสมกับร่างกายของเราครับ ที่สำเร็จรูปนั้น ไม่ดีเท่าที่ควรเพราะเค้าออกแบบมาไม่ดีเท่าที่ควรครับ และยิ่งด้วยที่วางเมาส์ไว้คนละระดับกับคีย์บอร์ดแล้ว ถือว่าเป็นโต๊ะที่แย่มากและทำให้ข้อมือของท่านปวดและเสียหายได้อย่างร้ายกาจ และอาจเกิดอาการเส้นเอ็นอักเสบจนถึงขั้น ต้องผ่าตัด ได้ครับ อย่างภาพที่ 1 ผมให้ดูนั้นระดับของเก้าอี้และที่พิงควรจะรับกับหลังของเรา และสามารถปรับระดับได้ตามความต้องการของเราในยามต่างๆ ได้ดีครับ เพื่อที่ช่วยให้เราทำงานได้ดีและทำให้หลังไม่คดหรืองอ และขาควรนั่งตั้งฉากกับพื้น ดังภาพที่ 2 และระยะตักควรอยู่ด้านล่างของคีย์บอร์ดด้วยครับ ส่วนภาพที่ 3 นั้นคือการจัดวางคีย์บอร์ด และเมาส์ ครับ ควรจัดวางคีย์บอร์ด ซึ่งส่วนที่พิมพ์นั้นควรไว้ตรงกลางของจดภาพเลยครับ และถัดมาด้วยแป้นตัวเลข และเมาส์ครับเพราะว่าทำให้เราไม่ต้องเอียงข้อมือหรือปิดข้อมือมากครับ ซึ่งการวางเมาส์นั้น อย่างที่บอกไปตั้งแต่ต้นครับว่าการจัดวางเมาส์ควรวางในระดับเดียวกัน ซึ่งโต๊ะคอมฯ หลายๆที่นั้นทำออกมาได้แย่มากๆ ในเรื่องนี้และสำนักงานก็ชอบเอามาใช้ครับ เพราะว่าเล็กและประหยักเนื้อที่แต่เป็นการซื้อที่ผิด และทำให้เกิดผลเสียต่อพนักงานอย่างร้ายแรงครับ คุณจะไม่เห็นสิ่งเหล่านี้กับสำนักงานทางด้านไอทีระดับโลกเลย อย่างเช่น Microsoft หรือ Apple ครับ หรือแม้กระทั้งในประเทศไทยหลายๆ บริษัทก็ลงทุนทำทางด้านนี้นับล้านบาทเพื่อพนักงงานครับ เพราะทำให้พนักงานทำงานได้มาก และทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพมากกว่าอีกด้วยครับ อย่างที่หลายคนบอกว่า “ร่างกายและสุขภาพดี สมองและความคิดมันก็แล่น” ผมว่าเป็นคำพูดที่ไม่ดูเกินเลยไปเลยจริงๆ ครับ ส่วนอุปกรณ์อื่นๆก็บางให้ให้สามารถหยิบจับได้ง่ายครับ

ภาพที่ 4

        ซึ่งอวัยวะของมนุษย์ สิ่งที่สำคัญในการใช้คอมพิวเตอร์ คือ ตา ครับ ซึ่งในเมื่อเราใช้คอมพิวเตอร์ไปนานๆ หรือเพ่งจอมากๆ นั้นจะทำให้รู้สึกว่าปวดตา อาจทำให้สายตามีปัญหาได้ถ้าเราไม่รู้จักที่จะดูแลและเข้าใจในการถนอมมัน เช่น สายตาสั้น ส่วนใหญ่ผู้ที่ทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นประจำ หรือคนที่เล่นเกม ซึ่งเด็กนักเรียนนักศึกษาเล่นกันมาก บางครั้งการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ถ้าเล่นจนเกินขอบเขต เกินความพอดี อาจจะทำให้การมองเห็นของเค้านั้นด้อยลงครับ และอีกอย่างคือจากการที่หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ามีนักศึกษาเล่นเกมจนช็อตตายคาร้านอินเตอร์เน็ต การใช้คอมพิวเตอร์นานๆ นั้นซึ่งเกิดจากการที่เราไม่ได้ทำการพักผ่อนที่เพียงพอครับ ซึ่งเกิดจากการอ่อนล้าจากที่ต้องประสาทสัมผัสต่างๆ ซึ่งต้องตื่นตัวตลอดเวลาทำให้เกิดความเครียดในระดับภายในหรือสมองนั้นเอง ซึ่งเราจะรู้ได้ด้วยตัวเองว่าเมื่อไหร่ที่พักสายตา ตรงนี้อาจจะสังเกตจากตาของเราว่าเมื่อใช้ไปนานๆ จะเริ่มปวดตา หรือเริ่มที่จะมึนๆ หรือง่วงนอนแล้ว ซึ่งควรจะหยุด โดยละสายตามองทางอื่น หรือลุกขึ้นไปเพื่อผ่อนคลายก่อน และมองออกไปในที่ไกลๆ เพื่อให้สายตาได้ทำการปรับระยะการมองเห็นบางเพื่อไม่ให้เสื่อม แล้วจึงลงมานั่งทำงานต่อ อย่าฝืนมากเกินไปอาจจะเป็นผลเสียกับตัวเอง อาจจะมองเห็นเป็นภาพเบลอๆ แต่เป็นอาการชั้วคราว สาเหตุก็เกิดจากรังสีออกมาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ อาการที่เกิดขึ้นจากการมองจอภาพเป็นเวลานานๆ นี้เรียกว่า Computer Vision Syndrome (CVS) และอีกเรื่องที่ไม่มีใครนั้นสนใจคือการวางจอแสดงผลครับ ควรวางในระดับสายตาครับ ทำให้เราสามารถมองได้ไม่สบายตา ไม่ควรเงือยหน้ามองจอครับหรือก้มหน้ามองมากจนเกินไปครับ เพราะอาจจะทำให้กระดูกสันหลังส่วนบนบริเวณคอผิดรูปและทำให้ไปกดเส้นประสาททำให้เป็นอัมพาตได้ครับ เราควนใส่ใจในด้านนี้ให้มากครับ และควรใช้ Document Holder (ที่หนีบกระดาษด้วยข้างจอ) ช่วยในการพิมพ์งานต่างๆ ครับ เพื่อสะดวกในการพิมพ์งานและมองเอกสารครับ ดังภาพที่ 4

ภาพที่ 5

        ซึ่งจากการเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของสุขภาพ (Health Risks) รศ.นพ.กำจรตติยกวี ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศทางการแพทย์เพื่อประชาชนจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย กล่าวว่า “อาการที่เกิดจากการนั่งทำงานอยู่หน้าเครื่องนานๆ ” ทางการแพทย์เรียกว่า Repetitive Strain Injury หรือ RSI อาการนี้จะเกิดขึ้นจากการที่คนเรานั่งทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์แบบไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น เอามือวางไว้บนคีย์บอร์ด ที่ไม่ถูกต้องปิดข้อมือมากเกินไป และ วางมือไม่ขนานกับในระดับเส้นตรงขนานกับพื้นปกติ แต่เรากลับวางมือแบบคดงอ และไม่มีที่พิงซึ่งตามที่ถูกต้องแล้วที่เก้าอี้นั่งควรมีที่ช่วยพยุงมือ เพื่อให้ขนานกับพื้นและตั้งฉากกับร่างกายครับ เพื่อให้เกิดความสบายใจการทำงานให้มากขึ้นด้วย รวมถึงระยะเวลาที่ควรจะพิมพ์งานและทำงานบนคีย์บอร์ดควรอยู่ที่ 20 – 30 นาที แล้วทำการพักข้อมือเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวด้วย ดังภาพที่ 5

การวางมือที่ถูกต้อง

การวางมือที่ผิด

        สรุปได้ว่า RSI นั้น สามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย ตั้งแต่แขน ข้อมือ ข้อนิ้ว แผ่นหลัง ต้นคอ หัวไหล่และสายตา หากปล่อยไว้นานๆ อาจต้องผ่าตัดเอ็น แม้ปัจจุบันมีบริษัทชั้นนำด้วย IT ต่างๆ นั้นจะได้พยายามผลิตเครื่องป้องกันอันตรายจากคอมพิวเตอร์ ที่มีผลต่อร่างกายมนุษย์มาแต่ก็มีราคาที่แพงกว่าสินค้าที่ไม่คำนึงถึง ทางด้านนี้มากพอสมควรเลยทีเดียว และทางแก้ในเรื่องนี้นั้นก็ใช้ค่าใช้จ่ายมากอีกด้วย เช่น ใช้เมาส์มีขนานเหมาะสมกับมือของตัวเอง ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป และก่อนที่จะซื้อโต๊ะคอมพิวเตอร์นั้นควรออกแบบ หรือวัดโต๊ะหรือออกแบบโต๊ะที่เหมาะสมกับตัวเองเพื่อวางคอมพิวเตอร์และเก้าอี้นั่งพิมพ์ให้เหมาะสมกับร่างกาย เราก่อนด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้มีผลกับเราในอนาคต ถึงแม้ราคาจะแพงแต่สุขภาพของเราและสภาพร่างกายแล้วคุ้มมากเลย ซึ่งในเมืองไทยยังไม่มีใครเป็น RSI ถึงขั้นร้ายแรงมาก จนเกิดอาการเส้นเอ็นอักเสบจนถึงขั้น ต้องผ่าตัด แต่การผ่าตัดเส้นเอ็นที่พบบ่อยครั้งมากกว่านั้นส่วนใหญ่จะเกิดจากเรื่องของการเล่นกีฬามากกว่า สำหรับ RSI ที่เกิดในประเทศไทยยังไม่ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ไม่แน่ เพราะว่าอาการเหล่านี้เป็นอาการสะสม เหมือนโรคมะเร็ง หรือโรคทางเดิมหายใจต่างๆ ครับ

        ในอเมริกาอาการของโรค RSI เป็นอันดับหนึ่งในส่วนของโรคที่เกิดจากการทำงาน มีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ประมาณ 300,000 คน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2546) อัตราการเจริญเติบโตเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี ประมาณ 20% พนักงานต้องขาดงานโดยเฉลี่ย 30 วันทำงานต่อปี เพื่อรักษาโรคเหล่านี้ ครับ

        แม้ขณะนี้ RSI จะยังไม่ใช่ปัญหาของสังคมไทยในอนาคตคาดว่า คนไทยจะมีเปอร์เซ็นต์จากอาการเจ็บป่วยมากขึ้นอย่างแน่นอนในไม่ช้านี้ครับ ซึ่งสามารถจากปัญหาข้างต้นครับ

ขอบคุณรูปภาพจาก

คำแนะนำการใช้จอคอมพิวเตอร์เพื่อถนอมสายตา ฯลฯ

ตอนนี้บทความต่างๆ ผมก็เริ่มๆ เอาออกมาบ้างแล้ว แต่ช่วงนี้ขอเก็บไว้ก่อนนะครับ อีกอย่างขอปรับปรุงเนื้อหาบ้างส่วนที่ล้าสมัยจะได้ทันต่อเห็นการณ์ด้วยครับ ส่วนวันนี้ก็เอาเรื่องการถนอมสายตา สำหรับคนใช้คอมฯมาฝากครับ จริงๆ ผมอ่านเจอมาเลยเอามาลงนะครับไม่ได้เป็นของผมแต่ประการใด แต่ว่าเป็นประโยชน์มากทีเดียวครับ ลองอ่านดูนะครับ

ทำอย่างไรเพื่อถนอมสายตาและป้องกันโรคจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

  1. การเล่นคอมพิวเตอร์ ควรนั่งให้ห่างประมาณ 1 ฟุต นั่งเอนหลังให้สบาย ควรใช้เก้าอี้นั่งที่มีพนักพิงรองรับเข้ากับรูปทรงของแผ่นหลัง เพราะจะช่วยลดอาการปวดหลังที่อาจเกิดขึ้นได้ ควรเล่นติดต่อกันแต่ละครั้งไม่มากกว่า 45-60 นาที ควรจะกระพริบตา, หลับตา หรือหยุดพักสายตาโดยมองต้นไม้ หรือ มองอะไรที่ไกลตาออกไป (มากกว่า 6 ฟุต – ก็คงต้องเป็นนอกหน้าต่าง) สัก 5-10 นาที แล้วค่อยกลับมานั่งหน้าจอกันใหม่ เนื่องจากการมองระยะใกล้นานๆ การโฟกัสตาต้องใช้กล้ามเนื้อตามากกว่าการมองไกล ถ้ามองนานๆ ในบางคนอาจมีการเกร็งค้างของกล้ามเนื้อตา ทำให้การมองเห็นระยะไกลมัวได้
  2. วางจอภาพ(ระดับ ของกึ่งกลางจอภาพนะครับ)ให้ต่ำกว่าระดับสายตา ถ้า case ของคุณเป็น Tower ตั้งจอกับพื้นโต๊ะ หน้าจอตรงๆ หรือก้มนิดหน่อย คุณจะได้ไม่ต้องเงยหน้า อันนี้จะมีผลระยะยาว ถ้าคุณเงยคอนานๆ นอกจากจะเมื่อยคอแล้ว กระดูกต้นคอคุณจะเสียรูปด้วย และไม่ต่ำไปกว่าระดับราวนม ในขณะที่คีย์บอร์ด ควรอยู่ระดับราวนม ถึงระดับเอว
  3. การเลือกสีพื้นหลัง ไม่ค่อยมีผลกับสายตามากครับ แต่ถ้าจะให้แนะนำก็เป็นสีเขียวเข้ม กะสีฟ้า-น้ำเงิน ที่ไม่สดนักครับ ส่วนสีตัวหนังสือควรเป็นสีดำ เพราะมีผลการวิจัยพบว่า การอ่านหนังสือบนกระดาษสีขาว ตัวหนังสือสีดำ อาจจะมีผลทำให้สายตาสั้นได้ ถ้าเป็นไปได้ควรใช้กระดาษสีขาวปนฟ้า หรือ สีฟ้า ตัวหนังสือสีดำ *** ไม่ยืนยันผลการวิจัยนะครับ ***
  4. ปรับจอภาพให้พอดีที่สุด ถ้าคุณใช้งานคนเดียว ปรับให้เนี๊ยบเลย แล้วไม่ต้องปรับอีกตลอดชาติ เช่น แสง (ความสว่าง) สำคัญที่สุด อย่าให้จ้าเกินไป ออกทึบนิดนึงก็ได้ เพราะคุณต้องอยู่กับมันครั้งละนานๆ สี ไม่ต้องให้จัดจ้านเกินไป เอาพอสวย ตัวหนังสือ ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป เอาให้เราดูแล้วสบายตา (ของเราเอง) ตัวหนังสือใหญ่ ไม่ใช่จะดีเสมอไป บางครั้งดูเหมือนมันตะโกนใส่หน้าเรา หรือเราต้องแหกตาดูมัน จริงมั้ย
  5. Resolution setting ให้เหมาะ ขนาด 800×600 น่าจะกำลังพอดี Refresh Rate ประมาณ 75 Hzขึ้นไป คุณสามารถปรับ Refresh Rate ได้ตามคู่มือของจอครับ ไม่มีผลเสียหายอะไร ถ้าเขาบอกว่าทำได้ก็ทำไปเลยครับ เหตุที่มี Refresh Rate สูงๆ ก็เพื่อลดความพลิ้วของจอ ให้มองจอได้ชัด ๆ น่ะครับ
  6. การเซ็ตความคมชัดและแสงสว่าง ปกติขึ้นกับความพอใจนะครับ แต่หากจะให้สบายตาควรลด Brightness ลงสักหน่อย ส่วน Contrast สามารถเพิ่มได้เต็มครับ ภาพจะคมชัดขึ้น และถนอมจอถนอมสายตาด้วยครับ ควรป้องการไม่ให้เกิดแสงสะท้อนบนหน้าจอ โดยจัดหน้าจอไม่ให้หันเข้าหน้าต่าง
  7. ถ้ารู้สึกง่วง, ล้า หรือปวดตา เมื่อทำงานนานๆ ให้พักเสียบ้างดีที่สุด อย่าหักโหมหรือดันทุรัง สุขภาพก็เสีย งานก็ไม่ได้ ตาก็จะพังด้วย
  8. เมื่อเรานั่งอ่าน หรือนั่งหน้าคอมนานๆ ตาเราจะกระพริบด้วยความถี่น้อยกว่าปกติ (การกระพริบตาปกติ จะประมาณ 1 ครั้งทุก 5 วินาที ซึ่งเป็นการเอาน้ำตามาเคลือบด้านหน้าของกระจกตาดำ ให้คงความชื้นเสมอ และเป็นการล้างเอาสิ่งสกปรกออก) ดังนั้น ในผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น มีต้อเนื้อ ต้อลม หรือเป็นโรคตาแห้ง น้ำตาขาดคุณภาพ ควรจะรักษาให้หาย และใช้คอมพิวเตอร์ให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น ไม่แนะนำให้ใช้แผ่นกรองแสง เพราะ 1. เสียสตางค์ ซื้อแผ่นกรองแสง 2. เมื่อมีแผ่นกรองแสงมาบัง คุณต้องเร่งแสงและสี สู้กับแผ่นกรองแสง จอภาพจะต้องทำงานหนักขึ้น 3. คุณจะไม่ได้คุณภาพของสีที่แท้จริง …ขอย้ำว่า แผ่นกรองแสงไม่ได้ช่วยคุณได้ ความพอดีของคุณนั่นแหละจะช่วยคุณ
  9. วางแขนให้สบายๆ จัดวางต้นแขน ข้อมือ และมือให้อยู่ในท่าที่สบายๆ เป็นธรรมชาติที่สุด ไม่รู้สึกเกร็งหรือฝืนๆ การพิมพ์ก็ให้กดแป้นพิมพ์อย่างนิ่มนวลไม่ควรกดกระแทกแป้นพิมพ์แรงๆ เพราะเมื่อทำต่อเนื่องไปนานๆ อาจจะทำให้รู้สึกเมื่อยและเจ็บนิ้วเร็วกว่าปรกติก็ได้
  10. ขยับตัว บิดซ้ายบิดขวาบ้าง ให้มีการหยุดพักบ้างเป็นครั้งคราว ขยับแขนขาและลำตัวเพื่อลดความเมื่อยล้าและอาการเกร็งลง หรืออาจจะเปลี่ยนไปทำงานอย่างอื่นบ้างเป็นช่วงๆ
  11. ไม่ควรวางจอภาพและคอมพิวเตอร์ในที่ที่มีแดดส่องถึงโดยตรง หรือแหล่งกำเนิดความร้อนอื่นใด เช่น ฮีตเตอร์,เตาไมโครเวฟ, เตาผิง,เตาแก๊ส,เตารีด
  12. ไม่ควรวางจอภาพและคอมพิวเตอร์ในที่ที่เปียก มีความชื้นสูง หรือมีฝุ่นมาก หรือบนพื้นที่อ่อนนุ่ม ไม่แข็งแรง เช่นบนโซฟา,เตียง ยกเว้นคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คหรือปาล์ม
  13. ไม่ควรวางคอมพิวเตอร์ไว้ใต้แอร์(แอร์อาจมีน้ำหยดได้) หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่สามารถให้กำเนิดสนามแม่เหล็กแรงสูงเช่น พัดลมขนาดใหญ่, มอเตอร์ไฟฟ้า, ตู้เย็น,หม้อแปลงไฟฟ้า,ลำโพงที่ไม่ได้ชีลด์ป้องกันสนามแม่เหล็ก เป็นต้น เพราะอุปกรณ์เหล่านั้นส่งสนามแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนการทำงานของจอภาพ ทำให้จอสั่นได้
  14. ไม่ควรวางสิ่งของต่างๆบนจอภาพ หรือคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะต้นกระบองเพชร เพราะอาจจะเศษดินทรายหรือมีหยดน้ำเข้าไปในจอภาพ หรือคอมพิวเตอร์ได้
  15. การความความสะอาดจอภาพและคอมพิวเตอร์ ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำยาทำความสะอาด หรือ ฟองน้ำชุบน้ำพอเปียกชื้นๆเช็ด ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำยาที่มีสารแอมโมเนีย เช็ด

ประวัติคอมพิวเตอร์ และวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

  • [ ประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ] ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการคำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด ( Abacus)


ลูกคิด ( Abacus)

  • [ พ.ศ. 2158 ] นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการคำนวณขึ้นมาเรียกว่า Napier’s Bones เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน
  • [ พ.ศ.2173 ] วิลเลียม ออตเทรต( William Oughtred) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์ไม้บรรทัดคำนวณ ( Slide Rule) ซึ่ง ต่อมากลายเป็นพื้นฐานของการสร้างคอมพิวเตอร์แบบอนาลอก
  • [ พ.ศ.2185 ] เบลส์ ปาสคาล ( Blaise Pascal) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องบวกลบขึ้น โดยใช้หลัการหมุนของฟันเฟือง และการทดเลขเมื่อฟันเฟืองหมุน ไปครบรอบ โดยแสดงตัวเลขจาก 0-9 ออกที่หน้าปัด

Pascal’s Calculato

  • [ พ.ศ.2214 ] กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ( Gottfried Wilhelm Leibniz ) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ปรับปรุงเครื่องคิดเลขปาสคาล ให้ทำงานได้ดีกว่าเดิม และเขายังค้นพบเลขฐานสอง (Binary number)


กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ( Gottfried Wilhelm Leibniz )

  • [ พ.ศ.2288 ] โจเซฟ แมรี่ แจคคาร์ด ( Joseph Marie Jacquard) เป็นชาวฝรั่งเศสได้คิด เครื่องทอผ้า โดยใช้คำสั่งจากบัตรเจาะรูควบคุมการทดผ้าให้มีสีและลวดลายต่าง ๆ


บัตรเจาะรู

  • [ พ.ศ.2365 ] ชาร์ล แบบเบจ ( Charles Babbage) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องหาผลต่าง ( Difference Engine) เพื่อใช้คำนวณและพิมพ์ ค่าทางตรีโกณมิติและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ แบบเบจได้พยายามสร้าง เครื่องคำนวณอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า Analytical Engine โดยมีแนวคิดให้แบ่งการทำงานของเครื่องออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล (Store unit), ส่วนควบคุม (Control unit) และส่วนคำนวณ (Arithmetic unit) ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการนำมาใช้เป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จึงยกย่องแบบเบจ ว่าเป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค ( Lady Ada Augusta Lovelace ) เป็นนักคณิตศาสตร์ที่เข้าใจผลงานของแบบเบจ ได้เขียนวิธีการใช้เครื่องคำนวณของแบบเบจเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ต่อมา เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก

    Differnce Engine
  • [ พ.ศ.2393 ] ยอร์จ บูล ( George Boole) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้คิดระบบ พีชคณิตระบบใหม่เรียกว่า Boolean Algebra โดยใช้อธิบายหลักเหตุผลทางตรรกวิทยาโดยใช้สภาวะเพียงสองอย่างคือ True (On) และ False (Off) ร่วมกับเครื่องหมายในทางตรรกะพื้นฐาน ได้แก่ NOT AND และ OR ต่อมาระบบเลขฐานสอง และ Boolean Algebra ก็ได้ถูกนำมาดัดแปลงให้เข้ากับวงจรไฟฟ้า ซึ่งมีสภาวะ 2 แบบ คือ เปิด , ปิด จึงนับเป็นรากฐานของการออกแบบวงจรในระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน (Digital Computer)
  • [ พ.ศ.2480-2481 ] ดร.จอห์น วินเซนต์ อตานาซอฟ ( Dr.Jobn Vincent Atansoff) และ คลิฟฟอร์ด แบรี่ ( Clifford Berry) ได้ประดิษฐ์เครื่อง ABC ( Atanasoff-Berry) ขึ้น โดยได้นำหลอดสุญญากาศมาใช้งาน ABC ถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกที่เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

    Atansoff


    ABC computer


    Berry

  • [ พ.ศ.2487 ] ศาสตราจารย์โอเวิร์ด ไอด์เคน (Howard Aiken) แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ร่วมกับวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็มได้สร้างเครื่อง MARK I เป็นผลสำเร็จ แ ต่อย่างไรก็ตามเครื่อง MARK I นี้ยังไม่ใช่คอมพิวเตอร์ที่แท้จริงแต่เป็นเครื่องคิดเลขไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่านั้น
  • [ พ.ศ.2485-2495 ] มหาวิทยาลัยเพนซิลเลเนียได้สร้างเครื่อง ENIAC (Electronic Numerical Integrator And Calculator) นับได้ว่าเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลกที่ใช้หลอดสูญญากาศ และควบคุมการทำงานโดยวิธีเจาะชุดคำสั่งลงในบัตรเจาะรู

    ENIAC

  • [ พ.ศ.2492 ] ดร.จอห์น ฟอน นิวแมนน์ ( Dr.John Von Neumann ) ได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บคำสั่งการปฏิบัติงานทั้งหมดไว้ภายในเครื่อง ชื่อว่า EDVAC นับเป็นคอมพิวเตอร์เครี่องแรกที่สามารถเก็บโปรแกรม ไว้ในเครื่องได้


EDVAC
(first stored program computer)

  • [ พ.ศ.2496-2497 ] บริษัทไอบีเอ็มได้สร้างคอมพิวเตอร์ชื่อ IBM 701 และ IBM 650 โดยใช้หลอดสุญญากาศเป็นวัสดุสร้าง ต่อมาเกิดมีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นสารกึ่งตัวนำขึ้นที่ห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell Telephone ได้เกิดทรานซิสเตอร์ตัวแรกขึ้น ต่อมาทรานซิสเตอร์ได้ถูกนำไปแทนหลอดสูญญากาศ จึงทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลงและเกิดความร้อนน้อยลง (เครื่องที่ใช้ทรานซิสเตอร์ได้แก่ IBM 1401และ IBM 1620 )

    หลอดสูญญากาศ (Vacuum tube)


    ทรานซีสเตอร์ (Transistor)

  • [ พ.ศ.2508 ] วงจรคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงอีกมากเมื่อมีวงจรรวม ( Integrated Circuit: IC) เกิดขึ้น ซึ่งไอบีเอ็มนี้ได้ถูกนำไปแทนที่ทรานซิสเตอร์ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของระบบคอมพิวเตอร์อีกครั้ง ซึ่งผลก็คือทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง

    IC
  • [ พ.ศ.2514 ] บริษัท Intel ได้ใช้เทคโนโลยีของการผลิตวงจรรวมแบบ ( Large Scale Integrated Circuit :LSI ) ทำการรวมเอาวงจรที่ใช้เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ( CPU) ของคอมพิวเตอร์มาบรรจุอยู่ในแผ่นไอซีเพียงตัวเดียวซึ่ง ไอซีนี้เรียกว่าไมโครโปรเซสเซอร์ ( Microprocessor)

    Microprocessor
  • [ พ.ศ.2506] ประเทศไทยเริ่มมีคอมพิวเตอร์ใช้เป็นครั้งแรก โดยที่คอมพิวเตอร์เครื่องแรกในประเทศไทยได้ติดตั้งที่ ภาควิชาสถิติ คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้คือ IBM 1620 ซึ่งได้รับมอบจากมูลนิธิเอไอดี และบริษัทไอบีเอ็ม แห่ง ประเทศไทยจำกัด ปัจจุบันหมดอายุการใช้งานไปแล้ว จึงได้มอบให้แก่ศูนย์บริภัณฑ์การศึกษาท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ
  • [ พ.ศ.2507] เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่สองของประเทศไทยติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนมีนาคม 2507


ก่อกำเนิด ไมโครโปรเซสเซอร์

เมื่อก่อนนั้น Intel เป็นบริษัทผลิตชิปไอซีแห่งหนึ่งที่ไม่ใหญ่โตมากนักเท่าในปัจจุบันนี้ เมื่อปี ค.ศ.1969 ได้สร้างความสะเทือน ให้กับวงการอิเล็คทรอนิคส์ โดยการออกชิปหน่วยความจำ(Memory)ขนาด 1 Kbyte มาเป็นรายแรก
บริษัทบิสซิคอมพ์(Busicomp) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขของญี่ปุ่นได้ทำการว่าจ้างให้ Intel ทำการผลิตชิปไอซี ที่บิสซิคอมพ์เป็นคนออกแบบเองที่มีจำนวน 12 ตัว โครงการนี้ถูกมอบหมายให้นาย M.E. Hoff, Jr. ซึ่งเข้าตัดสินใจที่จะใช้วิธีการออกแบบชิปแบบใหม่ โดยสร้างชิปที่ให้ถูกโปรแกรมได้ หมายถึงว่าสามารถนำเอาชุดคำสั่งของการคำนวณไปเก็บไว้ใน หน่วยความจำก่อนแล้วให้ไอซีตัวนี้อ่านเข้ามาแปล ความหมาย และทำงานภายหลัง
ในปี 1971 Intel ได้นำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า Intel 4004 ในราคา 200 เหรียญสหรัฐ และเรียกชิปนี้ว่าเป็น ไมโครโปรเซสเซอร์(Micro Processor) ก็เพราะว่า 4004 นี้เป็น CPU (Central Processing Unit) ตัวหนึ่ง ซึ่งมีขนาด 4.2 X 3.2 มิลลิเมตร ภายในประกอบด้วย ทรานซิสเตอร์ จำนวน 2250 ตัว และเป็น ไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 4 บิต
หลังจาก 1 ปีต่อมา Intel ได้ออก ไมโครโปรเซสเซอร์ ขนาด 8 บิตออกมาโดยใช้ชื่อว่า 8008 มีชุดคำสั่ง 48 คำสั่ง และอ้างหน่วยความจำได้ 16 Kbyte ซึ่งทาง Intel หวังว่าจะเป็นตัวกระตุ้นตลาดทางด้านชิปหน่วยความจำได้อีกทางหนึ่ง
เมื่อปี 1973 ทาง Intel ได้ออก ไมโครโปรเซสเซอร์ 8080 ที่มีชุดคำสั่งพื้นฐาน 74 คำสั่งและสามารถอ้างหน่วยความจำได้ 64 Kbyte

ไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกของโลก

เมื่อปี 1975 มีนิตยสารต่างประเทศฉบับหนึ่ง ชื่อว่า Popular Electronics ฉบับเดือน มกราคม ได้ลงบทความ เกี่ยวกับเครื่อง ไมโครโปรเซสเซอร์ เครื่องแรกของโลกที่มีชื่อว่า อัลแตร์ 8800 (Altair) ซึ่งทำออกมาเป็นชุดคิท โดยบริษัท MITS (Micro Insumentation And Telemetry Systems) ลักษณะของชุดคิท ก็คือ จะอยู่ในรูปของอุปกรณ์แต่ละชิ้นโดยให้ คุณนำไปประกอบขึ้นใช้เอง
บริษัท MITS ถูกก่อตั้งเมื่อปี 1969 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำตลาดในด้านเครื่องคิดเลข แต่การค้าชลอตัวลง ประธานบริษัท ชื่อ H. Edword Roberts เห็นการไกล คิดเปิดตลาดใหม่ซึ่งจะขายชุดคิด คอมพิวเตอร์ ประมาณเอาไว้ว่าอาจขาย ได้ในจำนวนปีล่ะประมาณ 200-300 ชุด จึงให้ทิมงานออกแบบบและพัฒนาแล้วเสร็จก่อนถึงคริสต์มาส ในปี 1974 แต่เพิ่งมา ประกาศตัวในปีถัดไป สำหรับ CPU ที่ใช้คือ 8080 และคำว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ จึงถูกเรียกใช้เป็นครั้งแรกเพื่อชุดคิทคอมพิวเตอร์ชุดนี้
ชุดคิทของ อัลแตร์ นี้ประกอบด้วย ไมโครโปรเซสเซอร์ 8080 ของบริษัท Intel มี เพาเวอร์ซัพพลาย มีแผงหน้าปัดที่ติดหลอดไฟ เป็นแถวมาให้เพื่อแสดงผล รวมถึงหน่วยความจำ 256 Byte ( แหม.. เหมือนของเล่นเราในสมัยนี้ จังงง ) นอกนั้น ยังมี สล๊อต (Slot) ให้เสียบอุปกร์อื่น ๆ เพิ่มได้ แต่ก็ทำให้ MITS ต้องผิดคาด คือ ภายใน เดือนเดียว มีจดหมายส่งเข้ามาขอสั่งซื้อเป็นจำนวนถึง 4,000 ชุดเลยทีเดียว
ด้วยชิป 8080 นี่เองได้เป็นแรงดลใจให้บริษัท ดิจิตอลรีเสิร์ช (Digital Research) กำเนิดระบบปฏิบัติการ(Operating System) ที่ชื่อว่า ซีพีเอ็ม(CP/M หรือ Control Program For Microcomputer) ขึ้นมา ในขณะที่ Microsoft ยังเพิ่งออก Microsoft Basic รุ่นแรกเท่านั้นเอง

ถึงยุค Z80
เมื่อเดือน พฤศจิกายนปี 1974 ได้มี วิศวกรของ Intel บางคนได้ออกมาตั้งบริษัทผลิตชิปเอง โดยมีชื่อว่า ไซล๊อก (Zilog) เนื่องจาก วิศวกรเหล่านี้ ได้มีส่วนร่ามในการผลิตชิป 8080 ด้วยจึงได้นำเอาเทคโนโลยีการผลิดนี้มาสร้างตัวใหม่ที่ดีกว่า มีชื่อว่า Z80 ยังคงเป็น ชิปขนาด 8 บิต เมื่อได้ออกสู่ตลาดได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากได้ปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่มีอยู่ใน 8080 จึงทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ หลายต่อหลายยี่ห้อ หันมาใช้ชิป Z80 กัน แม้แต่ซีพีเอ็ม ก็ยังถูกปรับปรุงให้มาใช้กับ Z80 นี้ด้วย *** แม้ในปัจุบันนี้ Z80 ยังคงถูกใช้งาน และนำไปใช้ ในการเรียนการสอน ไมโครโปรเซสเซอร์ ด้วย เช่น ชุดคิดหรือ Single Board Microcomputer ของ ETT, Sila เป็นต้น และ IC ตัวนี้ยังผลิตขาย อยู่ในปัจจุบัน ในราคา ไม่เกิน 100 บาท น่ะจะบอกให้)
Computer เครื่องแรกของ IBM
ในปี 1975 ไอบีเอ็ม ได้ออกเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกออกมา แต่ทางไอบีเอ็มได้เรียกเครื่องนี้ว่าเป็น เทอร์มินัลแบบชาญฉลาด ที่สามารถโปรแกรมได้ (Intelligent Programmable Terminal) และตั้งชื่อรุ่นว่า Model 5100 มีหน่วยความจำ 16 Kbyte แล้วยังมีตัวแปลภาษาเบสิก แบบอินเตอร์พรีทเตอร์ (Interpreter) ด้วย และมี ไดรฟ์สำหรับใส่คาร์ทิดจ์เทปในตัว แต่ก็ยังขายไม่ดีเอามาก ๆ เลย เพราะว่าตั้งราคาไว้สูงมากถึง 9,000 เหรียญสหัฐ
ในปลายปี 1980 บริษัทไอบีเอ็มได้เกิดแผนกเล็ก ๆ ขึ้นมาแผนกหนึ่งเรียกว่า Entry Systems Division ภายใต้ทีมของคนชื่อว่า ดอน เอสทริดจ์ (Don Estridge) และนักออกแบบอีก 12 คน โดยได้รับมอบหมายให้พัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของไอบีเอ็มโมเด็ล 5100 นั้นเอง โดยนำเอาจุดเด่นของเครื่อง ที่ขายดีมารวมไว้ในการออกแบบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็ม และผลิตจำหน่ายได้ภายในปีเดียวภายใต้ชื่อว่า ไอบีเอ็มพีซี (IBM PC) ซึ่งถูกเปิดตัวในเดือน สิหาคม ปี 1981 และยอดขายของเครื่องพีซีก็ได้พุ่งอย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทอื่น ๆ จับตามอง

กำเนิด แอปเปิ้ล

ในปี 1976 หลังจาก Stephen Wozniak และ Steve Jobs ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer) และได้นำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกที่ประดิษฐ์จากโรงรถออกมาขายโดยใช้ชื่อว่า Apple I ในราคา 695 เหรียญ บริษัทแอปเปิลได้ผลิตเครื่อง Apple I ออกมาไม่มากนัก ภายในปีเดียวได้ผลิต Apple II ออกมา
และรุ่นนี้เป็นรุ่นเปิดศักราชแห่งวงการไมโครคอมพิวเตอร์ และเป็นการสร้างมาตรฐาน ที่ไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เกิดมาตามหลังทั้งหมด


อ้างอิงจาก
http://www.sanambin.com
http://www.wikipedia.com